กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

สายกล้องวงจรปิด (CCTV) (กล้องวงจรปิด)

สายกล้องวงจรปิด (CCTV)

                    สายกล้องวงจรปิด (CCTV)  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากสายสัญญาณเป็นสื่อนำข้อมูลแล้ว สื่อไร้สายเป็นอีกทางเลือกที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย

 เครือข่ายท้องถิ่นใช้อากาศเป็นสื่อนำสัญญาณที่ผ่านมาจะผลิตอุปกรณ์เครือข่ายที่มีลักษณะเฉพาะ สื่อนำสัญญาณที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภท ดังนี้
  1. · สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)

  2. · สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs)

  3. · สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) 


สินค้าแนะนำ  :   กล้องวงจรปิด



สายกล้องวงจรปิด (CCTV)
สายกล้องวงจรปิด (CCTV)

สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นประเภทแรก เป็นที่นิยมมากในเครือข่ายสมัยแรก ๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง 

 ส่วนสายโคแอ็กเชียลเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับในปัจจุบัน แต่ยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้ สายโคแอคช์จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน 

 โดยทั่วไปแล้วจะเรียกสายโคแอ็กเชียลว่าโคแอคช์ เพราะจะเรียกง่ายกว่า โครงสร้างของสายโคแอคช์ประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง 

 แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียหุ้มอีกชั้นหนึ่งและสุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวน

และวัสดุป้องกันสายสัญญาณ สายโคแอคช์มีสองประเภท คือ แบบบางและ แบบหนา

สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs) เป็นสายนำสัญญาณในระบบโทรทัศน์ แต่ปัจจุบันได้เป็นมาตรฐานสายสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแบบท้องถิ่น (LAN) 

 สายคู่เกลียวบิดประกอบด้วย สายทองแดงขนาดเล็กหุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียวคู่ การบิดเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่มีจุดประสงค์ช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รบกวน

ซึ่งกันและกันที่มีขายในท้องตลาดมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งสายสัญญาณอาจประกอบด้วยสายคู่เกลียวบิดตั้งแต่ 1 คู่ขึ้นไปจนถึง 600 คู่ในสายขนาดใหญ่ 

 สายคู่เกลียวบิดที่ใช้กับเครือข่าย LAN จะประกอบด้วยสายคู่เกลียวบิดที่ใช้ในเครือข่ายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

STP หรือสายคู่เกลียวบิดหุ้มเกราะ เป็นแบบมีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน เพิ่มส่วนที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ซึ่งชั้นป้องกันนี้อาจเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ 

 หรือใยโลหะที่ถักเปียเป็นตาข่ายจะห่อหุ้มสายคู่เกลียวบิดทั้งหมด จุดประสงค์ของการเพิ่มชั้นห่อหุ้มนี้เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุจากแหล่งต่าง ๆ

UTP หรือสายคู่เกลียวบิดไม่หุ้มเกราะ เป็นแบบที่ไม่มีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน เป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันมากที่สุดในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน 

 ซึ่งการใช้สายนี้ความยาวต้องไม่เกิน 100 เมตร เป็นสายคู่เกลียวบิดที่ใช้แผ่นฟอยส์เป็นซีลด์ป้องกันแทนที่จะเป็นตาข่ายถักเปีย การซีลด์แบบนี้จะป้องกันคลื่นรบกวน EMI 

 จากภายนอกเข้ามาข้างใน และจากข้างในออกข้างนอกด้วย และป้องกันคลื่นรบกวนระหว่างแต่ละคู่ของสายสัญญาณด้วย เพราะแผ่นฟอยส์นั้นจะใช้ห่อหุ้มสายเป็นคู่ ๆ แยกจากกัน

คุณสมบัติพิเศษของสายคู่เกลียวบิด
ในการรับส่งสัญญาณจำเป็นต้องใช้สายหนึ่งคู่ในการส่งสัญญาณ และอีกหนึ่งคู่ในการรับสัญญาณ ซึ่งในแต่ละคู่สายจะมีทั้งขั้วบวกและลบ 

 ซึ่งเทคนิคนี้คิดค้นขึ้นมาเพื่อที่จะกำจัดคลื่นรบกวน ที่เกิดกับสัญญาณข้อมูล ซึ่งคลื่นรบกวนนี้เกิดขึ้นได้ง่าย และเมื่อเกิดขึ้นกับสายสัญญาณแล้วจะทำให้ยากต่อการอ่านหรือแปลความหมายจากสัญญาณข้อมูล


ระบบรักษาความปลอดภัย  :  รั้วไฟฟ้ากันขโมย




 

มาตรฐานสายสัญญาณ
 ได้กำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการผลิตสายสัญญาณ UTP โดยมาตรฐานนี้ได้แบ่งเป็นประเภทของสายออกเป็นหลายประเภทโดยแต่ละประเภทจะเรียกว่า Category N 

โดย N คือ หมายเลขที่บอกประเภท ส่วนสถาบันมาตรฐานนานาชาติได้กำหนดมาตรฐานนี้เช่นกัน โดยจะเรียกสายแต่ละประเภทเป็น Class A-G คุณสมบัติโดยทั่วไปของสายแต่ละประเภท

หัวเชื่อมต่อ สายคู่เกลียวบิดจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11 ซึ่งเป็นหัวที่ใช้ต่อสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป 

 ข้อแตกต่างของหัวเชื่อมสองประเภทนี้ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่และไม่สามารถเสียบกับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และจะเชื่อมสายคู่เกลียวบิด 4 คู่ ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น

สายใยแก้วนำแสง ในปัจจุบันสายสัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทแบ่งตามชนิดของตัวนำที่ใช้ประเภทแรกคือ

ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ เช่น สายคู่เกลียวบิด และสายโคแอคช์ ปัญหาของสายที่มีโลหะเป็นตัวนำคือ สัญญาณที่วิ่งอยู่ภายในสายนั้นอาจจะถูกรบกวน

โดยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า เป็นต้น และการเดินสายเป็นระยะทางไกลมาก ๆ จะมีการสูญเสียของสัญญาณเกิดขึ้น จึงใช้อุปกรณ์สำหรับทวนสัญญาณเป็นจำนวนมาก 

 มีการคิดค้นและพัฒนาสายสัญญาณแบบใหม่ ซึ่งไม่ได้โลหะเป็นตัวนำคือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งใช้สัญญาณแสงในการส่งแทนแวดล้อมอีกด้วย

โครงสร้างของใยแก้วนำแสง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ส่วนที่เป็นแกน ซึ่งจะอยู่ตรงกลางหรือชั้นในแล้วหุ้มด้วยส่วนห่อหุ้ม แล้วถูกห่อหุ้มด้วยส่วนก

ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง โดยแต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะต้องคำนึงถึงหลักการหักเหและสะท้อนกลับหมดของแสง ส่วนที่เหลือก็จะเป็นส่วนที่ช่วยในการติดตั้งสายสัญญาณได้ง่ายขึ้น

คลื่นแสงและไฟเบอร์ออฟติก ทำจากใยแก้วขนาดเล็กซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ แกนหรือคอร์ และถูกห่อหุ้มด้วยแคลดดิ้ง 

 แสงที่เป็นตัวนำสัญญาณจะถูกส่องเข้าไปในคอร์ มีค่าดัชนีหักเหไม่เท่ากัน ทำให้แสงกระทบผิวของ แคลดดิงแล้วสะท้อนกลับหมด ทำให้แสงเดินทางเฉพาะส่วนที่เป็นคอร์ไปจนถึงปลายทาง

การทดสอบสายไฟเบอร์ เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ก่อนที่จะใช้งานนั้นจำเป็นที่ต้องทดสอบสายก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า สายนั้นใช้รับส่งข้อมูลได้ตามต้องการ ด้วยการทดสอบดังนี้

  1. · การทดสอบด้านแมคานิก
  2. · การทดสอบด้านกายภาพ
  3. · การทดสอบเกี่ยวกับคุณสมบัติของสาย
  4. · การทดสอบเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณ

ระบบรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน  :  สัญญาณกันขโมย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น