กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

กล้องวงจรปิด CCTV กับสายไฟเบอร์ออฟติค (Fiber Optic)

กล้องวงจรปิด CCTV กับสายไฟเบอร์ออฟติค
สายไฟเบอร์ออฟติค (Fiber optic) ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานโทรคมนาคมและการส่งสัญญาณก่อนนำมาใช้เพื่อส่งสัญญาณภาพ มันถูกคิดค้นมาใช้ในทศวรรษ 1920-1930 จนกระทั่งทศวรรษ 1950 เมื่อแคปะนี ได้ใช้ไฟเบอร์กระจกที่เรียกว่า Clad หรือ Glass-coated คำว่าไฟเบอร์ออฟติคจึงเกิดขึ้น ในการนำมาใช้งานจริงนั้นเกิดขึ้นเมื่อ เคซี เคา และ ยีเอฮอคแคม นักวิจัยจากห้องทดสอบมาตรฐานโทรคมนาคมของประเทศอังกฤษ ได้นำมาใช้ด้วยวิธีการเดียวกับเวฟไกด์ของสายอากาศ มีอัตราลดทอนสัญญาณ 0.001% ต่อกิโลเมตร หรือ 1000dB ต่อกิโลเมตร จนปี พ.ศ.2413 แคปรอน และมูเรอร์ ได้ผลิตไฟเบอร์ออปติค ที่ให้การลดทอนสัญญาณน้อยกว่า 20dB ต่อกิโลเมตร ทำให้สามารถส่งสัญญาณในระยะไกลและมีแบนด์วิดธ์กว้าง โดยส่งไปในรูปพลังงานแสง
กล้องวงจรปิดที่ใช้งานกับไฟเบอร์ออฟติคทำงานด้วยการหักเห (หรือสะท้อน) ของแสง คล้ายกับเมื่อแสงเดินทางจากอากาศไปยังน้ำที่เดการหักเห ในทางกลับกัน หากมองจากน้ำผ่านขึ้นมายังอากาศ เหมือนปลาที่จ้องฮุบแมงปอที่บินเหนือน้ำ ปลาจะเห็นแมลงปออยู่ในระดับต่ำกว่าปกติเมื่อมองขึ้นไปด้านบน แต่หากมุมของการมองไกลออกไปสายตาจะไม่สามารถมองทะลุออกไปในอากาศได้ แต่จะตกกลับลงมาที่ผืนน้ำ เช่นเดียวกันกับโครงสร้างของไฟเบอร์ออฟติค ที่มีชั้นในเป็นแกน (Core) ชั้นนอกเป็นตัวหุ้ม (Cladding) หากแสงมีมุมตกเป็นมุมแคบ แสงจะสูญหายเพราะหักเหออกไปในไฟเบอร์ตัวหุ้ม แต่หากมุมกว้างขึ้นแสงสะท้อนจะเคลื่อนที่ไปตามแกนในของสาย การจะให้ผลของแสงออกไปในปริมาณและรูปแบบใดขึ้นอยู่กับชนิดไฟเบอร์
ใยแก้วนำแสงโดยทั่วไปที่นิยมใช้กันมี 3 ชนิด
1.ชนิดสเต็ปอินเด็กซ์
2.ชนิดมัลติโหมดหรือเกรดอินเด็กซ์
3.ชนิดซิงเกิลโหมด
การทำงานของระบบภาพที่ส่งผ่านไฟเบอร์ออฟติค เริ่มจากระบบง่ายสุด ที่ภาพจากกล้องวงจรปิดส่งเข้าเครื่องส่งเข้าเครื่องส่งที่มีบล็อกไดอะแกรม (วงจรแผนผัง) ก่อนขับกระแสให้กับหลอดไดโอดเปล่งแสง (แอลอีดี) ส่งออกคอนเน็กเตอร์ (ที่มีค่าการสูญเสียน้อยๆ) ไปยังสายไฟเบอร์ออฟติค หรือสรุปได้ว่าเครื่องส่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณภาพเป็นแสง เพื่อส่งไปตามสายไฟเบอร์ออฟติคแตกต่างจากกล้องวงจรปิดไร้สาย
ส่วนระบบของเครื่องรับเป็นไปตาม เครื่องรับรับสัญญาณจากสายไฟเบอร์ไปเข้าพิณไดโอดแปลงจากแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนขยายสัญญาณให้มีความแรงเพียงพอต่อการต่อเข้ามอนิเตอร์
อุปกรณ์สำคัญของระบบเบื้องต้นนี้คือหลอดไดโอดเปล่งแสง (Light emitting diode หรือ LED) เพราะเป็นอุปกร์แปลงกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง การเคลื่อนที่ของกระแสผ่านฟังชั่นของแอลอีดีทำให้มีการปล่อยพลังงานโฟตอนออกมาเป็นแสง แสงดังกล่าวต้องส่งผ่านเลนส์ ให้กระจายออกมาเป็นมุมรูปกรวย เพื่อบีบลำแสงก่อนส่งเข้าสายไฟเบอร์ออฟติค
แม้การใช้สายไฟเบอร์ออฟติคจะมีราคาแพงต่อการลงทุนในระยะแรก แต่ในระยะยาวถือว่าคุ้มค่าเพราะคุณภาพของสัญญาณดีกว่าสาย UTP หรือโคแอ็กเชียล ทั้งยังทำงานกับความถี่สูงได้ดีกว่า
สายไฟเบอร์ออฟติค (Fiber optic) ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานกล้องวงจรปิดเพื่อส่งสัญญาณภาพ ถูกคิดค้นมาใช้ในทศวรรษที่ 1920-1930  โดยเคซี เคา และ ยีเอ ฮอคแคม



วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560

สายสัญญาณภาพกล้องวงจรปิด CCTV

สายนำสัญญาณ (Coaxial cable) เมื่อสัญญาณภาพมีทั้งเปลี่ยนแปลงช้า (ความถี่ต่ำ) และเปลี่ยนแปลงแปลงเร็ว (ความถี่สูง) สายนำสัญญาณจึงแยกออกเป็นชนิดต่างๆ หลายชนิด บางชนิดทำงานกับความถี่ต่ำ (20Hz จนถึงระดับ 1,000 Hz) สายแบบนี้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ขณะที่สายชนิดพิเศษสามารถทำงานได้กับความถี่ตั้งแต่ 20Hz ถึง 6 MHz โดยปราศจากการลดทอน
       ปกติสายนำสัญญาณระดับพื้นฐาน มีอยู่ 4 แบบด้วยกันคือ
       1.สายโคแอ็กเชียล 75 โอห์ม ใช้กับงานภายนอก
       2.สายโคแอ็กเชียล 75 โอห์ม ใช้กับงานภายใน
       3.สายทวินแอ็กเชียล 124 โอห์ม ใช้กับงานภายนอก
       4.สายทวินแอ็กเชียล 1245 โอห์ม ใช้กับงานภายใน
       สายโคแอ็กเชียลเป็นสัญญาณมีตัวนำอยู่ในสุด หุ้มด้วยโฟมเป็นฉนวนเพื่อรักษาค่าความต้านทานต่อสัญญาณ (อิมพีแดนซ์) ให้คงที่ตลอดเส้น หุ้มด้วยโพลีโพรไพลีนก่อนหุ้มทับอีกชั้นด้วยลวดถักเพื่อกันสัญญาณรบกวน (Shield) หุ้มกันกระแทกชั้นสุดท้ายด้วยวัสดุอ่อนตัว บางคนที่เป็นช่างโทรทัศน์อาจรู้จักสายสัญญาณวิทยุที่เรียกว่า RG6 แต่สำหรับระบบระบบภาพใช้สาย RG59/U เป็นสายสำหรับงานทั่วไป ใช้ในระยะทางไม่ไกลนัก มีอิมพีแดนซ์ 75 โอห์ม (RG59/U หมายถึงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.25 นิ้ว) เข้าสายด้วยคอนเน็กเตอร์แบบ BNC นิยมใช้กับงานในระยะ 100 ฟุต (ระยะยาวสุด 750 ฟุต หรือ 230 เมตร) แต่หากมีวงจรขยายปรีแอมป์ระยะทางจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 เท่า
ตารางแสดงขีดความสามารถของสายโคแอ็กเชียล ต่อระยะทาง ทั้งที่ไม่มีวงจรขยายปรีแอมป์และมีวงจรขยายช่วย ตางรางนี้เป็นตัวช่วยในการออกแบบระบบภาพวงจรปิดให้ถูกต้อง

COAXIAL
TYPE

MAXIMUM RECOMMENDED CABLE LENGTH
CONDUCTOR
NOMINAL
DC RESISTANCE
(ohms/1000ft)
CABLE ONLY
CABLE WITH AMPLIFTER
FEETS
METER
FEETS
METER
RG59/U
750
230
3,400
1,035
22 SOLID COPPER
10.5
RG59 MINI
200
61
800
250
20 SOLID COPPER
41.0
RG6/U
1,500
455
4,800
1,465
18 SOLID COPPER
6.5
RG11/U
1,800
550
6,500
1,980
14 SOLID COPPER
1.24

      
ตารางแสดงการลดทอนของสายโคแอ็กเชียล เทียบระยะทาง
CABLE
TYPE
ATTENUATION (dB) @ 5-10 MHZ
100 ft
200 ft
300 ft
400 ft
500 ft
1000 ft
1500 ft
2000 ft
RG59/U
1.0
2.0
3.0
4.0
5.0
10.0
15.0
20.0
RG59 MINI
1.3
2.6
3.9
5.2
6.5
13.0
19.5
26.0
RG6/U
0.8
1.6
2.4
3.2
4.0
8.0
12.0
16.0
RG11/U
0.51
1.02
1.53
2.04
2.55
5.1
7.66
10.2
2422/ULI384*
3.96
7.9
11.9
18.8
19.8
39.6
59.4
79.2
2546*
1.82
3.6
5.5
7.3
9.1
18.2
27.3
36.4
RG179B/U
2.0
4.0
6.0
8.0
10.0
20.0
30.0
40.0
SIAMESE : RG59
(2) #22AWG
1.0
2.0
3.0
4.0
5.0
10.0
15.0
20.0

*MOGAMI
NOTE : IMPEDANCE FOR ALL CABLES = 75 ohms

dB LOSS
1
2
3
4.5
6
8
10.5
14
20
%  SIGNAL REMAINING
90
80
70
60
50
40
30
20
10

       สาย RG11/U มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 นิ้ว อิมพีแดนซ์ 75 โอห์มเข้าสายด้วยคอนเน็กเตอร์แบบ UHF ใช้กับการเดินสายในระยะไกลเป็นพันฟุต (ระยะยาวสุด 1,800 ฟุต หรือ 550 เมตร )
       ตัวอักษร U ที่เติมหลังชนิดของสาย เป็นการระบุว่าสายเส้นนั้นเป็นอันบาลานซ์ (Unbalanced) เพราะสายแบบบาลานซ์คือสายทวินแอ็กเชียล ที่มีอิมพีแดนซ์ 124 โอห์ม ซึ่งเป็นสายที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาการฮัม ซึ่งเกิดเป็นริ้วดำในสัญญาณภาพ การใช้สายแบบนี้ต้องใช้หม้อแปลงอิมพีแดนซ์ของกล้องเป็น 124 โอห์มก่อน และปลายทางนั้นก็ต้องใช้หม้อแปลง แปลงอิมพีแดนซ์ลงให้เหลือเท่าเดิม
       สายตีเกลียวไม่มีชิลด์ (Unshieled twisted pair : UTP) เป็นเทคโนโลยีการส่งภาพและเสียงไปตาม 2 เส้น ที่เหมือนกับสายโทรศัพท์ อินเตอร์คอม หรืออื่นๆ เป็นระบบเก่าที่มีราคาไม่แพง วิธีการของ UTP คือวิธีการของเครื่องส่ง-รับ ด้วยความถี่สูง ระบบ UTP ที่ใช้กันมีหลายแบบ เช่น CAT-3 หรือ CAT-5e ที่ใช้เมื่อต้องส่งในระยะไกล ซึ่งมีทั้งแพสซีฟ (Passive ไม่มีภาคจ่ายไฟในตัว) และแอ็กตีฟ (Active มีภาคจ่ายไฟ 12VDC ในตัว สำหรับการส่งระยะไกล) รูปแบบเบื้องต้นของระบบส่งภาพ UTP
       UTP ระบบแพสซีฟใช้เครื่องส่งและรับขนาดเล็ก สำหรับส่งภาพในระยะ 100-3,000 ฟุต ในขณะ UTP ระบบแอ็กตีฟสามารถส่งสัญญาณภาพได้ในระยะทาง 8,000 ฟุต สำหรับภาพขาวดำ และ 5,000 ฟุต สำหรับภาพสี คุณภาพของสัญญาณที่ได้ใกล้เคียงกับการใช้สายโคแอ็กเชียล


สายสัญญาณภาพสำหรับใช้กับกล้องวงจรปิด มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น สายโคแอ็กเชียล และทวินแอ็กเชียล RG6, RG59/U, BNC,RG11 และสายตีเกลียวไม่มีซิลด์ UTP