กล้องวงจรปิดมีหลักการทำงานทั่วไปจนพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่ดีขึ้น
กล้องวงจรปิดหลังทศวรรษ 1990 เทคโนโลยีได้พัฒนาไปสู่เจนเนอเรชั่นใหม่
จากเดิมที่กล้องวงจรปิดรับเอาเทคโนยีของกล้องสัญญาณภาพรวมแบบเดียวกับกล้องโทรทัศน์
หรือจากกล้องดิจิทัลและระบบภาพมัลติเพล็กซ์ บันทึกด้วยเครื่องเล่นวีดีโอเทประบบดิจิทัล
มาสู่การทำงานที่อยู่บนฐานข้อมูลในระบบเน็ตเวิร์คที่เรียกว่า LAN, WAN, WiFi, อินทราเน็ต,
อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารเวิลด์ไวด์เว็บ (เว็บไซต์ หรือ WWW)
หากพิจารณาจากโทรทัศน์วงจรปิดระบบพื้นฐานที่สุด
จะไม่ซับซ้อน เริ่มจากกล้องถ่ายเพียงตัวเดียว
ที่รับภาพเข้ามาด้วยการแปรแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านเลนส์เข้าสู่ตัวกล้อง
ทั้งหมดนี้จะแยกส่วนออกมาเพื่อติดตั้งในสถานที่ที่ต้องการ จึงเรียกว่ากล้องวงจรปิดในเคหสถานหรือสถานเฝ้าระวัง
(Camera
site)
เมื่อติดตั้งแล้วจึงลากสาย (Transmission Link)
เอาสัญญาณไปยังภาคควบคุม (Console หรือ Monitoring site)
เพื่อการสังเกตการณ์และการบันทึก
กล้องวงจรปิดเมื่อเพิ่มจำนวนขึ้นตามพื้นที่การเฝ้าระวังที่มากขึ้น
ขยายระบบจากกล้องเดี่ยวเป็นหลายกล้องจึงเพิ่มอุปกรณ์ตัดต่อภาพเข้ามา ก่อนส่งไปยังมอนิเตอร์และอุปกรณ์บันทึกอุปกรณ์ตัดต่อภาพเพื่อนำภาพจากกล้องทั้งหมดไปสังเกตการณ์
อาจใช้สวิตเชอร์ (Switcher)
เพื่อตัดต่อภาพทีละกล้อง ใช้มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer)
หากต้องการดูทุกกล้องจากหน้าจอเดียวกัน หรือควอด (Quad)
หากต้องการดูภาพทีละ 4 เฟรม
เมื่อการสื่อสารพัฒนาขึ้น
สัญญาณภาพได้เปลี่ยนจากสัญญาณภาพรวม (Composite component)
เป็นข้อมูลภาพดิจิทัล (Digital
video)
สามารถบีบอัดภาพเป็นแฟ้มข้อมูลด้วยวิธีการ MPEG จึงสามารถใช้ร่วมกับเครือข่ายการสื่อสารได้
ระบบบันทึกและควบคุมจึงทำได้จากหลายสถานที่
ยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ด้วยเครือข่าย (Network)
ที่เป็นอินเทอร์เน็ต, อินทราเน็ต, โลคอลแอเรียเน็ทเวิร์ค (LAN), ไวด์แอเรียเน็ทเวิร์ค (WAN)
และเครือข่ายไร้สาย (WiFi)
ภาพรวมของระบบภาพในยุคนี้จึงเป็นไปดังรูป
ซึ่งเป็นยุคที่กำลังใช้งานและเป็นยุคแห่งการตั้งต้นไปสู่แสนยานุภาพใหม่ของ CCTV
ระบบภาพเบื้องต้นจากเครือข่ายภายในองค์กรที่เรียกว่าโลคอลหรือ
LAN เกิดขึ้นครั้งแรกตามมาตรฐานของ IEEE 802.3 ที่เรียกว่าอีเทอร์เน็ต
ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทซีร็อกซ์
เพื่อให้เชื่อมต่อได้ทั้งอีเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ต ด้วยอัตราข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที เรียกระบบ 100 BASE-T จนเข้าสู้อีเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1 จิกะบิตต่อวินาที ระบบ LAN จึงเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายภาพนอกที่กว้างขึ้นเป็นระบบ
WAN
เมื่อระบบ WAN ได้เปิดโลกแห่งข้อมูลขึ้นมา
มีการคิดถึงเครือข่ายข้อมูลที่โตกว่านั้น
ซึ่งไม่มีขีดจำกัดเรื่องระยะทางและพื้นที่ มาตรฐานทรานมิชชั่นคอนโทรลโปรโตคอล/อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (TCP/IP)
ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการสื่อสาร สามารถส่งจดหมาย ข้อมูลใหญ่ ระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้โดยสะดวกนวดเร็ว
โลกของการส่งข้อมูลผ่าน WWW หรือเว็บ (The Web)
เข้ามาผนวกกับระบบของกล้องวงจรปิด ดังแสดงแผนผังการใช้งานในรูป จึงชี้ให้เห็นว่าระบบภาพที่ผ่านกล้องวงจรปิด
มีการงานที่กว้างขวาง ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงวงแคบๆ อีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น