กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559

จ้างช่างติดกล้องวงจรปิด ตรวจสอบประสิทธิภาพก่อนปล่อยช่างกลับ และแก้ไขระบบกล้องวงจรปิดเบื้องต้น


จ้างช่างติดกล้องวงจรปิด ตรวจสอบประสิทธิภาพก่อนปล่อยช่างกลับ และแก้ไขระบบกล้องวงจรปิดเบื้องต้น
       ช่างติดตั้งกล้อง CCTV ทุกวันนี้มีให้เห็นอยู่กลาดเกลื่อนทั่วบ้านทั่วเมือง หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมร้านรับติดจานดาวเทียมหรือช่างเคเบิลทีวีถึงรับติดกล้อง CCTV อันนี้ก็อาจมีหลายสาเหตุ แต่ที่แน่ๆ คือการติดจานดาวเทียมและติดตั้งกล้อง CCTV มักนิยมใช้สายสัญญาณ RG6 เหมือนกัน เหตุผลอื่นนอกเหนือจากนี้ไม่อาจหาคำตอบให้ได้


       เราไม่ควรเพิกเฉยหรือนิ่งดูดาย กับการทำงานของช่างบางรายที่อาจไม่ใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่อาจสร้างปัญหาให้เราภายหลัง ช่างอาจพะวงแต่เรื่องสัญญาณภาพมาหรือไม่ คมชัดตามคุณสมบัติของตัวกล้องที่เราเลือกหรือไม่ เพียงเท่านี้ก็แบกบันไดหนีกลับร้านกลับบ้านไปหน้าตาเฉย
       เช่นนี้ เราผู้จ้างช่างมาติดตั้งแทบไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับระบบ CCTV หรือแม้กระทั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราสมควรตรวจสอบตรงไหนบ้างเพื่อให้ทราบว่าช่างผู้มาติดตั้งปฏิบัติตามมาตรฐานการติดตั้งกล้อง CCTV อย่างถูกต้อง ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องยากหากเราจะหาความรู้ใส่สมองไว้บ้าง เผื่อเมื่อถึงเวลาที่ช่างมาติดตั้ง จะได้ถามนั้นถามนี่ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้อง CCTV ได้ถูกจุด ไม่ใช่ไปแบไต๋ให้ช่างรู้ว่า ยัยนี่ไม่รู้เรื่องนี่หว่า หวานซิ
       เริ่มแรกในการสังเกตการณ์การติดตั้งกล้อง CCTV ของช่างที่เราจ้างมา คือ การใช้สายสัญญาณ และการเดินสายสัญญาณ ในเรื่องของการใช้สายสัญญาณช่างอาจจะใช้สายประเภท RG-59/U, RG-6/U, RG-11/U, UTP แต่ที่นิยมใช้ RG-6 ช่างส่วนใหญ่คิดว่าสาย RG-6 ใช้งานง่าย สิ่งสำคัญที่เราจะต้องตรวจสอบก็คือจำนวนเปอร์เซ็นต์ของสายที่แกนทองแดง และชิลด์ของสายต้องไม่น้อยกว่า 128 ชิลด์ จะให้ดีควรบังคับให้ช่างติดตั้งใช้สาย RG-6 144 ชิลด์จะเป็นการดีที่สุด
       และถ้าหากจำเป็นจะต้องลากสายยาวกว่า 150 เมตร ควรเน้นย้ำให้ช่าง เลือกใช้สายสัญญาณที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เช่น ยี่ห้อ dBy เป็นต้น เพราะสายสัญญาณ CCTV ก็เหมือนๆ กันกับสายไฟธรรมดา ยิ่งมีทองแดงเป็นตัวนำไฟฟ้าในสายเยอะมากเท่าใด ก็ยิ่งดีเท่านั้น สายไม่ร้อนไม่เป็นอันตราย หากเป็นสายสัญญาณของ CCTV จะทำให้นำสัญญาณได้ดี และได้ภาพที่คมชัด
       หรือหากเป็นไปได้ ถ้าระบบ CCTV ของเราจะต้องใช้กล้อง CCTV ไกลมากๆ ชนิดที่ว่า 500 เมตรขึ้นไป เราควรเน้นให้ช่างเลือกใช้สาย UTP โดยใช้ร่วมกับตัวแปลง UTP-BNC จะทำให้ภาพมีความคมชัดอย่างน่าพอใจ อีกทั้งสาย UTP เดินสายได้สวยงามไม่บิดเบี้ยวหรือไม่ว่าจะเดินสายด้วยวิธีใด เนื่องจากสายสัญญาณดังกล่าวลากสายง่าย และไม่ต้องกลัวสัญญาณรบกวนหรือภาพจะไม่คมชัดอีกด้วย
       อีกเรื่องหนึ่งที่เราจำเป็นต้องตรวจตราและจ้ำจี้จ้ำไช หากเราต้องการให้ช่างติดตั้งกล้อง CCTV ในบางจุดที่อาจเกิดความยุ่งยากในตัวช่างผู้ติดตั้ง เช่นนั้น เขาจะอาศัยในช่วงเวลาที่เราไม่อยู่ หรือเมื่อเราเผลอติดตั้งแบบส่งเดชแบบง่ายเข้าไว้ กล้อง CCTV จึงอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงตามความต้องการของเรา ภาพที่ได้อาจสามารถจับบันทึกได้ทุกรายละเอียด แต่ตัวกล้องถูกติดตั้งอย่างดูเด่นเป็นสง่า ใครเดินเข้ามาชมบ้านเป็นทักว่า โห ติดกล้องวงจรปิดแบบนี้ก็มีหวังได้ห้อยต่องแต่ง เพราะพ่อยอดประคุณโจรประเคนเหล็กแป๊บเข้าให้ไม่ถึง 2 ทีก็เรียบร้อยแล้ว
       ในเรื่องของการกลัวเปลืองสายสัญญาณ แน่นอนที่สุดเราอาจเกิดปัญหาต้องถกเถียงกับช่างผู้มาติดตั้งระบบ CCTV ที่บ้านหรือพื้นที่เป้าหมายของเรา เนื่องจากความต้องการในการที่จะแอบซ่อนเครื่องควบคุมหรือเครื่องบันทึกภาพให้อยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุด ดังนั้นอาจทำให้ช่างต้องใช้สายสัญญาณมากกว่าปกติ ซึ่งเราจะต้องเน้นย้ำให้การติดตั้งไม่ว่าจะเป้ตัวกล้อง หรืออุปกรณ์ควบคุมต่างๆ เป็นไปตามความต้องการของเรา แต่ก็จงอย่าละเลยในคำเตือนและคำแนะนำของช่างบ้าง
       สำหรับเราๆที่เลือกใช้กล้อง CCTV ที่มีเลนส์เป็นส่วนประกอบของกล้อง โดยมากแล้วเลนส์ Fix จะแถมมากับตัวอุปกรณ์อยู่แล้วหากพื้นที่เป้าหมายของเราเหมาะสมกับการใช้เลนส์ Fix ในการจับภาพได้คมชัด เราก็จะต้องปรึกษากับช่าง เพื่อขอเปลี่ยนเลนส์ที่มีเหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย แน่นอนว่าบางครั้งในการทดสอบตัวกล้อง เราอาจเห็นภาพชัดแจ๋วที่ปรากฏอยู่ในมอนิเตอร์ แต่ความคมชัดนั้นอาจไม่ได้ชัดที่สุด หรือเต็มประสิทธิภาพของคุณสมบัติของตัวกล้องก็ได้ ดังนั้นการเลือกเลนส์ที่เหมาะสม เช่น เลนส์ที่มีระบบปรับรูแสงแบบอัตโนมัติ และแบบปรับเอง ซึ่งทั้งสองระบบนี้มีการจ่ายไปเพื่อให้ระบบการปรับรูรับแสงที่แตกต่างกัน เช่นนั้น เราควรเลือกให้ดีและให้เหมาะสมกับตัวกล้องมากที่สุดนั่นเอง
       เมื่อเดินสายสัญญาณเสร็จเรียบร้อย การติดตั้งกล้องเสร็จเรียบร้อยทุกจุด การลองภาพที่แสงดอยู่บนจอมอนิเตอร์ คือการทดสอบที่สำคัญ หากเกิดปัญหาขึ้นในขณะนั้น เราควรรีบแจ้งให้ช่างทำการแก้ไขให้เรียบร้อยเป็นที่หน้าพอใจเสียก่อน ซึ่งบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นเราอาจไม่ทราบจริงๆ มันเป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข แต่เราก็ต้องเงียบเพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นปัญหา เราอาจจะได้รับคำถามจากช่างว่า แรกๆมันเป็นแบบนี้ล่ะครับ วันสองวันเดี๋ยวก็หายไปเองเช่นนี้เราก็จำเป็นต้องเชื่อเพราะเราไม่รู้อะไรเลยจริงๆ เราลองมาดูตัวอย่าง ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไรบ้าง
       1.ภาพดับ หรือไม่มีภาพเลย
       2.ภาพเกิดสั่นไหว
       3.ภาพเป็นคลื่น
       4.ภาพเป็นลางๆ มืดบางครั้งจะเป็นสีดำ
       5.ภาพเบลอ ไม่คมชัดเท่าที่ควร
       หรือหากเป็นกรณีที่เราได้ติดตั้งกล้อง CCTV แบบอินฟราเรด อาจตรวจสอบขั้นตอนโดยการใช้มือปิดเซ็นเซอร์ไว้ จากนั้นรอดูว่าหลอดอินฟราเรดจะทำงานหรือไม่ โดยปกติแล้วเมื่อเซ็นเซอร์ไม่ได้รับแสงสว่างหลอด LED จะเห็นเป็นไฟสีแดงในทันที
       การแก้ไขระบบกล้องวงจรปิดเบื้องต้น
       ถ้าปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบกล้อง CCTV เกิดขึ้นเมื่อหมดประกันจากผู้ติดตั้งแล้ว เมื่อเกิดปัญหาเราอาจหาวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ หรือในระหว่างที่ช่างยังไม่มา ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น ก็คงคล้ายกับปัญหาที่ได้เคยแนะนำให้ ควรตรวจสอบกับการติดตั้งของช่างนั้นเอง ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจทำการแก้ไขเบื้องต้นด้วยตัวเองดังนี้
       การแก้ปัญหาภาพดับ หรือไม่มีภาพเลย
       ในกรณีที่ภาพดับหรือดับเป็นบางกล้อง ทุกช่วงเวลา ปัญหานี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อยากให้ลองตรวจสอบจุดเชื่อมต่อต่างๆว่าหลวมหรือเกิดการหลุดหรือไม่ จากนั้นทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ต่อกล้องวงจรปิด โดยการสลับอุปกรณ์กับกล้องวงจรปิดที่เป็นปกติ เพื่อหาว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหาแท้จริงหรือหากปัญหายังคงไม่หายไป จึ่งค่อยเริ่มขั้นตอนการตรวจสอบดังต่อไปนี้
       1.สลับสายแลนหลังเครื่องบันทึกภาพ โดยการนำสายแลนของช่องที่มีปัญหา ย้ายไปเสียบกับ Balun (Balun คือ ตัวรับ DATA จากตัวกล้อง CCTV ซึ่งเป็นสัญญาณอะนาล็อก เพื่อทำการแปลงสัญญาณอะนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล) ตัวอื่นของช่องที่มีภาพปกติว่าภาพติดหรือไม่ ถ้าภาพติดปัญหาอาจจะเกิดจาก Balun หลังเครื่องบันทึกภาพเกิดการเสียหาย
       2.ย้ายช่องที่ใช้ต่อกล้องวงจรปิดด้านหลังเครื่องบันทึก โดยทำการย้ายพร้อมกับ Balun ชุดเดิม ในกรณีที่สลับช่องแล้วภาพติด แสดงว่าปัญหาอาจจะเกิดจากเครื่องบันทึกภาพเสียหายในบางช่อง และลองย้ายช่องที่ภาพติดปกติมาเสียบกับช่องที่ภาพไม่ติดด้วยอีกครั้งเพื่อตรวจสอบว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากเครื่องบันทึกภาพหรือไม่ นอกจากนี้เราควรลองย้ายพร้อมกับ Balun ทั้งชุด
       3.สลับ Balun ในด้านที่ติดกล้อง CCTV โดยการนำ Balun ของกล้อง CCTV ที่ติดปกติ ไปลองเปลี่ยนโดยถอด Balun ของกล้องที่มีปัญหาออก จากนั้นนำตัวที่เป็นปกติมาใส่แทน เพื่อทดสอบว่าภาพติดหรือไม่
       4.แต่หากเป็นกรณีที่ภาพดับ หรือไม่มีภาพทุกกล้องเลยในทุกช่วงเวลา ปัญหานี้อาจเกิดจาก Power Supply หรือ Adapter กล้อง CCTV การเกิดความเสียหาย หรือเกิดการเสื่อมสภาพการใช้งาน จึงไม่สามารถจ่ายไฟเลี้ยงกล้อง CCTV ได้นั่นเอง
       การแก้ปัญหาภาพเป็นคลื่น หรือสั่นไหว
       โดยปกติแล้วกล้องวงจรปิดที่มีอาการภาพเป็นคลื่น จะเกิดจากตัว Power Supply หรือ Adapter ที่จ่ายไฟไปเลี้ยงกล้อง CCTV อาจมีปัญหา ทำให้ไฟที่ไปเลี้ยงตัวกล้อง CCTV ซึ่งปกติตัวกล้องควรจะได้กำลังไฟเต็มที่นานเข้าจึงเป็นสาเหตุของการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ภายในตัว Power Supply หรือ Adapter
      

การแก้ปัญหาภาพเป็นลางๆ มืดบางครั้งจะเป็นสีดำ
       กรณีนี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาทางด้านจุดเชื่อมต่อต่างๆ ของระบบ กล้อง CCTV อาจจะเกิดอาการหลวมหรือไม่แน่น เช่น หัวแลนที่เสียบกับบาลัน จึงควรตรวจเช็คทั้งสองด้าน คือ ด้านตำแหน่งที่ติดกล้องวงจรปิดและจุดที่วางเครื่องบันทึกภาพ หรือหัว BNC ที่ต่อกับเครื่องบันทึกภาพ และหัว BNC ที่ต่อกับกล้อง CCTV
       การแก้ปัญหาภาพชัดตอนกลางวัน
       การแก้ปัญหาภาพชัดตอนกลางวัน แต่กลางคืนมืดสนิทหรือไม่มีภาพเลย ปัญหานี้อาจเกิดจากสาเหตุที่กล้อง CCTV ที่มีอินฟราเรด ใช้กำลังไฟมากเกินไปในช่วงกลางวัน เมื่อต้องมีกำลังไฟเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น เพื่อจ่ายให้กับหลอดอินฟราเรดให้สามารถเห็นภาพในที่มืดได้ เช่นนั้นหาก Adapter หรือ Power Supply มีปัญหาทำให้กำลังไฟที่จ่ายไปให้กล้อง CCTV กลับน้อยลงกว่าปกติ จึงทำให้กล้อง CCTV ไม่สามารถที่จะส่งสัญญาณได้เต็มที่ตามปกติ
       หรืออาจเป็นอีกกรณีหนึ่ง ในกล้อง CCTV ที่ไม่มีอินฟราเรด ปัญหาอาจเกดแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะทำให้ระบบการรับภาพของกล้อง CCTV เช่น รุ่นมาตรฐานไม่สามารถจับภาพได้ ในตอนแรกที่ติดตั้งอาจมีแสงเพียงพอในการทดสอบ เมื่อแสงน้อยลงจึงทำให้กล้อง CCTV รุ่นดังกล่าวไม่สามารถจับภาพได้ชัด นอกจากนี้กล้อง CCTV ที่ไม่มีอินฟราเรดในแต่ละรุ่น เช่น กล้อง CCTV แบบเดย์ไนท์ เป็นต้น จะมีคุณสมบัติระบุไว้ที่ตัวอุปกรณ์ว่า สามารถมองเห็นในที่มืดได้ในระดับใดโดยมีหน่วยเป็น Lux ซึ่งแน่นอนว่า หากเป็นกล้อง CCTV แบบอินฟราเรดนั้น จะสามารถมองเห็นในที่มืดได้ในค่า 0 Lux ดังนั้นยิ่งค่าน้อยก็สามารถมองในทื่ดได้มากขึ้น
       การแก้ปัญหาภาพเบลอ
       ปัญหาภาพเบลอ อาจเกิดจากโฟกัสเลนส์เกิดการเคลื่อนเนื่องจากไม่ได้ทำการล็อค หรือไม่แน่น การแก้ปัญหาง่ายๆ ในเบื้องต้น ก็คือ ปรับโฟกัสหน้ากล้อง CCTV ใหม่ โดยหาจุดที่ชัดที่สุดที่จอมอนิเตอร์ จากนั้นจึงหมุนล็อคให้แน่นและอย่าหมุนแน่นเสียจนเกิดความเสียหาย แต่หากเป็นกล้อง CCTV แบบอินฟราเรด จะต้องถอดฝากระจกด้านหน้า เพื่อทำการปรับโฟกัสของเลนส์
       หรือหากเป็นอีกกรณีหนึ่งสำหรับกล้อง CCTV แบบอินฟราเรด ปัญหานั้นก็คือ กลางวันชัด กลางคืนมัว มองไม่เห็น หรือภาพแสดงออกเป็นฝ้าโดยเฉพาะในโหมดขาว-ดำ เมื่อหมดแสงในยามคืน อาจแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ดังนี้
-      กระจกเป็นคราบฝ้าขาวๆ ให้ทำการถอดเช็คทำความสะอาดทั้ง 2 ด้น
-      ใช้มือปิดเซ็นเซอร์ไว้แล้วดูว่าหลอดอินฟราเรดทำงานหรือไม่ โดยปกติจะเห็นเป็นไฟสีแดงที่หลอด LED


การดูแลรักษากล้อง CCTV
การดูแลรักษากล้อง CCTV เป็นเรื่องสำคัญพอๆ กับการเฝ้าระวังและสอดส่องดูแลพื้นที่เป้าหมาย เช่นนั้น การดูแลรักษาระบบ CCTV อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง ย่อมเป็นการยืดอายุการใช้งาน และที่สำคัญทำให้เรามั่นใจได้ว่า ระบบ CCTV ของเราพร้อมใช้งานในพื้นที่เป้าหมายอยู่เสมอ เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นระบบก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ดังนั้นการดูแลรักษาจึงมีอยู่ไม่กี่ขั้นตอนดังนี้
1.ตรวจสอบการทำงานของเครื่องบันทึก และกล้อง โดยการเปิดดูภาพจากกล้องวงจรปิด สิ่งที่แสดงถึงความผิดปกติ เช่น สัญญาณภาพขาดหาย มีสัญลักษณ์เตือนต่างๆ ขึ้นบนหน้าจอ เช่น ไม่พบฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
2.ตรวจสอบความคมชัดของกล้องและสิ่งของที่อาจจะบังมุมมองของกล้องได้ หากมีฝุ่นเกาะที่หน้าเลนส์ของกล้อง เราแนะนำให้ใช้ผ้าขนหนูเช็ดที่หน้าเลนส์
นอกจากนี้สายที่ต่อเข้ากับตัวกล้อง CCTV อาจเกิดการชำรุดกรอบเสียหาย โดยเฉพาะในจุดที่อยู่ภายนอกอาคาร เนื่องจากโดนแดดและฝนเป็นเวลานาน ดังนั้นเราอาจพิจารณาเลือกใช้กล้อง PVC หรือท่อ เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดหรือละอองฝนได้





วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การประหยัดการใช้ไฟฟ้าเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด

การประหยัดการใช้ไฟฟ้าเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด
การประหยัดไฟฟ้าไม่ใช้เป็นเรื่องยากที่ทุกคนจะต้องปฎิบัติ เพียงแต่ขอให้มีความตั้งใจจริง ทำอย่างพร้อมเพียงผสมกับความอดทนบ้างเล็กน้อยเท่านั้น หากเราได้กระทำอย่างเป็นนิสัยเกิดความเคยชินในชีวิตประจำวันแล้ว นอกจากเราจะประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัวแล้วยังทำให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติอีกด้วย การประหยัดเราได้ยินได้ฟังกันมาตลอดไม่ว่าจะเป็นสื่อ เป็นที่โรงเรียน ว่าไฟฟ้าคือหัวใจสำคัญของชาติให้เราช่วยกันประหยัด แต่การประหยัดอย่างไรก็ไม่สู่การจะเข้าใจว่าทำไม่ต้องประหยัด เราน่าจะมาพิจารณากันเสียก่อนว่าเราจะเริ่มต้นกันที่ตรงไหนดี อย่างไรดี การประยัดไฟฟ้าเราควรเริ่มต้นได้ตั้งแต่ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือกล้องวงจรปิดมาใช้งาน ถ้าเราซื้อตามหลักเกณฑ์ของวิชาไฟฟ้าก็ย่อมจะเกิดผลในการประยัดพลังงาน เราจึงขอแนะนำ 4 วิธี

1. ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ค่าใช้จ่ายของเครื่องใช้ไฟฟ้าปกติคือ ค่าไฟฟ้าที่จ่ายไปกับกำลังไฟฟ้าประจำเครื่องใช้นั้นๆ อันนี้จะมีตัวหนังสือเขียนติดเอาไว้ที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ว่ามันกินไฟเท่าไหร กี่วัตต์ ใช้กับแรงดันกี่โวลต์แล้วดำเนินตามขั้นตอน ต้องคำนวณหน่ายไฟฟ้าที่ใช้ง่ายๆ จำนวนหน่ายไฟฟ้าที่ใช้ = จำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ X จำนวนชัวโมงที่ใช้งาน/1000 ค่าใช้จ่าย = จำนวนหน่ายไฟฟ้าที่ใช้ X อัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ต่อหน่วย ดังนั้นเราต้องรู้จำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน รู้อัตราค่ากระแสไฟฟ้า (บาท) ต่อหน่วยโดยประมาณ เราก็คำนวณออกมาได้ว่า เดือนหนึ่งเราใช้นานกี่ชั่วโมง จะเสียเงินเท่าไหรถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีวัตต์สูงก็จะเสียค่าไฟมาก

2. ความปลอดภัยและความไว้วางใจ ไฟฟ้ามีคุณอนันต์ก็จะมีโทษมหันต์ด้วยเหมือนกันครับ ไฟฟ้ามีอันตรายถ้าเราใช้ไม่ถูกวิธี ดังนั้นการออกแบบการผลิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ เราควรเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือกล้องวงจรปิดที่ออกแบบดีและเป็นที่ไว้วางใจได้ แบบที่ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงผู้บริโภคมิใช่มุ่งแต่หากำไร ทางที่ดีเวลาจะเลือกควรปรึกษาหารือกับช่างหรือผู้ชำนาญการเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย

 3. ราคา ราคาของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากล้องวงจรปิด เป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่แน่เสมอไปว่าของราคาถูกจะเป็นการประหยัด เพราะของถูกอาจจะมีคุณภาพต่ำก็ได้ ราคาควรสมกับคุณภาพสินค้าด้วยเราต้องศึกษาให้ดีก่อนด้วยว่าจะเน้นราคาถูก หรือต้องการที่มีคุณภาพมาใช้งาน

 4. ค่าติดตั้งและบำรุงรักษากล้องวงจรปิด การซื้อเครื่องบันทึก เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ควรพิจารณาถึงค่าติดตั้งและบำรุงรักษาด้วย ซื้อแล้วต้องมาเดินสายไฟใหม่ ต้องทุบหรือรื้อผนังทิ้ง หรือต้องดัดแปลงตกแต่งบ้านใหม่ ค่าติดตั้งก็จะสูงมาก จะเสียค่าจ้างแพงกว่าค่าเครื่องไฟฟ้าก็เป็นได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือค่าซ่อมกล้องวงจรปิด ค่าอะไหล่ ค่าบำรุงรักษา ควรสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญก่อนว่าเคยใช้เครื่องชนิดนี้แล้วเป็นอย่างไร แล้วจึงค่อยตัดสินใจเลือกซื้อชนิดที่มีค่าซ่อมถูกๆ

การหาขนาดสายที่จะนำมาเดินสายทั้งภายในและภายนอกเพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด

การหาขนาดสายที่จะนำมาเดินสายทั้งภายในและภายนอกเพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด
1.  คำนวณหาขนาดสายเมน (Main supply) ที่จะใช้เป็นสายร่วมรวมใช้ไฟฟ้าของทุกวงจรกิ่งที่จะนำมาต่อจากสายเมนทั้งหมด ใช้กระแสเท่านั้นๆ แอมแปร์ ในทางไกลเท่านั้นๆ เมตร
2.  คำนวณหาขนาดสายเมนย่อย ที่จะทำการแยกการใช้งานออกไปว่ามีกี่ทาง กี่จุด รวมทั้งหมดเท่าไหร เป็นสายร่วมขนาดเล็กลงมาจากสายเมน สายกิ่งจะต้องรับกระแสที่ใช้ทุกดวงและทุกเต้าเสียบที่ต่อจากกิ่งนั้น
3. การใช้แสงสว่าง และพัดลมตั้ง ไม่เกิน 12 นิ้ว หรือเตาไฟฟ้า




ทางการไฟฟ้าได้กำหนดให้ขนาดของสายประจำดวงโคม และปลั๊กซึ่งโดยปกติกำหนดคิดให้ใช้เท่าแสงสว่างและพัดลมตั้งโต๊ะ ขนาดใช้ธรรมดา ดวงละ 50W ทุกๆ จุดพร้อมกัน ใช้สายหุ้มขนาด 0.65 ตร.มม. ถึง 1.0 ตร.มม.   และสำหรับร้านค้า หน้าต่างของห้องรับแขกใหญ่ๆ ห้องอาหารใหญ่ๆ ลานหรือเฉลี่ยงนั่งเล่นกำหนดให้ดวงละหรือปลั๊กละ 100W ทุกจุดพร้อมกัน ใช้สายหุ่มขนาด 1.0 - 1.5 ตร. มม.  หากไม่นับการใช้ไฟฟ้าเต้าเสียบ (ปลั๊ก) พิเศษ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า 100W เช่น เตารีด หม้อหุงข้าว เครื่องเปาผม เพราะกินไฟฟ้าตั้งแต่ 2 - 15A ทั้งนั้นตามขนาดเล็กหรือใหญ่ก็มากแอมแปร์