กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2562

ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อไอน้ำ (กล้องวงจรปิด)

กล่องใส่กล้องวงจรปิด 

กับความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อไอน้ำภายในโรงงาน


กล่องใส่กล้องวงจรปิด  กับภาชนะที่ให้ความร้อนกับน้ำจนเป็นน้ำที่มีความร้อนหรือเป็นไอน้ำที่มีความอันและอุณหภูมิสูง และไหลออกจากหมอไอน้ำสสำหรับใช้ในกระบวนการต่าง ๆ 

 ระบบการผลิตโรงงานอุตสาหกรรม หม้อไอน้ำจึงมีอันตรายสูงขณะใช้งาน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย 

 ความสูญเสียต่อทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สินเป็นอย่างมากถ้าไม่ได้ทำการบำรุงรักษาที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ

วัสดุทำหม้อไอน้ำ

ทำจากเหล็กกล้า หรือเหล็กกล้าผสม ส่วนเหล็กกล้าไร้สนิมห้ามใช้งานในส่วนของหม้อไอน้ำแบบเปียกสมัยใหม่ แต่จะใช้ในส่วนที่เป็นไอดงที่ไม่สัมผัสกับน้ำร้อน

หม้อไอน้ำในที่พักอาศัย นิยมใช้ทองแดงหรือทองเหลือง มีขนาดเล็กและสร้างได้ง่าย ขึ้นรูปได้ดี และมีความสามารถในการนำความร้อนสูง

ส่วนเหล็กหล่อใช้สำหรับทำความร้อนของเครื่องทำน้ำอุ่น มีวัตถุประสงค์ในการผลิตน้ำร้อนที่ไม่เป็นไอน้ำ และทำงานที่แรงดันต่ำจะไม่เป็นน้ำเดือด และความเปราะบางของเหล็กหล่อ ทำให้ไม่เหมาะสำหรับหม้อไอน้ำแรงดันสูง

เชื้อเพลิง

แหล่งกำเนิดความร้อน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้ ถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ในเตานิวเคลียร์ใช้แหล่งกำเนิดความร้อนเพื่อผลิตไอน้ำแบบโดยตรง หรือแลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อไปขับเคลื่อนกังหันก๊าซ

ชนิดของหม้อไอน้ำ

โดยทั่วไปหม้อไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ และหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ ก๊าซร้อนจะไหลผ่านเข้าไปในท่อ น้ำจะถูกป้อนเข้าหม้อไอน้ำและถูกเปลี่ยนเป็นไอน้ำ และมีแรงดันไอน้ำในระดับต่ำจนถึงปานกลาง 

 หม้อไอน้ำแบบท่อไฟมีอัตราการผลิตสูง หม้อไอน้ำแบบท่อไฟใช้ทำงานได้ดีกับเชื้อเพลิงน้ำมัน ก๊าซ หรือของแข็ง 

 และด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจะมีโครงสร้างแบบรวมเป็นชุดที่สามารถใช้ได้กับเชื้อเพลิงทุกชนิด

หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ น้ำจะไหลป้อนเข้าหม้อไอน้ำผ่านทางท่อน้ำที่วางรอบ ๆ หม้อไอน้ำที่อยู่รอบจะได้รับความร้อนจากการเผาไหม้

ของก๊าซและกลายเป็นไอน้ำในพื้นที่ไอน้ำของหม้อไอน้ำ การออกแบบหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำจะมีความจุไอน้ำที่ความดันสูงมาก 

 หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำจำนวนมากในปัจจุบันจะมีโครงสร้างแบบรวมเป็นชุด ถ้าใช้น้ำมันนหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง


สินค้าแนะนำ  :   กล้องวงจรปิด




 

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อไอน้ำ

ข้อบังคับและกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อควบคุมงานหม้อไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมให้ถูกต้องและปลอดภัยต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายควบคุมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อไอน้ำมีเป็นสังเขปดังนี้

1. สาระและความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ หรือสิ่งที่นำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

- มั่นคง แข็งแรง เหมาะสม ในกรณีที่มีเหตุอันควร ให้นำเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งที่นำมาใช้ในโรงงานชนิดใดต้องมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

- ใช้เครื่องจักรที่มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนของเสียง หรือรบกวนผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียง

- มีเครื่องป้องกันอันตราย อันอาจเกิดจากส่วนที่เคลื่อนไหวของเครื่องจักรตามความจำเป็นเหมาะสม

- บ่อหรือถังสนองกันกับเครื่องจักรที่อาจเป็นอันตรายในการทำงานของคนงาน ต้องมีขอบหรือราวกั้นที่แข็งแรงและปลอดภัย

- หม้อต้มหรือหม้อไอน้ำที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อน เครื่องอัดก๊าซ และระบบท่อ เครื่องจักรหรือภาชนะที่ทำงานสนองกัน 

ต้องได้รับการออกแบบคำนวณและสร้างตามมาตรฐานที่ยอมรับ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

- ภาชนะบรรจุที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับ มีอุปกรณ์ความปลอดดภัยและส่วนประกอบที่จำเป็นตามหลักวิชาการ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

- ภาชนะบรรจะวัตถุอันตรายหรือของเหลวอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่คน สัตว์ พืข หรือทรัพย์และสิ่งแวดล้อม ต้องมั่นคงแข็งแรงเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับ 

 โดยมีคำรับรองของผู้กอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และจะต้องสร้างเขื่อนหรือกำแพงโดยรอบที่สามารถจะกักเก็บปริมาณของวัตถุนั้นได้ทั้งหมด

 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของวัตถุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ภาชนะบรรจุตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้งต้องมีสายล่อฟ้าให้เป็นไปตามหลักวิชาการ และภาชนะบรรจุที่อาจเกิดประจุไฟฟ้าสถิตได้ในตัวต้องต่อสายดิน

- การติดตั้งท่อและอุปกรณ์สำหรับส่งวัตถุตามท่อ ต้องเป็นไปตามหลักวิชาการที่ยอมรับกัน

- ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟฟ้า การติดตั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามหลักวิชาการที่ยอมรับกัน โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

2. โรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ 

 ต้องมีผู้ควบคุมที่คุณวุฒิวิชาชีพชั้นสูงหรือช่างผู้ชำนาญงานที่ผ่านการฝึกผบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ผู้ประกอบกิจการ

ต้องจัดให้มีผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เป็นวิศวกรผู้ควบคุมและมีอำนาจการใช้หม้อไอน้ำด้วย

3. โรงงานที่ประกอบกิจการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อน ผู้ประกอบกิจการจะต้องจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ดูแลควบคุมการสร้างและการซ่อม



 

กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) มีสาระที่สำคัญพร้อมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำมีดังนี้

1. การใช้หม้อไปน้ำในโรงงานหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลว ก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ จะต้องจัดทำรายงานข้อมูลการตรวจและการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

2. โรงงานที่สร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ จะต้องจัดทำรายงานข้อมูลการผลิตการตรวจและการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

3. โรงงานที่มีการผลิต การเก็บ หรือการใช้วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย จะต้องจัดทำข้อมูลความปลอดภัยที่เกี่ยวกับลักษณะอันตรายตามคุณสมบัติของวัตถุนั้น ๆ

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2528) เกี่ยวกับเรื่องหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งมีสาระสำคัญและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อน้ำ ดังนี้

1. ผู้รับใบอนุญาตประกอบโรงงานทุกประเภท หรือที่มีการใช้หม้อน้ำสำหรับประกอบกิจการโรงงาน ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายดังนี้

- จะต้องติดตั้งลิ้นนิรภัยอย่างน้อย 2 ชุด

- จะต้องติดตั้งงเครื่องวัดระดับน้ำชนิดหลอดแก้วไว้ให้เห็นชัดเจน พร้อมลิ้นปิดเปิดเพื่อตรวจสอบระดับน้ำ

- จะต้องติดตั้งเครื่องวัดความดันไอน้ำ และต้องมีเครื่องหมายแสดงระดับความดันอันตรายไว้ให้เห็นได้ชัดเจน

- จะต้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำเข้าหม้อไอน้ำ และจะต้องสามารถสูบน้ำเข้าต้องมากกว่าอัตรากาดตัรผลิตไอน้ำ

- จะต้องติดตั้งลิ้นกันกลับที่ท่อน้ำเข้าหม้อไอน้ำและจะต้องติดตั้งให้ใกล้หม้อไอน้ำให้มากที่สุด

- จะต้องติดตั้งลิ้นจ่ายไอน้ำทที่ตัวหม้อไอน้ำ

- ในโรงงานที่หม้อไอน้ำ 2 เครื่องขึ้นไป ถ้าใช้ท่อจ่ายไอน้ำร่วมกันต้องติดตั้งลิ้นกันกลับที่ท่อหลังลิ้นจ่ายของแต่ละเครื่อง

- หม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว จะต้องติดตั้งเครื่องควบคุมความดันและเครื่องควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติ

- และจะต้องติดตั้งเครื่องสัญญาณเตือนอัตโนมัติ เพื่อแจ้งอันตรายถ้าระดับน้ำในหม้อไอน้ำต่ำกว่าระดับปกติ

- จะต้องจัดให้มีฉนวนหุ้มท่อจ่ายไอน้ำ

- ท่อน้ำ ท่อจ่ายไอน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ รวมถึงลิ้นปิดเปิด ที่ใช้กับหม้อไอน้ำ จะต้องเป็นชนิดที่ใช้ส้ำหรับหม้อไอน้ำเท่านั้น

- หม้อไอน้ำที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องติดตั้งบันไดและทางเดินไว้รอบหม้อไอน้ำ

- จะต้องจัดไหม้ลิ้นปิดเปิด เพื่อระบายน้ำจากล่างสุดของหม้อไอน้ำ ให้สามารถระบายได้สะดวกไปยังที่ปลอดภัยและเหมาะสม

2. ผู้รับใบอนุญาตประกอบโรงงานทุกประเภทหรือชนิดที่มีการใช้หม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน จะต้องจัดใ

ห้มีการตรวจทดสอบความปลอดภัยในการใช้งานของหม้อไอน้ำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรสาขาเครื่องกลประเภทสามัญวิศศวกร 

 แล้วส่งเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำ ตามแบบที่กรมโรงงานอตุสาหกรรมกำหนดไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้ตรวจทดสอบ

3. ผู้รับใบอนุญาตประกอบโรงงานทุกประเภทหรือชนิดที่มีการใช้หม้อไอน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน จะต้องจัดให้มีผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำ 

 ที่มีคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างกลโรงงาน ช่างยนต์ หรือช่างผั้ชำนาญงาน ที่ผ่านการทดสอบและฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อไอน้ำจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรอง

4. ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ จะต้องจัดให้มีวิศวกรสาขาเครื่องกล ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติวิศวกรรมเป็นผู้ควบคุมการสร้างหรือซ่อม

5. วิศวกรผู้ตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานของหม้อไอน้ำ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามระเบียบ และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด

6. กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขึ้นทะเบียบเป็นวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำในการสร้างหรือซ่อม ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานใดลาออก 

 หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่แล้ว หรือขาดการต่ออายุการขึ้นทะเบียน หรือถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียน ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานรายนั้น

 จะต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบทันที และจัดหามาทดแทนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง



ระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง  :   รั้วไฟฟ้ากันขโมย




 

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536) พระราชบัญญัติโรงงาน เรื่องกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน มีสาระสำคัญและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ ดังนี้

1. อากาศที่สามารถระบายออกจากโรงงาน จะต้องมีค่าปริมาณของสารแต่ละชนิดเจือปนไม่เกินค่าที่ได้กำหนดไว้

2. การวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานให้วัดอากาศที่ระบายออกจากปล่องในขณะที่ประกอบกิจการโรงงาน

3. ระดับค่าปริมาณของสารแต่ละชนิดที่เจือปนในอากาศ ให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1 บรรยากาศ และอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2539) ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน เรื่องกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน (เพิ่มเติม) ดังนี้

1. อากาศที่สามารถระบายออกจากโรงงานจะต้องมีค่าปริมาณสารเจือปนที่ปริมาณอากาศส่วนเกินร้อยละ 20 ไม่เกินค่าที่กำหนกไว้

2. การวัดค่าปริมาณของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานให้วัดอากาศที่ระบายจากปล่องขณะประกอบกิจการโรงงาน กรณีที่ไม่มีปล่องให้วัดที่ช่องระบายอากาศ พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะมีปริมาณสารเจือปนระบายออกมากที่สุด

3. ระดับค่าปริมาณของสารที่เจือปนในอากาศให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1 บรรยากาศและอุณภูมิ 25 องศาเซลเซียส

4. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ




 

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2528) ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512

หน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจะต้องจัดให้มีวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ วิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน 

 และผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำ โดยบุคคลดังกล่าวจะต้องขึ้นทะเบียนตามระเบียบและวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด มีสาระสำคัญและเนื้อหารายละเอียดดังนี้

1. ระเบียบนี้ เรียกว่า ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรควบคุมและอำนายการใช้หม้อไอน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน 

 วิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ และผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่มีของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2528 “หม้อต้ม” 

 ในระเบียบหมายถึงหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ซึ่งมีรูปร่างคล้ายหม้อไอน้ำและใช้งานคล้ายคลึงกันกับหม้อไอน้ำ

2. คุณสมบัติของผู้ที่ขอขึ้นทะเบียน จะต้องเป็นวิศวกรสาขาเครื่องกล ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกร 

 จะต้องเป็นวิศวกรสาขาเครื่องกลประเภทสามัญวิศวกรหรือวุฒิวิศวกร หรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตพิเศษให้ตรวจสอบหม้อไอน้ำตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 

 ผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้ม ต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างกลโรงงาน หรือช่างยนต์ 

 หรือช่างผู้ชำนาญงานที่ผ่านการทดสอบหลักสูตรฝึกอบรมผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ จากกรมแรงงานอุตสาหกรรม หรือสถาบันอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรอง

3. วิธีการขอขึ้นทะเบียน ให้ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดยยื่นคำขออนุญาตขึ้นทะเบียน พร้อมเอกสารต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม 

 และเมื่อทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีความเห็นชอบก็จะออกหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน การขึ้นทะเบียนจะมีอายุครั้งละ 3 ปี 

 นับแต่วันที่ออกหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียน และถ้าจะต่ออายุให้ยื่นคำขอต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนวันที่หนังสือจะหมดอายุ 

 เมื่อยื่นขอต่ออายุแล้วให้ถือว่ายังอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนอยู่จนกว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมจะแจ้งว่าไม่อนุญาตให้ต่ออายุ คำขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียน ให้ใช้ตามแบบแนบท้ายระเบียบ

4. หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ จะต้องควบคุมดูแลประจำหม้อไอน้ำตลอดเวลา 

 ต้องวางแผนและจัดทำแผนในการใช้งานหม้อไอน้ำให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะต้องวางแผนบำรุงรักษาให้หม้อไอน้ำมีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยอยู่เสมอ 

 จะต้องควบคุมดำเนินการแก้ไขและซ่อมแซมหม้อไอน้ำให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน จัดให้มีการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 

 เมื่อพบข้อบกพร่องซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายจะต้องให้หยุดใช้หม้อไอน้ำ เพื่อทำการซ่อมแซมแล้วแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และกรมอุตสาหกรรมโรงงานทราบทันที

5. หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรตรวจทดสอบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้ม จะต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจสอบหม้อไปน้ำ 

 ดังนี้ ต้องใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงสามารถอัดน้ำทดสอบได้เกินกว่า 1.5 เท่าของความดันปกติ เครื่องทดสอบลิ้นนิรภัย เครื่องทดสอบเกจวัดความดัน 

 เครื่องวัดความหนาของเหล็กชนิดที่อ่านเป็นตัวเลข อุปกรณ์วิเคราะห์คุณภาพน้ำ เมื่อตรวจสอบและพบว่าอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตโรงงานดำเนินการปรับปรุง 

 แก้ไขซ่อมแซม ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน การตรวจสอบต้องดำเนินการตามข้อกำหนดหรือหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบและรายงานการตรวจสอบตามเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำตามแบบท้ายระเบียบ

6. หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ จะต้องควบคุมให้เป็นไปตามแบบแปลนและรายละเอียดที่ผ่านการรับรองจากวิศวกรแล้วเท่านั้น 

 รวมทั้งต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับขนาดและจำนวนพร้อมแบบแปลนและรายละเอียดของหม้อไอน้ำที่สร้างหรือซ่อม และสถานที่ที่นำไปติดตั้งส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ก่อนที่จะนำไปติดตั้ง

7. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำ ต้องอยู่ดูแลตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ และต้องตรวจความเรียบร้อยของหม้อไอน้ำก่อนเดินเครื่องและขณะเดินเครื่อง 

 พร้อมทั้งนำบันทึกรายงานประจำวันตามแบบแนบท้าย บันทึกประจำวันของหม้อไอน้ำต้องจัดเก็บไว้ให้เรียบร้อยพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ตลอดเวลา 

 และเมื่อพบว่าหม้อไอน้ำมีข้อบกพร่องอันกาจก่อให้อันตรายต้องหยุดการใช้งานทันที แล้วรายงานให้วิศวรควบคุมและอำนวยการใช้หรือผู้รับผิดทราบทราบโดยด่วน

8. การเพิกถอนการขึ้นทะเบียน กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่ทำตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตนตามที่กำหนดไว้ หรือรายงานเท็จ 

 หรือเป็นวิศวกรซึ่งอยู่ในระหว่างพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต กรมโรงงานอุตพิจารณาเพิกถอนการขึ้นทะเบียนและอาจดำเนินการตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นควรต่อไป

 
กล่องใส่กล้องวงจรปิด


ประกาศกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519) ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ซึ่งมีสาระสำคัญและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ ดังนี้

1. นายจ้างที่ใช้หม้อไอน้ำปฏิบัติดังนี้ หม้อไอน้ำจะต้องมีคุณภาพแข็งแรง สามารถทนความดันไอน้ำได้ไม่น้อยกว่า 4 เท่าที่ใช้งานปกติ หม้อไอน้ำ

โดยรอบจะต้องมีฉนวนป้องกันการกระจายความร้อนโดยรอบ ฐานรากที่ตั้งหม้อไอน้ำและปล่องควัน ต้องจัดทำให้มั่นคงแข็งแรง 

 โดยวิศวกรเป็นผู้กำหนดและติดตั้งสายล่อฟ้าที่บนปล่องควันด้วย ต้องจัดให้มีลิ้นหม้อไอน้ำที่ปลอดภัยและมีไม่น้อยกว่า 1 ชุด 

 ต้องติดตั้งเครื่องวัดความดันไอน้ำที่ผลิตได้ ติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำชนิดที่เป็นหลอดแก้วไว้ให้เห็นได้ชัดเจน ติดตั้งสัญญาณเปล่งเสียงแจ้งเตือนอันตราย 

 แผงควบคุมอัตโนมัติและเครื่องวัดต่าง ๆ ของหม้อไอน้ำต้องติดตั้งไว้ที่ผู้ควบคุมสามารถมองเห็นเปลวไฟ จัดทำท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ต่อไปยังเครื่องควบคุมการทำงาน 

 ภาชนะที่บรรจุแก๊สสำหรับใช้ในการติดไฟครั้งแรกต้องเก็บไว้ในที่ปลอดดภัยจากประกายไฟ ต้องทำฉนวนสีแดงห่อหุ้มท่อจ่ายไอน้ำโดยตลอด 

 และต้องทำการตรวจซ่อมหม้อไอน้ำทุกส่วนไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ต้องทำความสะอาดบริเวณรอบที่ตั้งหม้อไอน้ำไม่ให้มีคราบน้ำมันที่ติดไฟง่าย

2. นายจ้างจะต้องจัดทำระเบียบและข้อบังคับ เกี่ยวกับวิธีการทำงานที่ปลอดภัยในการตรวจอุปกรณ์หม้อไอน้ำก่อนลงมือทำงานและแจ้งให้ผู้ทำงานทราบ

3. ผู้ควบคุมต้องเป็นช่างชั้นต้น เป็นผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเครื่องกล หรือแผนกช่างกลโรงงาน หรือช่างชั้นต้น 

 เป็นผู้ที่ได้รับจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกรมแรงงาน สาขาช่างยนต์ หรือช่างกลโรงงาน หรือช่างผู้ชำนาญงานที่ผ่านการทดสอบจากสถาบันของทางราชการ 

 ซึ่งกรมแรงงานรับรองว่าเป็นผู้สามารถควบคุมหม้อไอน้ำที่ทำงานภายใต้การควบคุมของวิศวกรรับรอง

4. การใช้หม้อไอน้ำที่มีอายุเกิน 10 ปี ต้องลดความดันที่ใช้งานสูงสุดลง จนหม้อไอน้ำสามารถทนความดันที่ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 6 เท่า

5. หม้อไอน้ำที่มีการเคลื่อนย้ายที่ติดตั้งแล้ว ต้องลดความดันที่ใช้งานสูงสุดลง จนหม้อไอน้ำสามารถทนความดันที่ใช้งานได้ไม่น้อย 5 เท่า

6. เครื่องมือไฟฟ้าที่มีที่ครอบโลหะที่ใช้สำหรับจับถือ ในการทำงานซ่อมและบำรุงรักษาหม้อไอน้ำที่เปียกชื้นต้องต่อสายดิน หรือจัดทำด้วยวิธีอื่นที่ป้องงกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้ารั่วได้

7. ถ้าหม้อไอน้ำติดตั้งอยู่ในห้องจะต้องมีทางออกไม่น้อยกว่า 2 ทางซึ่งอยู่คนละด้าน จะต้องทำทางออกไว้ทุกชั้นและต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางออกด้วย และเมื่อไฟฟ้าดับให้มีแสงสว่างฉุกเฉินส่องไปยังทางออก รวมทั้งแผงควบคุมให้เห็นได้อย่างชัดเจนผ

8. หม้อไอน้ำที่สูงเกินกว่า 10 ฟุตจากพื้น จะต้องทำบันไดและทางเดินไว้โดยรอบเพื่อให้ผู้ควบคุมหรือซ่อมแซมทางเดินได้โดยปลอดภัย และทางเดินนี้จะต้องมีราวสำหรับจับและที่พื้นต้องมีขอบกั้นปลาย



สัญญาณกันขโมยไร้สาย


กล่องใส่กล้องวงจรปิด
กล่องใส่กล้องวงจรปิด

ส่วนเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 26 พ.ศ. 2535


สำหรับหม้อไอน้ำกำลังผลิตตั้งแต่ 20 ตันขึ้นไปต่อชั่วโมง มีการออกแบบโครงสร้างการผลิตและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายตามมาตรฐานสากล 

 หากจะตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานในระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปีต่อการตรวจทดสอบ 1 ครั้ง ทำได้โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเสียก่อน 

 และต้องมีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของน้ำสำหรับหม้อไอน้ำให้มีคุณภาพเป็นมาตรฐานสากล และต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในการควบคุมหม้อไอน้ำ 

 โดยมีวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำรับรอง ส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทุก ๆ 6 เดือนกรณีที่มีการซ่อมหรือมีการเคลื่อนย้าย 

 เมื่อดำเนินการเสร็จต้องจัดให้มีการตรวจทดสอบ และส่งเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้งานให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น