กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

IP CAMERA (กล้องวงจรปิด)

กล้อง cctv ip

แอพพลิเคชันเลเยอร์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อและให้บริการโดยตรงกับแอพพลิเคชันโพรเซสของผู้ใช้ โดยทั่วไปแอพพลิเคชันเลเยอร์จะมีฟังก์ชันเกี่ยวกับการเข้าและถอดรหัส และการบีบอัดข้อมูล 

 การสร้างคอนเน็กชันระหว่างแอพพลิเคชันที่สื่อสารกันในระดับนี้ส่วนใหญ่จะให้บริการแอพพลิเคชันของผู้ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน และต้องตกลงเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลที่จะแลกเปลี่ยน

Domain Name System (DNS) ทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ เมื่อคนต้องการจะโทรศัพท์หาใครก็จะค้นหาหมายเลขที่จะติดต่อ คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน

เมื่อต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะสอบถามหมายเลขไอพีของเครื่องที่ต้องการสื่อสารด้วยกับ DNS เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะค้นหาหมายเลขจากฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้โฮสต์ดังกล่าวทราบ ระบบ DNS แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

  1.  Name Resolvers

  2. Domain Name space
     
  3.  Name Servers

สินค้าแนะนำระบบรักษาความปลอดภัย :  กล้องวงจรปิด


กล้อง cctv ip
กล้อง cctv ip

 World Wide Web : HTTP เว็บ เป็นแอพพลิเคชันหนึ่งที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้รับส่งไฟล์ HTML 

 เป็นภาษาที่ใช้อธิบายการแสดงเว็บเพจนั่นเอง จะมีโฮสต์เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการเอกสาร HTML

กลไกการทำงานของ HTTP เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในแอพพลิเคชัน เป็นตัวกำหนดรูปแบบการร้องขอไฟล์ของไคลเอนท์ และรูปแบบการถ่ายโอนไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ไปยังไคลเอนท์ 

 หลังจากนั้นเว็บบราวเซอร์จะส่งการร้องขอผ่านเครือข่ายไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะค้นหาไฟล์ที่กำหนดซึ่งถ้าพบก็จะตอบกลับและจะแสดงไฟล์นั้นให้ผู้ใช้ดู

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ : E – Mail เป็นอีกแอพพลิเคชันที่นิยมมากรองจากเว็บในอินเทอร์เน็ต การทำงานของอีเมลนั้นจะคล้ายกับการรับส่งจดหมายทั่ว ๆ ไป 

 ผู้ใช้สามารถรับส่งข้อความถึงกันและกันได้ ข้อได้เปรียบคือ รวดเร็ว ง่ายต่อการส่ง และถูกกว่า นอกจากข้อความธรรมดาแล้วยังสามารถส่งรูปแบบของเอกสาร HTML เราสามารถใส่ลิงค์ รูปภาพ เสียง หรือวิดีโอได้ด้วย

SNMP เป็นโปรโตคอลในแอพพลิเคชันเลเยอร์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการเครือข่าย ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการประสิทธิภาพวิเคราะห์ปัญหา และให้ข้อมูลเพื่อใช้สำหรับการวางแผนเพื่อการขยายเครือข่ายในอนาคต

องค์ประกอบพื้นฐานของ SNMP
การใช้งานโดยทั่วไปของโปรโตคอล SNMP จะมีอุปกรณ์เครือข่ายจำนวนมากที่ต้องการจัดการและทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ

และจำเป็นต้องติดตั้งเอเจนต์ซึ่งทำหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านโปรโตคอล SNMP มายังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล SNMP ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
 
  1.  อุปกรณ์เครือข่ายที่ต้องการบริการจัดการ
     
  2.  เอเจนต์
     
  3.  ระบบบริหารจัดการเครือข่าย

การรักษาความปลอดภัยขั้นสูง  :  รั้วไฟฟ้ากันขโมย





คำสั่งพื้นฐานของ SNMP อุปกรณ์เครือข่ายจะถูกมอนิเตอร์และควบคุมโดยใช้คำสั่งพื้นฐาน ดังนี้

  1.  Read ถูกใช้โดย NMS เพื่อมอนิเตอร์อุปกรณ์นั้น โดยอ่านและตรวจสอบข้อมูล
     
  2. Write ถูกใช้โดย NMS เพื่อควบคุมอุปกรณ์นั้น โดยจะเปลี่ยนค่าตัวแปรต่าง ๆ
     
  3. Trap เป็นข้อมูลที่อุปกรณ์นั้นส่งไปยัง NMS เมื่อมีเหตุการณ์ที่กำหนดเกิดขึ้น

RMON เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้กำหนดสถิติต่าง ๆ และฟังก์ชันที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ระหว่างโปรแกรมเมเนเจอร์ 

 และ เน็ตเวิร์คโพรบ สามารถให้ข้อมูลกับผู้ดูแลรบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค้นหาจุดบกพร่อง สามารถปรับแต่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครือข่ายได้

การติดตั้งการใช้งาน RMON จะต้องมี 2 ส่วนที่สำคัญคือ โพรบ และ ไคลเอนท์ สำหรับการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะมีติดตั้งในอุปกรณ์เครือข่ายเช่น เราท์เตอร์ และ สวิตช์ เป็นต้น 

 หรือเป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่อง PC ทั่วไป ต้องติดตั้งโพรบบน LAN หรือ WAN ซิกเมนต์ที่ต้องการมอนิเตอร์ ไคลเอนท์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการจะสื่อสารกับโพรบหรือเอเจนต์โดยใช้โปรโตคอล SNMP เพื่อเรียกดูข้อมูลใน RMON MIB


การรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน  :   สัญญาณกันขโมยไร้สาย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น