กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2562

ช่วยนายจ้างใช้ข้อบังคับวิธีการทำงานด้านความปลอดภัย (กล้องวงจรปิด)

 กล้องวงจรปิด camera   

ช่วยนายจ้างใช้ข้อบังคับวิธีการทำงานด้านความปลอดภัย

                   กล้องวงจรปิด Camera  กับนายจ้างจะต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับวิธีการทำงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

ให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวงนี้เพื่อเป็นคู่มือสำหรับลูกจ้างปฏิบัติ จัดให้มีการฝึกอบรมให้กับลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีความรู้ความเข้าใจ

และทักษะที่จำเป็นอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และจัดให้มีแผนผังวงจรไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่ได้รับการรับรองจากวิศวกรหรือการไฟฟ้าประจำท้องถิ่น 

 จัดให้มีแสงสว่างในบริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าอย่างเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างปลอดภัย จัดให้มีป้ายเตือนอันตรายที่มีขนาดที่มองเห็น

ได้อย่างชัดเจนและติดตั้งไว้อย่างเปิดเผยในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าหรือนำสิ่งที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่หุ้มฉนวนที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า 

เว้นแต่นายจ้างได้ดำเนินการดังนี้ ให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จัดให้มีวิศวกรควบคุมการทำงานของลูกจ้าง 

 ห้ามนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า นายจ้างจะต้องดูแลไม่ให้ลูกจ้างสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่เปียก

หรือเป็นสื่อไฟฟ้าทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า และในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน

โดยใช้อุปกรณ์ในการทำงานเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าจะต้องจัดหาอุปกรณ์ชนิดที่เป็นฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสำหรับการทำงาน 

 ฉนวนไฟฟ้าที่ลูกจ้างใช้ทำงานต้องจัดให้มีความต้านทานของฉนวนไฟฟ้าที่วัดระหว่างสายเส้นไฟกับสายเส้นไฟโดยต้องเป็นไปตามข้อกำหนด

 นายจ้างจะต้องจัดให้มีแผ่นภาพพร้อมคำบรรยายติดไว้ที่บริเวณที่ทำงานให้ลูกจ้างสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน จัดให้มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

ให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจดบันทึกผลการตรวจสอบไว้เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา


ระบบรักษาความปลอดภัย  :   กล้องวงจรปิด



 

บริภัณฑ์ไฟฟ้า

ถ้านายจ้างจะทำการติดตั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้าจะต้องทำตามมาตรฐานของการติดตั้งที่การไฟฟ้ากำหนด และถ้าหากว่ายังไม่มีการกำหนดตามมาตรฐานให้นายจ้างทำให้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศกรรมสถานแห่งประเทศไทย

กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำการติดตั้ง ตรวจสอบ หรือซ่อมแซมบริภัณฑ์ไฟฟ้า นายจ้างจะต้องทำการปลดสวิตช์และแขวนป้ายไว้ที่สวิตช์ โดยมีข้อความ “ห้ามสับสวิตช์” หรือใส่กุญแจป้องกันการสับสวิตช์

ถ้านายจ้างต้องการให้ลูกจ้างใช้เครื่องเป่าลมที่มีกำลังดันสูง ทำความสะอาดบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้า จะต้องจัดให้ลูกจ้างใช้ท่อและหัวฉีดที่เป็นฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้านั้น

ในส่วนของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกินกว่า 50 โวลต์ นายจ้างจะต้องจัดให้มีการปิดกั้นอันตรายหรือจัดให้มีแผ่นฉนวนไฟฟ้าปูไว้ที่พื้นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายจากการสัมผัส

กรณีที่นายจ้างมีการใช้หม้อแปลงเครื่องวัดที่มีแรงดันไฟฟ้าเกินกว่า 600 โวลต์ จะต้องปฏิบัติดังนี้

- จะต้องมีสายต่อลงดิน เว้นแต่สายนั้นเป็นสายหุ้มฉนวนไฟฟ้าชนิดมีเปลือกโลหะที่ต่อลงดิน และร้อยอยู่ในท่อโลหะที่เหมาะสมที่ต่อลงดิน

- หม้อแปลงไฟฟ้าประเภทแปลงกระแสวงจรต้องต่อให้เป็นวงจรปิด

ในกรณีที่นายจ้างใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้านายจ้างจะต้องปฏิบัติตามนี้

- จะต้องติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในบริเวณพื้นที่กว้างพอที่จะทำงานได้

- และจัดให้มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ ถ้าติดตั้งภายในห้องหากมีไอเสียจากเครื่องยนต์ให้ต่อท่อไอเสียออกสู่ภายนอก

- จัดให้มีเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลเกิน

- และจัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่ใช้ดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าอย่างเพียงพอ และสามารถดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันภายในห้องเครื่องได้

- กรณีที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง จะต้องจัดให้มีเครื่องป้องการใช้ผิด หรือสวิตช์สับโยก 2 ทาง เพื่อไม่ให้มีโอกาสต่อขนานกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาการไฟฟ้านั้น

นายจ้างจ้ะต้องติดตั้งเต้ารับไว้ให้เพียงพอแก่การใช้งาน เพื่อไม่ให้การต่อไฟโดยวิธีที่ไม่ปลอดภัย และในกรณีที่มีการใช้เต้ารับที่เกินกำลังไฟฟ้า 

 จะต้องรีบเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้ารับ สายไฟฟ้า อุปกรณ์ และเครื่องป้องกันให้เหมาะสมตามประเภทที่ใช้งาน และรวมถึงสภาพการใช้งานตามมาตรฐาน

การติดตั้งที่การไฟฟ้ากำหนด และถ้าหากยังไม่มีข้อกำหนดให้นายจ้างทำตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

ระบบป้องกันฟ้าผ่า

อาคารสถานประกอบการหรือโรงงานนายจ้างจะต้องติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า หรือบริเวณที่มีถังเก็บของเหลวไวไฟหรือก๊าซไวไฟ ตามหลักมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 

 และต้องติดตั้งระบบล่อฟ้าที่ปล่องควัน ซึ่งไม่อยู่ในกรวยรัศมีคุ้มกันของระบบป้องกันฟ้าผ่า ให้มีรัศมีที่พื้นดินเท่ากับความสูงของหลักล่อฟ้า

ถ้าปล่องควันทำด้วยโลหะให้นายจ้างจัดให้มีการป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าดังนี้ ให้ต่อสายนำประจุจากปล่องควันลงหลักดิน 

 และให้ต่อสายลวดโลหะที่ยึดปล่องควันทุกเส้นด้วยสายลวดโลหะนั้นลงหลักดิน ถ้าปล่องควันทำด้วยอิฐหรือคอนกรีตต้องจัดให้มีการป้องกันอันตรายดังนี้ 

จะต้องมีการติดตั้งหลักล่อฟ้าความสูงของหลักต้องเหนือขอบปล่องควัน มีการต่อสายนำประจุไม่น้อยกว่า 2 สายตรงข้ามกันต่อจากสายที่ต่อเชื่อม

ครบวงจรจากส่วนบนของปล่องไปยังดิน และปล่องควันที่บุผิวด้วยโลหะหรือมีบันไดเป็นโลหะจะต้องต่อสายนำประจุเข้ากับผิวโลหะหรือบันไดทั้งส่วนบนและส่วนล่าง

สายนำประจุที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่าจะต้องมีลักษณะดังนี้

- เป็นทองแดงมีขนาดพื้นที่หน้าตัดของเนื้อทองแดง มีคุณสมบัติใช้ในงานไฟฟ้าที่นำกระแสไฟฟ้าได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

- สายนำประจุที่เป็นท่อกลวง เป็นทองแดงที่มีความหนาและมีขนาดพื้นที่หน้าตัดของเนื้อทองแดงและนำกระแสไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่ามาตรฐานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

- สายนำประจุที่เป็นแผ่นยาวหรือสายถักจะต้องเป็นทองแดงและมีขนาดพื้นที่หน้าตัดของเนื้อทองแดงและนำกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่ามาตรฐานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

สายนำประจุจะต้องมีรอยต่อน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และรอยต่อต้องมีความแข็งแรงรับแรงดึงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของความแข็งแรงของสาย 

 และต้องไม่มีการหักมุม สายนำประจุที่สูงจากพื้นดินจนถึงระยะ 2.5 เมตร นายจ้างจะต้องป้องกันการกระทบกระแทกโดยใช้ไม้หรือวัสดุที่ไม่เป็นสารแม่เหล็กห่อหุ้ม 

 สายนำประจุต้องต่อเชื่อมปลายด้านบนและด้านล่างของท่อเข้ากับสายนั้นด้วย ตัวจับยึดสายนำประจุต้องเป็นทองแดงหรือโลหะผสมทองแดง และมีระยะห่างระหว่างตัวจับยึดไม่เกิน 12 เมตร ตามแนวตั้ง และ 60 เซนติเมตรตามแนวนอน



 

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

นายจ้างจะต้องจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับลักษณะงานให้กับลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสวมใส่ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน 

 และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่เหมาะสมกับลักษณะงานเช่นกันให้กับลูกจ้างด้วย และในกรณีที่ลูกจ้างทำงานในที่สูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป

ให้จัดให้ดผมีเข็มขัดนิรภัยและหมวกนิรภัยชั้นคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้แก่ลูกจ้างสวมใส่ตลอดเวลาการทำงาน

 เว้นแต่เข็มขัดนิรภัยและหมวกนิรภัยจะทำให้ลูกจ้างเสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้นนายจ้างจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอย่างอื่นแทน

ส่วนอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย

ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้าต้องเหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสูงสุดในบริเวณที่ทำงานหรือบริเวณใกล้เคียงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 

 ถุงมือยางป้องกันไฟฟ้าต้องมีลักษณะสวมกับนิ้วมืได้ทุกนิ้ว และถุงมือหนังที่ใช้สวมทับถุงมือยางต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือและมีความคงทน

ต่อการฉีกขาดได้ดี ในการใช้ถุงมือยางจะต้องใช่คู่ถุงมือหนังทุกครั้งที่ทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

กรณีที่บริเวณที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าอยู่ใกล้หรืออยู่เหนือน้ำที่อาจทำให้ลูปกจ้างเกิดอันตรายจากการจมน้ำ นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่เครื่องชูชีพกันจมน้ำ 

 เว้นแต่ถ้าการสวมใส่เครื่องชูชีพนั้นอาจทำให้ได้รับอันตรายมากกว่าเดิมก็ให้นายจ้างจัดหาวิธีการอื่นที่มีความปลอดภัยแทน

นายจ้างจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยตลอดการใช้งาน รวมทั้งต้องตรวจสอบ บำรุงรักษาและทดสอบตามมาตรฐานและวิธีที่ผู้ผลิตกำหนด

ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี

อันตรายที่เกิดจากสารเคมีทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อมุนษย์ และสิ่งแวดล้อม กฏระเบียบของการใช้สารเคมีกำหนดให้มีฉลาก

แสดงถึงความเป็นพิษของสารเคมีซึ่งเป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งที่มีชีวิต และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม การกำจัดแบบธรรมชาติโดยแสงแดด น้ำ 

 หรือการใช้สารเป็นกลางในการกำจัดทางชีวภาพ อาจจะแสดงความเป็นพิษและกลายเป็นสารที่สร้างความเสียหายได้ในระยะยาว 

 การที่ไม่แสดงความเป็นพิษในมนุษย์ทันทีไม่ได้หมายความว่าสารนั้น ๆ จะไม่ทำอัตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้

ลักษณะของสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในอากาศ เราสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่

- สารเคมีฟุ้งกระจายในรูปอนุภาค เป็นสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลวหรือของเข็ง เช่น หมอกควันเป็นสภาวะมลพิษในอากาศที่เกิดจากสภาวะอากาศเย็น

มีหมอกเกิดการปนเปื้อนกับกลุ่มควัน ฝุ่นเป็นของแข็งที่ฟุ้งกระจายในอากาศเกิดจากการทำงานของกรด จะมีฝุ่นทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เมื่อหายใจเข้าปอดจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนปลายได้ ฟูม

และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับแนวทางและขั้นตอนในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันอันตราย 

 รวมถึงข้อมูลความหมายที่มีบนฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย ลูกจ้างต้องทำตามวิธีการทำงานที่ถูกต้องและปลอดภัยตาม

คู่มือการทำงานที่นายจ้างจัดทำขึ้น และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลูกจ้างจะต้องบรรเทาเหตุและแจ้งให้หัวหน้างานทราบทันที

ฉลากและป้าย

สถานประกอบการหรือโรงงานจะต้องจัดให้นายจ้างทำการปิดฉลากที่เป็นภาษาไทยที่มีขนาดใหญ่พอสมควร อ่านง่าย คงทน ไว้ที่หีบห่อบรรจุภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุสารเคมีอันตราย และต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการดังนี้

- ชื่อผลิตภัณฑ์

- ชื่อสารเคมีอันตราย

- รูปสัญลักษณ์

- คำสัญญาณ

- ข้อความแสดงอันตราย

- ข้อควรระวังหรือข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตราย

ถ้าไม่สามารถปิดฉลากได้เนื่องจากขนาดหรือลักษณะของหีบห่อบรรจุภัณฑ์ ให้นายจ้างกำหนดวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ลูกจ้างได้รู้ถึงรายละเอียดของสารเคมีอันตราย 

 ในบริเวณที่มีการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายนั้น และให้จัดให้มีป้ายห้าม ป้ายให้ปฏิบัติ หรือป้ายเตือน ในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ชัดเจนที่สถานที่ทำงานของลูกจ้าง


ระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด :  รั้วไฟฟ้า




และให้ทำการปิดประกาศหรือจัดทำป้ายแจ้งข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่ม ประกอบอาหาร หรือเก็บอาหาร” 

 ด้วยตัวอักษาขนาดที่เห็นได้ชัดเจนในบรเวณที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สถานที่เก็บสารเคมีอันตราย หรือในยานพาหนะขนส่งสารเคมีอันตราย และจะต้องควบคุมดูแลไม่ให้มีการฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว

การคุ้มครองความปลอดภัย


สถานประกอบการหรือโรงงานนายจ้างจะต้องจัดให้บริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายจะต้องมีสภาพและคุณลักษณะ ดังนี้

- สะอาดถูกสุขลักษณะ และเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นที่ทำงานต้องเรียบ สม่ำเสมอ ไม่ลื่น และไม่มีวัสดุเกะกะกีดขวางทางเดิน

- มีระบบระบายอากาศแบบทั่วไป หรือแบบที่ทำให้สารเคมีอันตรายเจือจาง หรือแบบที่มีเครื่องดูดอากาศเฉพาะที่ ที่เหมาะสมกับประเภทของสารเคมีอันตราย โดยให้มีออกซิเจนในบรรยากาศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 19.5 โดยปริมาตร

- มีระบบป้องกันและกำจัดอากาศเสียโดยใช้ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ระบบเปียก การปิดคลุม หรือระบบอื่น เพื่อไม่ให้สารเคมีอันตรายในบรรยากาศเกินปริมาณกำหนด และป้องกันไม่ให้อากาศที่ระบายออกไปเป็นอันตรายต่อผู้อื่น

สถานประกอบการหรือโรงงานนายจ้างจะต้องจัดให้ในบริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายมีสถานที่และอุปกรณ์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ดังนี้

- จัดที่สำหรับชำระล้างสารเคมีอันตรายที่ลูกจ้างสามารถใช้ได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน อย่างน้อยจะต้องมีที่ล้างตาหรือฝักบัวสำหรับชำระล้างร่างกายจากสารเคมีอันตราย

- ที่สำหรับล้างมือล้างหน้า ไม่น้อยกว่า 1 ที่ต่อลูกจ้าง 15 คน และให้เพิ่มจำนวนขึ้นตามสัดส่วนของลูกจ้าง

- จัดให้มีห้องอาบน้ำเพื่อใช้ชำระล้างร่างกายไม่น้อยกว่า 1 ห้องต่อลูกจ้าง 15 คน และให้เพิ่มจำนวนตามสัดส่วนและส่วนที่เกิน 7 คนขึ้นไป

ให้ถือเป็น 15 คน จะต้องจัดของใช้ที่จำเป็นสำหรับการชำระล้างสารเคมีอันตรายออกจากร่างกายให้เพียงพอและใช้ได้ตลอดเวลา

- จัดเตรียมอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลให้กับลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีอันตราย

- จัดอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสมกับสารเคมีอันตรายแต่ละชนิด และเพียงพอสำหรับการผจญเพลิงเบื้องต้น

- จัดชุดทำงานเฉพาะสำหรับลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย และที่เก็บชุดทำงานที่ใช้แล้วให้เหมาะสมกับสารเคมีอันตรายประเภทนั้น

นายจ้างจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะอันตรายและความรุนแรงของสารเคมีอันตราย หรือลักษณะของงานให้ลูกจ้างใช้หรือสวมใส่

เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายใช้หรือสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 

 กรณีที่ลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่สวมใส่อุปกรณ์นั้น ให้นายจ้างสั่งลูกจ้างให้หยุดทำงานทันที จนกว่าลูกจ้างจะได้ใช้หรือสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว


และนายจ้างจะต้องดูแลสถานที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายและตรวจสอบอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่จัดไว้ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยตลอดเวลา 

 ในกรณีที่มีการร้องเรียนด้านความไม่ปลอดภัยในการทำงานให้นายจ้างดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและหากพบว่ามีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

ในการทำงานหรือสุขภาพอนามัย ให้ดำเนินการแก้ไขให้เกิดความปลอดภัยในทันที

การเก็บรักษา การบรรจุ และการถ่ายเทสารเคมีอันตราย

สถานประกอบการหรือโรงงานและนายจ้างจะต้องจัดสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายให้มีสภาพและคุณลักษณะ ดังนี้

- ต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่ถ้าในกรณีที่เป็นที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติเป็นตัวทำปฏิกิริยารุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจน

 อาจทำให้เกิดการระเบิดหรือไฟไหม้ต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 180 นาที หากสถานที่ดังกล่าวมีระบบน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ

- พื้นเรียบไม่ขรุขระ ไม่เปียกไม่ลื่น สามารถรับน้ำหนักได้ และไม่ดูดซับสารเคมีอันตราย ต้องดูแลปรับปรุงสถานที่ไม่ให้ชำรุด ผุ กร่อน และรักษาความสะอาดพื้นไม่ให้มีเศษขยะ หรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง

- มีระยะห่างจากอาคารที่ลูกจ้างทำงานในระยะที่ปลอดภัยตามที่อธิบดีปรกาศกำหนด

- ทางเดินภายในและภายนอกกว้างเพียงพอที่จะนำเครื่องมือและอุปกรณ์ดับเพลิงมาใช้ได้อย่างสะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดทาง

- มีทางเข้าออกสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายไม่น้อยกว่า 2 ทาง และใช้ประตูทนไฟเป็นชนิดเปิดออกสู่ภายนอก และปิดกุญแจทุกครั้งทุกห้องเมื่อไม่มีการทำงาน

- มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสม และเกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างที่ทำงานและจัดการป้องกันไม่ให้อากาศที่ระบายออกมาเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น

- มีการป้องกันสาเหตุที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ในบริเวณสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย

- จัดทำเขื่อน กำแพง ทำนบ ผนัง หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน เพื่อไม่ให้สารเคมีอันตรายที่เป็นของเหลวไหลออกภายนอกบริเวณสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย

และมีรางระบายสารเคมีที่รั่วไหลไปยังที่ที่สามารถรวบรวมนเพื่อนำไปกำจัดได้อย่างปลอดภัย จัดทำรั้วรอบสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายที่อยู่นอกอาคาร

- จัดให้มีป้ายข้อความ “สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย ห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” ปิดประกาศไว้ที่ทางเข้าให้เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา

- มีแผนผังแสดงที่ตั้งของอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ผจญเพลิง ในกรณีฉุกเฉินติดไว้บริเวณทางเข้าออกให้เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา

นายจ้างจะต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากสารเคมีอันตรายในบริเวณสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย และมาตรการเบื้อต้นในการแก้ไขเยียวยาอันตรายที่เกิดขึ้น ในการจัดเก็บสารเคมีอันตรายให้นายจ้างปฏิบัติ ดังนี้

- เก็บรักษาสารเคมีอันตรายตามมาตรฐานการเก็บรักษาที่อธิบดีประกาศกำหนด

- จะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อ ปริมาณสารเคมีอันตรายทุกชนิดที่จัดเก็บในสถานที่เก็บรักษาแต่ละแห่งอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

- ระมัดระวังไม่ให้หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายชำรุดหรือพังทลาย

- จะต้องจัดให้มีมาตรการการป้องกันความเสียหายหรืออันตรายที่เกิดจากการขุดเจาะ หรือมีเครื่องหมายตำแหน่งให้งเห็นชัดเจนในกรณีที่เก็บไว้ใต้ดิน

นายจ้างจะต้องจัดดำเนินการเกี่ยวกับหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ดังนี้

- จะต้องใช้วัสดุที่แข็งแรง ไม่ชำรุด ผุ กร่อน และสามารถเคลื่อย้ายได้ด้วยความปลอดภัย สามารถรองรับความดันของสารเคมีอันตรายได้ในสภาพการใช้งานปกติ

- ตรวจสอบ และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยตลอดเวลา หากพบว่ามีสารเคมีอันตรายรั่วไหลต้องทำการแยกเก็บไว้ต่างหากในที่ที่ปลอดภัยและทำความสะอาดสิ่งรั่วไหลโดยเร็ว

- บรรจุสารเคมีอันตรายไม่เกินพิกัดที่กำหนดไว้สำหรับภาชนะนั้น ๆ

- จะต้องมีมาตรการการป้องกันไม่ให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดที่ขนส่งกระแทกหีบห่อ หรือวัสดห่อหุ้มสที่มีสารเคมี้งการ

- ควบคุมดูแลหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายบรรจะไม่ให้เปิดทิ้งไว้ เว้นแต่เพื่อการตรวจสอบหรือใช้ประโยชน์

การบรรจุสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ จะต้องให้ห่างจากแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือแหล่งความร้อนในระยะที่ปลอดภัย 

 ในกรณีที่ไม่สามารถทำฉนวนหุ้มโดยรอบได้ให้จัดทำป้ายเตือน การต่อท่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับภาชนะบรรจุ หากมีลิ้นปิดเปิด ต้องจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ผู้ทำงานสามารถปิดเปิดได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน


การถ่ายเทสารเคมีอันตรายไปยังภาชนะหรือเครื่องมืออื่น ต้องติดชื่อสารเคมีอันตรายและสัญญลักษณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยบนภาชนะหรือเครื่องมือที่บรรจุใหม่ด้วย 

 นายจ้างจะต้องเก็บหีบห่อ ภาชนะที่บรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มที่ใช้แล้วซึ่งปนเปื้อนและยังไม่ได้กำจัด ให้อยู่ในที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับชนิดของสารเคมีอันตราย

การขนถ่าย การเคลื่อนย้าย หรือการขนส่ง

สถานประกอบการหรือโรงงานจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการขนถ่าย เคลื่อนย้าย หรือขนส่งสารเคมีอันตราย ดังนี้

- จัดให้มีมาตรการป้องกันการฟุ้งกระจายรวมทั้งการกระเด็น หก รั่ว ไหล ของสารเคมีอันตราย

- ควรตรวจสอบความพร้อมของลูกจ้างที่ขับยานพาหนะ และยานพาหนะที่ใช้ในการขนถ่าย เคลื่อนย้าย ขนส่งสารเคมีอันตรายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะทำงานได้อย่างปลอดภัย

- จัดให้มีคู่มือข้อปฏิบัติในการแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัยเป็นภาษาไทยไว้ในยานพาหนะและพร้อมจะนำมาใช้ได้ทันที จัดให้มีการฝึกอบรมและฝึกซ้อมวิธีการแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

- และจะต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงชนิดเคลื่อนย้ายได้ที่มีคุณสมบัติสามารถดับเพลิงจากสารเคมีอัมนตรายได้ตามความเหมาะสม จัดให้มีหน้ากากหรือเครื่องช่วยหายใจตามความจำเป็นติดไว้ที่ยานพาหนะอย่างเพียงพอพร้อมที่จะใช้ได้ทันที

- หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มที่บรรทุกในยานพาหนะต้องยึดแน่นกับฐานรองรับและยานพาหนะเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่หรือลอยตัวได้

- ห้ามบรรทุกสารเคมีอันตรายที่อาจเกิดปฏิกิริยาต่กันไว้รวมกันในยานพาหนะ เว้นแต่จัดให้มีมาตรการขนส่งที่ปลอดภัยตามกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

นายจ้างจะต้องปฏิบัติในการส่งสารเคมีอันตรายโดยการใช้ท่อ ดังนี้

- ให้ใช้ท่อและข้อต่อที่แข็งแรง ไม่ชำรุด ผุ กร่อน หรือรั่ว

- จะต้องตรวจสอบและบำรุงรักษาท่อและข้อต่อที่ใช้ในการส่งสารเคมีอันตรายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย

- ติดตั้งหรือวางท่อในลักษณะที่มีการป้องกันที่จะไม่ทำให้เกิดการชำรุดเสียหายจากการชน การทับ หรือกระแทก จากยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใด

- การวางท่อใต้ดินหรือใต้น้ำ ต้องใช้ท่อหรือข้อต่อที่ทนทานต่อการกัดกร่อนและต้องมีเครื่องหมายแสดงตำแหน่งตลอดระยะแนวท่อให้เห็นได้ชัดเจน

- การส่งสารเคมีอันตรายต่างชนิดกัน ต้องใช้ท่อที่มีสีที่ต่างกัน และทำเครื่องหมายความแตกต่างให้ได้ชัดเจน

- การส่งสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ ต้องวางท่อส่งให้มีระยะห่างที่เพียงพอและปลอดภัยจากแหล่งความร้อนหรือแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ และให้ต่อสายดินที่ท่อนั้นด้วย


ระบบรักษาความปลอดภัยในบ้าน  :  สัญญาณกันขโมย




การจัดการและการกำจัด

สถานประกอบการหรือโรงงานจะต้องทำความสะอาดหรือกำจัดสารเคมีอันตรายที่หก รั่วไหล หรือไม่ใช้แล้ว โดยกำหนดในข้อมูลความปลอดภัย

ตามชนิดของสารเคมีอันตรายการกำจัดกากสารเคมีอันตรายหรือสารเคมีที่เสื่อสภาพ อาจกำจัดโดยการเผา ฝังหรือใช้สารเคมี ด้วยวิธีการที่ปลอดภัยตามหลักวิชาการ 

 และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นายจ้างจะต้องปฏิบัติต่อหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนและไม่ต้องการใช้แล้ว ดังนี้

1. ต้องไม่นำไปใช้บรรจุสิ่งอื่น และควบคุมดูแลลูกจ้างไม่ให้นำไปใช้บรรจุสิ่งของอื่น ๆ ด้วย

2. เก็บรวบรวมไว้ในภาชนะหรือในที่ที่ปลอดภัยนอกบริเวณที่ลูกจ้างทำงาน

3. กำจัดโดยวิธีการที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับชนิดของสารเคมีอันตรายและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การควบคุมระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

นายจ้างของสถานประกอบการหรือโรงงานจะต้องจัดให้มีระบบป้องกันและควบคุม เพื่อไม่ให้มีระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศ

ของสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายเกินขีดจำกัดตามประกาศที่กำหนดไว้ และนายจ้างจะต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับของความเข้มข้น

ของสารเคมีอันตรายในสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บรักษาและส่งรายงานผลการตรวจวัดให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจวัด

ถ้าในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินการได้เองจะต้องให้ผู้ที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตจากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการให้ 

 และถ้าในกรณีที่สารเคมีเกินขีดจำกัดความเข้มข้นจะต้องให้นายจ้างใช้มาตรการกำจัดหรือควบคุมสารเคมีอันตรายทางวิศวกรรมและกรบริหารจัดการสภาพแวดล้อม

 เพื่อลดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายไม่ให้เกินขีดจำกัดและต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยวิธีที่เหมาะสม



ระบบรักษาความปลอดภัย


 

การดูแลสุขภาพอนามัย

นายจ้างจะต้องประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้างที่มีการใช้สารเคมีอันตรายและจัดทำรายงานการประเมินส่งให้อธิบดีภายใน 15 วัน

นับแต่วันที่ทราบผลการประเมิน ถ้าผลการประเมินอยู่ในระดับที่อาจก่อให้เกิดอันตรายให้นายจ้างดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

 และให้นายจ้างนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการวางแผนการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจายเสี่ยงและการเฝ้าระวังสุขภาพอนามันของลูกจ้าง

การควบคุมและปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉิน

นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายในครอบครองและมีปริมาณตามที่อธิบดีประกาศกำหนด จะต้องจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอันตราย

และจะต้องจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงนั้นอย่างน้อยในระยะเวลา 5 ปีต่อ 1 ครั้ง และถ้าในกรณีนทผที่มีการเปลี่ยนสถานที่ครอบครอง รายชื่อ 

 และปริมาณรวมทั้งกระบวนการผลิต จะต้องให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอันตรายและจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงเพิ่มเติม

และการจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และให้ส่งรายงานดังกล่าวต่ออธิบดีภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบผลการประเมิน

นายจ้างจะต้องทำแผนปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉินของสถานประกอบการตามหลักเกณฑ์และวิธีการและเก็บแผนดังกล่าวไว้ที่สถานประกอบการพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ 

 ตลอดจนวันปรับปรุงแผนให้ทันสมัยและฝึกซ้อมตามแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุมและระงับเหตุอันตราย

ตามหลักสูตรที่กำหนดและทำการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเก็บหลักฐานการฝึกอบรมพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

กรณีที่มีการรั่วไหลของสารเคมีอันตราย เกิดการฟุ้งกรจาย เกิดอัคคีภัย หรือเกิดการระเบิด นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในบริเวณนั้นหรือ

ใกล้เคียงหยุดทำงานทันทีและให้ออกไปให้พ้นรัศมีที่อาจได้รับอันตราย และนายจ้างจะต้องดำเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและระงับเหตุทันที 

 และถ้าหากส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงให้นายจ้างของสถานประกอบการนั้น ๆ แจ้งดำเนินการเตือนถึงอันตรายที่ส่งผลกระทบนั้นทันที



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น