กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

กล้องวงจรปิดอินเตอร์เน็ต (กล้องวงจรปิด)

กล้องวงจรปิดอินเตอร์เน็ต

กล้องวงจรปิดอินเตอร์เน็ต  การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้
  1. · คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง
  2. · เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  3. · สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล
  4. · โปรโตคอล เป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่าย
  5. · ระบบปฏิบัติการเครือข่ายหรือ NOS ระบบปฎิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน
เน็ตเวิร์คการ์ด เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC (Network Interface Card) หรือบางทีก็เรียกว่า 

 แลนการ์ด อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้ ปัจจุบันมีการ์ดหลายประเภท ออกแบบให้ใช้กับเครือข่ายประเภทต่าง ๆ 

 การ์ดแต่ละประเภทอาจใช้ได้กับสายสัญญาณบางชนิดเท่านั้น หรืออาจจะใช้ได้กับหลายชนิดก็ได้ เน็ตเวิร์คการ์ดจะติดตั้งกับคอมพิวเตอร์โดยเสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์


ระบบรักษาความปลอดภัยเฝ้าระวัง   :   กล้องวงจรปิด


 
กล้องวงจรปิดอินเตอร์เน็ต

สายสัญญาณ สายสัญญาณในปัจจุบันที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่ 3 ประเภท คือ

· สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)

· สายคู่เกลียวบิด (Twisted Cable)

· สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)

สายสัญญาณแต่ละประเภทมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน และเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกใช้สายสัญญาณเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับประเภทและแบนด์วิธของเครือข่าย และรวมถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายด้วย

สายคู่เกลียวบิด เป็นสายสัญญาณที่ได้มาตรฐานและเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน สายสัญญาณประกอบด้วยสายทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นแล้วบิดเป็นเกลียว 

 สาเหตุที่บิดเป็นเกลียวก็เพื่อลดสัญญาณรบกวนนั่นเอง และสายสัญญาณนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท แบ่งตามคุณภาพของสาย ที่เราคุ้นเคยมากที่สุดคือ สายโทรศัพท์ที่เราใช่โดยทั่วไป


สายโคแอ็กเชียล มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวี มีแกนกลางเป็นทองแดงห่อหุ้มด้วยฉนวนแล้งหุ้มด้วยตาข่ายโลหะ ชั้นนอกสุดเป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ 

 สายประเภทนี้นิยมใช้มากในเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เปลี่ยนไปใช้สายคู่เกลียวบิดแทน

สายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้แสงเป็นสัญญาณและใช้แก้วหรือพลาสติกในเป็นสื่อนำสัญญาณ ในขณะที่สายคู่เกลียวบิดและสายโคแอ็กเชียลใช้สัญญาณไฟฟ้าและโลหะเป็นสื่อ 

 ข้อเสียของสายสัญญาณประเภทโลหะคือ จะถูกรบกวนจากแหล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ง่ายแต่สายใยแก้วนำแสงใช้สัญญาณแสงดง

นั้นจึงไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่สูงและระยะทางที่ไกลกว่า แต่การผลิต การติดตั้งและการดูแลรักษาจะยุ่งยากและราคาแพงกว่าสายที่เป็นโลหะ

การเลือกสายสัญญาณให้เหมาะกับระบบเครือข่ายนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ในปัจจุบันที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ สายคู่เกลียวบิด ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูง 

 สายประเภทนี้เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และฮับหรือสวิตช์ส่วนสายโคแอ็กเชียลเป็นสายสัญญาณที่ล้าสมัยไปแล้ว ส่วนสายใยแก้วนำแสงจะมีราคาแพงมากที่สุด 

แต่สามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่สูง จึงนิยมใช้กับการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูลหรือใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสวิตช์และเซิร์ฟเวอร์

อุปกรณ์เครือข่าย ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย หรือใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การส่งข้อมูลได้ในระยะที่ไกลขึ้น หรือใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เป็นต้น

ฮับ (Hub) หรือเรียกว่า รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ 

 คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับฮับมากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง 

 ในปัจจุบันมีฮับหลายชนิดและหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่างฮับเหล่านี้ก็เป็นจำนวนพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ และอัตราข้อมูลที่ฮับรองรับ

สวิตช์ (Switch) อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 สวิตช์จะฉลาดกว่าฮับ สวิตช์สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น 

 ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสวิตช์ 

 คุณสมบัตินี้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้สวิตช์มากกว่าฮับ เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย

เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ 3 เราท์เตอร์จะฉลาดกว่าฮับและสวิตช์ เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัวของแพ็กเก็ตข้อมูล 

 เพื่อใช้ในการกำหนดหรือเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป เราท์เตอร์จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็กเก็ตเรียกว่า เราท์ติ้งเทเบิล หรือตารางการจัดเส้นทาง 

 ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้องเราท์เตอร์ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้ นอกจากนี้เราท์เตอร์ยังสามารถส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายทีใช้โปรโตคอลต่างกันได้ 

 และยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลได้ รวมถึงยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายกับเครือข่ายอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่าเช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

โปรโตคอล (Protocol) เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่ต้องการสื่อสารกันจำเป็นต้องใช้ “ภาษา” หรือโปรโตคอลเดียวกัน 

 เพราะไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะสื่อสารกันไม่ได้ ปัจจะบันโปรโตคอลที่นิยมใช้มากที่สุดคือ โปรโตคอล TCP/IP 

 ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากโปรโตคอลนี้แล้วยังมีโปรโตคอลอื่น ๆ ที่ยังนิยมใช้กันอยู่อีกมาก


ระบบแจ้งเตือนความปลอดภัย :   รั้วไฟฟ้ากันขโมย



 

ประเภทของเครือข่าย สามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ

  1. · ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ก็แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท LAN หรือเครือข่ายท้องถิ่น WAN หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
  2. · ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ก็สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท Peer- to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
  3. · ใช้ขอบเขตความเป็นเจ้าของเป็นเกณฑ์ก็สามารถแบ่งได้ ดังนี้ Intranet หรือเครือข่ายส่วนบุคคล, Internet หรือเครือข่ายสาธารณะ, Extranet หรือเครือข่ายร่วม

เครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป เกือบทุก ๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่าย LAN 

 อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่าย ๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณ ไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มีคอมพิวเตอร์เป็นร้อย ๆ 

 เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ อีกมาก ลักษณะสำคัญของ LAN ก็คือ จะครอบคลุมพื้นที่จำกัด เครือข่ายท้องถิ่นประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สี่เครื่อง และมีเครื่องพิมพ์ที่แชร์กันใช้ 

 เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่าย ซึ่งเครือข่ายจะรวมกันอยู่ในห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยี LAN มีหลายประเภท เช่น Ethernet, ATM, Token Ring, FDDI เป็นต้น

อีเธอร์เน็ต ได้ถูกคิดค้นขึ้นและยังคงเป็นเทคโนโลยีชั้นนำของเครือข่ายท้องถิ่น ตั้งอยู่บนมาตรฐานการส่งข้อมูลหรือโปรโตคอล 

 ซึ่งถูกใช้สำหรับการเข้าใช้สื่อกลางในการส่งสัญญาณที่แชร์กันระหว่างสถานีหรือโหนดต่าง ๆ เมื่อโหนดใดต้องการที่จะส่งข้อมูลจะต้องคอยฟังก่อนว่ามีโหนดอื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่

หรือไม่ถ้ามีให้รอจนกว่าเครื่องนั้นส่งข้อมูลเสร็จก่อน แล้วค่อยเริ่มส่งข้อมูลและในขณะที่กำลังส่งข้อมูลอยู่นั้นต้องตรวจสอบว่ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นหรือไม่

 ถ้ามีการชนกันให้หยูดส่งข้อมูลทันทีแล้วค่อยเริ่มส่งข้อมูลใหม่อีกครั้งเพราะไม่เช่นนั้นข้อมูลจะกลายเป็นขยะหรืออ่านไม่ได้ทันที

เมื่อมีจำนวนโหนดเพิ่มมากขึ้นความน่าจะเป็นที่ข้อมูลจะชนกันก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากข้อแตกต่างในเรื่องของความเร็วแล้ว อีเธอร์เน็ตยังแบ่งย่อยออกเป็นแชร์อีเธอร์เน็ต และ สวิตช์อีเธอร์เน็ต 

 โดยแชร์อีเธอร์เน็ตบมีการใช้ตัวกลางร่วมกัน ในความหมายเครือข่ายก็คือ ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีแค่สถานีเดียวที่สามารถส่งข้อมูลได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้สำหรับอชร์อีเธอร์เน็ตคือ ฮับ 

 ส่วนสวิตช์อีเธอร์เน็ต สามารถส่งข้อมูลได้หลายสถานีในเวลาเดียวกันส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในสวิตช์อีเธอร์เน็ตก็คือสวิตช์นั่นเอง

โทเคนริง เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นเครือข่ายที่กำลังล้าสมัยเพราะมีการใช้น้อยลง โทเคนริงนิยมมากในการสร้างเครือข่ายสมัยแรก ๆ 

 เครือข่ายแบบนี้จะไม่มีการชนกันของข้อมูลเหมือนกับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต แต่ข้อเสียของเครือข่ายประเภทนี้จะอยู่ที่ความสามารถในการขยายเครือข่าย และการบริหารและจัดการเครือข่ายจะค่อนข้างยาก

ATM “Asynchronous Transter Mode” เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่กำหนดโดย ITU – T ซึ่งจะรวมบริการต่าง ๆ เช่นข้อมูล เสียง วิดีโอเข้าด้วยกัน 

 แล้วส่งเป็นเซลล์ข้อมูลที่มีขนาดเล็กและคงที่ เป็นเครือข่ายที่รองรับแบนด์วิธตั้งแต่ Mbps จนถึง Gbps ในปัจจุบันมีการใช้ไม่มากเท่ากับอีเธอร์เน็ต ด้วยเหตุที่มีลักษณะของเฟรมที่ต่างกันมาก 

 และการเชื่อมต่อกับระบบอีเธอร์เน็ตที่มีอยู่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมในการเชื่อมต่อ แนวโน้มการใช้งานในระบบนี้จึงไม่เติบโตรวดเร็วเหมือนอีเธอร์เน็ต

เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีกากรแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย 

 คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจัดการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า “เพียร์” นั่นเอง เครือข่ายประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูและจัดการระบบ 

 หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่า ข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับผู้ใช้คนอื่น ๆ

การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ หรือบางทีเรียกว่า เวิร์คกรุ๊ป ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประเภทนี้จะเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนมาก 

 จึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีราคาแพงมาก ราคารวมของเครือข่ายจึงถูกกว่าเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ 

 ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟแวร์ที่มีฟังก์ชั่น และระบบรักษาความปลอดภัยเท่ากับปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์

เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้
  1. · มีผู้ใช้เครือข่าย 10 คน หรือน้อยกว่า
  2. · มีทรัพยากรเครือข่ายที่ต้องแชร์กันไม่มากนัก
  3. · ยังไม่มีความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
  4. · การขยายตัวของเครือข่ายไม่มากนักในอนาตคอันใกล้
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล คือ การทำให้ข้อมูลปลอดจากการถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต อาจมีวิธีป้องกันหลายวิธี เช่น การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล กำหนดรหัสในการเข้าใช้ข้อมูล เป็นต้น 

 ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องกำหนดรหัสลับกับทุกทรัพยากรที่แชร์ไว้ วิธีการนี้ทำให้ไม่สามารถรวมศูนย์ควบคุมเพื่อการรักษาความปลอดภัย 

 การทำลักษณะนี้ทำให้เกิดช่องโหว่เพราะอาจจะไม่ได้กำหนดระดับความปลอดภัยในเครื่องของตัวเอง


ระบบสัญญาณกันขโมยไร้สาย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น