กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

ราคา (กล้องวงจรปิด)

วงจรปิด

วงจรปิด

                      วงจรปิด  การที่วงจรปิดเครื่องหนึ่งจะสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้จำเป็นต้องใช้ “ภาษา” เดียวกัน ภาษาที่ว่านี้ศัพท์ทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า “โปรโตคอล” 

 คอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกันได้ต้องใช้โปรโตคอลเดียวกัน ในเบื้องต้นนี้จะอธิบายถึงหลักการทำงานของโปรโตคอลประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

โปรโตคอล

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครือข่ายด้วยสายสัญญาณเป็นขั้นตอนที่ง่าย แต่ส่วนที่ท้าทาย คือ การพัฒนามาตรฐานให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย

ที่ผลิตต่างบริษัทกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งมาตรฐานนี้คือ โปรโตคอล หรือสรุปสั้น ๆ โปรโตคอล ก็คือ กฎ ขั้นตอน และรูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย

การเชื่อมต่อกันของคอมพิวเตอร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างระบบเครือข่าย แต่การสื่อสารที่มีความหมาย เช่น การแชร์กันใช้ทรัพยากรของแต่ละฝ่ายทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมบูรณ์ 

 วิวัฒนาการของเครือข่ายถือได้ว่า เป็นการปฏิบัติครั้งใหญ่ของโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ โปรโตคอบของเครือข่ายหรืออาจเรียกว่า “สถาปัตยกรรมเครือข่าย” 

 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใจปัจจุบันเป็นระบบที่ซับซ้อนมาก ทำให้ยากต่อการออกแบบ

โดยคนคนเดียวหรือกลุ่มเดียว เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น จึงมีการแบ่งโปรโตคอลออกเป็นชั้น ๆ หรือเลเยอร์ ซึ่งการทำงานแต่ละเลเยอร์จะได้ไม่ซ้ำซ้อนกัน

แบบอ้างอิง OSI

เป็นองค์กรที่ออกแบบโปรโตคอลหรือโปรโตคอลการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเปิด จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานนี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตโดยบริษัทต่าง ๆ 

 สามารถทำงานร่วมกันได้ ชุดโปรโตคอลนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า แบบอ้างอิง OSI เหตุที่เรียกแบบอ้างอิงก็เพราะโปรโตคอลชุดนี้ไม่ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเหมือนโปรโตคอลชุดอื่น ๆ 

 แต่แบบอ้างอิง OSI มีการออกแบบโครงสร้างที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากที่สุด จึงใช้โปรโตคอลชุดนี้เป็นแบบอ้างอิงในการพัฒนาโปรโตคอลชุดอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นระบบที่ง่ายต่อการอธิบายถึงกลไกการทำงานของโปรโตคอบในเครือข่าย

ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกโปรโตคอลชุดนี้ว่า แบบอ้างอิง OSI นั่นเอง จะแบ่งขั้นตอนการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ออกเป็น 7 ขั้นตอนหรือเลเยอร์ 

 การแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้จะยึดหลักเหมือนกับการสื่อสารทั่วไป การจัดเรียงโปรโตคอลเป็นชั้น ๆ หรือเลเยอร์นี้ก็เพื่อจำลองการไหลของข้อมูลจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ 

 แต่ละชั้นจะส่งข้อมูลต่อไปยังชั้นที่อยู่ติดกัน แต่ละชั้นตะมีจุดเชื่อมต่อกับชั้นที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารสำเร็จได้ การติดต่อสื่อสารของแต่ละชั้นจะเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์

แอพพลิเคชันเลเยอร์ เป็นโปรโตคอลชั้นที่อยู่บนสุดของแบบอ้างอิง OSI คือชั้นที่ 7 ถึงแม้ว่าชื่อจะเป็นแอพพลิเคชันเลเยอร์ แต่ก็ไม่ได้รวมถึงแอพพลิเคชันของผู้ใช้ด้วย

 แต่จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างแอพพลิเคชันของผู้ใช้กับขบวนการสื่อสารผ่านเครือข่าย ชั้นนี้อาจจะถือได้ว่า เป็นชั้นที่เริ่มขบวนการติดต่อสื่อสาร

พรีเซนเตชันเลเยอร์ เป็นเลเยอร์ที่ลองลงมา ในชั้นนี้จะรับผิดชอบเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย ก่อนการส่งข้อมูลโปรโตคอลในเลเยอร์นี้ก็จะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน 

 ส่วนทางด้านฝ่ายรับก็จะแปลงกลับไปเป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเข้าใจ นอกจากนี้เลเยอร์ยังรับผิดชอบในการทำให้ข้อที่เข้ารหัสเลขทศนิยมที่ต่างกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

เซสชันเลเยอร์ ทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสารผ่านเครือข่ายที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างสองฝั่ง การสื่อสารที่กำลังป็นไปในช่วงขณะใดขณะหนึ่งจะเรียกว่า เซสชัน แอพพลิเคชัน 

 ทั้งสองฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือรับส่งถึงกันและกันได้ในช่วงเวลาที่เซสชันยังอยู่ โดยเซสชันเล ยอร์จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการสร้างเซสชัน ควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูล และยกเลิกเซสชันเมื่อการสื่อสารสิ้นสุด เซส

ชันเลเยอร์สามารถกำหนดรูปแบบการสื่อสารว่าเป็นแบบทางเดียว หรือแบบสองทางและยังสามารถกำหนดได้ว่า การไหลของข้อมูลนั้นเป็นไปได้สองทางพร้อมกันหรือไหลได้ทางเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง 

 และอีกฟังก์ชันหนึ่งของเซสชันเลเยอร์ คือ การควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูล และกำหนดจุดเริ่มต้นของขบวนการถ่ายโอนไฟล์ได้ โดยเมื่อเริ่มเปิดเครื่องใหม่ก็เริ่มขบวนการถ้ายโอนไฟล์ต่อจากเมื่อคราวก่อนหน้านี้ได้

ทรานสปอร์ตเลเยอร์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างโพรเซส ของผู้รับและโพรเซสของผู้ส่ง โพรเซส หมายถึง โปรแกรมที่กำลังรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์ 

 ซึ่งในขณะใดขณะหนึ่งอาจจะมีหลายโพรเซสที่กำลังรันอยู่ ในชั้นนี้จะรับผิดชอบในการรับส่งข้อมูลให้ถึงโพรเซสที่ต้องการ และมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือ การตรวจเช็คแพ็กเก็ตที่ละทิ้งโดยเราท์เตอร์ และส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง

รวมถึงมีหน้าที่สำคัญคือการจัดเรียงแพ็กเก็ตข้อมูลที่อาจเดินทางถึงฝ่ายรับโดยไม่เป็นลำดับ เนื่องจากแพ็กเก็ตแต่ละแพ็กเก็ตอาจจะเดินทางคนละเส้นทางหรือบางแพ็กเก็ตอาจสูญหายระหว่างทาง

แล้วมีการส่งใหม่อีกครั้ง และทำการจัดเรียงแพ็กเก็ตเหล่านี้ให้เหมือนเดิมก่อนที่จะส่งต่อชุดข้อมูลไปให้ชั้นเซสชันต่อไป

เน็ตเวิร์คเลเยอร์ จะรับผิดชอบในการจัดเส้นทางให้กับข้อมูลระหว่างสถานีส่งและสถานีรับ ถ้ามีเส้นทางเดียว แต่ถ้าเป็นเส้นทางที่ซับซ้อนการจัดเส้นทางก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ชั้นนี้จะไม่มีกลไกใด ๆ 

 ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูล ฟังก์ชันนี้จึงเป็นหน้าที่ของชั้นเชื่อมโยงข้อมูล และจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเส้นทางให้กับข้อมูลระหว่างสถานีส่งและรับที่อยู่คนละเครือข่าย 

 การที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องมีระบบการจัดการที่อยู่ที่ไม่ขึ้นอยู่กับที่อยู่ที่ใช้ในชั้นเชื่อมโยงข้อมูล

ดาต้าลิงค์เลเยอร์ ชั้นนี้ก็จะมีหน้าที่เหมือนกับชั้นอื่น ๆ คือการรับส่งข้อมูล และจะรับผิดชอบในการรับส่งข้อมูล และมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย 

 ทางด้านสถานีที่ส่งข้อมูลจะจัดข้อมูลให้เป็นเฟรมและสามารถส่งข้อมูลไปยังสถานีรับผ่านเครือข่ายท้องถิ่นอย่างถูกต้องและสำเร็จ การส่งข้อมูลสำเร็จในที่นี้หมายถึง 

 การที่เฟรมข้อมูลส่งถึงปลายทางที่สถานีส่งต้องการโดยที่เฟรมข้อมูลไม่มีข้อผิดพลาด ในเฟรมต้องมีข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของือเฟรมข้อมูลนั้น ๆ 

 ด้วยการส่งข้อมูลสำเร็จนั้น ในระหว่างการรับส่งข้อมูลอาจมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น ข้อมูลส่งไปไม่ถึงปลายทาง 

 หรือบางส่วนเฟรมเสียหายผิดพราดขึ้น ชั้นเชื่อมโยงข้อมูลจะรับผิดชอบในการตรวจสอบและแก้ไขข้บบแอผิดพลาดต่าง ๆ เหล่านี้

ฟิสิคอลเลเยอร์ จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งข้อมูลที่เป็นบิด ในระบบเลขฐานสอง ชั้นนี้จะรับข้อมูลจากเลยอร์ที่ 2 หรือ ดาต้าลิงค์ ซึ่งข้อมูลชุดหนึ่งจะเรียกว่าเฟรม 

 และส่งเฟรมของข้อมูลนี้ทีละบิดเรียงตามลำดับหรือซีเรียล เลเยอร์นี้จะเห็นข้อมูลเป็นเลขสองฐาน หรือเลข 1 กับ 0 เท่านั้น 

 ซึ่งจะไม่สนใจความหมายของข้อมูลเลยจะสนใจเฉพาะการที่จะแปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าหรือแสง ขึ้นอยู่กับสื่อกลางที่ใช้และสามารถส่งไปบนสื่อกลางหรือสายสัญญาณได้เท่านั้น

 ซึ่งมาตรฐานจะกำหนดเกี่ยวกับความดันไฟฟ้า

ชุดโปรโตคอล TCP/IP ได้ถูกพัฒนามาแล้วกว่า 30 ปี จุดประสงค์ของการวิจัยนี้ก็เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ต่างแพลตฟอร์มกันให้สามารถสื่อสารกันผ่านเครือข่าย 

 ซึ่งสามารถทำได้โดยการแบ่งโปรโตคอลเป็นชั้น และเป็นการแยกการทำงานของแอพพลิเคชันของผู้ใช้ออกจากฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ชุดโปรโตคอลนี้จะมีการจัดรูปแบบที่แตกต่างจากแบบอ้างอิง OSI เล็กน้อย

 การออกแบบชุดโปรโตคอล TCP/IP จะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อระหว่างระบบที่แอเป็นแบบชั้น ๆ เหมือนกัน แต่เมื่อถึงตอนทำจริง ๆ ก็จะให้ขึ้นอยู่การตัดสินใจของผู้ออกแบบ 

 ซึ่งเป็นผลให้ชุดโปรโตคอล OSI เหมาะสำหรับใช้อธิบายการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ดีกว่า ในขณะที่ชุดโปรโตคอลเป็นที่นิยมมากกว่าในการนำไปใช้งานจริง


สินค้าแนะนำ  :  กล้องวงจรปิด




 

ทรัพยากรระยะไกล และการแชร์การใช้ทรัพยากร โปรโตคอลแอพพลิเคชันที่จัดอยู่ในชั้นนี้ได้แก่
  1. · HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) ใช้สำหรับการรับส่งไฟล์เว็บเพจระหว่างเว็บบราวเซอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์
  2. · SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) ใช้สำหรับการรับส่งอีเมลระหว่างเมลเซิร์ฟเวอร์
  3. · POP (Post Office Protocol) ใช้สำหรับการดาวน์โหลดอีเมลจากเมลเซิร์ฟเวอร์
  4. · IMAP (Internet Message Access Protocol) ใช้สำหรับการดาวน์โหลดอีเมลจากเมลเซิร์ฟเวอร์
  5. · FTP (File Transfer Protocol) ใช้สำหรับถ่ายโอนไฟล์ระหว่างโฮสต์
  6. · Telnet ใช้สำหรับการล็อกอินเข้าใช้โฮสต์ระยะไกล
โฮสต์ทูโฮสต์เลเยอร์ การทำงานในชั้นโฮสต์ทูโฮสต์ คล้ายกับการทำงานชั้นเซสชันและชั้นเคลื่อนย้ายข้อมูลของแบบอ้างอิง OSI ซึ่งในชั้นนี้จะมี 2 โปรโตคอล คือ TCP และ UDP ซึ่งทั้งสองโปรโตคอลก็มีลักษณะการรับส่งข้อมูลที่แตกต่างกัน

โปรโตคอล TCP จะใช้การรับส่งข้อมูลแบบคอนเน็กชันโอเรียเต็ด ซึ่งการรับส่งข้อมูลแบบนี้จะหมายถึง การที่มีการสร้างการเชื่อมต่อก่อนที่จะส่งข้อมูล
 เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลจะส่งถึงปลายทางอย่างแน่นอน เมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จก็มีการยกเลิกการเชื่อมต่อที่สร้างไว้ ส่วนโปรโตคอล UDP จะใช้การรับส่งข้อมูลแบบคอนเน็กชันเลส 

 ในแต่ละครั้งของการส่งข้อมูลจะไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางก่อนส่งข้อมูลจะถูกส่งออกไปทันที ซึ่งมีการคาดหวังว่าเครื่องปลายทางจะได้รับข้อมูลที่ส่งไป

อินเทอร์เน็ตเลเยอร์ การทำงานในชั้นนี้จะเทียบเท่ากับการทำงานในชั้นเน็คเวิร์คเลเยอร์ ชั้นนี้จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ๆ 

 ตามเส้นทางให้ถึงจุดหมาย ชุดข้อมูลที่อยู่ในชั้นนี้จะเรียกว่า “แพ็กเก็ต” ซึ่งหน้าที่ของโปรโตคอลในชั้นนี้ก็คือ ส่งแพ็กเก็ตข้อมูลให้ถึงปลายทาง 

 การส่งแพ็กเก็ตในชั้นเครือข่ายจะเป็นแบบไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อก่อนการส่ง โดยเราท์เตอร์จะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้นให้กับแพ็กเก็ตนั้น ๆ 

 การทำงานของชั้นนี้จะไม่มีการให้บริการตอบรับ การควบคุมการไหลของข้อมูล การเรียงลำดับแพ็กเก็ต ซึ่งฟังก์ชั่นต่าง ๆ เหล่านี้เป็นหน้าที่ของโปรโตคอลที่ชั้นสูงกว่ารับกว่ารับผิดชอบ

เน็ตเวิร์คแอ็กเซสส์เลเยอร์ โปรโตคอลไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับชั้นเน็ตเวิร์คแอ็กเซสส์ สามารถใช้ได้กับเน็คเวิร์คหลายประเภท 

 โดยเน็ตเวิร์คที่ใช้งานมากที่สุดก็คือ อีเธอร์เน็ตนั่นเอง นอกจากนี้แพ็กเก็ตของ TCP/IP ยังสามารถส่งผ่านเน็ตเวิร์คอื่น ๆ ได้

ชุดโปรโตคอล Apple Talk ความนิยมในการใช้คอมพิวเตอร์ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านี้ให้เป็นเครือข่ายก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

 บริษัทแอปเปิลจึงได้พัฒนาโปรโตคอลขึ้นมา ซึ่งโปรโตคอลชุดนี้รวมทั้งฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นจะถูกติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก่อนที่จะขาย แนวคิดของบริษัทฯในการผลิตคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้ผู้ใช้สามเารถใช้ได้ง่ายมากที่สุด

การออกแบบเครือข่ายก็เช่นกัน การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายง่ายขนาดเสียบสายสัญญาณเครือข่ายและเปิดเครื่องก็สามารถใช้ได้เลย โปรโตคอล

ในชุดนี้จะแบ่งออกเป็น 5 เลเยอร์คือ แอพพลิเคชันเลเยอร์ เซสชัน ทรานสปอร์ท ดาต้าแกรมดีลิเวอรี และ เน็ตเวิร์คแอ็กเซลล์ การทำงานของโปรโตคอล

ในแต่ละชั้นจะใกล้เคียงกับโปรโตคอลของแบบอ้างอิง OSI มาก โดยเฉพาะในชั้นเครือข่ายและชั้นเคลื่อนย้ายข้อมูล ส่วยเลเยอร์สูงสุดจะรวมเอาเลเยอร์นำเสนอเข้าไปด้วย



สินค้าแนะนำระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง :  รั้วไฟฟ้ากันขโมย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น