กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2562

โรคปวดหลังและกระดูกสันหลังจากการทำงาน (กล้องวงจรปิด)

โรคปวดหลังและกระดูกสันหลังจากการทำงาน

ในการทำงานอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังและกระดูกสันหลังซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  กรณี  ดังนี้

1. การเกิดการบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อหรือเป็น   จากการที่เราใช้หลังในการทำงานในอิริบทที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดอาการปวดที่บั้นเอวหรือสะโพก  

และจะปวดมากที่สุดและค่อย  ๆ  หายไปในระยะหนึ่ง  นอกจากนี้ยังเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อที่หลังเพื่อให้ร่างกายหยุดการเคลื่อนไหวบริเวณที่บาดเจ็บอีกด้วย

2. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือรากประสาทถูกกดทับ    เกิดจากการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกสันหลังและเลื่อนมาทับรากประสาทด้านหลัง   พบและเกิดจากการทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้อง   

การก้มตัวแล้วยกของหนักทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงมาบริเวณขา     รวมถึงมีอาการชาที่ขาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย  

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนนี้มีความร้ายแรงมากกว่าการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ      และในการยกของหนังก็ควรใช้ท่าทางในการยกให้ถูกต้องด้วยการงอเข่าและหลังตรง 



 

โครงสร้างของกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังประกอบด้วย  กระดูกอันเล็กและสั้นเรียงซ้อน   การจัดเรียงตัวของกระดูกสันหลังเป็นแนวเส้นโค้ง  และการโค้งของกระดูกสันหลังเช่นนี้เพิ่มความแข็งแรง  

ทั้งยังช่วยให้เกิดความสมดุลในการทรงตัว  และลดแรงกระแทกในอิริยาบถต่าง  ๆ  โครงสร้างและส่วนประกอบของกระดูกสันหลัง  ประกอบด้วย

1. กระดูกสันหลังส่วนคอ    คือส่วนที่อยู่บนสุดจะมีขนาดเล็กถ้าเทียบกับส่วนกลาง

2. กระดูกสันหลังส่วนกลาง   คือส่วนอกและส่วนเอว  จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย  ๆ  เมื่อเทียบกับส่วนอื่น  และพบว่าส่วนเอวจะมีขนาดใหญ่และหนา

3. กระดูกสันหลังส่วนล่าง   คือส่วนที่เรียกว่ากระเบนเหน็บ  และกระดูกก้นกบ   ที่อยู่ปลายสุดและมีขนาดเล็กที่สุด

กระดูกสันหลังในส่วนเอวจะมีหมอนรองกระดูกซึ่งเรียงซ้อนกันมีแนวโค้งนูนมาด้านหน้าซึ่งกระดูกส่วนนี้ทำให้เกิดการปวดหลังมากที่สุด  และกระดูกสันหลังส่วนเอวนี้จะต่อกับกระเบนเหน็บหรือกระดูกเหนือก้นกบ  

ที่ต่อกับกระดูกก้นกบอยู่ปลายสุดและมีขนาดเล็กที่สุด    ส่วนกระดูกสันหลังที่ประกอบขึ้นเป็นปล้อง  ๆ   แต่ละปล้องจะยึดต่อกันโดยตัวหมอนรองกระดูด  ที่ทำหน้าที่เหมือนหมอนรองรับน้ำหนัก  ช่วยลดแรงกระแทก

และคอยปกป้องไขสันหลังและเส้นประสาทและยังช่วยให้กระดูกสันหลังไม่ยึดติดกันจนแน่นเกินไป  สามารถจะก้มตัวหรือแอ่นตัวได้   

จะพบว่าตรวกลางในหมอนรองกระดูกจะมีส่วนประกอบเป็นของเหลวคล้ายวุ้นล้อมรอบไปด้วยเนื้อเยื่อหุ้มรอบตัววุ้น  

เพื่อลดแรงกดดันต่อหมอนรองกระดูกเมื่อมีอิริยาบถต่าง  ๆ   และจะกลับเข้าไปเหมือนเดิมเมื่อเรานอนหลับพักผ่อน   ฉะนั้นท่านอนหลังตรงจะเป็นท่าที่มีแรงกดดันต่อหมอนรองกระดูกกว่าท่ายืน


สินค้าแนะนำระบบรักษาความปลอดภัย  : กล้องวงจรปิด   รั้วไฟฟ้า   สัญญาณกันขโมย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น