การถอดรหัสข้อมูล
การเข้ารหัสไม่ใช่ความพยายามที่จะปกปิดข้อความที่มีอยู่ของข้อมูล แต่เป็นการย่อยละเอียดเพื่อให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถดูได้โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ความปลอดภัยหรือความสำเร็จของการเข้ารหัสข้อมูลขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ใช้สำหรับการเข้าและถอดรหัสข้อความ
กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับขั้นตอนที่เรียกว่า อัลกอริทึ่ม โดยใช้ค่าที่เรียกว่า คีย์ ที่ต้องใช้ในการเข้าและถอดรหัส ปัจจุบันจะมีความซับซ้อนมากขึ้นสิ่งที่ปกปิดให้เป็นความลับของการเข้ารหัสคือ คีย์ ความยาวของคีย์นั้นจะเป็นสิ่งที่บอกถึงความแข็งแกร่งของการเข้ารหัส ยิ่งคีย์มีความยาวมาก ยิ่งทำให้กระบวนการในการค้นหาคีย์ยากมากขึ้น
แต่ในทางตรงกันข้าม ยิ่งคีย์มีความยาวมาก ก็ยิ่งใช้เวลานานขึ้นในการเข้าและถอดรหัสข้อมูล นอกจากนี้บางระบบคอมพิวเตอร์มีระบบป้องกันไม่ให้ใช้รหัสเก่าที่เคยใช้แล้วกลับมาใช้อีกทำให้ผู้ใช้หลายคนเลือกรหัสที่ง่ายต่อการจำซึ่งทำให้เป็นจุดอ่อนของระบบการรักษาความปลอดภัยกล้องวงจรปิด ผู้โจมตีจะใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนนี้ด้วยการใช้เทคนิคการเดารหัสผ่าน
การโจมตีแบบคนกลาง
การโจมตีการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้ทั่วไป การโจมตีประเภทนี้ทำให้คอมพิวเตอร์สองเครื่องเหมือนว่าสื่อสารกันอยู่ โดยที่ไม่รู้ว่ามีคนกลางคอยเปลี่ยนแปลงข้อมูล การป้องกันการโจมตีแบบคนกลาง อาจใช้วิธีการเข้ารหัสข้อมูลควบคู่กับการพิสูจน์ทราบตัวจรองของคู่รับคู่ส่ง การโจมตีแบบคนกลางแบ่งเป็นสองประเภทคือ แบบแอ็คทีฟ คือข้อความที่ส่งถึงคนกลางจะถูกเปลี่ยนแปลงแล้วค่อยส่งต่อถึงผู้รับ และแบบพาสชีฟ คือการส่งต่อข้อความเดิมที่ได้รับ
การโจมตีอีกแบบหนึ่งที่คล้ายกับการโจมตีแบบคนกลาง คือการโจมตีแบบรีเพลย์ โดยข้อความที่ได้รับจากคนส่งจะถูกจัดเก็บไว้ แล้วจะส่งต่อไปอีกครั้งหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง
การเจาะระบบ
การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยการแฮคระบบซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย การเจาะระบบส่วนใหญ่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของระบบ แต่ถ้าได้รับอนุญาตก็ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งการเจาะรบบแบบได้รับอนุญาตเรียกว่า “การทดลองเจาะระบบ” ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาช่องโหว่และปิดช่องโหว่นั้น
ทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การทดลองเจาะระบบเป็นการตรวจหาช่องโหว่และการพิสูจน์ให้เห็นว่า ช่องโหว่นั้นสามารถถูกใช้ประโยชน์จากแฮคเกอร์ได้ โดยสรุปการทดลองเจาะระบบเป็นกระบวนการที่จะทำให้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมีความปลอดภัยจากการถูกโจมตีในอนาคตได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น