กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

การออกแบบการทำงานที่มีท่าทางฝืนธรรมชาติ (กล้องวงจรปิด)

การออกแบบการทำงานที่มีท่าทางฝืนธรรมชาติ


การทำงานที่ฝืนธรรมชาติซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะขึ้นอยู่กับปัจจัย  3  ประการ  คือ
1. ลักษณะงาน
2. ท่าทางในการทำงาน
3. ปริมาณงาน

การทำงานด้วยท่าทางที่ฝืนธรรมชาติหรือท่าทางของการทำงานที่ไม่ถูกต้อง  งานที่ใช้กำลังงานที่มีปริมาณงานที่มากเกินไป   

ย่อมอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการไม่สบายของร่างกาย  เช่น  เกิดการเมื่อยล้า    เป็นต้น    การออกแบบการทำงานที่ดีควรลดการทำงานที่ท่าทางฝืนธรรมชาติให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้    

ถ้าไม่มีทางเลือกจริง  ๆ  ก็ต้องปรับเปลี่ยนปริมาณงานให้ลดลง





การทำงานที่ต้องเอื้อมติดตั้งกล้องวงจรปิด

                     ถือว่าเป็นท่าทางของการทำงานที่ฝืนธรรมชาติเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการเอื้อมมือไปด้านหลัง  หรือด้านบน   วิธีการออกแบบการทำงานที่มีการเอื้อมให้วัดสัดส่วนของร่างกายเมื่อกวาดมือขึ้นลงในแนวตั้งจะเห็นได้ว่าเป็นเส้นโค้ง   ระยะห่างที่เป็นเส้นโค้งนั้นคือระยะเอื้อม

การทำงานที่ต้องเอี้ยวหรือบิดลำตัว
                     การทำงานที่ต้องมีการเอี้ยวตัวหรือบิดลำตัว     การทำงานแบบในลักษณะนี้ควรที่จะอยู่เฉพาะทางด้านหน้าของลำตัวเพื่อความสะดวก

การทำงานที่ต้องแหงนหน้าทำงานและยกแขนสูงกว่าระดับไหล่ ถือว่าเป็นการทำงานที่มีท่าทางฝืนธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง   ซึ่งลักษณะของการทำงานชนิดนี้อาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานได้   

แต่ควรที่จะมีอุปกรณ์ช่วยให้ยืนได้ในท่าที่มั่นคง  เช่น   การยืนบนโต๊ะที่ปรับระดับความสูงได้แทนการใช้บันได เป็นต้น

การทำงานที่ต้องการความเที่ยงของมือและใช้สายตา การทำงานในลักษณะเหล่านี้ล้วนเป็นการทำงานที่ต้องการอุปกรณ์รองรับและช่วยประคองแขนและส่วนล่างของมือ 

 เพื่อจะช่วยในการลดความล้าของกล้ามเนื้อเขนลง   และต้องคำนึงถึงระดับความสูงของพื้นโต๊ะทำงานที่สัมพันธ์กับระดับศอก  ความหนักเบาของ  เช่น  งานเจียระไนอัญมณี  งานเชื่อมโลหะที่มีขนาดชิ้นเล็ก ๆ  เป็นต้น

การเคลื่อนย้ายวัตถุหนักด้วยการผลักหรือดึง การทำงานในลักษณะนี้อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน  ปวดกล้ามเนื้อแขน  ขา  

และเกิดการลื่นล้มในขณะที่ทำการผลักและดึง   ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้นั้นมีหลายสาเหตุได้แก่  น้ำหนักของวัตถุที่มากเกินไป  

ความขรุขระของพื้นผิว  ความลาดเอียงของพื้น  ตำแหน่งที่ดึงหรือดัน  ลักษณะมือจับและตำแหน่ง   

ถ้าในขณะที่ดึงหรือดันแล้วมีการบิดหรือเอียงลำตัวยิ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บมากชึ้น   การดันแบบข้อศอกเหยียดตรงจะทำให้มีแรงกดที่ข้อต่อมากเกินไป  

ทำให้ข้อศอกได้รับการบาดเจ็บ  การเคลื่อนย้ายวัตถุด้วยการผลักดีกว่าการดึง   การออกแบบการทำงานเคลื่อนย้ายของหนักควรทำการปรับปรุงจากการใช้แรงคนมาเป็นการใช้อุปกรณ์ช่วย  เช่น   ใช้รถเข็นและมีพื้นผิวถนนที่เรียบ   ถ้าพื้นผิวขรุขระก็ควรใช้ล้อยางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลานที่ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ  เป็นต้น

การทำงานที่ใช้แรงบีบของมือ การทำงานในลักษณะที่ต้องมีการกางมือและบีบหรือการกางมือมากจนสุดอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้  และเมื่อทำซ้ำ  ๆ  ก็จะยิ่งเกิดการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น    

ดังนั้นในการออกแบบการทำงานจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการกางมือ  การออกแรงบีบแล้วควรออกแบบมือจับด้วยเพื่อให้กระชับและไม่ลื่นหลุดจากมืออีกด้วย


สินค้าแนะนำระบบรักษาความปลอดภัย  : กล้องวงจรปิด   รั้วไฟฟ้า   สัญญาณกันขโมย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น