การทำงานกล้องวงจรปิดที่ไม่ได้มีการออกแบบที่ดี
การทำงานในลักษณะต่าง ๆ ทำให้เกิดโรค เช่น ความเครียดและความล้า และโรคที่เกิดจากการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ โรคเส้นประสาทและเอ็นรอบอุโมงค์ข้อมืออักเสบ
กล้ามเนื้อและข้อศอกอักเสบ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและกลายเป็นโรคในที่สุด ส่วนประกอบของร่างกายนั้นได้แก่ กระดูกสันหลัง เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ความเครียด และความล้า
ความเครียด และความล้า
ความเครียดสภาพความกดดันที่เกิดขึ้นจากทางจิตใจหรือทางกายที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อความสามารถของบุคคล
ความล้า ปปัจจัยที่มีผลให้เกิดความล้า เมื่อไม่มีการพัก ระดับความล้าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นเพื่อลดระดับความล้าลงจำเป็นต้องมีการพักเพื่อฟื้นตัว การนอนหลับพักผ่อนเป็นวิธีการพักที่ดีที่สุด
ความเครียดนั้นมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ สำหรับด้านบวกถ้าไม่เครียดมากจนเกินไปนักจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี
แต่ถ้าความเครียดนั้นมีมากจนเกินไปหรือมีในระดับที่สูงอยู่เป็นเวลานานจะทำให้เกิดเป็นด้านลบจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและจิตใจมีผลกระทบต่อคนรอบข้างและคนในครอบครัว
ทำให้เกิดมีการเปลียนแปลงพฤติกรรม มีผลต่อการทำงานและสังคมได้
ความล้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเนื่องมาจากการทำกิจกรรมใด ๆ อย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ มีผลให้ความสามารถของคนลดลง และยังทำให้สมรรถนุการทำงานลดลงด้วย
ความเครียกและความล้ามักเกิดขึ้นร่วมกันจึงถูกพูดถึงด้วยกันโดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความล้านั้นมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. เกิดจากการทำงานหรือการเรียน
2. เกิดจากเรื่องที่มากระทบจิตใจ เช่น การพลัดพราก การสูญเสียสิ่งที่รัก เป็นต้น
3. เกิดจากร่างกายของตนเอง เช่น หิว การขับถ่าย ความเจ็บป่วยจากโรคประจำตัว เป็นต้น
4. เกิดจากความวิตกกังวลเกินไป เช่น ความกลัว การคาดคะเนไปก่อนล่วงหน้า เป็นต้น
5. อื่น ๆ
ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพกาย ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่โล่งต้องถอนหายใจ กล้ามเนื้อหดตัว เกร็งตัว ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการเป็นโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้อง ปวดต้นคอ และทำให้หัวใจเต้นเร็ง
ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้เป็นโรคประสาท หงุดหงิด สับสน อึดอัด ไม่มีความสุข เบื่อหน่าย โมโหง่าย ซึมเศร้า สุขภาพจิตเสื่อม อาจถึงกับทำร้ายร่างกายของตนเองและผู้อื่นได้
ความล้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเนื่องมาจากการทำกิจกรรมใด ๆ อย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ มีผลให้ความสามารถของคนลดลง และยังทำให้สมรรถนุการทำงานลดลงด้วย
ความเครียกและความล้ามักเกิดขึ้นร่วมกันจึงถูกพูดถึงด้วยกันโดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความล้านั้นมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. เกิดจากการทำงานหรือการเรียน
2. เกิดจากเรื่องที่มากระทบจิตใจ เช่น การพลัดพราก การสูญเสียสิ่งที่รัก เป็นต้น
3. เกิดจากร่างกายของตนเอง เช่น หิว การขับถ่าย ความเจ็บป่วยจากโรคประจำตัว เป็นต้น
4. เกิดจากความวิตกกังวลเกินไป เช่น ความกลัว การคาดคะเนไปก่อนล่วงหน้า เป็นต้น
5. อื่น ๆ
ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพกาย ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่โล่งต้องถอนหายใจ กล้ามเนื้อหดตัว เกร็งตัว ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการเป็นโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้อง ปวดต้นคอ และทำให้หัวใจเต้นเร็ง
ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้เป็นโรคประสาท หงุดหงิด สับสน อึดอัด ไม่มีความสุข เบื่อหน่าย โมโหง่าย ซึมเศร้า สุขภาพจิตเสื่อม อาจถึงกับทำร้ายร่างกายของตนเองและผู้อื่นได้
ความเครียดเราสามารถแบ่งความเครียดออกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที และมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด
2. ความเครียดเรื้อรัง หรือเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้รัง
วิธีการลดความเครียดและความล้าโดยทั่วไปมี 3 กรณีดังนี้
1. การลดความเครียดในระดับต่ำ ความเครียดที่มีไม่มากเกินไปนัก ถ้าหยุดพักการทำงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ แล้วพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ที่ผ่อนคลายและไม่ทำร้ายตนเอง
2. การลดความเครียดในระดับปานกลาง หยุดพักการทำงานหรือกิจกรรมนั้นแล้วทบทวน ทำสมาธิ มีสติ หรือหาคนปรึกษาที่มีประสบการณ์ และวางแผนว่าจะดำเนินการแก้ไขในทางที่ถูกต้อง
3. การลดความเครียดในระดับสูง ความเครียดในระดับรุนแรง ทำให้จิตใจและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น