กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562

ภัยคุกคามในปัจจุบัน (กล้องวงจรปิด)

ภัยคุกคามในปัจจุบัน


                     อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย  ๆ  เนื่องมาจากการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตและสมาร์ทโหนรวมถึงการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์

ทำให้หลายคนไม่รู้สึกว่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเพราะโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันไม่ใช่โทรศัพท์แบบสมัยก่อนอีกแล้วแต่ใน

ปัจจุบันคือคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูง และทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าคอมพิวเตอร์แบบพีซีหรือโน้ตบุ๊ค  ทำให้ภัยอันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่าง  ๆ  

เข้าใกล้ตัวมากขึ้น  ทำให้ภัยอันตรายจากกอินเทอร์เน็ตต่าง  ๆ  สามารถเข้าถึงตัวเราได้รวดเร็วมากขึ้น  พฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์พกพาต่าง  ๆ  ของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก 

คนบางกลุ่มจะใช้ชีวิตบางส่วนในโลกเสมือนที่เรียกว่า  โลกไซเบอร์  ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงหากไม่มีสติในการใช้งานโอกาสผิดพรากค่อนข้างมาก 

เพราะลักษณะของการใช้งานเป็นไปอย่างรวดเร็ว  เช่น ถ้าโพสต์ข้อความพลาดก็ไม่สามารถที่จะลบข้อมูลคืนมาได้เพราะข้อมูลที่โพสต์จะถูกแพร่กระจาย

ไปบนอินเทอร์เน็ตจนไม่สามารถตามไปลบข้อมูลเหล่านั้นได้ทุกที  ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มจะเป็นอันตรายมากขึ้น  ที่ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมีดังนี้


สินค้าแนะนำ :   รั้วไฟฟ้ากันขโมย     กล้องวงจรปิดไร้สาย    สัญญาณกันขโมยไร้สาย


 



มัลแวร์


โปรแกรมที่ออกแบบเพื่อเจาะเข้าทำลายหรือเพื่อสร้างความเสียหายให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเรียกโปรแกรมประสงค์ร้ายที่เป็นที่คุ้นเคยกันดี  เช่น  ไวรัส   

เป็นโปรแกรมที่ทำลายระบบคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายไปยังไฟล์อื่น  ๆ  ที่อยู่ในเครื่องเดียวกัน  สามารถทำลายเครื่องได้ตั้งแต่การลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่

ในฮาร์ดดิสก์ไปจนถึงแต่เป็นโปรแกรมที่สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ในเครื่อข่าย  ส่วนเวิร์ม   เป็นโปรแกรมที่เป็นอันตราย

ต่อระบบคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  ๆ  ที่อยู่ในเครือข่าย  เวิร์มจะใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นที่รับส่งไฟล์โดยอัตโนมัติ  

และไม่ต้องอาศัยคนเพื่อเปิดไฟล์ใด ๆ เพราะเวิร์มมีส่วนของโปรแกรมที่สามารถรันตัวเองเพื่อสร้างความเสียหายได้  เป็นต้น

บอตเน็ต


เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้านหรือในองค์กรที่มีมากมายกำลังถูกแฮคเกอร์ครอบครองและแปรสภาพเครื่องดังกล่าวเป็นบอต  

ซึ่งเครื่องที่แฮคเกอร์สามารถควบคุมได้จากระยะไกล  เราเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย  ๆ  เครื่องที่ถูกแฮคเกอร์ควบคุมว่า บอตเน็ต   

เป็นเครือข่ายของแฮคเกอร์เพื่อใช้ใจการประกอบกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย  เช่น  ส่งสแปมเมล หรือเป็นฐานในการโจมตีเป้าหมาย  เป็นต้น


 



แฮคเกอร์


การใช้ช่องโหว่ของระบบคอมพิวเตอร์ของแฮคเกอร์หรือผู้ที่เชี่ยวชาญและมีความเฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหาจากข้อจำกัด 

หรือใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และจุดอ่อนของระบบคอมพิวเตอร์แฮคเกอร์จะถูกมองว่าเป็นคนร้าย  ถ้าแฮคเกอร์ทำหน้าที่โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้ระบบดีขึ้นก็ถือว่าเป็นส่วนที่ดี 

ดังนั้นแฮคเกอร์จึงแบ่งออกเป็นหลายประเภท  เช่น  แฮคเกอร์หมวกขาวจะเป็นพวกที่มีจริยธรรมหรือนักทดลองเจาะระบบกล้องวงจรปิดซึ่งจะต่างจาก

แฮคเกอร์หมวกดำหรือนักโจมตีตัวร้าย   แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นแฮคเกอร์ร้ายหรือดี  แฮคเกอร์ทุกคนจะมีขั้นตอนการเจาะระบบที่เหมือนกันหรือ

ใช้เครื่องมือเดียวกันในการโจมตีระบบและเพื่อให้หน้าที่ของตัวเองสมบูรณ์

แฮคเกอร์หมวกขาวควรคิดและทำเหมือนกับแฮคเกอร์หมวกดำเพื่อที่จะได้รู้ว่าระบบนั้น  ๆ  มีช่องโหว่จรองและแก้ไขได้ทันก่อนที่แฮคเกอร์ตัวจริงจะเจาะเข้ามาในระบบได้    

แฮคเกอร์มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับความชำนาญและแรงจูงใจที่กระทำ  แฮคเกอร์แต่ละประเภทนั้นก็ใช้เครื่องมือที่หลากหลาย  ตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐานไปจนถึงเครื่องมือที่ซับซ้อน  และมีอำนาจการทำลายสูง



อาชญากรรมไซเบอร์


                     ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจเกิดถดถอยทำให้หลายคนเปลี่ยนอาชีพไปเป็นนักเจาะระบบ  หรือรู้จักกันในนาม “แฮคเกอร์”   

โดยเป้าหมายที่แท้จริงของการเจาะระบบก็คือ  เงิน  ลูกค้าของธนาคารจึงกลายเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะลูกค้าบริการออนไลน์ตลอดจนลูกค้าบัตรเครดิตต่าง  ๆ

เพราะแฮคเกอร์สามารถเจาะการเข้ารหัสแบบ  SSL  ได้สำเร็จ  และยังมีการพัฒนาโปรแกรมเอาไว้ขายให้กับแฮคเกอร์มือสมัครเล่นที่มีความต้องการถอดรหัส SSL  

ของผู้อื่นเพื่อดักจับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเหยื่อ   ปัจจุบันระบบอีคอมเมิร์ชส่วนใหญ่จะใช้โปรโตคอลเป็นหลักการเข้ารหัสด้วย SSL ถือว่าไม่เพียงพอต่อการป้องกันแฮคเกอร์อีกต่อไป

จำเป็นต้องมีการตรวจสอบตัวตนแบบสองทางมาช่วยอีกชั้นหนึ่ง   โดยการออกแบบมัลแวร์แบบม้าโทรจันสู่เครื่องเป้าหมาย  ซึ่งในปัจจุบันถูกเจาะระบบด้วยวิธีนี้

โดยโปรแกรมตรวจจับไวรัสหรือมัลแวร์ทั่วไปไม่สามารถที่จะตรวจจับการโจมตีได้เพราะส่วนใหญ่เป็นการใช้ช่องโหว่ที่ยังไม่มีการค้นพบมาก่อน 

 และทางผู้ผลิตยังไม่มีการออกแพตซ์มาแก้ไข  ทำให้การโจมตีแบบนี้ได้ผลมาก  ส่วนใหญ่การโจมตีแบบ  APT จะเจาะระบบที่ช่องโหว่ของบราวเซอร์และ Adobe Acrobat  เป็นหลัก

สงครามไซเบอร์


ปัจจุบันทั่วโลกมองว่าไซเบอร์เป็นอีกสมรภูมิแห่งการรบ   ซึ่งมีนักรบไซเบอร์ทำหน้าที่ต่อสู้ในโลกไซเบอร์อย่างเป็นทางการ  และมีภารกิจหลักคือ  

การเจาะระบบของฝ่ายตรงข้ามซึ่งถือว่าเป็นการเจาะระบบอย่างลับ  ๆ  เช่น  การใช้มัลแวร์เพื่อโจมตี  นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมโทรจัน APT  

ในรูปแบบต่าง  ๆ  ที่ล้วนมีจุดมุ่งหมายทำลายโครงสร้างพื้นฐานของฝ่ายตรงข้าม  เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น