เสียงรบกวน การทำงาน
การทำงานโดยปกติระยะเวลาในการทำงานไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง และต้องได้รับเสียงไม่เกิน 91 dB(A) แต่ถ้าทำงานเกินกว่าวันละ 7 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง
ต้องได้รับเสียงไม่เกิน 90 dB(A) ระดับเสียงสูงสุดต้องไม่เกิน 140 dB(A) ในการออกแบบการทำงานเกี่ยวกับเสียงนั้นถ้าบริเวณนั้นไม่มีคนอยู่อาจจะไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบ
เพื่อควบคุมเสียงมากนัก แต่ในทางปฏิบัติพบว่าในการทำงานควบคุมเครื่องจักรจำเป็นต้องมีคนควบคุม
จึงต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมเสียง แนวทางในการออกแบบการทำงานขั้นแรกทำการออกแบบกล้องวงจรปิดแยกหรือกั้นแหล่งกำเนิดเสียงออกจากบริเวณที่คนทำงาน
จึงต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมเสียง แนวทางในการออกแบบการทำงานขั้นแรกทำการออกแบบกล้องวงจรปิดแยกหรือกั้นแหล่งกำเนิดเสียงออกจากบริเวณที่คนทำงาน
แต่แม้ว่ามีการแยกบริเวณแล้ว ถ้าเสียงยังคงผ่านไปยังบริเวณที่คนทำงานได้และระดับเสียงดังอยู่ อาจต้องทำการจัดเวลาการทำงานที่คนสัมผัสเสียง ให้มีระยะเวลาทำงานลดน้อยลง รวมทั้งป้องกันที่ตัวบุคคลโดยให้สวมใส่ปลั๊กลดเสียงหรือครอบหูลดเสียง
การสูญเสียการได้ยิน เป็นผลมาจากการออกแบบการทำงานที่ให้คนงานสัมผัสเสียงดังเกินไป สามารถแบ่งการสูญเสียการได้ยินออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
- การสูญเสียการได้ยินอย่างฉับพลันเมื่อได้ยินเสียงดังมาก เช่น เสียงระเบิด เสียงปืน
- การสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป เกิดขึ้นอยู่ที่ทำงานในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน เช่น การทำงานในโรงงานทอผ้าเป็นเวลานาน
การสูญเสียการได้ยินที่มาจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเรียกว่า การสูญเสียการได้ยินจากเสียงรบกวนอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร การสัมผัสกับเสียงที่ดังอย่างต่อเนื่องทำให้เซลล์รับเสียงถูกทำลายอย่างถาวร
- การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว การได้รับเสียงดังอย่างต่อเนื่อง เซลล์ปราสาทรับเสียงจะมีอาการล้า หรือหูอื้อ หรือหูดับชั่วคราว แต่เมื่อมีการพักในที่เงียบการได้ยินก็จะสามารถกลับมาได้ยินดังเดิม
สินค้าแนะนำระบบรักษาความปลอดภัย : กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย
ลักษณะของเสียงรบกวนอุตสาหกรรม เป็นดังนี้
- เสียงกระแทก ดัง ๆ หยุด ๆ เป็นช่วง
- เสียงที่มีความถี่สูงกว่า 2,000 Hz
- เสียงที่ดังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- เสียงที่มีลักษณะต่าง ๆ ข้างต้นผสมผสานกัน
การตรวจสมรรถภาพการได้ยินของคนงานที่ได้รับเสียงเพื่อเป็นการตรวจการได้ยินเสียงที่ความถี่ต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลไปสร้างเป็นกราฟ เรียกว่า ออดิโอแกรม โดยเปรียบเทียบระหว่างการได้ยินของคนปกติทั่วไปกับคนที่ได้รับเสียงอุตสาหกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น