กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

การออกแบบสถานที่ทำงานให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม (กล้องวงจรปิด)

การออกแบบสถานที่ทำงานให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม       


การออกแบบสถานที่ทำงานให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับคนทำงานติดตั้งกล้องวงจรปิดและยังมีการออกแบบการทำงานยังต้องให้ความสำคัญกับลักษณะความหนักและเบาของงาน   

เพราะการทำงานหนักจะมีการใช้พลังงานของร่างกายมากกว่าการทำงานเบา   จะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าการทำงานเบาด้วย  ความหนักและความเบาของงานสามารถอธิบายได้  ดังนี้

- “งานเบา”        งานเขียนหนังสือ  งานพิมพ์หนังสือ  งานบันทึกข้อมูล  การยืนคุมงาน  ต้องมีระดับความร้อนของบริเวณคนทำงานไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิที่  34  องศาเซลเซียส

- “งานปานกลาง”        งานยก  ลาก  ดัน  หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยแรงปานกลาง  งานตอกตะปู  งานขับรถบรรทุก  ต้องมีระดับความร้อนของบริเวณคนทำงานไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิที่  32  องศาเซลเซียส

- “งานหนัก”        งานเลื้อยไม้   งานที่ใช้พลั่วและเสียม   งานยกหรือเคลื่อนย้ายของหนักขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชัน   ต้องมีระดับความร้อนของบริเวณคนทำงานไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิที่ 30  องศาเซลเซียส






แสงสว่าง
การกำหนดให้มีแสงสว่างไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามกฎหมายของกระทรวงแรงงาน   นายจ้างจะต้องใช้หรือจัดให้มีฉาก  แผ่นฟิล์มกรองแสง  หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอ   

เพื่อป้องกันไม่ให้คนทำงานได้รับแสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกำเนิดแสง  หรือจากดวงอาทิตย์   ซึ่งการออกแบบการทำงานเริ่มต้นด้วยการออกแบบให้ใช้แสงธรรมชาติ  

เพื่อประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย   ถ้าแสงมากเกินความต้องการให้มีการกั้นกำแพงกำบังแสงหรือบานเกล็ด  แล้วตามด้วยการออกแบบการทำงานด้วยวิธีต่าง  ๆ  ดังนี้

1. การใช้หลังคาโปร่งแสง       เพื่อนำแสงสว่างจากธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในเวลากลางวัน    แต่ก็มีข้อเสียก็คือ  ไม่ได้กันความร้อนจากแสงอาทิตย์    

โดยเฉพาะในฤดูร้อนมีความสิ้นเปลืองพลังงานสำหรับการใช้ระบบปรับอากาศสำหรับอาคารที่ใช้หลังคาโปร่งแสงทำให้อุณหภูมิในอาคารสูง  

ให้ใช้เฉพาะที่จำเป็นและเหมาะสำหรับอาคารที่มีหน้าต่างเปิดไม่เหมาะกับอาคารที่ใช้ระบบปรับอากาศ  ถ้าเป็นด้านข้างอาคารควรใช้บานเกล็ดเพื่อช่วยกรองแสงธรรมชาติ

2. เลือกสีของเพดานและผนังให้ถูก         เพดานควรใช้โทนสีขาวเพื่อช่วยในการกระจายแสง  และผนังก็ควรเป็นโทนสีเดียวกับเพดาน  หรือเป็นสีอ่อน  ๆ  

เพื่อให้ความรู้สึกที่สบายกว่า    ส่วนงานที่ต้องใช้สายตาในการตรวจสอบถ้าพื้นหลังมีความสว่างใกล้เคียงกับสิ่งของที่จะตรวจจะทำให้ยากต่อการตรวจสอบ  

และต้องมีการออกแบบพื้นหลังหรือสีของพื้นผิวโต๊ะทำงานเพื่อให้ตรวจสอบได้ง่ายไม่ควรใช้พื้นผิวที่เงาเพราะทำให้เกิดแสงสะท้อนเข้าตา   และควรทำความสะอาดผนังและเพดานวาม่ให้มีฝุ่น  เพราะฝุ่นและความสกปรกจะทำให้ความสว่างลดลง

3. ใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงประดิษฐในเวลากลางวัน       การใช้แสงธรรมชาติช่วยบริเวณทางเดิน  บันได  ทางเข้า – ออก  ได้รับแสงธรรมชาติจากประตูหรือหน้าต่าง   

แต่เมื่อเป็นเวลากลางคืนหรือไม่สามารถใช้แสงธรรมชาติได้ให้ใช้แสงประดิษฐ์  ตำแหน่งของสวิตช์เปิด – ปิดไฟควรอยู่ใกล้ทางเดิน  ประตู  หรือบันได  สวิตช์ไฟบริเวณขึ้นและลงบันไดควรมีตำแหน่งทั้งทางขึ้นและทางลง  เรียกว่า  สวิตช์  2  ทาง

4. การจัดแสง       ในพื้นที่ทำงานไม่ควรให้มีเงาทับ   การติดตั้งหลอดไฟที่ด้านหลังคนทำงานต้องระวังไม่ให้เกิดเงาจากคนทำงานมาทับบริเวณพื้นที่ทำงาน  

ระดับความสูงของหลอดไฟสำหรับความสว่างทั่วไปควรอยู่สูง  แต่ที่พื้นที่หน้างานที่ต้องการความสว่างเป็นพิเศษควรมีหลอดไฟให้ความสว่างเฉพาะจุด

5. ความถี่ของแสงไฟ       หลอดไฟประเภทฟลูออเรสเซนช์จะให้แสงที่มีลักษณะสั่น   ยิ่งตาของคนสังเกตได้ว่ามีการสั่นของแสงไฟนั้นยิ่งไม่ดี  แต่เมื่อหลอดประเภทนี้เสื่อมควรต้องเปลี่ยน   ควรใช้หลอดไฟแบบมีไส้จะดีกว่าเพราะจะไม่มีการสั่น

6. การจัดงานให้เหมาะสมกับอายุ       พนักงานที่มีอายุมากขึ้นความสามารถในการมองเห็นก็จะลดลงย่อมต้องการความสว่างในการมองมากขึ้น   

เราจะพบว่าคนที่มีอายุมากกว่า  40  ปีขึ้นไปมักต้องสวมใส่แว่นสายตา    ในการจัดงานลักษณะเดียวกันรวมทั้งใช้ระดับความสว่างของบริเวณพื้นที่ทำงานเท่ากัน

สำหรับคนที่อายุแตกต่างกัน  เช่น  คนอายุ  20  ปีทำงานลักษณะเดียวกันกับคนที่มีอายุมากกว่า  40  ปีในบริเวณที่ทำงานเดียวกันก็อาจถือว่าไม่เหมาะสม  จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยของอายุนำมาประกอบด้วย


สินค้าแนะนำระบบรักษาความปลอดภัย  : กล้องวงจรปิด   รั้วไฟฟ้า   สัญญาณกันขโมย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น