กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

การออกแบบการทำงานกับมิติความกว้าง ความยาว และความสูง (กล้องวงจรปิด)

การออกแบบการทำงานกับมิติความกว้าง  ความยาว  และความสูง


                  การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบมิติความกว้าง  ความยาว  ความสูง  ของกล้องวงจรปิดจำเป็นต้องนำข้อมูลร่างกายของคนที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานที่จะออกแบบ   ข้อมูลสัดส่วนร่างกายมี  2  ลักษณะ ดังนี้  ข้อมูลสัดส่วนร่างกายแบบสถิติ  กับ  ข้อมูลสัดส่วนร่างกายแบบพลวัต

- ข้อมูลสัดส่วนร่างกายแบบสถิติ      เป็นการออกแบบที่ใช้กับการทำงานที่มีภาพรวมของการทำงานไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น   งานประกอบชิ้นส่วนของงานขนาดเล็ก  การเคลื่อนไหวของมือเพียงเล็กน้อย  งานอ่านหนังสือ  เป็นต้น

- ข้อมูลสัดส่วนร่างกายแบบพลวัต       เป็นการออกแบบที่ใช้กับการทำงานที่มีภาพรวมของการทำงานที่ต้องมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย  เช่น  งานขับรถ  การยกของหนักขึ้นและลง  งานที่ต้องใช้กำลังในการประกอบชิ้นงาน เป็นต้น

                        ถ้ามีการนำข้อมูลสัดส่วนของร่างกายมาใช้แต่วิธีการวัดไม่ถูกต้องข้อมูลที่ได้มาและนำไปใช้ในการออกแบบย่อมไม่ถูกต้องไปด้วย  ดังนั้นสาเหตุในการวัดสัดส่วนร่างกายที่มักทำการวัดขณะที่ไม่ได้สวมใส่ชุดทำงาน  อาจมีผลต่อการออกแบบที่ใช้กับการทำงานที่ผิดพลาดได้เช่นกัน

สถานีทำงานที่ต้องใช้ข้อมูลสัดส่วนร่างกาย

สถานีทำงานที่ใช้กับคอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบที่ต้องใช้ข้อมูลสัดส่วนร่างกาย  เช่น  ความสูงของเก้าอี้ที่สัมพันธ์กับความสูงใต้ขาพับในท่านั่งความสูงของพื้นโต๊ะวางจอคอมพิวเตอร์

ที่สัมพันธ์กับความสูงของระดับสายตา  ตำแหน่งของแป้นพิมพ์และเมาส์ที่สัมพันธ์กับความสูงของระดับศอกในท่านั่งโดยที่ข้อศอกทำมุม 90  องศา    หรือความกว้างของผู้ใช้รถเข็นในทางสัญจร

ต้องคิดถึงความกว้างของรถเข็น  กรณีที่ต้องมีการสัญจรสวนกันได้ก็ต้องมีความกว้างของทางสัญจรมากขึ้น  ความกว้างของทางสัญจรยังไปประยุกต์กับลักษณะอื่น  เช่น  ทางสัญจรที่คนเดินสวนกัน  

หรือทางสัญจรที่มีรถฟอล์กลิฟต์   ส่วนในกรณีที่เป็นทางสัญจรคนเดินสวนกันต้องคำนึงถึงความกว้างของร่างกายของคน  2  คน  บวกด้วยระยะเผื่อ  เพื่อไม่ให้เดินชนกันขณะที่เดินสวนกัน  เป็นต้น



สินค้าแนะนำระบบรักษาความปลอดภัย  : กล้องวงจรปิด   รั้วไฟฟ้า   สัญญาณกันขโมย




กรณีศึกษา  การออกแบบที่นั่งคนขับรถยนต์

ถือได้ว่าท่านั่งเป็นท่าธรรมชาติของคนทั่วไป  และเป็นท่าพักเมื่อเทียบกับท่ายืนแต่ภาวะการนั่งขับรถยนต์ในปัจจุบันถือเป็นการทำงานทีต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน

และไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบทได้ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนและสันหลังโก่ง   และยังทำให้การทำหน้าที่ของระบบร่างกายบางอย่างไม่เต็มที่  เช่น  ระบบการย่อยอาหาร   ระบบการหายใจ  และเกิดการปวดเมื่อยในส่วนต่าง  ๆ   ของร่างกาย 

การนั่งในท่าเดิมนาน  ๆ   ทำให้เกิดภาระสถิตซึ่งทำให้เกิดความล้าและความเจ็บปวดได้ในที่สุด     ส่วนใหญ่ในการนั่งเก้าอี้ของคนเรานั้นนำหนักของร่างกายจะตกบริเวณปุ่มกระดูกก้น

ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของกระดูกเชิงกราน  และมีบางส่วนที่ตกลงบนพื้นที่เท้าเหยียบ  ที่พักแขน  และพนักพิงหลัง  และเมื่อพิจารณาถึงมิติของที่นั่งคนขับรถยนต์ต้องมีความสัมพันธ์กับ

สัดส่วนของร่างกายของผู้ที่ขับรถ  ซึ่งมิติที่นั่งคนขับต้องนำมาพิจารณาเพื่อช่วยในการออกแบบที่นั่งคนขับที่เหมาะสมมี  12  มิติ  ดังนี้

1. ความสูงของที่นั่ง
2. ความกว้างของเบาะที่นั่ง
3. ความยาวของเบาะที่นั่ง
4. ความสูงของพนักพิง
5. มุมเอียงของเบาะที่นั่ง
6. มุมเอียงของพนักพิง
7. ระยะเลื่อนเข้า-ออกของเบาะที่นั่ง
8. ความสูงของหลังคารถ
9. ระยะระหว่างเบาะที่นั่งถึงพวงมาลัย
10. ระยะจากขอบเบาะที่นั่งถึงเบรก  คลัชต์  คันเร่งและเกียร์
11. มุมเอียงของเบรก  คลัชต์และคันเร่ง
12. มุมเอียงของพวงมาลัย





                     ได้มีการออกแบบที่นั่งคนขับรถบรรทุก  โดยในเบื้องต้นนั้นได้ทำการวัดสัดส่วนของร่างกายและใช้แบบบันทึกสัดส่วนร่างกายและสอบถามถึงความสะดวกของการขับรถ   

และจากท่าทางการทำงานอยู่ในท่านั่งเป็นส่วนใหญ่จึงได้ทำการเลือกเฉพาะสัดส่วนร่างกายที่เกี่ยวข้องซึ่งสัดส่วนนั้นมีความสัมพันธ์กับมิติของที่นั่งคนขับรถ 

เช่น  ความยาวของมือ  ระยะระหว่างข้อศอกถึงปลายนิ้วมือ   ระยะระหว่างข้อศอกถึงปุ่มหัวไหล่  ความสูงขณะนั่ง  ระยะระหว่างก้นกับเข่า  ความสูงใต้ขาอ่อนขณะนั่ง  และความยาวของเท้า  เป็นต้น 

ซึ่งสัดส่วนต่าง  ๆ  เหล่านี้ถูกนำไปคำนวณหาระยะระหว่างข้อต่อของร่างกาย  และคำนวณหาระยะต่าง ๆ ในห้องผู้ขับขี่  และสร้างความสัมพันธ์ของสัดส่วนร่างกายกับมิติที่นั่งคนขับ   

ในการสร้างความสัมพันธ์นั้นจะต้องกำหนดจุดอ้างอิงต่าง  ๆ  ประกอบไปด้วย  4  จุด ดังนี้  ตำแหน่งของส้นเท้าเมื่อวางอยู่บนคันเร่งและเบรก   ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของพวงมาลัย   

ตำแหน่งข้อต่อระหว่างขากับสะโพกในขณะนั่ง    จุดอ้างอิงของเบาะที่นั่งที่โดยส่วนใหญ่นิยมใช้จุดตัดระหว่างเบาะที่นั่งกับพนักพิง

วิธีการวัดสัดส่วนร่างกายในตำแหน่งต่าง  ๆ

ความสูงยืน
เครื่องมือที่วัด                          :      แอนโทรโพมิเตอร์
ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ         :       ผู้เข้าทดสอบยืนตรงเท้าทั้งสองชิดกัน
วิธีดำเนินการ                          :       วัดระยะตามแนวตั้งฉากกับพื้นที่ยืนไปยังแนวบนสุดของศรีษะ
ความสูงตาขณะยืน


เครื่องมือที่วัด                          :      แอนโทรโพมิเตอร์
ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ         :       ผู้เข้าทดสอบยืนตรงเท้าทั้งสองชิดกัน
วิธีดำเนินการ                          :       วัดระยะตามแนวฉากกับพื้นที่ยืนไปยังระดับสายตา
ระยะเหยียดแขนขณะลำตัวตั้งตรง


เครื่องมือที่วัด                          :       แอนโทรโพมิเตอร์
ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ         :       ผู้เข้าทดสอบยืนตรงเท้าทั้งสองชิดกัน  หลังติดผนังห้อง ยกแขนขวาเหยียดตรงขนานกับแนวนอน
                                                   

วิธีดำเนินการ                          :        วัดระยะตามแนวนอนจากผนังไปยังปลายนิ้วหัวแม่มือ
ความกว้างของมือ
เครื่องมือที่วัด                         :        แคลิปเปอร์


ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ        :        ผู้เข้าทดสอบอยู่ในท่ายืนตรงหรือนั่ง  วางมือให้แนบกับโต๊ะโดยให้ฝ่ามือหงายขึ้น

วิธีดำเนินการ                         :         วัดความกว้างของมือระหว่างกระดูกฝ่ามือกับนิ้วชี้และนิ้วก้อย
ความยาวของมือ

เครื่องมือวัด                          :         แคลิปเปอร์
ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ        :     ผู้เข้าทดสอบอยู่ในท่ายืนตรงหรือนั่งวางมือให้แนบกับโต๊ะโดยหงายฝ่ามือขึ้น

วิธีดำเนินการ                         :     วัดความยาวของมือระหว่างนิ้วกลางและข้อมือ
ความกว้างของเท้า

เครื่องมือวัด                          :        แคลิปเปอร์
ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ       :        ผู้เข้าทดสอบอยู่ในท่ายืนตรงหรือนั่ง
วิธีดำเนินการ                        :         วัดส่วนกว้างที่สุดของเท้า
ความยาวของเท้า

เครื่องมือที่วัด                       :        แคลิปเปอร์
ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ      :        ผู้เข้าทดสอบอยู่ในท่ายืนตรงหรือนั่ง
วิธีดำเนินการ                       :        วัดส่วนยาวที่สุดของเท้า
ความสูงตาขณะนั่ง

เครื่องมือที่วัด                      :        แอนโทรโพมิเตอร์
ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ     :        ผู้เข้าทดสอบอยู่ในท่านั่งตัวตรง  ศรีษะตั้งตรง  โคนขาขนานกับพื้นเท่าวางราบบนพื้นเข่างอทำมุม  90  องศา
                                                 
วิธีดำเนินการ                      :        วัดระยะตามแนวตั้ง  จากพื้นที่นั่งถึงระดับสายตา
น้ำหนัก
เครื่องมือที่วัด                     :       แอนโทรโพมิเตอร์
ตำแหน่งของผู้ถูกทดสอบ    :       ผู้เข้าทดสอบอยู่ในท่ายืนตัวตรงเท้าทั้งสองชิดกันเพื่อให้น้ำหนักกระจายตัวบนเท้าทั้งสองเท่ากัน
                                             
วิธีดำเนินการ                     :        อ่านค่าน้ำหนักบนสเกลเครื่องชั่ง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น