เคล็ดการตรวจ โรงงานสำเร็จรูป ด้วยสายตา
การตรวจอาคารด้วยสายตา เพื่อให้ผู้ตรวจอาคารมีทักษะพื้นฐานในการตรวจและสังเกตได้ว่าส่วนประกอบของอาคารที่สำคัญ “สภาพพร้อมใช้งาน” เพียงใด หากการตรวจด้วยสายตาไม่สามารถทำให้เกิดความมั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัยของอาคาร ก็ควรเพิ่มการตรวจให้ละเอียดมากขึ้น การตรวจระบบความปลอดภัยจะต้องมีการตรวจเป็นระยะสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การตรวจครั้งแรกอาจพบข้อบกพร่องมากแต่เมื่อมีการตรวจเป็นประจำต่อเนื่องมีแผนปรับปรุงข้อบกพร่องก็จะลดลงจนอาคารนั้นมีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับที่มั่นใจได้สามารถใช้อาคารได้อย่างปลอดภัย หลังจากมีการตรวจสอบอาคารพบว่ามีการก่อสร้างอาคารได้มาตรฐานความปลอดภัยที่ถูกต้องมากขึ้น ส่วนอาคารที่มีอยู่แล้วก็ได้รับการปรับปรุงให้มีมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการก่อสร้างและเป็นมาตรการป้องกันปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาคารเช่นที่เคยเกิดขึ้น ผู้ตรวจอาคารจะต้องทำงานบนพื้นฐานของจรรยาบรรณนำพาอาคารสู่อาคารที่ปลอดภัย” ต้องทำงานร่วมกับผู้รับผิดชอบอาคารเพื่อให้ได้ข้อสรุปรายงานพร้อมแผนความปลอดภัยที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือความปลอดภัยของอาคารนั้นต่อไป
รายงานการตรวจสอบอาคารเป็นรายงานที่มีความสำคัญ
มีเนื้อหาที่เป็นบันทึกข้อมูลที่สามารถใช้เป็นประวัติของอาคาร และมีคุณภาพที่สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ เคล็ดการตรวจอาคารมี 2 ตอนคือ
1.
การให้ข้อเสนอแนะ
2.
รู้ได้อย่างไร
การให้ข้อเสนอแนะ เป็นขั้นตอนสำคัญของผู้ตรวจอาคาร ข้อเสนอแนะต้องสามารถอ้างอิงทางวิชาการ โดยเฉพาะกฎหมายหรือมาตรฐาน วสท ไม่ใช่เพียงความรู้สึกของตนเองแต่ไม่สามารถอธิบายที่มาของเหตุผลได้
รู้ได้อย่างไร เป็นการให้ข้อมูลวิธีการตรวจระบบและอุปกรณ์ด้วยสายตา ที่พอจะบอกได้ว่าระบบและอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ เช่น
เครื่องสูบน้ำดับเพลิงพร้อมใช้งานหรือไม่ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงมีขนาดเพียงพอไหม
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือเปล่า น้ำสำหรับดับเพลิงมีเพียงพอหรือไม่
เครื่องดับเพลิงพร้อมใช้งานหรือไม่และมีเพียงพอหรือไม่ เป็นต้น
ความปลอดภัย |
เป็นอีกข้อหนึ่งที่กำหนดในกฎกระทรวง “กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ
และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร ให้ทำการตรวจสอบด้านวิศวกรรมโยธาเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคารในการใช้งาน
ขอบเขตของผู้ตรวจสอบอาคาร “ ผู้ตรวจสอบมีหน้าที่สังเกตด้วยสายตาพร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้นไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ ทำรายงาน
รวบรวมและสรุปผลการวิเคราะห์ทางด้านความมั่นคงแข็งแรงและระบบต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้โรงงานสำเร็จรูป
เจ้าของอาคารเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารต่อเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น”
“การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร”
เบื้องต้นบุคคลทั่วไปหรือแม้แต่วิศวกรและสถาปนิกจะเข้าใจว่าเป็นการตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมโยธาถึงกับมีบ้างที่มีความเช้าใจคลาดเคลื่อนว่าเมื่อตรวจสอบแล้วผู้ตรวจสามารถลงนามรับรองความมั่นคงแข็งแรงของอาคารให้แก่เจ้าของอาคารได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วการรับรองต้องผ่านการตรวจวัด ตรวจสอบ และทดสอบเชิงลึกแล้วนำมาวิเคราะห์ตามหลักวิชาการทางวิศวกรรม
จึงจะบ่งบอกได้ว่าอาคารมีความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยเพียงใดและอยู่บนสมมุติฐานใด นอกจากนั้นยังมีข้อกำหนดตามกฎหมายให้วิศวกรที่จะทำหน้าที่วิเคราะห์และรับรองความมั่นคงแข็งแรงของอาคารได้นั้นต้องเป็นวุฒิวิศวกร
เนื้อหาในหมวดนี้จะเน้นเรื่องเทคนิคการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ซึ่งเป็นงานด้านวิศวกรรมโยธาตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งรวบรวมคำถามที่น่าสนใจไว้พอสังเขป เพื่อเป็นประโยชน์อ้างอิงสำหรับผู้ตรวจอาคารทุกท่าน
ความหมายและเทคนิคการตรวจสอบอาคารด้านโยธา เกี่ยวกับภาพรวมของการตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมโยธากับการตรวจสอบอาคารตามกฎกระทรวง การจัดหมวดหมู่ของ “การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร” กฎหมายกำหนดให้ตรวจสอบดังนี้
·
การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
·
การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
·
การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
·
การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือตกแต่งอาคาร
·
การชำรุดสึกหรอของอาคาร
·
การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
·
การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
ลักษณะรอยร้าวและสาเหตุ ความผิดปกติของโครงสร้างอาคารและฐานรากจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม จะแสดงออกมาในลักษณะของการเสียรูปทรงและรอยร้าว ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะรอยร้าวต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ตรวจสอบอาคารสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่าควรเสนอแนะให้เจ้าของอาคารติดต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือไม่ ลักษณะรอยร้าวและสาเหตุมาแสดงให้เห็นลักษณะได้ชัดเจน ตามละเอียดดังนี้
·
ตำแหน่งรอยร้าว มี
4 แห่ง ผนัง
คาน พื้น เสา
·
การพิจารณารอยร้าว
·
ชนิดของรอยร้าว แบ่งเป็น 4
ชนิด ร้าวจากฐานราก ร้าวจากโครงสร้าง ร้าวจากความเสื่อมสภาพ ร้าวจากฝีมือก่อสร้างและอุณหภูมิ
ตัวอย่างและคำถามที่น่าสนใจ ได้รวบรวมตัวอย่างความผิดปกติที่ตรวจพบในภาคสนามและคำถามของผู้ทรงคุณวุฒิหลักสูตรอบรมผู้ตรวจสอบอาคาร เพื่อเป็นประโยชน์ใช้อ้างอิงต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น