กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ความเป็นกลางของเครือข่าย และกล้องวงจรปิด



ความเป็นกลางของเครือข่าย และกล้องวงจรปิด

ในการบริการดูวิดีโอออนไลน์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว   มีการประมาณว่ามีปริมาณของการส่งผานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเกือบ 1/3 เป็นการดูหนังออนไลน์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไพรม์ไทม์อาจสูงถึง  70% ข้อตกลงตามโครงสร้างของการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ได้ถูกออกแบบหรือตกลงไว้สำหรับรองรับกรณีที่ผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งเป็นผู้สร้างหรือส่งผ่านข้อมูลปริมาณมหาศาลนี้     โดยการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะมีลักษณะเป็นแบบเพียริง   คือผู้ให้บริการแต่ละโครงข่ายจะมีโครงข่ายเป็นของตนเอง  และใช้ในการเชื่อมต่อให้กับลูกค้าของตนเอง   
  

 ในขณะที่ผู้ใช้บริการอาจซื้อบริการอินเทอร์เน็ตจากบริษัทอื่น และผู้ให้บริการเครือข่ายเหล่านี้  จะมีการตกลงสัญญาการเชื่อมต่อกันที่เรียกว่าเพียริง โดยในสัญญาจะระบุว่าจะไม่คิดค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และมีความคาดหมายว่าข้อมูลที่ส่งและรับจะมีปริมาณใกล้เคียงกัน และจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญสามารถแก้ปัญหาความเร็วของการให้บริการแก่ลูกค้าของตนเองได้ด้วยการลงทุนปรับปรุงแบนด์วิดท์                    
 โครงการ   Internet.org เป็นโครงการที่ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอื่น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ประชากรอีกกว่า   2  ใน  3 ของโลกที่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ต  และให้เข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ในราคาย่อมเยา   เพื่อจะทำให้คนทั่วโลกได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตระดับพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและมีราคาถูกที่พอรับได้สำหรับผู้ใช้ที่มีรายได้ไม่สูงนัก     
Internet.org การที่ให้บริการเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ตในราคาที่ไม่แพงแก่ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายปกติได้เพื่อให้บริการเข้าถึงเว็บไซต์จำนวนมากและผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเครือข่ายอื่น    ในราคาประหยัด  ในเงื่อนไขที่เจ้าของเนื้อหาได้พัฒนาเพื่อให้เชื่อมต่อกับเครื่อข่ายนี้แล้ว   และในปัจจุบันการให้บริการของ  Internet.org   ได้บริการในหลายประเทศ
 หลัการสำคัญของความเป็นกลางของเครือข่าย       การให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงบริการต่าง      ทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมกัน  และไม่ถูกกีดกันทางการเข้าถึงผู้ให้บริการไม่มีการคิดค่าบริการเพิ่ม  รวมถึงไม่จำกัดการให้บริการเว็บไซต์ใดโดยเฉพาะ   ผู้ให้บริการไม่ควรลำเอียงโดยการลดคุณภาพในการบริการของคู่แข่งในกรณีที่ผู้ให้บริการประกอบธุรกิจที่แข่งกับส่วนของผู้ผลิตเนื้อหาด้วย   และถ้าจำเป็นจะต้องมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับความเป็นกลางของเครือข่ายมาควบคุม  จะมีแนวทางจัดการอย่างไรให้ไม่ขัดกับการบริการอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้และสิทธิในการแข่งขันของธุรกิจ   และถ้าหากมีการผ่อนปรนหลักความเป็นกลางขของเครือข่ายบ้างเพื่อประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงอินทอร์เน็ตถือว่าเป็นธรรมได้  แล้วจะดูยังไรว่าใครเป็นผู้ด้อยโอกาส  หรือบริการประเภทใดควรถูกจัดให้เป็นบริการอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนเข้าถึงได้และให้การยกเว้นกฏความเป็นกลางของเครือข่ายบางประการได้

คลาวด์คอมพิวติง
 คลาวด์คอมพิวติง (Cloud   Computing) หมายถึง “ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ”    เป็นระบบที่เอาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต  เน้นความยืดหยุ่นและสนองความต้องการของผู้ใช้งาน การจัดสรรทรัพยากรที่หลากหลาย รวมถึงการสั่งงานได้จากระยะไกลโดยส่วนมีไว้เพื่อจัดเก็บข้อมูลหรือประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไม่สามารถตอบสนองได้   ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์หรือระบบแต่เป็นการเช่าใช้งานผ่านผู้ให้บริการที่จัดทำระบบให้แล้ว จุดเด่นของระบบคลาวด์ที่แตกต่างจากเซิร์ฟเวอร์ก็คือข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบคลาวด์นั้น  จะอยู่อย่างกระจัดกระจายและมีการทำซ้ำไปยังเครื่องแม่ข่ายอื่น  ที่นำมาเชื่อมต่อกันในระบบนั้น  ทำให้ข้อมูลไม่ได้รวมกลุ่มอย่างชัดเจนอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งเป็นการป้องกันการสูญหายของข้อมูล  และการเรียกใช้งานได้พร้อม  กัน 
ในการใช้งานในระบบคลาวด์เพื่อความมั่นใจผู้ใช้บริการจึงควรทำความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยอันเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้งาน
ระบบคลาวด์มีกลไกควบคุมการเข้าถึงทำให้การรักษาความลับที่ทำร่วมกับกลไกในการพิสูจน์ตัวตนของผูที่เข้ามาใช้งานในระบบว่าเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตและมีสิทธิในการเข้าถึงส่วนใดได้บ้าง   มีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันความลับของข้อมูลในระหว่างการส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต   และมีวิธีพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งานมีหลักการอยู่  3  วิธีคือ
1.     บางสิ่งที่คุณมี   เช่น  รหัสผ่าน  หรือชุดคำถามลับ
2.     บางสิ่งที่คุณรู้   คือ  รหัสผ่านที่ใช้งานได้ครั้งเดียว
3.     บางสิ่งที่คุณเป็น  เช่น  ลายนิ้วมือ   ดีเอ็นเอ 
 ปกติการเข้าระบบเรามักจะทำการกรอกรหัสผู้ใช้งาน   เพื่อยืนยันตัวตนเป็นหลัก   แต่ในบางบริการอินเทอร์เน็ตจะมีการใช้การพิสูจน์ในรูปแบบต่าง      โดยพิสูจน์ตัวตนในข้างต้นมาผสมผสานกันเพื่อความปลอดภัยจากการเรารหัส  การโจมตเพื่อให้ได้รหัสผ่านจากช่องทางที่ไม่พึงประสงค์
-       ความถูกต้อง ระบบคลาวด์ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตจะถูกป้องกันไม่ได้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล  ผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่จะตรวจสอบการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
-       ความพร้อมใช้งาน ระบบคลาวด์มีกลไกป้องกันหารหยุดให้บริการอย่างไม่ตั้งใจและมีแผนในการกู้คืนระบบ  เพื่อความพร้อมหากมีการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป
  
การโจมตีเพื่อเข้าสู่ระบบคลาวด์  เพื่อไปสู่ตัวตนนั้น   ทำได้ง่าย    เพียงอาศัยข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐานที่เราเผยแพร่อย่างทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต เพราะข้อมูลจะทำหน้าที่ในการยืนยันตัวตน  การโจมตีด้วยวิธีนี้ยังไม่ต้องใช้ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์มากนัก  และแม้เราจะป้องกันการเข้าถึงด้วยการเปิดใช้การยืนยันแล้วก็ตาม ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญมากหากหลุดไปแล้วอาจจะสร้างความเสียหายได้   ก็ควรที่ต้องตั้งรหัสเพื่อผ่านการเข้าถึงข้อมูลด้วยตนเองอีกครั้ง  เพื่อป้องกันความผิดพลาดจาการจัดการภายในของระบบคลาวด์   การเข้ารหัสข้อมูลที่แข็งแรงเพียงพอจะทำหเรามั่นคงในความปลอดภัยของข้อมูลได้อีกระดับหนึ่ง
 การป้องกันความเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว   และถูกนำข้อมูลไปใช้ในการที่ไม่ดี
-       ควรเปิดใช้ระบบการยืนยันตัวตนหลาย ๆ  ปัจจัย  และควรจะกำหนดรหัสผ่านที่ยากต่การคาดเดา
-       ควรตั้งรหัสผ่านคอมพิวเตอร์   โทรศัพท์มือถือ  เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่หวังดีเข้ามาใช้งานโดยที่เราไม่ยินยอม
-       ตรวจสอบ  และอัพเดตซอฟแวร์ต่าง     จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้
-       ให้คอยสังเกตุเว็บไซต์ที่กำลังใช้บริการธุรกรรมออนไลน์ว่า  มีการส่งต่อข้อมูลให้เราอย่างปลอดภัยด้วยการใช้ระบบ  HTTPS  หรือไม่
-       ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป   เช่น  วันเดือนปีเกิด  หมายเลขบัตรประชาชน  หมายเลขโทรศัพท์มือถือ  ที่อยู่ หรือข้อมูลสำคัญทางธุรกรรมต่าง    บนอินเทอร์เน็ต
-       ไม่ควรหลงเชื่อข้อมูลที่ส่งฝ่านอีเมล์  หรือโปรแกรมแชทต่าง    โดยง่าย

กฎหมายแรงงาน


แซทในเวลาทำงาน ว่าด้วยสิทธินายจ้างและแรงงาน
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญอย่างมาก    สถานที่ทำงานแม้แต่หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจก็ใช้เครือข่ายออกนไลน์ในการติดต่อระหว่างกันกับหน่วยงานนายจ้างและลูกน้องหรือใช้ในการติดต่อกับลูกค้า  ซึ่งบางกรณีก็ยากต่อการพิสูจน์ว่าขอบเขตความเหมาะสมในการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเซียลในที่ทำงานมีอยู่มากน้อยเพียงใด เช่น  ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเซียลในที่ทำงานของลูกจ้างทำให้นายจ้างเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฏหมายและไม่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่  มีประเด็นดังนี้

1.     การเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม  กฏหมายไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าการกระทำในลักษณะใดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเพียงแต่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน “การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างง  ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่ป็นธรรมต่อลูกจ้าง อาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างนั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง หรือถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างและนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้  ศาลแรงงานก็จะกำหนดค่าเสียหายเพื่อให้นายจ้างชดใช้แทนให้  โดยจะคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง  ระยะเวลาการทำงาน  ความเดือดร้อนของลุกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุการณ์เลิกจ้าง  และเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ นำไปประกอบในการพิจารณา”   แม้ว่าการตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลก็ตาม แต่ศาลก็ไม่สามารถใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจได้ ต้องอาศัยข้อเท็จจริงในการตัดสินและปัจจัยอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดมาประกอบในการพิจารณา
2.     การเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า กฎหมายได้มีการกำหนดเรื่องการบอกกล่าวล่วงหน้าในเรื่องการจ้างงาน ก็เพื่อจะคุ้มครองฝ่ายที่ถูกบอกเลิกจ้างให้มีเวลาเตรียมตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หากนายจ้างต้องการเลิกจ้างแบบไม่ได้บอกล่วงหน้าก็สามารถกระทำได้ แต่ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฏหมายได้กำหนดไว้ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ การเลิกจ้างจะต้องเกิดจากเหตุใดเหตุหนึ่งดังนี้
-       ลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
-       ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเป็นประจำ
-       ละทิ้งการงาน
-       กระทำความผิดอย่างร้ายแรง
-       ทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี
 นายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  และไม่ต้องเสียค่าสินไหมทดแทน หากนายจ้างเลิกจ้างโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าแต่เหตุของการเลิกจ้างไม่ได้มาจากเหตุผลข้างต้น นายจ้างจะต้องเสียค่าสินไหมทดแทนและลูกจ้างย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้
ศาลได้วางมาตรฐานในการตัดสินข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของลูกจ้างเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตในที่ทำงานเมื่อพิจารณาบทบาทและความจำเป็นของอินเทอร์เน็ตและโซเซียลในปัจจุบัน คำตัดสินของคดีได้กลายเป็นบรรทัดฐานสำคัญที่อาจจะกระทบต่อนายจ้างและลูกจ้างหลาย  คน  แม้ในคดีนี้ศาลได้ตัดสินให้นายจ้างชนะคดีแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างที่ใช้อินเทอร์เน็ตหรือโซเซียลในที่ทำงานจะถูกเลิกจ้างทั้งหมด  ยังคงต้องพิจารณาเป็นรายกรณีรวมถึงนำปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างมาประกอลการพิจารณาด้วย เช่น  หน้าที่ความรับผิดชอบของลูกจ้าง  ผลกระทบกับงาน  หรือวัฒนธรรมขององค์กร
ในบางบริษัทอาจมีการติดตั้งโปรแกรมการตรวจจับหรือบันทึกการทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัท โปรแกรมประเภทนี้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานทั้งหมดในแต่ละวันของการใช้งานว่ามีโปรแกรมอะไรบ้าง  ใช้เวลานานเท่าไหร่  และมีการพิมพ์อะไรลงไปในเครื่องบ้าง และยังมีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้อก็คือ  การตรวจสอบประวัติการใช้งานของเราท์เตอร์หรือจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  แต่วิธีนี้ตรวจสอบได้เฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น  ตามข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมหรือจากบันทึกการใช้งานอินเทอร์เน็ตนี้สามารถนำมาใช้เป็นเหลักฐานที่สำคัญในคดีได้

ความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูล

การเก็บข้อมูลทำแผนที่ของ  Google  กับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในปัจจุบันกูเกิลได้มีการให้บริการแผนที่ให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลสถานที่และเส้นทางต่อมาได้เพิ่มเติมกูเกลสตรีทวิวเข้ามาด้วย  ผู้ใช้งานสามารถคลิกเพื่อวางไอคอนลงบนแผนที่เพื่อที่จะได้เห็นข้อมูลพื้นที่จริงในลักษณะภาพถ่ายเหมือนกับตนเองได้เดินอยู่บนถนนในพื้นที่นั้น    ในการทำแผนที่ได้ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลที่อาจติดตั้งบนรถยนต์หรือยานพาหนะอื่นที่เหมาะสมกับการเข้าไปในแต่ละพื้นที่     ในระยะแรกการเก็บข้อมูลของกูเกิลทำให้ประชาชนเกิดความกังวลในแง่ของสิทธิส่วนบุคคลเนื่องจากการเก็บข้อมูลอาจติดภาพของบุคคลที่ระบุตัวตนได้  แต่ทางกูเกิลก็ได้ออกมาชี้แจงว่าขอบเขตของการเก็บข้อมูลนั้นจำกัดเฉพาะถนนสาธารณะ  และถ้าพบภาพที่ไม่เหมาะสมก็สามารถที่จะรายงานเพื่อให้ทางกูเกิลนำภาพออกมาได้
เราจะพบว่ากฎหมายแพ่งของไทยไม่ได้บัญญัติหลักกฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ   การฟ้องคดีละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจึงต้องอาศัยหลักกฏหมายละเมิดทั่วไป   อาจมีข้อเสนอหลายแนวทาง  เช่น  การปรับปรุงแก้ไขกฏหมายแพ่งโดยกำหนดหลักการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล  เป็นหลักความรับผิดการละเมิดโดยแยกออกจากการละเมิดทั่วไปหรือการตีความปรับใช้กฏหมายลักษณะละเมิดตามหลักทั่วไปกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล   ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งคือ  แม้ว่าการกระทำการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวจะเข้าองค์ประกอบละเมิด  แต่ก็เป็นการยากที่จะหาหลักฐานหรือคำกล่าวอ้างที่ชัดเจนมาพิสูจน์ความผิดได้

การคุ้มครองผู้บริโภค

การสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายออนไลน์ ร้านค้าที่ต้องการใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อช่วยให้การซื้อขายออนไลน์มีประสิทธิภาพและปลอดภัย มาตรฐานโดยทั่วไปแบ่งออออกกกเป็น  3  ส่วนดังนี้
1.     แสดงข้อมูลพื้นฐานของสินค้าให้ครบถ้วน  โดยรักษาข้อมูลและความปลอดภัยส่วนบุคคลและส่วนติดต่อแสดงรายละเอียด ต้องเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย
2.     มีมาตรการจัดส่งสินค้าและการชำระเงิน  มาตรการยกเลิกการซื้อ  มาตรการชดเชยหากในขั้นตอนส่งสินค้าเสียหาย  เป็นต้น
3.     ร้านค้าต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการตรวจสอบ
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจกับทั่วโลก   หากมีความเสียหายเกิดขึ้นในการทำธุรกิจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การแก้ปัญหาด้วยกฎหมายก็อาจเป็นไปด้วยความล่าช้า หรือบางครั้งก็อาจถึงกับไม่สามารถช่วยคุ้มครองได้หากปัญหานั้นมีความซับซ้อน  เช่น ในกรณีที่กฎหมายความคุ้มครองผู้บริโภคของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันมีข้อแตกต่างกัน การที่จะช่วยให้ความคุ้มครองกับผู้บริโภคออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้การกำกับดูแลกันเองของภาคเอกชน
มาตรฐานการซื้อขายเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกิจซื้อขายออนไลน์ ต้องสร้างมาตรฐานการซื้อขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต โดยการติดต่อซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตข้ามประเทศและข้ามวัฒนธรรม เพราะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วทุกมุมโลก   ย่อมมีธรรมเนียมและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันในการดำเนินธุรกิจ มาตรฐานในการซื้อขาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความเชื่อมั่น
เมื่อก่อนยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองการซื้อขายออนไลน์อย่างเป็นระบบ  เมื่อเกิดความผิดพลาดจากการซื้อขาย ก็ได้รับการชดเชยหากสินค้าเกิดความเสียหาย  การคุ้มครองเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายอาจไม่เป็นธรรม  ต่อมาปี ค.ศ.  1999   ก็ได้มีมาตรฐานรับรองความเชื่อมั่นในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตจากผู้รับรองอื่น    เกิดขึ้นอย่างมากมาย  ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ  และต่อมาก็ได้มีความพยายามร่วมกลุ่มกันเป็นพันธมิตรรับรองจากทั่วโลกและได้ขยายความรวมมือไปยังกลุ่มประเทศยุโรป 
กูเกิลทรัสต์ติดสโตร์ ทำหน้าที่เป็นทั้งตรารับรองและเป็นระบบรวมสรุปรายละเอียดสำคัญที่มีผลต่อการเลือกซื้อหาในร้านออนไลน์นั้น วันเวลาในการส่งสินค้านโยบายต่าง ในการคุ้มครองลูกค้า  สัญญลักษณ์ตรารับรองมาตรฐานให้แก่ผุ้เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นเครื่งหมายยืนยันความน่าเชื่อถือของสินค้าและบริการนั้น    จากความร่วมมือของผู้ให้บริการและถือเป็นการต่อยอดความคิดจากการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือของการซื้อขายออนไลน์ และทำให้ธุรกิจบนโลกอินเทอร์เน็ตมีโอกาสพัฒนาได้ต่อไป
ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งทางภาครัฐและเอกชนออกเครื่องหมายรับรองความเชื่อมั่นในการซื้อขายสินค้ามากกว่า 37  ตรามาตรฐานทั่วโลก   ทำให้เห็นว่า  มีตราที่รับรองความเชื่อมั่นในการซื้อขายออนไลน์อยู่อย่างหลากหลาย   จึงเป็นโอกาสที่ก่อให้เกิดการแข่งขันเพื่อสร้างความเชื่อต่อผู้บริโภคออนไลน์ได้ต่อไป
สำหรับประเทศไทย   เรามีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า   ภายใต้สังกัดกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบการออกเครื่องหมายที่ใช้เพื่อรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   โดยออกให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคเฉพาะนิติบุคคล   โดยเครื่องหมายนี้จะช่วยบอกว่า  เว็บไซต์นั้น    ผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานคุณภาพธุรกิจที่มีการดำเนินกิจกรรมผ่านทางอินเทอร์เน็ต   เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนจึงมักจะขอเครื่องหมายรับรองไปพร้อมกันด้วย

ข้อมูลเปิด  Open  Data  กับโอกาสในการสร้างนวัตกรรม

 ข้อมูลเปิด ข้อมูลที่เราสามารถนำไปใช้ได้อย่างเสรี   รวมถึงนำกลับมาใช้ใหม่ได้และสามารถแจกจ่ายต่อได้ แต่ต้องระบุที่มาหรือเจ้าของงานและต้องใช้ในเงื่อนไขเดียววกันกับที่เจ้าของงานกำหนด ข้อมูลนั้นต้องอยู่ในรูปแบบที่อ่านได้โดยคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลนั้น   ด้วย
ข้อมูลเปิดเริ่มเป็นที่รู้จักในช่วงที่มีการประกาศใช้นโยบายซึ่งเป็นการปฏิรูปการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐให้รองรับรูปแบบการเข้าถึงทางอิเล็กทรอนิกส์  มีการพัฒนาเว็บไซต์ให้สาธารณะเข้าถึงข้อมูลภาครัฐที่เป็นข้อมูลดิบ  ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากจัดเก็บและยังไม่ได้จัดรวบรวมหรือประมวลผล  และข้อมูลภูมิสารสนเทศของหน่วยงานต่าง    ได้อย่างเสรี การเปิดเผยข้อมูลเช่นนี้  ประกอบกับการเติบโตของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการใช้งานสมาร์ทโฟนทำให้เกิดนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมาก
ข้อมูลเปิดยังทำให้สื่อมวลชนพัฒนาการทำงานเป็น  วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล  ซึ่งเป็นการนำข้อมูลเปิดมาวิเคราะห์และเขียนเป็นข่าว   โดยเฉพาะข่าวออนไลน์ที่สามารถแสดงข้อมูลภาพประกอบข้อมูล และข้อมูลแบบที่รับรู้และง่ายต่อการเข้าใจเพียงการมองเห็นด้วยตา
ส่วนการเปิดเผยข้อมูลเปิดของรัฐบาลไทยนั้น   รับผิดชอบโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้การกำกับของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   ซึ่งมีการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐในการทำข้อมูลเปิด   โดยในปัจจุบันมีข้อมูลอยู่ทั้งสิ้น    431   รายการ
ข้อมูลเปิดในประเทศไทยเริ่มต้นใช้งานอย่างค่อนข้างช้า  หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ยังยึดการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติ    ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทยทำให้หน่วยงานราชการจำเป็นต้องให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์  แต่การให้ดาวโหลดเอกสารรายงานต่าง    เป็นไฟล์  pdf  และไฟล์รูปภาพนั้น  ทำให้ยากต่อการนำข้อมูลส่วนใหญ่ไปใช้งานต่อ   แม้ภาครัฐจะเริ่มจัดทำเว็บไซต์ให้บริการข้อมูล  แต่ก็ยังมีจำนวนข้อมูลเพียงแต่  431  รายการ  ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อย   ข้อมูลเปิดในประเทศไทยมีต้นแบบนวัตกรรมจากข้อมูลของภาครัฐที่มีลักษณะเป็นข้อมูลแบบเปิด  นำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชั่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ  การป้องกันภัยพิบัติ  หรือการพัฒนาการขนส่งได้
การเปิดเผยข้อมูลนั้นส่งผลตรงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะในยุคที่ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี  ข้อมูลเปิดก็จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ  การแก้ไขปัญหาทางด้านสังคมต่าง    อีกทั้งยังสร้างความโปร่งใสอละการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อข้อมูล   ในการที่จะขับเคลื่อนเรื่องของข้อมูลเปิดที่ประสบผลสำเร็จล้วนแล้วแต่เป็นในลักษณะจากล่างขึ้นไปหาบน   ฝั่งของผู้ใช้ข้อมูลทั้งทางภาคเอกชนและประชาสังคมเรียกร้องไปที่เจ้าของข้อมูล  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นภาครัฐบาล   เพื่อให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ออกมามากขึ้น   ที่สำคัญก็คือการสน้างวัฒนธรรมข้อมูล  เช่น   เมื่อเห็นข้อมูลแล้วก็นำมาพิจารณารวมไปถึงการที่ตั้งคำถามกับข้อมูลเหล่านั้น   ซึ่งควรริเริ่มจากผู้ที่ทำงานด้านการสื่อสารมวลชนช่องว่างดิจิทัล

THNG  Camp กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

โครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ต

 Thailand  Networking  Group     หรือ  THNG โครงการที่เกิดขี้นมาภายใต้แนวความคิด  “เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม”   วัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะสร้างกลุ่มอาสาสมัครที่จะนำเอาเทคโนโลยีในด้านอินเทอร์เน็ตไปมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้และการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคม   สำหรับกิจกรรมเยาวชนและผู้สนใจจะลงพื้นที่รวมในการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอภิบาลอินเทอร์เน็ตก็จะมีค่าย  THNG   และการจัดทำค่ายนี้ขึ้นมาทำให้เราพบว่ายังมีชุมชนที่ถูกเรียกว่า  “ปลายสาย”  ยังเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างจำกัดอยู่เป็นจำนวนมากภายในประเทศไทย  ผู้ให้บริการต่อคู่สายมายังพื้นที่ยังมีจำนวนน้อย  จะมีเพียงสถานศึกษาหรือบ้านเรือนเป็นบ้างหลังเท่านั้นที่มีอินเทอร์เน็ตใช้งานและการขอเพิ่มคู่สายก็มีราคาและค่าใช้จ่ายสูงและยุ่งยากมาก    การจัดค่ายต่อมาจึงปรับเปลี่ยนเป็นการลงพื้นที่ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ไปยังชุมชนปลายสาย   เพื่อพัฒนาโครงข่ายด้วยอุปกรณ์ที่มีราคาต่ำ  และใช้งานคู่สายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและครอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด โครงการ  THNG   ได้แสดงให้เห็นว่าช่องทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุนจำนวนมหาศาล  เพียงแต่ใช้อุปกรณ์ที่มีราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ทั่วไป  และนำมาดัดแปลงเพิ่มประสิทธิภาพและให้ความรู้แก่ชุมชน   เพื่อให้ดูแลตัวเองได้ก็สามารถขับเคลื่อนเทคโนโลยีลงสู่ชุมชนที่ยัวขาดแคลนได้อย่างเป็นรูปธรรม
โครงการ THNG ถือเป็นโครงการนำร่องที่ทำให้เห็นถึงช่องว่างทางดิจิทัลที่องค์การต่าง    ควรที่จะให้ความสำคัญและร่วมมือกันให้ความสนับสนุนเพื่อที่จะได้ลดช่องว่าง  และสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรในพื้นที่ที่หลากหลาย    มีรายได้   และรวมถึงพื้นความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกันด้วย
 สิทธิของผู้พิการ บริการถ่ายทอดการสื่อสาร  กับการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีที่เอื้อต่อความหลากหลายของสังคม  
ช่องว่างทางดิจิทัลอาจจะไม่ได้ครอบคลุมแต่เรื่องพื้นที่ห่างไกลในชนบทเท่านั้น  แต่ยังรวมถึงบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายที่อาจเข้าไม่ถึงเนื้อหาข้อมูล   และไม่สามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางการสื่อสารได้   ประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงข้อมูลของคนพิการในอนุสัญญาได้ระบุไว้ว่าด้วยสิทธิคนพิการรวมถึงประเทศไทยยังมีพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร   การสื่อสาร  และบริการโทรคมนาคมอีกด้วยนาม
การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ผู้พิการทางหูบางกลุ่มไม่รับรู้ถึงความหมายเชิงวัฒนธรรมของสังคมทั่วไปต้องอาศัยประสบการณ์   การปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกกลุ่มอื่น    ในสังคม   เมื่อการรับรู้ความหมายทางสังคมเป็นไปนค่อนข้างช้าไม่ทันเหตุการณ์   จึงง่ายที่จะตกเป็นเหยื่อของการล่อลวงทรัพย์สิน  การทำร้ายร่างกาย  และการกระทำทางอาชญากรรมทางเพศ
ศูนย์บริการทางการถ่ายทอดการสื่อสารของประเทศไทย  เป็นนวัตกรรมการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต  และเทคโนโลยี  และเทคโนสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนลดอุปสรรค รวมถึงการใช้ประโยชน์สารสนเทศและการสื่อสารแก่กลุ่มคนที่หลากหลายในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่บกพร่องทางการได้ยินและการสื่อความหมาย เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกทางการสื่อสารสาธารณะ   เนื่องจากไม่มีบริการของรัฐที่จัดไว้ให้ในเรื่องนี้มาก่อน   ต่อมาในภายหลังได้มีศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทยและกลายเป็นศูนย์ช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบอุทกภัยในช่วงน้ำท่วมใหญ่   ลักษณะการใช้งานบริการในลักษณะเรื่องความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  การติดต่อสอบถามความเป็นอยู่ของบิดา  มารดา และญาติพี่น้อง
ต่อมาได้มีการใช้งานหลากหลายขึ้น สถิติการใช้ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารในด้านต่าง  มีกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้บริการที่นิยมมากคือ  การสนทนาผ่านล่ามภาษามือจากตู้สาธารณะของศูนย์บริการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายซึ่งในปัจจุบันได้มีตู้กระจายไปติดตั้งตามจุดต่าง เช่นโรงเรียน สมาคม สำนักงานพัฒนาสังคมจังหวัด  สถานีขนส่ง ห้างสรรพสินค้า  รวมถึงสถานีตำรวจ และยังเปิดให้บริการผ่านเว็บไซต์สามารถสื่อสารผ่านภาษามือได้ทันที  ซึ่งเป็นูปแบบการสื่อสารที่คนหูหนวดถนัดที่สุด   การจัดให้มีบริการนี้ทำให้กลุ่มคนที่บกพร้องทางการได้ยินและการสื่อความ  มีความรู้สึกพึงพอใจต่อการจัดบริการของรัฐที่เอื้อต่อการเปิดโอกาสทางสังคมให้กับกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น   ทั้งยังช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องการขาดแคลนล่ามภาษามือซึ่งไม่สามารถบริการได้ทั่วถึง  การใช้เทคโนโลยีจึงช่วยให้เกิดการบริการได้แพร่หลายพร้อมกับความคุ้มค้าในเชิงเศรษฐกิจด้วย
 ปัจจัยสำคัญของการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานของคนพิการอยู่ที่ความต่อเนื่องและการรักษาการให้บริการต่าง   ที่มีอยู่นั้นยังคงอยู่หรือดียิ่งขึ้น    ปัจจุบันการจัดบริการเป็นบริการที่บรรจุอยู่ในแผนการดำเนินงานของสำนักงาน  กสทช.  ว่าด้วยการกำหนดมาตรการให้กระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม  ซึ่งจะเป็นหลักประกันถึงการจัดให้มีบริการของรัฐที่ต่อเนื่องในระยะยาว  และขึ้นอยู่กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่จะร่วมกันกำหนด   การให้ความคุ้มครองและสร้างหลักประกันความเสมอภาคแก่คนพิการจะต้องทำให้ทุกมิติ   ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงทางด้านข้อมูลและเทคโนโลยี   ทางด้านการศึกษา  การพัฒนาตนเอง  โอกาสทางด้านเศรษฐกิจ  และการเข้าถึงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ   โดยการประยุกต์ตามแนวคิดในปัจจุบัน  รวมทั้งหลักการให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมหรือสมเหตุสมผล  เพื่อลดการเสียเปรียบทางสังคมของกลุ่มคนพิการ

การศึกษา

สารานุกรมวิกิพีเดีย   กับการจัดการความรู้มหาศาลบนโลกออนไลน์

วิกิพีเดีย (Wikipedia) เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื่อหาเสรีที่เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบและได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย   เนื้อหาในเว็บไซต์จะมาจากการเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก  และทุกคนที่เข้าถึงวิกิมีเดียมีสิทธิ์แก้ไขเนื้อหาได้เกือบทุกบทความ   ในปัจจุบันมีเนื้อหาบทความและผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก     การเกิดของวิกิมีเดียได้เปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงความรู้ไปอย่างรวดเร็ว  มีความรู้ใหม่    หลากหลายแขนงมีผู้เขียนมากหน้าหลายตาที่เข้ามาใช้ทำให้วิกิมีเดียต้องทำงานอย่างเข้มงวดในการกำกับดูแลความน่าเชื่อถือของข้อมูล   การเกิดขึ้นและมีอยู่ของวิกิมีเดียมีความน่าสนใจและชวนให้น่าศึกษา

วิกิมีเดียและสารานุกรมทั่วไปแตกต่างกัน   คือ   วิกิมีเดียเป็นเว็บไซต์สารานุกรมเนื้อหาสาธารณะที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขได้ทุกบทความ   โดยไม่จำเป็นที่จะต้องลงทะเบียนกับเว็บไซต์ก่อน    การเปิดให้เข้าไปสร้างและแก้ไขเนื้อหาได้อย่างอิสระนั้นทำให้มีบทความจำนวนมหาศาลตามไปด้วย  แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมีเนื้อหาที่ไม่สมบูรณ์หรือมีการโน้มเอียงและมีอคติ   วิกิมีเดียจึงใช้มาตรการบันทึกทุกก ารแก้ไขบทความไว้เสมอ  และภายหลังการตรวจสอบบทความแล้วก็จะบอกสถานะของบทความให้ผู้ใช้พิจารณาความน่าเชื่อถือ  โดยถ้าบทความนั้นมีความน่าเชื่อถือและมีการพัฒนามาเป็นอย่างดีแล้วจะเรียกว่า  “บทความคัดสรร”    การแก้ไขบทความได้อย่างเปิดกว้างกลายมาเป็นประเด็นวิพากวิจารณ์โดยเฉพาะเรื่องความถูกต้องของบทความ  และด้วยโครงสร้างที่เปิดเผยทำให้วิกิพีเดียตกเป็นเป้าการก่อกวนของเกรียนได้ง่าย   แต่วิกิพีเดียก็มีมาตรการป้องกันการโจมตีโดยระบบและเทคนิคอันหลากหลายเพื่อเฝ้าระวังการก่อกวนจากผู้ไม่หวังดี   และยังมีตัวกรองที่คอยเตือนผู้ใช้ถึงการแก้ไขที่ไม่พึงประสงค์   มีการบล็อกหรือเพิ่มลิงก์ไปยังเว็บไซต์บางเว็บเพื่อการตรวจสอบเนื้อหา   รวมถึงบล๊อกการแก้ไขจากบัญชีผู้ใช้บางรายที่เข้าข่ายก่อกวน
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือ โครงสร้างที่เปิดกว้างให้ใครก็ได้เข้ามาแก้ไขบทความ   ทำให้ไม่มีการรับประกันความสมบูรณ์และความถูกต้องของเนื้อหา   ความเปิดกว้างในการแก้ไขรวมถึงขาดการตรวจสอบตัวตนผู้ใช้งาน   จังยากหากจะหาผู้รับผิดชอบต่อข้อความใด    ที่ปรากฏในเว็บไซต์  ซึ่งส่งผลให้เกิดการวิพากวิจารณ์ประโยชน์ใช้สอยและสถานะการเป็นสารานุกรมของวิกิพีเดีย  และหากจำเป็นต้องอ้างอิงเนื้อหาจากเว็บไซต์นี้  นักวิชาการก็ได้กำหนดมาตรฐานการอ้างอิงไว้ว่าต้องระบุเวลาที่แก้ไขบทความนั้น    ลงไปในการอ้างอิงด้วย   สิ่งที่น่าสนใจก็คือ  โดยปกติแล้วสารานุกรมนั้นไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ  และไม่ควรวางใจว่าเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือได้
การรับมือปัญหาจากการร้องเรียน  วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ที่เปิดรับเนื้อหาสารานุกรมที่ไม่จำกัดขอบเขต   จึงอาจมีเนื้อหาที่ก้าวร้าว  ลามกอนาจร  หรือถูกมองว่าน่ารังเกียจ   เพราะมีผู้ใช้งานที่หลากหลายจึงยากต่อการติดตามผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหาที่เผยแพร่ตามที่กล่าวไปข้างต้น การปฏิเสธไม่รับร้องเรียนออนไลน์เรื่องเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม   หรือในกรณีการร้องเรียนเรื่องความเป็นส่วนตัวกับการรับผิดชอบต่อเนื้อหาในเว็บไซต์ด้วยความหลากหลาย  และทุกคนมีสิทธิ์ไม่เปิดเผยตัวตนทั้งในโลกออนไลน์   จึงมีปัญหาและช่องโหว่ที่ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารมูลนิธิวิกิพีเดียหรืออาสาสมัครที่เข้ามาสร้างและแก้ไขเนื้อหาที่อาจจะกระทบต่อความมั่นคงด้านต่าง    ของบุคคล  ก็เป็นการยากที่จะหาคนมารับผิดชอบได้ 
 การกำกับดูแลโดยประชาคมผู้ใช้งานมาตรการทางกฎหมายและระบบดูแลอัตโนมัติวิกิบอต  การกำกับดูแลเป็นการดำเนินงานกันเองจากการรวมตัวของผู้ใช้งานของเว็บในลักษณะของเว็บบอร์ด  ประชาคมวิกิพีเดียถูกมองว่า  “มีความเป็นลัทธิ”  และถูกมองว่าล้มเหลวในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์   ด้วยรูปแบบของวิกิพีเดียที่เป็นการสร้างสารานุกรมแบบใหม่นี้เอง จึงมีคำถามที่ว่า  ใครเขียนวิกิพีเดีย”   จึงกลายเป็นหนึ่งในข้อที่ถูกถามบ่อย    และผู้ใช้วิกิพีเดียนิรนาม  เป็นแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือพอ   กับผู้ร่วมแก้ไขที่ลงทะเบียนในเว็บไซต์หรือไม่  เช่นนี้แล้วผู้ใช้งานจึงควรมีหน้าที่พิจารณาเลือกใช้เนื้อหาของวิกิพีเดียเอง  โดยจะต้องพึงตระหนักว่าเนื้อหานั้นถูกสร้างมาจากผู้เขียนที่ระบุตัวตนได้ยาก
การอ้างอิงความรู้จากวิกิพีเดีย เนื้อหาเคยถูกใช้งานศึกษาวิชาการ  การประชุม  หนังสือ  และถูกนำไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลมากขึ้นโดยองค์กรต่าง ๆ  และองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก มักใช้กับข้อมูลสนับสนุนมากกว่าข้อมูลในส่วนสำคัญ   แม้จะมีการวิจารณ์ถึงความไม่แน่นอนของข้อมูล  แต่ข้อมูลก็ยังมีความสำคัญในการศึกษาและการอ้างอิง   จึงมีการกำหนดมาตรฐานการอ้างอิงบทความจากวิกิพีเดีย   โดยทั่วไปจะคล้ายกับการอ้างอิงเว็บไซต์ตามาตรฐาน  และในบางสถาบันการศึกษายังกำหนดให้ระบุวันเวลาในการแก้ไขเป็นระดับนาทีอย่างละเอียดอีกด้วย
 ความปลอดดภัยของเด็กในโลกออนไลน์ การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์
 สำหรับมุมมองทางด้านของสังคมไทย   ส่วนมากในสังคมไทยแทบจะไม่ปรากฏข่าวการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเองในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งมีสาเหตุมาจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกแต่อย่างใด จากการศึกษาก็จะพบว่าจะมีเพียงกรณีเดียวที่เป็นการกลั่นแกล้งกันในโลกออฟไลน์ ที่มีเด็กนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีการฆ่าตัวตาย อันเนื่องมาจากการที่ถูกเพื่อน  ล้อเลียนว่าเป็นเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ แต่ก็มีข้อสังเกตุจากเบื้องต้นว่าเหตุที่สังคมไทยไม่ค่อยมี ข่าวหรือคดีความในลักษณะดังกล่าวนั้น   อาจเป็นเพราะสังคมยังไม่ให้ความสำคัญ หรือขาดความตระหนักรู้ต่อปัญหาดังกล่าวหรือไม่อย่างไร
ทัศนคติของสังคมไทยที่มองว่าปัญหานี้ยังไม่เป็นที่รับรู้   หรือมีการรับรู้แต่น้อยมาก  และยังมีความคิดว่าการกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงการกลั่นแกล้งหรือหยอกล้อกันเท่านั้น   ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมที่ตื่นตัวต่อปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งกันในกลุ่มเด็กและเยาวชนค่อนข้างน้อย   ส่วนใหญ่ยังคงมองว่าเป็นการหยอกเย้าเพื่อสร้างมิตรภาพระหว่างกันในกลุ่มเพื่อฝูงเสียมากกว่าที่จะรู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ร้ายแรงและสมควรได้รับการลงโทษตามกฏหมาย
การศึกษาปัญหาในบริบทของสังคมไทย   ยังไม่พบว่ามีกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาถึงขนาดที่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของศาลในลักษณะดังกล่าว   ทั้งที่ในความเป็นจริงเรายังสามารถพบเห็นพฤติกรรมของการกลั่นแกล้งแบบนี้ในหลายที่ของสังคมไทยโดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ที่ง่ายต่อการนำไปสู่พฤติกรรมของการรังแกกัน ส่วนใหญ่แล้วสังคมไทยมักจะเลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาทกันในลักษณะประนีประนอมกันเสียมากกว่าโดยการผ่านผู้ที่มีอำนาจในพื้นที่นั้น  เช่น  ครู  อาจารย์  ผู้ปกครอง  หรือเจ้าหน้าที่รัฐ  เป็นต้น

จริยศาสตร์ จริยศาสตร์ว่าด้วยเพื่อนในโลกออนไลน์
 ในทางจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลกออนไลน์   เรื่องคุณภาพของเพื่อนมีความสำคัญอย่างหนึ่งที่มีการถกเถียงกันค่อนข้างมาก   ในหัวข้อก่อนหน้านี้ได้นำเสนอเหตุผลที่บอกว่า    เหตุใดเพื่อนออนไลน์จึงมีคุณภาพน้อยกว่าเพื่อนข้างนอก   นักวิชาการบางคนเสนอว่า   โลกออนไลน์ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า  “อยู่คนเดียวร่วมกัน”    คือหมายถึงว่าแต่ละคนมาอยู่ใกล้    กัน  เหมือนว่าจะมีการติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคม  แต่กลายเป็นว่าแต่ละคนมาอยู่ใกล้    กัน โดยไม่ได้มีการติดต่ออะไรกันต่างคนต่างมีโลกของตนเองผ่านทางโทรศัพท์ของแต่ละคน
ในสถานการณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นข้อเสียของสังคมออนไลน์   เนื่องจากธรรมชาติที่คนเราควรมีได้สูญหายไป   ในกรณีของความเป็นเพื่อน  ย่อมมีความแตกต่างกันระหว่างเพื่อนในโลกข้างนอกที่เห็นตัวจริงกัน   และสามารถที่จะทำกิจกรรมต่าง    ร่วมกันได้   แต่กับเพื่อนออนไลน์ที่มีตัวตนอยู่เพียงแต่ข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น    แต่ก็ยังมีผู้แย้งว่าการที่มีเพื่อนบนโลกออนไลน์ก็ยังดีกว่าที่ไม่มีเพื่อนเลย   และก็ยังมีผู้ที่กล่าวอีกว่าสำหรับบางคนการมีเพื่อนบนโลกออนไลน์ก็อาจจะดีกว่าที่มีเพื่อนในโลกภายนอกก็ได้
นักปรัชญาได้ให้ความสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่อง  “เพื่อน”  ไว้อย่างมากมายแต่ก็ได้วิเคราะห์ออกมาได้เป็น  3  แบบ
-       แบบแรกเพื่อนที่เป็นเพื่อนประโยชน์เฉพาะหน้า เช่น การอยากได้ของฟรี กินฟรี
-       แบบที่สอง เพื่อนที่มาเป็นเพื่อนเพราะว่าเกิดความพึงพอใจ เช่น เพื่อนคนนี้มีปัญญาดี หน้าตาดี
-       แบบที่สาม เพื่อนที่มาเป็นเพื่อนกันเพราะต่างก็เห็นความดีในจิตใจของอีกฝ่าย ซึ่งแบบที่สามนี้ถือว่าเป็นเพื่อนแบบที่ดีที่สุด เป็นเพื่อนที่ดึงเอาความดีในตัวเราออกมา  และเราเองก็ดึงเอาความดีงามในตัวของเพื่อนออกมาเช่นกัน
  ในกรณีของเพื่อนออนไลน์จะดูเหมือนไม่มีข้อกำหนดว่าเพื่อนในโลกออนไลน์จะต้องเป็นแบบใดแบบหนึ่ง   หรือจะต้องไม่เป็นแบบใดแบบหนึ่ง   เพื่อนในโลกออนไลน์จึงอาจเป็นอย่างที่กล่าวมาแล้วก็ได้  คือ  แบบที่หนึ่ง    สอง  หรือสามก็ได้   ซึ่งถ้าเป็นแบบที่สาม   หมายความว่าคุณภาพของเพื่อนในโลกออนไลน์จะไม่น้อยไปกว่าเพื่อนในโลกข้างนอก   เพราะดูเหมือนว่าถ้าหากมีเพื่อนแบบที่สามในโลกออนไลน์   ก็น่าจะดีกว่าเพื่อนแบบที่หนึ่งหรือสองในโลกข้างนอก     เราจะวิเคราะห์ความหมายของ  “การมีเพื่อนแบบที่สามในโลกออนไลน์”    และการมีเพื่อนแบบนี้ในโลกออนไลน์เป็นไปได้จริงหรือไม่   และเพราะเหตุผลใด   ซึ่งยังถกเถียงกันและยังเป็นหัวข้อที่วิจัยกันอยู่ในปัจจุบัน

ความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม

ชื่อโดเมนภาษาไทย  ก้าวข้ามกำแพงทางภาษาในโลกอินเทอร์เน็ต

 คนในโลกอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้   และระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้ถูกพัฒนามาจากพื้นฐานของภาษาอังกฤษ   ทำให้บางอย่างเป็นอุปสรรคต่อผู้ใช้งานที่ไม่มีความชำนาญหรือความถนัดในด้านการใช้ภาษาอังกฤษ  โดยเฉพาะทางด้าน  “ชื่อโดเมน”  ที่ใช้ในการอ้างอิงที่อยู่ของเครื่องหรือระบบปลายทางของอินเทอร์เน็ต   ที่เดิมมีเพียงภาษาอังกฤษเท่านั้นที่อนุญาตให้ใช้โดยชื่อโดเมนนี้ใช้ในแอปพลิเคชั่นที่หลากหลาย  เช่น  ชื่อเว็บไซต์  อีเมลล์  เป็นต้น   จึงทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายประการ  ความยุ่งยากในการใช้คำทับศัพท์ภาษาท้องถิ่น  ความยุ่งยากในการจดจำชื่อเว็บไซต์  หรืออีเมลล์   ซึ่งล้วนแต่ทำให้ถูกปิดกั้นการเข้าถึงองค์ความรู้ขนาดใหญ่ที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต   จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า  “การแบ่งชนชั้นทางดิจิทัล”    ผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษจะมีโอกาสมากกว่าในการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น
องค์กรอินเทอร์เน็ตสากล    ได้มีการศึกษาวิจัยการผลักดันประชาคมอินเทอร์เน็ตจากหลากหลายประเทศและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นมาอย่างยาวนานได้ออกข้อกำหนดการใช้งานชื่อโดเมนภาษาท้องถิ่น    ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทยได้เริ่มให้บริการชื่อโดเมนภาษาไทยในระดับที่  2  ภายใต้  .th   เช่น  สวัสดี.th   เป็นต้น    และต่อมาเพื่อไม่ให้มีเรื่องค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโดเมน   .ไทย   มาเพิ่มข้อจำกัด   จึงไม่มีแผนที่จะคิดค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับ   .ไทย  และสื่อสารให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์   ได้เห็นความสำคัญของการใช้ชื่อภาษาไทย   เพื่อรองรับการใช้งานเว็บไซต์ของกลุ่มคนไทยที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ
ในปัจจุบัน   โดเมนภาษาไทย   ที่ลงท้ายด้วย  .ไทย  มีการจดทะเบียนแล้ว   แต่ยังมีการใช้งานให้เห็นจริงเป็นส่วนน้อย   ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทยจึงได้จัดทำการศึกษาขึ้นสำหรับ  .ไทย       เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างการให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับคนในประเทศได้เป็นอย่างดี
ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าได้มีเจ้าของเว็บไซต์หลาย     แห่ง   ที่เน้นผู้เข้าชมเป็นคนไทย   ได้เริ่มมีการประชาสัมพันธ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทยปนภาษาอังกฤษให้เห็นแพร่หลายมากขึ้น    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสื่อสารมวลชน   ได้เล็งเห็นแล้วว่า   การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภคจะเพิ่มการเข้าถึงเว็บไซต์ได้จำนวนมากกว่า   หากกลุ่มเจ้าของเว็บไซต์ที่ให้บริการเฉพาะกลุ่มคนไทยเห็นถึงความสำคัญเช่นเดียวกัน   ก็จะช่วยกันสนับสนุนให้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้งานได้สะดวกขึ้น   แต่อาจจะต้องพิจารณากันต่อไปว่า   จะมีแนวทางใดบ้างที่จะสร้างความตระหนักให้แก่เจ้าของเว็บไซต์ในเรื่องความสำคัญของกลุ่มผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่สามารถจดจำชื่อเว็บไซต์ภาษาอังกฤษได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น