กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วิวัฒนาการประกันภัยในประเทศ ทางรถยนต์


วิวัฒนาการประกันภัยในประเทศ ทางรถยนต์


                   ในประเทศไทยกิจการประกันภัยได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด  แต่เชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ   เพราะการติดต่อซื้อขายจากต่างประเทศทรงเคยมีรับสั่งว่าควรจะประกันการขนส่งระหว่างเดินทางมาในเรือด้วย     การที่มีการกล่าวถึงกิจการประกันภัยขึ้นในสมัยนั้นทำให้ธุรกิจประกันภัยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศเพราะได้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการรับประกันในลักษณะสาขาและตัวแทนขึ้นในประเทศไทยสมัยต่อ    มา  แต่จะเป็นบริษัทใดเป็นบริษัทแรกนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  และในปี  2515   สำนักงานประกันภัย  จึงสังกัดอยู่สำนักงานปลัดกระทรงพาณิชย์   เป็นต้นมา

กล้องวงจรปิดสำหรับจราจร
ธุรกิจประกันภัย
บริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการได้ในปี  พ.ศ.  2472   มีจำนวน  26  บริษัท  ในจำนวนนี้มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจประกันชีวิตเพียง  5  บริษัท   เป็นบริษัทจากต่างประเทศทั้งสิ้น   ในระหว่างสงครามได้มีหลายบริษัทหยุดกิจการไป   แต่พอสงครามเสร็จสิ้นลงแล้ว  ได้มีบริษัทประกันภัยเกิดขึ้นอีกมากมาย   ต่อมาปี  2497    บริษัทประกันภัยได้เพิ่มมากขึ้นเป็นบริษัทสาขาจากต่างประเทศ  และบริษัทในประเทศ    และระยะเวลาหลังจากที่มีพระราชบัญญัติประกันชีวิตและวินาศภัยออกใช้การควบคุมธุรกิจประกันภัยเป็นไปอย่างเคร่งครัดมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจมีความมั่นคงทางการเงินและเป็นที่เชื่อถือของประชาชนผู้เอาประกัน    จึงมีบริษัทประกันภัยเหลืออยู่ไม่มากที่เป็นบริษัทต่างประเทศเพียง  10  ราย  ส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นบริษัทในประเทศ

ธุรกิจประกันชีวิต ปี 2472  รัฐบาลได้ออกประกาศควบคุมกิจการประกันภัย  มีบริษัทที่ได้รับอนุญาตในประเภทประกันชีวิต  5  บริษัท  แต่ไม่มีบริษัทของคนไทยเลย   จนกระทั่งเกิดสงครามบริษัททั้ง  5  ได้หยุดประกอบกิจการในประเทศไทย   จึงเป็นโอกาสที่คนไทยได้เริ่มก่อตั้งบริษัทประกันชีวิตขึ้นเป็นครั้งแรกมี  2  บริษัท  คือ  บริษัท   ไทยประกันชีวิต  จำกัด  และ  บริษัท  ไทยเศรษฐกิจประกันภัย  จำกัด   และหลังสิ้นสุดสงครามบริษัทต่างประเทศได้กลับมาดำเนินกิจการใหม่  ธุรกิจประกันชีวิตซึ่งดำเนินการอยู่ในขณะนั้นได้แบ่งออกเป็น   ประเภทต่าง    ดังนี้

1.     การประกันชีวิตแบบสามัญ  ซึ่งแบ่งออกเป็น
-       การประกันจำกัดเวลา
-       การประกันตลอดชีพ
-       การประกันสะสมทรัพย์
-       การประกันเยาวชน
2.     การประกันชีวิตแบบอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น  การประกันสะสมทรัพย์
3.     การประกันชีวิตหมู่   แบ่งออกเป็น
-       การประกันจำกัดเวลา
-       การประกันสะสมทรัพย์
-       การประกันเงินได้ประจำ

ธุรกิจประกันวินาศภัย
กำเนิดของกิจการประกันวินาศภัยในประเทศไทย  มิได้มีหลักที่แน่ชัดแต่เป็นที่รู้จักในหมู่นักธุรกิจเป็นเวลานานแล้ว   และการดำเนินงานด้านวินาศภัยของธุรกิจอาจจะมีอายุมานานพอสมควร  เพราะมีการรวมตัวกันในหมู่นักธุรกิจประกันภัยทั้งจากต่างประเทศ  และในประเทศจัดตั้งเป็นสมาคมของตนขึ้นสำหรับบริษัทสาขาต่างประเทศก็จัดตั้งสมาคมในประเทศขึ้นตรงกับสมาคมในต่างประเทศ    ธุรกิจประกันวินาศภัยขณะนั้นแบ่งออกเป็น  3  ประเภทใหญ่  คือ   ประกันอัคคีภัย   การขนส่งป
ปี  2510  รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันวินาศภัยมีผลให้ธุรกิจที่มีอยู่ต้องจดทะเบียนใหม่ตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัตินี้    การดำเนินธุรกิจได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับ    เมื่อพิจารณาธุรกิจประกันภัยทั้งหมดโดยส่วนรวมแล้วจะเห็นได้ว่าการดำเนินงานมีอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตและวินาศภัยจะขยายตัวต่อไปโดยไม่หยุดยั้งตามสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ความปลอดภัยเกี่ยวกับเพลิงไหม้ในอาคารสูง
ทั่วโลกได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ในอาคารสูงหลาย    ราย   ผู้รับประกันอัคคีภัยไม่เพียงแต่ได้ตระหนักถึงขนาดและขอบเขตของภัยซึ่งได้เกิดขึ้นต่ออาคารสูง    ทั้งยังต้องเผชิญกับมันด้วย   ปัญหายังเกี่ยวโดยตรงกับเจ้าของสถาปนิก  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้รับผิดชอบที่จะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่เป็นไปได้   เพื่อป้องกันชีวิตของประชาชนจำนวนนับร้อย    ให้พ้นจากภัยของเพลิงไหม้ในอาคารสูงนี้
ในหลาย    ประเทศยังไม่มีคำจำกัดเกี่ยวกับอาคารสูงว่าความสูงหรือชั้นที่แน่นอน   ในการประชุมนานาชาติ  ซึ่งได้มีขึ้น  ในปี  1971   เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับเพลิงไหม้ในอาคารสูง       ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า  “อาคารสูง”  คือ  อาคารซึ่งการอพยพผู้คนออกจากอาคารในยามฉุกเฉินไม่อาจกระทำได้   และการดับเพลิงจะต้องทำภายในตัวอาคารเอง   เนื่องจากความสูงของอาคารลักษณะพิเศษโดยทั่วไปของอาคารดังกล่าว  คือ
-       มีความสูงเกินกว่าที่เครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิงจะถึงได้
-       อยู่ในลักษณะที่อาจเสี่ยงต่ออันตรายได้เป็นอย่างมาก
-       ต้องใช้เวลามากเป็นพิเศษในการอพยพผู้คนออกจากอาคาร
การแก้ปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นต่ออาคารสูง การออกแบบของอาคารสูง    ควรจะมีลักษณะสำคัญ     อย่างอื่นด้วยก็ตาม   ลักษณะที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็อยู่ในข้อที่ถือว่าสำคัญที่สุด  คือ
-       การติดตั้งเครื่องพรมน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ   ที่ได้รับการทดลองแล้วว่าเป็นเครื่องมือดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับดับเพลิงอาคารสูงไม่ควรที่จะปราศจากการติดตั้งเครื่องพดตั้รมน้ำดับเพลิงอัตโนมัตินี้
-       แบ่งขั้นตอนในอาคารเพื่อลดการลุกลามของอัคคีภัย
-       มีบันได  ช่องลิฟท์  ท่อส่งเอกสาร  รางขยะมูลฝอย  ฯลฯ  ได้รับการปิดล้อมโดยวัสดุทนไฟทั้งหมด
-       จัดให้มีเครื่องสกัดเพลิง  ที่จะปฏิบัติการได้โดยอัตโนมัติ  ในที่ซึ่งท่อปรับอากาศผ่าน  ทั้งกำแพงหรือพื้นที่ทนไฟ
-       จัดให้มีเครื่องปั้มหรือเครื่ออัดอากาศ    บันไดและทางเดินภายในตัวอาคาร  เพื่อที่จะขับไล่ควันและก๊าซร้อน
-       จัดให้มีเครื่องมือในการควบคุมและเครื่องกำเนิดไฟต่างหากที่จะใช้กับลิฟท์ใดลิฟท์หนึ่ง  หรือมากกว่านั้น   เพื่อใช้ในการดับเพลิงโดยเฉพาะ
-       ติดตั้งเครื่องตรวจสอบไฟที่ใช้มือและอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ   และระบบสัญญาณแจ้งเหตุที่ติดต่อโดยตรงกับสถานีดับเพลิงที่ใกล้ที่สุด
-       จัดให้มีเครื่องมือในการช่วยดับเพลิงขั้นแรกอย่างมีประสิทธิภาพในรูปของสายสูบ  และเครื่องดับเพลิง  สำหรับผู้ที่อยู่ในอาคารจะใช้เพื่อดับเพลิงที่เริ่มเกิดขึ้นได้
-       จัดให้มีท่อน้ำที่จะส่งถึงทุกชั้นเพื่อการดับเพลิง  โดยติดตั้ง     ระเบียงหรือบันไดที่ได้รับการป้องกัน
-       ให้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดต่อการใช้เครื่องตกแต่งและวัสดุที่ไหม้ไฟได้ภายในอาคาร   เพื่อลดและจำกัดการลุกลามของอัคคีภัย
-       จัดให้มีศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน   ตั้งอยู่    บริเวณที่ได้รับการป้องกัน  และปลอดภัยโดยมีระบบการติดต่อที่มีประสิทธิภาพกับทุกส่วนของอาคารได้
-       กำหนดข้อควรปฏิบัติในการดับเพลิงและการอพยพผู้คนออกจากอาคาร   โดยมีรายละเอียดที่ชัดแจ้งและเข้าใจง่ายสำหรับผู้ที่อยู่ในอาคาร
-       ให้มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับระบบการป้องกันและเครื่องมือเครื่องใช้ดับเพลิง   เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกเวลา
-       ระมัดระวังการเกิดเพลิงไหม้โดยการตรวจอย่างสม่ำเสมอ    เพื่อหาและจำกัดสาเหตุธรรมดาโดยทั่วไปที่อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

การประกันอัคคีภัย
              ประกันไฟหรือเรียกเป็นทางการว่าประกันอัคคีภัย   เป็นการประกันทรัพย์สินอย่างหนึ่ง  ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายมากอยู่ในปัจจุบัน    สาเหตุสำคัญทีทำให้การประกันไฟมีสถิติจำหน่ายมากที่สุดมากกว่าประเภทอื่นเพราะได้เรียนรู้ถึงผลแห่งภัยพิบัติจากไฟไหม้ที่เกิดขึ้น    ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง   มิใช่ว่าทำลายแต่ทรัพย์สินในบางครั้งยังมีผู้เสียชีวิตเพราะความเป็นห่วงและพยายามที่จะปกป้องทรัพย์สิน
“ไฟ” เป็นสิ่งที่มีทั้งโทษและประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์อย่างมากมายนั่นเอง    ทำให้การเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับไฟ   เมื่อการใช้ไฟกลายเป็นภาวะจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   และอันตรายที่จะต้องเผชิญ   จึงต้องพยามหาทางที่จะควบคุมหรือบรรเทาให้อยู่ในขอบเขตแห่งความเสียหายพอประมาณ   และในที่สุดก็มีผู้ที่คิดวิธีโดยใช้หลัก  “การกระจาย”  ความเสี่ยงภัยหรือ   “เฉลี่ยความเสียหาย”   ให้กับสมาชิกในสังคมหรือชุมชนอย่างเป็นสัดส่วนที่ยุติธรรม
การกระจายความเสี่ยงภัย   หรือเฉลี่ยความเสียหายได้ถูกเรียกว่า  “การประกันภัย”  ผู้ที่รับเอาความเสี่ยงภัยจากสมาชิกมาดำเนินการเพื่อจัดแบ่งส่วนเฉลี่ยความเสียหายแต่เพียงส่วนน้อยโดยการยอมเสียเงินรายปีที่เรียกว่า  “เบี้ยประกัน”  ให้กับ  บริษัทรับประกันเพื่อการแลกเปลี่ยนที่บริษัทได้รับเอาความเสี่ยงภัย   สำหรับความเสียหายส่วนใหญ่ไปแทนนั้น ก็คือ  ผู้
สิ่งที่ควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันไฟบางประการเพราะเท่าที่ได้มีการศึกษาข้อมูลต่าง    ที่ทางบริษัทประกันภัยต่าง    ได้เก็บรวบรวมมาปรากฏเป็นความจริงอย่างหนึ่งว่า   ผู้เอาประกันส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงหลักการประกันและเงื่อนไขของการประกันดีพอ   ทำให้บางครั้งเกิดมีปัญหาและโต้แย้งกันขึ้นระหว่างผู้รับประกันกับผู้เอาประกัน  และมีหลายครั้งถึงขั้นกล่าวหาว่าบริษัทรับประกันเบี้ยวไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยก็มี  ฉะนั้นเราควรจะเริ่มต้นศึกษาตั้งแต่การตีความของคำว่า  “ไฟ”   ไปถึงกฎเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับการประกันไฟ  พอจะอธิบายโดยสังเขป  ดังนี้คือ
1.     การขอทำประกันไฟเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินใด    ก็ตาม  ผู้ขอเอาประกันจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าตนเองเป็นผู้มีผลประโยชน์  หรือส่วนได้เสียในทรัพย์สินนั้น      อย่างแท้จริง    จึงจะมีสิทธิที่จะนำทรัพย์สินไปขอทำประกันได้   ความข้อนี้นอกจากจะถือเป็นกฎเกณฑ์ปฏิบัติโดยทั่วไปเกี่ยวกับการประกันภัยแล้ว  ยังระบุไว้ชัดเจนอีกด้วยและการเป็นผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์สินโดยตรง  กรณีที่เช่า หรือ เซ้งอาคารใด    ก็ตาม จะไม่มีสิทธิที่จะนำอาคารนั้น  ไปทำประกันเพื่อผลประโยชน์ของตนเองแต่อย่างใด
2.     ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ที่มีผลประโยชน์ส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะเอาประกันแล้ว   การขอทำประกันทุกครั้ง   ผู้ขอเอาประกันจำต้องลงรายละเอียดบอกลักษณะของทรัพย์สินตลอดจนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน  ที่จะเอาประกันและรายการอื่น     ที่จำเป็นที่ทางผู้รับประกันต้องการทราบในใบสมัคร   หรือแบบขอทำประกันตามความเป็นจริงทุกประการ
3.     กรณีทรัพย์สินที่เอาประกันเกิดเสียหายเนื่องจากไฟไหม้แล้ว   โดยกฎเกณฑ์แห่งการชดใช้ในทางประกัน  และโดยการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้
4.     หากบริษัทได้จัดเงินชดเชยให้สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด  หรือเติมทุนประกันแล้วผู้รับประกันจะรับโอนสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เหลือจากความเสียหายก็ได้
5.     กรณีที่ผู้เอาประกันได้แบ่งทำประกันทรัพย์สินไว้กับหลายบริษัท   และทำประกันไว้วันเดียวกัน  เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันทุกบริษัทจะร่วมกันเฉลี่ยชดใช้ตามส่วนที่ได้รับประกันไว้จนเท่ากับจำนวนความเสียหายที่แท้จริง
6.     ผู้เอาประกัน  ได้ทำประกันทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง  เช่น  ทรัพย์สิน  200,000   แต่เจ้าของได้ทำประกันไว้เพียง  100,000   จะด้วยความเชื่อว่าไม่เกิดไฟไหม้หรือเสียดายเบี้ยประกันก็ตาม   วงเงินส่วนที่เหลือจากการประกัน  เจ้าของหรือผู้เอาประกันต้องเป็นผู้รับประกันเอง    ฉะนั้น   ถ้าเกิดความเสียหายทุกครั้งไม่ว่าจะน้อยแต่ไหนก็ตาม  ทั้งบริษัทที่รับประกันและผู้เอาประกันก็จะต้องร่วมกันรับผิดชอบตามส่วนที่รับประกัน
7.     กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่ใช้อยู่ในประเทศไทยเป็นชนิดมาตรฐานเหมือนกันทุกบริษัท   ซึ่งนอกจากจะให้ความคุ้มครองในกรณีไฟไหม้แล้ว  ยังให้ความคุ้มครองเพื่อการชดใช้เมื่อความเสียหายนั้นเกิดจากฟ้าผ่าด้วย 
ความเสียหายบางอย่าง  ซึ่งแม้จะมิได้มีสาเหตุโดยตรงจากไฟไหม้ก็ตาม   ถ้าความเสียหายนั้นสืบได้ว่ามี  “ไฟ”   เป็นสาเหตุขั้นต้นแห่งความเสียหายแล้ว   บริษัทรับประกันก็จำต้องรับผิดชอบชดใช้ภายใต้กรมธรรม์ประกันไฟเช่นกัน   ความเสียหายดังกล่าว  ได้แก่
1.     ความเสียหายเนื่องจากควันไฟ  หรือความร้อนไหม้เกรียม
2.     ความเสียหายเนื่องจากน้ำที่ใช้ดับเพลิง
3.     ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่ได้ปฏิบัติไปตามหน้าที่

สำหรับเรื่องการรับประกัน   บริษัทย่อมต้องมีหลักเพื่อถือปฏิบัติในการพิจารณารับประกันด้วย   บริษัทจะมุ่งพิจารณาไปที่สถานะภาพในการเสี่ยงภัยเป็นสำคัญ  คือ  บริษัทจะต้องดูว่าทรัพย์สินที่จะขอทำประกันนั้นมีสภาพที่จะเสี่ยงต่อความเสียหายมากน้อยแค่ไหน  ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะดังต่อไปนี้
1.     ลักษณะและสภาพที่ปรากฏของทรัพย์สินที่จะเอาประกัน   เช่น  ชนิดของทรัพย์สิน  ลักษณะการใช้  สถานที่ตั้ง  และ  สภาพแวดล้อม  ฯลฯ  เพราะถ้าทรัพย์สินที่เอาประกันทำด้วยวัสดุที่ทนไฟหรือไม่ติดไฟง่าย  ย่อมมีโอกาสเสียหายน้อย 
2.     สภาพแวดล้อมอื่นที่จะมีอิทธิพลต่อผู้เอาประกัน   ได้แก่  การมีหนี้สินของผู้เอาประกัน   การตกต่ำทางด้านการค้า   การดำเนินงานที่ล้มเหลวของผู้เอาประกัน  สินค้าบางประเภทหมดความนิยมในตลาด  การจะหมดสิทธิในการเช่าหรือ เซ้งสถานที่และการจะถูกขับไล่ที่   เป็นต้น   สภาวะดังกล่าว  อาจมีส่วนผลักดันให้ผู้เอาประกันต้องสร้างสถานการณ์เพื่อเรียกร้องสินไหมโดยไม่สุจริตใจได้โดยง่าย
ปัจจุบัน  บริษัทผู้รับประกันต่างก็ได้พยายาม   ใช้หลักการพิจารณาเลือกรับประกันอย่างละเอียดรอบคอบ  แต่ก็ยังไม่อาจจะหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากผลกระทำอันไม่สุจริตใจของผู้เอาประกันบางคนได้และเมื่อเกิดเหตุร้ายเช่นนี้ขึ้นครั้งใด   ก็จะมีผู้สุจริตเป็นจำนวนมาก  ต้องพลอยรับเคราะห์กรรมไปด้วย
             
การประกันสินค้าเข้า
การประกันภัยทางทะเล    ซึ่งมีทั้งการประกันสินค้าทั้งขาเข้าและข่าออก   มาเป็นเวลานานแล้ว   แต่ความสนใจในด้านที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการประกันสินค้าขาเข้ากับมูลค่าของสินค้าขาเข้านั้น   เพิ่งจะเริ่มปรากฏให้เห็นโดยสืบเนื่องมาจากการไหวตัวของวงการประกันภัยและวงการอื่น    ที่สนใจในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการประกันภัยในประเทศ  และปรับปรุงดุลการค้าของประเทศ   เป็นเพราะรายได้จากการประกันภัยทางทะเลนั้น   ผลประโยชน์เห็นได้อย่างชัดเจนมีอยู่  2  ประการคือ
1.     ช่วยให้กิจการประกันภัยในประเทศมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
2.     รายได้จากเงินเบี้ยประกันสินค้าขาเข้าเพิ่มมากขึ้นเท่าไร  ก็จะเป็นการช่วยในด้านดุลการค้าของประเทศมากเท่านั้น
การประกันภัยเหมือนสินค้าประเภทหนึ่งที่มองไม่เห็นตัวตนแต่เป็นความจริง   หลายปีก่อนเราเคยวิจารณ์เรื่องนี้อย่างละเอียด   ประเทศได้ซื้อสินค้าที่มองไม่เห็นเข้ามา  ทั้งที่ในประเทศเราก็มีสินค้าประเภทนี้อยู่แล้ว   ถ้าสินค้าขาเข้าทั้งหมดทำประกันภัยกับบริษัทภายในประเทศของเราแล้วก็จะมีผลช่วยลดการขาดดุลทางการค้าได้   อีกทั้งยังเป็นพลังกระตุ้นให้การประกันภัยในประเทศขยายตัวมีกำลังคุ้มครองเพิ่มขึ้น    เมื่อบริษัทประกันภัยภายในประเทศมีรายได้เพิ่มมากขึ้น  รัฐก็จะได้ประโยชน์เพิ่มมาจากการเก็บภาษีอากร     และยังมีผลพลอยได้ในด้านช่วยให้พลเมืองมีงานทำมากขึ้น  และกิจการอุตสาหกรรมด้านอื่น     ก็มีโอกาสได้รับกำลังในด้านการลงทุนจากบริษัทประกันภัยเพิ่มมากขึ้น   เหตุการณ์ดังกล่าวยังเป็นความจริงอยู่ถึงปัจจุบันนี้    
เราเห็นผลดีซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย   จึงได้ก่อให้เกิดความสนใจได้มีการพิจารณาค้นคว้าหาสาเหตุ   เพื่อที่จะให้สินค้าขาเข้าทำประกันภัยกับบริษัทในประเทศ     เมื่อค้นพบสาเหตุแล้วเราก็สามารถหาลู่ทางแก้ไขให้ความหวังนี้บรรลุผลสำเร็จจริง     ขึ้นมาได้   เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดุลการค้าของประเทศ  รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมกิจการประกันภัยภายในประเทศ
โดยเหตุนี้เราน่าจะช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา  2  ข้อ  ดังต่อไปนี้
1.     เหตุใดสินค้าขาเข้าของเราจึงทำประกันภัย  บริษัทในประเทศได้น้อยมาก   ทั้ง    ที่ผู้ส่งสินค้าก็อยู่ในประเทศเรา
2.     ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำให้สินค้าขาเข้า   ทำประกันภัยกับบริษัทในประเทศให้ได้ในปริมาณสูงสุด
เราเคยตั้งข้อสังเกตสำหรับปัญหา  เช่นว่าเป็นเพราะอุตสาหกรรมประกันภัยในประเทศเรามีฐานะยังไม่เป็นที่มั่นคงพอที่จะรับคุ้มครองได้   หรือเพราะว่า  บริษัทไม่สนใจไม่พยายามปรับปรุงขยายกิจการให้เจริญก้าวหน้าให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ   เป็นเหตุให้ไม่ได้รับความไว้วางใจจากเจ้าของสินค้าเท่าที่ควร     ข้อสังเกตเหล่านี้น่าจะเป็นจริง   เพราะเรามักจะรู้สึกว่าเมื่อไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่น    ที่เจริญแล้ว   เราด้อยกว่ามากมายนัก   แต่เมื่อวิเคราะห์และค้นคว้าเหตุการณ์ต่าง    ตามข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่าไม่ใช้มูลเหตุอันแท้จริง  แต่สาเหตุที่เรามักเป็นฝ่ายเสียเปรียบบริษัทต่างประเทศเหล่านั้นเกิดขึ้นในระยะแรกเริ่มกิจการอุตสาหกรรมประกันภัย   ซึ่งพอจะประมาณได้ตามข้อสันนิษฐานได้ดังนี้ 
ระยะแรกมีการค้าระหว่างประเทศในระบบสากล  กิจการประกันภัยที่เจริญแล้วเขามีรากฐานที่มั่นคงแล้วเช่นกัน   เมื่อติดต่อการค้ากับประเทศเรา  จึงเริ่มต้นด้วยการซื้อขายกัน   แต่กิจการประเทศไทยเราเปิดดำเนินการภายหลังและอยู่ในระยะแรกเริ่มจึงไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก   จึงไม่ได้รับความเชื่อถือจากผู้ประกอบการค้าทั่วไป 
การประกันภัยทางทะเล   เป็นแขนงการขนส่งระหว่างประเทศที่มีลักษณะพิเศษกว่าการประกันภัยแขนงอื่น   เพราะมีหลักการเงื่อนไขและวิธีการถือปฏิบัติแบบสากลโดยแท้จริง   ผู้ประกอบกิจการประกันภัยในต่างประเทศถือปฏิบัติเหมือนกันหมด   ระบบการคิดคำนวณเงินเบี้ยประกันก็ไม่ได้แตกต่างกัน     โดยมีกำหนดเกณฑ์ไว้เป็นมาตรฐาน   การบังคับให้สินค้าขาเข้าทำประกันในประเทศมีผลช่วยทำให้เพิ่มจำนวนหน่วยการประกันภัยเพิ่มขึ้นจึงไม่ควรที่จะละโอกาสไป    ประโยชน์และความสำคัญในด้านที่ต้องมีประกันภัยต่อ   และเราจะได้รับผลประโยชน์ในการประกันโดยตรงเป็นขั้นต้นก่อนนั้นมีดังนี้
1.    สินค้าขาเข้าทั้งหมดมีการประกันในประเทศ   สิ่งแรกที่เราจะเห็นได้ก็คือ   ในมูลค่าสินค้าขาเข้าจะไม่มีส่วนที่เป็นเบี้ยประกันรวมอยู่ด้วย  จำนวนที่ขาดดุลก็จะลดน้อยลงตามส่วน
2.    เบี้ยประกันต่อที่เราจะส่งออกไปยังต่างประเทศ   จะเป็นเพียงส่วนน้อยส่วนหนึ่งของค่าคุ้มครองการเสี่ยงภัยเท่านั้น  เบี้ยประกันส่วนใหญ่ของเบี้ยประกันที่ได้รับภายในประเทศโดยตรงไม่ว่าจะเป็นในรูปเงินค่าใช้จ่าย   เงินกำไร  หรือเงินการลงทุนอื่นใดล้วนเป็นเงินหมุนเวียนอยู่ภายในประเทศเรา  ซึ่งจะยังผลดีกับเศรษฐกิจของชาติทั้งสิ้น
                    ประการหนึ่ง   ส่วนที่จ่ายเบี้ยประกันต่อนั้น   จะเป็นรายจ่ายที่เสียเปรียบดุลชำระบัญชีระหว่างประเทศก็ไม่ใช่   เพราะในเมื่อเกิดมีการเสียหายเขาจะต้องจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนเข้ามาเป็นการช่วยลดดุลในการรับเงินจากนอกเช่นกัน

การประกันภัยรถยนต์
รถยนต์  การใช้รถมีหนทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายมีได้  3  ประการ  คือ
1.     ความเสียหาย   หรือสูญเสียต่อรถยนต์
2.     ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก  และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
3.     ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลที่โดยสารในรถยนต์   
                ความเสียหายต่อรถยนต์เกิดขึ้นได้เนื่องจาก
1.     การชน   หรือคว่ำ
2.     ไฟไหม้   การระเบิด   การกลั่นแกล้ง  และภัยธรรมชาติ
3.     การลักทรัพย์
                ความเสียหายต่อรถยนต์   ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด     ก็มีการจำกัดจำนวนเงินของตัวรถอยู่แล้ว    เจ้าของรถไม่มีทางจะเสียหายมากกว่าราคารถยนต์
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก     ผู้ขับรถยนต์มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้รถยนต์   หากละเมิดทำให้บุคคลภายนอกเกิดความเสียหาย   ผู้ใช้รถจะต้องรับผิดชอบต่อผู้รับความเสียหาย    การเรียกร้องค่าสินไหมเพราะความละเมิด   ผู้รับความเสียหายมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้น   เกิดจากความประมาทของผู้ละเมิด   แต่สำหรับรถยนต์บุคคลที่ครอบครองหรือควบคุมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ     เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือความผิดของผู้ต้องเสียหายเอง  ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ยากมาก
 ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไม่มีทางจะรู้ล่วงหน้าว่าจะเป็นเท่าไรมากหรือน้อยแล้วแต่กรณี   กฎหมายไม่ได้จำกัดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน     ความรับผิดต่อผู้โดยสารที่ต้องเสียหายเนื่องจากรถยนต์เกิดอุบัติกเหตุ   มีสิทธิตามกฎหมายเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์เช่นเดียวกับบุคคลภายนอก   ค่าสินไหมไม่มีการจำกัดโดยกฎหมายเหมือนกัน    บริษัทประกันภัยรถยนต์ได้จัดให้ผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์ซื้อความป้องกันได้ตามลักษณะของการก่อให้เกิดความเสียหาย   การคุ้มครองที่ซื้อได้มีดังนี้
1.     ความเสียหายต่อรถยนต์อันเกิดจากการชนหรือการคว่ำ
2.     ความเสียหายต่อรถยนต์อันเกิดจากไฟไหม้  หรือการระเบิด  หรือการกลั่นแกล้ง  การจลาจล  หรือภัยธรรมชาติ
3.     ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
4.     ความรับผิดต่อผู้โดยสาร
5.     ความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
                ควรยึดหลักสำคัญในการเลือกซื้อประกันภัย  คือ   ซื้อเพื่อป้องกันความเสียหายอันที่จะก่อความเดือดร้อนในทางการเงินเมื่อเกิดขึ้น   เบี้ยประกันภัยสำหรับการคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากภัยที่ปกติทำให้เกิดความเสียหายบ่อย   แต่จำนวนเงินน้อย   ต้องอยู่ในขั้นสูง   บริษัทประกันภัยมีค่าใช้จ่าย   เพราะฉะนั้น  เบี้ยประกันภัยต้องคิดสูงกว่าต้นทุนความเสียหายการซื้อการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายแบบนี้ไม่คุ้มค่า      ถ้ามีงบประมาณเพื่อซื้อประกันภัยรถยนต์  ควรเลือกการคุ้มครองอันไหนก่อน   ตามหลักที่ถูกต้องพิจารณาตามความสำคัญดังนี้
1.     ความรับผิดต่อความบาดเจ็บ   เราไม่มีทางรู้ว่าหากบังเอิญขับรถไปชนคนตาย  เราจะรับผิดชอบถึงแค่ไหน  จำนวนเงินเอาประกันต้องให้สูง  ไม่ใช่   5,000   หรือ   1000,000   ต่อคน  เจ้าของรถมีความสามารถรับผิดเอง
2.     ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก   จำนวนเงินเอาประกันภัยต้องให้สูงเหมือนกัน   สมัยนี้รถที่มีราคา  500,000  บาทขึ้นไปมีไม่น้อย
3.     ความรับผิดต่อผู้โดยสารในประเทศของเรา   ปกติเพื่อไม่หาทางเรียกร้องค่าเสียหายจากเรา   แต่การคุ้มครองอันนี้เสียเบี้ยประกันภัยน้อย  ซื้อไว้ก็ดี
4.     ความเสียหายต่อรถยนต์   เนื่องจากไฟไหม้  หรือการลักทรัพย์  ภัยสองอย่างนี้จะทำให้รถยนต์เสียหายเต็มราคารถได้
5.     ความเสียหายต่อรถยนต์  เนื่องจากการชน  การคุ้มครองอันนี้มีเบี้ยประกันภัยสูง  หากเราขับเองและยอมใช้ความระมัดระวัง  เราประหยัดได้โดยซื้อแบบที่เรายอมรับผิดส่วนแรกของความเสียหายเป็นจำนวนเงินหนึ่ง  การประกันภัยแบบนี้ทำให้มีโอกาสจะได้รับส่วนลดสำหรับไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายดีขึ้น

วิธีคุ้มครองชีวิตและร่างกายจากอุบัติเหตุ
การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลคืออะไร สัญญาประกันภัยซึ่งบริษัท  ประกันภัยได้ทำไว้กับผู้เอาประกันภัยว่า  จะจ่ายค่าทดแทนให้เมื่อผู้เอาประกันได้ประสบอุบัติเหตุถึงบาดเจ็บ  ตาย  หรือ พิการ      การทำประกันภัยชนิดนี้ได้เริ่มต้นมานานแล้วในประเทศอังกฤษ  ต่อมาจึงได้พัฒนาและปรับปรุงให้มีแบบประกันนานาชนิดเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของบุคคลในทุกระดับชั้นดังที่เราเห็นในทุกวันนี้
อุบัติเหตุคืออะไร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน  โดยมิได้มีการคาดคิดว่าเหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้นมาก่อน
                  องค์ประกอบของอุบัติเหตุ
การประกันภัยในส่วนที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ  ย่อมจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ  ดังต่อไปนี้
1.     ต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยมิได้คาดคิดมาก่อน   เช่น  การตกบันได  ตกหลุม  เป็นต้น  เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและกะทันหัน  จนเราไม่สามารถจะป้องกันได้ทันด้วย
2.     จะต้องมีสาเหตุจากภายนอก   อุบัติเหตุใด    ก็ตามที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องมีสาเหตุจากสิ่งภายนอกด้วย   ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ  ฉะนั้นถ้าสาเหตุเกิดจากความบกพร่องจากสุขภาพ  ซึ่งถือเป็นสาเหตุภายใน
3.     ผลของอุบัติเหตุมักจะปรากฏเป็นริ้วรอยที่พอจะมองเห็นได้  โดยปกติเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากตามลักษณะที่กล่าวมาแล้ว  ย่อมจะยังผลทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ  หรือมีริ้วรอยบาดแผลปรากฏให้เห็นได้  เป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องสินไหมทดแทนได้
                การประกันอุบัติเหตุให้ความคุ้มครองอย่างไร
การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นการประกันในส่วนที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เอาประกันเท่านั้น  และเงื่อนไขรับประกันที่จะชดใช้ค่าเสียหาย   ซึ่งมีผลโดยตรงจากอุบัติเหตุที่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ   พิการ  หรือ  สูญเสียชีวิต  เท่านั้น
ผลประโยชน์อะไรบ้างที่เราสามารถจะเอาประกันได้
การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลนี้   บริษัทจะมีผลประโยชน์และความคุ้มครองให้ผู้เอประกันได้เลือกที่จะเอาประกันได้หลายอย่างดังนี้ 
1.     ทุนประกัน   (Principal  Sum)       จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันได้ตกลงไว้กับบริษัทในการทำประกันว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนทุนประกัน  ให้กับผู้เอาประกันหรือทายาทผู้รับผลประโยชน์ของผู้เอาประกัน   กรณีที่ผู้เอาประกันต้องสูญเสียชีวิต  หรือสูญเสีย   แขน  ขา  หรือสายตาทั้ง  2  ข้าง   จากการได้รับอุบัติเหตุ   และในกรณีที่อุบัติเหตุทำให้สูญเสีย  แขน  ขา  หรือสายตาอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงข้างเดียว  บริษัทรับประกันจะจ่ายทุนประกันให้แต่เพียงครึ่งหนึ่ง
2.     ค่ารักษาพยาบาล   (Medical  Reimbursement)       การขอเอาประกันเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลนี้  มีไว้ให้ผู้เอาประกันเลือก   เพื่อว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วผู้เอาประกันมิได้สูญเสียชีวิต  แขน  ขา  และสายตา  ก็ย่อมจะได้รับการชดใช้ด้วยเงินทุนประกันแต่ผู้เอาประกันก็ย่อมจะต้องได้รับบาดเจ็บทางร่างกายส่วนอื่นด้วย   ซึ่งต้องได้รับการรักษาพยาบาลและจะต้องเสียเงินเพื่อการรักษาด้วยตัวเอง  ฉะนั้น  บริษัทจึงได้จัดผลประโยชน์ประเภทนี้เสนอให้เป็นความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันจะเลือกซื้อได้อีกส่วนหนึ่ง  เพื่อชดเชยที่ผู้เอาประกันต้องเสียเงินเป็นค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุ  แต่จะต้องไม่เกินวงเงินที่ได้เลือกเอาประกันไว้
3.     เงินจุนเจือต่อสัปดาห์        จุดมุ่งหมายในการจัดให้มีความคุ้มครองประเภทนี้   เพื่อให้การชดเชยรายได้ของผู้เอาประกันที่ต้องสูญเสียไป   เพราะไม่สามารถทำงานหรือประกอบอาชีพตามปรกติได้โดยสิ้นเชิงเนื่องจากการได้รับอุบัติเหตุถึงต้องรักษาพยาบาลหรือพิการชั่วคราวไปนั่นเอง

เบี้ยประกัน (Premium) สำหรับการคิดเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลนี้    บริษัทจะคิดเบี้ยประกันจากวงเงินที่ขอเอาประกันในแต่ละส่วน   ตามที่กล่าวมาแล้ว
อัตราเบี้ยประกัน   (Rating)
 อัตราเบี้ยประกันจะแตกต่างมากน้อยขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัยในอาชีพและหน้าที่การงานของผู้เอาประกันแต่ละคน   เช่นพนักงานที่ขี่มอเตอร์ไซด์ย่อมต้องเสียเบี้ยประกันสูงกว่าพนักงานที่ขับรถยนต์เป็นพาหนะ    เป็นต้น

การรับประกัน การรับประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล   บริษัทจะคำนึงถึงสุขภาพ   ซึ่งจะต้องพิจารณาส่วนสูงและน้ำหนักประกอบด้วย   รวมทั้งอาชีพและหน้าที่การงานของผู้เอาประกันเป็นสำคัญ    แม้ว่าบริษัทจะมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนรับทำประกัน   แต่บริษัทย่อมต้องอาศัยคำบอกเล่าซึ่งผู้เอาประกันจำต้องแถลงข้อความที่เป็นเกี่ยวกับสุขภาพของผู้เอาประกันเอง    การที่ผู้เอาประกันไม่แถลงข้อความใดในใบสมัครขอเอาประกันตามความเป็นจริง  จะมีผลทำให้สัญญาการประกันนั้นเป็นโมฆียะ   ซึ่งจะทำให้ผู้เอาประกันไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ได้เอาประกกันไว้ด้วย

การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในตารางกรมธรรม์
ในระหว่างที่กรมธรรม์มีอายุความคุ้มครองอยู่นั้นหากผู้เอาประกันได้มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือ  ผู้รับผลประโยชน์  หรืออื่น     ซึ่งเป็นสาระสำคัญแล้ว   ผู้เอาประกันจะต้องบอกกล่าวบริษัทให้ได้รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงนั้น     ด้วยลายลักษณ์อักษร    เพื่อว่าบริษัทจะได้ออกใบสลักหลังเป็นหลักฐานแนบกับกรมธรรม์ให้เป็นที่เรียบร้อยในโอกาสต่อไป

สาระสำคัญเกี่ยวกับการกรอกใบสมัครขอเอาประกัน
ผู้เอาประกันจะต้องกรอกข้อความตามคำถามลงในใบสมัครขอเอาประกันให้ถูกต้องชัดเจนทุกข้อ   ชื่อ  นามสกุล  ทั้งของผู้เอาประกันและของผู้รับประโยชน์   รวมทั้งที่อยู่และอาชีพด้วยตัวหนังสือที่อ่านง่าย   สำหรับอาชีพนั้นต้องระบุให้ชัดเจน  และละเอียดด้วยว่า   เป็นอาชีพอะไร  ประเภทไหน  เช่น  ขับรถ ก็ต้องบอกว่าขับรถอะไร   เป็นต้น
เงื่อนไขกับการจ่ายค่าเสียหาย การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน   บริษัทประกันภัยเมื่อปรากฏปัญหาขัดแย้งกับเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์   บริษัทประกันภัยย่อมต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน   เพื่อความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง   แต่ไม่เกินจำนวนทุนที่เอาประกันให้ผู้เอาประกัน   ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   ซึ่งมีบัญญัติไว้ว่า  “ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน”   ดังต่อไปนี้
1.     เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
2.     เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สิน   ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
3.     เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควร   ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ
 
การประกันภัยสำหรับวิศวกรรม ในปัจจุบันสำหรับการประภัยวิศวกรรม  พอจะแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ
1.     การประกันภัยเครื่องจักรชำรุดเสียหาย   (Machinery  Breakdown  Insurance)    
2.     การระกันภัยทุกชนิดในการติดตั้งเครื่องจักร   (Erection   All  Risks   Insurance)
3.     การประกันภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง   (Contractors’  All  Risks  Insurance)
การประกันภัยเครื่องจักรชำรุดเสียหาย     การให้การคุ้มครองเพื่อชดใช้ความเสียหายซึ่งอาจเกิดแก่บรรดาเครื่องจักรกลทุกประเภท   การประกันภัยเครื่องจักรนี้เป็นการประกันภัยต่างหากที่ไม่รวมความสูญเสียจากอัคคีภัย  เพื่อให้การ
คุ้มครองความชำรุดเสียหายอันเกิดจากการใช้เครื่องและอุบัติเหตุอื่น   ซึ่งพอจะสรุปโดยย่อได้ดังนี้
-       การออกกแบบผิดพลาด    ความบกพร่องในโรงงานหรือในการติดตั้งความบกพร่องในการหล่อและในวัสดุ
-       การดำเนินงานหรือเดินเครื่องผิด  ขาดความชำนาญ  ประมาท  เลินเล่อ
-       การถูกกลั่นแกล้งด้วยเจตนาร้ายหรือถูกก่อวินาศกรรม
-       การฉีกขาดจากกันเนื่องจากกำลังเหวี่ยงจากศูนย์กลาง
-       ไฟฟ้าลัดวงจรและสาเหตุทางไฟฟ้าอื่น 
-       การขาดน้ำในหม้อน้ำ
-       การระเบิดทางฟิสิกส์  ฯลฯ
การประกันภัยเครื่องจักรไม่เพียงมุ่งเพื่อคุ้มครองความชำรุดเสียหายต่อทรัพย์สิน   บรรดาเครื่องจักรกลเท่านั้น   แต่ยังเป็นการช่วยปลดภาระของเจ้าของจักรกล   โดยเฉพาะที่เป็นอุตสาหกรรมใหญ่    ของเอกชนและรัฐวิสาหกิจ   ถ้าปราศจากการคุ้มครองย่อมจะต้องจัดตั้งงบประมาณสำรองไว้   เพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินในกรณีที่เกิดความชำรุดเสียหายต่อเครื่องจักรกลซึ่ง
อาจเกิดขึ้นได้ในทุกเวลาไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
การประกันทุกชนิดในการติดตั้งเครื่องจักรให้การคุ้มครองอย่างกว้างขวางต่อภัยต่าง    ที่อาจจะเกิดขึ้นได้    สถานที่ติดตั้งสำหรับเครื่องจักรกลทุกประเภทและทุกขนาด   ไปจนถึงเครื่องกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์  การคุ้มครองพอจะกล่าวโดยย่อ    ได้ดังนี้
                  ทรัพย์สินและชีวิตร่างกาย
-       บรรดาเครื่องจักรกล  สายไฟ  รวมทั้งโครงสร้างที่เป็นเหล็ก
-       เครื่องมือ  เครื่องใช้และอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้ง
-       เครื่องกำเนิดพลังงาน  และเครื่องผลิต
-       งานวิศวกรรมด้านโยธา
-       บรรดาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในสถานที่ติดตั้งแล้ว 
 ความรับผิดตามกฎหมายของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีต่อสาธารณชน  คือ
1.     ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
2.     ความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย
                  ภัยที่คุ้มครอง
-       อัคคีภัย   การระเบิด
-       ภัยธรรมชาติ  เช่น  ฟ้าผ่า  น้ำท่วม  พายุทุกชนิด  แผ่นดินไหว  แผ่นดินถล่ม  หินทลาย
-       โจรกรรม
-       ความเสียหายสืบเนื่องจกการชำรุดของไฟฟ้า  หรือ  เครื่องกล
-       ขาดความชำนาญ  ความผิดพลาดตามวิสัยปุถุชน  เช่น  เลินเล่อ  สะเพร่า เป็นต้น
-       ความเสียหายในระหว่างการเคลื่อนย้าย   เก็บรอการติดตั้งหรือระหว่างการติดตั้ง
 ระยะการคุ้มครอง การคุ้มครองจะเริ่มทันทีที่ทรัพย์สินที่จะติดตั้งได้ขนส่งมาถึงสถานที่ติดตั้งแล้ว และจะคุ้มครองตลอดไปจนกว่าการติดตั้งจะแล้วเสร็จ   และลองเครื่องเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งก็คือให้คุ้มครอง
-       ระหว่างการเก็บรอหรือพักรอการติดตั้ง     สถานที่ติดตั้ง
-       ระหว่างการติดตั้ง
-       ระหว่างการลองเครื่องภายหลังจากการติดตั้งเสร็จแล้ว
-       การคุ้มครองยังอาจจะขยายถึงการบำรุงรักษาอีกระยะหนึ่ง  หลังจาการลองเครื่องเรียบร้อยแล้วก็ได้

การประกันภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง เริ่มจากเจตนาให้การคุ้มครองแก่งานก่อสร้าง  รวมทั้งเครื่องจักรกล  อุปกรณ์  ฯลฯ  ที่ใช้ในงานก่อสร้าง   และยังรวมคุ้มครองถึงความรับผิดชอบตามกฎหมาย  ต่อสาธารชนของผู้รับเหมาก่อสร้างด้วย    การประกันภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อสร้างนี้   ให้การคุ้มครองพอจะสรุปได้ย่อ    ดังนี้
ทรัพย์สินและชีวิตร่างกาย งานที่จะก่อสร้าง รวมทั้งงานก่อสร้างชั่วคราวเพื่อใช้เกี่ยวกับงานก่อสร้างถาวรนั้น  วัสดุเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง   ความรับผิดตามกฎหมายของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีต่อสาธารณชน  คือ
-       ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
-       ความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย
              ภัยที่คุ้มครอง
-       อัคคีภัย  การระเบิด
-       ภัยธรรมชาติ  เช่น  ฟ้าผ่า  น้ำท่วม  พายุทุกชนิด  แผ่นดินไหว  แผ่นดินถล่ม  หินทลาย
-       โจรกรรม
-       ขาดความชำนาญ  และฝีมือ  ความผิดพลาดตามวิสัยปุถุชน  เช่น  ความสะเพร่า  เลินเล่อ  หรือถูกก่อวินาศกรรม
-       ความเสียหายในระหว่างเคลื่อนย้าย  เก็บรอการก่อสร้างหรือติดตั้งระหว่างการก่อสร้าง
-       การออกแบบและคำนวณผิดพลาด
การคุ้มครองเพื่อการชดใช้ความสูญเสียต่อทรัพย์สินและชีวิตร่างกาย  การประกันภัยประเภทนี้ยังช่วยขจัดปัญหายุ่งยากในด้านการเงินและอำนวยประโยชน์ทั้งต่อผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งพอจะสรุปโดยย่อดังนี้
 สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง กล้องวงจรปิด เป็นการปลดภาระและความกังวลใจที่จะต้องจัดตั้งงบประมาณไว้สำหรับใช้จ่ายฉุกเฉินเมื่อเกิดความถืสิ่งที่เสียหายไปแล้วย่อมหมายถึงการต้องละทิ้งงานจนอาจถึงต้องล้มละลายได้  การทำประกันภัยไว้โดยยอมจ่ายเบี้ยประกันเป็นเงินจำนวนหนึ่งที่แน่นอนจึงเป็นที่ยอมรับและถือเป็นที่ยอมรับและเป็นค่าใช้จ่ายรายการหนึ่งสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างที่ไม่ยความหายนะทางการเงินหรือล้มละลายในกรณีที่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงตามที่กล่าวมาแล้ว
สำหรับผู้ว่าจ้าง
ความยุ่งยากทางการเงินหรือการละทิ้งงานของผู้รับเหมาก่อสร้าง เนื่องมาจากภัยพิบัติหรือภัยอื่น ๆ  ที่อาจก่อความเสียหายให้แก่งานก่อสร้างนั้นย่อมจะต้องกระทบต่อผู้ว่าจ้าง  เพราะนอกจากจะทำให้โครงการนั้น  ต้องหยุดชะงัก   ยังทำให้ผู้ว่าจ้างต้องตกอยู่ในภาวะยุ่งยากทางการเงินเช่นกันด้วย เป็นต้น การประกันภัยประเภทนี้จะอำนวยประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างทุกชนิด การประกันภัยประเภทนี้จึงทำได้โดยระบุนามผู้ว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้รับช่วงเป็นผู้เอาประกันภัยร่วมกันได้ในปัจจุบันความจำเป็นของการประกันภัยประเภทนี้ได้เป็นที่ยอมรับของบรรดาเจ้าของโรงงานวิศวกร  ผู้รับจ้างติดตั้งเครื่องจักรกล  ผู้รับเหมาก่อสร้าง  และสถาบันอื่น  ไม่ว่าจะเป็นของเอกชน  รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นใดในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเราเพิ่งจะมีการแนะนำกาการประกันภัยสำหรับวิศวกรรม  และยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพื่อให้เห็นประโยชน์และความสำคัญของการคุ้มครอง สถาบันการเงินต่าง  ที่ให้สินเชื่อแก่กิจการควรให้ความสำคัญในการที่จะได้รับความคุ้มครองประเภทนี้ แก่บริษัทประกันภัยในประเทศด้วยการให้คำแนะนำแก่ผู้ว่าจ้าง


การป้องกันอัคคีภัยให้กับอาคาร 
ความเสียหายที่เกิดขึ้นในด้านทรัพย์สินและชีวิตมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากอัคคีภัย ถ้าจะดูเฉพาะทางด้านตัวเงิน ทรัพย์สินจะมีมูลค่าสูงเป็นจำนวนมาก แต่ที่น่าสลดใจยิ่งกว่านั้นก็คือ ชีวิตของมนุษย์ที่ต้องถูกสังเวยเป็นเหยื่อของพระเพลิงเป็นจำนวนมากเช่นกันในแต่ละปี อัคคีภัยที่เกิดขึ้นมักจะเกิดกับอาคารร้านค้า โดยเฉพาะห้องแถว  ตึกแถว  หรือบ้านเรือนที่ทำด้วยไม้หรือวัสดุก่อสร้างทั่วไปที่ไม่ป้องกันไฟ  ผลก็คือไฟจะลุกลามแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว  ไม่สามารถที่จะดับได้ง่ายและบางครั้งรวดเร็วจนเกินกว่าที่เจ้าของกิจการหรืออาคารจะขนทรัพย์สินหรือพาบุคคลในบ้านให้รอดชีวิตออกมาได้
ปัจจุบันมีเทศบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย  แต่การปฏิบัติยังไม่เคร่งครัด   เนื่องจากประชาชนยังไม่เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันไว้แต่เนิ่น     ทั้งที่กลัวไฟไหม้ก็ยังคงเกิดขึ้นเสมอ   ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ไม่เพียงแต่จะทำให้เสียหายต่อทรัพย์สินของเอกชนและชีวิตมนุษย์เท่านั้น   แต่ยังทำให้เสียหายไปถึงเศรษฐกิจของชาติ   ปัญหาคนว่างงาน  โจรผู้ร้ายชุกชุม  รวมถึงปัญหาของตำรวจดับเพลงที่ต้องคอยเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้อยู่เสมอ

เราจะแก้ปัญหากันอย่างไรดี
การป้องกันที่ถูกต้องควรเริ่มตั้งแต่การออกแบบ    เจ้าของอาคารและผู้ออกแบบจะต้องร่วมกันพิจารณาตั้งแต่แรกเริ่ม   ทั้งนี้ไม่เพียงจะแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและชีวิตมนุษย์   แต่ยังเป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยมั่นคงให้กับชีวิตและทรัพย์สินทั้งเจ้าของอาคาร  ผู้อยู่อาศัย  ไปจนถึงความภาคภูมิใจแห่งวิชาชีพของผู้ออกแบบอีกด้วย
ประเด็นสำคัญของการออกแบบไม่ควรพิจารณาและคำนึงถึงแต่ความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยเพียงอย่างเดียว    ผู้ออกแบบ  เจ้าของอาคาร  และ  ผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย   นับตั้งแต่การให้มีช่องไฟทางออกฉุกเฉิน  บันไดหนีไฟ  สัญญาณเตือนภัย  รวมถึงระบบท่อส่งน้ำและสายฉีดดับเพลิงในอาคารด้วย  สิ่งเหล่านี้แม้จะทำให้เจ้าของอาคารจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายขึ้นมาบ้างแต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย
ประเด็นต่อมาการเลือกวัสดุก่อสร้าง และวัสดุตกแต่งต่าง    ส่วนที่เห็นว่าสามารถกระทำได้ก็ควรใช้วัสดุทนไฟ  หรืออย่างน้อยก็ไม่ควรจะให้เป็นเชื้อไฟหรือเหยื่อไฟได้อย่างดีถ้าจะเกิดไฟไหม้ขึ้น   บริเวณที่เห็นว่าจะเป็นอันตรายได้มากหรือเป็นบริเวณที่อัคคีภัยส่วนใหญ่มักจะลุกลามผ่านไปได้คือทางช่องประตูหน้าต่าง  ฝ้าเพดาน  ฝาผนัง   ถ้าสามารถใช้วัสดุที่ป้องกันไฟได้จะดีที่สุดเพราะไม่เพียงแต่จะสกัดกั้นไฟไม่ให้ลุกลามไปอย่างรวดเร็วเท่านั้น     แต่ยังทำให้วัสดุเช่นฝ้าเพดานไม่พังทลายลงมา  ทำให้คนบาดเจ็บหรือปิดทางหนีไฟของคนที่อยู่ในอาคารได้

วัสดุก่อสร้างเพื่อใช้ป้องกันไฟ
ปัจจัยสำคัญในการก่อสร้างและในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยแล้วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด   เพราะการเลือกใช้วัสดุที่ถูกต้องจะเป็นการช่วยบรรเทาอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี   เพราะในบางครั้งอัคคีภัยอาจเกิดขึ้นโดยมิใช่ความประมาทเลินเล่อของมนุษย์   แต่เกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่สามรถคาดหมายล่วงหน้าได้  เช่น  ไฟซ็อต  หรือเครื่องไฟฟ้าเสื่อมคุณภาพ   ในกรณีเช่นนี้การใช้วัสดุที่ป้องกันไฟได้ก็จะทำให้ไม่เกิดอัคคีภัยขึ้นเท่ากับเป็นการป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น    แทนที่จะปล่อยให้เกิดแล้วจึงตามแก้ไขในภายหลัง
 ฉะนั้นในที่นี้จึงจะกล่าวถึงเฉพาะวัสดุก่อสร้างทนไฟ ซึ่งในเรื่องนี้อาจแยกออกได้เป็น  3 ประเภทด้วยกัน  คือ
1.     วัสดุเผาไหม้   (Combustible  materials)   หรืออาจเรียกว่า   วัสดุไหม้ไฟ   เช่น   ไม้  ผ้า  กระดาษ  พรม  หรือแม้แต่สีทาบ้านบางชนิด   วัสดุเหล่านี้เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะผสมกับออกซิเจนเกิดความร้อนเพิ่มขึ้นมากและติดไฟลุกลามอย่างรวดเร็วเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
2.     วัสดุไม่เผาไหม้   (Non  - Combustible  materials)      หรือเป็นวัสดุทนไฟ  เช่น   เหล็ก  หิน  กระจก  คอนกรีต  ดินเผา   กระเบื้อแผ่นเรียบ   วัสดุผลิตภัณฑ์จากยิบซัม   วัสดุดังกล่าวไม่ติดไฟแต่ก็อาจเสียหายได้เมื่ออุณหภูมิแรงเกิดขีดจำกัด     ถึงจุดหลอมหรือเสียกำลังไป    นอกจากนี้ยังอาจเกิดการยืดตัว   ทำให้กำแพงนั้นพังทำให้ไฟลุกลามต่อไป
3.     วัสดุป้องกันอัคคีภัย    (Fire   protection   materials)      เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัยโดยเฉพาะ   ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่มีราคาแพงมาก    ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศมีอยู่ชนิดเดียวและคาราพอสมควร   คือ  แผ่นแอสเบสโทลักซ์  ของ   บคส.
วัสดุดังกล่าวจะสามารถทนความร้อนหรือเปลวไฟได้สูง เป็นเวลากว่า 6 ชั่วโมง โดยไม่ลุกไหม้หรือติดไฟเลยแม้แต่น้อย และเมื่อถูกความร้อนจัด บริเวณที่ถูกเปลวไฟจะลุกแดงเหมือนโลหะแต่ไม่มีการเสียสภาพ เมื่อไฟดับวัสดุ
ดังกล่าวก็ยังสามารถคงสภาพได้เกือบจะเหมือนเดิม จะมีก็เพียงแต่เขม่าไฟดำ  จับอยู่เท่านั้น                       
ข้อดีของวัสดุชนิดนี้ก็คือ  นอกจากจะช่วยป้องกันอัคคีภัย มิให้เกิดเพลิงไหม้หรือไฟลุกลามได้แล้ว ยังช่วยปกป้องโครงสร้างของอาคารได้เป็นอย่างดี เมื่อเวลาเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ทำให้ฝ้าเพดานหรือฝาผนังไม่พังทลายลงมา ทำให้สกัดกั้นไฟไว้ให้อยู่ในที่จำกัด และคนในอาคารมีเวลาพอที่จะหลบหนีออกมาได้ทันอีกด้วย
            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น