การป้องกันอัคคีภัยในโกดังสำเร็จรูป
อัคคีภัยที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ส่วนมากเกิดจากสาเหตุที่ธรรมดาเนื่องมาจากความประมาทของคนงานและผู้ประกอบกิจการในโรงงานนั้นๆ
เช่น การสูบบุหรี่ การหุงต้มอาหาร และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าโดยไม่ระมัดระวัง หรือการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น
ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ได้ทำให้เกิดอัคคีภัยขึ้น เพราะสถานประกอบการส่วนมากมักจะเน้นไปในทางผลผลิตมากกว่าที่จะคำนึงถึงการป้องกันอัคคีภัยให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ในกระบวนการผลิตทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้นำเอกสารเคมีสมัยใหม่ที่อาจเป็นอันตรายต่ออัคคีภัยมาใช้มากขึ้น เช่น ใยสังเคราะห์ พลาสติก เป็นต้น ฉะนั้นผู้ประกอบการควรจะต้องระมัดระวังอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้นให้มากเพิ่มขึ้น
การป้องกันอัคคีภัยไฟ หรือการเผาไหม้ จะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
เชื้อเพลิง ความร้อน และอากาศ มารวมตัวกัน ในการป้องกันอัคคีภัย วิศวกรผู้รักษาความปลอดภัยหรือผู้ประกอบการ จำเป็นต้องศึกษาให้รู้ถึงสภาพทางสารสมบัติของวัตถุดิบ หรือเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการประอบกิจการนั้นๆ หรือความไวไฟของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าที่นำมาใช้เป็นพลังงาน และความร้อน สิ่งเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามกฏแห่งความปลอดภัยหรือมาตรฐานของการใช้พลังงาน เพื่อป้องกันอันตรายและสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยได้ในทางปฏิบัติ เมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น และไม่สามารถที่จะระงับอัคคีภัยได้ก่อนที่จะหนีออกจากอาคารนั้นไป ควรปิดประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อให้การเผาไหม้ช้าลง หรืออาจดับไปเองได้
การลดความสูญเสียให้น้อยลง เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยได้เพราะอัคคีภัยหรือไฟไหม้เปรียบเหมือน “ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ” ความประมาทเลินเล่อของคนทำงานและผู้ประกอบการมากมายย่อมทำให้เกิดขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง รวมทั้งสาเหตุที่มาจากเหตุอื่นอีกมากมาย เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเตรียมใจไว้ต่อสู้กับอัคคีภัย จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ โรงงานอุตสาหกรรม และ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไว้ตลอดเวลาเพื่อป้องกันอัคคีภัย เพื่อตรวจตรารอบๆโรงงานทั้งในเวลาทำงานและเลิกงานแล้ว
คุณสมบัติของผู้รักษาความปลอดภัยที่ดีนั้น คือ
1.
เป็นผู้ที่โดยคุณลักษณะนิสัย เป็นผู้เชื่อถือได้โดยไม่มีข้อสังสัย
2.
ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง อายุไม่มาก สายตาดี ประสาทหูดี การดมกลิ่นดีแขนขาทั้งสองข้างใช้การได้ดี
3.
มีความเฉลียวฉลาด สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ถูกต้อง รวดเร็ว
4.
มีความกล้าหาญอดทนและตรากตรำต่องานหนักได้
5.
มีระเบียบวินัยดี
6.
ถ้าได้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ด้วยจะยิ่งดีมาก
7.
ผ่านการฝึกอบรมมาดี
8.
มีความรู้ปานกลาง พอเขียนรายงานได้
ในโรงงานอุตสาหกรรมควรที่จะมีการฝึกซ้อมเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพราะในโรงงานนั้นอาจจะเกิดอัคคีภัยขึ้นเมื่อใดก็ได้ ควรซ้อมโดยไม่กำหนดเวลาและเป็นประจำจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้น ความกระฉับกระเฉงในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้รักษาความปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้น
และในโรงงานและสถานประกอบการจะต้องมีเครื่องดับเพลิงเคมีไว้สำหรับดับเพลิงขั้นต้นและมีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ไว้ด้วย
การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานที่ประกอบกิจการต่างๆ จะสัมฤทธิ์ผลถึงขั้นปลอดภัยได้
ก็อยู่ที่การสำรวจวางแผนไว้ล่วงหน้า
เริ่มแต่การออกแบบก่อสร้างโรงงาน
ก่อนที่จะลงมือประกอบกิจการและระหว่างที่ยังประกอบกิจการอยู่โดยอาศัยความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้ามาร่วมพิจารณาให้คำแนะนำด้วย ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยจะเป็นส่วนช่วยยับยั้งให้อัคคีภัยที่บังเอิญเกิดขึ้น ดับได้หรือถูกจำกัดขอบเขตมิให้ลุกลามไปในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังมาไม่ถึง ด้วยเหตุนี้ความสูญเสียจากอัคคีภัยก็จะลดน้อยลง
การสำรวจวางแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย (ในหน้าที่ของหน่วยดับเพลิง)
“เพลิงไหม้แต่ละรายนั้นไม่เหมือนกัน” ย่อมแตกต่างกันตามสภาพของอาคาร สิ่งที่ลุกไหม้อยู่ภายในอาคาร การประกอบกิจการที่แตกต่างกันออกไป ความแออัดยัดเหยียด
ทางที่ความร้อนจะส่งผ่านออกไปอันเป็นเหตุให้มีการติดต่อลุกลาม แหล่งน้ำ
ตลอดจนสมรรถภาพของเจ้าหน้าที่
และประสิทธิภาพกับจำนวนของเครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดในการดับเพลิงแต่ละราย เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะต้องเตรียมการวางแผนไว้เสียแต่เนิ่นๆ ในเวลาปกติ และมีการซักซ้อมให้เกิดผลในทางปฏิบัติซึ่งจะทำได้ ด้วยการสำรวจ
ความมุ่งหมายในการสำรวจวางแผน คือ
1.
เพื่อช่วยชีวิตผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้นให้ปลอดภัย
2.
เพื่อป้องกันภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงในการผจญเพลิง
3.
เพื่อผลในการดับเพลิง
4.
เพื่อช่วยป้องกันการติดต่อลุกลาม
5.
เป็นทางให้ได้ทราบถึง ชนิด จำนวน และวิธีใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิงของเจ้าของอาคารนั้น ๆ
6.
เพื่อช่วยป้องกันอัคคีภัย
7.
เพื่อช่วยให้ได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของอัคคีภัย
8.
เพื่อช่วยในการป้องกันการก่อวินาศกรรม
การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
1.
ทำไมไฟฟ้าจึงชอบไหลเข้าสู่ร่างกายของท่าน การไหลของกระสำไฟฟ้าเป็นไปตามกฎ จะหาทางที่ง่ายที่สุดและสะดวกที่สุดไปสู่ดิน และทางที่ไฟฟ้าจะไหลลงสู่ดินนั้น ตามปกติแล้วถ้าร่างกายของท่านไม่เปียกชื้นไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือนก็แทบจะไม่ไหลผ่าย่อมจะไหลผ่านแป๊บน้ำ เส้นลวด
และน้ำมากกว่า เป็นต้น แต่ถ้าบังเอิญท่านไปขวางทางที่กระแสไฟฟ้า จะไหลผ่านก็เท่ากับว่าท่านทำตัวเป็นสะพานไฟฟ้าก็ย่อมจะไหลผ่านให้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าให้ไหลครบวงจรนั่นเอง
2.
เมื่อไฟฟ้ากับน้ำรวมกัน ทำไมจึงเป็นอันตรายมาก น้ำเป็นสื่อไฟฟ้าที่ดีอย่างหนึ่ง กระแสไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านย่อมมีโอกาสไหลเข้าสู่ร่างกายได้ ฉะนั้นผู้ที่ได้รับอันตรายจนถึงเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้าตามบ้านเรือนเกือบจะทั้งหมด
มีน้ำเข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วยคือผู้ตายมือเท้าเปียกหรือยืนอยู่ในน้ำหรือบนพื้นที่ชื้นแฉะ เป็นต้น
3.
เรามีทางหลีกเลี่ยงไฟฟ้าดูดได้อย่างไรบ้าง สายไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายย่อมมีฉนวนหุ้มสายเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อใดที่ฉนวนหุ้มเกิดการชำรุดกระแสไฟฟ้าก็จะรั่วออกมาดดูดเราได้ เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย ก่อนที่จะนำเอาไปใช้อีกจะต้องซ่อมแซมให้ดีเสียก่อน และเพื่อให้แน่ใจจริงๆ ควรต่อสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินให้ลึกไม่ต่ำกว่า 1 เมตร โดยผูกให้แน่นมิฉะนั้นแล้วเราอาจจะถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนถึงตายได้ สายไฟที่ชำรุดจนเห็นสายข้างในอาจทำให้ช๊อตและเป็นอันตรายได้มากไม่ใช่แค่มีผู้เสียชีวิตเท่านั้นอาจทำให้เกิดประกายไฟและเกิดเพลิงไหม้ได้
4.
ดกรณีที่มีกระแสไฟรั่วออกมา แทนที่จะไหลเข้าสู่ร่างกายเราถ้าไปแตะถูกสายไฟ แต่ถ้าเรามีสายที่สามที่ต่อลงดินไว้กระแสไฟนั้นก็จะไหลลงสู่ดินโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายแก่ใครๆ
การต่อสายลงดินจึงเป็นหลักประกันให้เรามั่นใจว่าจะไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้น ถ้าหากว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
เกิดการชำรุดบกพร่องขึ้นมา
5.
จะต่อสายดินเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อย่างไร การต่อสายดินจะต้องดูว่าการเดินสายภายในบ้านของท่านนั้นเป็นแบบใดเป็นเดินสามสายหรือสองสายถ้าเป็นแบบสองสายก็จะต้องจัดการหาสายมาทำเป็นสายดินเพิ่มใหม่อีกสายหนึ่ง
โดยใช้สายชนิดสายเดี่ยวให้เอาปลายสายข้างหนึ่งเชื่อม บัดกรีหรือยึดด้วยสกรูติดกับเปลือกโลหะภายนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เสร็จแล้วก็ให้เอาปลายสายข้างหนึ่งของสายดินนั้นไปต่อเข้ากับท่อหรือแท่งโลหะและฝังไว้ใต้ดิน หรือนำไปต่อกับเต้าเสียบชนิดที่มีที่ต่อสายเดินเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น