ข้อกำหนด ข้อห้าม และข้อหา กล้องติดรถยนต์
กฎหมายจราจรนั้นเป็นเรื่องที่กว้างเพราะไม่ใช้เฉพาะผู้ขับรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์แต่หมายรวมถึงผู้ที่เดินอยู่บนท้องถนนหรือผู้ที่ไล่ต้อนฝูงสัตว์ตามทางเดินบนท้องถนนด้วย ตามกฏหมายจราจรนั้นเราไม่ได้จำกัดเฉพาะการขับรถหรือการใช้ทางบนบกไม่ว่าจะเป็นถนนใหญ่หรือตามตรอกซอกซอยต่าง ๆ
เราถือว่าเป็นการจราจรทั้งสิ้น
กล้องติดรถ |
ตามกฎหมายจราจรนั้นตำรวจจราจรเราเรียกสองอย่าง คือ
“เจ้าพนักงานจราจร” และ “พนักงานจ้าหน้ที่” “เจ้าพนังานจราจร”
คือข้าราชการตำรวจชั้นสัญญบัตรที่ทางกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานจราจร
คือต้องเป็นนายตำรวจยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป “พนักงานเจ้าหน้าที่”
คือตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร
มียศตั้งแต่พลตำรวจ
ทำหน้าที่ควบคุมการจราจรเป็นท้องถนนถือว่าเป็นพนักงานจราจร หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “ตำรวจจราจร”
นั่นเอง
อำนาจของตำรวจจราจรเมื่อพบว่าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัติหรือกฏหมายเกี่ยวกับรถจะว่ากล่าวตักเตือนแก่ผู้ขับขี่หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ไปยังสถานีตำรวจหรือที่ทำการของเจ้าพนักงานจราจรก็ได้ ยกเว้นในบางกรณีที่ไม่ให้ว่ากล่าวตักเตือน หรือเช่นกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดใบสั่งไว้ที่รถของผู้ขับขี่นั้นเห็นได้อย่างชัดเจน
ผู้ที่โดนใบสั่งจะต้องไปรายงานตัวตามสถานที่กำหนดไว้ในใบสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับใบสั่งเพื่อเสียค่าปรับ ถ้าท่านคิดว่าฉีกทิ้งหรือทำลายเสียจะได้ไม่มีหลักฐานขอบอกเลยว่าทางตำรวจมีสำเนาเก็บไว้
ถ้าท่านทำลายอาจมีการเพิ่มอีกหนึ่งข้อหาก็ได้คือมีความผิดฐานทำลายหลักฐานของเจ้าพนักงานได้ แล้วจะยิ่งเป็นเรื่องใหญ่โตเพิ่มขึ้น
กฎหมายจราจรทางบกกำหนดโทษไว้หลายสถานลดหลั่นกันไปตามความหนักเบาของความผิดจะสังเกตได้ความผิดที่มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
นั้นจะมีข้อหามากที่สุด
เพราะกฎหมายถือว่าความผิดฐานฝ่าฝืนกฎจราจรนั้น เป็นความผิดเล็กน้อยและโอกาสที่ผู้ใช้รถใช้ถนนจะทำความผิดในข้อหาเหล่านี้มีมาก จึงได้กำหนดโทษไว้พอเป็นกลาง ๆ
คือปรับไม่เกิน 500 บาท
และก็ได้มีการแยกเพื่อให้เกิดความไม่สับสนเมื่อท่านถูกตั้งข้อหาและออกใบสั่งก็จะรู้ได้เลยว่าข้อหาตามใบสั่งมีโทษหนักหรือโทษเบาแค่ไหน จะได้เตรียมเงินค่าปรับหรือเตรียมยื่นคำร้องขอให้ศาลรอลงโทษท่านได้ทันท่วงที
ถ้าผู้ขับรถถูกยึกใบขับขี่แล้ว
ยังมีสิทธิ์อุทรณ์ต่ออธิบดีกรมตำรวจได้ภายในเวลากำหนด 15
วันนับจากวันถูกยึดไม่ใช่วันที่ผู้ขับขี่รู้ว่าถูกสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ หากถูกสั่วยึดใบขับขี่แล้วและตำรวจลืมเสนอเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานสอบสวนจนล่วงเลยกำหนดเวลาหกสิบวันนนับแต่วันยึด ถือว่าผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว
หมดอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่สำหรับการกระทำผิดครั้งนั้นไปในตัว
ตามปกติเมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราว โดยออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้ไว้
ดังนั้นกรณีที่กล่าวข้างต้นจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้
แต่ถ้าเกิดขึ้นก็ต้องปรับเป็นความบกพร่องของตำรวจจราจรผู้เรียกเก็บใบขับขี่ไว้
ผู้ขับขี่รถถูกสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่หลาย ๆ
ครั้ง
มีผลในการใช้ดุลพินิจของศาลในการที่จะสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นอีกด้วย เพราะได้กระทำความผิดกฏหมายจราจรจนถูกผู้บังคับบัญชาการตำรวจสั่งยึดใบอนุญาตหลายครั้งมาแล้ว
ศาลอาจเห็นสมควรให้สั่งเพิกถอนในอนุญาตขับขี่ผู้นั้นได้ เพราะการให้ขับอีกต่อไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายและอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
การสั่งไม่ให้ผู้นั้นใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดระยะเวลาหนึ่ง
อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าจะให้พักมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใดก็ได้ ตามความเหมาะสมที่ศาลเห็นสมควรว่าผู้ขับขี่นั้นมีความผิดมากน้อยแค่ไหนและบ่อยเท่าใดหรือทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือมีผู้เสียชีวิต เป็นต้น
การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
เป็นการสั่งไม่ให้ขับขี่รถนั้นได้อีกเลยถือว่าใบอนุญาตขับขี่นั้นถูกยกเลิกเพิกถอนโดยคำสั่งศาลนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
ถือว่าผู้ขับขี่นั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถประเภทนั้นได้อีกต่อไป
ศาลจะใช้อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ต่อเมื่อผู้ขับขี่นั้นได้กระทำผิดกฏหมายจราจรเป็นอาจิณ
หรือกระทำผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรอันเป็นความผิดร้ายแรง และมีผลต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่เสียเลยก็ได้ เป็นต้น
ข้อสังเกตประการหนึ่ง
การที่ตำรวจจราจรเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่รถของท่าน จะต้องออกใบสั่งให้แก่ท่านถ้าไม่ออกก็ไม่มีสิทธิที่จะยึกใบขับขี่ของท่านได้และจะออกใบแทนใบขับขี่ให้กับท่านเป็นการใช้ได้ชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน และท่านก็ไปทำการเสียค่าเปรียบเทียบปรับ
ตามความเห็นสมควรแก่ความผิดของท่านที่เจ้าพนักงานจะเห็นสมควรปรับเท่าใด ท่านจะได้รับใบอนุญาตขับขี่ทันทีก็ต่อเมื่อท่านได้ชำระค่าปรับนั้นแล้ว
ส่วนท่านที่กระทำความผิดกฎจราจรและถูกออกใบสั่งบ่อย ๆ
ท่านอาจถูกยึดใบอนุญาตขับขี่ไว้มีกำหนดครั้งละไม่เกิน 60 วันก็ได้
แม้ว่าท่านจะไปพบเจ้าพนักงานสอบสวนภายในเจ็ดวันตามที่กำหนดข้างต้นแล้วก็ตาม
แต่ประวัติการทำผิดกฏหมายจราจรของท่านปรากฏต่อพนักงานสอบสวนที่บันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาอาจให้สั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ของท่านไว้ก็ได้ ซึ่งหมายความว่าท่านหมดสิทธิขับรถบนท้องถนนตลอดระยะเวลาที่ใบอนุญาตขับขี่ของท่านถูกยึด
เมื่อท่านขับรถชน หรือ เฉี่ยวกันกับรถคันอื่น
การเฉี่ยวกับการชนเราจะแยกตามความคิดและสามัญสำนึกและวิธีที่ท่านจะปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ
ในที่นี้จะใช้คำว่าชนอย่างเดียวโดยรวมถึงการเฉี่ยวด้วย เช่น
รถชนกันอย่างไร ชนกันเมื่อใด และชนกันที่ไหน
ชนกันอย่างไร
ก็ยังแยกออกมาได้อีกว่า
เราชนเขา เขาชนเรา หรือว่าเรากับเขาชนกัน ถ้าเราขับรถไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์
หรือรถยนต์สามล้อ ถ้าไปชนเขาหรือทรัพย์สินของผู้อื่น จะต้องหยุดรถทันทีและให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเจ้าพนักงานที่ที่ใกล้ที่สุดทันที
และท่านก็ต้องบอกชื่อนามสกุลพร้อมที่อยู่และทะเบียนรถของท่านให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายด้วย
ถ้าท่านไม่ทำตามนี้ถือว่าท่านหลบหนีตามกฎหมายจราจรให้สันนิษฐานว่าท่านเป็นผู้กระทำความผิด และรถคันที่ท่านขับอาจถูกยึดไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดอีกด้วยและถ้าเจ้าของรถไม่ออกมาแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานภายใน 6
เดือนนับแต่วันที่เกิดเหตุถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ
โดยไม่ต้องมีคำพิพากษาของศาลเหมือนความผิดอาญาสถานอื่น เพราะเป็นไปตามอำนาจกฏหมายโดยตรงเลย
กฏหมายได้บังคับให้ต้องหยุดช่วยเหลือและรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ก็เพื่อให้เป็นมาตราการสำหรับช่วยเหลือฝ่ายที่ต้องเสียหาย ถ้าไม่ได้ชนเพราะความประมาทและไม่ได้ทำผิดกฎหมายบทใด แล้วมาถูกบังคับให้หยุดรถและช่วยเหลืนี้อฝ่ายที่ถูกชน บางกรณีฝ่ายที่ถูกชนนั้นเป็นต้นเหตุให้เกิดการชนขึ้น
ก็จะดูเป็นการไม่ค่อยยุติธรรมกับเขาอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกัน
เกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหายถ้าเรารู้ว่าเราผิดก็ควรที่จะเจรจากับฝ่ายเสียหายเขาดี ๆ
แทนที่จะต้องจ่ายมากเขาอาจจะเห็นใจอะไรที่ยอมกันได้เขาก็อาจจะยอมให้ได้
แต่ก็มีบางกรณีที่ผู้ถูกชนที่ตั้งข้อเรียกร้องแพง ๆ
ไว้ก่อน อย่างที่เขาเรียกกันว่าพวกค้าความ
และก็มีเหมือนกันที่ฝ่ายต้องเสียหายบางคนเลือดร้อน พอถูกชนก็เป็นเดือดเป็นแค้น
ถ้ายิ่งรถที่โดนชนเป็นรถใหม่ด้วยแล้วบางรายถึงกับทำร้ายฝ่ายที่มาชนหรือเฉี่ยวรถตัวเอง
ถ้าเจอกรณีแบบนี้ให้ท่านหนีไปก่อนค่อยไปคุยกันที่โรงพักดีกว่าเพราะถ้าถึงกับจะทำร้ายกันแล้ว การให้เราหยุดรถช่วยเหลือก็คงเป็นไปไม่ได้
ฉะนั้นท่านก็มีข้ออ้างอันชอบธรรมที่จะหนีไปก่อนได้
เขาชนเรา
การที่เขามาชนเราไม่ว่าจะชนตัวเราหรือรถของเรา
ขอให้ท่านจงจำหน้าตาของผู้ที่ขับรถชนท่านก่อนถ้าหน้าตาสุภาพกิริยาเรียบร้อย เขาเอ่ยขอโทษที่ไม่ได้ตั้งใจรีบถามอาการหรือพาไปหาหมอที่ใกล้ที่สุด
ประเภทนี้ไม่ถามว่าท่านจะเรียกค่าเสียหายเท่าใดก่อนเพราะเขาคิดว่าจะเป็นการดูถูก จึงเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องหาทางพูดค่าเสียหายกับเขาเพราะคนประเภทนี้มักจะคิดว่าเป็นความกินขี้หมาดีกว่า ถ้ามีทางจะชดใช้ค่าเสียหายพอสมควรให้ท่านเร็วได้เท่าใดยิ่งดีสำหรับเขาเท่านั้น
แต่ถ้าแต่คนไม่ดีมาขับรถชนท่านบางรายลงมาชี้หน้าเท้าสะเอวว่า
ถ้าท่านเจอคนขับรถแบบนี้ก็ย่อมมีความรู้สึกโกรธเป็นแน่ ถ้าท่านเรียกค่าเสียหายแพง ๆ
คงไม่มีใครว่าท่านได้
ศาลยุติธรรมก็คงเห็นใจท่าน
เรากับเขาชนกัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าประสานงา
การชนหรือการเฉี่ยวกันควไม่มีฝ่ายใดหนีเป็นแน่
ถ้าไม่ถึงกับรถคว่ำฝ่ายที่ได้รับความบอบช้ำน้อยกว่าควรไปแสดงความเสียใจต่อฝ่ายที่ได้รับความบอบช้ำและเสียหายมากกว่าก่อน เรื่องผิดถูกค่อยว่ากันอีกทีหนึ่ง
เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องของมนุษยธรรมอย่างเดียว
โดยปกติการชนกันทั้งสองฝ่ายมักมองไม่ออกว่าใครผิดเพราะต่างก็ว่าตนไม่ผิดด้วยกันทั้งสองฝ่าย จึงควรให้รถของทั้งสองฝ่ายจอดอยู่ ณ
ที่เดิมเพื่อรอพนักงานสอบสวนมาทำแผนที่เกิดเหตุเสียก่อน
ถ้าไม่มีฝ่ายไหนบาดเจ็บก็มีแต่การเจรจาทำความตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ถ้ายอมกันได้ก็จะเรียบร้อย แต่ข้อสำคัญเมื่อได้ตกลงกันแล้วควรได้ทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อกันการฟ้องร้องเป็นคดีในภายหน้าไว้ด้วย แต่ถ้ามีผู้บาดเจ็บนั่นถือเป็นคดีอาญาเกิดขึ้นแล้ว
จะมีโทษมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าได้รับบาดเจ็บมากน้อยแค่ไหนถึงตายหรือไม่
แต่ถ้าท่านหรือคู่กรณียอมรับตามที่พนักงานสอบสวนชี้
ก็อาจมีการเปรียบเทียบให้ฝ่ายที่ผิดเสียค่าปรับแล้วเสร็จกันไปในชั้นของตำรวจ ไม่ต้องส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาว่าจะฟ้องอหรือไม่ฟ้องฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่าย และเรื่องอาจไปถึงที่สุดกันที่ชั้นศาล ดังนั้นถ้ามีการตกลงค่าเสียหายกันในชั้นสอบสวนจึงควรทำบันทึกข้อตกลงนั้นไว้
ตามปกติพนักงานสอบสวนจะบันทึกความตกลงไว้ในสำนวนสอบสวนทุกคดีไป
ชนกันเมื่อใด
รถชนหรือเฉี่ยวกันเวลาใด เวลากลางวันหรือกลางคืน ถ้าเป็นกลางคืนก็ตอนดึกหรือตอนหัวค่ำ หรือถ้ากลางวันก็ฝนตกหรือแดดออก
หรือถ้าชนกันในเวลากลางวันถ้าคู่กรณีเจรจากันได้หรือแจ้งตำรวจมาในที่เกิดเหตุก็รวดเร็ว นอกจากนั้นการชนกันเวลากลางวันย่อมมีพยานบุคคลรู้เห็นเป็นพยานมากกว่ากลางคืน
แต่ถ้าฝนตกแม้จะเป็นกลางวันก็ต้องคำนึงถึงร่องรอยหลักฐานที่เกิดจากการชนให้มาก
เพื่อจะได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบเมื่อเขามาตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ
ถ้าเกิดเหตุในยามกลางคืนท่านต้องดูให้แน่ใจว่าฝ่ายนั้นประมาทหรือไม่ได้ตั้งใจชนกับท่านแล้วค่อยลงจากรถไปตรวจดูความเสียหาย และร่องรอยหลักฐาน
เพราะสมัยนี้ไว้ใจใครไม่ได้พวกมิจฉาชีพที่แอบแฝงมาในรูปแบบต่าง ๆ
มากมาย
แต่ถ้าฝ่ายที่ชนเราหนีไปเฉย ๆ
ให้เปิดไฟสูงใส่หน้าหรือท้ายรถเขาไว้แล้วพยายามจำหมายเลขทะเบียนรถไว้ให้ขึ้นใจ เพื่อขอให้พนักงานสอบสวนจัดการให้ต่อไป
ในกรณีที่ท่านขับรถในตอนกลางคืนไปตามถนนและมีรถอีกคันหนึ่งขับตามท่านไปเรื่อย ๆ
จนผิดสังเกตและยังไม่ถึงจุดหมายปลายทางของท่าน
ท่านอาจให้สัญญาณไฟเพื่อให้เขาแซงขึ้นหน้าไป แต่รถคันหลังยังเกาะความเร็วอยู่ในตำแหน่งเดิมแม้ว่าเราจะเร่งความเร็วก็ยังห่างกันเท่าเดิมแสดงว่าอาจจะถูกสะกดรอยตาม
ในกรณีเช่นนี้หากมีปั๊มหรือชุมชนที่มีแสงสว่างอยู่ข้างหน้าให้ชลอความเร็วหรือจอดรถเพื่อดูหน้าตาของคนในรถที่ตามมาแต่ถ้าเขาหยุดรถหลังเราและหน้าตาไม่เหมือนญาติหรือมิตรสหายของเรา
ท่านควรที่จะต้องตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นควรแก่สถานการณ์นั้น ๆ
ชนกันที่ไหน
ถ้ามีเหตุรถชนกันในที่เปลี่ยวไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนต้องนึกถึงเรื่องร้าย ๆ
ไว้ก่อน
และถ้าเกิดสงสัยว่าการชนนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาท
แต่ดูแล้วเหมือนจงใจเสียมากกว่าให้ท่านขับรถต่อไปก่อน
เว้นแต่ท่านพร้อมที่จะแก้สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าท่านขับรถชนคนหรือสัตว์ในชนบทที่ห่างไกลก่อนที่ท่านจะลงจากรถอย่าดับเครื่องเป็นอันขาด
เพราะพรรคพวกหรือญาติของคนหรือสัตว์ที่ถูกชนอาจมีอารมณ์โกรธท่านเข้ามาทำร้ายท่านได้
เมื่อท่านโดนจับ
โดยทั่วไปแล้วตามปกติตำรวจจราจรจะไม่จับเว้นแต่ท่านทำผิดกฎจราจรแล้วไปเถียงหรือต่อสู้ขัดขวาง ทำให้มีความผิดตามกฏหมายอาญา ฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ หรือกรณีที่ท่านขับรถชนคนตายหรือบาดเจ็บท่านจะต้องถูกจับ เพราะเป็นความผิดอาญาที่มีโทษสูงกว่าความผิดตามกฎจราจร เมื่อท่านถูกจับจะถูกนำตัวไปโรงพักตำรวจมีสิทธิใส่กุญแจมือหรือไม่ใส่แล้วแต่ดุลพินิจของทางเจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรแก่การควบคุมตัวไปส่งพนักงานสอบสวนที่โรงพัก และในระหว่างนี้สิ่งที่ท่านควรทำคือ
1.
อย่าเพิ่งให้การหรือพูดใด ๆ
กับใครก่อนที่ท่านจะได้ปรึกษากับทนายของท่านเสียก่อน
2.
ถ้าท่านแน่ใจว่าทำผิดจริง และไม่อย่ากให้เรื่องยืดเยื้อ
และในกรณีที่ผู้เสียหายยอมรับค่าเสียหายที่ท่านพอใจจ่ายและไม่ติดใจเอาความ
พนักงานสอบสวนจะทำการเปรียบเทียบปรับให้ท่านแล้วเรื่องก็เสร็จไปในเวลาอันสั้น แต่ถ้าเป็นความผิดที่เปรียบเทียบปรับไม่ได้
พนักงานก็จะบอกท่านว่าเป็นคดีที่ต้องขึ้นศาลแขวงหรือศาลอาญาหรือศาลจังหวัด
หรือถ้าท่านรับสารภาพตำรวจก็จะส่งตัวท่านให้อัยการฟ้องศาลด้วยวาจาในวันนั้นเลยก็ได้ หรืออย่างช้าอาจไม่เกินวันรุ่งขึ้น
3.
แต่ถ้าท่านแน่ใจว่าไม่ผิดก็ให้ปฏิเสธไว้ก่อน
ในกรณีที่ท่านยังไม่แน่ใจว่าท่านผิดหรือถูกกันแน่ ก็ให้ปฏิเสธไว้ก่อนได้เช่นเดียวกัน ท่านจะถูกควบคุมตัวไว้ที่โรงพัก
เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษตำรวจจะควบคุมท่านไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และที่จะรู้ตัวว่าท่านเป็นใคร และอยู่ที่ไหน
จากนั้นจะต้องปล่อยตัวท่านไปหรือให้ท่านประกันตัวไปได้ แต่ตำรวจไม่มีสิทธิควบคุมตัวท่านไว้โดยไม่จำเป็น
แต่ถ้าท่านมีความผิดสูงกว่าลหุโทษตำรวจมีอำนาจควบคุมท่านไว้ที่โรงพักไม่เกิน 7 วัน
เมื่อครบกำหนดจะนำตัวท่านไปฝากขังที่ศาลต่อไปครั้งละไม่เกิน 12 วัน
4.
เมื่อท่านปฏิเสธ ท่านมีสิบทธิที่จะตามหรือโทรศัพท์ไปหาญาติของท่าน หรือทนายความของท่าน เพื่อขอคำปรึกษาหารือจากบุคคลเหล่านั้นได้ รวมทั้งขอให้เขามาประกันตัวท่านไปจากโรงพักได้ด้วย
เมื่อถูกฟ้องศาล
โดยปกติแล้วท่านจะได้พบทนายก่อนที่ท่านจะถูกส่งฟ้องศาลทนายความจะเป็นผู้บอกว่าท่านควรจะปฏิบัติอย่างไร แต่ถ้าท่านยังไม่ได้พบทนาย
ถ้าศาลสอบถามคำให้การท่านควรปฏิเสธลอยไว้ก่อน
ซึ่งศาลจะนัดสืบพยานโจทก์นับแต่วันนั้นไปราวหนึ่งเดือน เวลาระหว่างนั้นถือว่าอยู่ในระหว่างพิจารณา ถ้าท่านไม่ได้ประกันตัว ท่านจะถูกศาลสั่งขังเรือนจำ
ซึ่งถือเป็นการขังระหว่างพิจารณาในกรณีนี้ท่านมีสิทธิเลือกได้สองอย่าง คือ
1.
ให้ญาติขอประกันตัวของท่านจากศาลในระหว่างพิจารณา คดีเกี่ยวกับการผิดกฏจราจรและตามกฏหมายอาญาเกี่ยวกับการจราจร
ศาลมักจะอนุญาตให้ประกันตัวเสมอถ้าท่านมีหลักทรัพย์เพียงพอ
2.
การขอให้การขอรับสารภาพผิดต่อศาล
ซึ่งศาลอาจพิจารณาให้ลงโทษจำคุกท่านได้ในทันที
แต่ในกรณีนี้ก็ยังมีข้อพิจารณาสำหรับการชั่งใจของท่านอีกด้วยตามความผิดที่ท่านกระทำ และท่านจะสังเกตได้ว่า
ความผิดที่ท่านถูกฟ้องไม่ว่าเป็นความผิดใดนั้น ศาลมีอำนาจรอการลงโทษท่านได้ทั้งหมด
ของฝากทนายจำเลย
สำหรับการขับรถที่เกิดอุบัติเหตุเป็นสูตรสำเร็จที่มีหลักเกณฑ์บางประการของวิชานิติเวชศาสตร์ เช่น รอยเบรก ระยะตัดสินใจ และระยะห้ามล้อ อาจมีส่วนให้จำเลยของท่านได้พิสูจน์ความไม่ผิดของเขาก็ได้ ถ้าท่านแน่ใจว่าจำเลยของท่านไม่ผิดหรือไม่เป็นฝ่ายประมาทท่านอาจขอให้ผู้เชี่ยวชาญของศาลมาเบิกความเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นหลักวิชาการที่ละเอียดอ่อน แต่ถ้ากลมกลืนกับร่องรอยหลักฐานอื่น ๆ ในสำนวน จำเลยของท่านก็ยังมีโอกาสพิสูจน์ความไม่ผิดของเขาได้ เช่น
การขับและหยุดรถ
โดยปกติทั่วไปการตัดสินใจในการขับรถในเมื่อเกิดอันตรายผ่านหน้าไปในขณะกำลังขับรถนั้น
คิดเป็นระยะเวลาตามที่ใช้กันเป็นสากล คือ ¾ หรือ 0.75 วินาที
ถ้าเมาสุราอาจทำให้การตัดสินใจช้าลงกว่าปกติ อาจเป็น
1
วินาทีหรือมากกว่านั้น
ซึ่งพอสรุปได้ว่า
ถ้าขับรถยนต์มาด้วยความเร็ว 40 กม/ชม. ถ้าเห็นมีคนตัดหน้ารถ จึงเหยียบเบรคเพื่อหยดรถจะต้องใช้ระยะทางเท่ากับ 24.03 เมตรโดยประมาณ รถจึงจะหยุดได้
คือต้องใช้ระยะตัดสินใจบวกกับระยะห้ามล้อมารวมกันตามวิธีคิดนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น