กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เทคนิคการตรวจสอบระบบบริการและอำนวยความสะดวกสำหรับโรงงานสำเร็จรูป



ระบบลิฟต์การใช้งานที่ถูกต้องและความปลอดภัย
หลักการทำงานของลิฟต์ หลายคนเชื่อว่าลิฟต์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสูงมากในอาคารทำให้หลายอาคารหยุดการใช้ระบบลิฟต์หรือเปิดใช้ลิฟต์เป็นบางเวลา  ความเชื่อเหล่านี้เป็นไปตามการบอกเล่าที่ไม่ได้มีการพิสูจน์ถึงความจริงของการใช้ลิฟต์ทำให้ระบบลิฟต์เมื่อใช้งานแล้วไม่ปลอดภัยจากความเชื่อดังกล่าว   เจ้าของอาคารลงทุนซื้อลิฟต์มาติดตั้งในอาคารแต่ไม่ใช้ลิฟต์ให้ถูกวิธี  สิ่งที่ตามมาคือความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน สาเหตุที่ลิฟต์ติดค้างส่วนใหญ่  เกิดจากการใช้งานและบำรุงรักษาที่ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น  หากผู้ใช้ลิฟต์ทราบถึงกลไกของลิฟต์และหลักการทำงานที่ถูกต้องของลิฟต์  ก็จะพบว่าลิฟต์ได้ถูกออกแบบไว้ให้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยสูงมาก
อุปกรณ์สำคัญของลิฟต์ที่ทำให้ลิฟต์สามารถขับเคลื่อนได้ประกอบด้วย
 - ห้องเครื่องลิฟต์
 - รางบังคับลิฟต์และปล่องลิฟต์
 - อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของลิฟต์
 - ระบบไฟฟ้า
ความปลอดภัยในการใช้ลิฟต์  ลิฟต์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ขนส่งผู้โดยสารในแนวดิ่ง  ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน   ดังนั้น   กลอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่าง   จะต้องทำงานอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  กลอุปกรณ์ควบคุมเปิด-ปิดประตู  เป็นต้น ดังนั้นอาคารต่าง ควรมีเจ้าหน้าที่เรียนรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้โดยสารเมื่อลิฟต์ติดค้าง
ลิฟต์ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนกี่บาทต่อครั้งการใช้งาน  ลิฟต์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสูง ลิฟต์ถูกออกแบบไว้ให้ได้เปรียบเชิงกลและใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด  ลิฟต์จะใช้พลังงานไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ของการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคาร    โดยในบางช่วงของการเคลื่อนที่  อาคารอาจได้ไฟฟ้าจาการขับเคลื่อนของลิฟต์ด้วย  หมายถึง มอเตอร์ขับเคลื่อนลิฟต์ทำหน้าที่เป็นทั้งไดนาโมและมอเตอร์ในคราวเดียวกัน  ลิฟต์จะใช้พลังงานไฟฟ้ากับระบบเบรค  เพื่อชะลอความเร็วให้ลิฟต์จอดชั้นที่ต้องการอย่างปลอดภัย
การตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยในการใช้ลิฟต์ เพื่อติด กล้องวงจรปิดในลิฟต์
-  ตรวจสอบห้องเครื่องลิฟต์  และอุปกรณ์
-  ตรวจสอบปล่องลิฟต์  บ่อลิฟต์  และอุปกรณ์
-  ตรวจสอบตัวลิฟต์  และอุปกรณ์
-  ตรวจสอบประวัติการทดสอบ  และการตรวจสอบบำรุงรักษา

ระบบบันไดเลื่อน
   บันไดเลื่อน  คือ  เครื่องจักรกลที่ไม่ซับซ้อน  มีราคาแพง  การขนส่งด้วยสายพานแบบหนึ่งที่ใช้ขั้นบันไดในการลำเลียงคนจำนวนมากด้วยความเร็วที่เหมาะสมและคงที่
การทำงานของบันไดเลื่อน  จะใช้โซ่ที่มีข้อต่อ  1  คู่  คล้องผ่านเกียร์หรือเฟือง  2  คู่   เฟืองจะขับบันไดเลื่อนที่เรียงต่อกันหลาย    ชั้น ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยความเร็วที่คงที่  และเพื่อให้บันไดเลื่อนมีความปลอดภัยในการใช้งาน  ราวบันไดจะถูกอออกแบบมาให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันกับบันไดด้วย
ขั้นบันได บันไดเลื่อนจะมีขนาดลูกตั้งและลูกนอนมากกว่าขั้นบันไดที่ใช้ในการขึ้นลงของอาคาร  เพื่อให้ขันบันไดสามารถเลื่อนไปบนทางวิ่งของขั้นบันไดที่ออกแบบให้เป็นวงตามความยาวของบันได  เพื่อให้ขั้นบันไดเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง ไม่หลุดออกจากกกัน  และไม่หลุดจากทางวิ่งของขั้นบันได  ทุดขั้นบันไดจึงมีลักษณะเป็นซี่และร่อง  เพื่อให้บันไดทุดขั้นขบกันอย่างต่อเนื่อง
ความสามารถของบันไดเลื่อน ในการขนส่งผู้โดยสาร ด้วยความกว้างและความเร็วของบันไดทำให้สามารถขนผู้โดยสารได้มากและเร็วขึ้น
ความปลอดภัยของบันไดเลื่อน เป็นเครื่องจักรที่ออกแบบให้มีความปลอดภัยในการใช้งานที่มีผู้โดยสารเคลื่อนที่ไปด้วย  ผู้ผลิตจะติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยไว้ที่จุดต่าง ของบันได กลอุปกรณ์เพื่ความปลอดภัยก็จะหยุดบันไดด้วย  และยังมีกลอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย  เพื่อป้องกันไม่ให้ขั้นบันไดได้รับแรงกระแทกจนบันไดชำรุด และการเคลื่อนที่ของบันไดเลื่อนที่ผิดปกติ
สรุป     

เครื่องจักรกลบันไดเลื่อนที่เคลื่อนที่ไปโดยมีผู้โดยสาร  จะต้องออกแบบให้ปลอดภัยและสะดวกในการใช้งาน จะต้องง่ายในการเคลื่อนที่และไม่ซับซ้อน 
ระบบไฟฟ้า เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอันตรายที่เกิดได้ทั้งกับคนและทรัพย์สิน  การตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยจึงเป็นการตรวจหาว่ามีโอกาสที่จะเกิดอันตรายจากไฟฟ้าหรือไม่  เพื่อให้ผู้ดูแลอาคารได้ทำการแก้ไข  มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าและตรวจว่ายังคงสภาพที่ใช้งานได้ดีหรือไม่ด้วย  การตรวจในเบื้องต้นทำได้โดยการตรวจด้วยสายตา  การตรวจที่ละเอียดลงไปได้อีกจะทำได้ต้องใช้เครื่องมือประกอบ
แบบไฟฟ้า แบบที่แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ต่าง     รวมทั้งขนาดและพิกัดของอุปกรณ์การเดินสาย  สถานประกอบการควรมีแบบไฟฟ้าเพื่อให้สามารถใช้งานบำรุงรักษาและตรวจสอบสะดวกและปลอดภัย ผู้ตรวจสอบควรตรวจสอบว่าสถานประกอบการมีแบบไฟฟ้าหรือไม่ ถูกต้องตรงตามสภาพปัจจุบัน ได้รับการรับรองจากวิศวกรรมไฟฟ้า  หรือหน่วยงานราชการที่มีอำนาจ
การตรวจสอบระบบสายอากาศแรงสูง                           
- เสาไฟฟ้า ตรวจสอบสภาพความแข็งแรงของเสาไฟฟ้าต้องอยู่ในสภาพดี  ไม่มีรอยบิ่น  แตกร้าว หรือเอน  แต่ถ้าเป็นเสาไม้ต้องดูว่าผุหรือไม่
- สายไฟฟ้า    ระบบแรงสูงแบ่งออกเป็นสายเปลือย  สายหุ้มฉนวนไม่เต็มพิกัด  สายแรงสูงหุ้มฉนวนสองชั้นไม่เต็มพิกัด  และสายหุ้มฉนวนเต็มพิกัด  ปัจจุบันสายเปลือยไม่ค่อยมีใช้งาน  เนื่องจากมีอันตรายสูงจากการสัมผัส
-  การต่อลงดินของอุปกรณ์ สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าบนเสาไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์โลหะ  ต้องมีการตรวจสอบว่ามีการต่อลงดิน  สายดินอยู่ในสภาพดี  ไม่ขาด  จุดต่อสายดินกับหลักดินยังมั่นคงแข็งแรง  ไม่หลุด  ไม่หลวม และไม่เป็นสนิม  การต่อลงดินนี้จะเดินสายดินจากอุปกรณ์ที่บนเสามาลงดินที่โคนเสาไฟฟ้า
การตรวจระบบสายอากาศแรงต่ำ
- เสาไฟฟ้า การเสาไฟฟ้าแรงต่ำ ตรวจเช่นเดียวกับเสาไฟฟ้าระบบแรงสูง
-  สายไฟฟ้า สายไฟฟ้าระบบแรงต่ำที่ใช้กันทั่วไปเป็นสายที่มีฉนวนเป็นพีวีซี  เมื่ออยู่กลางแจ้งและใช้งานเป็นเวลานานฉนวนจะกรอบแตก   การติดตั้งโดยปกติจะยึดด้วยลูกถ้วยหรือลูกรอก  สิ่งที่ควรสังเกตเพิ่มเติมคือสายไฟฟ้ามักหลุดออกจากลูกถ้วยหรือลูกรอกเนื่องจากสายที่ผูกรัดขาดทำให้ฉนวนเกิดการชำรุดและเกิดไฟฟ้ารั่วเป็นอันตรายต่อบุคคลที่สัมผัส
การตรวจหม้อแปลงและการติดตั้ง
-  ห้องหม้อแปลง ตรวจสภาพห้องว่ามีร่องรอยของการทรุด  ผนังแตกร้าวหรือไม่  การระบายอากาศอย่างเพียงพอหรือไม่ ถังดับเพลิงต้องมีติดอยู่หน้าห้องและเป็นถังดับเพลิงชนิดที่ใช้สำหรับงานไฟฟ้าและต้องตรวจสภาพว่าพร้อมใช้งาน ป้ายเตือน ต้องมีป้ายเตือนอันตรายจากไฟฟ้า ติดที่ผนังด้านนอกของห้องหม้อแปลงด้วย ป้ายต้องติดอย่างมั่นคง
-  นั่งร้านหม้อแปลง ตรวจสภาพเสาไฟฟ้า คาน และอุปกรณ์ประกอบเช่นเดียวกับเสาไฟฟ้าระบบแรงสูง
-  ลานหม้อแปลง หม้อแปลงที่วางบนพื้น จะต้องมีรั้วล้อมรอบกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปใกล้ส่วนที่มีไฟฟ้า สภาพรั้วต้องไม่ชำรุด ไม่ผุกร่อน การต่อลงดิน ทุกส่วนที่เป็นโลหะของรั้วต้องต่อลงดิน ต้องแปตรวจจุดต่อต่าง ว่าอยู่ในสภาพดี ป้ายเตือน ต้องมีป้ายเตือนอันตรายจากไฟฟ้าติดผนังด้านนอกของลานหม้อแปลงด้วยติดอย่างมั่นคง ตัวหนังสือไม่เลือน
-  การติดตั้งล่อฟ้า ทำหน้าที่ดักแรงดันไฟฟ้าสูงเกินไม่ให้เข้าไปทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด แรงดันสูงเกินส่วนใหญ่เกิดจากฟ้าผ่า ล่อฟ้าจึงติดตั้งก่อนที่สายไฟฟ้าจะต่อเข้าอุปกรณ์เช่นหม้อแปลงไฟฟ้า การตรวจสภาพทั่วไปด้วยสายตาว่าฉนวนแตก บิ่น หรือชำรุดมีคราบเขม่า หรือไม่ และต้องมีการต่อลงดินด้วย ต้องตรวจสภาพสายดิน จุดต่อสายดินกับหลักดินซึ่งต้องอยู่ในสภาพดี การต่อลงดินจะทำโดยการต่อกับตัวถังหม้อแปลง
-  การต่อลงดิน หม้อแปลงไฟฟ้าจะมีการต่อลงดิน 2 ส่วนด้วยกันดังนี้การต่อลงดินของตัวหม้อแปลงและการต่อลงดินของสายแรงต่ำ
-  การต่อสาย ควรตรวจจุดต่อสายที่บุชชิงหม้อแปลงทั่งด้านแรงสูงแรงต่ำ สภาพจุดต่อสายต้องไม่ชำรุดและไม่เปลี่ยนสี
- สภาพหม้อแปลง สภาพทั่วไปของหม้อแปลงไฟฟ้าต้องไม่มีน้ำมันรั่วไหลไม่เป็นสนิม  และไม่มีร่องรอยชำรุดอื่น 

การตรวจแผงเมนสวิตช์
ตัวแผงเมน 
                                                      - สภาพทั่วไป  ต้องอยู่ในสภาพดี  ไม่ผุกร่อน  สามารถป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าได้  และกันฝนได้ถ้าติดตั้งกลางแจ้งควรมีฝาปิดและสามารถล็อกได้
- สถานที่ตั้ง ต้องตรวจดูฐานที่ตั้งไม่ทรุด หรืออยู่ในสถานที่ซึ่งน้ำอาจท่วมได้
- ไดอะแกรม  แผงสวิตช์ขนาดใหญ่ ควรมีแผนภาพไดอะแกรมที่หน้าแผง  และมีป้ายชื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อไปใช้งานด้วย
พื้นที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานและแสงสว่าง ต้องมีพื้นที่ว่างให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างที่สามารถมองเห็นอุปกรณ์ ป้ายชื่อ  และไดอะแกรมอย่างชัดเจน
การต่อลงดินและการต่อฝาก ตรวจการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า การต่อฝากระหว่างกราวด์บาร์กับนิวทรัลบาร์  และการต่อฝากระหว่างตัวตู้กับฝาตู้
เซอร์กิตเบรกเกอร์  ควรตรวจขนาด พิกัด ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ขนาดหรือพิกัดเป็นขนาดการใช้งานของเซอร์กิตเบรกเกอร์กำหนดเป็นแอมแปร์ซึ่งจะระบุไว้ในเบรกเกอร์ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน  พิกัดตัดกระแสลัดวงจร  กำหนดเป็นตัวเลขมีหน่วยเป็น KA  อาจเขียนไว้ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวเซอร์กิตเบรกเกอร์ก็ได้   และควรตรวจสภาพเซอร์กิตเบรกเกอร์ต้องไม่ชำรุด ก้านโยกไม่หัก  และไม่แตกร้าว  จุดต่อสายที่ขั้วต่อสายของเซอร์กิตเบรกเกอร์ต้องไม่มีร่องรอยชำรุดหรือหลอมละลายจากความร้อน
ฟิวส์ ต้องตรวจขนาดกระแสและค่า IC เช่นเดียวกับเซอร์กิตเบรกเกอร์   สภาพภายนอกต้องไม่เปลี่ยนสี
การตรวจแผงย่อย
·       ตัวแผงเมน
·       พื้นที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานและแสงสว่าง
·       การต่อลงดินและการต่อฝาก      
·       เซอร์กิตเบรกเกอร์
·       ฟิวส์
การตรวจการเดินสายแบบต่าง
·       การเดินสายร้อยท่อ   ท่อร้อยสายต้องติดตั้งและจับยึดมั่นคงแข็งแรง
·       การเดินสายในรางเดินสาย
·       การเดินสายบนรางเคเบิล
·       บัสเวย์
การตรวจอุปกรณ์ไฟฟ้า
การป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าจากการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า   การป้องกันอาจใช้วิธีดังนี้  หุ้มฉนวนส่วนที่มีไฟ   มีที่กั้น  หรือใส่ตู้  มีสิ่งกีดขวางหรือทำรั้วกั้น  อยู่ในระยะที่เอื้อมไม่ถึง  และควรตรวจสภาพของการป้องกัน ต้องอยู่ในสภาพดี  มีความสามารถในการป้องกันที่เหมาะสม
การต่อลงดิน   เป็นการป้องกันอันตรายจากการสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดหรือไฟรั่ว  การต่อลงดินต้องทำให้ถูกต้องจึงจะสามารถป้องกันได้ดี  ตรวจว่าการต่อลงดินได้ทำอย่างถูกต้องหรือไม่ 
สายดิน
                                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น