ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอาคาร หรือโกดังสำเร็จรูป
สิ่งที่ผู้ตรวจสอบอาคารต้องยึดถือเป็นหลักสำคัญประการแรกคือ กฎหมายควบคุมอาคาร
เป็นกฎหมายที่จะกำหนดว่าอาคารต้องมีลักษณะของอาคารและระบบความปลอดภัยเพียงใด โดยต้องพิจารณาจากเอกสารของอาคารที่ออกโดยหน่วยงานท้องถิ่น คือใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
หรือใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้างอาคารว่าอาคารได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารครั้งแรกในปีใดซึ่งจะเป็นข้อกำหนดว่าอาคารที่ตรวจสอบต้องถูกบังคับโดยกฎหมายควบคุมอาคารฉบับใด สามารถแบ่งได้ตามประเภทของอาคารที่เข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบตามกฎหมายดังนี้
2.1 อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
แบ่งได้ตามช่วงเวลาที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารครั้งแรกจากหน่วยงานท้องถิ่น คือ
2.1.1 อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ขออนุญาตก่อนกฎหมายอาคารสูงบังคับใช้ ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
-
ที่ตั้งและลักษณะของอาคาร
- ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
2.1.2
อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ขออนุญาตหลังกฎกระทรวงฉบับที่ 33
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
- ที่ตั้งและลักษณะของอาคาร
- ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
2.1.3 อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ขออนุญาตหลังกฎกระทรวงฉบับที่ 50 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
- ที่ตั้งและลักษณะของอาคาร
- ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
2.2 อาคารทั่วไปที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ หมายถึง
อาคารที่มีความสูงที่พื้นชั้นดาดฟ้าไม่ถึง
23
เมตรหรือมีพื้นที่รวมทุกชั้นในอาคารไม่ถึง
10,000
ตารางเมตร
ต้องมีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารตามกฎกระทรวง
2.2.1 บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
2.2.2 เครื่องหมายและไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
2.2.3
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
2.2.4 ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
2.2.5 ระบบป้องกันฟ้าผ่า
2.2.6 ติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคาร
2.2.7 บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
2.2.8 ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
2.2.9
ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
2.3
โรงมหรสพ
การขออนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพและระบบความปลอดภัยของโรงมหรสพ และอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการมหรสพแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
1.
โรงมหรสพประเภท ก
หมายถึง
โรงมหรสพที่เป็นอาคารเดี่ยว ซึ่งมีการจัดที่นั่งคนดู ในลักษณะยึดติดกับพื้น
2.
โรงมหรสพประเภท ข
หมายถึง
โรงมหรสพที่เป็นอาคารเดี่ยว ซึ่งไม่มีการจัดที่นั่งคนดูในลักษณะยึดติดกับพื้น
3.
โรงมหรสพประเภท ค
หมายถึง
โรงมหรสพที่ตั้งอยู่ในอาคารที่ประกอบกิจการหลายประเภทรวมกัน ซึ่งมีการจัดที่นั่งคนดูในลักษณะยึดติดกับพื้น
4.
โรงมหรสพประเภท ง
หมายถึง
โรงมหรสพที่ตั้งอยู่ในอาคารที่ประกอบกิจการหลายประเภทรวมกัน ซึ่งไม่มีการจัดที่นั่งคนดูในลักษณะยึดติดกับพื้น
5.
โรงมหรสพประเภท จ
หมายถึง
โรงมหรสพที่ตั้งอยู่กลางแจ้งซึ่งมีรั้วที่ถาวรหรือมีลักษณะมั่นคงแข็งแรงกั้นขอบเขตโรงมหรสพและมีพื้นที่ภายในขอบเขตโรงมหรสพตั้งแต่ 150 ตารางเมตรขึ้นไป
2.4 อาคารโรงงาน
ต้องมีระบบความปลอดภัยของอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารเป็นหลัก และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงานและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง
ให้ครบถ้วนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น