กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เทคนิคการตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย สำหรับโกดังสำเร็จรูป โรงงานสำเร็จรูป

เทคนิคการตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย สำหรับโกดังสำเร็จรูป โรงงานสำเร็จรูป

เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในอดีตที่ผ่านมามักจะมีคนเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ออกจากอาคารไม่ได้ เพราะประตูหนีไฟล็อค สับสนในทิศทางการอพยพ ทำให้การหนีไฟไม่ทัน จนสำลักควันไฟ ขาดอากาศหายใจจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด และประกอบกับการที่อาคารไม่มีระบบควบคุมควันไฟทำให้ควันไฟได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ข้างเคียงหรือข้ามชั้นไปอย่างรวดเร็วโดยไปตามช่องเปิดในแนวดิ่งที่ไม่ปิดกั้นด้วยวัตถุกันไฟลาม ไม่ว่าจะเป็นบันไดหนีไฟ หรือ ช่องท่องานระบบ  ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เหตุการณ์รุนแรง  เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลตามมา ดังนั้นทางหนีไฟจึงถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร  จำเป็นต้องมีการออกแบบให้เพียงพอเหมาะสมต่อสภาพการใช้อาคาร และบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยให้มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา หากทำได้เช่นนี้อาคารหรือบ้านจะเป็นที่ปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจะไม่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตตามมาเช่นในอดีต

การตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ
รายละเอียดที่ต้องการตรวจสอบ เส้นทางหนีไปต้องไมมีอุปสรรคกีดขวางจากพื้นที่ใด ความกว้างความสูงของเส้นทางหนีไฟ ระยะทางหนีไฟที่ปลอดภัย  การปิด-เปิดประตูตลอดเส้นทาง  สมรรถนะของบันไดหนีไฟ  ความเสี่ยงในการพลัดตก  ราวจับ  ราวกันตก  แสงสว่างในเส้นทางหนีไฟ  ป้าย  สัญลักษณ์เส้นทางหนีไฟ  อุปกรณ์ระบบความปลอดภัย ช่องระบายอากาศในบันได  การปิดช่องเปิดที่ผนัง  การปิดช่องเปิดที่พื้นเพื่อป้องกันไฟลาม
ความต้องการตามข้อกำหนดในการจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อการใช้งานดังนี้  อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทที่มีผู้อยู่อาศัยต้องจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟให้เพียงพอเหมาะสมกับลักษณะอาคาร    เส้นทางหนีไฟต้องมีไม่น้อยกว่า  2  ทาง  เพื่อให้มีทางเลือกในการหนีได้  ทางหนีไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่สังเกตเห็นได้โดยง่าย ภายในอาคารหรือสิ่งก่อสร้างทีมีผู้อยู่อาศัยต้องจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยจากควัน และความร้อนหรืออันตรายอื่น เส้นทางหนีไฟต้องไฟต้องได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่สามารถหนีไฟได้โดยง่าย ประตูหนีไฟต้องผลักไปในทิศทางการหนีและสามารถเปิดย้อนกลับเข้าในอาคารได้เพื่อการบรรเทาสาธารณภัย  และเส้นทางหนีไฟต้องมีแสงสว่างตลอดเวลาทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉินต้องมีการป้องกันไฟลามตามช่องเปิดในแนวดิ่ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้สอยอาคาร  ต้องมีการจัดเตรียมขนาดทางหนีไฟให้เหมาะสมและเพียงพอ
กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่องเส้นทางหนีไฟโดยเบื้องต้นผู้ตรวจสอบจะต้องทำการศึกษาข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน  เพื่อได้จัดทำและปรับปรุงแบบฟอร์มการตรวจสอบให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของอาคาร ผู้ตรวจสอบสามารถใช้แบบฟอร์มของกรมโยธาธิการเพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบได้ สำหรับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ  พอสรุปเป็นแนวทางได้พอสังเขปดังนี้กฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ขั้นตอนในการตรวจสอบแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1.     การศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวก่อนการตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ
-  สอบถามข้อมูล
-  การตรวจสอบเอกสาร
2.  การตรวจสอบสภาพหน้างานจริง
3.  การจัดทำรายงานและสรุปผลการตรวจสอบ

การตรวจสอบป้ายหรือเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟส่วยประกอบสำคัญในเส้นทางหนีไฟ ถือว่าเป็นระบบความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ทุกอาคารพึงต้องมี ซึ่งกฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยหรือทางหนีไฟได้กำหนดจะต้องมีป้ายแสดงทางหนีไฟ และป้ายต้องมีไฟแสงสว่างสำรองฉุกเฉินส่องสว่างให้เห็นป้ายเพื่อนำไปสู่ทางออกได้ตลอดเวลา จากการสำรวจอาคารหลาย  ที่พบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ติดตั้งป้ายเครื่องหมายแสดงเส้นทางออกฉุกเฉินหรือติดตั้งแต่ไม่ได้มาตรฐานและขาดการดูแลรักษาให้ป้ายอยู่ในสภาพพร้อมใช้ทั้งในสภาวะปกติและฉุกเฉินดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในทางเดียวกันในการจัดทำป้ายเครื่องหมายทางหนีไฟที่ได้มาตรฐานและเหมาะสม จึงได้จัดทำแนวทางในการตรวจสอบและสรุปประเด็นสำคัญที่จะใช้ในการตรวจสอบเพื่อให้ผู้ตรวจสอบหรือผู้ดูแลอาคารใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้อาคารเกิดสภาพที่ปลอดภัย
รายละเอียดต้องทำการตรวจสอบป้ายหรือเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟเพื่อนำผู้ใช้อาคารให้สามารถอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัยควรจะทำการตรวจสอบให้ครอบคลุมรายละเอียดดังต่อไปนี้
·       รูปแบบของป้ายเครื่องหมายต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน
· ขนาดของเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต้องเป็นตามกฎหมายและมาตรฐานเดียวกัน
·       การติดตั้ง ตำแหน่ง ระดับ ระยะการมองเห็นของป้าย
·       สภาพอุปกรณ์  ความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์
·       แหล่งจ่ายไฟของป้ายในสภาวะปกติ และสภาวะฉุกเฉิน
·       สมรรถนะองป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ
·       แผนผังแสดงทางหนีไฟ  และอุปกรณ์ระบบดับเพลิง
·       เอกสารตรวจสอบ  และบำรุงรักษา
ความต้องการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับป้ายเครื่องหมายแสดงการหนีไฟ ตามข้อกำหนดหรือหลักการพื้นฐานในการติดตั้งป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟให้ได้มาตรฐาน  มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานทั้งในสภาวะปกติและฉุกเฉิน  มีดังนี้
·       ตลอดเส้นทางหนีไฟต้องทำเครื่องหมายโดยใช้ป้ายสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองที่มองเห็นได้โดยง่ายและชัดเจน
·       ป้ายต้องมีรูปแบบที่ได้มาตรฐานทั้งอักษรและสัญลักษณ์  ขนาดและสี
·       ป้ายต้องติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
·       ป้ายต้องมีไฟแสงสว่างส่องตลอดเวลา  ทั้งในสภาวะปกติและฉุกเฉิน
·       ป้ายในบันไดหนีไฟต้องบอกชื่อบันได  หมายเลขชั้น
·       ทดสอบสมรรถนะการทำงานของไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินที่ส่องสว่างให้ป้ายต้องไม่น้อยกว่า  2  ชั่วโมง
·       แผนผังทางหนีไฟและอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย  ต้องแสดงในอาคารให้เห็นอย่างชัดเจน
·       แปลนแผนผังอาคารต้องเป็นรูปแบบที่ได้มาตรฐาน
·       แปลนแผนผังอาคารต้องฉบับล่าสุดตรงกับสภาพหน้างานจริง
·       แผนผังต้องแสดงทางออกอย่างชัดเจนตรงกับหน้างานจริง
·       มีการบำรุงรักษาป้าย  เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟเป็นประจำ  และอุปกรณ์สามารถใช้งานได้
กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่องป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ  ทางหนีไฟแบะไฟแสงสว่างสำรองฉุกเฉิน จัดเป็นระบบความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่กำหนดให้อาคารทุกประเภทต้องปฏิบัติเช่นอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่อาคารโรงงาน  สำนักงานโรงพยาบาล รวมทั้งหอพักตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ผู้ตรวจสอบต้องทำการศึกษาข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อได้จัดทำหรือปรับปรุงแบบฟอร์มการตรวจสอบให้ถูกต้อง เหมาะสมกับลักษณะของอาคาร อาจใช้แบบฟอร์มรายงานของกรมโยธาธิการได้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตรวจสอบและบันทึกการตรวจสอบแต่อาจปรับปรุงให้เหมาะสมกับลักษณะอาคารที่ตรวจสอบได้เพื่อความเหมาะสมสำหรับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเครื่องหมาย ป้ายทางออกฉุกเฉินพอสรุปเป็นแนวทางได้พอสังเขป ดังนี้
กฎหมาย  “พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร”
·       ป้ายบอกชั้นทั้งด้านในและด้านนอกประตูหนีไฟ  และป้ายบอกทางหนีไฟด้วยตัวอักษรลาสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจน
·       แสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเพียงพอ ที่จะมองเห็นช่องทางหนีไฟได้ชัดเจน
·       พลังงานไฟฟ้าจากไฟสำรองฉุกเฉินสำหรับป้ายเครื่องหมายแสดงทางฉุกเฉิน
·       จัดให้มีการติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้นในตำแหน่งห้องต่างที่ชัดเจนรวมทั้งตำแหน่งของอุปกรณ์ดับเพลิงต่าง ประตูหรือทางหนีไฟแผนผังของอาคารทุกชั้นเก็บรักษาไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้โดยสะดวก
มาตรฐานอ้างอิง ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
·       มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
·       มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน

ขั้นตอนในการตรวจสอบการตรวจสอบจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
·   ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวก่อนการตรวจสอบป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ สอบถามข้อมูล การตรวจสอบเอกสาร
·       การตรวจสอบสภาพหน้างานจริง
·       การจัดทำรายงานและสรุปผลการตรวจสอบ

การตรวจสอบการควบคุมการแพร่กระจายของควันไฟ ในเวลาเกิดเหตุอัคคีภัยขึ้น  ทำให้เกิดการแพร่กระจายของควันไฟไปยังพื้นที่ใกล้เคียงและไหลข้ามชั้นได้หากไม่มีการควบคุมหรือป้องกันการเคลื่อนที่ก็จะทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากเช่นหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ที่อาคารไม่มีการปิดล้อมป้องกันการลามของไฟในแนวดิ่ง เช่น ไม่ปิดช่องท่องานระบบ ไม่มีการปิดล้อมช่องเปิดที่บันไดหนีไฟ ซึ่งช่องเหล่านี้จะเปรียบเสมือนเป็นปล่องไฟหรือช่องนำควันไฟและความร้อนเพื่อส่งต่อไปทำความเสียหายและเกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารในพื้นที่ใกล้เคียงและลุกลามไปทั้งอาคารได้เป็นอย่างดี  
การตรวจสอบการควบคุมควันไฟเพื่อให้ผู้ตรวจได้พิจารณาถึงโอกาสและความเสี่ยงในการแพร่กระจายของควันไฟรวมถึงสภาพการใช้งานของอุปกรณ์ในระบบควบคุมควันไฟที่มีในอาคารนั้น เพื่อให้การป้องกันที่มีอยู่เดิมให้สามารถทำงานตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันทีถ้าหากอาคารยังไม่มีการควบคุมควันไฟผู้ตรวจสอบควรพิจารณาความเสี่ยงและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม คุ้มค่าต่อการลงทุน  และปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร
รายละเอียดที่ต้องทำการตรวจสอบ
·   ตรวจสอบการปิดช่องเปิดที่พื้นและผนังเพื่อป้องกันควันไฟลามในแนวราบและแนวดิ่ง
·       ตรวจสอบช่องเปิดระบายอากาศที่บันไดหนีไฟ
·       ตรวจสอบระบบอัดอากาศในบันไดหนีไฟและโถงลิฟต์ดับเพลิง
·       ตรวจสอบระบบระบายควันไฟในอาคาร
· ตรวจสอบการหยุดทำงานของเครื่องปรับภาวะอากาศและพัดลมระบายอากาศ
·       ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
ความต้องการตามข้อกำหนดในเรื่องการควบคุมควันไฟ
·        อาคารต้องมีการป้องกันควันไฟลามตามช่องเปิดในแนวดิ่ง  เพื่อการควบคุมการแพร่กระจายควันไฟ
·       บันไดหนีไฟและโถงลิฟต์ดับเพลิงต้องมีการป้องกันควันไฟ
·       ระบบอัดอากาศบันไดหนีไฟและโถงลิฟต์ดับเพลิงจะต้องพร้อมใช้งาน
·       พัดลมอัดอากาศทำงานต้องสามารถผลักเปิดประตูได้สะดวก
·       ระบบทำงานต้องมีการไหลของลมต้านควันไฟจากในอาคารได้
·       อาคารที่เปิดโล่งภายในอาคารทะลุพื้น 2 ชั้นขึ้นไป ต้องมีการระบายควันไฟออกได้อย่างอัตโนมัติ
·       เมื่อไฟฟ้าหลักดับต้องมีไฟสำรองฉุกเฉินจ่ายให้กับระบบอัดอากาศและระบบระบายควันไฟให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
·       เครื่องปรับภาวะอากาศที่มีลมหมุนเวียนและพัดลมระบายอากาศต้องหยุดการทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่องการควบคุมควันไฟ     พอสรุปเป็นแนวทางได้  ดังนี้
·       กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
·       มาตรฐาน การควบคุมควันไฟ วสท.  
ขั้นตอนในการตรวจสอบสำหรับการตรวจสอบแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก  ดังนี้
1. การศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวก่อนการตรวจสอบการควบคุมควันไฟ  สอบถามข้อมูล  การตรวจสอบเอกสาร
2. การตรวจสอบสภาพหน้างานจริงและการตรวจสอบสมรรถนะ
3. การจัดทำรายงานและสรุปผลการตรวจสอบ 
รายละเอียดและแนวทางในการตรวจสอบ
การป้องกันควันไฟลามตามช่องเปิดในแนวดิ่งและตรวจสอบการปิดล้อมบันไดหนีไฟ  และบันไดอื่น ที่ไม่ใช่บันได้หนีไฟ
ระบบการป้องกันควันไฟในบันไดหนีไฟและโถงลิฟต์ดับเพลิง
การตรวจสอบระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินเป็นระบบที่มีความสำคัญที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบช่วยเหลืออื่น แต่เนื่องจากระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินเป็นระบบที่ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นประจำ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อให้มีความถูกต้องสมบูรณ์  มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและพร้อมใช้งานตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคาร การตรวจระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน เพื่อความเหมาะสมในการติดตั้งระบบ การเลือกใช้อุปกรณ์และสภาพพร้อมใช้งานของอุปกรณ์รวมถึงสมรรถนะการทำงานของระบบ รวมไปถึงการจ่ายพลังงานไปยังระบบความปลอดภัยอื่น  ของอาคาร ผู้ตรวจสอบควรขอข้อมูลจากเจ้าของอาคารบนพื้นฐานของกฎหมายที่บังคับและพิจารณาสภาพของอุปกรณ์  สภาพการใช้งานมาตรฐาน วสท.รายละเอียดที่ต้องทำการตรวจสอบกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่อง ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

ขั้นตอนในการตรวจสอบ
การตรวจสอบลิฟต์ดับเพลิง  เป็นระบบความปลอดภัยที่สำคัญที่มีไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานดับเพลิงใช้ปฏิบัติหน้าที่เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในอาคารสูง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้พนักงานดับเพลิงสามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้สะดวกและรวดเร็ว รวมถึงความปลอดภัยและยังสามารถอพยพผู้ใช้อาคารได้สะดวกและปลอดภัย จะต้องทำการตรวจสอบสภาพความพร้อมของระบบลิฟต์ ระบบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง  พร้อมตรวจสอบการบำรุงรักษา เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานดับเพลิงจะสามารถใช้ลิฟต์ได้อย่างปลอดภัยในเวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้รายละเอียดที่ต้องทำการตรวจสอบระบบลิฟต์ดับเพลิง  สภาพทั่วไปและเครื่องมือพื้นฐาน พร้อมทดสองการทำงานของลิฟต์  ความต้องการตามข้อกำหนดระบบลิฟต์ดับเพลิง  หลักพื้นฐานในการจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ  และความปลอดภัยในการใช้งานขั้นตอนในการตรวจสอบ  ต้องพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมและตรวจสอบสภาพการใช้งานตามเกณฑ์ของกฎหมายและเกณฑ์มาตรฐาน  ประเมินสภาพอาคาร  และวางแผนดำเนินการและการทดสอบสมรรถนะของอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับลิฟต์ดับเพลิงการตรวจสอบระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ สาเหตุส่วนใหญ่ของการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมาจากผู้ใช้อาคารไม่สามารถอพยพออกจากอาคารได้ทันท่วงทีเพราะไม่ทราบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ ดังนั้นการมีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้กับผู้ใช้อาคาร เพื่อให้มีประสิทธิภาพตามการออกแบบทั้งนี้การตรวจสอบเบื้องต้นของผู้ตรวจสอบ จะทำการตรวจสอบด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้นไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะการตรวจระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นการดูความเหมาะสมในการติดตั้งระบบ การเลือกใช้อุปกรณ์ สภาพความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ สมรรถนะการทำงานของระบบแบบระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆของระบบ  การติดตั้งอุปกรณ์  แบบใช้งานต้องตรงกับสภาพปัจจุบันร่วมกับแผนผังของอาคารแผงคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับต่าง  แล้วทำการประมวลผลเพื่อสั่งการให้สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงาน  พร้อมสั่งการให้ระบบความปลอดภัยอื่น   ทำงาน กล้องวงจรปิดในลิฟต์
การตรวจสอบแผงควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
การตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้ตู้ควบคุม
การตรวจสอบหลอดไฟแสดงผลบนแผงควบคุม  และแผงแจ้งเหตุระยะไหล
การตรวจสอบการแจ้งระบบสายสัญญาณขัดข้อง
การตรวจสอบการแจ้งเหตุของอุปกรณ์ตรวจจับ และอุปกรณ์แจ้งเหตุการตรวจสอบการส่งสัญญาณกระตุ้นในระบบฉุกเฉินอื่นๆที่รับสัญญาณจากแผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงาน
การตรวจสอบการแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ
อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในอาคารแบ่ง 2 ประเภท อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟและอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ควรดูความเหมาะสมการเลือกใช้อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ในแต่ละพื้นที่ของอาคารว่ามีความเหมาะสมกับสภาพที่จะเกิดเพลิงไหม้และการป้องกันหรือไม่รวมไปถึงลักษณะการติดตั้งและระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ต่าตรวจสอบควรมีความรู้พื้นฐานในการแยกแยะลักษณะชนิดอุปกรณ์ตรวจจับที่มีติดตั้งในอาคารได้ว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทใดด้วย
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
อุปกรณ์ตรวจจับการไหลในเส้นท่อ
อุปกรณ์เจ้งเหตุด้วยมือ เป็นสัญญาณที่ทำงานโดยอาศัยการกระตุ้นด้วยคน  มีลักษณะเป็นสวิตช์ไฟฟ้าควรมีเครื่องหมายที่แสดงให้มองเห็นและเข้าใจได้โดยง่ายอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือต้องติดตั้งในตำแหน่งที่ชัดเจนอยู่ในบริเวณเส้นทางเข้าออกของอาคารและที่ทางหนีไฟของอาคารและจุดที่ติดตั้งต้องให้ใช้ได้แม้ผู้พิการ
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้การแจ้งเตือนภัยต้องทำให้ผู้ใช้อาคารได้รับทรายอย่างทั่วถึงและรวดเร็วเพื่อให้ผู้ใช้อาคารมีเวลาดับเพลิงอพยพหนีไฟออกจากอาคารได้ทัน    อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบ่งได้  2  ชนิดอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง  และ  อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง
การตรวจสอบการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอื่นการตรวจการส่งสัญญาณจากตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ไปกระตุ้นให้ระบบหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอื่น ๆ ที่จำเป็นทำงาน  ดังนี้
กระตุ้นการทำงานระบบควยคุมควันไฟ
กระตุ้นการทำงานของระบบระบายควันไฟ
กระตุ้นการยกเลิกระบบลิฟต์โดยสาร
กระตุ้นการทำงานของลิฟต์ดับเพลิงกระตุ้นการตัดการทำงานของระบบปรับอากาศ
ยกเลิกการทำงานของระบบเปิดประตูค้างด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า
ยกเลิกการทำงานของระบบควบคุมการเข้าออก
ประวัติการดูแลรักษาการซ่อมบำรุงและการทดสอบการทำงานของระบบเพื่อตรวจสอบประวัติว่าระบบได้รับการดูแลรักษาและทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยกับผู้ใช้อาคารหรือไม่

การตรวจสอบระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง  หลักการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ต้องเป็นระบบมาตรฐาน ต้องสามารถใช้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นได้ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง  มองเห็นเด่นชัดไม่มีสิ่งกีดขวาง มีป้ายสัญลักษณ์หรือป้ายบอก  ระบบอุปกรณ์ดับเพลิงต่าง ที่สำคัญและจำเป็นหัวดับเพลิง ถังดับเพลิงตู้สายน้ำดับเพลิง การตรวจสอบระบบท่อยืนและสายฉีดน้ำดับเพลิงเกณฑ์การตรวจสอบตามกฎหมายและมาตรฐาน  วสท.  จุดสังเกตในการตรวจข้อผิดพลาดที่พบ การสรุปผลการตรวจสอบ

การตรวจสอบระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ เกณฑ์การตรวจสอบตามกฎหมายและมาตรฐาน วสท. จุดสังเกตในการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดที่พบ   

การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและถังเก็บน้ำดับเพลิง เกณฑ์การตรวจสอบตามกฎหมายและมาตรฐานวสท. จุดสังเกตในการตรวจสอบ การเลือกประเภทเครื่องสูบน้ำดับเพลิงให้ถูกต้องตามลักษณะที่ตั้งและถังเก็บน้ำสำหรับดับเพลิง การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล การตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบภายในห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

การตรวจสอบระบบป้องกันฟ้าผ่า สำหรับอาคารระบบป้องกันฟ้าผ่าแบ่งส่วนประกอบที่สำคัญเป็น 3 ส่วนคือ ระบบตัวนำล่อฟ้าระบบตัวนำลงดินและระบบรากสายดินการตรวจสอบระบบว่ามีการติดตั้งตามที่กฎหมายกำหนดและมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสิ่งปลูกสร้างของ วสท. หรือไม่ การติดตั้งจะต้องตรวจด้วยระบบที่ติดตั้งยังคงสภาพการใช้งานได้ดีหรือไม่ ผู้ตรวจจะให้คำแนะนำในส่วนที่ต้องมีการแก้ไข และปรับปรุง        
                          
                    
       


                 
                     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น