หลักเกณฑ์การตรวจสอบสภาพอาคาร ตามกฎหมายตรวจสอบอาคาร
1.1
ทั่วไป
การตรวจสอบสภาพอาคารเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกาย
และทรัพย์สิน
ตามกฎหมายกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร โดยการแก้ไขเพิ่มเติมทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ออกคู่มือสำหรับการตรวจสอบอาคารเพื่อใช้เป็นแนวทางมีขั้นตอนในการปฏิบัติงาน หลักการตรวจสอบของวิศวกรรมสถานฯ ได้มีการดัดแปลงจากต้นฉบับและเพิ่มเติมรายละเอียด
เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ง่ายและเหมาะสมขึ้นโดยสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายเช่นเดิม
1.1.1
ขอบเขตของการตรวจสอบอาคาร ผู้ตรวจมีหน้าที่ ตรวจตรา
ตรวจสอบ ทดสอบ และทำรายงาน
ความปลอดภัยของอาคารเพื่อความมั่นคงแข็งแรงและระบบอาคารต่าง ๆ
เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้อาคาร รวมถึงพนักงานดับเพลิง กู้ภัย
จะทำหน้าที่แนะนำและแจ้งเจ้าของอาคารเพื่อรายงานการตรวจสอบอาคารแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบตามหลักวิชาชีพและตามมาตรฐานที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศและตามหลักกฎหมายควบคุมอาคาร ในการตรวจสอบอาคารกำหนดการตรวจสอบใหญ่ประจำปี ผู้ตรวจสอบอาคารต้องจัดให้มี การตรวจสอบสภาพ การตรวจสอบสมรรถนะ การตรวจสอบแบบและเอกสาร และ
เขียนรายงานรายละเอียดผลการตรวจสอบอาคาร
และการตรวจสอบใหญ่ต้องจัดให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากการตรวจสอบประจำปีดังนี้ แผนการตรวจสอบบำรุงรักษาอาคารอุปกรณ์ประกอบอาคาร และ
แผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารประจำปี
1.1.2 รายละเอียดการตรวจสอบอาคาร
ต้องตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ของอาคาร เช่น การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร การตรวจสอบระบบอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
ของอาคาร ระบบอำนวยความสะดวก สุขอนามัยสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ของอาคาร
การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัย
1.1.3
ลักษณะการตรวจสอบ กำหนดให้ผู้ตรวจสอบสภาพอาคารและระบบประกอบอาคาร ตรวจสอบด้วยบันทึกภาพ ข้อมูล
รายละเอียดต่าง ๆ ที่ตรวจสอบ
ทำการประเมินและสรุปผลการตรวจสอบรวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงในเรื่องของความปลอดภัยอาคาร
เพื่อให้เจ้าของอาคารรับทราบและดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการหรือวางแผนการเงิน เพื่อปรับปรุงสภาพความปลอดภัยอาคารตามแผนที่กำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงไว้อย่างชัดเจน ในการตรวจสอบสภาพอาคารทุกครั้งไม่ควรใช้ผู้ตรวจสอบอาคารที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือไม่ได้ผ่านการอบรมในการทำงาน เพราะจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบอาคารต้องมีความรู้เรื่องกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัยอย่างดี และต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญ คือ
ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างซักช่างถาม มีจิตวิทยาในการพูดหรือเสนอความเห็น และทักษะในการเจรจาและสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องอย่างดี
1.1.1
บทบาทของผู้ตรวจสอบ เปรียบเหมือน “ผู้นำพาความปลอดภัย”
ไม่อยากให้วิศวกรหรือสถาปนิกแค่ทำรายงานการตรวจสอบอาคารเพื่อมีส่งให้ครบตามกำหมายเท่านั้น กล่าวคือ
การตรวจสอบและแนะนำความปลอดภัย
รวมทั้งการทดสอบสมรรถนะระบบอุปกรณ์ในอาคาร
จนกว่าจะเกิดความมั่นใจว่ามีสภาพความปลอดภัยในการใช้งาน
อาคารจำนวนมากยังมีปัญหาอยู่ทั้งปัญหาใหญ่และเล็ก ดังนั้นผู้ตรวจสอบอาคาร ต้องมีความมั่นคง ยึดมั่นต่อความถูกต้อง และซื่อสัตย์ต่อประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในอาคารหลังนั้น โดยหลักจรรยาบรรณวิศวกรหรือสถาปนิก การเจรจาให้เจ้าของอาคารแก้ไขปรับปรุงความปลอดภัยของอาคารให้ถูกต้องดีขึ้น
จึงขอให้ผู้ตรวจสอบอาคารเข้าใจบทบาทของตัวเอง
และปฏิบัติงานอย่างน่าเชื่อถือต่อตนเองและประชาชนอย่างดีที่สุด
เพราะประชาชนมีความเชื่อมั่นในอาคารหลังนั้นว่ามีความปลอดภัยดี โดยมีวิศกรและสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบ ผู้ควบคุม
และตรวจสอบอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
และนี่คือเกียรติและศักดิ์ศรีของวิศวกรและสถาปนิกนั่นเอง
1.2 นิยาม
การตรวจสอบอาคาร หมายถึง
การตรวจสอบสภาพอาคารด้านความมั่นคงแข็งแรงและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารโดยการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
การตรวจสอบบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร หมายถึง
การบำรุงรักษาอาคารและระบบอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
ของอาคาร
โดยเจ้าของอาคารหรือผู้ดูแลอาคาร
การบริหารจัดการความปลอดภัยของอาคาร
หมายถึง
การบริหารอาคารโดยครอบคลุมถึงภารกิจต่าง
ๆ เช่น นโยบายความปลอดภัยจากผู้บริหาร
มีแผนฉุกเฉินและฝึกซ้อมตามแผนเป็นประจำ
มีการพัฒนาส่งเสริมและการบันทึกรายงานความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง มีแผนการและปฏิบัติการ การดูแลรักษา
และตรวจสอบสภาพอาคารและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องไว้
ความปลอดภัยในการใช้งาน หมายถึง
อาคารมีสภาพความมั่นคงแข็งแรงเหมือนเดิมตามที่ได้ออกแบบหรือก่อสร้างไว้โดยไม่พบสิ่งผิดปกติใด ๆ
มีการบริหารจัดการความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั้งการวางแผนและการปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ
เครื่องมือพื้นฐาน หมายถึง เครื่องมือทั่วไปที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ตรวจสอบสามารถทำงานได้โดยสะดวกมากขึ้น เช่น ไฟฉาย
ตลับเมตร กล้องถ่ายรูป ลูกดิ่ง
เป็นต้น
เครื่องมือเฉพาะหรือเครื่องมือพิเศษ
หมายถึง
เครื่องมือที่สามารถตรวจสอบวัดค่าปริมาณต่าง ๆ
ที่ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญในการใช้งาน
เช่น กล้องระดับ เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพคอนกรีต เครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือน เป็นต้น
เจ้าของอาคาร หมายถึง
ผู้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของอาคาร
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายถึง
นายกเทศมนตรีสำหรับเขตเทศบาล
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ปลัดเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรการปกครองท้องถิ่นอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด สำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่น
แบบแปลนอาคาร หมายถึง
แบบแปลนอาคารที่เจ้าของอาคารจัดเตรียมให้ผู้ตรวจสอบต้องประกอบด้วยแปลนพื้นที่ทุกชั้น การแบ่งพื้นที่ใช้งานแต่ละส่วน ตำแหน่งอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย เส้นทางหนีไฟ
บันไดหนีไฟ
ผู้ตรวจสอบอาคาร หมายถึง
ผู้ได้รับในอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปนิกควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร
ผู้ดูแลอาคารหรือผู้จัดการอาคาร
หมายถึง
เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของอาคารให้มีหน้าที่ตรวจสอบ
การบำรุงรักษาอาคารและระบบอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
ของอาคาร
แผนการตรวจสอบอาคาร หมายถึง
แผนการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
ของอาคารสำหรับผู้ตรวจสอบอาคาร
แผนการตรวจสอบบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร หมายถึง
แผนการตรวจสอบบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
ของอาคารที่ผู้ตรวจสอบอาคารกำหนดให้กับเจ้าของอาคาร
1.3 ข้อแนะนำเบื้องต้น
1.3.1
ข้อควรระวังเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ
ผู้ตรวจอาคารตามกฎหมายตรวจสอบอาคารควรระวังและหลีกเลี่ยงข้อเสนอแนะที่อาจเป็นการก้าวล่วงทางวิชาชีพ ผิดต่อจรรณยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แนวคิดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการก้าวล่วงทางวิชาชีพควรระลึกถึงอยู่เสมอ ได้แก่
- ผู้ตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย คือ
ผู้ตรวจ ไม่ใช่ผู้ตรวจสอบ
ในการตรวจจึงไม่ต้องลงลึกในรายละเอียดถึงขั้นทดสอบเชิงลึก หรือเครื่องมือพิเศษใด ๆ
-
ผู้ตรวจสอบอาคารตามกฎหมายไม่ได้ทำหน้าที่เป็นวิศวกรหรือสถาปนิก
ดังนั้นที่เริ่มรู้สึกว่าจะเป็นการวิเคราะห์หรือให้ข้อแนะนำควรหลีกเลี่ยง แม้ตนเองจะเป็นผู้ชำนาญในเรื่องนั้น ๆ
ก็ตาม
- หลีกเลี่ยงคำว่า “ข้อแนะนำ”
ใช้คำว่า เสนอแนะ แทน
และควรใช้คำว่า ผู้ตรวจแทนคำว่า “ผู้ตรวจสอบอาคาร”
เพื่อเตือนตัวเองให้ระวังเรื่องขอบเขตหน้าที่ของการปฏิบัติงาน
-
ไม่ควรรับรองเรื่องความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยของอาคารโดยตรง เพราะจะต้องมีข้อมูลหลายอย่างประกอบ เช่น
การตรวจวัด การตรวจสอบ การทดสอบเชิงลึก
และต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ตามหลักวิศวกรรม
-
การรับการทำงานตรวจอาคารควรให้มั่นใจว่าไม่เป็นการทำงานซ้ำซ้อนในลักษณะเข้าไปแย่งทำงานเดียวกันกับวิศวกรหรือสถาปนิกอื่น
หมายเหตุ แม้ว่าการตรวจอาคารตามกฎหมายดังกล่าวไม่จัดเป็นงานวิศวกรรมควบคุม แต่มีโอกาสที่ผู้ตรวจอาคารจะ
พลั้งเผลอเกิดการทำงานก้าวล่วงทางวิชาชีพจนกลายเป็นเข้าข่ายการประพฤติผิดจรรณยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรมได้
1.3.2 ข้อมูลในการตรวจอาคาร ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอาคาร ได้แก่
ชื่ออาคาร สถานที่ตั้ง เจ้าของอาคาร
ลักษณะอาคาร
การใช้งานของอาคาร ใบอนุญาต แบบแปลนและระยะเวลาในการก่อสร้างอาคาร ประวัติการต่อเติมอาคาร
นับเป็นส่วนสำคัญที่ต้องจัดหาเพราะเป็นตัวบ่งบอกตำแหน่งของห้องและลักษณะการใช้งาน ตำแหน่งบันไดหนีไฟ ลิฟต์ และ ตำแหน่งอุปกรณ์ดับเพลิง
ใช้ประโยชน์ในการตรวจความปลอดภัยด้านอัคคีภัย สำหรับงานด้านตรวจด้านวิศวกรรมโยธานั้น กรณีที่ไม่มีแบบแปลนเดิมอยู่เลยผู้ตรวจควรให้เจ้าของอาคารจัดทำขึ้น ประกอบด้วย Floor plan
และมีรายละเอียดการจัดวางห้องและลักษณะการใช้งาน ควรระบุวัสดุที่ใช้ปูผิวพื้น
และควรระบุว่าบริเวณใดที่มีการปรับปรุงหรือต่อเติม
แต่ย่างน้อยที่สุดควรให้เจ้าของอาคารลงนามรับรองว่าเป็นแบบแปลนอาคารของตน
1.3.3 อุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐาน ได้แก่
ตลับเมตร ลูกดิ่ง กล้องถ่ายรูป
ระดับน้ำ ลูกน้ำตาไก่ วัตถุทรงกลมเล็ก ๆ เช่น
ลูกปิงปอง ลูกบอล
1.4 ขั้นตอนการตรวจสอบอาคาร การตรวจสอบประจำปีนั้น
ก็จะตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบที่ได้กำหนดไว้ในการตรวจสอบใหญ่ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกปีเหมือน ๆ
กันในปีที่ 2-5
และเมื่อขึ้นปีที่ 6 จะเป็นการตรวจสอบใหญ่ซึ่งจะมีรายการตรวจสอบประจำปีแฝงอยู่ด้วยเหมือนทุก
ๆ ปีที่ผ่านมา แต่เพิ่มรายละเอียดของการตรวจสอบใหญ่ เช่น
ทำการพิจารณาแผนการตรวจบำรุงรักษาฯ
และแผนการตรวจสอบประจำปีของผู้ตรวจสอบอาคาร เป็นต้น
เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น
ผู้ตรวจสอบควรแนะนำให้เจ้าของอาคารเริ่มการตรวจสอบอาคารตั้งแต่ต้นปี ไม่ควรคอยจนใกล้ถึงปลายปี หรือใกล้ใบรับรองการตรวจสอบอาคาร “ร1” ครบกำหนด
เป้าหมายการตรวจสอบอาคารนอกจากเพื่อความปลอดภัยแล้ว
ผู้ตรวจสอบอาคารควรจะมุ่งเน้นการให้ความรู้ และชักจูงให้เจ้าของอาคารเห็นถึงประโยชน์ของความปลอดภัย
รวมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงที่เป็นไปได้ และให้เกิดความปลอดภัยในระดับที่ยอมรับได้
1.5 แนวทางการตรวจสอบอาคาร การตรวจสอบอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารนี้ มีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าอาคารหลังนั้นถูกกฎหมายไปด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการตรวจสอบซึ่งสามารถออกตรวจสอบและออกคำสั่งให้อาคารที่ยังผิดกฎหมายแก้ไขให้ถูกต้องได้
ผู้ตรวจสอบอาคารควรแนะนำเจ้าของอาคารให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาผลระหว่างการตรวจสอบด้วย
ไม่ควรปล่อยให้ฝ่ายช่างประจำอาคารรับผิดชอบหรือประสานงานโดยตรงกับผู้ตรวจสอบอาคารฝ่ายเดียว เพราะอาจเกิดการปกปิดข้อมูล การวางแผนการตรวจสอบเป็นเรื่องสำคัญ
เพื่อทำให้ผู้ตรวจสอบอาคารสามารถใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรแจ้งให้เจ้าของอาคารประกาศให้ผู้ใช้อาคารทราบล่วงหน้า
ผู้ตรวจสอบอาคารจำเป็นต้องใช้ทักษะในการเจรจาสื่อสารอย่างดี รวมทั้งมีทัศนคติในการเสนอแนะเชิงบวก
เพื่อให้เจ้าของอาคารเข้าใจถึงความจำเป็นในการแก้ไขปรับปรุงอาคารให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นผู้ตรวจสอบอาคารจำเป็นต้องเตรียมตัวให้ดีและมีเหตุผล
รวมทั้งเอกสารหรือมาตรฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้มารับรอง
แนวทางปฏิบัติประกอบการพิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (แบบ
ร.1)
1.
เอกสารหลักฐาน
2.
การพิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (แบบ
ร.1)
3.
กำหนดเวลาการส่งรายงานผลการตรวจสอบอาคาร
4.
ความรับผิดชอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น