กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนขับรถ ต้องมี กล้องติดรถยนต์



เตรียมตัวให้พร้อมก่อนขับรถ ต้องมี กล้องติดรถยนต์


เพื่อให้การเดินทางเป็นไปได้ราบรื่นและปลอดภัยผู้ขับขี่ควรตรวจสอบอุปกรณ์และสภาพรถให้พร้อมอยู่เสมอ

เตรียมตัวก่อนออกรถ (ประตู) ก่อนสตาร์ทรถผู้ขับขี่ต้องมั่นใจว่าประตูรถทุกบานปิดสนิทดีแล้ว
เตรียมตัวก่อนออกรถ (กระจก/หน้าต่าง) กระจกและหน้าต่างเป็นอุปกรณ์ประจำรถที่ขาดไม่ได้  หน้าต่างทั้งด้านนอกและด้านในรถต้องใส   หากมีรอยเปื้อนก็ควรทำความสะอาดให้ดูใส   กระจกส่องหลังก็เช่นเดียวกันต้องในสะอาด  และปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องด้วย
เตรียมตัวก่อนออกรถ(เบาะนั่ง) ผู้ขับขี่ต้องปรับเบาะนั่งให้สะดวก   และถูกต้องในการขับเพราะหากต้องนั่งขับรถในท่านั่งที่ไม่สะดวกย่อมลดประสิทธิภาพในการขับรถของตัวผู้ขับขี่เอง
 
กล้องติดรถยนต์
เตรียมตัวก่อนออกรถ(เข็มขัดนิรภัย)
ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้ร่วมทาง เข็มขัดนิรภัยเป็นอุปกรณ์ประจำรถที่ขาดไม่ได้ ฉะนั้นผู้ขับขี่และผู้ร่วมทางต้องฝึกฝนตนเองจนเป็นนิสัยว่า ก่อนสตาร์ทรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ
 
เตรียมตัวก่อนออกรถ (การสตาร์ทเครื่องยนต์)
ก่อนที่เราจะสตาร์ทเครื่องยนต์นั้น ผู้ขับขี่ต้องตรวจสอบสิ่งเหล่านี้
-       เบรกมือได้ขึ้นไว้แล้ว
-       เกียร์อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง
-       เหยียบคลัตช์

เตรียมตัวก่อนออกรถ (อุปกรณ์ต่างๆ)
เมื่อผู้ขับขี่ได้สตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว ผู้ขับขี่ควรตรวจสัญญาณไฟต่าง จากแผงหน้ารถ   เช่น ไฟเตือนแรงดัน น้ำมันเครื่องไฟสตาร์ท ไฟชาร์จ เป็นต้น หรือแม้แต่การตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องว่าเพียงพอหรือไม่

เตรียมตัวก่อนออกรถ (พวงมาลัย)
การจับพวงมาลัยเป็นอีกจุดหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามไป ผู้ขับขี่ต้องจับพวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและสะดวกกับตัวเราเอง โดยมือซ้ายของผู้ขับขี่ต้องอยู่ที่   10   นาฬิกา

เตรียมตัวก่อนออกรถ (เครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น)
ควรมีเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นประจำรถไว้ หากผู้ขับขี่เกิดฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุเล็กน้อยจะได้นำมาใช้ได้ทันการณ์

ท่านั่งขับรถ
1.     ผู้ขับขี่ต้องปรับเบาะรองนั่งเพื่อให้เท้าเหยียบแป้นคลัตช์จนสุด ค้างไว้ โดยไม่ต้องเขย่ง และให้สามารถงอเข่าได้เล็กน้อยควรนั่งหลังพิงพนักเบาะให้มั่นคง เพราะหากเวลาโดนรถชนจะช่วยลดแรงที่ส่งมาทางกล้ามเนื้อหลัง
2.     ให้ผู้ขับขี่ปรับระดับคอพวงมาลัยให้เห็นมาตรวัดและไฟเตือนได้ชัดเจน   ส่วนมือควรจับพวงมาลัยส่วนบนสุด และงอแขนเล็กน้อยดีกว่าเหยียดแขนตรงเพื่อให้มีระยะหมุนของพวงมาลัย
3.     เมื่อขับรถผู้ขับขี่ควรนั่งหุบเข่า โดยให้เข่าซ้ายยันกับคอนโซลกลางรถเพื่อให้เกิดความมั่นคงเวลาขับรถ ส่วนการหมุนพวงมาลัย ผู้ขับขี่ต้องให้น้ำหนักเท่ากันทั้งมือซ้ายและมือขวาเพราะจะทำให้พวงมาลัยไม่กระตุก

อุปกรณ์จำเป็นประจำรถ
อุปกรณ์จำเป็นประจำรถเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ควรมีไว้ติดรถของตัวท่านเองเพราะไม่รู้ว่าต้องใช้สักวันใดวันหนึ่งมีดังนี้
-       เครื่องดับเพลิง      เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง   อาจเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง   เพื่อความไม่ประมาท  ควรมีเครื่องดับเพลิงติดประจำรถ  ซึ่งเครื่องดับเพลิงที่นิยมติดไว้ในรถมี  2  ชนิด ผงเคมีแห้งและชนิดสเปรย์ดับเพลิงบรรจุกระป๋อง  เหมาะที่จะมีไว้ในรถ
-       ที่ทุบกระจก       ควรมีไว้ในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรงและควรมีขนาดพอเหมาะ  เช่น  รถตกน้ำ  รถสมัยนี้เป็นระบบเพาเวอร์เมื่อรถตกน้ำจะทำให้ระบบไฟเสียไม่สามารถเปิดกระจกได้  จึงควรมีที่ทุบกระจกไว้  เช่น ค้อน  หรือเหล็กล๊อกคลัตช์   เป็นต้น
-       เครื่องวัดลมยาง / เครื่องเติมลมยาง       ในขณะที่ผู้ขับขี่เดินทางอยู่นั้นไม่รู้ว่ายากของรถยนต์ต้องเจออะไร   หากผู้ขับขี่มียางที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการเดินทางได้  การตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่แล้วยังช่วยประหยัดน้ำมันและใช้เวลาในการเดินทางอย่างคุ้มค่า
-       สายพ่วงแบตเตอรี่        ผู้ขับขี่ควรมีไว้เมื่อเกิดปัญหาเฉพาะหน้าอย่าง  เช่น  ปัญหาแบตเตอรี่หมด  โดยการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่เพื่อให้เกิดกำลังไฟเพียงพอที่ช่วยให้รถสามารถเดินทางต่อไปได้ในระยะเวลาสั้น  
-       เข็มแยงรูน้ำฉีกกระจก       ในวันที่ทัศนวิสัยแย่  เช่น  ฝนตก  แล้วน้ำฉีดกระจกไม่ทำงานอาจทำให้ผู้ขับขี่ประสบอุบัตเหตุได้   ผู้ขับขี่สามารถแก้ปัญหาโดยการเติมน้ำจนเต็มแล้วแต่ฉีดไม่ออกอาจเป็นเพราะรูของน้ำฉีดกระจกนั้นตันได้
-       แว่นเหลืองใส่ขับรถกลางคืน      ในเวลากลางคืนทัศนวิสัยจะแย่สำหรับผู้ขับขี่ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นเท่าตัว   หากมีแว่นเหลืองไว้ประจำรถ   จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นได้ดียิ่งขึ้น
-       แม่แรง         เป็นสิ่งที่จำเป็นมากหากเกิดเหตุยางรั่วหรือยางแบนต้องมีการถอดล้อเปลี่ยนยางขึ้น

เมื่อพบเครื่องหมาย “ เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด “ ผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย  “ เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด “ ต้องหยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาไปก่อน  จากนั้นจึงจะเลี้ยวซ้ายผ่านไปได้ การเลี้ยวรถกับระยะทางเลี้ยวรถข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องเปลี่ยนช่องทางเดินรถในทางที่เราจะเลี้ยวรถก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร การให้ทางแก่รถฉุกเฉิน เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉินต้องหยุดหรือจดรถให้ชิดขอบทางด้านซ้ายมือ แตกหากว่ามีช่องทางเดินรถประจำทาง สามารถหยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทางได้ แต่ห้ามหยุดหรือจอดรถในทางร่วมแยกโดยเด็ดขาด

การขับรถผ่านทางร่วมทางแยก
การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกโดยที่เป็นทางเอกตัดกัน หากไม่ปรากฏป้ายสัญญาณ   หรือเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.     ถ้าหากมีรถคันอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน จึงจะขับต่อไปได้
2.     การขับรถร่วมทางแยกในกรณีที่ผู้ขับขี่และรถคันอื่นมาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถเพื่อให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไปก่อนเสมอ

การเข้าโค้ง
-       ผู้ขับขี่ห้ามเหยียบคลัตช์ เปลี่ยนเกียร์ หรือเหยียบเบรกแรง ในทางโค้งโดยเด็ดขาด เนื่องจากการเข้าโค้งด้วยความเร็วตั้งแต่แรกอยู่เล้วอาจทำให้รถหลุดจากโค้งได้ทันที
-       “ เข้าให้ช้าออกให้เร็ว “ เมื่อเราเห็นทางโค้งที่จะเลี้ยวต้องลดความเร็วลงโดยการถอนคันเร่งหรือแตะเบรกเบา จากนั้นจึงค่อย ลดเกียร์ลงตามความเหมาะสม  ข้อระวังในการเข้าโค้งคือเมื่อกำลังเข้าโค้งห้ามถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็ว หรืออย่างเร่งความเร็วเพราะจะทำให้รถเสียหลักได้พอพ้นจากโค้งได้จึงค่อยเพิ่มความเร็วขึ้น
-       การบังคับรถเข้าโค้งเมื่อใช้ความเร็วเกินกำหนด ผู้ขับขี่ต้องแตะเบรกเบา  ถี่  หลาย ครั้งสลับกับการเร่งน้ำมันเล็กน้อยเพื่อให้รถมีแรงฉุดในการเกาะถนน พร้อมกับหมุนพวงมาลัยอย่างมั่นคง
-       ผู้ขับขี่ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ  ควรใช้  off  -  Over  Drive  (การปิดเกียร์สูงสุดในกรณีเปลี่ยนเกียร์บ่อยๆ) นอกจากจะช่วยควบคุมความเร็วของรถแล้ว ยังเพิ่มความสามารถในการเกาะถนนอีกด้วย
การขับรถสวนทางกัน
หากต้องขับรถสวนทางกับผู้ขับขี่อีกฝ่าย ควรพึงปฏิบัติดังนี้
-       ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ชิดไปทางด้านซ้ายของทางเดินรถโดยยึดเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถเป็นหลักเสมอ
-       กรณีที่ผู้ขับต้องขับรถสวนทางกับรถอีกคันในที่แคบ ผู้ขับแต่ละฝ่ายต้องลดความลดความเร็วของรถลง เพื่อที่จะสามารถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย
-       เมื่อต้องขับรถสวนทางกับรถที่ใหญ่กว่าในที่แคบ ต้องให้รถใหญ่กว่าเป็นฝ่ายหยุดรถ และชิดของทางด้านซ้ายเพื่อให้ผู้ขับที่รถเล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
-       หากขับรถสวนทางโดยมีสิ่งกีดขวาง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือสิ่งของให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วลง จากนั้นจึงค่อยหยุดรถเพื่อที่จะให้รถที่สวนทางขับผ่านมาก่อน แล้วผู้ขับจึงค่อยขับต่อไป


ขับรถลงจากทางลาดชันหรือภูเขา
ผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือลงจากภูเขา จะต้องปฏิบัติดังนี้
-       ห้ามใช้เบรกตลอดเวลาห้ามเหยีนยคลัตช์ ห้ามดับเครื่องยนต์ และห้ามใช้เกียร์ว่าง เพราะจะทำให้รถเลื่อนไปตามทางลาดชันได้
-       หลักปกิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ หากต้องขับรถลงจากเขา  ให้ใช้เกียร์ต่ำ ขับรถชิดขอบทางด้านซ้ายให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา
การขับรถผ่านสี่แยก
1.     ถนนในกรุงเทพฯ นั้นแน่นไปด้วยจราจรที่คับคั่งการจะขับรถผ่านสี่แยกนั้น   ข้อแรกผู้ขับขี่ต้องรู้ว่าตัวจะไปเส้นทางไหนนอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว   ยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ด้วย
2.     ผู้ขับขี่ต้องชะลอความเร็วรถลงก่อนถึงสี่แยก จากนั้นจึงค่อยให้สัญญาณกับรถคันอื่นก่อนขับต่อไป โดยการบีบแตรหรือเปิดไฟหน้า
การแซง
ในท้องถนนส่วนใหญ่การเกิดอุบัติเหตุมาจากการแซง การแซงทำอย่างไรให้ปลอดภัยโดยก่อนแซงผู้ขับควรต้องเปิดไฟเลี้ยวทุกครั้งอย่างน้อย 5  -  10 วินาที เพื่อเป็นการเตือนว่าเราจะแซง จากนั้นจึงมองกระจกส่องหลังและกระจกมองข้าง ผู้ขับเองต้องดูรถข้างหน้าที่จะสวนมาว่ามีระยะห่างพอที่จะแซงได้หรือไม่
การแซงในขณะรอบเครื่องต่ำ ผู้ขับมือใหม่มักไม่ค่อยอยากจะแซงเท่าใดนัก บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ กรณีที่ต้องแซงรถขณะรอบเครื่องต่ำนั้น ผู้ขับต้องลดเกียร์ลงเพื่อช่วยให้รถมีแรงส่งเพียงพอที่จะแซงรถคันหน้าได้
การแซงเมื่อมีรถสวนมา แซงเมื่อมีรถสวนมาอันตรายกว่าการแซงแบบทั่วไป ผู้ขับต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นโดยผู้ขับต้องเปิดไฟหน้าไว้ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าเรา “ ขอทาง “

แรงดันลมยาง
ผู้ขับขี่หลายท่านละเลยต่อการให้ความดันลมยางที่ถูกต้อง นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์แล้วยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยโดยการลดแรงกระแทกจากพื้นรถอีกด้วย โดยแรงดันลมยางที่เหมาะสมนั้นต้องยึดหลักของผู้ผลิตที่ได้กำหนดเอาไว้
การขับรถขณะฝนตก
ผู้ขับขี่รถทุกท่านคงจะไม่มีท่านใดที่ไม่เคยขับรถท่ามกลางสายฝนแน่ ถนนที่เต็มไปด้วยน้ำนั้นทำให้ถนนลื่น ฉะนั้นหากผู้ขับขี่เตรียมตัวไม่พร้อมในการขับรถผจญฝน ต้องเตรียมตัวดังนี้
1.     ดอกยาง หากสภาพดอกยางรถสึกหรอมากก็ควรเปลี่ยนใหม่ ควรเลือกใช้ยางที่มีความละเอียดและสามารถรีดน้ำได้ดี เพื่อที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเกาะถนนและหยุดรถ
2.     เบรกสิ่งสำคัญแรก ในการลดอุบัติเหตุของการขับรถท่ามกลางสายฝน ผู้ขับต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเบรกใช้งานได้ดีหรือไม่ การเบรกในขณะฝนตก  ผู้ขับไม่ควรเบรกแรง แต่ควรค่อย เบรก เนื่องจากถ้าเบรกแรง อาจทำให้เกิดการเสียหลักและไม่สามารถบังคับพวงมาลัยได้
3.     ที่ปัดน้ำฝน จะช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับ ผู้ขับควรปรับระดับความเร็วของที่ปัดน้ำฝนให้สัมพันธ์กับความแรงของฝน
4.     น้ำยาล้างกระจกผู้ขับต้องหมั่นตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์รถยนต์อย่างสม่ำเสมอโดยตรวจสอบว่าน้ำยาล้างกระจกในที่เก็บสำรองมีอยู่หรือไม่
5.     ไฟรถ หากระบบไฟในรถทำงานไม่ได้ดีจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย   ฉะนั้นผู้ขับขี่ต้องตรวจสอบว่าไฟหน้า ไฟหลัง ไฟเบรก ทำงานครบถ้วนหรือไม่
6.     ลดความเร็ว วันที่ฝนตกถนนจะลื่นมาก มักเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรถในการเกาะถนนควรลดความเร็วลง
7.     ลดเกียร์ ขณะฝนตก การขับรถช้าย่อมปลอดภัยกว่าขับเร็ว หากผู้ขับรถลดเกียร์ให้ต่ำกว่าวันที่ปกติไม่มีฝนตกอีก 1 ระดับ เช่นจากวันปกติเป็นเกียร์  4  ที่เปลี่ยนมาใช้เกียร์ 3 แทนในวันฝนตก เป็นต้น
8.     ไม่บรรทุกของหนัก ขณะฝนตกการควบคุมรถจะยากมากกว่าในวันที่ฝนไม่ตก หากผู้ขับบรรทุกของหนักในวันฝนตกด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้การควบคุมรถยากยิ่งขึ้น

ขับรถกลางคืน
เตรียมรถเมื่อขับรถเวลากลางคืน หากผู้ขับต้องขับรถในเวลากลางคืน ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องขับสิ่งที่ต้องทำ คือ เตรียมรถให้พร้อม ตรวจระบบไฟต่าง และพกไฟฉายไว้ในรถเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
เตรียมใจเมื่อขับรถเวลากลางคืน การขับรถในเวลากลางคืนไม่เพียงแค่เตรียมอุปกรณ์แต่จิตใจและร่างกายก็ต้องเตรียมความพร้อมด้วย ควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้จิตใจปลอดโปร่ง และไม่หงุดหงิด สายตาต้องคุ้นกับแสงไฟเพราะผู้ขับบางรายไม่คุ้นกับแสงไฟของรถที่วิ่งสวนทางมา อาจทำให้เกิดอาการง่วงได้

การขับรถลุยน้ำท่วม
ในกรณีที่ผู้ขับรู้ว่าจะต้องขับผ่านน้ำท่วม ต้องหาที่ปิดกระจังหน้ารถเพื่อกันน้ำเข้าโดยอาจใช้กระสอบ  หรือกระดาษแข็ง แต่ดีที่สุดคือ ยางปูพื้นรถกันฝุ่น ส่วนท่อไอเสียผู้ขับต้องใช้สายยางท่อโต ครอบท่อไอเสีย และยให้เหนือระดับน้ำ ถ้าหากผู้ขับเดินทางมาคนเดียว  ก่อนที่จะเดินทางต่อไปท่ามกลางน้ำท่วมนั้น  ควรจะต้องตรวจสอบเส้นทางที่จะผ่านไปว่าน้ำท่วมมากเพียงใด
การขับรถฝ่าหมอก
1.     เปิดไฟ หมอกหรือควันส่งผลให้ทัศนวิสัยของผู้ขับขี่เริ่มแย่ลง ต้องเปิดไฟทันทีโดยไฟที่ใช้นั้นต้องเป็นไฟใหญ่ต่ำ ไม่ใช่ไฟหรี่ เพื่อที่จะให้รถคันอื่นมองเห็นรถของเรา และผู้ขับต้องหมั่นทำความสะอาดกระจกโคมไฟบ่อย    ด้วย
2.     ขับให้ช้า การขับรถในหมอกนอกจากจะทำให้ทัศนวิสัยแย่แล้ว ยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลียกว่าปกติอีกด้วย ฉะนั้นต้องลดความเร็วลงตามสภาวะของหมอกในตอนนั้น ผู้ขับต้องขับให้อยู่ในระยะพอที่จะมองเห็นไฟจากรถคันข้างหน้าได้ แต่ก็ต้องเว้นระยะพอที่จะหยุดได้ทันเช่นกัน และสุดท้ายไม่ควรขับรถเร็วเกินกว่า 10 กม./ชม.
3.     การเลี้ยว โดยเฉพาะการเลี้ยวรถท่ามกลางหมอก เป็นสิ่งที่อันตรายมาก   หากเลี่ยงได้ก็ควรที่จะเลี่ยง แต่ถ้าผู้ขับมีความจำเป็นก่อนเลี้ยวต้องส่งสัญญาณบอกล่วงหน้า เช่น  การบีบแตร และเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น  โดยเปิดหน้าต่างรถเพื่อใช้หูในการฟังเสียง แทนที่จะใช้ตาเพียงอย่างเดียว
4.     เปิดหน้าต่าง ขณะขับรถฝ่าดงหมอก ควรเปิดหน้าต่างรถด้วยเพราะจะช่วยลดละอองฝ้าจากหมอกที่เกาะตามกระจกรอบ  รถ ทำให้ผู้ขับมองไม่เห็นทางและสภาพแวดล้อม หากหมอกหนามากผู้ขับควรหยุดรถเป็นระยะเพื่อเช็ดกระจกหน้า ไฟหน้าและไฟท้ายให้สะอาด
5.     อย่าจอดรถ การหยุดรถท่ามกลางหมอกหนาเป็นการกระทำที่อันตรายมาก เพราะรถที่ตามเรามาหรือสวนทางจะมองไม่เห็นรถของเราเลย หากเป็นไปไดควรเลี่ยงที่จะจอดรถ แต่ถ้าหากเรามีความจำเป็นจริง ควรทำสัญญาณเตือนให้กับผู้ขับที่จะตามมาหรือสวนทางมาโดยเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
เมื่อรถตกน้ำ
หากรถตกน้ำ ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติตัวดังนี้
1.     ผู้ขับขี่ต้องตั้งสติให้ดี จากนั้นจึงปลดเข็มขัดนิรภัย พยายามใช้แรงเท่าที่จำเป็น เพราะอากาศหายใจในรถมีอยู่อย่างจำกัด
2.     ให้ยกศรีษะให้พ้นระดับน้ำเมื่อน้ำเข้ามาในรถและให้ปลดล๊อกประตูทุกบานแล้วจึงหมุนกระจกให้น้ำไหลเข้ามาในรถเพื่อเป็นการปรับความดันภายในและภายนอกรถ ถ้าไม่ทำเช่นนี้จะเปิดประตูไม่ได้
3.     เมื่อความดันทั้งภายในและภายนอกรถเท่ากันแล้ว ให้ผลักบานประตูให้กว้าง แล้วเราก็จะสามารถออกมาจากในรถได้  จากนั้นจึงว่ายน้ำขึ้นมา แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การที่ผู้ขับขี่ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและไม่ประมาทเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด


ยางระเบิดขณะขับรถ ผู้ขับขี่ไม่ว่าจะระวังตัวเองในการขับรถแค่ไหน แต่อุบัติเหตุก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เป็นปัญหาที่ร้ายแรงและฉุกเฉินซึ่งสาเหตุหลัก ก็คือ สภาพและชนิดของยาง ซึ่งยางแบบชนิมียางในจะมีโอกาสเกิดระเบิดได้ง่ายกว่ายางชนิดอื่น ฉะนั้นผู้ขับขี่ควรป้องกันก่อนแก้ไขโดยตรวจสอบยางก่อนออกรถเป็นประจำ และอีกสาเหตุที่ทำให้ยางระเบิดขณะขับรถก็คือ หากผู้ขับสูบลมยางน้อยเกินไปจะทำให้เกิดการเสียดสีของลมและยาง ทำให้เกิดความร้อนจนยางระเบิดหรือแม้แต่ยางที่ผ่านการใช้งานจนสึกหรอก็สามารถระเบิดได้ทุกเมื่อ ฉะนั้นก่อนซื้อยางผู้ขับขี่ต้องดูว่ายางที่ซื้อผลิตเมื่อปีใด เพื่อจะได้ยางที่ใหม่และมีคุณภาพ

ขับรถประสานงา
การขับรถที่รถทั้งสองฝ่ายขับชนกันด้วยความเร็วเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรงมากซึ่งมีสาเหตุดังนี้
ก.  ร่างกายไม่พร้อม สภาพของร่างกายและจิตใจที่ไม่ปกตินั้นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ป่วยเป็นไข้ พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายเมื่อยล้าอ่อนเพลียและสุขภาพจิตไม่มั่นคงจะส่งผลให้ผู้ขับขี่ไม่มีสติในการขับรถ เป็นต้น
ข. ไม่จดจ่อกับการขับรถ มีหลายสาเหตุที่ผู้ขับขี่เกิดการประสานงากับรถของอีกฝ่ายมักเกิดจากผู้ขับขี่ไม่มีสมาธิเสียเองมากกว่า อย่างเช่น มัวแต่คุยกับคนนั่งข้าง บ้าง   ทะเลาะกับผู้โดยสาร หรือทำกิจกรรมที่ไม่ได้จดจ่อกับการขับรถ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายตามมานั่นเอง
ค. ทางยากดประสาท อุบัติเหตุที่เกิดจากการง่วงนอน อาจมีสาเหตุมาจากการกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้ไข หรือยากดประสาทเป็นต้น เมื่อผู้ขับขี่รับประทานเข้าไปแล้วจะส่งผลข้างเคียงทำให้รู้สึกง่วงนอน
ง. ปวดท้องเบาและหนัก การปวดท้องหนักหรือเบาก็ตาม ย่อมทำให้ผู้ขับขี่ไม่มีสมาธิในการขับรถ ฉะนั้นหากสามารถไปทำธุระได้ก็ควรจะทำเสียให้เรียบร้อย
จ. ความหิว ถ้าเกิดการหิวมากจนเกินไปก็เป็นอุปสรรคในการขับรถ ทำให้ผู้ขับขี่หงุดหงิดไม่มีสมาธิ แต่ถ้าหากท้องอิ่มเกินไปก็จะส่งผลให้ผู้ขับขี่เกิดอาการง่วงนอน และอาจเกิดอาการหลับในตามมาได้
การป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาก่ออุบัติเหตุ
แม้ว่าผู้ขับขี่จะระมัดระวังตัวเองมากเท่าใดก็ตาม ก็ยังคงเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะเราแน่ใจไม่ได้หรอกว่าผู้ขับขี่ท่านอื่นจะไม่ก่ออุบัติเหตุขึ้น เช่น ผู้อื่นขับเบี่ยงเข้ามาทางของเรา  เป็นต้น
1.     ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วลงพร้อมกับเปลี่ยนเกียร์ให้เหมาะสม จากนั้นจึงส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายรู้โดยการบีบแตรหรือใช้ไฟหน้าเตือน
2.     หากปฏิบัติดัง ข้อ 1 ที่กล่าวมาแล้ว แต่คู่กรณีอีกฝ่ายก็ยังคงขับรถตรงมาที่ตัวเรา เราต้องลดความเร็วลงให้มาก ต่อจากนั้นบังคับรถให้ชิดซ้ายสุดให้คิดว่าถ้าอันตรายจริง  ให้หักหลบชิดซ้ายเสมอ และต้องระลึกด้วยว่าเกียร์ต้องอยู่สูงเสมอเพื่อเป็นการสร้างจังหวะให้กับรถ
การเบรกฉุกเฉิน
การเบรกที่ผู้ขับขี่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ถึงอย่างไรก็ตาม ผลที่ได้จากการเบรกส่งผลให้รถนั้นเกิดอันตรายขึ้นได้ เพราะรถของผู้ขับขี่จะวิ่งเป็นแนวตรง เนื่องจากแรงเฉื่อย และล้อจะถูกยึดจากการเบรก หากมีแอ่งน้ำหรือถุงพลาสติดจะทำให้รถหมุนได้ เมื่อต้องทำการเบรกฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยมือของผู้ขับขี่ต้องจับพวงมาลัยอย่างมั่นคง กระทืบเบรกแล้วปล่อยสลับไปมาให้เป็นจัวหวะ ยกเว้นแต่ว่าเป็นเบรกแบบ ABS ให้เหยียบเบรกแช่ไว้ ห้ามเหยียบๆ ปล่อย เด็ดขาด
การให้ไฟให้ถูกต้อง
การให้ไฟฉุกเฉินเปรียบได้กับดาบสองคม หากผุ้ขับขี่ให้สัญญาณไฟพร่ำเพรื่อ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ กรณีปิดที่ให้ไฟฉุกเฉินเมื่อต้องผ่านสี่แยก การที่ผู้ขับขี่เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อที่จะตรงไปในสี่แยกนั้น อาจทำให้ผู้ร่วมเดินทางคันอื่นเกิดความเข้าใจผิดได้  เพราะผู้ขับรถท่านอื่นที่กำลังแล่นมา ซ้าย - ขวา อาจเข้าใจผิดได้ว่ารถของเราจะเลี้ยวขวาหรือเลี้ยวซ้าย ทั้ง ที่เราจะไปทางตรง ด้วยเหตุนี้หากเราจะไปทางตรงจึงไม่ควรเปิดไฟจะเป็นการดีกว่า
การใช้เบรกมือ
1.     อันตรายจากผู้อื่นชนท้ายนั้นจะยิ่งอันตรายกว่าเดิม ถ้าหากผู้ขับขี่ไม่ขึ้นเบรกมือไว้  เพราะรถของเราอาจพุ่งไปชนรถคันข้างหน้าได้
2.     การใช้เบรกมือขณะขับรถทุกครั้งที่จอดรถผู้ขับขี่ต้องขึ้นเบรกมือเสมอ เพื่อป้องกันรถไหล หรือรถพุ่งไปชนผู้ขับขี่ที่อยู่ข้างหน้าหรือผู้ใช้ถนนได้
3.     ในจังหวะที่ติดไฟแดง รอรถเลี้ยว หรือแม้แต่ในที่ที่ลาดชันก็ต้องขึ้นเบรกมือไว้อย่าประมาท
4.     มีผู้ขับหลายท่านไม่ถนดในการใช้เบรกมือในกรณีเบรกแตก เบรกมือเป็นสิ่งแรกที่ผู้ขับต้องนึกถึงการดึงเบรกมือไม่ควรดึงทีเดียว ต้องดึงขึ้น  ลง เพราะล้อจะถูกล็อกและจะทำให้รถหมุน
ขับรถให้ประหยัดและปลอดภัย
-       ใช้เกียร์ให้ถูกต้องนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานและช่วยถนอมเครื่องยนต์แล้วยังช่วยในด้านความปลอดภัยของผู้ขับขี่ด้วย ฉะนั้นผู้ขับขี่ต้องฝึกควบคุมหรือเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างคล่องแคล่วเพื่อให้เกิดความชำนาญโดยการใช้ประสามสัมผัสเหลือบมองเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติ
-       รักษากฎจราจรเรื่องพื้นฐานของผู้ใช้ถนนทุกคน ผู้ขับขี่ต้องรู้สัญญาณและเครื่องหมายจราจรว่ามีความหมายอย่างไร เพราะกกจราจรเป็นกฎสากลที่ทั่วโลกใช้กัน เปรียบได้เหมือนเป็นปราการแรกของความปลอดภัย
-       การให้สัญญาณ การให้สัญญาณเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนโดยบอกผู้ขับขี่ท่านอื่นว่า เราเดินทางไปทิศทางใดหรือจะทำอะไรถือเป็นมารยาทที่พึงกระทำของผู้ขับขี่เลยทีเดียว   นอกจากตัวท่านจะปลอดภัยแล้ว  ผู้ขับขี่ท่านอื่นก็จะปลอดภัยด้วยเช่นกัน
-       อย่าขับรถเร็วเมื่อไม่มั่นใจหากผู้ขับขี่ไม่มั่นใจในสถานการณ์ใด    การลดความเร็วจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่ เช่น เดินทางไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือทางข้างหน้ามีทางโค้งมากน้อยแค่ไหน หรือแม้แต่ในกรณีที่ฝนตกควรลดความเร็วลงมากกว่าปกติ
วางแผนขับรถ
1.     การวางแผนขับรถย่อมช่วยลดอุบัติเหตุได้โดยผู้ขับขี่ควรมองรถที่อยู่ข้างหน้าไปอีก 5 คัน ในการขับตามกันบนท้องถนน ถ้าคันข้างหน้าแตะเบรกผู้ขับขี่ก็จะมีเวลาประมาณ 5 วินาที ที่จะสามารถชะลอรถได้ทัน
2.     กรณีที่ขับรถเข้าโค้ง ผู้ขับขี่ควรใช้สายตามองไปที่ทางโค้งเพื่อประเมินความโค้ง และบังคับมือให้สัมพันธ์กับตาเพื่อทำให้ควบคุมรถเข้าโค้งได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัญหาฉุกเฉิน
กรณีหม้อน้ำรั่วให้ผู้ขับขี่หยุดรถแล้วดับเครื่องยนต์ สังเกตรอยรั่วของหม้อน้ำ เราต้องอยู่ห่าง  และห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะอาจทำให้น้ำร้อนที่อยู่ในหม้อน้ำพุ่งมาลวดได้ ควรปล่อยให้หม้อน้ำเย็นลงก่อน
กรณียางระเบิด หากได้ยินเสียงดังจากยางระเบิดผู้ขับขี่ต้องรวบรวมสติไว้ก่อน  อย่าหักพวงมาลัยทันทีค่อยๆ ผ่อนความเร็วลง พวงมาลัยจะค่อย หนักขึ้น รถจะเอียงไปทางด้านที่ล้อระเบิด  บังคับรถให้ถูกทิศทาง  แล้วจึงค่อย เหยียบเบรก นำรถเข้าชิดทางซ้ายแล้วเราจึงค่อยเปลี่ยนอะไหล่
เมื่อรถเบรกแตก เมื่อผู้ขับขี่เหยียบเบรกจะรู้สึกว่าจมหายและไม่มีแรงต้าน ห้ามล้อไม่ได้  ให้บังคับพวงมาลัยเพื่อให้รถวิ่งไปในทางที่ปลอดภัยพร้อมกับใช้มือซ้ายกดปุ่มล็อกเบรกมือไว้จากนั้นจึงค่อย ดึงคันเบรกมือขึ้นและลงสลับกันเพื่อให้รถค่อย  ลดความเร็วลงจนหยุดสนิท อย่าดึงเบรกมือขึ้นอย่างแรงในทันทีทันใด
กระจกหน้าแตก รวบรวมสติเข้าไว้ และควบคุมรถไม่ให้ไปชนกับรถคันข้างหน้า จากนั้นจึงเปิดไฟเลี้ยวซ้ายเพื่อที่จะจอดรถริมทางซ้ายมือแล้วจึงดึงเบรกมือ เพื่อป้องกันรถจากคันหลังขับมาชน หากผู้ขับขี่มีผ้าเทปให้นำผ้าเทปปิดกระจกเพื่อเคาะกระจกออก และถ้ามีแว่นตาให้ใส่ไว้ป้องกันเศษกระจกกระเด็นเข้าตา

ข้อเตือนภัยการขับขี่รถยนต์
โทรศัพท์ขณะขับรถ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เนื่องจากสมาธิและการตัดสินใจจะลดลง เช่น การเหยียบเบรก การบังคับพวงมาลัย หรือแม้แต่การมองป้ายจราจร แต่ถ้าหากผู้ขับขี่มีความจำเป็นจะต้องใช้โทรศัพท์ ควรใช้อุปกรณ์เสริมได้แก่ แฮนด์ฟรี หรือบลูทูธ หากไม่มีก็ควรหาสถานที่ที่ปลอดภัยแล้วจอดเพื่อใช้โทรศัพท์ดีกว่า
ขับไปกินไป ชีวิตเมืองหลวงเต็มไปด้วยความเร่งด่วน ภาพผู้คนกินอาหารในรถเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไป การกินอาหารในรถเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะอาจเกิดอันตรายจากการบังคับพวงมาลัยมือเดียว โดยที่มืออีกข้างก็ต้องจับอาหาร หากอาหารมีความมันทำให้มือลื่น ส่งผลให้บังคับพวงมาลัยได้ยากอีกด้วย

การดูโทรทัศน์ขณะขับรถ  การเปิดโทรทัศน์ขณะขับรถ แม้คนขับจะไม่ได้ดูโทรทัศน์ก็ตามแต่ความสว่างของจอภาพ เสียง หรือกระทั่งภาพเคลื่อนไหว จะทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาชิกได้ง่าย เพราะสมาธิไม่ได้จดจ่ออยู่ที่การขับรถ นอกจากนั้นยังกระตุ้นคนขับให้ขับรถเร็วกว่าปกติอีกด้วย

การแต่งหน้าขณะขับรถ เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมาก การแต่งหน้า  หรือแม้แต่การทาลิปสติกระหว่างรถติดไฟแดง จะทำให้สมาชิกของผู้ขับขี่จดจ่อในสิ่งที่ทำ จนลืมไปว่ากำลังขับรถอยู่
จับพวงมาลัยอย่างมั่นคง การจับพวงมาลัยนั้น ผู้ขับขี่ควรใช้มือทั้งสองข้างจับพวงมาลัยให้มั่นคงนอกจากจะทำให้ผู้ขับขี่มีสมาธิแล้ว ยังเพิ่มความมั่นใจในการขับรถอีกด้วย
การแตะเบรกในการขับรถนั้น เราไม่รู้หรอกว่าทางข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง  ฉะนั้นการแตะเบรกแต่ละครั้ง ผู้ขับขี่ควรแตะเบรกเบาๆ ถี่ๆ อย่าแตะเบรกแรงเป็นอันขาด  เพราะจะทำให้ล้อโดนล็อกและส่งผลให้รถหมุไม่นได้
ขับรถห่างจากรถคันหน้า เราไม่รู้หรอกว่าทางข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันข้างหน้าเป็นระยะทางพอสมควรพอที่จะหยุดรถได้ทัน หากมีเหตุฉุกเฉิน

การออกรถ เมื่อพร้อมที่จะออกรถแล้ว ต่อมาผู้ขับขี่ต้องมองกระจกหลังเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยที่จะออกรถ จากนั้นให้สัญญาณและออกรถทันที หลังกจากขับรถออกไปได้สักระยะหนึ่งผู้ขับขี่ต้องตรวจสอบเบรกดูว่ายังทำงานได้ดีหรือไม่

การเบรก หากผู้ขับขี่ที่ความเร็วรถ 100 กม. / ชม. ระยะที่เราเบรกจนรถหยุดคือ   100  เมตร เพราะฉะนั้นเราควรขับรถเว้นระยะห่างจากรถคันข้างหน้าเป็นระยะทางอย่างน้อย 3 วินาทีใช้เบรกมือทุกครั้งเมื่อจอดรถเมื่อต้องจอดรถ ผู้ขับขี่ต้องใช้เบรกมือทุกครั้งเพื่อทำให้ระบบเบรกทำงานได้ดีอย่างสม่ำเสมอ

เมาแล้วขับหากขับรถไม่ว่าจะเมามากหรือเมาน้อยก็ล้วยแล้วเป็นอันตรายทั้งนั้น ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการรณรงค์เมาไม่ขับอยู่ก็ตาม แต่ก็ยังเห็นภาพอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เรื่อย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าปกติ
ง่วงแล้วขับ  อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนที่เป็นอันดับรองมาจากเมาแล้วขับก็คือ การง่วงแล้วขับนี่เองอาการง่วงนั้นขึ้นอยู่กับความเครียด อ่อนเพลีย นอนดึก จะส่งผลต่อสมาธิในการขับรถและการตัดสินใจ หากหลับในเวลาแค่ 3 - 4 วินาที รถจะวิ่งไปอย่างไม่มีทิศทางเป็นระยะทางเกือบ 100 เมตรเลยทีเดียว หากผู้ขับขี่ง่วงจนทนไม่ไหว ก็ควรจะหาที่ปลอดภัยและหลับสักพัก

กรณีขับรถถอยหลังให้ขับช้า เท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะทำให้การหมุนพวงมาลัยมีประสิทธิภาพหากมีการจราจรคับคั่งควรเปิดสัญญาณไฟและควรสังเกตุทรถที่ผ่านไปมาทั้งด้านหน้า - หลัง  และ ซ้าย – ขวา ว่าพ้นระยะหักเลี้ยวหรือไม่
เมื่อจอดรถบนทางลาดชัน ผู้ขับขี่ต้องหมุนพวงมาลัยให้ล้อชนขอบถนนเพราะหากรถเคลื่อนที่ก็ไม่สามารถเลื่อนไปไหนได้
เปลี่ยนยางรถอย่างปลอดภัย แม้ว่าจะใช้แม่แรงแล้วจะเปลี่ยนยางทันทีไม่ได้เราต้องหาวัสดุมารองหมุนล้อรถก่อน เพื่อป้องกันรถเคลื่อนขณะขึ้นแม่แรงยกรถ
อย่าจอดรถในที่อับสายตา บนเชิงสะพาน ทางโค้งในอุโมงค์ เป็นที่ที่อับสายตา  ผู้ขับขี่ท่านอื่นจะสังเกตเห็นรถของเรายาก ฉะนั้นหากไม่มีความจำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะจอดในเส้นทางเหล่านี้เสีย

การหยุดรถในการหยุดรถนั้น ผู้ขับขี่ควรหยุดห่างจากท้ายรถของรถคันหน้า ในระยะที่สามารถมองเห็นล้อรถคันข้างหน้าได้

ขับช้าวิ่งเลนซ้าย บนถนนสายหลักถึงแม้ว่าจะเป็นถนนแบบ 2 หรือ 3 เลน อยู่แล้วส่วนมากผู้ขับขี่จะขับรถในเลนที่ 2 หรือ 3 เป็นเลนหลัก แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีรถที่พยายามจะวิ่งเร็วกว่าเรา อย่างเช่น รถบรรทุก หากเป็นไปได้เราควรปล่อยให้เขาแซงจะเป็นการดีที่สุด

เข้าวงเวียนไม่เป็น การขับรถเข้าวงเวียนได้ชื่อว่าเป็นจุด“ ปราบเซียน “ กับผู้ขับขี่มือใหม่หัดขับ การจะเข้าวงเวียนและออกจากวงเวียนได้อย่างปลอดภัยนั้น ต้องยึดหลักสากล  คือ หยุดให้รถที่อยู่ในวงเวียนวิ่งผ่านไปก่อนแล้วจึงค่อยเข้าเลนที่ถูกต้องการเลี้ยวออกที่ฝั่งไหน  ก็ต้องเตรียมเลี้ยวไปยังเลนที่มีเครื่องหมายให้เลี้ยว
                 
ไม่ให้ทางคนอื่น มีผู้ขับขี่บางคนเมื่อได้จับพวงมาลัยแล้วจะใจร้อน รถคนอื่นเปิดไฟขอทางไปไม่ได้ การให้ทางถือว่าเป็นมารยาทในการขับรถ หากผู้ขับขี่เอื้อเฟี้อซึ่งกันและกันจะช่วยให้สังคมในการขับขี่ดีและปลอดภัยขึ้น

ไม่รู้กฎจราจร มีผู้ขับขี่หลายคนที่ขับรถเหมือนไม่มีความรู้กกจราจรเลย อย่างเช่น  จอดในที่ห้ามจอด การเข้า – ออกซอย  หรืออาคาร ทำให้ผู้อื่นเสียจังหวะซึ่งสิ่งเหล่านี้จะลดลงได้ หากสังเกตการณ์ขับรถของผู้ขับขี่คันอื่น ที่ขับได้อย่างถูกต้อง

แทรกไม่เลือกที่ พบเจอได้บ่อยตามท้องถนน ผู้ขับขี่ประเภทแทรกหรือปาดหน้ารถของผู้อื่น มักเจอแถวคอสะพานหรือตามแยกอื่นๆ เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว และทำให้เกิดปัญหารถติดเพิ่มอีกด้วย

ซิกแซกตามท้องถนนมักจะเจอในสถานที่ที่มีการจราจรอย่างหนาแน่นส่วนใหญ่เกิดจาก รถโดยสารที่ต้องแข่งขันกันตลอดเวลา ผู้ขับขี่กลุ่มนี้จะเน้นความเร็ว แต่ไม่เน้นความปลอดภัย

การเรียนขับรถอย่างปลอดภัย
1.     ผู้ขับขี่ที่ต้องการเรียนขับรถด้วยตัวเอง ควรที่จะมีผู้ขับรถชำนาญแล้วนั่งประกบข้างฝั่งคนขับ เพื่อความปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น
2.     ผู้ขับขี่ควรปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องมารยาทในการขับรถและกฎจราจร    ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนการขับรถ ไม่ใช่แค่ให้เหยียบคันเร่งอย่างเดียว
3.     ตรวจสอบพื้นที่ที่ผุ้หัดขับรถจะใช้ในการฝึกโดยต้องแน่ใจว่าที่ฝึกนั้นปลอดภัย ไม่อยู่ใกล้ บริเวณเพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้
4.     ผู้ขับมือใหม่ไม่ควรมักง่ายโดยการฝึกขับรถในบริเวณตัวบ้านในบ้านหรือบริเวณที่มีเด็ก
5.     หากผู้ขับขี่เริ่มฝึกขับรถและสนใจที่จะทำประกันรถยนต์ด้วยควรเลือกประกันรถยนต์ชั้น 1 ดีกว่าประกันชั้น 3
6.     เมื่อผู้สอนโบกรถ หรืสอนให้ถอยรถ ไม่ควรยืนอยู่ด้านหลังรถหรือแนวเดียวกับรถ ซึ่งผู้หักขับอาจจะถอยรถมาชนผู้สอนได้ ควรยืนด้านข้างของรถ
ต้องรอบรู้
ผู้ขับขี่ต้องมีความรอบรู้ในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นเพราะจะได้รู้วิธีการแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุนั้นขึ้น ซึ่งสาเหตุหลัก ของอุบัติเหตุจะมี 4 เรื่องหลัก คืออุบัติเหตุจากบุคคล ยานพาหนะ วิศวกรรมการจราจร และสภาพแวดล้อม

อุบัติเหตุจากสภาพแวดล้อม
อุบัติเหตุนั้นอาจจะไม่ได้เกิดจากตัวผู้ขับขี่เองก็ได้ แต่อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมได้เองเช่นกันอย่างเช่น อุปกรณ์ความปลอดดภัยชำรุด ได้แก่ ป้ายเตือนชำรุด ป้ายบังคับไม่มี  สีทาถนนจางมองยาก และไฟส่องทางชำรุด

การตัดสินใจ
ผู้ขับขี่ควรฝึกการตัดสินใจในการขับรถ ซึ่งจะทำให้เราคาดการณ์ล่วงหน้าในสถานการณ์นั้น ได้เช่น เมื่อขับรถแล้วเห็นทางแยกข้างหน้า ต้องชะลอความเร็วแล้วเตรียมพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันที เป็นต้น
ขับรถไม่ประมาท
แม้ว่าความรู้ปละประสบการณ์ในการขับรถจะเป็นตัวช่วยสำหรับการตัดสินใจในการขับขี่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความไม่ประมาท ไม่คึกคะนองและขับรถมีมารยาท โดยมิใช่ทำเพราะกลัวใบสั่งหรือตำรวจ แต่ต้องทำด้วยจิตสำนึกของเราเอง

อย่าอวดเก่ง
เมื่อผู้ขับขี่เริ่มขับรถได้ ควรพึงระลึกเสมอ อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งสาเหตุอาจไม่ได้มาจากตัวเรา แต่อาจมาจากผู้ขับขี่คนอื่นทางที่ดีที่สุดคือ ตั้งตนให้อยู่ในความไม่ประมาทตลอดเวลา

น้ำมันเครื่องสำรอง
ก่อนออกเดินทาง ผู้ขับขี่ต้องตรวจสอบว่าน้ำมันเครื่องมีพอใช้หรือไม่ หากไม่พอก็ควรเติมให้ถึงเกณฑ์มาตรฐาน และถ้าเป็นไปได้ผู้ขับขี่ควรมีติดรถสำรองไว้

หม้อน้ำ
ผู้ขับขี่ต้องตรวจปริมาณน้ำในหม้อน้ำให้อยู่ในระดับมาตรฐานเสมอ

น้ำกลั่น
ผู้ขับขี่ต้องคอยตรวจสอบน้ำกลั่นในหมอ้แบตเตอรี่ ให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้และควรมีน้ำสำรองเก็บไว้ด้วย

แจ้งไว้ก่อน ก่อนเดินทาง
หากผู้ขับขี่มีแผนที่จะเดินทางไกล ควรแจ้งหมายกำหนดการของผู้ขับขี่ให้ผู้ที่อยู่ที่บ้านและปลายทางให้ทราบ เพื่อตรวจสอบเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน หรือเห็นว่าเดินทางล่าช้ากว่าปกติ และเมื่อถึงปลายทางก็ควรแจ้งทางบ้านให้ทราบอีกครั้งด้วย

อย่าหยุดแวะรับคนข้างทางโดยไม่จำเป็น
สังคมปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีอยู่แทบทุกแห่ง เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง หากเจอคนแปลกหน้าข้างทางในที่เปลี่ยว อย่าหยุดรถหรือแวะรับโดยไม่จำเป็นอย่างเด็ดขาด
         
ปลอดภัยไว้ก่อน
เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่มิจฉาชีพหมักใช้ในการหากิน ผู้ขับขี่อาจโดนรถมิจฉาชีพแกล้งขับชนท้ายเพื่อให้ท่านลงมาเจรจาแล้วใช้อาวุธปืนจี้ปล้นไม่ควรหยุดรถ แต่ควรเดินทางต่อไปเล็กน้อยจนถึงป้อมตำรวจ

สถานที่ที่ไม่ควรแซง
การแซงรถนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้เสมอ ฉะนั้นผู้ขับขี่ไม่ควรแซงในเส้นทางเหล่านี้  เช่น ตรงทางแยก เพราะรถที่ถูกแซงอาจเปลี่ยนใจเลี้ยวรถกะทันหันได้หรือ แม้แต่การแซงบนเนินเขาเพราะรถที่สวนมาจะมองไม่เห็น เป็นต้น

เมื่อสุนัขวิ่งตัดหน้ารถ
กรณีที่มีสุนัขวิ่งตัดหน้ารถแล้วผู้ขับขี่ชะลอรพไม่ทันให้ใช้วิธีขับต่อไปเลย อย่าหักหลบเพราะจะทำให้รถเสียหลักแต่ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น ควาย วัว ม้า เป็นต้นไม่ควรกดแตรหรือเร่งเครื่อง เพราะจะทำให้สัตว์เหล่านั้นตกใจ

กรณีฝากระโปรงรถเปิด
หากเกิดกรณีฝากระโปรงรถเปิดกะทันหันจนทำให้มาบังกระจกหน้ารถทำให้ทัศนวิสัยด้านหน้ามองไม่เห็น ผู้ขับขี่ควรชะลอรถไม่ควรหยุดรถทันทีเพราะทำให้รถคันหลังที่ขับตามมาชนได้จากนั้นจึงค่อย จอดรถเข้าข้างทางแล้วแก้ไขให้เรียบร้อย

ความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ
หากผู้ขับขี่ขับรถแล้วรู้สึกว่ารถร้อนสูงขึ้นผิดปกติ โดยให้ดูจากเข็มบอกความร้อนให้รีบลดความเร็วลง แล้วนำรถเข้าข้างทาง จากนั้นจึงตรวจรอยรั่วหม้อน้ำ ข้อต่อยางต่าง  หากมีน้ำพอให้ใช้น้ำราดลงหม้อน้ำได้เลย แต่หากมีไม่พอต้องรอให้เครื่องเย็นแล้วจึงค่อยเติมน้ำลงในหม้อน้ำ

ที่ปัดน้ำฝนไม่ทำงาน
หากที่ปัดน้ำฝนไม่ทำงาน กรณีฝนตกไม่หนักให้ผู้ขับขี่นำรถเข้าอู่แต่ถ้าฝนตกหนักผู้ขับขี่ไม่ควรขับรถต่อไป ควรจอดรถรอให้ฝนหยุดตกแล้วจึงค่อยเดินทางต่อจึงจะปลอดภัย

อย่าขับตามรถคันหน้าในระยะใกล้เกินไป
การที่เราขับตามรถคันหน้าใกล้มากเกินไป เป็นการเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะเราไม่รู้ว่าข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ฉะนั้นผู้ขับรถควรจะทิ้งระยะห่างกับรถคันข้างหน้าอย่างน้อย 2 วินาที ในกรณีที่ถนนแห้ง แต่ถ้าในวันที่มีฝนตก ซึ่งเป็นวันที่มีทัศนวิสัยแย่และถนนลื่น ทำให้ชะลอหรือหยุดรถได้ยาก ดังนั้นจึงควรที่จะทิ้งระยะห่างไว้สัก 4 วินาที เพื่อความปลอดภัย

ควรมองกระจกหลังทุก 10 วินาที
การมองกระจกหลังทุก 10 วินาทีไม่ใช่หันไปมองโดยการเหลือบอย่างเร็วแต่เป็นการมองเพื่อให้ทราบว่าข้างหลังเป็นอย่างไรมีรถคันอื่นอยู่หรือไม่อยู่ห่างจากรถของเรามากแค่ไหน หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นเราจะได้หลบเลี่ยงทัน

ระวังพวกเมาแล้วขับ
แม้ว่าตัวผู้ขับขี่เองไม่ได้เมาแล้วขับแต่ก็อย่าลืมว่าผู้ขับขี่คนอื่นก็อาจจะเป็นประเภทเมาแล้วขับก็ได้พยายามอยู่ห่างจากรถที่ขับแบะสะเปะสะปะ โดยเฉพาะช่วงสุดสัปดาห์เป็นเวลาเที่ยวของหลาย คน ให้แน่ใจว่าได้ทิ้งระยะห่างพอควรจากรถของพวกที่เมาแล้วขับ



ตรวจสอบและป้องกันปัญหาเครื่องร้อน
เป็นที่หวาดกลัวของผู้ขับขี่เพราะหากนำรถไปซ่อมไม่ทันจะเสียค่าใช้จ่ายมาก ฉะนั้นการป้องกันอันดับแรก ผู้โดยเฉพาะการเผาไหม้ของเครื่องยนต์


การขับรถให้ประหยัดพลังงาน
การขับรถอย่างถูกวิธีนอกจากจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยแล้วยังช่วยอนุรักษ์พลังงาน    และลดความสิ้นเปลืองของการใช้เชื้อเพลิงอีกด้วย
-       ไม่ควรติดเครื่องขณะจอดรถคอย กรณีที่จอดรถคอยเป็นเวลานาน     ควรจะดับเครื่องยนต์เสียเพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและเชื้อเพลิงโดยไม่มีประโยชน์
-       ไม่เร่งเครื่องก่อนออกรถ จะทำให้เปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นโดยไม่มีความจำเป็น เพราะทำให้เครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูง ดังนั้นความต้องการน้ำมันและเชื้อเพลิงก็ต้องสูงตามไปด้วย
-       ขับรถที่ความเร็วเหมาะสม หากผู้ขับรถด้วยความเร็วสูง ก็จะใช้ปรมาณเชื้อเพลิงที่สูงไปด้วย ดังนั้นผู้ขับขี่รถด้วยความเร็วที่เหมาะสม คือ   ประมาณ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่หากขับที่ความเร็ว 110 กิโลเมตร / ชั่วโมง จะใช้น้ำมันมากขึ้นถึงร้อยละ 17 เลยทีเดียว
-       ใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบ ความเร็วรอบของรถยนต์ย่อมสัมพันธ์กับความเร็วของรถยนต์ ผู้ขับขี่ไม่ควรใช้เกียร์ต่ำที่ความเร็วรอบสูงหรือใช้เกียร์สูงที่ความเร็วรอบต่ำ เพราะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเนื่องจากกำลังเครื่องตก
-       การใช้เครื่องปรับอากาศการเปิดเครื่องปรับอากาศจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 หากเป็นไปได้ผู้ขับขี่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็นและไม่ปรับให้เย็นจนเกินไป
-       ไม่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไปหากผู้ขับขี่บรรทุกน้ำหนักเกิน  50  กิโลกรัมจะทำให้ระยะทางที่ได้จากน้ำมัน 1 ลิตร ลดลง  1  กิโลเมตร  ฉะนั้นก่อนสตาร์ทรถผู้ขับขี่ควรตรวจสอบสิ่งของในรถดูว่ามีสิ่งไม่จำเป็นอะไรบ้างแล้วจึงค่อยนำออกจากรถ
-       ตรวจเช็คสภาพรถยนต์เป็นประจำ เพื่อเป็นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ของรถยนต์ไม่ให้สึกหรอ นอกจากจะทำให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยแล้ว  ยังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย
-       ตกแต่งรถ การแตกแต่งรถบางอย่างถือเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานเช่นกัน อย่างเช่น การขยายหน้ายางล้อรถให้ใหญ่กว่าปกติ เป็นการเพิ่มพื้นที่การรับน้ำหนักของรถเมื่อต้องเพิ่มอัตราเร่ง ทำให้เครื่องยนต์ใช้ความเร็วรอบสูงกว่าปกติ
-       การสตาร์ทเครื่องยนต์ ผู้ขับขี่บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนเป็นเวลาประมาณ 5  วินาที หากเครื่องไม่ติดให้ทิ้งช่วงห่างประมาณ  30  วินาที จึงค่อยสตาร์ทเครื่องใหม่ ถ้าใช้โช๊กให้ปิดโช๊กทันทีเมื่อเครื่องติดเพื่อเป็นการประหยัดเชื้อเพลิง
-       สลับยาง เป็นวิธีการดูแลรักษายางที่สำคัญเพราะจะช่วยรักษาคุณภาพของยางให้ใช้ได้นานยิ่งขึ้น การสลับยางต้องทำให้ถูกวิธี และทำในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม โดยต้องทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตรถหรือยาง
-       ไม่เหยียบเบรกแช่ไว้ตลอดเวลา หากกรณีที่รถติดไฟแดงเป็นเวลานาน   ไม่ควรเหยียบเบรกไว้ตลอดเวลา ผู้ขับขี่ควรจะใส่เบรกมือไว้ นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าของขาแล้ว ยังช่วยยืดอายุของหลอดไฟเบรก และสวิตช์ไฟเบรก ตลอดจนช่วยประหยัดพลังงานของผู้ขับขี่
-       เติมน้ำมันให้คุ้มค่า  หากผู้ขับขี่เติมน้ำมันก่อน 9 โมงเช้า เราจะได้น้ำมันเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2 เพราะเมืออุณหภูมิลดลงน้ำมันจะหดตัวลงในทำนองเดียวกันหากเติมน้ำมันควรเติมแค่ระดับหัวจ่ายก็พอแล้ว   เพราะหากเราเติมจนเต็มปรี่ เมื่ออากาศร้อนน้ำมันจุขยายตัวทำให้เกิดการระเหยทิ้งที่รูระบาย
-       การออกตัวรถกับความเร็วรอบของรถการออกรถที่ความเร็วรอบที่   1,000 – 2,000 รอบ จะเป็นการออกรถที่นิ่มนวล ประหยัดน้ำมัน และยังช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ ส่วนการออกเกียร์ต่อไปควรอยู่ที่ 2,500  รอบขึ้นไปเพราะการลากเกียร์จะทำให้เกียร์ทำงานหนักและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
-       พักรถทุก 15 นาที ควรหยุดพักรถทุก 15 นาที เมื่อผู้ขับขี่ขับรถเกิน 4    ชั่วโมง เพื่อเป็นการทำให้ความร้อนของเครื่องยนต์ลดลง เป็นผลให้น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเชื้อเพลิงมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น
-       เกียร์ถอยหลัง เกียร์ที่ใช้น้ำมันเปลืองมากที่สุดคือ เกียร์ถอยหลัง ผู้ขับขี่ควรค่อย ถอยหลังไม่เร่งเครื่องยนต์มากเกินไป เพราะเกียร์ถอยหลังจะใช้แรงฉุดมากกว่าทุกเกียร์
-       ไม่เบรกรถโดยไม่จำเป็น ผู้ขับขี่ไม่ควรเบรกรถหรือหยุดรถโดยไม่จำเป็น โดยการทิ้งระยะห่างกับคันข้างหน้าให้ได้ระยะที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำมัน และไม่สิ้นเปลืองผ้าเบรกอีกด้วย

เกร็ดความรู้
เมื่อต้องนำรถยนต์ไปตรวจสภาพควรนำรถเข้าศูนย์หรืออู่เพื่อตรวจสภาพ หาสาเหตุ   เมื่อรถยนต์มีอาการดังต่อไปนี้
-       เสียงเครื่องยนต์ดังผิดปกติ ดังจนเกินไป และตัวรถมีอาการสั่นสะเทือนเกินกว่าปกติ
-       มีกลิ่นเหม็นมาจากห้องเครื่อง
-       เบรกมีปัญหา
-       พวงมาลัยหนัก เลี้ยวยากกว่าปกติ
-       มีน้ำมันหยดจากเครื่องยนต์ลงสู่พื้นมากกว่าปกติ
-       เกียร์ติดหรือมีเสียงดังขณะเข้าเกียร์
-       รู้สึกว่ารถสะเทือนเมื่อขึ้นหรือลงเนิน รู้สึกเหมือนมีแรงกระแทก
-       แตะเบรกเบา แต่เบรกตกและหลวม
-       รถสตาร์ทติดยาก ต้องสตาร์ทหลายครั้งกว่าจะติด
-       พวงมาลัยควบคุมได้ยากกว่าปกติเมื่อเลี้ยว พวงมาลัยหมุนไม่คล่องตามปกติ
-       รถกระตุก
-       เครื่องยนต์วิ่งค้างทั้งที่ดับเครื่องแล้ว
-       เปลี่ยนเกียร์ไม่ได้
-       เปลี่ยนเกียร์แล้วคลัตช์ติด


เมื่อรถสตาร์ทไม่ติด
1.     ถ้าบิดกุญแจแล้วมีเสียดังคลิ๊กแต่เครื่องไม่ติด อาจเป็นเพราะแบตเตอรี่หมด  หรือขั้วแบตสกปรก
-       ต้องตรวจดูว่าขั้วแบตเตอรี่แน่นหรือเปล่าแล้วทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่
-       ลองสตาร์ทรถด้วยสายพ่วง โดยต่อสายพ่วงกับขั้วแบตเตอรี่ของรถคันอื่น
-       ถ้าลองแก้ไขทุกวิธีแล้วไม่สำเร็จ คงต้องให้ช่างช่วยแก้ไข
2.     สตาร์ทแล้วเครื่องยนต์ไม่ติดและขณะนั้นฝนตก อาจเป็นเพราะฝาครอบจานจ่ายเปียกชื้น ต้องส่งให้ช่างตรวจสอบ                         
3.     บิดกุญแจสตาร์ทแล้วเครื่องติด แต่เครื่องเบาลงแล้วดับอาจเป็นเพราะกรองน้ำมันตัน หรือฝาครอบจานจ่ายเปียกชื้นหรือสึก หรือว่าคาร์บูเรเตอร์สกปรก ต้องแก้ไขด้วยการเติมน้ำมัน หรือส่งให้ช่างตรวจสอบ
4.     สตาร์ทไม่ติด แต่เครื่องยังมีเสียงดัง เหมือนจะติดอาจเป็นเพราะว่าหัวเทียนเสื่อมคอยล์เสื่อม หรือเป็นเพราะสภาพอากาศเย็น ต้องแก้ไขด้วยการตรวจสภาพวาล์วปีกผีเสื้อ หรือเรียกช่างมาแก้ไข
5.     สตาร์ทรถแล้วเครื่องยนต์เงียบ อาจเป็นเพราะแบตเตอรี่หมด ต้องเปลี่ยนแบตใหม่ หรือสตาร์ทด้วยสายพ่วงกับแบตตัวอื่น

สัญญาณไฟเตือน
หากเห็นไฟแดงเตือนขึ้นที่แผงหน้าปัด ต้องตรวจดูว่าเป็นไฟเตือนของอะไร จะได้แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที

น้ำมันหล่อลื่น
ถ้าน้ำมันหล่อลื่นหมด ยังฝืนขับรถต่อไป จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย
สิ่งที่ควรทำก็คือ จอดรถ ดับเครื่องแล้วเรียกช่าง หรือบริการรถลาก  เพื่อนำรถไปเข้าอู่

เครื่องยนต์ร้อนเกินพิกัด
-       ปิดแอร์
-       เปิดหน้าต่างรถ
-       อย่าแตะเบรก
-       นำรถเข้าจอดข้างทาง   จากนั้นเข้าเกียร์ว่าง   แล้วลองเร่งเครื่อง

สิ่งผิดปกติที่ต้องหมั่นสังเกต
-       ต้องหมั่นสังเกตเสียงผิดปกติ   ขณะใช้รถ  สังเกตว่าเสียงที่ดังนั้นมาจากตรงส่วนไหน  เพื่อแก้ไขให้ตรงจุด
-       ถ้าได้ยินเสียงแหลม    หรือเสียงเสียดสีดังเมื่อมีการแตะเบรกต้องรีบให้ช่างตรวจดู  เพราะเบรกอาจมีปัญหา
-       ถ้ามีกลิ่นไหม้มาจากกระโปรงรถ   อาจเกิดจากท่อสูบน้ำละลาย   น้ำมันหล่อลื่นอยู่ในระดับต่ำ  หรือน้ำมันหล่อลื่นเกิดการรั่ว
-       ถ้าใต้ฝากระโปรงมีเสียงดัง   อาจเกิดจากท่อหม้อน้ำรั่วควรจอดรถเพราะรถอาจเกิดความร้อนสูง
-       ถ้ามีเสียงหวีด     แหลม    จากยาง   อาจเกิดจากยางพองตัว   หรือยางสึกหมดสภาพ  ระวังยางอาจระเบิดได้
-       ถ้าเหยียบคันเร่งแล้วเกิดเสียงแหลม   อาจเกิดจากสายพานแอร์หรือว่าไดชาร์จมีปัญหา
-       ถ้ามีกลิ่นเหม็นอาจเป็นเพราะการทำงานของเครื่องกรองมลพิษมีปัญหา
-       ถ้ามีน้ำสีแดงไหลนองอยู่ใต้รถ    อาจเป็นเพราะพวงมาลัยแบบเพาเวอร์รั่ว
-       ถ้ามีน้ำสีเหลืองไหลนองอยู่ใต้รถ   อาจเป็นเพราะระบบความเย็นรั่ว
-       ถ้ามีน้ำสีดำไหลนองอยู่ใต้รถ   อาจเป็นเพราะน้ำมันหล่อลื่นรั่ว
-       ถ้าท่อไอเสียมีควันดำ   อาจมีปัญหาที่คาร์บูเรเตอร์
-       ถ้าพวงมาลัยสั่น   อาจเป็นเพราะยางรองรับแท่นชำรุดหรือขาด  หรืออาจเป็นเพราะลูกหมากหลวม  หรือลูกปืนสึก
-       ถ้าได้ยินเสียงดังบริเวณใต้แป้นคันเร่ง   ให้รีบนำรถไปเช็คสภาพเพราะอาจเป็นเพราะปะเก็นแตก
-       ถ้ารถมีเสียงดังซู่    บริเวณใกล้     คาร์บูเรเตอร์   อาจเป็นเพราะปะเก็นรั่ว   เครื่องฟอกอากาศหลวม  หรือข้อรัดหม้อเบรกลมรั่ว

ข้อควรรู้ในการซื้อรถมือสอง
สิ่งที่ต้องตรวจสอบในการซื้อรถยนต์ใช้แล้วที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้
-       ตรวจสภาพราคากับสภาพของรถว่าเหมาะสมหรือไม่
-       ตรวจสอบประวัติของเจ้าของรถคันเดิม เพราะรถควรเป็นรถที่สามารถตรวจสอบเจ้าของคนเดิมได้ทั้งชื่อและนามสกุลจริง และที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
-       ตรวจดูสมุดคู่มือรถ เพื่อดูประวัตินำรถเข้าตรวจสภาพตามศูนย์บริการ
-       เปิดแอร์เพื่อทดสอบระดับความเย็น
-       สตาร์ทรถ เพื่อตรวจสภาพการทำงานของเกวัด
-       พาช่างเครื่องที่ไว้ใจได้ ไปดูสภาพรถ และเครื่องยนต์ว่ารถคันนั้นเคยชน หรือเคยทำสีมาหรือไม่
-       ตรวจดูช่วงล่าง จุดต่องซ่อมแซมอื่น ตรวจดูสภาพตัวถึง มีรอยผุหรือไม่
-       ตรวจดูการทำงานของแป้นเบรก คลัตช์ คันเร่ง
-       ตรวจไฟหน้า- หลัง ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ไฟแผงหน้าปัด ไฟฉุกเฉินไล่ฝ้า  และที่ปัดน้ำฝน ตรวจดูว่าส่วนไหนไม่ทำงานบ้าง
-       ตรวจดูว่ามีสนิมตามตัวถังหรือบริเวณอื่นหรือไม่
-       ให้ช่างตรวจดูสภาพของโช๊คอัพ สภาพตัวถัง โครงประตู ล้อ หม้อน้ำ  สายพาน และส่วนต่าง ของเครื่องยนต์โดยเฉพาะระบบไฟ

เทคนิคการขับขี่
-       การขับรถลงเนินอย่าปลดเกียร์ว่าง เพราะรถจะยิ่งแล่นลงเร็ว และควบคุมได้ยาก   ดังนั้นควรใช้เกียร์ต่ำในการขับรถลงเนินจะดีกว่า
-       การขับรถเข้าทางโค้ง ควรลดความเร็วลง หรือแตะเบรก เพื่อช่วยควบคุมรถและเพื่อความปลอดภัย
-       ขับรถเลนซ้ายเสมอ ถ้าถนนสายนั้นไม่มีเส้นแบ่งช่องทางจราจร ถ้าจะเลี้ยวขวาก็ควรเปลี่ยนช่องทางแต่เนิ่น เพื่อความสะดวกในการเลี้ยว
-       เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้วครั้งหนึ่ง ควรเว้นช่วงสักนิด จึงค่อยเปลี่ยนเกียร์อีก อย่าเข้าเกียร์ติดกันเกินไป จะทำให้เกียร์พังชำรุดได้ง่าย
-       สำหรับเกียร์ออโต้ ให้เกียร์อยู่ที่ตำแหน่ง P หรือ N จึงค่อยสตาร์ทเครื่องแล้วจึงค่อยโยกเกียร์ไปที่ D อย่าเหยียบคันเร่งแรงเกินไปเพราะจะทำให้รถกระตุก
-       ให้สัญญาณเลี้ยวขวาก่อนเข้าวงเวียน เมื่อขับรถเข้าวงเวียนแล้วให้ใช้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย
-       เมื่อขับรถเข้าทางโค้ง อย่าขับแซงรถคันอื่นเป็นอันขาดเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
-       การขับรถเข้าทางโค้งที่โค้งมาก หรือโค้งหักศอก ให้ลดความเร็วเพื่อป้องกันการหลุดโค้ง ขับชิดถนนด้านใน อย่าเหยียบเบรกบนทางโค้ง
-       ขับรถไปต่างจังหวัด หากขับผ่านภูเขา ให้ขับโดยใช้เกียร์ต่ำอย่าเปลี่ยนเลนหรือแซงคันหน้า เวลากลางคืนควรเปิดไฟสูงถ้ามองอีกด้านไม่ชัดเจนเพราะภูเขาบัง
-       อย่าขับรถตามรถขนาดใหญ่เป็นเวลานานให้หาช่วงแซง ถ้าสามารถทำได้ ก่อนแซงต้องเปิดสัญญาณไฟเลี้ยวเพื่อให้สัญญาณกับรถคันหลัง
-       การแซงรถควรขับเร่งเครื่องจนแซงคันหน้าได้สักระยะหนึ่ง แล้วจึงค่อยนำรถเข้าช่องทางเดิม อย่าแซงแล้วหักเข้าเลนเดิมทันทีเพราะอาจเสียหลัก และรถคันที่ถูกเราแซงก็จะเสียหลักด้วย
-       อย่าเบรกในระยะกระชั้นชิด ควรลดความเร็ว ก่อนแล้วแตะเบรกเบา ก่อนเพิ่มแรงกดเพื่อหยุดรถให้สนิท
-       เมื่อถนนลื่นต้องลดความเร็ว และแตะเบรกเบา ย้ำหลาย ครั้งเพื่อป้องกันรถลื่นไถล
-       ก่อนเบรกควรแตะเบรกเบา แล้วเหยียบคลัตช์ก่อนกดน้ำหนักลงบนแป้นเบรกเพื่อหยุดรถ
-       ในการแซงรถคันหน้าควรเปลี่ยนเกียร์ก่อน อย่าเปลี่ยนเกียร์ขณะแซง  เพราะจะแซงไม่ทันเร่งความเร็วไม่ได้

การขับขี่อย่างปลอดภัย                                                     
-       คาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ แม้ว่าจะขับไปในระยะใกล้ 
-       มีกุญแจสำรองติดตัวไว้ เพื่อป้องกันการลืมกุญแจไว้ในรถ หรือทำหล่นหาย
-       ล๊อกประตูทุกครั้งที่อยู่ในรถไม่เสียบกุญแจทิ้งไว้ในรถแม้จะออกไปเพียงแค่ไม่นานก็ตาม
-       ก่อนลงจากรถ ต้องตรวจตราให้เรียบร้อยว่าได้ปิดหน้าต่างทุกบานสนิทดี และล๊อกรถดีแล้ว
-       ซื้อที่ล๊อกเกียร์มาใช้แล้วล๊อกเกียร์ทุกครั้งที่จอดรถหรือติดสัญญาณกันขโมย
-       อย่าทิ้งทรัพย์สินหรือของมีค่าไว้ในรถจะเป็นเหตุจูงใจให้มิจฉาชีพงัดแงะหรือขโมยรถ
-       เมื่อเข้าไปนั่งในรถแล้วให้ล๊อกประตูทันที แม้ว่ายังไม่สตาร์ทรถออกไปจากตรงนั้นก็ตาม
-       เติมน้ำมันไว้ก่อนเสมอ อย่ารอให้น้ำมันหมดจนเข็มตกแล้วจึงค่อยเติม   เพราะถ้ามีเหตุฉุกเฉิน เช่น รถติดเป็นเวลานาน น้ำมันอาจหมดกลางทางได้
-       ไม่ควรจอดรถไว้ที่เปลี่ยว ควรสละเวลาสักนิดเพื่อวนหาที่จอดที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงอันตรายเกินไป
-       ตรวจดูเบาะหลังก่อนเข้าไปนั่งในรถ เพราะอาจมีคนร้ายงัดแงะรถเข้ามาแอบซุ่มอยู่
  
เครื่องมือและอุปกรณ์ประจำรถ
ในรถควรมีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ที่จำเป็นไว้สำหรับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น
1.     แม่แรง เป็นสิ่งสำคัญควรมีติดรถไว้เป็นประจำสำหรับการถอดล้อ เมื่อยางแบนหรือรั่วในชุดของแม่แรงจะมีกากบาทที่เป็นตัวขันน๊อตล้อด้วยควรหาซื้อ ถ้าบริษัทผู้ผลิตไม่มีติดมาให้
2.     คีมตัด เป็นเครื่องมือสำหรับการตัดสายไฟลวดต่าง ควรมาหลาย  แบบ
3.     ไขควง  ควรจะมีไว้ทั้งปากตายและปากแฉก และควรมีไว้หลายขนาด ทั้งเล็กและใหญ่
4.     ประแจปากตาย เครื่องมือสำหรับรถโดยเฉพาะ ควรจะมีเป็นชุด ชุดหนึ่งประมาณ 6 ตัว
5.     ไขควงทดลองไฟ ใช้สำหรับวัดกระแสไฟ
6.     สายแบตเตอรี่ สำหรับไว้ใช้ในกรณีชาร์จไฟ เมื่อแบตเตอรี่หมด
7.     น้ำกลั่นแบตเตอรี่ ติดรถไว้สำหรับการเติมน้ำกลั่น เมื่อระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ลดลง
8.     น้ำมันเบรก ใช้ในกรณีน้ำมันเบรกมีระดับลดลงคอยเติมน้ำมันเบรกในถ้วยให้อยู่ถ้วยใช้ประมาณ 1 กระป๋อง
9.     น้ำมันเครื่อง มีติดไว้กรณีฉุกเฉิน ถ้าน้ำมันเครื่องเกิดหมด ต้องเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้กับเครื่องยนต์
10.  น้ำ มีไว้สำหรับเติมหม้อน้ำ
11.  ไฟฉาย ใช้ในกรณีที่ต้องซ่อมรถ ในตอนกลางคืน
12.  ถุงมือ ไว้สำหรับใส่เมื่อเวลาแก้ไขรถยนต์
13.  เชือกสำหรับลากจูง มีไว้สำหรับในกรณีรถเสียเครื่องยนต์ขัดข้อง จะได้ใช้เชือกสำหรับพ่วงลากกับรถคันอื่น หรือช่วยรถคันอื่น ในกรณีประสบเหตุ
14.  ชุดปฐมพยาบาล มีไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
15.  อะไหล่อื่น ที่จำเป็น เช่น หัวเทียน ยางอะไหล่ฟิวส์ เทปพันสายไฟ   อุปกรณ์ดับเพลิง ถังบรรจุน้ำเปล่า ถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง สเปรย์กำจัดความชื้น  หลอดไฟ  ชุดปะยาง  ฯลฯ