กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กล้องโทรทัศน์วงจรปิด กับองค์ประกอบของการทำงานรวมกัน กล้องวงจรปิด

กล้องโทรทัศน์วงจรปิด  

กับองค์ประกอบของช่างกล้องวงจรปิดในการทำงานรวมกัน

การรู้จักและเข้าใจตนเอง การทำความเข้าใจในศักยภาพของตนเองทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ เพื่อให้รู้จักจุดเด่น จุดด้อย ความต้องการหรือเป้าหมายในการดำเนินชีวิต 

 และรู้จุดที่ควรปรับปรุง ควรเริ่มต้น เพื่อการพัฒนาให้ดียิ่งข้ขึ้น การรู้จักตนเองทำให้ยอมรับในคุณค่าของตน นับถือความสามารถของตนเอง จะนำไปสู่ความพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและประสบความสำเร็จในชีวิต




การรู้จักและเข้าใจผู้อื่น การเรียนรู้ธรรมชาติของแต่ละคน และรับรู้ในความต้องการของผู้อื่น เข้าใจลักษณะบุคลิกภาพของคนที่มีความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน 

 เป็นผลมาจากลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละคน ซึ่งการรู้จักและเข้าใจผู้อื่นจะนำไปสู่การยอมรับกันและกัน และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

การรู้จักและเข้าใจสภาพแวดล้อม สิ่งที่อยู่รอบตัวเราไม่ว่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งคนและกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต และการสร้างมนุษยสัมพันธ์ 

 การรู้จักและเข้าใจสภาพแวดล้อมจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้ และกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์

1. ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มสังคมและองค์กร สามารถก่อให้เกิดพลังสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม

2. ทำให้เกิดการบริหารงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน ทำให้กระตื้อรื้อร้นในการทำงาน งานจึงประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

3. เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นศักยภาพของบุคคล ก่อให้เกิดการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องระหว่างบุคคลได้ และเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ

4. ทำให้เกิดสังคมที่น่าอยู่ ทำให้คนในสังคมมีความสุข สุขภาพจิตดี องค์กรมีความมั่นคง และเจริญก้าวหน้า

5. เป็นปัจจัยที่สำคัญในการประสานประโยชน์สังคม และป้องกันรวมทั้งแก้ไขปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองได้

6. ส่งเสริมให้เกิดวิถึชีวิตแบบประชาธิปไตย การทำตนเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะทำให้แต่ละคน ยึดมั่นในหลักการ ปัญญาธรรม และสามัคคีธรรม 

 ตระหนักในความสำคัฐของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รู้คุณค่าในตนเองและผู้อื่นนำไปสู่ความร่วมมือในการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลชองงาน

7. สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันของคนที่อยู่ร่วมกัน ทำให้สังคมปกติสุข สมาชิกสังคมมีความสุข และสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่สังคม

8. การนำมนุษย์สัมพันธ์ไปใช้ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพภายในองค์กร จะทำให้เกิดการเอื้ออำนวยให้สมาชิกในองค์กรและการประสานงานระหว่างกลุ่มมีความร่วมมือกันได้อย่างดีที่สุด สร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิก และเพิ่มความสามารถทางการผลิตเพิ่มขึ้น


 

หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์


 

กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาสังคม ประกอบด้วย ทฤษฏี ระบบ ความรู้ หลักการทางจิตวิทยาและธรรมชาติของมนุษย์จะต้องนำไปประพฤติประฏิบัติ ซึ่งถือเป็นศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละคน 

 มนุษย์สัมพันธ์จึงเป็นศิลป์ เป็นทักษะที่เกิดจากการฝึกฝน ความมีไหวพริบ และวิจารณญาณของบุคคล เพื่อสร้างความพึงพอใจร่วมกัน คนแต่ละคนย่อมมีความสามารถทางทักษะ 

 และกลวิธีในการติดต่อกับผู้อื่นแตกต่างกันและไม่เท่าเทียมกัน มนุษย์สัมพันธ์มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จในชีวิตได้ ดังนี้

1. คนบางคนไม่เคยเรียนรู้เรื่องการอยู่ร่วมกัน แต่มีนิสัยรักเพื่อนพ้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตสาธารณะ ทำให้เป็นที่รักของคนในกลุ่ม 

 และเมื่อได้ทำงานในองค์กรก็มักจะเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานและมีผู้คอยช่วยเหลือเกื้อหนุน และหลายครั้งเพื่อนได้หยิบยื่นโอกาสในความก้าวหน้าให้ 

 การมีอัธยาศัยดีและมีความรับผิดชอบ ทำให้สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความเฉลียวฉลาดหรือเก่งทางด้านใดด้านหนึ่ง

โดยเฉพาะ แต่สามารถสร้างมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน

2. คนที่มีความสามารถและเก่งทางสติปัญญา จะประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและการทำงานมากกว่าคนอื่น แต่ต่อมาพบว่าผู้ที่มีสติปัญญาดีกลับมักมีเรื่องกระทบกรทั่งกับเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ 

 ทำให้หน่วยงานไม่สามารถแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้างานได้เพราะไม่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในหน่วยงาน จึงต้องให้คนๆ นั้นไปทำงานด้านอื่นที่ไม่ต้องพบปะหรือประสานงานกับใครมากนัก 

 ใช้แต่ความฉลาดหรือความสามารถนั้นไปเรื่อย ๆ

3. ทักษะหรือศิลปะในการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน คนที่มีมนุษยสัมพันธ์จึงประกอบด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสมทั้งกายและใจ วาจา ที่จะโน้มน้าวคนอื่นหรือกลุ่มคนให้เกิดความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ

 อยากร่วมมือทำงาน รักใคร่ ศรัทธา และมีความนับถือกันและกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข

เทคนิคในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

1. วางตัวให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

2. ความสำคัญของการให้อภัย รับผิดชอบ แสดงความเห็นใจผู้อื่น และการเข้าใจผู้อื่นเสมอ

3. รู้จักยกย่อง ชมเชย และให้เกียรติผู้อื่น

4. ยิ้มแย้มแจ่มใสและมีความจริงใจต่อกัน

5. มีความจริงใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา และไม่เห็นแก่ตัว

6. สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะตามมารยาทในสังคม

7. มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ แบ่งปัน และมีจิตสาธารณะ

8. เคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ยุทธวิธีในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ 


 
กล้องโทรทัศน์วงจรปิด


การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ตามหลักการ “การรู้จักกและเข้าใจผู้อื่น” โดยทั่วไปคนเรามีความต้องการพื้นฐานคล้ายคลึงกัน คือ ความต้องการในปัจจัย 4 ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย 

 และความมั่นคงในชีวิต พฤติกรรมของคนที่เราไม่ชอบก็ต้องคิดว่าผู้อื่นก็คงไม่ชอบเช่นกัน และคนเรายังมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม แนวทางในการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นมีวิธีปฏิบัติดังนี้

- ยอมรับและเคารพในความแตกต่างของคน รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากความแตกต่าง เราจึงควรแสดงออกถึงความเข้าใจและเห็นใจผู้อื่นที่มีความแตกต่างอย่างจริงใจ

- อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น มีความยืดหยุ่นในการดำเนินชีวิต ไม่ควรใช้มาตรฐานของตนเองตั้งเป็นกฏเกณฑ์ทางสังคม

- รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำใจให้ยอมรับกับความแตกต่างของคนได้อย่างสบายใจ

- ปรับปรุงตนเองเพื่อให้เข้ากับผู้อื่นและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ร่วมทั้งต้องอดทน อดกลั้น ควบคุมอารมณ์ และวางตนให้เหมาะสมกับอื่นในสังคม

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ตามหลักการ “รู้จักและเข้าใจตนเอง” มนุษย์สัมพันธ์เราเริ่มที่ตัวเอง ซึ่งจะต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม จึงต้องวิเคราะห์เพื่อให้รู้จักและเข้าใจตนเองเสียก่อน 

 เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาให้เป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้รู้จักและเข้าใจตนเองมีวิธีดังนี้

1. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเองอย่างไม่ลำเอียงทั้งในด้านลักษณะทางกายภาพ บุคลิกภาพ สถานภาพในสังคม และฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เข้าใจส่วนดีและส่วนที่บกพร่องของตนเองให้ชัดเจน

2. ยอมรับในผลของการศึกษาวิเคราะห์ และนำมาประเมินเพื่อแก้ไขและพัฒนา รวมทั้งตำหนิ ยกย่อง จากคนอื่นมาร่วมพิจารณา และแยกแยะให้ชัดเจนพร้อมที่จะปรับปรุงคนเองให้อยู่ร่วมกันกับคนอื่นได้

3. พิจารณาลักษณะนิสัย บุคลิก และสุขภาพทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ ของตนเองก่อนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

4. พิจารณาบทบาทของตนเองในสังคม วิเคราะห์การยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน และจากความคิดเห็นและการกระทำที่ตอบสนอง

5. การปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับตนเองและคนอื่น

6. การรู้จักประมาณตน มองโลกในแง่ดี ใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต มีอารมณ์ที่แจ่มใส และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม รวมทั้งปฏิบัติตนอย่างมีสติสัมปชัญญะ

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามหลักการ “คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” คนเรามีศักดิ์ศศรีและคุณค่าในตัวเองต้องการการยอมรับในสังคม 

 การแสดงพฤติกรรมที่ดีและเอื้ออาทรต่อกันย่อมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้ แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพื่อคิดถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ควรปฏิบัติดังนี้

1. การสร้างความเท่าเทียมกันในความเป็นคนด้วยการจดจำชื่อ นิสัย ตลอดจนสิ่งที่คนอื่นชอบทำหรือไม่ชอบทำได้

2. การแสดงกิริยาวาจาสุภาพกับผู้ที่มีความสัมพันธ์หรือผู้ที่มาติดต่อเกี่ยวข้องตามฐานะที่เหมาะสม

3. ยกย่องและให้เกียรติคนอื่น รวมทั้งแสดงไมตรีจิตต่อกันด้วยความจริงใจ

4. การที่เรารู้ส่วนดีของผู้อื่นและกล่าวยกย่องบุคลนั้นในชุมชน การทำในสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกภาคภูมิใจ

5. ไม่แสดงกิริยาหรือวาจาท่าทางดูถูกเหยียดหยามคนอื่น รวมทั้งกล่าวขอบคุณและขอโทษตามโอกาสที่ควรแสดงออกอย่างจริงใจ



 

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามหลักการ “ จูงใจ” กระบวนการสร้าง “การจูงใจ” เป็นจิตวิทยาเพื่อกระตุ้นให้คนแสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน และมีแนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ด้วยการจูงใจมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. การทำความรู้จักกับคนอื่นด้วยการทักทาย สอบถาม หรือพูดคุย เพื่อสร้างความเป็นกันเอง

2. การรู้จักบริการคนอื่น เพื่อสร้างความประทับใจหรือความสะดวกสบายให้กับคนอื่น

3. การทักทายกับผู้อื่นด้วยถ้อยคำสุภาพ หรือการส่งยิ้มเป็นการบ่งบอกถึงไมตรีจิตที่ดี เพื่อเป็นการสร้างเสน่ห์ให้แก่ตนเอง

4. แสดงถึงการมีน้ำใจต่อกันด้วยการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือแสดงความสนใจและเอาใจใส่ต่อผู้ร่วมงาน

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามหลักการ “รู้จักและเข้าใจสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่อยู่รอบตัว” การสร้างมนุษยสัมพันธ์ด้วยการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

1. การทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคนและกลุ่มคนที่เราต้องติดต่อด้วย เช่น ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ค่านิยม และทัศนคติของคน เพื่อรู้จักสภาพการณ์ที่แท้จริง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

2. พิจารณาเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน

3. พิจารณาและทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และปรับตนเองให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมใหม่ได้

4. มีความยืดหยุ่นและปรับให้เข้ากับสถานการณ์รอบตัว การทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดปัญหา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคมได้

5. รู้จักแบ่งปันความคิด สิ่งของ รู้จักให้และรับตามสมควรและตามความเหมาะสม และไม่ควรเอาเปรียบหรือมุ่งแต่ผลประโยชน์มากเกินไป



 

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน

ในการทำงานการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีถือเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากต่อองค์กร เพราะทุกคนต้องมีการประสานงานกันเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดหากขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

อาจก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานหรือความเสียหายต่อองค์กรได้ ในองค์กรมีบุคลากรมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ขนาดขององค์กรนั้น ๆ ความสำคัญส่วนใหญ่จะเป็นความสัมพันธ์แบบยึดถือระเบียบกฏเกณฑ์ 

 ซึ่งแต่คนมาจากต่างที่กันส่วนใหญ่ก็มารู้จักกันในที่ทำงานและใช้ความสัมพันธ์แบบส่วนตัวและอาจเป็นการรู้จักกันมาก่อน คนบ้านเดียวกัน จากสถาบันเดียวกัน หรือเกิดสนิทสนมกันเป็นการส่วนตัวก็ได้

ถ้าองค์กรใช้กฏระเบียบมากการทำงานก็อาจจะไม่ราบรื่น หรือถ้าองค์กรใดใช้ความเป็นกันเองมากเกินไปก็อาจเกิดความเสียหายได้ มนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงานแตกต่างจากมนุษยสัมพันธ์ในสังคมทั่วไป 

 หากบุคคลากรมุ่งที่จะสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพียงอย่างเดียวไม่คำนึงถึงกฏเกณฑ์ และองค์กร ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหาย มนุษยสัมพันธ์ในการทำงานจึงจำเป็นต้องเห็นถึงการทำหน้าที่ตามตำแหน่ง และการทำตนอยู่ในกรอบ ระเบียบ และกฏเกณฑ์ด้วย

ลักษณะขององค์กรที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

1. การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดตำแหน่งและหน้าที่ของบุคลากร มีขอบเขตและขั้นตอนของหน้าที่ มีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน

2. มีความเป็นประชาธิปไตยในการทำงาน บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบวิธีการทำงาน

3. มีความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน เชื่อถือและไว้วางใจกัน ให้เกียรติในความสามารถและตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกันและกัน

4. มีความสามัคคี ทุกคนต้องยอมรับว่างานขององค์กรจะประสบความสำเร็จได้ก็มาจากความสำเร็จของทุกคน ทุกภาคส่วนในองค์กร

5. มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสม การอยู่ร่วมกันต้องพึ่งพาอาศัยกัน จึงจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามความเหมาะสม

คุณสมบัติของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน

1. ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตรกับทุกคน

2. มีมิตรภาพกับคนอื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

3. แสดงน้ำใจแก่คนอื่น ๆ ในโอกาสอันเหมาะสม

4. เต็มใจร่วมงานกับผู้อื่น

5. มีน้ำใจช่วยเหลือการงาน

6. เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม

7. รับฟังความคิดเห็นของทุกคน

กล้องโทรทัศน์วงจรปิด

การมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชา

1. ให้ความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา

2. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับการมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ

3. สร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจแก่ผู้บังคับบัญชา

4. ศึกษาทัศนคติและแนวทางการทำงานของผู้บังคับบัญชาเพื่อนำมาปฏิบัติงาน

5. มีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาทั้งในหน้าที่การงานและส่วนตัว

6. ยกย่องสรรเสริญผู้บังคับบัญชาตามความเหมาะสมด้วยความจริงใจ

การมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานของผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา

1. ดูแลทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีขึ้น

2. ให้ความยุติธรรมกับผู้ใต้บังคับบัญชา

3. มีความโอบอ้อมอารี ไม่เอาเปรียบ

4. ยกย่องชมเชย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ

มนุษยสัมพันธ์ ความผูกพันการเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน การติดต่อหรือความผูกพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่างมนุษย์ด้วยกัน อาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและบุคคลหรือกับกลุ่มบุคคล

องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ การรู้จักและการเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น และการรู้จักและเข้าใจสภาพแวดล้อม

เทคนิคและยุทธวิธีในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามหลักการ “การรู้จักและเข้าใจผู้อื่น” “รู้จักและเข้าใจตนเอง” “คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” “จูงใจ” “การจูงใจ” “รู้จักและเจ้าใจสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่อยู่รอบตัว”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น