กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รับติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย กับมารยาทของช่างติดตั้ง (กล้องวงจรปิด)

รับติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย  

กับมารยาทของช่างติดตั้งกล้องวงจรปิด

ในสังคมบุคคลควรปฏิบัติกิริยาวาจาอย่างมีระเบียบแบบแผนใช้คำพูดที่สุภาพ รวมทั้ง การยืน การนั่ง การเดิน และการแสดงความเคารพ การรับของและการส่งของ 

ส่วนมารยาทไทยนั้นหมายถึงกิริยาวาจาที่คนไทยว่าเรียบร้อย และถูกลักษณะนิสัยของคนไทยที่เป็นคนอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสงบเสงี่ยมทั้งกายและวาจา 

แสดงให้เห็นระเบียบแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติแบบไทยที่บรรพบุรุษได้กำหนดขึ้นมาให้เหมาะสมกับกาลเทศะและกรอบของสังคมไทยที่เป็นที่ยอมรับมาหลายยุคหลายสมัยและควรสืบทอดไว้เป็นมรดกของสังคมไทยต่อไป


รับติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย

ความสำคัญของมารยาท สำหรับช่างกล้องวงจรปิด

การแสดงออกที่เห็นได้ชัดเจนของแต่ละบุคคลที่ปฎิบัติระหว่างกันตามสถานภาพ บทบาท และหน้าที่ในสังคมซึ่งมีความสำคัญ พื้นฐานที่สำคัญของมารยาท ความสุภาพและสำรวมกายวาจา

เมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม มารยาทสะท้อนถึงวัฒนธรรมความเจริญงอกงามรุ่งเรืองของชาติ และยังมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมด้วย 

การแสดงออกที่เกิดผลดีต่อตนเองทำให้ผู้อื่นพอใจ และตนเองก็เป็นผู้มีเกียรติด้วย การมีมารยาทดีงามจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและประสบความสำเร็จในชีวิต

มารยาทในสังคมของแต่ละชาติมีลักษณะที่แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบ่งบอกถึงความเป็นชาติอาจมีความคล้ายคลึงกัน เป็นผลมาจากความแตกต่างของสภาพแวดล้อมและอิทธิพลของความเชื่อ

และความคิด รวมทั้งแต่ละสังคมที่มีระเบียบกฏเกณฑ์ การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา และพื้นฐานความเป็นชาติของสังคมนั้น ๆ วิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา

และสังคมเกษตรกรรมทำให้มีบุคลิกที่อ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความเคารพต่อผู้มีอาวุโสกว่าทั้งทางด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิ มารยาทไทยเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน 

นอบน้อมต่อผู้อาวุโส ทำให้มารยาทไทยได้รับการยกย่องจากนานาประเทศว่า “เป็นชาติที่มีมารยาทงดงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก”


รับติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย



ความสำคัญของมารยาทที่ช่างกล้องวงจรปิดต้องรู้

1. มารยาทจะเป็นเครื่องชี้ถึงพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว การศึกษา การประกอบอาชีพ รวมถึงสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคล มีผลต่อการให้คุณค่าต่อกันและกันในสังคม

2. มารยาททำให้สังคมมีระเบียบแบบแผน สมาชิกในสังคมปฏิบัติตัวตามกฏเกณฑ์ เช่น การมีวินัย การรักษาความสะอาด เป็นต้น ซึ่งแนวทางปฏิบัติดังกล่าวเป็นมารยาทโดยทั่วไปในทุกสังคม 

และนำมาถึงความเจริญและความสงบเรียบร้อยในสังคม ผู้ที่มีมารยาทดีจะสามารถสืบทอดขนบธรรมเนียมอันเป็นมรดกของชาติและช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของความเป็นชาติให้แก่คนทั่วไป

มารยาทถือเป็นการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้สามารถคล้องจิตใจคนอื่นที่คบหาสมาคมได้ และย่อมได้รับความนิยมให้เป็นผู้ที่น่าคบค้าสมาคมของคนทั่วไป 

บุคคลที่มีกิริยามารยาทที่ดี ผู้ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างให้เกียรติ สุภาพ และถูกกาละเทศะ ย่อมได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดีในสังคม และได้รับความเคารพนับถือในสังคมและสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างสง่างาม

ประเภทของมารยาทในสังคมไทย

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการกำหนดแนวทางของการปฏิบัติมารยาทไทยออกเป็น 15 พฤติกรรม ดังนี้

1. การแสดงความเคารพ

2. การยืน

3. การเดิน

4. การนั่ง

5. การนอน

6. การรับ – ส่งสิ่งของ

7. การแสดงกิริยาอาการ

8. การรับประทานอาหาร

9. การให้และการรับบริการ

10. การทักทาย

11. การสนทนา

12. การใช้คำพูด

13. การฟัง

14. การใช้เครื่องมืสื่อสาร

15. การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ



 

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับมารยาทของช่างกล้องวงจรปิด

โดยทั่วไปถือเป็นมารยาทของคนที่ได้รับการยอมรับและนิยมประพฤติปฏิบัติกันโดยทั่ว ๆ ไปในสังคมที่มีความเจริญเราสามารถแบ่งมารยาทออกเป็น 3 ประเภทได้ดังนี้

1. มารยาทโดยทั่วไปในสังคม แนวทางปฏิบัติของพฤติกรรมที่แสดงถึงการเคารพและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ที่ประกอบด้วยการเคารพต่อสถานที่ เคารพต่อบุคคล 

และการเคารพต่อสภาพการณ์หรือสภาพแวดล้อม พฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ในปัจจุบันมีการติดต่อกันอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว 

การติดต่อกันระหว่างคนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้ง่ายและเกิดขึ้นตลอดเวลา

การไม่ระวังการแสดงออกของตนอาจทำให้กลายเป็นคนไร้มารยาทโดยไม่ตั้งใจ ในโลกปัจจุบันการเรียนรู้และการทำตนให้ถูกต้องตามมารยาทในสังคมถือ

เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เช่น มารยาทในการแต่งกาย สะอาดสุภาพเรียบร้อยให้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะและสถานที่ มารยาทในกิริยาท่าทางและคำพูด 

มารยาทในการคบหาสมาคมกับผู้อื่นการให้เกียรติผู้อื่นและการมีความจริงใจต่อกัน รวมถึงมารยาทในการยืน การเดิน และการนั่ง

2. มารยาทตามกาลเทศะ การปฏิบัติบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้้งกิริยาและคำพูด โดยเฉพาะในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าขยายอย่างกว้างขวางทำให้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เป็นส่วนหนึ่ง

ในการดำเนินชีวิตและกลายเป็นมารยาทในสังคมหลักการก็คือการใช้ให้ถูกต้อง ถูกกาลเทศะ พอเหมาะพอควร และไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น 

ในปัจจุบันมารยาทตามกาลเทศะมีดังนี้ มารยาทในการรับประทานอาหารทั้งภายในครอบครัวและญาติมิตรรวมถึงการรับประทานอาหารในงานสมาคมต่าง ๆ มารยาทในการแนะนำตัวด้วยการใช้คำพูดง่าย ๆ

แต่สุภาพเรียบร้อย มารยาทในการใช้โทรศัพท์มือถือด้วยการใช้น้ำเสียงท่าทางและไม่ควรให้เบอร์โทรศัพท์ของบุคคลอื่นให้กับผู้อื่นโดยที่เจ้าของเบอร์ยังไม่ได้อนุญาต มารยาท

ในการใช้รถหรือเรือโดยสารประจำทาง ในระหว่างรอไม่ควรพูดหรือคุยโดยใช้เสียงที่ดังหรือการแย่งกันขึ้นรถหรือลงเรือควรระมัดระวังอย่างสิ่งของๆตนเองไปกระทบหรือกระแทก

โดยผู้อื่น และรวมถึงมารยาทในการใช้ลิฟต์ ควรให้คนในลิฟต์ออกมาก่อนและขณะที่อยู่ในลิฟต์ไม่ควรสนทนาหรือถ้าจำเป็นควรใช้เสียงที่เบาไม่รบกวนผู้อื่น



รับติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย



มารยาทไทย

ถือเป็นวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาและสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติมาเป็นเวลายาวนาน 

หลักการสำคัญของมารยาทไทยคือ การสภาพอ่อนน้อม การเคารพในระบบอาวุโส เราจะเห็นได้จากคำพูดกิริยาที่มีคำลงท้ายเฉพาะบุคคล 

การเดิน นั่ง ยืน ที่แตกต่างกันตามสถานการณ์ในแต่ละโอกาส และมีการเผยแพร่มารยาทไทยในการพบปะสมาคมในสังคมที่สำคัญได้แก่

การรู้จักวางตน เป็นการปฏิบัติตามสถานภาพและบทบาทหน้าที่ของตนที่ได้รับมาอย่างถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ ซึ่งประกอบด้วย การวางตนอยู่ในศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพ ความเหมาะสม 

และมีความเป็นกลาง เช่น ไม่ทำพฤติกรรมที่นำความเสื่อมเสียมาสู่ตนเองและผู้อื่น ทำในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น และมีคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดความงดงาม รวมถึงมีความเที่ยงตรงและเป็นธรรมในการดำเนินชีวิต

การรู้จักประมาณตน หลักธรรมที่ควรยึดถือของคนดีมี 7 ประการได้แก่ รู้จักเหตุผล รู้ความมุ่งหมาย รู้จักตนและความสามารถของตนเอง รู้จักประมาณถึงความพอดี รู้จักกาลเวลาที่เหมาะสม 

รู้จักสภาพแวดล้อมของตน และรู้จักความแตกต่างของตนเอง เช่น ไม่ทำตัวให้เด่นเกินพอดี เรียกร้องความสนใจ หรือการสร้างจุดสนใจให้ตนเองอย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ เป็นต้น

การรู้จักพูดจา การใช้คำพูดที่สุภาพ พูดในสิ่งและเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ใช้ภาษาที่สร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ไม่ใช้คำพูดที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือเกิดความอับอาย ไม่ใช้เสียงข่มขู่ผู้อื่น เป็นต้น

การควบคุมอารมณ์ ควรระมัดระวังการกระทำและจิตใจของตนเองให้สงบ สำรวม ไม่ฟุ้งซ่านและไม่แสดงอาการประชดประชัน และใช้อารมณ์กระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เช่น อารมณ์โกรธ และโมโหจนกระทั่งทำร้ายตนเองผู้อื่น

การสำรวมกิริยา การระมัดระวังกิริยาอาการของตนเองให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมและให้สุภาพเรียบร้อย ทำอย่างถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล เช่น การเดินผ่านผู้ใหญ่ควรก้มตัวพองามหรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังสนทนากันอยู่ เป็นต้น

การควบคุมอิริยาบถ การระมัดระวังกิริยาท่าทางของตนเองให้สุภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง นอน ยืน และการเดิน ให้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ พฤติกรรมที่ไม่ควรแสดงหรือกระทำ เช่น การกระดิกเท้า ตบมือ หรือส่งเสียงดัง โดยไม่เลือกเวลา โอกาส หรือสถานที่ที่เหมาะสม

ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน ความเห็นอกเห็นใจ การเอาใจใส่ต่อผู้อื่นและการแสดงไมตรีจิตที่ดีต่อกัน เช่น เอื้ออาทร และความห่วงใย

การช่วยเหลือผู้อื่น การกระทำต่อผู้อื่นและส่วนร่วม ซึ่งถือเป็นค่านิยมสำหรับคนไทยที่มีความเป็นมิตรกับทุกคน มีความจริงใจ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น

มารยาทในการแสดงความเคารพ

การไหว้ กิริยาที่แสดงการมีสัมมมาคารวะ มิตรภาพและไมตรีจิต และการให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นวัฒนธรรมไทยใช้เมื่อมีการทักทาย หรือพบปะกันและลาจากกันพร้อมกับกล่าวคำว่า “สวัสดี” 

การแสดงออกถึงการขอบคุณและการขอโทษ การแสดงความเคารพจะมีความแตกต่างกันตามระบบผู้อาวุโสในสังคมไทย เช่น การไหว้เพื่อเคารพต่อผู้มีอาวุโสมากต้องแสดงด้วยอาการอ่อนน้อมถ่อมตน 

การไหว้และลักษณะของการไหว้ในสังคมไทยมีลักษณะแตกต่างกันไปตามโอกาสและสถานภาพของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยกิริยา 2 ส่วน คือการประนมมือไหว้และการไหว้ และอีกอย่างหนึ่งก็คือการกราบ

การถวายความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย จะมีธงประจำพระองค์ เวลาเสด็จฯ ออกนอกพระราชฐาน ธงมหาราชจะปักอยู่หน้ารถพระที่นั่ง 

และเพลงสรรเสริญพระบารมีเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แทนพระองค์ท่าน ทุกควรรู้มารยาทในการถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินผ่านให้สุภาพบุรุษถวายคำนับและสุภาพสตรีถอนสายบัว

 
รับติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย



การรับและการส่งของ

การทูลเกล้า ถวายของและการรับพระราชทาน การทูลเกล้าฯ การถวายของในขณะที่ประทับในอาคารหรือในพลับพลาของที่จะถวายจะต้องมีภาชนะรองรับ เช่น พานโดยถือสองมือประคองที่คอพาน

และถวายความเคารพโดยสุภาพบุรุษใช้คำนับ ส่วนสุภาพสตรีใช้ถอนสายบัว เมื่อใกล้ที่ประทับให้ถวายความเคารพแล้วย่อตัวลงยกพานขึ้นทูลเกล้าฯกราบ

เมื่อทรงหยิบของในพานแล้ว ลุกขึ้นยืนตรงแล้วถวายความเคารพอีกครั้งแล้วถอยหลังออกไปเล็กน้อยถวายความเคารพอีกครั้ง จึงหันหลังกลับไป 

หากทูลเกล้าฯถวายของขณะนั่งประทับให้คลานเข้าไปแทนการเดินแล้วถวายความเคารพด้วยการหมอบกราบ

การรับพระราชทานสิ่งของ ผู้รับเดินเข้าไปด้วยอาการที่สำรวม และอยู่ห่างพอประมาณถวายความเคารพแล้วย่อตัวลงโดยยื่นเท้าขวาไปข้างหน้า ยกมือขวาขึ้น “เอางาน” 

แล้วรับพระราชทานของแล้วลุกขึ้นยืนตรงถวายความเคารพ ถอยหลังออก ถ้าผู้รับพระราชทานนั่งอยู่เมื่อลุกจากเก้าอี้จะต้องถวายความเคารพ 1 ครั้ง และเมื่อกลับไปนั่งให้ถวายความเคารพอีก 1 ครั้ง

การถวายบังคม การถวายความเคารพพระมหากษัตริย์และพระราชินี รวมทั้งพระบรมรูปตามธรรมเนียมไทย ซึ่งทั้งสุภาพบุรุษและสตรี มีวิธีปฏิบัติดังนี้ 

ท่าเตรียม ให้นั่งคุกเข่า ปลายเท้าทั้งสองตั้งลงยันกับพื้นนั่งทับบนส้นเท้า นั่งตัวตรง อย่าห่อไหล่หรือยกไหล่ วางมือคว่ำลงบนหน้าขาทั้งสองโดยให้นิ้วมือทุกนิ้วแนบชิดกัน ท่าถวายบังคม มี 4 จังหวะ ดังนี้คือ

- ยกมือประนมขึ้นระหว่างอก ให้ปลายนิ้วตั้งตรง

- ยกมือประนมขึ้นพร้อมทอดแขนไปข้างหน้า ให้ปลายมือต่ำลง ปลายนิ้วมืออยู่ระดับท้อง โน้มตัวลงตามมือลงน้อย

- วาดมือประนมขึ้นจนนิ้วหัวแม่มือทั้งสองจรดหน้าผาก ลำตัวตั้งแต่เหนือเอวขึ้นไปเอนไปข้างหลัง เงยหน้าขึ้นในระดับ 45 องศา ให้ตกอยู่ระดับนิ้วหัวแม่มือในขณะที่มืออยู่ระดับจรดหน้าผาก ท่าเอนตัวนี้ลำตัวจะโค้งเล็กน้อย ศอกจะกางออก

- ลดมือลงพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า ให้มือลงมาถึงระดับหน้าท้อง ปลายมือต่ำแล้วยกมือขึ้นประนม ปลายมือตั้งขึ้นในระดับอกและยกตัวขึ้นตรงทำเช่นนี้ 3 ครั้ง 

แล้วลดมือลงในระดับอก ท่าประนมมืออยู่ในท่าอัญชลี แล้วจึงปล่อยมือวางลงยนหน้าขาเหมือนเดิม แล้วเปลี่ยนจากจากท่านั่งเป็นท่าหมอบ

การแสดงความเคารพพระสงฆ์

- การแสดงความเคารพพระสงฆ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยนิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 1 ครั้ง แต่ถ้าสถานที่ไม่เหมาะสมใช้วิธีการไหว้แทน

- การประเคนของแด่พระสงฆ์ ผู้ประเคนของเดินเข่าเข้าไปแล้วทำความเคารพด้วยการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์แล้วยกของที่จะถวายด้วย 2 มือยกของขึ้นประเคนส่งให้กับพระสงฆ์ 

โดยถ้าเป็นสุภาพบุรุษส่งประเคนของส่งต่อมือพระสงฆ์ได้ แต่ถ้าเป็นสุภาพสตรีให้ยกของวางบนผ้าที่พระสงฆ์ทอดออกมารับ แล้วถอยออกมาไหว้หรือกราบตามความเหมาะสม

- การรับของจากพระสงฆ์ ให้ใช้วิธีการเดินเข่าเข้าไปทำความเคารพโดยการกราบน้อมตัวรับสิ่งของจากพระสงฆ์ สุภาพบุรุษให้ใช้มือขวาหรือทั้งสองมือรับของ ส่วนสุภาพสตรีพระสงฆ์จะวางของให้ให้ใช้มือขวาหรือทั้งสองมือหยิบ

- การสนทนากับพระสงฆ์ จะต้องสำรวมกิริยาและวาจาให้สุภาพเรียบร้อยและมีสัมมาคารวะ ถ้าเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ให้ประนมมือขณะที่สนทนาด้วยและใช้คำพูดกับพระภิกษุสงฆ์ให้ถูกต้องและเหมาะสม 

ในการสนทนาพระสงฆ์ท่านจะใช้คำว่า “เจริญพร” เป็นคำที่พระใช้ทักทายคนทั่วไปและใช้สรรพนามที่พระภิกษุกับบุคคลระดับต่าง ๆ “อาตมา” “คุณโยม” 

ใช้กับบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ ส่วนฆารวาส ซึ่งเป็นคนธรรมดาทั่วไปควรใช้คำแทนตัวเองว่า “ผม/กระผม หรือฉัน/ดิฉัน”



 

การรับของจากผู้ใหญ่


ในขณะที่ผู้ใหญ่ยืนให้เดินในอาการที่สำรวมไปในระยะใกล้และแสดงความเคารพโดยสุภาพบุรุษให้คำนับแล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อยน้อมตัวรับของ

โดยใช้มือขวาหรือทั้ง 2 มือ แล้วถอยเท้าขวากลับไปในท่าตรง ทำความเคารพเดินถอยหลังประมาณ 2-3 ก้าวหันหลังกลับ ส่วนสุภาพสตรีให้ย่อตัวไหว้โดยก้าวเท้าขวาไปข้างหลังเล็กน้อย ย่อเข่าซ้ายลง พร้อมกับยกมือไหว้

ถ้าในขณะที่ผู้ใหญ่นั่งให้เดินในอาการที่สำรวมไปในระยะใกล้ แสดงความเคารพโดยสุภาพบุรพษให้คำนับ แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าทิ้งเข่าลงน้อมรับของลุกขึ้นยืนถอนเท้าขวากลับท่าตรงทำความเคารพ 

เดินถอยหลังประมาณ 2-3 ก้าว แล้ววหันหลังกลับ ส่วนสุภาพสตรี ให้ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ทิ้งเข้าซ้ายลง ประนมมือไหว้ น้อมรับของ ลุกขึ้นยืนถอนเท้าขวากลับในท่าตรง ทำความเคารพเดินถอยหลังประมาณ 2-3 ก้าว หันหลังกลับ

การส่งของให้ผู้ใหญ่

ในขณะที่ผู้ใหญ่ยืน ถ้าเป็นสุภาพบุรุษให้เดินในอาการสำรวมเข้าไปในระยะใกล้พอควรยืนตรงแสดงความเคารพโดยการคำนับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย

น้อมตัวลงส่งของแล้วถอนเท้าขวากลับในท่าตรงแสดงความเคารพเดินถอยหลังออกมาเล็กน้อยจึงหันหลังกลับ ส่วนถ้าเป็นสุภาพสตรีให้เดินในอาการที่สำรวมเดินเข้าไป

ในระยะใกล้พอควรยืนตรงก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อยย่อตัวลงโดยย่อเข่าซ้ายลงเล็กน้อยน้อมตัวส่งของเมื่อผู้ใหญ่รับของประนมมือไหว้ในขณะที่ยังย่อตัวอยู่ ยืนขึ้นถอยเท้าขวากลับในท่าตรงเดินถอยหลังกลับเล็กน้อยจึงหันหลังเดินกลับ

ขณะที่ผู้ใหญ่นั่ง ถ้าเป็นสุภาพบุรุษให้เดินในอาการสำรวมเข้าไปในระยะใกล้พอสมควรแสดงความเคารพโดยการคำนับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อยทิ้งเข่าซ้ายลงพื้นน้อมตัวลง

ส่งของแล้วยืนขึ้นถอนเท้าขวากลับในท่ายืนตรงแสดงความเคารพเดินถอยหลังเล็กน้อยจึงเดินหันหลังกลับ ส่วนถ้าเป็นสุภาพสตรีให้เดินในอาการสำรวมเข้าไปในระยใกล้พอสมควร หยุดยืนตรง 

ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย ทิ้งเข่าซ้ายลงพื้นน้อมตัวส่งของแล้วทำความเคารพโดยการประนมมือไหว้ลุกขึ้นยืนถอนเท้าขวากลับในท่าตรงเดินถอยหลังเล็กน้อยจึงหันหลังเดินกลับ

กรณีที่ผู้ใหญ่นั่งกับพื้น สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน เดินเข่าเข้าไปโดยห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณแล้วนั่งพับเพียบกราบ 1 ครั้ง 

ไม่แบมือหรือยกมือขึ้นไหว้ตามระดับอาวุโสของผู้ใหญ่และถ้ามีการสนทนาด้วยให้นั่งพับเพียบในลักษณะสำรวม และเมื่อผู้ใหญ่ให้สิ่งของก่อนรับของให้ยกมือขขึ้นไหว้ 1 ครั้งแล้วจึงยื่นมือขวารับสิ่งของ 

วางสิ่งของที่รับมาไว้ทางด้านขวามือเหนือเข่าเล็กน้อย และเมื่อจะลากลับให้แสดงความเคารพด้วยการกราบหรือไหว้เช่นเดียวกับตอนมาและหยิบของที่วางไว้ด้วยมือขวาและเดินเข่าถอยออกมา

มารยาทไทย

ถือเป็นแนวปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับคนไทยโดยทั่ว ๆ ไปในปัจจุบัน อันที่จริงมารยาทไทยมีรายละเอียดหลายเรื่องที่พึงประพฤติปฏิบัติต่อหน้าผู้ใหญ่ ต่อพระมหากษัตริย์ และต่อพระภิกษุสงฆ์ 

แต่หลายขนบธรรมเนียมประเพณีไม่นิยมใช้ในปัจจุบันแล้ว บางมารยาทได้ถูกปรับให้เป็นแบบสากล เช่น การนั่ง การยืน การเดิน และการรับประทานอาหาร 

ทั้งนี้มารยาทในสังคมไทยให้ความสำคัญต่อผู้อาวุโส เช่น การเดินผ่านผู้ใหญ่ต้องสำรวมและทำความเคารพก่อน ซึ่งแนวทางปฏิบัติสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะและกับบุคคลต่าง ๆ ได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น