กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กล้องรักษาความปลอดภัย ให้กับสังคมยุคใหม่ กล้องวงจรปิด

 กล้องรักษาความปลอดภัย ให้กับสังคมยุคใหม่

กล้องรักษาความปลอดภัย

                    กล้องรักษาความปลอดภัย  กับคุณธรรมและจริยธรรม ถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคุณธรรมของความเป็นพลเมืองดีทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและการเป็นพลเมืองดีของสังคมไทย

หลักคุณธรรมและจริยธรรมทางการเป็นพลเมืองดีในสังคม มีดังนี้

1. การใช้ความรู้และปรัชญาในการดำเนินชีวิต หลักการสำคัญในการพัฒนาครอบคลุมการสืบค้นและรวบรวมข่าวสาร ความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะ

การใช้ความคิดอย่างมีวิจารญาณ ประเมินสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ตลอดจนการได้บทสรุปที่เที่ยงตรง นับเป็นรากฐานสำคัญของความเป็นพลเมืองดีในสังคมไทย

2. ความมีเหตุผล การนำข้อมูลมาสนับสนุนและวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป การพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อสืบค้นหาความจริงต่าง ๆ ความมีเหตุผลทำให้สังคมมีความสงบสุขเรียบร้อย 

 ความมีเหตุผลเป็นองค์ประกอบของการนำความรู้และปัญญาไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คิดอย่างมีเหตุผล ก็สามารถพูดและทำสิ่งที่ดีงามและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติด้วย

3. การยึดมั่นในผลประโยชน์ส่วนรวม การที่มีจิตสาธารณะถือเป็นการปลุกจิตสำนึกให้รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตน และมาร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะและส่วนรวม 

 รวมถึงการคำนึงว่าผลประโยชน์ส่วนตนนั้นได้สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นหรือสร้างงปัญหาให้กับส่วนรวมหรือไม่ หากเราได้ประโยชน์ส่วนเดียว แต่ส่วนรวมกลับเสียประโยชน์เราก็ควรละเว้นการกระทำนั้นเสีย

4. การยึดหลักธรรมาธิปไตยในการดำรงชีวิต การยึดหลักธรรมในการบริหารจัดการองค์กรหรือบ้านเมืองให้มีความก้าวหน้า มั่นคง เป็นที่ยอมรับของสังคม 

 และยังสามารถนำมาใช้กับความเป็นพลเมืองดีในสังคมไทย เพื่อเสริมสร้างให้เป็นกำลังใจในการสร้างความเจริญให้บ้านเมืองและประเทศชาติ 

 มีแนวประพฤติปฏิบัติในการมีคุณธรรมและจริยธรรม คือ ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง

5. การยึดหลักการอยู่ร่วมกันในสังคม ในสังคมมีสมาชิกที่แตกต่างหลากหลายกันทางวัฒนธรรม การอยู่รวมกันได้อย่างมีความสงบสุข พลเมืองดีต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมดังนี้คือ 

 การรู้จักกาลเทศะและการนอบน้อมถ่อมตน การยอมรับและการให้อภัย การควบคุมอารมณ์หรือการข่มใจ ความกตัญญูกตเวที และการมีน้ำใจต่อผู้อื่น

6. คุณธรรมและจริยธรรมของพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย ในสังคมประชาธิปไตยเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการปกครองอื่นโดยยึดหลักประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ประกอบด้วย คารวธรรม 

 ปัญญาธรรม และสามัคคีธรรม รวมถึงการเคารพในหลักการของสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และความรับผิดชอบสิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กันมีความสำคัญต่อการปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตย หลักการนี้ส่งผลให้ลักษณะของการเป็นพลเมืองดีในสังคม เป็นดังนี้คือ

- การเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน

- การเคารพและการยอมรับความแตกต่างของมนุษยชาติ

- การเคารพและการยอมรับความแตกต่างของมนุษยชาติ ความมีเหตุผล การเคารพ และยอมรับการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น

- การตระหนักในความสำคัญและการแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

- การเคารพและการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อเสริมสร้างความสงบสุขในสังคม

- การมีส่วรร่วมในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม





 

ช่างกล้องวงจรปิดควรทำตัวอย่างไร
 
การทำตนเป็นคนดีของสังคม นอกจากจะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติแล้วยังเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีทักษะในการดำเนินชีวิต หาความรู้อย่างต่อเนื่องสามารถปรับตัว

ให้อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนาทั้งตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และผู้ที่เป็นพลเมืองดีสามารถมีชีวิตอย่างมีความสุข 

 ประสบความสำเร็จและเป็นที่รักของคนในสังคม เป็นผู้ที่รู้จักสถานภาพของต่างตนเองและทำตาทบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้อย่างถูกต้อง

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองของพลเมืองดี ดังนี้

1. ทางกาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพอนามัยของตนเองให้เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ ย่อมสามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม และประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป 

 ในปัจจุบันยังประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ

2. ทางจิตใจหรือความมั่นคงในอารมณ์ เกิดจากการเรียนรู้และฝึกฝนให้เกิดคุณธรรมในจิตใจ ส่งผลให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ 

ที่เกิดกับตนเองและสังคม จิตจึงไม่วุ่นวายกับความไร้สาระของชีวิต ปลดจากการครอบงำของกิเลส และเข้าสู่การดับทุกข์และความสงบสุขในที่สุด

3. ทางสติปัญญา ความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การศึกษาและการแสวงหาความรู้เป็นการพัฒนาสติปัญญาและเสริมสร้างศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ 

 เรียนรู้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ รวมทั้งการพัฒนาบุคลิกภาพตนเพื่อการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ทางเศรษฐกิจและสังคม ในการประกอบอาชีพนั้นต้องทำตามความถนัดและความสามารถของตน อันเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ตนเองและครอบครัว 

 จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการประกอบอาชีพพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ก้าวหน้าไม่เป็นภาระของสังคม และย่อมส่งผลให้ประเทศมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้วย

บทบาทหน้าที่ของพลเมืองดีที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

สังคมแบ่งออกได้หลายระดับ สังคมขนาดเล็กสุดจนถึงสังคมที่มีขนาดใหญ่ การเป็นพลเมืองดีของสังคมในระดับต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับสถานภาพของแต่ละบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน 

 ซึ่งมีบทบาทหน้าที่กันตามสถานภาพดังนี้

1. การปฏิบัติตามระเบียบ แบบแผน ข้อบังคับ และกฎหมายของสังคม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

2. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือกลุ่มคนทั้งนี้เพื่อร่วมมือกันพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าขึ้น

3. การดูแลรักษาสาธารสมบัติไม่ให้เสียหายหรือถูกทำลาย ทั้งการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงสาธารสมบัติให้อยู่ในสภาพดี เพื่อให้สร้างประโยชน์ให้ชุมชนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

4. การรักษาสภาพแวดล้อม ระมัดระวัง สอดส่องดูแลป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ทีอาจเกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามตวามสามารถของตน

5. ปฏิบัติตนตามสถานภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีต่อสังคม เพื่อที่จะประพฤติปฏิบัติตามสิทธิ บทบาท และหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งส่งผลให้ตนเองสามารถบรรลุเป้าหมายแห่งชีวิตได้อย่างรวดเร็ว สังคมมีความสงบสุข และมีความเจริญก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน



 

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดหน้าที่ของประชาชน ดังนี้

1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2. บุคคลมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย

3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รับราชการทหาร ช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ รับการฝึกอบรมปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย 

 เพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง

การที่พลเมืองทำตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดผลดีต่อสังคมไทยทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง และสังคม รวมทั้งประโยชน์และคุณค่าต่อโลก 

 ในฐานะของมนุษยชาติ พลเมืองดีที่รู้บทบาทและหน้าที่อันพึงกระทำต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ ย่อมเคารพให้เกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น 

 เคารพในความแตกต่างของวัฒนธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน

เพื่อสนองความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นที่หนึ่งที่ใดในโลก และสามารถส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อส่วนอื่น ๆ ของโลก โลกาภิวัตน์เกิดจากการที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว 

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และด้านคมนาคม ส่งผลให้มนุษย์ทั่วโลกสามารถสื่อสาร ส่งข่าวสาร สารสนเทศ และสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ทั่วโลกอย่างสะดวกและรวดเร็ว

 
กล้องรักษาความปลอดภัย
กล้องรักษาความปลอดภัย

ความสำคัญของโลกาภิวัตน์

ในยุคโลกาภิวัตน์ทำให้ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ สามารถแพร่กระจายได้ทุกพื้นที่ในโลก ส่งผลให้เกิดการปรับตัวทางสังคมการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการแข่งขันสูง 

 นำไปสู่การพัฒนาทุก ๆ ด้าน ความสามารถที่จะปรับตัวให้ทันกับโลกาภิวัตน์เป็นผลให้เกิดการทำลายศักยภาพของคน ชุมชน ประเทศ และทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

 ต่างก็ต้องพัฒนาตนเองให้ทันสมัยก้าวหน้ากับประชาคมโลก กระแสโลกาภิวัตน์จะส่งผลต่อประชาชมโลกมีความสำคัญในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การคมนาคมและการสื่อสาร ทำได้อย่างรวดเร็ว การเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้นที่หนึ่งที่ใดในโลกจะสามารถรู้กันทั่วโลก

2. การแข่งขันด้านภูมิปัญญา ในอดีตโลกแข่งขันกันด้านการเงิน กำลังคน แต่ในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการแข่งขันกันทางด้านภูมิปัญญาและคุณภาพของคนมากกว่า เพราะถ้าคนมีคุณภาพ มีภูมิปัญญาสูง จะช่วยส่งผลให้สามารถเป็นผู้ชนะได้ในทุก ๆ ด้านการแข่งขัน

3. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้สังคมและชุมชนในโลกต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่สังคมแห่งเทคโนโลยี วิถีชิวิตจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็ว ส่งผลให้คนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงได้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน

4. การแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ การแข่งขันเกิดขึ้นสูงมากในทุกระดับสังคม ไม่ว่าเป็นด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ฯลฯ ทำให้เกิดการกีดกันในประชาคมโลก และในขณะเดียวกันก็มีการรวมกลุ่ม เพื่อแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในระดับสังคมและระดับชาติ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการแข่งขัน

5. การล่มสลาย ผู้ที่มีความสามารถเข้มแข็งและแข็งแกร่งก็จะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน และสามารถอยู่รอดได้ ส่วนผู้ที่อ่อนแอกว่าก็จะล่มสลายในยุคของโลกาภิวัตน์

กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคใหม่และการมีส่วนร่วมของประชาชน

1. ทุนมนุษย์ แรงงานต่าง ๆ ที่อาจเกิดการเคลื่อนย้ายโดยเสรีของแต่ละกลุ่มพันธมิตร หรืออาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายที่ผิดกฏหมาย

2. ทุนอำนาจ การให้อำนาจทั้งการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจหรือกลุ่มประเทศต่าง ๆ และยังรวมถึงกองกำลังติดอาวุธ

3. ทุนการเงิน การลงทุนข้ามชาติในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การร่วมลงทุนในประเทศอื่น ๆ การซื้อขายหุ้น รวมถึงการกู้ยืมเงินหรือเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ด้วย

4. ทุนทรัพยากร ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุต่าง ๆ และรวมถึงผลผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ ด้วย


 

การมีส่วนร่วมของประชาชน

ในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและส่งผลใด้เศรษฐกิจเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม การเปิดกลุ่มเสรีทางการค้ากระจายไปทั่วโลก 

 ทำให้เกิดวัฒนธรรมวัตถุนิยม และบริโภคนิยมเพิ่มขึ้น ในการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นโยบายยุทธศาสตร์สามารถรองรับกระแสโลกาภิวัตน์ได้ 

 สามารถที่จะสร้างศักายภาพของตนเองให้มีความเข้มแข็งและที่สำคัญมีการพัฒนาในทุก ๆ ด้านของประเทศ

 โดยเฉพาะทางด้านประชาชนควรได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วย การวางแผนพัฒนาประเทศสร้างแนวทางการพัฒนาที่ให้ประชาชนทุกคนมีส่วมร่วม

ในการพัฒนา การกำหนดวิสัยทัศน์และกำหนดวิถีชิวิตของประชาชนให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชน มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง

เศรษฐกิจพอเพียงในยุคโลกาภิวัตน์

ระบบทุนนิยมนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรม วัตถุนิยม และบริโภคนิยม ในประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาคนของประเทศซึ่งคนของประเทศส่วนใหญ่อยู่ในชนบทมีปัญหาความยากจน 

 การด้อยโอกาส ความแตกแยก และการทำลายสิ่งแวล้อม ประเทศไทยจะทำอย่างไรให้สามารถสร้างศักยภาพได้ให้ทุกชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความสามัคคี 

 ร่วมมือกันพัฒนาประเทศ สู้กับวิกฤตจากโลกยุคโลกาภิวัตน์ และต้องสร้างศักยภาพให้กับภาคเอกชน เพื่อให้ด้านธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในสังคมโลกที่มีการแข่งขันสูง

การยึดมั่นในหลักเศรษฐกิจพอเพียงในยุคโลกาภิวัตน์

คนไทยทุกคนในประเทศยึดมั่นในหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานให้แก่คนไทยทุกคน เป็นหลักและแนวทางในการพัฒนาตนเองและประเทศ เพื่อจะได้ก้าวสู่โลกยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างมั่นคงโดยยึดหลักดังนี้

1. การพึ่งพาตนเอง คนไทยทุกคนควรพยายามพึ่งพาตนเองให้มากไม่หลงไปกับกระแสวัตถุนิยมและเทคโนโลยีจากต่างชาติ พยายามหาแนวทางการพัฒนาตนเองโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ และภูมิปัญญาของไทย

2. ทางสายกลาง พัฒนาตนเองตามความเหมาะสมและความสามารถไม่หนักไปในทางใดทางหนึ่ง ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับด้วยความระมัดระวังรอบคอบ

3. พอประมาณ พัฒนาตนเองให้เกิดความเหมาะสมกับตนเอง ต้องรู้จักตนเองให้ชัดเจนว่าเด่นเรื่องใด มีทรัพยากรใดบ้างมากน้อยเพียงใด ควรยึดหลักประหยัดไม่ฟุ้งเฟ้อ

4. มีเหตุผล การพิจารณาตนเองในด้านใดก็ตามต้องพิจารณาถึงเหตุและผลและความเหมาะสมว่ามีเหตุอย่างไร และมีผลอย่างไร ทำแล้วจะเกิดปัญหาตามมาหรือไม่

5. มีภูมิคุ้มกัน การพัฒนาตนเองนั้นมีภูมิคุ้มกันมากน้อยเพียงใด ถ้าเกิดสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงใด ๆ สามารถที่จะรับมือกับสถานการณ์นั้นได้หรือไม่

6. เงื่อนไขความรู้ การพัฒนาตนเอง ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างชัดเจนหรือยัง ใช้สติปัญญาในการทบทวนอย่างถี่ถ้วนแล้วหรือไม่

7. เงื่อนไขคุณธรรม การพัฒนาตนเองต้องยึดมั่นในคุณธรรม มีความอดทน พากเพียรไม่คดโกงเอาเปรียบผู้อื่น

ประเทศไทยจะต้องมีการพัฒนาโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและยึดหลักการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป การพัฒนาประเทศและชุมชนต้องทำด้วยความระมัดระวัง 

 รอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมและประเทศก็คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะถ้าคนในสังคม ในประเทศ ด้อยคุณภาพแล้วก็ไม่มีทางที่จะสามารถพัฒนาได้เลย

การพัฒนาคุณภาพชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์

รัฐธรรมนูญของไทยได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน” เพื่อให้รัฐดำเนินการบริหารตามนโยบายด้านสังคม ด้านสาธารณะ ด้านการศึกษา และด้านวัฒนธรรม 

 และครอบคลุมทั้งทางด้านการเสริมสร้างสุขภาพให้นำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ

ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน มีการส่งเสริม บำรุงรักษา 

 และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข และยั่งยืน

การดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในยุคโลกาภิวัตน์

สภาพัฒน์ได้กำหนดความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการและประกาศให้เป็นปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ 

 ให้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานทุกครัวเรือนทั่วประเทศและวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในภาพรวมจนถึงปัจจุบัน โดยมีข้อมูลสรุปว่าการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย จะต้องผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานใน 6 หมวดดังนี้

1. สุขภาพดี

2. มีบ้านอาศัย

3. ฝักใฝ่การศึกษา

4. รายได้ก้าวหน้า

5. ปลูกฝังค่านิยม

6. ร่วมใจพัฒนา

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กำหนดดัชนีความก้าวหน้าของคนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 

 พิจารณาจากมุมมองที่มีคนเป็นศูนย์กลาง เริ่มตั้งแต่สุขภาพเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ ต่อมาเป็นเรื่องของการศึกษา เป็นเวลาที่สำคัญที่สุดของเยาวชน 

 และการประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ให้ได้เพียงพอ สร้างมาตรฐานในการดำเนินชีวิต มีบ้านที่อยู่อาศัย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีครอบครัวในชุมชนที่ดี รวมทั้งการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และมีส่วนร่วมในสังคม

ดัชนีความก้าวหน้าของคนมีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 8 ด้าน ได้แก่

1. สุขภาพ

2. การศึกษา

3. ชีวิตการงาน

4. รายได้

5. ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม

6. ชีวิตครอบครัวและชุมชน

7. การคมนาคมและการสื่อสาร

8. การมีส่วนร่วม



 

โลกาภิวัตน์ การเกิดเทคโนโลยี มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ด้านสารสนเทศ และเทคโนโลยีด้านคมนาคม 

 จึงส่งผลให้มนุษย์ทั่วโลกสามารถสื่อสาร ส่งข่าวสาร สารสนเทศ และสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ทั่วโลกอย่างสะดวกรวดเร็ว กระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ 

 ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของทุนในทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ทุนมนุษย์ ทุนอำนาจ ทุนการเงิน และทุนทรัพยากร ส่วนการยึดมั่นในหลักเศรษฐกิจพอเพียงในยุคโลกาภิวัตน์ 

 ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม

การส่งเสริมให้มีมาตรฐานในการดำรงชีวิตที่เหมาะสมมีโอกาสมากขึ้น สามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพ มีสุขภาพดี และมีความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งมีเสรีภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 

 จำเป็นต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้คนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ และให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มสมรรถนะของตนเอง เช่น ความรู้  การเข้าถึงทรัพยากร และการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม

ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทย

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยภาครัฐมีบทบาทหน้าที่ดูและและรับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนตามลักษณะความชำนาญเฉพาะภาระกิจ เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้าน

สังคมสงเคราะห์ และต่อมาได้มีหน่วยงานเฉพาะด้าน เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นต้น ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชิวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่องสืบมาถึงปัจจุบัน

ความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับการพัฒนาคน มีดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางร่างกาย สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย จำเป็นต้องบริโภคอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนและเพียงพอ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการพักผ่อนที่พอเพียง

2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ การเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี การรู้จักควบคุมอารมณ์ สามารถจัดการความเครียดของจิตใจได้

3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสติปัญญา การเพิ่มทักษะการเรียนรู้ และประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตให้เท่าทันโลกปัจจุบัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4. การพัฒนาคุณภาพชีวิตททางด้านสังคม การได้รับการยอมรับและการยกย่องจากสังคม ได้มีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้สังคมและส่วนรวม รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การพัฒนาคุณภาพชิวิตตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การวางแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ได้แก่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีบทบาทหน้าที่ในการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ขับเคลื่อน

การพัฒนาของหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาจากการผลักดันของธนาคารโลกกเพื่อให้ประเทศไทยฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์

 แนะแนวทางการวางแผนพัฒนาประเทศจัดตั้งสภาพัฒาการศึกษาเศรษฐกิจเป็นสำคัญ จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ 

 มาจนถึงปัจจุบัน การพัฒนาเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการพัฒนาด้วยการนำกระบวนการวางแผนพัฒนาสังคมเข้ามา

ใช้ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็น “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” จนถึงปัจจุบัน

 
กล้องรักษาความปลอดภัย
กล้องรักษาความปลอดภัย

การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ซึ่งมีวิวัฒนาการตามลำดับ ดังนี้

1. แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1

- รัฐบาลมุ่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ

- ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ใช้วิชาการสมัยใหม่และการค้นคว้าวิจัยทั้งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม

- รัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี ส่งเสริมให้ด้านเอกชนลงทุนด้านเศรษฐกิจ โดยที่รัฐทำหน้าที่ควบคุม ส่งเสริม และจัดเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

- รัฐบาลดำเนินการต่อเนื่องจากแผนพัฒนา ฉบับที่ 1

- รัฐบาลดำเนินนโยบายด้วยการขยายการศึกษาภาคบังคับ การปรับปรุงและขยายการบริการด้านการศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศก่อให้เกิดการมีงานทำ

3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3

- การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับตลาด และสนับสนุนภาคเอกชนให้ลงทุนในวิสาหกิจพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนการส่งสินค้าออก ปรับปรุงโครงสร้างสินค้าขาเข้า

- การพัฒนาสังคม เน้นการเพิ่มและกระจายการบริหารสัง เพื่อลดความแตกต่างในสภาพความเป็นอยู่ของคนระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ และภายในเขตเมืองให้น้อยลง 

 การขยายขอบเขตการฝึกอาชีพให้แก่เยาวชนนอกโรงเรียนเพื่อเตรียมเข้าสู่แรงงานในอนาคต แผนพัฒนาฉบับที่ 3 มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนดังนี้ 

 การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในเขตเมือง การปรับปรุงความเป็นอยู่ของคนในเขตชนบท การสนับสนุนการวางแผนครอบครัวเพื่อลดอัตราการเพิ่มของประชากร

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4

- การพัฒนาทางเศรษฐกิจ เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศที่ซบเซาให้มีเสถียรภาพและความมั่นคงด้วยการเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมเดิม โดยพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3

- การพัฒนาสังคม การพัฒนาที่ผ่านมาชาวชนบทได้ย้ายเข้ามาอยู่ในเมือมากขึ้น เกิดชุมชนแอดัด ปัญหาการติดยาเสพติด โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงจากประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม 

 แผนพัฒนาฉบับนี้รัฐบาลจึงได้เน้นการแก้ไขปัญหาสังคม รวมทั้งทะนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในแผนนี้ประกอบด้วย

การเน้นบทบาทของสตรีให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมงเพิ่มขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชน

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5

- การพัฒนาเศรษฐกิจได้มีการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาก มุ่งกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ สร้างความเป็นธรรมในสังคมและกระจายการถือครองสินทรัพย์ให้มากขึ้น

 เน้นการสมดุลของการพัฒนาระหว่างสาขาเศรษฐกิจระหว่างพื้นที่และระหว่างกลุ่ม เพื่อไม่ให้การพัฒนาตกอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มเหมือนที่ผ่านมา

- การพัฒนาสังคม การพัฒนาโครงสร้างและการกระจายบริการสังคม เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อภาวะสังคมโดยรวม


 

6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6

- การพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจหลายด้าน เป็นปัญหาสะสมต่อเนื่อง ปัญหาความยากจน ปัญหาการกระจายรายได้ และปัญหาความผันผวนจากเศรษฐกิจโลก 

 การพัฒนาประเทศจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 6 เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อเพิ่มฐานะการแข่งขันไทยในตลาดต่างประเทศ 

 มุ่งกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท ปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร เพื่อสนับสนุนการลงทุนให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

- การพัฒนาสังคม ได้ให้ความสำคัญกับการขยายบริการพื้นฐานทางด้านสังคม แต่ปัญหาสังคมไทยกลับมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 6 

 ให้ความสำคับการพัฒนาสังคมโดยถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าในการพัฒนาประเทศ เมื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพแล้วจะส่งผลให้ชุมชนและสังคมมีคุณภาพดีตามไปด้วย 

 แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 6 พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย คือ การดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้มีประชากรในขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม 

 เน้นการพัฒนาคุณภาพคน เสริมสร้างความสงบสุขในสังคมและป้องกันอาชญากรรม อุบัติภัย มุ่งบรรเทาการว่างงาน สนับสนุนให้องค์กรด้านเอกชน ชุมชน และครอบครัว ได้มีส่วนร่วมในการป้องกัน

7. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7

- การพัฒนเศรษฐกิจ เป็นผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับสูงและเปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่การพัฒนาก็ยังมีความไม่สมดุลอยู่หลายอย่าง

ทำให้เสถียรภาพทางการคลังของประเทศอาจไม่มั่นคง แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ จึงมุ่งเน้นการขายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

- การพัฒนาทางสังคม แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 7 มุ่งเน้นการลดอัตราการเพิ่มประชากรลง การขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานจาก 6 ปีเป็น 9 ปี 

 พัฒนาคุณภาพประชากรด้วยการจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ขยายการมีงานทำ เสริมสร้างโอกาสให้กลุ่มด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง 

 ยกระดับสุขภาพอนามัยของประชาชน และการพัฒนาคุณภาพให้มีคุณธรรม มีความสามารถ และมีพลานามัยที่สมบูรณ์ และได้เสริมสร้างชีวิตของประชากรดังนี้ 

 สนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่น วางแผนปรับปรุงจัดหาบริการพื้นฐานให้เพียงพอกับการขยายตัวของชุมขนเมืองและชุมชนเมืองใหม่ ให้ความสำคัญต่อการขยายบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การยกระดับดรายได้และสวัสดิการแรงงาน ส่งเสริมให้ประชากรมีสุขภาพดี

8. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ผลสำเร็จจากการพัฒนาคนส่วนใหญ่ได้รับบริการพื้นฐานมากขึ้น การพัฒนาประเทศบรรลุเป้าหมาย 

 แม้ว่าความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล การมุ่งเน้นการแข่งขันและความมั่งคงทำให้คนมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงมุ่งเน้นการแก้ปัญหาการพัฒนาที่ขาดสมดุลคือเศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา

 การพัฒนาไม่ยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนการพัฒนาแบบองค์รวมจะทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพและได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสาระสำคัญคือ 

 การพัฒนาคน การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน การเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาของภูมิภาคและชนบท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของงประชากรอย่างทั่งถึง 

 การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาประชารัฐ และการบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

9. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ 

 โดยมีจุดมุ่งหมายเน้นการแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและยกระดับคุณภาพชีวิตของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุข

โดยการพัฒนาที่สำคัญได้แก่ การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก การบรรเทาปัญหาสังคม การแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น

10. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ในแผนพัฒนาฉบับนี้ก็ยังคงนำ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ

ควบคู่กับกระบวนการทัศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม ที่มี “คนเป็นศูนย์กลางพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนให้ดีขึ้น ประเทศไทยต้องเผชิญกับบริบทของการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์หลายด้าน

ดังนั้นการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 10 จึงมุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขรวมกัน” คือการพัฒนาให้มีคุณภาพ คุณธรรม เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม 

 ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงบนฐานทรัพยกรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

11. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องและขับเคลื่อนให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ 

 ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของสังคม พัฒนาสู่ความสมดุลในทุกมิติอย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม ในการพัฒนามีสาระสำคัญคือ การเตรียมคนไทยให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต


กล้องรักษาความปลอดภัย


การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมและธุรกิจเอกชนให้เป็นพลังร่วมในการพัฒนาสังคมไทย

 การพัฒนาสนับสนุนที่เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา การเตรียมความพร้อมของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 

 การบริหารจัดการน้ำและที่ดินเพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร และปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การยกระดับขีดความสามารถในการปรับตัว การบริหารจัดการประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

1. พัฒนาบุคลากรในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ภาคการผลิต อุตสาหกรรมแปรรูป รวมทั้งผู้ประกอบการ เพื่อให้มีความรู้และมีสมรรถนะในการแข่งขันในระบบเสรี เตรียมความพร้อมธุรกิจ ตลอดจนแนวทางการขยายตลาดตามโอกาสและข้อตกลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น

2. ยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพและบริการด้านสาธารณสุข บุคลากรและมาตรฐานการให้บริการ เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางให้บริการสุขภาพของภูมิภาค

3. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในสากล การยกระดับฝีมือแรงงานและทักษะด้านภาษา เพื่อเตรียมความพร้อมของแรงงานไทยสู่ตลาดในภูมิภาคอาเซียน โดยไทยมีบทบาทร่วมกับประเทศอื่นในอาเซียน

4. กำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานของคุณภาพสินค้าและบริการ เพื่อป้องกันสินค้าและบริการนำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

แนวทางการพัฒนาจะเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและความร่วมมือดังนี้

- ภาคเหนือ พัฒนาเชื่อมโยงสู่กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนและกลุ่มเอเชียใต้ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ 

 โดยเร่งพัฒนาระบบระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง สร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก และกำหนดมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบเชิงลบจากการเปิดเสรีทางการค้า

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พัฒนาชายแดนและด่านชายแดนให้เป็นประตูการค้า การท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และพัฒนาให้เป็นเมืองสนับสนุน 

 การเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงกับกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและเอเชียตะวันออก พร้อมทั้งพัฒนาระบบโครงสร้าพื้นฐานรองรับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3

- ภาคกลาง พัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ มาตรฐานการให้บริการและอำนวยความสะดวกบริเวณเขตเศรษฐกิจชายแดน 

 การเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย 

 ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างไทยกับเมียนมาร์ พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย ท่าเรือแหลมฉบัง และประเทศอื่นในภูมิภาค

- ภาคใต้ พัฒนาโดยใช้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซียและกรอบความร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดจีน-มาเลเซียร์-ไทย 

 การพัฒนาเมืองชายแดนและเขตเศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นประตูการค้า การท่องเที่ยว และขนส่งกับมาเลเซียและสิงคโปร์ 

 พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนสะเดาบูกิตกายูฮิดัม เชื่อมโยงกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย พัฒนาทางหลวงพิเศษ 

 รวมทั้งพัฒนาทักษะทางด้าานภาษาและฝีมือแรงงานให้พร้อมรองรับการเปิดเนภาษาและฝีมือแรงงานให้พร้อมรองรับการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน และการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน



 


กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศมีรายได้สูง 

 มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

1. กรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมาย มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ

2. ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์และเป้าหมาย ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและมีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ 

 เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3. เป้าหมายการพัฒนาประกอบด้วยเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง 

 การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 

 กระจายรายได้ให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งอวดล้อมรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร 

 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการน้ำให้สมดุล การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ

4. แนวทางการพัฒนา การยกระดับศักยภาพการแข่งขันและการหะดับศักยภาพการแข่งขันและการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง 

 การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัยและการปฏิรูประบบเพื่อสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาศักยภาพคนในทุกช่วงวัยให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ

 การพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน

 การรองรับการเชื่อมโยงภูมิภาคและความเป็นเมือง การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของเมือง 

 การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตสีเขียวใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติ 

 การพัฒนาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ และการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ 

 การสร้างความโปร่งใส การพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีความเป็นมืออาชีพและเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตาม และประเมินผล โครงการที่ใช้จ่ายมากและมีผลกระทบในวงกว้าง

ประเทศไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ เพื่อใช้เป็นกรอบกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 11 

 เป็นช่วงที่ประเทศต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยจะต้องก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. 2558

ประชาคมอาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “อาเซียน” เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยสมาชิกเริ่มต้นจำนวน 5 ประเทศมีวัตถุประสงค์

เพื่อความร่วมมือในการพัฒนาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนเป็น 10 ประเทศในปัจจุบัน “กฎบัตรอาเซียน” ได้มีการลงนามซึ่งทำให้อาเซียนมีลักษณะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น

การกำหนดเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ. 2020 

- วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

- หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต

- มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก

- ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร

กล้องรักษาความปลอดภัย
กล้องรักษาความปลอดภัย

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลักได้แก่

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีวัตถุประสงค์ทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนได้

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป้าหมายด้านเศรษฐกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียนมีองค์ประกอบสำคัญคือ การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน

 มีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และเงินลงทุนที่เสรีมากขึ้น มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน 

 ความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น ช่วยให้ชาติสมาชิกสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ มีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน 

 การเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ ปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันและส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย

 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และการบริการในสาขาที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแขงขัน 

 จะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม ประชาคมสังคม – วัฒนธรรมอาเซียน 

 จุดมุ่งหมายที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทรประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีได้รับการพัฒนาทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม 

 เน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ คือ การพัฒนาสังคม การพัฒนาฝึกอบรม การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ในภูมิภาค



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น