กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

แบบสร้างโกดัง กับการกำหนดขนาดท่อไอกลั่นตัว (กล้องวงจรปิด)

แบบสร้างโกดัง  กับการกำหนดขนาดท่อไอกลั่นตัว


แบบสร้างโกดัง  การนำไอกลั่นตัวกลับมายังหม้อไอน้ำหรือนำไปใช้ในกิจการอื่น ๆ ต่างจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการเดินท่อที่เหมาะสม 

 การนำไอน้ำกลั่นตัวกลับคืนสู่ระบบ คือ การปล่อยไอกลั่นตัวออกจากตัวดักไอน้ำลงสู่ท่อรวมเท่านั้น และที่สำคัญต่อมาก็คือจะต้องใช้

ท่อขนาดเท่าใดเรื่องนี้ได้มีคำแนะนำเกี่ยวกับขนาดท่อและอัตราการไหลที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไปหลายความเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ

สามารถที่จะอธิบายได้เพราะเงื่อนไขและการใช้งานอาจจะแปรเปลี่ยนไปได้มาก ถ้าคิดแค่เพียงภายในท่อก็จทำให้จำเป็นที่จะต้องใช้ตารางหรือแผนภูมิในการหาขนาดท่อต่างกัน

 ในการกำหนดขนาดของท่อไอกลั่นตัวจะต้องคิดถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ

1. ในขณะเริ่มเดินระบบไอน้ำ อากาศจะต้องระบายออกจากตัวดักไอน้ำเข้ามาสู่ท่อไอกลั่นตัวด้วย

2. ในขณะที่เริ่มเดินระบบนี้ ปริมาณของไอกลั่นตัวจะมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะท่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังเย็นอยู่ ทำให้เกิดไอกลั่นตัวอย่างรวดเร็ว 

 อาจจะมีอัตราตั้งแต่ 2 เท่าของไอกลั่นตัวในภาวการณ์ใช้งานปรกติขึ้นไป อัตราของไอกลั่นตัวสูงจำทำให้ความดันลดในระบบท่อนี้สูงด้วย

3. ในขณะที่ระบบได้น้ำร้อนขึ้นจนเข้าสู่ภาวะปรกติแล้ว ปริมาณของไอกลั่นตัวจะลดลงมาเท่ากับภาระที่ต้องการ 

 แต่เนื่องจากอุณหภูมิของไอกลั่นตัวมีค่าใกล้กับอุณหภูมิของไอน้ำมากจึงทำให้เกิด flash steam ภายในท่อไอกลั่นตัวได้มากด้วย

จากประสบการณ์เรากำหนดขนาดของท่อไอกลั่นตัวโดยท่อนี้จะต้องระบายน้ำด้วยอัตราเท่ากับในขณะเริ่มเดินระบบแล้ว 

 ขนาดของท่อจะพอเพียงต่อการไหลของไอกลั่นตัวที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ทำงานในภาวะปรกติด้วย ถ้าไม่สามารถที่จะทราบภาระ

ในขณะเริ่มเดินระบบได้ก็อาจจะประมาณให้มีค่าเป็น 2 เท่าของภาระในขณะใช้งาน ถ้าไม่มีความแน่ใจเกี่ยวกับภาระของอุปกรณ์นั้น ก็ควรที่จะเพิ่มให้มากกว่า 2 เท่าขึ้นไป

การกำหนดขนาดท่อเพื่อรับไอกลั่นตัว ต้องระวังไม่ให้ความดันย้อนกลับสูงจนเกินไป ความดันย้อนกลับทั้งหมด

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความดันย้อนกลับอันเนื่องมาจากความต้านทานต่อการไหลและความดันย้อนกลับอันเนื่องมาจาก

การที่จะต้องยกไอกลั่นตัวขึ้นไปในระดับสูงกว่าทางออกจากตัวดักไอน้ำ การที่จะยอมรับค่าความดันย้อนกลับเท่าใดนั้นขึ้นอยู่

กับความดันไอน้ำที่มีอยู่ตรงทางเข้าสู่ตัวดักไอน้ำ ความดันนี้จะมีค่าต่ำสุดในขณะเริ่มเดินระบบซึ่งตัวดักไอน้ำต้องเปิดกว้างตลอดเวลา


สินค้าแนะนำ :  กล้องวงจรปิด


แบบสร้างโกดัง
 สำหรับอุปกรณ์ที่มีวาล์วควบคุมไอน้ำแบบแปรเปลี่ยนความดันไอน้ำจะเกิดการแปรเปลี่ยนไปได้มากตามภาระความต้องการใช้ขนาด

ท่อไอกลั่นตัวที่ใหญ่จนเกินไปก็จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการไอน้ำที่ความแตกต่างกันมาก 

 จะต้องแยกท่อไอกลั่นตัวออกจากกันเพื่อไม่ให้เกิดความดันย้อนกลับสูงที่อุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำความดันต่ำกว่า ซึ่งอาจจะมีผลให้ตัวดักไอน้ำไม่สามารถเปิดได้ด้วย


ตัวดักไอน้ำ  หน้าที่ที่สำคัญของตัวดักไอน้ำมี 3 ประการคือ

1. เพื่อทำการระบายไอกลั่นตัวทันทีที่เกิดขึ้น

2. ป้องกันมิให้ไอน้ำหนีออกมาจากระบบได้

3. สามารถที่จะระบายอากาศหรือก๊าซที่ไม่กลั่นตัวอื่น ๆ ออกจากระบบได้

Mechaincal Traps ตัวดักไอน้ำชนิดที่เก่าแก่ที่สุด มีหลักการทำงานโดยอาศัยผลต่างระหว่างความหนาแน่นของไอน้ำและไอกลั่นตัวซึ่งจะทำให้ bucket หรือ float 

 เคลื่อนที่ขึ้นลงได้ ตัวดักไอน้ำชนิดนี้จะระบายไอกลั่นตัวติดต่อกันไป ซึ่งแตกต่างกับชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นแบบระบายไอกลั่นตัวเป็นระยะ ๆ

Thermostatic Steam Traps หลักการทำงานอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างไอน้ำและไอกลั่นตัว ขณะที่ไอกลั่นตัวของไอกลั่นตัวจะเท่ากับอุณหภูมิของไอน้ำในขณะนั้น 

 ไอกลั่นตัวจะค่อย ๆ เอกลั่นตัวจะค่อย ๆ เย็นลง เพราะไอกลั่นตัวไม่มีความร้อนแฝง จึงทำงานโดยใช้หลักที่ว่าอุณหภูมิของไอกลั่นตัวจะต้องลดลงต่ำกว่าอุณหภูมิของไอน้ำที่ความดันเท่ากันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Thermodynamic Steam Traps การทำงานนั้นอาศัยความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติทางเธอร์ดมไดนามิคของไอน้ำและไอกลั่นตัว 

 ส่วนประกอบที่สำคัญของตัวดักไอน้ำคือ้านวาล์วซึ่งยาวมาก และกระบอก วางล์วนี้มีรูขนาดเล็กเจาะผ่านตลอดความยาว พร้อมกับมีปีกทรงกลมอยู่ใกล้ปลายบน 

 ระยะระหว่างปีกและกระบอกเรียกว่ารูระบายแรก และรูที่เจาะในก้านวาล์วเรียกว่ารูระบายที่สอง ส่วนรูที่บ่าวาล์วเรียกว่ารูระบายหลัก 

 แม้ว่าวาล์วจะปิดสนิทบนบ่าวาล์วทางเข้าและทางออกก็ยังคงติดต่อกันอยู่โดยผ่านรูระบายแรก และรูระบายสอง นั่นคือตัวดักไอน้ำชนิดนี้จะไม่ปิดสนิท และจะสูญเสียไอน้ำออกไปทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา

หลักทั่วไปในการเลือกตัวดักไอน้ำ


ส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบไอน้ำทั้งหมดคือตัวดักไอน้ำ การทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ซึ่งก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานได้ก็ต่อเมื่อได้มีการเลือกตัวดักไอน้ำที่ถูกต้อง ตัวประกอบที่ต้องการทราบสำหรับการเลือกตัวไอน้ำ ดังนี้

1. ความดันใช้งานสูงสุดและต่ำสุด

2. Pressure differentials สูงสุดและต่ำสุดที่ตัวดักไอน้ำ

3. อุณหภูมิใช้งานสูงสุด

4. อัตราการระบายออกของไอกลั่นตัว

5. ชนิดของตัวดักไอน้ำ

6. อุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำ

7. วัสดุของตัวดักไอน้ำ

ในการดักไอน้ำความสำเร็จขึ้นอยู่กับการเลือกชนิดของตัวดักไอน้ำให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และการใช้งาน ลักษณะที่สำคำญของตัวดักไอน้ำ

แต่ละชนิดจะทำให้สามารถเลือกชนิดที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ การเลือกชนิดของตัวดักไอน้ำสำหรับอุปกรณ์บางชนิด 

 ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะที่สำคัญของอุปกรณ์นั้น ๆ สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ทำความร้อนทั่วไปมากที่สุด โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีคุณลักษณะดังนี้

- อุปกรณ์ที่อัตราไอกลั่นตัวอาจจะแปรเปลี่ยนไปได้มาก

- อุปกรณ์ที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่

- อุปกรณ์ที่จะนำไอกลั่นตัวกลับมาใช้อีก

อัตราการระบายไอกลั่นตัวนี้ขึ้นอยู่กับผลต่างระหว่างความดันทางเข้าและออกจากตัวดักไอน้ำ หรือระหว่างความดันไอน้ำ 

 และความดันย้อนกลับนั่นเอง ถ้าความดันทั้งสองนี้สามารถแปรเปลี่ยนได้ จะต้องทำการเลือกผลต่างต่ำสุดของความดันมาใช้ในการเลือกตัวดักไอน้ำ 

 อัตราการระบายยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของไอกลั่นตัว ในภาวะเดียวกันถ้าอุณหภูมิของไอกลั่นตัวยิ่งต่ำเท่าใดอัตราการระบายก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น


ระบบรักษาความปลอดภัย  :  รั้วไฟฟ้า


 


หลักการติดตั้งตัวดักไอน้ำที่ถูกต้อง


ตัวดักไอน้ำถ้าติดตั้งไม่ถูกต้องจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของระบบอย่างมีประสิทธิภาพและในบางครั้งยังทำให้เกิดปัญหาได้เป็นอย่างมาก 

 ถ้ามีความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะและจุดประสงค์ของตัวดักไอน้ำอย่างดีแล้ว การติดตั้งก็สามารถกระทำได้อย่างถูกต้อง จุดที่สำคัญบางประการที่จะต้องรู้ในการติดตั้งตัวดักไอน้ำมีดังนี้ คือ

- ตัวดักไอน้ำไม่สามารถที่จะสูบไอกลั่นตัวได้เหมือนอย่างเช่นเครื่องสูบน้ำ ในขณะที่ทำการระบายไอกลั่นตัวจะถูกดันออกมาด้วยความดันของไอน้ำ 

 ท่อทางต่อออกจากตัวดักไอน้ำเอียงขึ้นหรือยกสูงขึ้นตัวดักไอน้ำจะไม่เปิดออกจนกว่าไอกลั่นตัวจะถูกดันเข้าไปภายในตัวดักไอน้ำ 

 เพื่อที่จะให้ไอกลั่นตัวไหลเข้าไปในตัวดักไอน้ำได้ดี ท่อส่วนนี้จะต้องเอียงลงเพื่อให้เกิดการไหลตามธรรมชาติ

- กรณีที่มีความจำเป็นจะต้องติดตั้งตัวดักไอน้ำอยู่ในระดับสูงกว่าท่อระบายที่ออกจากอุปกรณ์ให้ใช้ท่อรูปตัวยูติดตั้งตรงส่วนล่างของท่อดิ่ง 

 ไอกลั่นตัวที่ขังอยู่ในท่อรูปตัวยูจะกั้นไอน้ำ ภายในท่อดิ่งออกจากไอน้ำภายในอุปกรณ์ใช้ไอน้ำ ไอกลั่นตัวจะถูกดันให้ขึ้นไปยังท่อดิ่งและถึงตัวดักไอน้ำที่สุด 

 ท่อดิ่งมีการหุ้มฉนวนอย่างดีอาจจะทำให้มีไอน้ำขังอยู่ระหว่างท่อรูปตัวยูและตัวดักไอน้ำได้ ความดันไอน้ำส่วนนี้จะป้องกันไม่ให้ไอกลั่นตัวระบายออกมาจากอุปกรณ์ได้สะดวก

- กรณีที่ท่อทางออกจากตัวดักไอน้ำจะต้องยกสูงขึ้นไปต่อกับท่อรวมของไอกลั่นตัวเหนือเพดาน จะต้องต่อท่อนี้เข้าทางด้านบนของท่อรวม 

 เพื่อป้องกันไม่ให้ไอกลั่นตัวจากท่อรวมไหลกลับลงมาอีก และควรใช้วาล์วกันการไหลย้อนกลับที่ทางออกด้วยเสมอ ท่อทางออกจากตัวดักไอน้ำจะสั้นที่สุด 

 ในกรณีที่ต้องเดินท่อยาวมาก็ควรที่จะเพิ่มขนาดท่อให้โตกว่ารูท่อตรงทางออกจากตัวดักไอน้ำ

การคำนวณหาอัตราไอกลั่นตัว

การออกแบบระบบไอน้ำได้อย่างเหมาะสมจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงอัตราความต้องการไอน้ำ หรืออัตราไอกลั่นตัวของอุปกรณ์แต่ละชิ้นในระบบ 

 จะช่วยให้กำหนดขนาดท่อต่าง ๆ ได้แล้ว ยังช่วยให้สามารถเลือกขนาดของอุปกรณ์ที่ประกอบในระบบได้อย่างเหมาะสมที่สุด 

 อัตราความต้องการไอน้ำอาจจะได้มาจากการคำนวณทางทฤษฏีจากผู้ผลิตอุปกรณ์ อัตราที่ไอน้ำจะกลั่นตัวบนผิวใด ๆ ขึ้นอยู่กับวัสดุ 

 พื้นที่ และความเปียกได้ง่ายหรือยากของผิวนั้น และยังขึ้นอยู่กับความเร็วที่ผิว อุณหภูมิ แผ่นอากาศ หรือความสกปรกของผิวด้วย

การยกไอกลั่นตัว

ผู้ออกแบบมักถามว่าตัวดักไปน้ำจะสามารถยกไอกลั่นตัวขึ้นไปในระดับสูงเพื่อส่งไปยังท่อไอกลั่นตัวรวมที่อยู่ข้างบนได้หรือไม่ 

 ความดันไอน้ำเป็นตัวที่จะยกไอกลั่นตัวขึ้นไปไม่ใช่ตัวดักไอน้ำ การที่จะยกไอกลั่นตัวขึ้นไปได้ ความดันไอน้ำตรงทางเข้าสู่ตัวดักไอน้ำจะต้องมีความดันเพียงพอ 

 และตัวดักไอน้ำจะต้องได้รับการเลือกมาให้ทนความดันนั้นได้ ในการใช้งานในลักษณะนี้ความดันย้อนกลับจะเพิ่มขึ้น

ฉะนั้นคำตอบที่เกี่ยวกับการยกไอกลั่นตัวขึ้นโดยความดันไอน้ำนี้อยู่ที่ว่า ความดันไอน้ำที่ตัวดักไอน้ำมีเพียงพอที่จะชนะความดันย้อนกลับได้หรือไม่ 

 และภายใต้ภาวะเช่นนี้ ตัวดักไอน้ำจะมีอัตราการระบายไอกลั้นตัวเพียงพอหรือไม่ ในการใช้งานเช่นนี้ควรจะติดตั้งวาล์วกันย้อนที่ท่อด้านออกจากตัวดักไอน้ำด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในท่อดิ่งไหลย้อนกับลงมาท่วมอุปกรณ์ได้

Flash Steam (ไอน้ำจากไอกลั่นตัว)

ถ้าพบว่าความดันสูงขึ้น จุดเดือดของน้ำจะสูงขึ้นด้วย ในทางกลับกันเมื่อความดันลดลงจุดเดือดของน้ำก็จะต่ำลงด้วย เมื่อไอน้ำคายความร้อน

แฝงแล้วไอกลั่นตัวที่ได้จะมีอุณหภูมิและความดันเท่ากับไอน้ำนั้น แต่ถ้าไอกลั่นตัวถูกลดความดันต่อไปอีก น้ำบางส่วนก็จะกลายเป็นไออันเนื่องจากจุดเดือดต่ำลง

 ไอน้ำที่ได้จากไอกลั่นตัวโดยการลดความดันปริมาณของไอน้ำที่จะได้กลับมาขึ้นอยู่กับความดันของไอน้ำและความดันด้านต่ำ 

 ในการคำนวณปริมาณของ flash pressure นี้สามารถทำได้โดยอาศัยตารางไอน้ำ และความสัมพันธ์

การนำ Flash Steam ไปใช้งาน

เราสามารถที่จะนำเอา flash steam จากไอกลั่นตัว ความดันสูงไปใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการไอน้ำที่ความดันต่ำได้ แทนที่จะปล่อยให้เสียไปในบรรยากาศ

ที่ถังพักไอกลั่นตัว จะต้องมีการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ถึงความคุ้มทุนสำหรับในแต่ละระบบ 

 ฉะนั้นประมาณของ flash steam ที่ได้ก็จะลดลงด้วย และยังมีการเสียความร้อนไปในท่ออันเนื่องมาจากการแผ่รังสีอีกด้วย

 การแยก flash steam ออกสามารถทำได้โดยการใช้ flash tank สำหรับท่อไอกลั่นตัวเข้า ท่อออกและท่อระบายไอกลั่นตัวส่วนที่เหลือ 

 ลักษณะการเดินท่อเพื่อนำ flash steam ไปใช้ประโยชน์ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ความดันไอน้ำสูง อุปกรณ์ที่ใช้ความดันไอน้ำต่ำ และการทำงานของระบบดังนี้

ไอกลั่นตัวความดันสูงจะถูกส่งไปเข้า flash tank ส่วนท่อจะต่อเข้ากับท่อเมนของไอน้ำความดันสูงที่ได้รับการลดความดันลงมาเท่ากับที่ต้องการแล้ว 

 ถ้าปริมาณไม่เพียงพอที่จะจ่ายให้ ไอน้ำจากท่อเมนก็จะช่วยจ่ายให้แทน โดยเสริมกับส่วนที่มีปริมาณมากเกินไป ความดันภายใน flash tank จะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้วาล์วระบายเปิดเพื่อระบาย flash steam บางส่วนทิ้งไป

การเดินท่อแบบต่าง ๆ ที่สำคัญ

การเดินท่อจะต้องให้มีความลาดเอียงไปตามทิศทางการไหลของไอน้ำ เพื่อไม่ให้ไอกลั่นตัวที่เกิดขึ้นไหลย้อนต้านกับการไหลของไอน้ำ 

 ตำแหน่งปลายสุดของท่อเมนจึงต้องมีวิธีการระบายไอกลั่นตัวและอากาศออกจากระบบโดยใช้ float trap ที่ติดตั้งที่ปลายท่อ 

 กรณีที่ระยะในแนวดิ่งระหว่างท่อไอน้ำและท่อไหลกลับของไอกลั่นตัวมีน้อย ก็ให้ใช้การติดตั้งที่จะทำให้ไอกลั่นตัวระบายออกได้ช้าลงเพราะ pressure differential ของตัวดักไอน้ำลดลง

ถ้าท่อเมนของไอน้ำมีความยาวมาก ทำให้จำเป็นต้องยกระดับท่อขึ้นเพื่อให้สามารถเดินท่อให้มีความลาดเอียงต่อไปได้ ให้ใช้ตัวดักไอน้ำ 

 สำหรับการระบายอากาศและไอกลั่นตัวออกที่ตรงตำแหน่งที่จะยกระดับท่อขึ้นจะเห็นว่าท่อส่วนที่จะต่อเข้าตัวดักไอน้ำ เพื่อช่วยลดความเค้นอันเนื่องมาจากการขยายตัวของท่อเมน กรณีที่ไอกลั่นตัวมีไม่มากก็อาจจะใช้แทนได้

ผลของไอเปียก

ในการทำไอน้ำเปียกสิ่งที่สำคัญก็คือหม้อไอน้ำ ทั่วไปผู้ผลิตหม้อไอน้ำมักจะระบุถึงขนาดของหม้อไอน้ำด้วยอัตราการผลิตไอแห้งอิ่มตัว 

 ข้อความดังกล่าวทำให้เกิดการเข้าใจผิด เพราะไอน้ำที่จ่ายออกมาจากหม้อไอน้ำ จะมีหยดน้ำขนาดเล็ก ๆ ติดออกมาด้วยเสมอ 

 สาเหตุอีกอย่างหนึ่งของการที่ทำให้เกิดไอเปียกก็คือการที่ไอน้ำคายความร้อนให้แก่ผนังท่อเนื่องจากแผ่นน้ำบาง ๆ ที่เกาะอยู่ภายในจะทำหน้าที่เป็นฉนวนที่ดี 

 ฉะนั้นแผ่นน้ำบาง ๆ นี้จะมีผลให้อัตราการผลิตของอุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำลดลง และยังทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำให้แก่อุปกรณ์เหล่านั้นอีกด้วย

 หม้อน้ำที่ทำงานที่ความดันสูง จะให้ไอน้ำที่แห้งกว่าที่ความดันต่ำกว่า ผู้ผลิตจึงแนะนำให้ผลิตไอน้ำที่ความดันสูงขึ้น วิธีการทำให้ได้ไอน้ำที่แห้งขึ้นก็คือ

การใช้ตัวแยกไอติดที่ต้นทางของท่อเมน หรือที่ท่อแยกก่อนที่จะเข้าสู่วาล์วควบคุมไอน้ำของอุปกรณ์นั้นพร้อมติดตั้งตัวดักไอน้ำ

เพื่อระบายไอกลั่นตัวออกด้วย ผลของไอเปียกที่มีต่อการทำงานของอุปกรณ์อาจจะมีได้มากเพียงใดขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความแห้งของไอน้ำว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด


สัญญาณกันขโมย


 

สร้างโกดัง


ผลของอากาศในไอน้ำ

อากาศทำหน้าที่เป็นฉนวนที่ดี ถ้ามีแผ่นหรือฟองอากาศเข้าไปจับอยู่ผิวภายในของอุปกรณ์ไอน้ำแล้ว ก็จะทำให้อัตราการผลิตของอุปกรณ์นั้นลดลง 

 อากาศในไอน้ำยังไม่ได้มีปริมาณความร้อนที่เกิดประโยชน์ต่ออุปกรณ์ใช่ไอน้ำดังเช่นความร้อนแฝงของไอน้ำ 

 จึงทำให้ส่วนผสมของไอน้ำและอากาศมีอุณหภูมิลดลง ซึ่งพิสูจน์ได้ ความดันทั้งหมดของก๊าซผสมจะเท่ากับความดันของแต่ละก๊าซรวมกัน ความดันในกลุ่มนี้หมายถึงความดันสมบูรณ์

อากาศในระบบส่วนใหญ่จะเข้ามากับ feed water ซึ่งได้รับการเติมน้ำจากภายนอกระบบ ซึ่งจะมีผลให้เร่งอัตราการสึกกร่อนภายในหม้อไอน้ำและท่อด้วย 

 วิธีการแรกที่จะขจัดอากาศในระบบก็คือการผ่านน้ำเข้าไปในถังแยกอากาศ ก่อนที่จะส่งไปยังหม้อไอน้ำ

ขั้นต่อไปก็คือการออกแบบระบบไอน้ำให้มีวาล์วระบายอากาศอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เหมาะสมซึ่งรวมทั้งในท่อไอน้ำ และที่อุปกรณ์ที่ไอน้ำด้วย 

 เนื่องจากอากาศและไอน้ำจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จึงเป็นวาล์วระบายอากาศชนิดที่เหมาะสมที่สุด และจะช่วยให้ระยะเวลาที่เสียไปในการอุ่นระบบลดน้อยลงซึ่งจะมีผลให้เกิดการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดียิ่ง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น