กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Linux Security (กล้องวงจรปิด)

Linux Security

วัตถุประสงค์


- รู้และเข้าใจขั้นตอนสำคัญในการรักษาความ

- ปลอดภัยในระบบลีนุกช์

- รู้และเข้าใจคำสั่งที่สำคัญที่ใช้สำหรับการตรวจสอบระบบ

- รู้และเข้าใจช่องโหว่ของระบบ  หรือแอพพลิเคชันที่รับนระบบลีนุกช์  เช่น DNS, Web, Mail, Databse เป็นต้น พร้อมทั้ววิธีป้องกัน


การรักษาความปลอดภัยระบบลีนุกช์


ขั้นตอนสำคัญสำหรับการติดตั้งและดูแลรักษาความปลอดภัยที่สำคัญของระบบที่เป็นยูนิกช์หรือลีนุกช์
การประเมินความเสี่ยง

การกำหนดค่าคอนฟิกต่าง  ๆ  ในระบบนั้น  การวิเคราะห์และกำหนดหน้าที่หลักของคอมพิวเตอร์ว่าจะให้บริการอะไรบ้าง  และหลังจากกำหนดหน้าที่หลักกแล้ว  

ขั้นตอนต่อไปคือการประเมินความเสี่ยงของระบบเพื่อจะได้กำหนดมาตรการหรือเลือกใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการป้องกัน  

การประเมินความเสี่ยงนั้นก็อาจเริ่มจากการวิเคราะห์ว่าระบบนั้นมีข้อมูลอะไรที่สำคัญ และจำเป็น  และภัยคุกคามที่มีต่อข้อมูลเหล่านั้น  การกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

การกำหนดหน้าที่หลักของเซิร์ฟเวอร์นั้นจะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หรือแพ็กเก็ตในระบบใดบ้าง  อาจเกี่ยวข้องกับการติดตั้งไลบรารีหรือโมดูลต่าง ๆ  

ของซอฟต์แวร์  หลักการคือ  ควรติดตั้งเฉพาะซอฟต์แวร์ที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดความเสี่ยง  การกำหนดว่าเครื่องนี้จะต้องใช้เครือข่ายอย่างไรบ้าง  

ซึ่งเป็นการกำหนดว่าจะให้เครื่องนี้ตติดต่อเครื่องอื่นผ่านเครือข่ายผ่านโปรโตคอลหรือพอร์ตไหนบ้าง  ซึ่งข้อกำหนดนี้ก็จะไปมีผลตอนกำหนดนโยบายของไฟร์วอลล์

การติดตั้งระบบ


                         ขั้นตอนการติดตั้งมีสิ่งที่ต้องพิจารณา  เพื่อให้ติดตั้งเสร็จแล้วระบบต้องปลอดภัย  ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำสำหรับการติดตั้งระบบใหม่

- ติดตั้งจากแผ่นที่เชื่อถือได้เป็นการดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต  หลังจากลงแผ่นแล้วควรตรวจเช็คความสมบูรณ์ของแผ่นเสียก่อน  

โดยการเช็คค่าแฮช  ซึ่งเว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดอิมเมจเหล่านี้จะมีค่าแฮชของซอร์สให้  และก็เปรียบเทียบกับค่าแฮชที่เราคำนวณได้เอง  ซึ่งอาจใช้คำสั่งต่อไป  

หากมีค่าไม่ตรงก็แสดงว่าไฟล์ถูกแก้ไข  อาจจะถูกฝังมัลแวร์ไว้ก็เป็นได้

- ในขณะที่ติดตั้งระบบใหม่ไม่ควระเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต  เพราะระบบที่ติดตั้งใหม่จะมีช่องโหว่ค่อนข้างมาก  ควรเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายเมื่อมั่นใจว่าปลอดภัยเพียงพอแล้ว

- สร้างพาร์ติชันแยกกัน  เมื่อพาร์ติชันใดเต็มก็จะไม่มีผลกระทบกับไฟล์อื่น  ๆ

- ควรติดตั้งเซอร์วิสและซอฟต์แวร์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น  ได้พิจารณาในขั้นตอนก่อนว่าจะให้เครื่องทำหน้าที่อะไร  ก็ลงเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่นั้นเท่านั้น  

การติดตั้งทุกซอฟต์แวร์ในเครื่องเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโดยเปล่าประโยชน์  เพราะแต่ละซอฟต์แวร์นั้นจะมีช่องโหว่ในตัวอยู่แล้ว

การอัพเดตแพตช์


                       หลังติดตั้งระบบเสร็จการอัพเดตแพตช์เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการที่จะทำให้ระบบปลอดภัย  ระบบที่ไม่ได้ติดตั้งแพตช์เป็นระบบที่มีช่องโหว่เต็มไปหมด  

และรอเวลาที่จะถูกโจมตีเมื่อไรก็ได้    ในการอัพเดตหลังจากติดตั้งระบบจากแผ่นซีดีก็หี่แพตช์ทันทีโดยที่ยังไม่ต้องเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย  

แพตช์อาจมาจากแผ่นซีดีที่ดาวน์โหลดโดยเครื่องอื่นที่ติดตั้งแพตช์แล้ว  ถ้าการติดตั้งแพตช์นั้นจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตนั้นอาจต้องติดตั้งและคอนฟิกไฟร์วอลล์ก่อน 

 และอนุญาตให้เฉพาะการเชื่อมต่อเพื่อการอัพเดตแพตช์เท่านั้น ติดตั้งแพตช์เสร็จแล้วก็ให้ถอดสายแลนออกเพื่อทำขั้นตอนต่อไป  

และอย่าลืมอัพเดตแพตช์ของซอฟต์แวร์อื่น  ๆ ที่ติดตั้งในระบบด้วย  ควรตรวจสอบความถูกต้องของซอรสโค้ดก่อน  ปกติซอร์สโค้ดที่ได้นั้นมีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์  

ผู้ดูแลระบบก็ควรติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่ออัพเดตแพตช์ใหม่ ๆ  ระบบรองรับการอัพเดตโดยอัตโนมัติ  ควรพิจารณาก่อนว่าจะเอ็นเนเบิลหรือไม่  การติดตั้งแพตช์นั้นอาจมีผลกระทบต่อระบบ

โดยเฉพาะระบบที่มีความสำคัญมาก  ควรอัพเดตแพตช์ด้วยคนจะดีกว่าและก่อนที่จะอัพเดตระบบที่ใช้งานจริงก็ควรลองอัพเดตในระบบที่เหมือนกันในระบบทดลองก่อน



สินค้าแนะนำ :   รั้วไฟฟ้ากันขโมย  กล้องวงจรปิด



สนใจติดตั้งกล้องวงจรปิด >>> บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด โทร. 02-8883507-8, 081-700-4715

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น