กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การกู้คืนระบบ (กล้องวงจรปิด)

การกู้คืนระบบ

วัตถุประสงค์


- รู้และเข้าใจวิธีตรวจสอบการถูกโจมตี

- รู้และเข้าใจการหยุดยั้งและการควบคุมการแพร่ระบาด

- รู้และเข้าใจวิธีในการวิเคราะห์มัลแวร์และการโจมตี

- รู้และเข้าใจขั้นตอนในการกู้คืนระบบ

การโจมตีของมัลแวร์หรือแฮคเกอร์มีการพัฒนาและซับซ้อนมากขึ้นรวมถึงเทคนิคการโจมตีและโค้ด  ไม่มีการป้องกันหรือเครื่องมือตัวเดียว

ที่สามารถใช้ได้ผลกับทุกระบบหรือองค์กร  จึงเป็นการยากมากที่จะป้องกันการโจมตีจากแฮคเกอร์หรือมัลแวร์ได้  เมื่อไม่สามารถป้องกันได้ก็ต้องมีกระบวนการในการแก้ไขเมื่อมีการโจมตี

การโจมตีของไวรัสมัลแวร์อาจต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการแก้ไขหรือกำจัด  การกู้คืนระบบจะมีขั้นตอนที่คล้าย ๆ กันและให้กลับมาทำงานเหมือนเดิมให้เร็วที่สุด  

การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับมัลแวร์และแฮคเกอร์  จะช่วยลดความรุนแรงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตี  แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วการวางแผน

เพื่อกู้ค้นระบบหลังจากการถูกโจมตีก็จะช่วยลดความเสียหาย  และทำให้ระบบกลับมาทำงานได้เหมือนเดิมได้เร็วขึ้น  การกู้คืนระบบจากการถูกโจมตีจากมัลแวร์หรือแฮคเกอร์

แนะนำข้อมูลเพิ่มเติม  :  รั้วไฟฟ้า   สัญญาณกันขโมย  กล้องวงจรปิด


สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนหลัก ๆ ได้ดังนี้


- การตรวจจับการถูกโจมตี

- การควบคุมสถานการณ์

- การวิเคราะห์มัลแวร์หรือแฮคเกอร์

- การกู้คืนระบบ




การตรวจจับการถูกโจมตี


เราสามารถตรวจว่าถูกโจมตีจากมัลแวร์หรือแฮคเกอร์ได้เร็วเท่าใดยิ่งดีเพราะทำให้สามารถป้องกันและแก้ไขได้เร็วขึ้น  และเป็นการลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น  

การโจมตีหรือการแพร่ระบาดการตรวจจับการดจมตีนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  การที่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ปกติใช่ว่าจะเป็นเพราะมัลแวร์หรือแฮคเกอร์เสมอไป  

บางครั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสอาจจะรายงานผิดพลาดเองผู้ใช้ก็ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทราบทันที

เมื่อตรวจพบความผิดปกติของระบบและทันที่ที่ฝ่ายไอทีได้รับแจ้งจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอาจติดไวรัส  ฝ่ายไอทีต้องสามารถวิเคราะห์

เบื้องต้นได้ว่าเป็นเพราะการโจมตีของมัลแวร์หรือแฮคเกอร์  สิ่งทีผู้ใช้อาจแจ้งให้ทราบซึ่งอาจเป็นการติดไวรัสได้ดังนี้

- ทันที่ที่เปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมลแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น  หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็เริ่มมีอาการแปลก ๆ

- ผู้ใช้ได้รับอีเมลจากผู้ที่อยู่ในรายชื่อที่ติดต่อ  และแจ้งว่าตัวเองได้ส่งอีเมลที่แนบไฟล์หรือไฟล์อื่น ๆ โดยที่ตัวเองไม่รู้ตัวหรือไม่ได้ส่งเมลนั้นด้วยตัวเอง

- โปรแกรมป้องกันไวรัสหยุดทำงาน  และคอมพิวเตอร์รีบู๊ตตัวเองบ่อย ๆ

- มีไฟล์ใหม่จำนวนมากถูกวางไว้ที่โฟลเดอร์ My Documents

- ไฟล์บางไฟล์ไม่สามารถเปิดได้ หรือหายไป

                        การได้รับแจ้งจากผู้ใช้หรือมีการแจ้งเตือนจากระบบตรวจจับการบุกรุกอัตโนมัติหรือ IDS ที่คาดว่าเป็นการถูกโจมตีจากมัลแวร์ตัวใหม่  

ศูนย์รับแจ้งควรสามารถวิเคราะห์และตัดสินได้ว่าเหตุการณ์นั้นเป็นการถูกโจมตีจริงหรือไม่ หลักการรับแจ้งมีกระบวนการดังนี้

การรวบรวมข้อมูล


                   สิ่งที่ช่วยในการตัดสินว่าเหตุการณ์ไม่ปกติเป็นการถูกโจมตีหรือไม่ และควรสอบถามผู้ใช้โดยตรง  เป็นผู้ที่ไม่ค่อยชำนาญเรื่องนี้มากนัก   

ควรออกแบบเพื่อให้ได้คำตอบที่จะช่วยในการตัดสินใจว่าเป็นการถูกโจมตีหรือไม่  ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมขององค์กรก็ได้

- วันเวลาที่มีการรายงานเหตุการณ์ไม่ปกตินั้น

- เหตุการณ์ที่ไม่ปกตินั้นคืออะไร

- กิจกรรมที่ทำหรือเกิดขึ้นก่อนที่จะมีสิ่งผิดปกตินั้น  เช่น การเข้าไปดูเว็บไซต์แปลก ๆ หรือผู้ใช้ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานที่อื่นหรือไม่  

หรือมีป๊อบอัพวินโดวส์ที่เป็นโฆษณา และมีการคลิกปุ่มOK หรือไม่  เป็นต้น

- มีโพรเซสหรือโปรแกรมแปลก ๆ กำลังรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่

- คอมพิวเตอร์นั้นเป็นเวิร์คสเตชันหรือเป็นเซิร์ฟเวอร์  ใช้ระบบปฏิบัติการอะไร และได้มีการอัพเดตแพตซ์ล่าสุดหรือไม่

- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงมีข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้หรือไม่

- ผู้ใช้ได้ล็อกออนเข้าใช้ในฐานะผู้ดูแลระบบหรือไม่

- ผู้ใช้มีรหัสผ่านที่แข็งแรงเพียงพอหรือไม่

- เครื่องนี้เคยถูกโจมตีหรือติดไวรัสมาก่อนหน้าหรือไม่
                     

คำถามที่สำคัญจากการโจมตีอาจสร้างแบ็คดอร์เพื่อไว้สำหรับการโจมตีครั้งต่อ  ๆ มาได้  ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขหรือปิดช่องโหว่นั้นก่อน  ถ้าคำตอบคือใช่  ให้ถามคำถามต่อไปอีกว่า

- การถูกโจมตีครั้งก่อนเกิดขึ้นเมื่อใด

- ใครเป็นผู้รับเรื่อง หรือหมายเลขรับเรื่องอะไร

- มีข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหานั้นหรือไม่

การวิเคราะห์ข้อมูล


                      เมื่อได้คำตอบแล้วทีมไอทีต้องวิเคราะห์เพื่อจะได้ตัดสินว่าเป็นการถูกโจมตีจากไวรัสหรือไม่  ต่อไปนี้เป็นคำถามที่จะช่วยในการวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น

- เป็นไปได้หรือไม่ที่เหตุการณ์ที่ได้รับแจ้งนั้นเป็นผลจากการติดตั้งโปรแกรมใหม่  หรือการอัพเดตแพตซ์ใหม่

- สามารถอธิบายได้หรือไม่ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้งานของผู้ใช้  ไม่ใช่เพราะจากแฮคเกอร์หรือไวรัส

- เป็นไปได้หรือไม่ที่เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพราะการทำงานของระบบ

- เป็นไปได้หรือไม่  ที่อาจเป็นเพราะการปรับเปลี่ยนค่าคอนฟิกของโปรแกรมที่ใช่งานที่ปกติ

                        ขั้นตอนสุดท้ายควรใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสสแกนเครื่องจากภายนอก  เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องนั้นติดไวรัสอื่นที่โปรแกรมป้องกันไวรัสในเครื่องไม่สามารถตรวจเจอได้




สนใจติดตั้งกล้องวงจรปิด >>> บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด โทร. 02-8883507-8, 081-700-4715


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น