กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กลไกการแพร่กระจาย (กล้องวงจรปิด)

กลไกการแพร่กระจาย

                       ในการแพร่กระจายตัวเองของมัลแวร์อาจใช้หลากหลายวิธีไปยังเครื่องอื่น  ๆ  ตัวอย่างที่มัลแวร์มักใช้ในการงแพร่กระจายตัวเองดังนี้

- Removable media  :  การแพร่กระจายแบบดั้งเดิมของไวรัสและแบบที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ การก็อปปี้ไฟล์กลไกนี้เริ่มจากการใช้แผ่นฟล็อปปี้ดิสก์

- Network shares   :   คอมพิวเตอร์ถูกเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายมีการแชร์ไฟล์กันเพื่อความสะดวกในการแลกเปลี่ยนไฟล์  

การแชร์ไฟล์ผ่านเครือข่ายกลายเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มัลแวร์ในการแพร่กระจายตัวเองไปอย่างรวดเร็ว  ถ้าเครือข่ายไม่มีระบบป้องกันและรักษาความปลอดภัย

ก็อาจทำให้การแพร่กระจายมัลแวร์ไปยังคอมพิวเตอร์จำนวนมากในเวลารวดเร็ว

- Network Scanning   :   มัลแวร์ใช้เทคนิคในการสแกนเครือข่าย  เพื่อค้นหาระบบที่มีจุดอ่อนหรือช่องโหว่และโจมตี  เช่น กลไกนี้อาจส่งแพ็กเก็ต

ที่สามารถเจาะเข้าระบบที่มีช่องโหว่ผ่านทางพอร์ตเฉพาะเพื่อค้นหาหรือทดสอบว่ามีระบบใดบ้างที่มีจุดอ่อนหรือช่องโหว่

- Peer-to-peer networks  :   หลักการทำงานของเครื่องสองเครื่องที่ต้องการแชร์ข้อมูลหรือไฟล์และโฟลเดอร์  แต่ละเครื่องจะต้องติดตั้งโปรแกรมไคลเอนต์   

แต่ละเครื่องจะใช้การสื่อสารผ่านพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง  ถ้าองค์กรมีไฟล์วอลล์ผู้ดูแลระบบอาจจะไม่อนุญาตการสื่อสารผ่านพอร์ตนี้ได้  

โปรแกรมเหล่านี้อาจสามารถกำหนดให้ ใช้พอร์ตที่เปิดใช้งานได้  และอาจเป็นช่องทางในการแพร่กระจายไวรัสหรือมัลแวร์ก็ได้

- E-mail   :   ในปัจจุบันเป็นที่นิยมของการแพร่กระจายมัลแวร์ เป็นวิธีการที่ง่าย ส่วนใหญ่ในการสื่อสารกับคนอื่นผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

โดยการใช้วิศวกรรมสังคมหรือใช้จิตวิทยาการแพร่กระจายที่รวดเร็วและทำลายคอมพิวเตอร์จำนวนมากในปัจจุบันอีเมลเป็นสื่อ

ในการแพร่กระจายมากที่สุดมัลแวร์ที่ใช้อีเมลในการแพร่กระจายตัวเอง

- Remote exploit   :มัลแวร์พยายามใช้ช่องโหว่หรือจุดอ่อนหรือแอพพลิเคชัน เพื่อแพร่กระจายตัวเอง พฤติกรรมอย่างนี้มักพบกันมากสำหรับมัลแวร์ประเภทเวิร์ม

สินค้าแนะนำ |  รั้วไฟฟ้า  สัญญาณกันขโมย  กล้องวงจรปิด




สื่อที่ใช้สำหรับการแพร่ระบาด


การโจมตีสำหรับมัลแวร์ใช้หลากหลายวิธีเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อต้องออกแบบป้องกันไวรัสที่มีประสิทธิภาพ  ช่องทางต่างๆ ที่ถูกใช้สำหรับการโจมตีโดยไวรัสหรือมัลแวร์ได้มีดังนี้

- เครือข่ายภายนอก    เครือข่ายที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กร  จัดว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงที่อาจถูกโจมตีหรือเป็นแหล่งที่มาของการโจมตีได้  

อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเปิดที่อาจมีใครก็ได้ที่มีจุดประสงค์มุ่งร้ายและเป็นแหล่งที่สามารถเรียนรู้วิธีการใช้มัลแวร์เพื่อโจมตีเป้าหมายได้หลากหลายรูปแบบ

- คอมพิวเตอร์ของแขกที่มาเยือน   การใช้โน๊ตบุ้คและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาอื่น  ๆ  เพิ่มขึ้นอุปกรณ์เหล่านี้ต้องเคลื่อนย้ายเข้าออกองค์กรเป็นประจำ  

อุปกรณ์เหล่านี้ไม่มีระบบการป้องกันไวรัสที่ดีอาจเป็นแหล่งที่มาของการแพร่กระจายของไวรัสได้  จึงควรให้ความสำคัญ

- เอ็กเซ็กคิวด์ไฟล์    โค้ดที่สามารถรันหรือเอ็กเซ็กคิวด์ได้อาจเป็นมัลแวร์ได้  ไม่ใช่แค่โปรแกรมแต่รวมถึงสคริปต์ แบทช์ไฟล์ และแอ็คทีฟออบเจ็กต์  เช่น  ไมโครซอฟท์แอ็คทีฟคอนโทรล เป็นต้น

- ไฟล์เอกสาร    โปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์และสเปรตซีทมีความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลายเป็นเป้าหมายของการโจมตี  

โดยเฉพาะมาโครที่รองรับโดยแอพพลิเคชันเป็นจุดอ่อนที่ทำให้สามารถทำให้รันไวรัสหรือมัลแวร์ได้

- อีเมล    ไวรัสหรือมัลแวร์ใช้ประโยชน์ทั้งจากไฟล์ที่แนบมากับอีเมล และแอ็คทีฟโค้ดที่ส่งมาพร้อมกับอีเมลก็อาจเป็นแหล่งที่มาของไวรัสหรือมัลแวร์อื่น  ๆ

- มีเดียเก็บข้อมูล    การถ่ายโอนไฟล์ผ่านอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ถอดเข้าออกได้  อาจเป็นช่องทางของการแพร่กระจายไวรัสหรือมัลแวร์ได้

กลไกการป้องกันตัวเอง


                     มัลแวร์ใช้กลไกเพื่อป้องกันหรือช่วยลดโอกาสที่จะถูกตรวจเจอหรือถูกกำจัดทิ้ง  เป็นเทคนิคที่มัลแวร์ส่วนใหญ่นิยมใช้มีดังนี้

- Armor    :    เทคนิคการป้องกันนี้พยายามและป้องกันการวิเคราะห์โค้ดของมัลแวร์  จะตรวจดูว่าโปรแกรมดีบั๊กเกอร์กำลังรันอยู่หรือไม่  

และป้องกันหรือทำให้ดีบั๊กเกอร์ทำงานไม่ถูกต้อง  การเพิ่มโค้ดจำนวนมากที่ไม่มีความหมายใด ๆ เพื่อทำให้ยากต่อการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของโค้ดมัลแวร์นี้

- Stealth   :   เทคนิคการซ่อนพรางตัวการให้ข้อมูลที่ผิด ๆ โปรแกรมสแกนไวรัสพยายามจะสแกนมัลแวร์

- Encryption   :    ใช้วิธีการเข้ารหัสโค้ดตัวเองและเพย์โหลด  รวมทั้งข้อมูลระบบด้วยเพื่อป้องกันการตรวจพบ  มัลแวร์ที่เข้ารหัสประกอบด้วยฟังก์ชันการเข้ารหัส คีย์ 

และโค้ดมัลแวร์ที่ถูกเข้ารหัสแล้ว  เมื่อมัลแวร์ถูกรันแล้วก็ใช้ฟังก์ชันการเข้ารหัสและคีย์เพื่อเข้ารหัสตัวเองอีกครั้ง  มัลแวร์จะใช้ฟังก์ชันในการเข้ารหัสเดียวกันเสมอ

แต่คีย์จะถูกเปลี่ยนไปทุกครั้ง  ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอาจตรวจเจอฟังก์ชันที่ใช้สำหรับเข้ารหัส และทำให้ตรวจเจอมัลแวร์ประเภทนี้ได้ง่ายกว่า

- เข้ารหัสโค้ดมัลแวร์เองด้วยฟังก์ชันเข้ารหัส  และสร้างคีย์สำหรับการถอดรหัสเฉพาะในแต่ละครั้ง

      สนใจติดตั้งกล้องวงจรปิด >>> บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด โทร. 02-8883507-8, 081-700-4715  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น