กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Password (กล้องวงจรปิด)

Password

ในการพิสูจน์ทราบตัวตนหลักฐานที่นิยมใช้มากที่สุดได้แก่  สิ่งที่คุณรู้เช่น  รหัสผ่านเป็นสิ่งที่ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไปในการควบคุมการเข้าถึงระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นอยู่แล้ว   

การใช้รหัสผ่านอย่างเดียวอาจไม่ปลอดภัยเพียงพอ   หรือข้อเสียอย่างหนึ่งของการใช้รหัสผ่านบางครั้งอาจทำให้ลืมได้ง่าย  ผู้ผลิตโน้ตบุ๊คหรือสมาร์ทโฟนบางยี่ห้ออาจเพิ่มเทคนิคอื่นเข้ามาช่วย   

 รหัสผ่านเป็นวิธีการที่ใช้มานานและนิยมใช้กันแพร่หลาย  รหัสผ่านควรจำกัดให้เฉพาะผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เท่านั้นที่ทราบ 

อุปกรณ์แนะนำ :   รั้วไฟฟ้ากันขโมย    กล้องวงจรปิด    สัญญาณกันขโมยไร้สาย


 

 

ในปัจจุบันนี้การใช้รหัสผ่านที่ไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่จะรักษาความปลอดภัยระบบกล้องวงจรปิดให้กับระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  

การตั้งรหัสผ่านที่ง่ายเกินไป  และวิทยาการความรู้ที่ก้าวหน้าทำให้รหัสผ่านอาจจะถูกขโมยในระหว่างการสื่อสารผ่านเครือข่ายได้    

ในปัจจุบันจะใช้รหัสผ่านเกือบทุกระบบคอมพิวเตอร์ในการป้องกันและพิสูจน์ทราบตัวตนของผู้ใช้ที่จะล็อกอินเข้ามาใช้งานระบบ  

ทั่วไปแล้วรหัสผ่านจะไม่เก็บไว้ในรูปแบบของเพลนเท็กซ์ธรรมดา  แต่จะถูกเข้ารหัสด้วยอัลกอริทึมบางอย่าง  โดยส่วนใหญ่จะเป็นแฮซฟังก์ชัน

                     ปัจจุบันระบบรักษาความปลอดภัยและพิสูจน์ตัวตนของบุคคลมีหลายรูปแบบ  เหตุนี้จึงมีการนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกส์มาใช้โดยใช้ส่วนต่าง  ๆ  

ของร่างกายเป็นตัวระบุว่าคนคนนั้นเป็นใคร  ซึ่งการพิสูจน์ตัวบุคคลด้วยวิธีนี้ถือเป็นวิธีที่แม่นยำและมีความน่าเชื่อถือมาก  

บุคคลแต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันในทุก  ๆ  ส่วนแม้จะเป็นแฝดก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคน 

 



ไบโอเมตริกส์การผสมผสานเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพและเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน  ด้วยการตรวจวัดคุณลักษณะทางกายภาพ

และลักษณะทางพฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคนในการระบุตัวบุคคลนั้น  ๆ  ขณะที่พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงได้จึงทำให้การพิสูจน์บุคคลนิยม

ใช้เอกลักษณ์ทางกายภาพมากกว่าเอกลักษณ์ทางพฤติกรรม

อัตราผิดพลาด


ระบบพิสูจน์ทราบตัวตนแบบไบโอเมตริกส์อาจมีการผิดพลาดซึ่งสามารถมีหลายปัจจัยตั้งแต่เครื่องอ่านที่ไม่มีคุณภาพ  ความซ้ำซ้อนของข้อมูลทำให้การค้นหาช้า  

ดังนั้นระบบพิสูจน์ทราบตัวตนมักจะมีข้อที่ต้องแลกเปลี่ยนเสมอ  โดยปกติการวัดความแม่นยำของระบบไบโอเมตริกส์สามารถแบ่งออกได้เป็น  3  ประเภทดังนี้

- FRR (False Reject Rate)        อัตราการเกิดข้อผิดพลาดที่ระบบตรวจพิสูจน์แล้วได้ผลลัพธ์เป็นลบหรือไม่ผ่านทั้ง  ๆ  ที่ผู้ใช้คนนั้นเป็นตัวจริง  

ความผิดพลาดประเภทนี้บางที่เรียกว่า  Type I error  ข้อผิดพลาดประเภทนี้จะไม่ทำให้ระบบมีความปลอดภัยลดน้อยลง

- FAR (False Accept Rate)      อัตราการเกิดข้อผิดพลาดที่ระบบตรวจพิสูจน์แล้วได้ผลลัพธ์เป็นบวกหรือผ่าน  ข้อผิดพลาดประเภทนี้บางทีเรียกว่า Type ll error  

เป็นข้อผิดพลาดที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบรักษาความปลอดภัย  เนื่องจากจะอนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่ตัวจริงเข้าสู่ระบบได้

- CER (Crossover Error Rate)      จุดที่ค่า FRR  มีค่าเท่ากับ FAR  ข้อผิดพลาดประเภทนี้บางทีเรียกว่า EER(Equal Error Rate)  

เหตุที่หาค่านี้เนื่องจากค่านี้จะเป็นสิ่งที่บอกว่าระบบไบโอเมตริกส์ทำงานในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นได้  และมักนิยมใช้ค่านี้ในการเปรียบเทียบระหว่างระบบไบโมเมตริกส์ต่าง  ๆ  ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น