กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562

มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูลแบบพับลิกคีย์ (กล้องวงจรปิด)

มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูลแบบพับลิกคีย์


                         โดยทั่วไปอัลกอรึทึ่มแบบพับลิกคีย์ที่เป็นที่รู้จัก  เช่น RSA, Digital Signature, Cramer - Shoup และอื่น  ๆ เป็นต้น  ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างในรายละเอียดดังนี้

RSA


การเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์มาจากตัวแรกของผู้คิดค้นอัลกอริทึ่ม  ประกอบด้วย รอน รีเวลท์ อดิ ชาเมอร์  และลีโอนาร์ด แอ็ดเดิลเมน  

วิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งกับการเข้ารหัสข้อมูลและประยุกต์ใช้กับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์  ข้อมูลที่เข้ารหัสด้วยไพรเวทคีย์จะถูกถอดรหัสได้ด้วยการใช้พับลิกคีย์ที่เป็นคู่กันเท่านั้นหรือสางคลับคีย์กันได้

การสื่อสารแบบนี้สามารถสร้างความเชื่อถือให้กับข้อมูลได้แบบทางเดียว  RSA  สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน    RSA  

มีขั้นตอนสำคัญ  3  ขั้นตอนคือ  การสร้างคีย์  การเข้ารหัส  และการถอดรหัส  มีรายละเอียดขั้นตอนในการสร้างพับลิกคีย์และไพรเวทคีย์มีดังนี้

- เลือกเลขจำนวนเฉพาะ P  และ  Q หลักการในการเลือกตัวเลขทั้งสองนี้คือ  ยิ่งเลขจำนวนมากยิ่งทำให้ยากต่อการเดารหัสลับหรือคีย์  แต่จะทำให้การเข้าและถอดรหัสช้า

- คำนวณจำนวน n และ z โดยn=qp และ z=(p-1)(q-1)

- เลือกจำนวน  e  ซึ่งมีค่าน้อยกว่า n และ  e  ไม่มีตัวหารร่วมกับ z นอกจาก 1  ดังนั้น e และ z  จึงเป็นจำนวนเฉพาะซึ่งกันและกัน

- คำนวณหาจำนววน d โดยedmod z= 1  (mod  เป็นโอเปอเรเตอร์ที่เป็นการหารเอาเฉพาะเศษ)

- พับลิกคีย์ คือ จำนวนคู่ (n, e) ส่วนไพรเวทคีย์ คือ  จำนวนคู่ (n,d)และสูตรการเข้ารหัส





       การเข้าและถอดรหัสทำได้โดยทฤษฏีทางคณิตศาสตร์  เลขยกกำลัง  และการหารเอาเฉพาะเศษ  ในขั้นต้นต้องแปลงตัวอักษรเป็นตัวเลข  

เราจะเลือกคีย์ที่มีจำนวนน้อย  แต่จำนวนที่ได้จากการยกกำลังนั้นมีค่าสูงมาก  และการเลือกคีย์นั้นควรจะมีความยาวมาก  ๆ  เพื่อให้ยากต่อการเดาคีย์ที่ใช้ได้  

โดยทั่วไปคีย์ที่ใช้บนอินเทอร์เน็ตจะมีขนาด 1,024 บิต จึงทำให้ขั้นตอนการเข้าและถอดรหัสนั้นช้ามากเมื่อเทียบกับการเข้ารหัสแบบซิมเมตริกคีย์  

แต่ในทางปฏิบัติ RSA จะใช้คู่กับ DES  ในครั้งแรกจะใช้  RSA  สำหรับแจกจ่ายซีเคร็ทคีย์ของ DES  เพื่อเข้ารหัส  ซึ่งคีย์นี้จะเรียกว่า  เซสซันคีย์




Digital Signature algorithm (DSA)


การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในโลกดิจิตอลมีความสำคัญอย่างมาก   ข้อมูลที่ส่งมานั้นมาจากใครและมีความคงสภาพดังเดิมหรือไม่  

ความเชื่อมั่นในระบบสื่อสารนั้นก็จะไม่มี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบที่คู่สนทนาเป็นคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน  ด้วยเทคโนโลยีนี้บุคคลธรรมดาทั้วไป

ก็สามารถลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้  แทนการลงชื่อในเอกสารที่เป็นกระดาษ  หรือใช้โดยนิติบุคคลแทนการใช้ตราประทับแบบเดิมได้ 

ลายเซ็นดิจิตอลใช้เทคนิคการเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์   ผู้เซ็นชื่อนั้นจะใช้ไพรเวทคีย์ในกระบวนการลงชื่อส่วนผู้รับนั้นจะใช้พับลิกคีย์ของผู้ลงชื่อนั้น

ในการตรวจสอบ  หรือพิสูจน์ทราบตัวตนของผู้เซ็น  และยังมีคุณสมบัติพิเศษในการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลได้ด้วย  การเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์สามารถประยุกต์ใช้เป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้

เทคนิคดังกล่าวสามารถตรวจสอบผู้เซ็นได้ด้วยการตรวจสอบคีย์ที่ใช้ และข้อมูลนั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน  เจ้าของเท่านั้นที่ทราบไพรเวทย์คีย์ 

 ปัญหาของการเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์ขั้นตอนการเข้าและถอดรหัสนั้นอาจใช้เวลานานเกินไปโดยเฉพาะกับเอกสารที่มีขนาดใหญ่  ขั้นตอนในการเข้าและถอดรหัสจะมีการคำนวณเลขยกกำลังจำนวนมาก  ๆ

จุดมุ่งหมายของลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นแตกต่างจากการเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์ตรงที่ว่าการเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์ผู้ส่งต้องการที่จะปกปิดข้อความที่ส่ง  

แต่จุดประสงค์ของลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการรับรองว่า  ผู้ส่งนั้นเห็นด้วยกับเนื้อหาของข้อความที่ส่ง  และข้อความส่งถึงผู้รับ

โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยบุคคลที่สาม  เนื้อหาของข้อความอาจเปิดเผยได้  ลายเซ็นดิจิตอลมีขั้นตอนการทำงานที่สำคัญ  3  ขั้นตอนคือ

- การสร้างคีย์

- การลงชื่อ

- การพิสูจน์ลายเซ็น


สินค้าแนะนำระบบรักษาความปลอดภัย :   รั้วไฟฟ้ากันขโมย  กล้องวงจรปิด  สัญญาณกันขโมย

 



        ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ถูกพัฒนาเพื่อจุดมุ่งหมายข้างต้นและมีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้


- ข้อมูลที่ต้องการจะส่งจะถูกคำนวณให้ได้ข้อความที่สั้นลงโดยใช้แฮชฟังก์ชัน  ผลที่ได้จะเป็นข้อมูลสั้น  ๆ  และความยาวคงที่เรียกว่า  เมสเสจไดเจสต์

- ผู้ส่งจะเซ็นชื่อในข้อความโดยการเข้ารหัสเมสเสจไดเจสต์  โดยใช้ไพรเวทคีย์ของตัวเอง  ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเรียกว่า ลายเซ็นดิจิตอลของเอกสารนั้น

- ข้อความเดิมจะถูกส่งไปพร้อมกับลายเซ็นดิจิตอลนี้ไปให้ผู้รับ

- ผู้รับจะตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับโดย  คำนวณเมสเสจไดเจสต์โดยใช้แฮชฟังก์ชันเดียวกัน   ใช้พับลิกคีย์ของผู้ส่งถอดรหัสลายเซ็นดิจิตอลที่ส่งมากับข้อความ  

ซึ่งจะได้เมสเสจไดเจสต์อีกชุดหนึ่ง  เปรียบเทียบเมสเสจไดเจสต์ที่คำนวณได้กับที่ถอดรหัสได้  ถ้าเหมือนกันแสดงว่าข้อความไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่มีการเซ็นเอกสารนั้น

                        ประโยชน์ของการใช้ลายเซ็นดิจิตอลมีอยู่สองข้อหลัก  ๆ  คือ  พิสูจน์ได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นมาจากผู้ส่งตัวจริงและไม่ได้ถูกปลอมแปลง  

ซึ่งคุณสมบัตินี้เรียกว่า  การพิสูจน์ทราบตัวตน  และการพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลได้ถูกเปลี่ยนแปลงหรือไม่

>>>ติดตั้งกล้องวงจรปิด<<<


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น