กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

แฮชฟังก์ชั่น (กล้องวงจรปิด)

แฮชฟังก์ชั่น


บางทีเรียกว่าวันเวย์เอ็นคริพชัน   เป็นการเข้ารหัสข้อมูลโดยไม่ต้องใช้คีย์  และผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้ารหัสนั้นจะมีความยาวคงที่เสมอ  

แฮชฟังก์ชันจะใช้สำหรับการคำนวณหาสิ่งที่เรียกว่า  ดิจิตอลฟิงเกอร์พรินต์ หรือเมสเสจไดเจสต์

ประโยชน์ของแฮชฟังก์ชันใช้สำหรับตรวจสอบดูว่าข้อมูลเดิมนั้นได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่  และยังนิยมใช้โดยระบบปฏิบัติการเพื่อเข้ารหัสพาสเวิร์ค

ในการล็อกอินเข้าระบบ  แฮชฟังก์ชันนั้นสามารถใช้สำหรับการรักษาความถูกต้องของข้อมูลหรือไฟล์กล้องวงจรปิดได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะการใช้ในระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์

                       ไฟล์สองไฟล์มีเนื้อหาที่แตกต่างกันเมื่อส่งเข้าแฮชฟังก์ชันแล้วจะได้เมสเสจไดเจสต์ที่แตกต่างกันและยังมีโอกาสเป็นไปได้ที่มีสองไฟล์ใด  ๆ  

อาจมีค่าเมสเสจไดเจสต์ที่เหมือนกันก็ได้  การหาสองไฟล์ใด  ๆ ที่ให้ค่าแฮชเดียวกันนั้นเป็นสิ่งที่หายากมาก ๆ  ซึ่งอาจสรุปได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลยก็ได้  

และสิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือ  การหาไฟล์ที่ได้ค่าแฮชที่กำหนด  เพราะเหตุนี้แฮชฟังก์ชันจึงนิยมมากในระบบการรักษาความปลอดภัยและนิติเวชศาสตร์คอมพิวเตอร์


อุปกรณ์แนะนำ :   รั้วไฟฟ้ากันขโมย    กล้องวงจรปิด    สัญญาณกันขโมยไร้สาย





ความยาวของคีย์


                      งานวิจัยหลายฉบับในปปัจจุบันรายงานว่าคีย์ที่มีความยาว 56 บิตไม่ปลอดภัยเพียงพอเราต้องใช้คีย์ที่มีความยาวเพิ่ม  

การเพิ่มบิตหนึ่งบิตให้กับคีย์เท่ากับเป็นการเพิ่มจำนวนคีย์ได้เป็นสองเท่า   ในการเข้ารหัสข้อมูลของคีย์มีความสำคัญมาก   

เหตุผลที่คีย์ยิ่งยาวเท่าไรยิ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น  ในการถอดรหัสคอมพิวเตอร์อาจจะต้องลองใช้คีย์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดเพื่อถอดรหัส  

หรือที่เรียกว่าการโจมตีแบบรูทฟอร์ส  การโจมตีแบบนี้นิยมมากกว่าแบบอื่น  คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้มีการพัฒนามากขึ้น  และมีราคาถูกลง  

คอมพิวเตอร์พีซีทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการโจมตีได้  องค์กรที่มีงบประมาณมากก็สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ที่อนุญาตให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ชิป

ที่สามารถทำงานเฉพาะได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป  ปัจจุบันได้มีแนวโน้มและเริ่มมีการนำการ์ดจอมาใช้เพราะมีหน่วยประมวลผลสูงมากต่อหนึ่งการ์ดจอ

หากนำมาต่อขนานกันหลาย  ๆ  ตัวก็จะให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นตามลำดับ  นั่นเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้กันมากกว่าการใช้พีซีที่มีหน่วยประมวลผล 4-8 ตัวต่อซีพียู

                       ความยาวของคีย์ที่เพียงพอสำหรับการปกป้องข้อมูลจากการโจมตีนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเวลาที่อนุญาตให้ถอดรหัสและกำลังเงินสนับสนุน    

หลักพื้นฐานสำหรับระบบการรักษาความปลอดภัยใด  ๆ  การที่รู้ว่าเราต้องการที่จะปกป้องอะไรจากใคร  แล้วคีย์ขนาดเท่าไรถึงจะเพียงพอและเหมาะสม

ดังนั้นคีย์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจึงควรมีความยาวอย่างน้อย  76 บิต  และควรที่จะมีความยาวเพิ่มขึ้นอีก  แต่บางครั้งคีย์ที่มีขนาดความยาวมาก ๆ 

ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะอาจจะไม่ได้เพิ่มความปลอดภัยมากนัก  แต่มีข้อเสียคือจะต้องใช้เวลาในการเข้าและถอดรหัสข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก

 


เทคนิคการซ่อนพรางข้อมูล


                     การซ่อนพรางข้อความด้วยการใช้บิตที่มีความสำคัญน้อยที่สุดของไฟล์รูปภาพหรือไฟล์เสียง  ยิ่งไฟล์ที่ใช้ซ่อนพรางข้อความที่มีขนาดใหญ่เท่าใด  

ก็ยิ่งทำให้ง่ายต่อการซ่อนพราง    จุดประสงค์ของเทคนิคในการซ่อนพรางข้อมูล  ก็คือการทำให้ไฟล์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลนั้นดูเหมือนไม่แตกต่างจากไฟล์ดังเดิม    

ปัจจุบันมีหลายโปรแกรมที่ใช้สำหรับการซ่อนพรางข้อมูล

การตรวจจับการซ่อนพรางข้อมูล


                    หลักการของการซ่อนพรางข้อมูล   การทำไม่ให้จับได้ว่ามีการซ่อนพรางข้อมูล และเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะซ่อนข้อมูลโดยไม่ทิ้งร่องรอยใด  ๆ   

ขณะที่โปรแกรมนั้นไม่ได้พยายามที่จะแทรกข้อมูลลงไปในไฟล์แต่เป็นเพียงการเพิ่มข้อมูลพ่วงต่อท้ายข้อมูลเดิมที่มีอยู่ 

 แต่บางโปรแกรมที่ใช้วิธีที่ฉลาดกว่าในการสุ่มเลือกบิตที่จะแทรกข้อมูลลงไปในไฟล์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น