มัลติมอเตอร์และเครื่องตรวจสายสัญญาณภาพและเสียง กล้องวงจรปิด
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
การทำงานได้นำหลักการเหนี่ยวนำของขดลวดมูฟวิ่งคอยส์ ในการขับเคลื่อนเข็มมิเตอร์ โดยมากจะใช้งานด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านไฟฟ้าส่วนประกอบต่างๆ ของมัลติมิเตอร์ สเกลหน้าปัดของแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อมีความแตกต่างกันทั้งตำแหน่งและตัวเลขกำกับและค่าบนสเกล ระยะความห่างของช่องสเกลและปริมาณไฟฟ้า แต่การวัดค่าและการอ่านค่าต้องปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน การทำความเข้าใจลักษณะสเกลหน้าปัดของมัลติมิเตอร์เพียงรุ่นเดียว สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้กับสเกลหน้าปัดของทุกรุ่นได้ ในส่วนการอ่านค่าย่านความต้านทานมัลติมิเตอร์นิยมใช้อ่านค่าความต้านทานของวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สายสัญญาณ สายไฟฟ้า และหลอดไฟ วงจรไฟฟ้าว่าสิ่งที่ต้องการวัดหรือตรวจสอบ มีค่าความต้านทานเพื่อใช้พิจารณาว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้หรือไม่ ข้อจำกัดของการใช้มัลติมิเตอร์สำหรับย่านความต้านทาน มัลติมิเตอร์เครื่องมือที่มีส่วนประกอบเป็นวัสดุและอุปกรณ์หลายชนิด แต่ส่วนประกอบแต่ละชนิดมีขนาดเล็กและบอบบาง จึงมีข้อจำกัดการใช้งาน ดังนี้
- ควรระมัดระวังไม่ให้ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ของมัลติมิเตอร์ได้รับการกระเทือนจากการตกหล่นหรือจ่ายกระแสไฟฟ้าเกิน
- ห้ามวัดค่าความต้านทานด้วยย่านวัดโอห์มมิเตอร์ของมัลติมิเตอร์ ขณะที่วงจรตรวจวัดมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าอยู่ การวัดย่านความต้านทานไม่จำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้า
- หากหยุดใช้งานมัลติมิเตอร์เป็นเวลานานควรปลดแบตเตอรี่ที่ใส่ไว้ออกเพื่อการป้องกันการเสื่อมของแบตเตอรี่และการเกิดสารเคมีหลอมละลายออกมจากแบตเตอรี่อาจกัดกร่อนวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ จนทำให้ชำรุดเสียหายได้
- การปรับตั้งค่าหากพบว่าเข็มของมิเตอร์ไม่ขึ้นให้ตรวจสอบว่าฟิวส์ที่อยู่ภายในทำหน้าป้องกันไฟฟ้ากระแสเกินที่จะทำลายแผงวงจรภายในของมัลติมิเตอร์ ถ้าฟิวส์ขาดให้ใช้ฟิวส์สำรองที่มีอยู่ภายในต่อแทนและทดลองปรับตั้งซีโร่โอมห์อีกครั้ง
มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข
เป็นแบบที่พัฒนาสำหรับการแสดงผลวัดค่าด้วยตัวเลขหรือระบบดิจิทัล การวัดค่าการอ่านทำให้มีความถูกต้องมากขึ้น ซึ่งสามารถวัดค่าอุณหภูมิ ความถี่ และค่าความจุของตัวเก็บประจุ และค่าอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ และตรวจสอบโดยการแสดงด้วยเสียง ส่วนประกอบสำคัญสำหรับการใช้งานปุ่มเลือกการทำงานของมัลติมิเตอร์ ส่วนการใช้ย่านวัดของมัลติมิเตอร์แบบตัวเลขสามารถวัดค่าสัญญาณไฟฟ้าได้หลายลักษณะ เริ่มจากปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ใช้งานเวลานาน และการใช้ย่านวัดความต้านทานของมัลติมิเตอร์วิธีการตรวจสอบเพื่อตรวจสอบสายสัญญาณสายไฟฟ้าว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้หรือไม่ การใช้ย่านวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงของมัลติมิเตอร์โดยการปรับลูกบิดของมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงและนำสายวัดสีดำแทนขั้วบวกและสายวัดสีแดงแทนขั้วลบ เพราะหากขั้วไม่ตรงกันค่าที่อ่านได้จะติดลบหรืออ่านไม่ได้ ซึ่งบริเวณถ่านไฟฉายขนาด AA จะระบุขั้วอย่างชัดเจน
เครื่องตรวจสายสัญญาณภาพและเสียง
ในงานด้านสื่อสารถือว่าเครื่องตรวจสายสัญญาณมีความสำคัญ จำเป็นต้องใช้สายสัญญาณภาพ และเสียงในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกัน จึงต้องมีสายสัญญาณภาพและเสียงที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตรวจวัด แต่มีข้อจำกัดผู้ตรวจสอบจะต้องมีทักษะและการใช้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างชำนาญ และมีทักษะการตรวจที่รวดเร็ว จึงได้มีการคิดเครื่องมือในการตรวจสอบสายสัญญาณภาพและเสียงที่เข้าใจง่ายและตรวจสอบได้รวดเร็ว เครื่องตรวจเป็นเครื่องวัดสายสัญญาณเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการใช้งานของสภาพการบัดกรีถึงกันและสภาพที่ชำรุดของตัวนำที่ไม่ถึงกันกับคอนเนกเตอร์ และการข้ามเฟสของสายสัญญาณ ส่วนตำแหน่งของขั้วต่อหลายชนิดเป็นขั้วต่อตัวเมียชนิดละจำนวน 2 ตัววางในตำแหน่งที่ขนานกันบนเครื่องตรวจสายสัญญาณภาพและเสียงและสามารถวัดขั้วต่อของสายสัญญาณสลับกันได้ วิธีการใช้งานเครื่องตรวจสายสัญญาณภาพและเสียง
- เสียบขั้วต่อของปลายสายสัญญาณทั้งสองข้างให้ตรงกับขั้วต่อตัวเมียของเครื่องตรวจสอบ
- กดปุ่ม TEST ของเครื่องตรวจค้างไว้และสังเกตสัญญาณหลอดไดโอดแสง
- การทำงานของหลอดไดโอดเปล่งแสง แสดงผลตามความหมายของสภาพสายสัญญาณที่นำมาตรวจ
- สามารถใช้เครื่องตรวจนี้ตรวจสอบสายนำสัญญาณที่ปลายทั้งสองข้างมีขั้วต่อที่เป็นชนิดเดียวและต่างชนิดกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น