การเช็คสายสัญญาณกล้องวงจรปิด หรืออื่นๆ ด้วย Multimeter SANWA รุ่น YX – 361 TR
วัสดุและอุปกรณ์
- มัลติมิเตอร์ของ SANWA รุ่น YX – 361 TR
- สายสัญญาณ RCA ตัวผู้เป็น RCA ตัวผู้
- สายสัญญาณ XLR ตัวผู้เป็น XLR ตัวเมีย
- สายสัญญาณ RG6 ตัวผู้เป็น RG6 ตัวเมีย
- สายสัญญาณ Plug Phone Stereo เป็น XLR ตัวเมีย
- สายสัญญาณ BNC ตัวผู้เป็น BNC ตัวผู้
วิธีปฏิบัติ
- เลือกย่านการใช้งานมัลติมิเตอร์หรือเรียกว่า “เรนจ์สวิตช์” (Range Switch) ไปที่ย่านวัดโอห์มมิเตอร์ตำแหน่งคูณ 1 (x1), คูณ 10 (x10), คูณ 100(x100), คูณ
1k(x1k)
- ให้ใช้สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วบวก
(+) หรือขั้ว
P (positive) และสายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วลบ (-)
หรือขั้ว N (Negative)
- ก่อนนำโอห์มมิเตอร์ไปใช้ในการวัดทุกครั้ง
จะต้องปรับศูนย์โอห์มก่อนโดยใช้สายวัดสายบวกและสายลบสัมผัสกัน
(ช๊อตกัน) ทำให้เข็มของมัลติมิเตอร์วิ่งขึ้นจากซ้ายไปขวาหรือ อ่านค่าได้คือ ศูนย์โอห์มที่สเกลบนสุด หากเข็มขึ้นไม่ถึงศูนย์โอห์มให้ปรับลูกบิดด้านมุมล่างขวามือของหน้าปัดสเกลมัลติมิเตอร์ที่เขียนว่า 0 ADJ เพื่อวัดค่าให้เกิดความเที่ยงตรงและหากปรับแล้วไม่ได้ให้ทดลองเปลี่ยนแบตเตอรี่ของมัลติมิเตอร์
- ผลของวัดสายสัญญาณด้วยมัลติมิเตอร์ที่ย่านวัดความต้านทาน
จุดประสงค์ของการวัดค่าการต่อของสายสัญญาณคือการหาจุดชำรุดหรือจุดที่เกิดปัญหาการบัดกรีสายสัญญาณเข้ากับ Connector ด้วยการใช้มัลติมิเตอร์ย่านวัดความต้านทานทำให้การตรวจวัดถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว และเป็นวิธีตรวจเช็กสายสัญญาณที่นิยมใช้
การต่อสายไฟ Power Plug ตัวผู้ และ Power Plug ตัวเมีย
ใช้เรียนรู้โครงสร้างต่างๆ และส่วนประกอบภายในของ Power Plug ตัวผู้ และตัวเมีย และใช้เรียนรู้วิธีการต่อสายไฟ Power Plug ตัวผู้และ Power Plug ตัวเมีย
วัสดุและอุปกรณ์
- สายไฟ VCT
- Power
Plug ตัวเมีย 2 P
+ E/220 V.
- Power
Plug ตัวผู้ 2 P + E/220 V.
- ไขควงปากแฉก
- ไขควงปากแบน
- คีมปากตัด
- คัตเตอร์
วิธีการปฏิบัติ
- นำสายไฟฟ้า VCT ขนาด 3 x 1.5 mm ปอกฉนวนภายนอกความยาวเท่ากันทั้ง 2
ด้าน จะพบตัวนำสายไฟภายในทั้ง 3 เส้น คือ สีแดง สีดำ
และสีเท่า
- ปอกฉนวนภายใน 3 เส้นคือ สีแดง สีดำ สีเทา ให้ตัวนำทองแดงออกมาให้ได้ความยาว จากนั้นให้รวบสายตัวนำทองแดงเป็นหางเปียให้เรียบร้อยในแต่ละเส้นตัวนำเพื่อไม่ให้ปลายสายตัวนำทองแดงหลายเส้นกระจายสัมผัสกันภายในกลุ่มสายตัวนำ 3 กลุ่มสี
- ถอดส่วนประกอบภายในของ Power Plug ตัวผู้และตัวเมียโดยคลายนอตที่ยึดสายไฟพอหลวมพบว่ามีนอตหัวแฉกทั้งหมด 3 ตัว
- นำสายไฟภายใน 3 เส้น
ที่ปอกฉนวนเรียบร้อยต่อกับขั้วของ Power
Plug ตัวผู้และตัวเมีย หลักเกณฑ์ คือสายไฟสีแดงเข้าขั้ว (/+) สายไฟสีดำเข้ากับขั้วกราวนด์ สายไฟสีเทา (N/+)
- ขันนอตยึดสายไฟตัวนำให้แน่นจะต้องให้สายทองแดงของตัวนำทั้ง
3 เส้นถูกนอตยึด
เพราะหากขันนอตไม่แน่นจะเกิดการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าที่จุดต่อดังกล่าว
ทำให้เกิดความร้อนและเกิดอันตรายและควรให้รอยต่อของฉนวนสีแดงสีดำและสีเทาชนขอบของข้อต่อ Power plug ไม่ควรให้มีตัวนำทองแดงล้นออกมาจากจุดต่อดังกล่าว
- ประกอบชื้นส่วน Power Plug ตัวผู้และตัวเมียให้ขันนอตให้แน่นและแข็งแรง
- ตรวจวัดสายไฟ Power Plug ตัวผู้และตัวเมีย ด้วยมัลติมิเตอร์ที่ย่านวัดโอห์มมิเตอร์ ด้วยการตรวจวัดในลักษณะขั้วตัวนำจะต้องต่อถึงกันสังเกตได้จากเข็มมิเตอร์ขึ้นและจะต้องเช็กขั้วตัวนำว่าต่างกันหรือข้ามเฟสกัน โดยเข็มมิเตอร์จะต้องแสดงค่าความต้านทานเป็นอินฟินีตีหรืออนันต์
สามารถต่อสายไฟ Power
Plug ที่เป็นตัวผู้และตัวเมียขนาด 2 P + E/220 V.16 แอมแปร์ ได้อย่างถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในการต่อเข้ากับระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ระบบปลายสายเป็น Power Plug ได้แก่
การต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟ
หรือระบบการจัดแสงสว่างในงานด้านภาพยนต์และโทรทัศน์
การม้วนเก็บสายสัญญาณกล้องวงจรปิด
เพื่อใช้ฝึกและใช้ในการเรียนรู้วิธีการม้วนและเก็บรักษาสายสัญญาณได้ถูกต้อง
วัสดุและอุปกรณ์
- สายสัญญาณ
- เศษผ้าสำหรับทำความสะอาดสายสัญญาณ
- นาฬิกาจับเวลา
วิธีการปฏิบัติ
- ให้ปรับสายสัญญาณไม่ให้งอหรือโค้งทำให้ตรงห้ามบิด ด้วยการออกแรงดัดสายสัญญาณ โดยใช้ผ้ารองในการดัดสายสัญญาณ
- เริ่มต้นม้วนสายสัญญาณให้เป็นวงกลมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
- ม้วนสายสัญญาณแรกโดยการวางลำดับของสายสัญญาณในลักษณะวางสายสัญญาณเรียงตามปกติ ถือเป็นวงม้วนสายเริ่มต้น จากนั้นให้ม้วนสายสัญญาณเป็นวงรอบที่ 2 โดยบิดข้อมือให้เข้าหาลำตัวของผู้ม้วนสาย สังเกตว่าจะเป็นลักษณะไขว้กันเป็นวงตัวเลข 8
- หลังจากนั้นทำการม้วนสายสัญญาณเข้าสู่วงรอบที่ 3 คือ ม้วนแบบปกติ และต่อไปเป็นวงรอบที่ 4 เป็นวงรอบบิดข้อมือสลับกันไปจนสายที่ม้วนจนเสร็จสิ้นตามความยาวของสายสัญญาณ
- ขณะที่ทำการม้วนสายสัญญาณจะต้องพยายามรักษาวงเส้นผ่าศูนย์กลางให้เท่ากันทุกวง
- ทดสอบการม้วนสายสัญญาณไม่ให้เกิดการพันกัน โดยการโยน สายสัญญาณออกจากผู้ม้วนสายสัญญาณ จากนั้นให้ค่อยๆ ดึงสายสัญญาณเข้าหาผู้ม้วนและสังเกตการพันและติดของสายสัญญาณเกิดขึ้นหรือไม่ หากเกิดขึ้นให้คลายสายสัญญาณ และปรับสายสัญญาณให้ตรงอีกครั้ง ตรงจุดที่พันให้ตรงและพันใหม่อีกครั้ง
- จับเวลาในการม้วนสายสัญญาณเก็บในระยะเวลาที่กำหนดต่อสายสัญญาณที่กำหนดด้วยหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น