ประวัติงานก่ออิฐและงานฉาบปูนของไทย
การก่อสร้างนั้นได้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนใหญ่ก่อด้วยอิฐโบราณในลักษณะดิ่งและแคบเข้าหากันเมื่อสูงขึ้น
ในสมัยโบราณขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยเมื่อจะทำการก่อสร้างต้องทำการบวงสรวง เพื่อให้ปราศจากอุปสรรคต่าง ๆ ทำให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
ในปัจจุบันพิธีกรรมต่าง ๆ ก็ยังปรากฏให้เห็นแสดงว่าคนไทยยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เห็นว่างานก่ออิฐ งานฉาบปูน งานก่อสร้างต่าง ๆ ในอดีตมีอุปสรรคเกิดขึ้นอยู่เสมอ
จึงต้องทำการบวงสรวงให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าช่วยหรือแม้แต่ครูอาจารย์ในทางช่างต่าง ๆ ก็ตาม ในประเทศไทยงานก่ออิฐมีมาหลายร้อยปี
และพบว่างานก่ออิฐในโบราณได้ใช้อิฐมาฝนให้ผิวเรียบแล้วนำมาวางทันกันทำให้เกิดความสวยงามในลักษณะหนึ่ง
ส่วนความแข็งแรงทนทานเกิดขึ้นเพราะความประณีตในการก่อ ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นแนวปูนที่เยื้องกัน
ส่วนความแข็งแรงทนทานนั้นค่อนข้างแข็งแรงกว่า จึงนิยมก่ออิฐด้วยการเรียงซ้อนกันในลักษณะเยื้องรอยต่อกันครึ่งความยาวของก้อนอิฐ
งานช่างปูนมีทั้งงานก่ออิฐและงานฉาบปูน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
- ช่างก่ออิฐ ช่างที่มีฝีมือในด้านความละเอียดน้อย แต่ถ้าเป็นงานก่ออิฐโชว์ต้องเป็นช่างฝีมือที่มีความละเอียดสูงมาก
การทำงานของช่างต้องเลือกอิฐแล้วนำมาก่อเพื่อให้อิฐเรียงยึดติดกันเป็นรูปทรงตามที่ออกแบบไว้ งานก่ออิฐที่ก่อเป็นโครงสร้างนั้นเป็นงานหยาบ ๆ
แล้วจึงทำการฉาบปูนตกแต่งให้มีลวดลายในภายหลัง ซึ่งในสมัยโบราณช่างก่ออิฐนั้นมีชื่อเรียกติดปากว่าช่างประดิษฐ์
เมื่อมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและวิชาการทำให้งานก่ออิฐถูกดัดแปลงให้เป็นงานที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้นมีการก่ออิฐโดยไม่ต้องฉาบเป็นการโชว์แนวปูนก่อ
โชว์ผิวหน้าของอิฐที่ก่อ ส่วนใหญ่เป็นช่างก่ออิฐที่ฝึกฝนมาทางการก่ออิฐโชว์แนวโดยเฉพาะ และถือเป็นการประหยัดวัสดุในการฉาบปูน ประหยัดการทาสีและประหยัดเงิน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- ช่างปูนหรือช่างฉาบปูน เป็นช่างที่มีฝีมือละเอียด ทำงานต่อจากการก่ออิฐเพื่อให้ผิวหน้าของงานก่ออิฐราบเรียบเกิดความสวยงาม
ช่างปูนหรือช่างฉาบปูนในสมัยโบราณมีชื่อเรียกกันติดปากว่า สหายปูน คือช่างที่ทำหน้าที่โบกฉาบปูนลวดลายต่าง ๆ
- ช่างปูนปั้น เป็นช่างฝีมือที่มีความละเอียดอย่างมาก ทำงานได้ด้วยความประณีต และมีความคิดสร้างสรรค์ ต้องเป็นคนใจเย็น รักงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานทางด้านศิลปกรรม ช่างปูนปั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ช่างปูนปั้นที่ทำงานปั้นปูนให้เป็นรูปปฏิมากรหรือรูปปั้นลอยตัว ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกันทางศาสนาและสถานที่ราชการ
2. ช่างปูนปั้นที่ทำงานปั้นปูนให้มีลวดลายต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณหน้าบันโบสถ์ วิหาร ซุ้มประตู ช่อฟ้า เป็นต้น
สินค้าที่เกี่ยวข้องระบบรักษาความปลอดภัย : รั้วไฟฟ้า กล้องวงจรปิด
สนใจติดตั้งกล้องวงจรปิด >>> บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด โทร. 02-8883507-8, 081-700-4715
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น