การเก็บและการกองปูนขาว
ต้องเก็บในที่ไม่มีน้ำและความชื้นเพราะจะทำให้ปูนขาวเกิดการแข็งตัวเป็นก้อนและเสื่อมคุณภาพได้ การเก็บปูนขาวเป็นจำนวนมากต้องเก็บในโรงเก็บที่มิดชิดไม่ควรกองปูนบนพื้นไม้ที่มีน้ำขังอยู่ด้านล่างมและไม่ควรกองให้สูงมากเพราะถุงพลาสติกมีความลื่นทำให้พังทลายได้
ถ้ากองไว้กลางแจ้งควรมีผ้าใบหรือแผ่นพลาสติกคลุม การใช้งานควรนำปูนด้านล่างมาใช้ก่อนเพื่อเป็นการหมุนเวียนไม่ให้ปูนขาว
เกิดการแข็งตัวและเสื่อมคุณภาพ ปูนขาว 1 ถุง มีน้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม
ทราย
วัสดุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและนำมาเป็นส่วนผสมที่สำคัญของปูนก่อ งานก่ออิฐนิยมแบ่งทรายเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
1. ทรายหยาบ มีลักษณะเป็นทรายเม็ดใหญ่ แข็ง แหล่งที่เกิดอยู่ที่จังหวัดราชบุรี เหมาะสำหรับนำมาใช้ผสมกับปูนซิเมนต์ผสม
เพื่อใช้ก่ออิฐ ก่อหิน ที่ต้องการให้เกิดความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้มาก เช่น งานก่ออิฐฐานราก งานก่อหินเขื่อน เป็นต้น
2. ทรายกลาง ลักษณะเป็นทรายเม็ดปานกลางไม่หยาบและไม่ละเอียด แหล่งที่เกิดอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง จึงมีชื่อเรียกว่า
2. ทรายกลาง ลักษณะเป็นทรายเม็ดปานกลางไม่หยาบและไม่ละเอียด แหล่งที่เกิดอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง จึงมีชื่อเรียกว่า
ทรายอ่างทอง เหมาะสำหรับนำมาใช้ผสมกับปูนขาวเพื่อให้เป็นปูนก่อฝึกหัดของนักศึกษา เพื่อใช้เป็นปูนก่อที่ป้องกันน้ำซึมผ่าน ใช้ผสมกับปูนขาว ปูนซิเมนต์ผสม เพื่อใช้เป็นปูนก่อทั่ว ๆ ไป
การเก็บรักษาทราย ควรกองไว้ในที่สะอาด อาจปูด้วยไม้เพื่อไม่ให้โกยเอาดินปนไปกับทราย และควรมีกำแพงหรือคอกไม้
การเก็บรักษาทราย ควรกองไว้ในที่สะอาด อาจปูด้วยไม้เพื่อไม่ให้โกยเอาดินปนไปกับทราย และควรมีกำแพงหรือคอกไม้
เพื่อป้องกันไม่ให้ทรายกระจายออกไป ควรกองเก็บไว้เป็นชั้น ๆ โดยให้แต่ละชั้นมีความหนาที่เท่า ๆ กัน เพื่อไม่ให้ทรายเม็ดใหญ่
ไหลแยกตัวออกจากทรายเม็ดที่เล็กกว่า การนำทรายไปใช้ควรตัดทรายไปเป็นชั้น ๆ หากทรายเปียกน้ำต้องนำไปผึ่งลมหรือตากแดดให้แห้ง
ข้อสำคัญ
ข้อสำคัญ
ที่ต้องระมัดระวังคือ ความสะอาด ถ้าสกปรกควรนำไปร่อนหรือล้างให้สะอาดเสียก่อนจึงจะนำไปใช้งานได้
เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างของการก่ออิฐ งานก่ออิฐต้องใช้น้ำเพื่อผสมปูนก่อ ล้างเครื่องมือ ล้างวัสดุ รวมถึงล้างผิวหน้าของงานก่อนที่จะฉาบ และให้ผนังมีความชุ่มน้ำอยู่เสมอในขณะที่ทำงาน
น้ำ
เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างของการก่ออิฐ งานก่ออิฐต้องใช้น้ำเพื่อผสมปูนก่อ ล้างเครื่องมือ ล้างวัสดุ รวมถึงล้างผิวหน้าของงานก่อนที่จะฉาบ และให้ผนังมีความชุ่มน้ำอยู่เสมอในขณะที่ทำงาน
หน้าที่ของน้ำที่ใช้ในงานก่ออิฐและฉาบปูน สามรถจำแนกออกไปได้ดังนี้
1. ทำปฏิกิริยากับปูนซิเมนต์ผสมกลายเป็นวุ้นเหนียว ยึดเกาะทรายให้ติดกับวัสดุที่นำมาก่อ
2. ทำให้วัสดุที่ก่อไว้แล้วซึ่งมีความแห้งให้เปียกชื้น เพื่อให้ปูนก่อยึดเกาะในชั้นต่อไปได้ดี
3. ทำให้ผิวหน้าของงานที่จะฉาบปูนมีความสะอาด เพื่อให้ปูนฉาบยึดติดกับผิวหน้าของงานที่ก่อไว้แล้วได้ดี
4. ทำให้เครื่องมือที่นำมาใช้ในงาน มีความสะอาด
คุณภาพน้ำ น้ำที่นำมาใช้ต้องเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และปราศจากน้ำมัน กรด ด่าง เกลือหรือสารอื่น ๆ ต้องเป็นน้ำที่ใส
น้ำที่เหมาะที่สุดที่จะนำมาใช้งานควรเป็นน้ำสะอาดที่ใช้ดื่มได้ น้ำทะเลหรือน้ำกร่อยไม่ควรนำมาใช้เพราะทำปฏิกิริยากับปูนซิเมนต์ผสม
ทำให้คุณสมบัติของปูนซิเมนต์ผสมลดกำลังลง และที่ผิวด้านนอกของผนังฉาบปูนจะเป็นคราบเกลือสีขาวให้เห็นชัดเจน การเก็บน้ำไว้ใช้ในงานก่อสร้างควรก่อเป็นบ่อสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เก็บน้ำ
เพื่อให้การนำน้ำมาใช้จะได้สะดวก การนำน้ำไปใช้ในงานต้องใช้อย่างประหยัดต้องใช้น้ำเท่าที่จำเป็น การตักน้ำไปใช้งานควรตักให้มีความพอดี
เพื่อให้การนำน้ำมาใช้จะได้สะดวก การนำน้ำไปใช้ในงานต้องใช้อย่างประหยัดต้องใช้น้ำเท่าที่จำเป็น การตักน้ำไปใช้งานควรตักให้มีความพอดี
อย่าตักให้เต็มทำให้น้ำหกเลอะเทอะ และเกิดการลื่นและที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ในที่ทำงานอาจต้องใช้กระแสไฟฟ้า
เพื่อแสงสว่างหรือเพื่อใช้เครื่องมือที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้า ถ้าน้ำหกจะทำให้เกิดการลัดวงจรของกระแสไฟฟ้าได้ ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่ทำงานหรือผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น