กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562

กฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (กล้องวงจรปิด)

กฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายหลักที่มีในทุก  ๆ  ประเทศ  ซึ่งประกอบด้วย

- กฎหมายแพ่ง
- กฎหมายอาญา
- กฎกระทรวง
- กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

กฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทย


กฎหมายด้านคอมพิวเตอร์ครอบคลุมหลายด้าน   ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงอยู่ของสังคมมีการพัฒนากฏหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ  

เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์  ส่วนกฎหมายที่เป็นมาตรการในการคุ้มครอง  

หรือปกป้องสังคมจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิงไม่สร้างสรรค์และฉบับสุดท้ายเป็นกฎหมายที่จะสร้างกลไก  

เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมสารสนเทศ    โดยกฏหมายดังกล่างปรากฏตามรายการดังนี้

- พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2550

- ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

- ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

- พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ


                   ธุรกรรม   การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์  หรือในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนด  เรื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ

                    อิเล็กทรอนิกส์  การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน  และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง 

วิธีการทางแม่เหล็ก  หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น   ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์    ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

สาระสำคัญ


                      กฎหมายก็จะประกอบด้วยหลายส่วน  แต่จะมีสาระสำคัญหรือวัตถุประสงค์หลักของการตรากฏหมายนั้นขึ้นมาใช้งาน  สำหรับกฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญดังนี้

 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

                      พระราชบัญญัตินี้กำหนดห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพัน  และการบังคับใช้ทางกฏหมายของข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  ขั้นตอนต่างๆ  

หรือแบบในการทำธุรกรรมจึงสามารถกระทำโดยใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ดังที่หมวด 1  ของพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

                        อักษร  อักขระ  ตัวเลข  เสียง  หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งนำมา

ใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์   มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์  

ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น  และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น




ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์


ผู้ที่มีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์   ในกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ 

 เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน  ต้องขึ้นทะเบียนหรือต้องได้รับอนุญาต  

ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนด   หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาต  

การออกใบอนุญาต  การต่ออายุใบอนุญาต  การคืนใบอนุญาตและการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์


                         พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี  

เพื่อวางนโยบายส่งเสริมและพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง  ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  

เสนอแนะหรือให้คำปรึกษาเพื่อการตราพระราชยัญญัติ  หรือตามรพราชกฤษฏีกาที่ออกตามพระราชบัญญัติ  และปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ  หรือกฎหมายอื่น

โดยในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้คณะกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา  และให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาซาสต์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการ
บทกำหนดโทษ

                       ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฏีกา  

หรือฝ่าฝืนคำสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการ  หรือประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต  ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด  โดยความผิดดังกล่าว

รวมถึงการกระทำโดยนิติบุคคล  ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล  หรือผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการดำเนินการของนิติบุคคลด้วย  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า  ตนมิได้รู้เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น


อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแนะนำ :   รั้วไฟฟ้ากันขโมย   กล้องวงจรปิด


 สนใจติดตั้งกล้องวงจรปิด >>> บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด โทร. 02-8883507-8, 081-700-4715

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น