Sick Building Syndrome
โรค Regionair Disease หรือ Sick Buillding Syndrome มันจะกลายเป็นโรงของคนรุ่นใหม่จึงเหรอ อาการของมันก็คือ ปวดศรีษะ มึนงง เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เจ็บหน้าอก อาการต่างๆ ดูเหมือนเป็นอาการทั่วไป ที่ไม่รุ่นแรงแต่เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้อาจเป็นโรคหอบหืดได้
จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ. 1984 ได้รายงานเกี่ยวกับคนที่ทำงานในตึกหรืออาคารสูง ที่เป็นผู้อาศัยใหม่จำนวนร้อยละ 30 ได้มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของอาคารภายในตัวอาคาร ซึ่งเกิดจากการออกแบบอาคารที่ไม่ดี หรือปัญหาจากผู้อยู่อาศัยก่อให้เกิดมลภาวะ บางครั้งไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรค และผู้ที่มีอาการมักจะมีอาการดีขึ้น หรือหายป่วยหลังจากได้ออกจากอาคารนั้นไปแล้ว
ค่ามาตราฐานในการจัดการระบบอากาศโดยกำหนดปริมาตรของอากาศ
- ภายนอกอาคาร 15 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีต่อคน
- ในสำนักงานกำหนดให้มีปริมาตรของอากาศ 20 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีต่อคน
- ในพื้นที่ที่มีการสูบบุหรี่ต้องเพิ่มปริมาตรของอากาศให้สูงถึง 60 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีต่อคน
การป้องกันและแก้ไขของโรค Sick Building Syndrome
1. แก้ไขปัญหาระบบทางเดินอากาศโดยระบบ Heat Vantilation Air condition (HVAC) เช่น การทำความสะอาดแผ่นกรอง ฝ้า เพดาน พรม
2. มีมาตรการเด็ดขาดเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ส่วนการใช้สี กาว สารละลาย และยาฆ่าแมลงให้ดำเนินการในพื้นที่มีการระบายอากาศดี
3. อุปกรณ์เกี่ยวกับการทำความสะอาดอากาศ แต่บางครั้งมีข้อจำกัดในการใช้
4. การให้การฝึกอบรมและการสื่อสารระหว่างบุคคลมีความสำคัญต่อโครงการจัดการเกี่ยวกับคุณภาพของอากาศภายในอาคาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น