วิสัยทัศน์ของผู้นำที่ดี
ของ สตีฟ จ๊อบส์
-
จ๊อบส์
เป็นคนที่มีจินตนาการกว้างไกล เป็นคนมีความคิดอิสระ ใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลา
แต่ยังมีเล่ห์เหลี่ยมในการทำธุรกิจอยู่เสมอ อีกทั้งเขาเป็นคนทำงานหนัก
คิดเพียงเรื่องงานอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่กับครอบครัว หรือเวลาส่วนตัว
เขาใส่ใจแต่งานมากกว่าสิ่งอื่นใด
-
จ๊อบส์มีจิตใจด้านศิลปะสูง ด้านความคิด ด้านมุมมอง รสนิยม
ดังนั้นสินค้าที่เขาผลิตคิดค้นออกมา จึงมีความทันสมัยอยู่เสมอ
-
จ๊อบส์มีความเชื่อมั่นในความคิด และความสามารถของเขา มากกว่าความคิดของคนรอบข้าง
เขามีความเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งที่คิดนั้นต้องทำได้จริง และสุดท้ายก็สามารถทำได้จริง
ซึ่งเรียกว่า สนามความจริงที่ถูกบิดเบือน
- จ๊อบส์ได้ใส่ใจในทุกรายละเอียด
เขาสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่นได้ เขาเน้นการทำงานเป็นทีม
เขาหาผู้ร่วมงานที่มีความรู้รอบด้าน พร้อมความเชี่ยวชาญในทุกด้าน
-
จ๊อบส์
เป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำสูงในการครอบคลุมผลิตภัณฑ์ของเขาให้อยู่รอด
ส่วนประสมทางการตลาด
ช่องทางการตลาด
ส่งเสริมการตลาดในการเปิดบู๊ดของ
Apple II และ Mac
มีการเปิดตัวโลโก้ที่มีสีสัน
ทำให้เกิดจุดเด่นในการโฆษณา บ่งบอกถึงสินค้าที่ทุกคนสามารถที่ทุกคนสามารถจดจำได้ง่าย
จูงใจให้คนสนใจในผลิตภัณฑ์ ทำให้มีผู้สนใจทางด้านคอมพิวเตอร์ ได้ทราบถึงนวัตกรรม
ที่เปลี่ยนการรับรู้ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
มีการประชาสัมพันธ์
สร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ เรียบง่าย ใส่ใจในรายละเอียดเรื่องเล็กน้อย
ทำให้มีจุดสนใจ ในผลิตภัณฑ์ ไม่สร้างตามสิ่งที่เคยออกแบบมาแล้ว
สร้างภาพลักษณ์ของตัว
สตีฟ จ๊อบส์ เพื่อเป็นจุดเด่นของบริษัท เช่น ความลับของการโฆษณา สินค้า
โดยไม่ต้องพึ่งสื่อต่าง ๆ มีการแถลงข่าวโฆษณา เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์
การโฆษณา
โดยใช้สื่อเข้ามาช่วย เรื่อง Blade Runner ที่สร้างจุดแข็งให้กับ ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ล
ชูจุดเด่นด้านการออกแบบ และเข้าใจถึงด้านการบริโภค
ผลิตภัณฑ์ (Product)
เชื่อมโยงกับทัศนคติความคิด
ความเชื่อของสตีฟ จ๊อบส์ เกี่ยวเนื่องกับความเรียบง่าย ของศาสนา เซนต์ ที่จ๊อบส์ศรัทธาอยู่
ซึ่งแนวคิดเริ่มต้นในการคิดค้นผลิตนวัตกรรมเปลี่ยนโลกนี้คือ ต้นกำเนิดของสินค้า
ที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะการขาย แต่มุ่งสร้างคุณค่าทางสินค้า
สื่อออกมาให้ลูกค้าเข้าใจทั้งเหตุผล และความรู้สึก จ๊อบส์นิยมความสมบูรณ์แบบ
ใส่ใจทุกรายละเอียด ใส่ใจทุกอย่าง เขาจึงทำทุกอย่างออกมาอย่างสมบูรณ์
สิ่งที่จ๊อบส์ทำออกมา คือความต้องการของผู้ใช้
ซึ่งผู้ใช้เองอาจพึ่งรู้ตัวว่าเขานั้นต้องการมัน จ๊อบส์เคยบอกไว้ว่า :
ดีไซน์ไม่ใช่แค่การดูว่าหน้าตาเป็นอย่างไร
หรือรู้สึกอย่างไร แต่ดีไซน์คือ มันเวิร์คแค่ไหนอย่างไร :
จ๊อบส์เลือกทำสิ่งที่แตกต่างจากคู่แข่งอย่าง
IBM เริ่มต้นจากจุดแรก
และสานต่อปณิธานที่ยิ่งใหญ่ ให้เกิดเป็นความจริงได้จากระบบปฏิบัติการ OS
ส่งต่อเป็น New
Product Development ให้โลกได้เห็น Ipod
Ipad Iphone Mac PC และอื่นๆ
จ๊อบส์ให้ความสำคัญกับแบรนด์จากคุณสมบัติที่อยู่ในตัวจ๊อบส์เอง
ที่โดดเด่นทั้งในเรื่องตลาด รวมถึงการPR แม้แต่ทักษะการขายชั้นยอด
ทำให้จ๊อบส์มีมุมมองที่เฉียบคมในการคิดชื่อ และโลโก้แอปเปิ้ลที่เป็นสัญลักษณ์
สร้างการจดจำได้อย่างน่าสนใจ นอกจากบริษัทและสินค้าแล้ว จ๊อบส์ยังสร้าง สัญญาลักษณ์ ที่มีชีวิตคือตัวของเขาเองให้ลูกค้าจดจำ และรอคอยทุกครั้ง
เพื่อดูการปรากฎตัวของผู้ชายที่ใส่เสื้อคอเต่ากับกางเกงยีนส์
มาพร้อมกับนวัตกรรมเปลี่ยนโลก
และทุกครั้งไม่เคยทำให้ผู้คนที่รอคอยเขาต้องผิดหวังเลย
ด้านราคา
การเจาะตลาด
สตีฟ จ๊อบส์ มองถึงความสำคัญด้านราคาเนื่องจากราคาเป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดเป้าหมายความคาดหวังของจ๊อบส์
สังเกตได้จากจุดเริ่มต้นของการขาย Mainboard ให้กั[ร้าน
Hute shop เนื่องจากเจ้าของร้านคนนี้มองเห็นความสนใจของ
Mainboarnd ในขณะที่เขาได้ไปนำเสนอ สินค้าชิ้นนี้กับเพื่อนของเขาที่ มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด
หลังจากที่จ๊อบส์ได้ไปเสนอสินค้าที่ร้านอีกครั้ง เจ้าของร้านไม่เข้าใจว่าทำไม
Mainboard ถึงมีการแยกชิ้นส่วน ความต้องการของลูกค้าที่แท้จริงอยากได้สินค้าสำเร็จรูป
(plug and play =mouse keyboard powersupply : เสีบปุ๊บใช้ปั๊บ) ที่มาพร้อมราคาที่เหมาะสม
แต่การโน้มน้าวใจของจ๊อบส์ทำให้เขาได้รู้ถึงความคิดที่แตกต่างออกไป
ว่าแท้ที่จริงแล้ว ความสะดวกสบายของสินค้าสำเร็จรูปไม่ได้สมบูรณ์แบบ และทันสมัยเสมอไป
เขาจึงยอมรับความเห็นของจ๊อบส์ และมีการต่อรองราคา
เพื่อการยอมรับสินค้ามาวางหน้าร้าน
สรุปได้ว่า การเจาะตลาดด้านราคาของจ๊อบส์ได้มีการต่อรองราคา
เพื่อท้ายที่สุดแล้วความคาดหวังของเขาหวังผลกำไรเหนือสิ่งอื่นใด
เพื่อแยกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
ทางด้านราคานั้น จ๊อบส์ได้วางตลาดแอปเปิ้ลไปใช้งานในบ้านได้
(Personal home use ) ในอดีตผู้ที่มีคอมพิวเตอร์ได้นั้นจะมีเพียงในองค์กร
หรือบริษัทที่ใช้งานด้านธุรกิจ แต่เขามองว่า
คอมพิวเตอร์ของเขาอยากให้คนในบ้านได้ใช้งาน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย
มีสิทธิ์ที่จะได้ใช้งานทุกคนในราคาที่ไม่สูง
ซึ่งในหนังช่วงหนึ่ง จอห์น
สคัลลีย์ ได้ตั้งเป้าหมายราคาที่สูงเกินไป ซึ่งจ๊อบส์คาดหวังเพียงการเจาะกลุ่มระดับกลางถึงล่าง
แต่สคัลลีย์ได้มองเพียงกลุ่มตลาดบน เพื่อการหวังกำไรมากเพิ่มยิ่งขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว
ตัวเลขที่วางเป้าหมายไว้ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายด้วยราคาที่สูงมากเกินไป
กลุ่มเป้าหมายระดับกลางที่วางไว้ที่ชัดเจนแต่แรกไม่สามารถซื้อสินค้าของแม็คอินทอสได้
เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
ช่วงสตัลลีย์นั้น
สตัลลีย์ได้มีการเพิ่มราคาแม็คอินทอสให้สูงขึ้น
ซึ่งราคาที่สูงขึ้นจึงทำให้สินค้าแม็คอินทอสตกต่ำ
ลูกค้าหันไปซื้อสินค้ายี่ห้อของคู่แข่งขัน เช่น IBM HP เป็นต้น
โดยใช้ระบบปฏิบัติการของ Microsoft
ที่ บิล เกตส์ เป็นผู้คิดค้น
และจุดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พันธมิตรการค้าของทั้ง 2
คนแยกแตกกัน
การสร้างภาพ
จ๊อบส์ใส่ใจถึงความละเอียดอ่อนของผลิตภัณฑ์
มองถึงรูปลักษณ์ทั้งภายในและภายนอกที่จะต้องดูดี และมีความทันสมัยอยู่เสมอ
ส่วนหนึ่งนั้นมาจากการได้รับนิสัยส่วนตัวมาจากพ่อของเขา (พอล เรนโฮลด์ จ๊อบส์) จึงทำให้ราคาสินค้าเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของผลิตภัฑณ์
ผู้ซื้อยอมรับที่จะซื้อ
ช่วงของการเปิดตัวแมคอินทอส
เขาให้ความสนใจในการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยการ
ใช้การนำเสนอที่เปิดตัวที่เจาะตลาด ที่ทำให้ทุกคนหันมาสนใจในการนำเสนอ มีการเปิดตัวที่ตื่นตาตื่นใจ
และดึงดูดความสนใจได้มากที่สุด เขาจะเปิดตัวราคาที่เท่าไร
ลูกค้าก็พร้อมจ่ายด้วยราคาที่เขาเสนอได้
เพราะลักษณะของสินค้าที่เขาคิดทันสมัยและทำให้ลูกค้าอยากใช้
เพื่อให้อยู่รอด
ช่วงเปิดตลาดของ
Apple II นั้นสามารถอยู่รอดได้
เพราะมียอดขาย ส่วนแบ่งการตลาด 70% เป็นของ Apple II เพียง 30% เป็นของแม็คอนทอส
ราคาและเกณฑ์การกำหนดราคา
การกำหนดราคา
เขาได้กำหนดราคาสูงกว่าตลาดที่คาดการณ์ไว้
เขามองเป้าหมายที่กำไรสุดท้ายมากกว่าความอยู่รอดของวันพรุ่งนี้
การตั้งราคาที่สูงกว่าตลาดทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น
เกิดความคิดต่างกับเพื่อมร่วมทีม หรือผู้ถือหุ้นของ Apple เนื่องจากการกำหนดราคาที่สูงเกินไปทำให้กลุ่มลูกค้าหันไปซื้อสินค้าคู่แข่งขันมากกว่าสินค้าของเขา
กลยุทธ์การกำหนดราคา
โดยกำหนดจากคู่แข่งการตลาด
จ๊อบส์มองว่าคู่แข่งขันคือ
IBM นั้น ซึ่ง IBM
ผลิตสินค้าที่ใช้สำหรับองค์กรธุรกิจกลุ่มใหญ่
เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น แต่จ๊อบส์มองต่างเขาได้คิดมุมต่าง ด้วยราคา
ภาพลักษณ์ กลุ่มผู้ใช้ ให้เป็นระดับล่างที่สามารถซื้อได้
จึงเเป็นจุดเริ่มต้นการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคา
ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
การกระจายตัวของสินค้า
สตีฟ
จ๊อบส์มีแนวคิดในการกระจายสินค้าผ่าน Agent ต่างๆ
โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องจำหน่ายให้ลูกค้าผู้ใช้งานโดยตรง
ซึ่งการขายผ่านคนกลางทำให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคได้มากกว่า
และในอาณาบริเวณที่กว้างกว่า ดังนั้นเขาจึงมีความพยายามที่จะติดต่อกับ Agent
ต่างๆ ติดต่อร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
และเปิดโอกาสให้สินค้าออกสู่สายตาลูกค้า โดยการออกบู๊ดในงานนิทรรศการคอมพิวเตอร์
เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจที่จะซื้อสินค้าของเขา
สร้างความได้เปรียบในช่องทางการจัดจำหน่าย
สตีฟ
จ๊อบส์ เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองค่อนข้างสูง เขามีแนวคิดที่จะสร้างจุดเด่นของแอปเปิ๊ล
เพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจำสินค้าของเขาได้
เริ่มจากการคิดชื่อสินค้าของเขาว่าจะตั้งอย่างไร ให้เป็นที่ติดปากของลูกค้า
จึงเกิดเป็นชื่อแอปเปิ๊ลขึ้นมา ต่อจากนั้นเขายังมองไปถึงการจำหน่ายสินค้า
โดยที่เขาจะต้องสามารถควบคุมธุรกิจได้ทั้งหมด
เขาจึงสร้างร้านค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง โดยใช้ชื่อว่า I
Studio เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงตัวสินค้าได้โดยตรง
และ I Studio ยังมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
โดยการจัดร้านค้าแบบเปิดโล่ง และดูเรียบง่าย
สินค้าอยู่ในสภาพดีไม่เสียหาย
สตีฟ
จ๊อบส์ ได้ให้ความสำคัญกับตัวบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สินค้าดีและครบถ้วนในการขนส่ง
ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย สังเกตได้จากช่วงตอนที่มีการบรรจุ Mainboard ลงกล่องบรรจุภัณฑ์ พร้อมกับคู่มือการใช้งาน
มีการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ด้วยกระดาษกันกะแทก เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับสินค้าในระหว่างการขนส่งไปยังร้านต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น