กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

การออกแบบท่อน้ำร้อน (กล้องวงจรปิด)

สร้างโรงงานสำเร็จรูป  กับการออกแบบท่อน้ำร้อน

สร้างโรงงานสำเร็จรูป  ในอาคารหลาย ๆ ประเภทมีการใช้ระบบน้ำร้อน เช่น โรงพยาบาล โรงแรม เป็นต้น สำหรับการออกแบบระบบท่อน้ำร้อนภายในอาคาร 

 การจัดระบบให้สามารถจ่ายน้ำร้อนตามอุณหภูมิที่ต้องการได้ ระบบท่อน้ำร้อนอย่างง่ายที่สุดจะประกอบด้วยท่อเมนต่อออกจากเครื่องทำน้ำร้อนไปยังจุดที่ต้องการใช้น้ำร้อน 

 ในระหว่างที่ไม่ต้องการใช้น้ำร้อนน้ำที่ค้างอยู่ภายในท่อจะค่อย ๆ เย็นลงจนอาจจะมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิโดยรอบได้ 

 การหุ้มฉนวนท่อเป็นแค่เพียงการชลอให้น้ำเย็นช้าลงเท่านั้น เมื่อทำการเปิดวาล์วของเครื่องสุขภัณฑ์ น้ำส่วนที่ค้างอยู่ภายในท่อจะต้องไหลออกมาจนหมดเสียก่อน 

 จึงจะได้น้ำร้อนตามที่ต้องการระยะเวลาที่ต้องรอน้ำร้อนนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ค้างอยู่ภายในท่อและอัตราการไหลที่เครื่องสุขภัณฑ์ 

 การออกแบบระบบท่อน้ำร้อนสำหรับอาคารมีความยากกว่าการออกแบบระบบท่อน้ำเย็น และระบบท่อน้ำเสียของอาคาร

วิธีการออกแบบระบบท่อน้ำร้อนที่เหมาะสำหรับการที่จะนำไปใช้ในทางด้านปฏิบัติประกอบด้วย

1.   ระบบท่อน้ำร้อนชนิดต่าง ๆ
 
2.   การคำนวณหาขนาดท่อและขนาดของเครื่องสูบน้ำหมุนเวียน
 
3.   การหาขนาดของอุปกรณ์ทำน้ำร้อน
 
4.   การหาขนาดของหม้อไอน้ำ
 
5.   ระบบท่อและการควบคุมอุปกรณ์ทำน้ำร้อน


สินค้าแนะนำ : กล้องวงจรปิด



สร้างโรงงานสำเร็จรูป
สร้างโรงงานสำเร็จรูป


1.  ระบบท่อน้ำร้อนแบบต่าง ๆ

สำหรับระบบท่อที่จ่ายน้ำร้อนให้กับอาคารอาจแบ่งได้ 2 ชนิด คือ แบบจ่ายขึ้น และ จ่ายลง การจัดระบบท่อน้ำร้อนที่นิยมใช้กันทั่วไป น้ำที่ค้างอยู่ภายในท่อ

ในขณะที่ไม่มีการใช้น้ำจะเย็นลงจึงจะต้องจัดให้มีการหมุนเวียนน้ำร้อนกลับมาสู่อุปกรณ์ทำน้ำร้อน เพื่อให้ระบบมีน้ำร้อนตามอุณหภูมิที่ต้องการอยู่เสมอ

น้ำร้อนสำหรับการใช้ทั่วไปมักจะจ่ายมาตามท่อด้วยอุณหภูมิ 60 องศา แล้วจึงมาทำการผผสมกับน้ำเย็นที่จุดที่ต้องการใช้อีก อุณหภูมิที่ผสมแล้วจะอยู่ระหว่าง 30 – 40 องศา 

 ซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ใช้ ทั่วไปอุณหภูมิของน้ำร้อนที่จ่ายมาไม่ควรจะต่ำกว่า 50 องศา การใช้ระบบน้ำร้อนแบบผสมเสร็จซึ่งจะจ่ายน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 40.6 องศาให้กับระบบ 

 การจ่ายน้ำร้อนอุณหภูมิสูงจะใช้ปริมาณน้ำร้อนน้อยกว่าอุณหภูมิต่ำซึ่งจะทำให้ขนาดท่อลดลงไปด้วย แต่การสูญเสียความร้อนก็จะมีอัตราเพิ่มขึ้นด้วย

 ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นโดยไม่จำเป็น สำหรับอุปกรณ์บางชนิดมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อความสะอาดก็ควรที่จะจัดแยกออกไป 

 กรณีที่จะใช้กับท่อน้ำก็อนุโลมให้ประมาณค่าทั้งสองนี้ได้โดยการคูณด้วยตัวประกอบเท่ากับ 1.40

2.  หลักการคำนวณหาขนาดของเครื่องสูบหมุนเวียน

หลักการคำนวณสำหรับหมุนเวียนน้ำร้อนในระบบ ให้พิจารณาระบบการจ่ายน้ำร้อน โดยมีเงื่อนไขว่า อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ต้องการใช้

ในระบบต้องอยู่ระหว่าง 55 – 60 องศา อุณหภูมิของน้ำซึ่งห่างจากจุด A จะค่อย ๆ เย็นลง จึงต้องออกแบบระบบการจ่ายน้ำเพื่อให้ จุด C 

 ซึ่งเป็นท่อแยกสุดท้ายมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 55 C หลักสำคัญสำหรับการออกแบบ ในทางปฏิบัติน้ำที่ออกจะแปรเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 60 องศา

และอุณหภูมิของน้ำใช้ก็อนุญาตให้แปรเปลี่ยนได้บ้าง ตลอดจนการสูญเสียความร้อนจากท่อ ก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของบรรยากาศโดยรอบด้วยจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคำนวณละเอียด

วิธีการคำนวณทางด้านปฏิบัติ

การคำนวณการหมุนเวียนของน้ำร้อนที่ละส่วนของท่อดังที่ได้แสดงมาแล้วให้เราทำการคำนวณการหมุนเวียนของน้ำในระบบทั้งหมด 

 เพียงครั้งเดียวจะง่ายกว่า ผลที่ได้ก็จะแตกต่างกันไม่มากนัก การเลือกเครื่องสูบน้ำไม่เพียงแต่การเลือกอัตรการสูบน้ำเท่านนั้น 

 ในขณะที่น้ำในระบบหยุดนิ่ง ความดันภายในระบบท่อซึ่งอยู่ในระดับความสูงเดียวกันจะมีค่าเท่ากันไม่ว่าท่อส่วนนั้นจะอยู่ห่างออกไปเท่าใด 

 ฉะนั้นระบบจึงอยู่ในภาวะสมดุล และ head ซึ่งเครื่องสูบน้ำต้องทำงาน ในขณะทำการหมุนเวียนน้ำเท่านั้น เครื่องสุขภัณฑ์มาจาก

ความดันของน้ำเย็นส่วนที่จ่ายให้ซึ่งไม่ต้องนำมาคำนวณเกี่ยวกับเครื่องสูบน้ำหมุนเวียน ระบบที่มีหลายวงจร

ระบบการจ่ายน้ำร้อนที่มีหลายวงจรก็ใช้หลักการคำนวณหาขนาดของเครื่องสูบน้ำหมุนเวียนเช่นเดียวกับระบบที่มีวงจรเดียว 

 ซึ่งเปรียบเทียบได้กับระบบการจ่ายน้ำของอาคารชั้นเดียวที่มี 2 ปีก วิธีการหาขนาดของเครื่องสูบน้ำต้องคิดที่ละวงจรแยกกัน  ระบบจ่ายน้ำร้อนสำหรับอาคารหลายชั้น 

 น้ำร้อนที่จ่ายให้เครื่องสุขภัณฑ์ที่ไกลสุด จะต้องมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 55 องศา และท่อในแนวดิ่งแต่ละท่อมีความยาว 25 เมตร สามารถคำนวณปริมาตรน้ำภายในท่อได้

อัตราการไหลหมุนเวียนของน้ำในแนวดิ่งนั้นการตคำนวณประกอบด้วยให้ friction drop ในระบบมีค่าจนกระทั่งจุดรวมต่าง ๆ 

 มีความดันของน้ำเท่ากัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่สะดวกและยาวมาก ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ออกแบบรบบการจ่ายน้ำภายในอาคาร

การคำนวณโดยใช้อัตราการสูญเสียความร้อนของท่อ

การคำนวณขนาดของเครื่องสูบน้ำหมุนเวียน ใช้อัตราการลดของอุณหภูมิน้ำเป็นหลัก การคำนวณอีกวิธีคือ การใช้อัตราการสูญเสียความร้อนของน้ำภายในท่อ

 ซึ่งบอกถึงอัตราการสูญเสียความร้อนของน้ำต่อหนึ่งหน่วยความยาวของท่อ

ข้อพิจารณาการใช้ AQUASTAT

การคำนวณได้ใช้ aquastat ควบคุมการเดินและหยุดเครื่องสูบน้ำหมุนเวียนในทางปฏิบัติการหยุดทำงานของเครื่องสูบน้ำจะมีระยะเวลาที่ยาวกว่าตามที่คำนวณได้ 

 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่มีการใช้น้ำร้อนเลย เพราะเมื่อมีการใช้น้ำร้อนเป็นระยะ ๆ ก็จะมีน้ำร้อนใหม่เข้ามาแทนที่ส่วนหนึ่งของระบบท่อเสมอ 

 ทำให้น้ำค้างท่อมีอุณหภูมิสูงกว่าตามที่คำนวณ ระยะเวลาทำการหมุนเวียนน้ำเพื่อให้อุณหภูมิน้ำได้อย่างน้อย 55 องศา ก็จะสั้นกว่าจากการคำนวณ เป็นผล

ให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น วิศวกรบางท่านจึงออกแบบระบบแบบให้เครื่องสูบน้ำหมุนเวียนทำงานตลอดเวลา มักจะตั้งอุณหภูมิการตัดการทำงานของเครื่องสูบน้ำให้สูงกว่าปรกติ 


ระบบรักษาความปลอดภัย :  รั้วไฟฟ้า





 การออกแบบระบบชนิดนี้ก็ยังคงจะต้องใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเท่าเดิม แต่จะเสียค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีก จึงเห็นว่าควรจะใช้ระบบแรกเพราะ

1. การเดินและหยุดของเครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก ไม่เป็นการเสี่ยงต่อการที่มอเตอร์อาจจะเสียหายเพิ่มขึ้นเลย เพราะมอเตอร์ที่ได้มาตรฐานจะได้รับการออกแบบให้มีความทนทานมากกว่า

2. ระยะเวลาที่หยุดทำงานของเครื่องสูบน้ำจะมากกว่าที่คำนวณได้ดังที่กล่าวถึงเหตุผลมาแล้ว ฉะนั้นจำนวนการเดินเครื่องสูบน้ำในแต่ละชั่วโมงก็จะลดลงไปอีก

3. ในขณะที่พลังงานกำลังแพงขึ้นเรื่อย ๆ และหายากขึ้นเช่นนี้ ควรคำนึงถึงการประหยัดพลังงานเท่าที่จะกระทำได้

4. ในกรณีที่ aquastat ชำรุดเสียหาย ก็อาจจะต่อเครื่องสูบน้ำให้ทำงานโดยตรงได้ จนกว่าจะทำการเปลี่ยน aquastat ใหม่

ข้อคำนึงในการออกแบบระบบท่อ

ระบบท่อที่เลือกนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะของเครื่องสุขภัณฑ์ภายในอาคาร ซึ่งมีทั้งที่อยู่รวมกันและกระจายอยู่ทั่วไป 

 โดยทั่วไปแล้วเครื่องสุขภัณฑ์ที่กระจายออกจากกลุ่มสุขภัณฑ์ทำให้ท่อหมุนเวียนของน้ำร้อนจำเป็นต้องมีวงจรหรือท่อแยกไหลออกไปด้วย 

 กรณีเช่นนี้การเดินระบบของท่อแยกที่ใช้กันทั่วไป อาจจะมีลักษณะ 3 แบบ

- แบบแรกประกอบด้วยวงจร A แยกออกจากท่อเมนจ่ายน้ำ แล้ววนกลับมายังท่อเมนไหลกลับ เป็นวงจรที่นิยมใช้ในการออกแบบทั่วไป 

 ขนาดของท่อได้รับการออกแบบให้มีขนาดเพียงพอสำหรับการจ่ายน้ำให้เครื่องสุขภัณฑ์ที่อยู่ในวงจรนั้นเท่านั้น ดังนั้นขนาดท่อเมนและท่อในวงจรจึงลดลงตามความจำเป็น ทำให้ค่าใช้จ่ายของท่อลดลงด้วย

- แบบที่สองเป็นวงจร B เป็นการเดินท่อเมนไปยังเครื่องสุขภัณฑ์ที่อยู่แยกออกไป รวมทั้งใช้เป็นท่อน้ำไหลวนกลับด้วย 

 การเดินท่อลักษณะนี้จะต้องใช้ขนาดของท่อเมนเท่าเดิมตลอดความยาวของวงจรทำให้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับท่อมาก เป็นผล

ให้ขนาดของเครื่องสูบน้ำหมุนเวียนใหญ่ขึ้น การเสียพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย แต่ระบบวงจร B มีข้อดีกว่าแบบ A ในด้านการหมุนเวียนน้ำ ระบบทำได้ง่ายกว่า

- แบบที่สามเป็นแบบท่อแยก C ซึ่งไม่มีท่อไหลวนกลับ แบบนี้เป็นแบบที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่จะต้องเสียเวลาในการรอน้ำร้อน 

 เพราะจะต้องปล่อยน้ำเย็นที่ค้างอยู่ภายในท่อออกให้หมดเสียก่อน และไม่ควรจะใช้แยกแบบนี้ถ้าเครื่องสุขภัณฑ์อยู่ห่างออกไปเกิน 10 เมตร ขึ้นอยู่กับระยะเวลารอน้ำร้อนที่ผู้ออกแบบและผู้ใช้จะยอมรับได้

ระบบท่อภายในอาคารการออกแบบโดยทั่วไปจะประกอบด้วยวงจรและท่อแยกรวมอยู่ในระบบเดียวกัน ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณาตำแหน่ง 

 และระยะห่างของเครื่องสุขภัณฑ์ตามความเหมาะสมโดยให้ค่าใช้จ่ายของระบบน้อยที่สุดพร้อมกับมีระยะเวลารอน้ำร้อนไม่เกินพิกัดที่ยอมรับได้

การกำหนดขนาดของท่อ

การกำหนดขนาดของท่อจ่ายน้ำร้อนขึ้นอยู่กับการใช้น้ำและความเร็วของน้ำภายในท่อซึ่งอนุโลมให้ใช้วิธีการและหลักการเดียวกับระบบน้ำเย็น 

 การกำหนดขนาดของท่อน้ำร้อนไหลวนกลับให้ใช้ตามวิธีการที่เป็นมาตรฐานทั่วไป ขนาดของท่อไหลกลับควรจะให้เล็กที่สุดเพื่อให้ค่าท่อถูกที่สุด 

 ถ้าท่อมีขนาดใหญ่อัตราการสูญเสียความร้อนก็มีมากขึ้นด้วย ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานที่ใช้ทำความร้อนให้แก่น้ำ การออกแบบท่อน้ำไหลวนกลับจึงเป็นการชั่งน้ำหนักระหว่างตัวประกอบหลายอย่างดังนี้

- ราคาของระบบที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ท่อขนาดใหญ่เกินไป

- ค่าของพลังงานที่สูญเสียเพิ่มขึ้นจากการใช้ท่อขนาดใหญ่

- ราคาที่ลดลงจากการใช้ท่อขนาดเล็ก เทียบกับพลังงานที่เสียเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ต้องใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ขึ้น

โดยการวิเคราะห์อย่างละเอียดย่อมเป็นการสิ้นเปลืองเวลามากขึ้นผู้ออกแบบควรพยายามที่จะหลีกเลี่ยง จากประสบการณ์จะช่วยให้ผู้ออกแบบรู้ว่าในระบบลักษณะไหน 

 ควรจะเลือกใช้เครื่องสูบน้ำหมุนเวียนขนาดเท่าใด เป็นการช่วยให้สามารถเลือกขนาดท่อได้อย่างพอเหมาะ สำหรับการเลือกขนาดของท่อน้ำร้อนไหลวนกลับสำหรับอาคารชนิดต่าง ๆ ขอแนะนำหลักปฏิบัติดังนี้

- ขนาดของท่อเมนไม่โตกว่า 50 มม. ท่อเมนของน้ำไหลวนกลับ ควรจะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งเมนจ่ายน้ำ

- ขนาดของท่อเมนจ่ายน้ำโตกว่า 50 มม. ท่อเมนของน้ำไหลวนกลับควรจะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของท่อเมนจ่ายน้ำเล็กน้อย


ระบบรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน :  สัญญาณกันขโมย




 

เครื่องทำน้ำร้อน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตน้ำร้อนสำหรับจ่ายให้กับอาคารในอุณหภูมิที่ต้องการ ในการทำน้ำร้อนนั้นมีหลายวิธีและใช้พลังงานหรือเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันไป อาจแบ่งออกได้ดังนี้

1. ใช้หม้อผลิตน้ำร้อน

2. ใช้หม้อไอน้ำ

3. ใช้หม้อน้ำมันร้อน

4. ใช้แผงรับความร้อนจากแสงอาทิตย์

ในการทำน้ำร้อนนั้นใช้น้ำมันร้อนหรือไอน้ำในการทำจะต้องอาศัยอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบคือ

1. Storage heater มีลักษณะเป็นถังเก็บน้ำมีขดท่อสำหรับถ่ายเทความร้อนอยู่ภายใน การใช้ไอน้ำในการทำน้ำร้อน 

 โดยไอน้ำจะไหลไปในท่อน้ำจะอยู่นอกท่อ ถังน้ำมีความจุสำหรับเก็บน้ำร้อนเอาไว้ด้วย ขนาดความจุจะขึ้นอยู่กับอัตราความต้องการของการใช้น้ำสูงสุดของอาคาร

2. Instantaneous heater มีลักษณะคล้ายกันกับแบบแรก แต่ไม่มีปริมาตรสำหรับเก็บน้ำร้อนเอาไว้ด้วย ฉะนั้นอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนชนิดนี้จึงใช้

สำหรับการทำน้ำร้อนเพื่อใช้ทันทีเท่านั้น กรณีที่จะใช้น้ำร้อนในการทำน้ำร้อน อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนก็ยังคงมีลักษณะเช่นกัน 

 แต่ใช้น้ำมันร้อนแทนไอน้ำและควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันโดยใช้วาล์วอัตโนมัติแทนวาล์วไอน้ำกับ steam trap

3.  การหาขนาดของอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน

ผู้ออกแบบจะต้องสามารถประเมินปริมาณน้ำร้อนที่ต้องการต่อวัน ในการหาขนาดของอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน และปริมาณน้ำร้อนที่ต้องการสูงสุดในหนึ่งชั่วโมง 

 และรวมถึงระยะเวลาที่ต้องการน้ำร้อนอัตราสูงสุดนี้ติดต่อกันได้เสียก่อน ขนาดความจุของถังขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคารมีการใช้น้ำร้อนอย่างไร 

 และมีการใช้ช่วงไหน น้ำร้อนส่วนที่เก็บอยู่ภายในถังจะถูกจ่ายออกมาช่วยในขณะที่มีการใช้น้ำร้อนในอัตราสูงทำให้สามารถลดขนาดเครื่องทำน้ำร้อน

 ถ้าอาคารมีการใช้น้ำร้อนติดต่อกันในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ทำน้ำร้อนชินดที่สามารถเก็บน้ำร้อนเอาไว้ได้ 

 เพราะจะไม่เป็นการลดขนาดของเครื่องทำน้ำร้อนลงแต่อย่างใด ทั่วไปแล้วควรจะใช้ถังที่มีความจุน้ำร้อนให้มากี่สุดเท่าที่พื้นที่และการลงทุนทางด้านปฏิบัติจะอำนวนให้ 

 เพื่อที่จะได้ลงดขนาดของเครื่องทำน้ำร้อนและขดท่อทำน้ำร้อนลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น การเลือกขนาดความจุของถังให้จำว่า 

 ปริมาณน้ำร้อนที่สามารถนำมาใช้ได้เพียง 70% ของความจุทั้งหมดเท่านั้น เพราะเมื่อน้ำเย็นไหลเข้ามาแทนที่แล้วจะทำให้อุณหภูมิของน้ำภายในถังลดลง

จนไมอาจจะถือว่าเป็นน้ำร้อนอีกต่อไป จนกว่าจะได้รับความร้อนจากขอท่อน้ำร้อนเพียงพอแล้ว วิธีการคำนวณถึงปริมาณน้ำร้อน

เพื่อประกอบกับการเลือกขนาดของอุปกรณ์ทำน้ำร้อนเพียงพอแล้ว วิธีการคำนวณขนาดของท่อจ่ายน้ำซึ่งใช้วิธีหน่วยสุขภัณฑ์มาแล้ว โดยทั่วไปการคำนวณแบ่งออกได้ 2 วิธี

1. วิธีใช้จำนวนคนเป็นหลัก

2. วิธีใช้จำนวนเครื่องสุขภัณฑ์เป็นหลัก

วิธีการแรกให้ความแม่นยำมากกว่าและควรจะยึดถือเป็นหลัก นอกเสียจากว่าจะไม่สามารถประมาณจำนวนคนได้อย่างถูกต้องเพียงพอก็ให้ใช้

การประมาณปริมาณน้ำร้อนจากจำนวนเครื่องสุขภัณฑ์แทน ในบางพื้นที่ของอาคารไม่สามารถที่จะใช้จำนวนคนเป็นหลักได้ 

 จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน จึงให้คิดอัตราการใช้น้ำร้อนแยกต่างหากแล้วจึงนำมารวมกับอัตราการใช้น้ำสำหรับเครื่องสุขภัณฑ์เหล่านั้น 

 โดยถือว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีความต้องการน้ำร้อนอยู่ตลอดเวลา

การคำนวณหาขนาดของเครื่องทำน้ำร้อน

ขนาดของเครื่องนั้นขึ้นอยู่กับอัตราความต้องการใช้น้ำสูงสุดต่อชั่วโมง ขนาดความจุของถังน้ำร้อนและจำนวนชั่วโมงที่มีอัตราความต้องการ

น้ำสูงสุดติดต่อกัน ถ้าความจุของถังมาก น้ำภายในถังจะช่วยจ่ายให้ระบบในขณะที่มีอัตราความต้องการน้ำสูงสุด ซึ่งทำให้ขนาดของเครื่องทำน้ำร้อยลดลง 

 เครื่องทำน้ำร้อนที่อาจจะเป็นหม้อไอน้ำ หรือหม้อน้ำมันร้อนก็ได้

การหาพื้นผิวรับความร้อนของ HEATING COIL

การคำนวณหาพื้นผิวรับความร้อน ผู้ออกแบบใช้แค็ตตาล็อคของผู้ผลิตก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการคำนวณอีก 

 เพราะในแค็ตตาล็อกจะให้ข้อมูลที่สามารถเลือกขนาดได้อย่างพร้อมมูลแล้ว สำหรับประเทศเรามักจะนิยมสร้าง storage heater ขึ้นมาเอง

โดยที่ไม่มีมาตรฐานหรือการทดสอบการใช้งานมาก่อน ในบางครั้งวิศวกรจึงจำเป็นที่จะต้องให้รายละเอียดให้เพียงพอแก่การสร้างได้

 พื้นผิวรับความร้อนนี้สามารถประมาณได้โดยใช้สมการทางด้าน heat transfer แบบ counter flow

ระบบรักษาความปลอดภัย :  กล้องวงจรปิดไร้สาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น