กล้องวงจรปิดกับทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์
1. ความหมายของประชากรศาสตร์
ประชากรศาสตร์
หมายถึง ลักษณะความแตกต่างของแต่ละบุคคล เป็นการหาความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ทางด้านพฤติกรรมของประชากรและการเปลี่ยนแปลงในปรากฎการณ์ทางประชากรจะมีอิทธิพลต่อการสื่อสาร
(สันทัด เสริมศรี. 2541 : 6-7) อันได้แก่ จำนวนประชากรความหนาแน่นต่อพื้นที่
การกระจายของอายุ ผิวพรรณ อัตราการเกิด อัตราการตายและการแต่งงาน(อัจจิมา เศรษฐบุตร 2544)
หรือเป็นการศึกษาเกี่ยวกับประชากรมนุษย์ในรูปขนาด ความหนาแน่น ถิ่นที่อยู่ อายุ
เพศ เชื้อชาติ และข้อมูลสถิติด้านอื่นๆ (Kotler, 2003)
หรือเป็นกลุ่มของปัจจัยที่ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านอายุของประชากรศาสตร์ของสังคมในด้านอายุการศึกษาโครงสร้างทางครอบครัวการย้ายถิ่นฐานของประชากร
(วิทวัส รุ่งเรืองผล, 2545)
ดังนั้นประชากรศาสตร์มีผลต่อการดำเนินการทางการตลาดของกิจการเราต้อง
ติดตามศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักการตามศึกษาสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่
|
2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านระดับการศึกษา การที่ประชากรที่ดีขึ้นย่อมหมายถึงความสามารถในการประกอบอาชีพที่ดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นอำนาจซื้อในตลาดที่เพิ่มขึ้นนั่นเองพร้อมกับพิถีพิถันในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการความต้องการและรสนิยมที่ดีขึ้นด้วยมี
ผลให้เกิดธุรกิจประเภทต่างๆขึ้นใหม่เช่นการขายของออนไลน์เป็นการตอบสนองความต้องการของประชากรที่เปลี่ยนไป
3.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางครอบครัวของไทยนั้นจะสามารถสังเกตการณ์
การเปลี่ยนแปลงได้สองด้าน คือ ด้านอายุของคู่สมรสและด้านขนาดของครอบครัว เป็นผลจากค่านิยมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
เช่น มีลูกน้อยแต่งงานช้าหรือแม่บ้านออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น ไม่รอสามีเลี้ยงอย่างเดียว
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของธุรกิจหลายประเภท
เช่น การบริการ ส่งสินค้าถึงบ้าน
4. การย้ายถิ่นฐานของประชากรในสังคม
เป็นอีกปัจจัยที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการตลาดของกิจการได้ โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานของคนในต่างจังหวัดเพื่อมาประกอบอาชีพในเมืองหลวง
เช่น กรุงเทพฯและปริมณฑลมากขึ้น จึงทำให้ในเมือง ดังกล่าวมีขนาดและมีอำนาจซื้อมากกว่าในเขตต่างจังหวัด
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหน่วยธุรกิจเริ่มขยับขยายออกไปตั้งกิจการหรือสาขาแห่งใหม่ในจังหวัดใหญ่ๆ
นอกกรุงเทพฯมากขึ้นเช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี นครศรีธรรมราช การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของประชากรทำให้ลักษณะการทำงานต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ทำให้สินค้าและบริการที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งโทรศัพท์ แฟกซ์ อินเตอร์เน็ต มีโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้น
(วรเวศม์ สุวรรณระดา, 2553)
2. แนวคิดเกี่ยวกับประชากรศาสตร์
แนวความคิดเกี่ยวกับประชากรในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับกันมาตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย
โดยเฉพาะในด้านที่เป็นประโยชน์ต่อการทหารและทางเศรษฐกิจของประเทศ เห็นได้จากการแยก
ประชากรให้ทำหน้าที่สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจเพื่อนำรายได้ให้รัฐเพื่อใช้ในกิจการป้องกันประเทศหรือมิฉะนั้นก็รับราชการทหาร
ทำหน้าที่ป้องกันประเทศจากการรุกรานของ ศัตรู
พอถึงสมัยรัตนโกสินทร์ความสนใจของรัฐบาลในด้านประชากรได้เริ่มขึ้นประมาณปี พ.ศ.
2446ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5
กรมมหาดไทยได้เริ่มการทำสำมะโนประชากรขึ้นเพื่อประโยชน์ของการเกณฑ์ประชาชนชาวไทยให้เป็นทหาร
ใช้เวลาในการทำประมาณ 7 ปี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงสนพระทัยเรื่องประชากรของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ท่านเห็นว่า
เมืองไทยนั้นกว้างขวางมากแต่ประชากรมีน้อย จะมีการเพิ่มประชากรให้มากขึ้นเป็น 5-6
เท่าก็คิดว่าจะไม่แออัด
และทรงเน้นว่าความเจริญของชาติบ้านเมืองก็ขึ้นอยู่กับประชากรด้วยเช่นกัน
ถ้าประชากรของไทยมีมากก็ทำให้ประชากรที่เป็นทหารมีมากด้วยเช่นกัน กิจการที่ทำการค้าขายก็จะมีมากขึ้นด้วยเหมือนกันเงินภาษีที่เก็บได้ก็จะมีมากตามไปด้วย
ทั้งได้ทรงเห็นว่าประชากรในไทยมีการเกิดมากแต่ประชากรก็มีการตายที่มากด้วยเช่นเดียวกัน
จึงเป็นเหตุให้ประชากรมีการเพิ่มจำนวนที่ไม่มากพอสมควรเท่าไรนักแต่การสาธารณสุขจะช่วยทำให้เด็กที่เกิดมาไม่ตายและดำเนินชีวิตต่อไปจนชราภาพ
อันเป็นเหตุให้ประชากรมากขึ้นได้ (เพ็ญพร ธีระสัวสดิ์, 2539)
พระราชดำริของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พ.ศ. 2446 นี้จัดว่าเป็นแนว ความคิดที่เกี่ยวข้องกับประชากรที่สำคัญของประเทศไทยและจัดว่าเป็นนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชากรในประเทศไทย
เพราะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวคิดนั้น ได้ทำการปรับปรุงขยายงานของ
สาธารณสุขออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชา นุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
งานสาธารณสุขได้มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและได้ผลซึ่งมีจุดประสงค์สำคัญอันหนึ่งคือ
การลดอัตราการตายของประชากรเพื่อที่เพิ่มประชากรของประเทศให้มากขึ้นในสมัยนั้น
ปรากฏว่าผลเป็นไปตามแนวคิดของท่าน ในปี พ.ศ.2473 ประชากรของประเทศไทยเพิ่มขึ้น
และการตายได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
3. ทฤษฏีเกี่ยวกับประชากรศาสตร์
ไพบูลย์
ช่างเรียน (2515 : 5-8) กล่าวไว้ว่า
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประชากรของประเทศต่างๆ แตกต่างกันออกไปตามภาวะเศรษฐกิจ
สังคมและการเมือง
แต่มีแนวคิดและทฤษฏีที่สำคัญที่เกี่ยวกับประชากรในอดีตอย่างเช่นนักปราชญ์ สมัยโบราณมีแนวคิดเกี่ยวกับประชากรมุ่งเน้นไปทางด้านการเมือง
ต่อมาภายหลังได้มุ่งเน้นไปทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
แนวความคิดที่จัดว่าดั้งเดิมที่สุด ได้แก่
แนวความคิดของขงฟูจื้อนักปรัชญาชาวจีนมีความเห็นว่าประชากรที่เพิ่มมากจนเกินไป
อาจจะทำให้ผลผลิตต่อคนทำงานลดลงได้
และอาจมีผลกระทบกระเทือนให้ระดับการครองชีพใช้ชีวิตต่ำไปด้วย นักปราชญ์จีนยุคนั้นได้ศึกษาถึงขนาดของประชากรของเขาในเขตที่มีประชากรหนาแน่นไปสู่ที่มีประชากรเบาบางน้อยลงไป
จึงเห็นได้ว่านักปราชญ์จีนยุคนั้น ได้พิจารณาเห็นว่ารัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินมาตรการต่างๆ
เกี่ยวกับประชากรซึ่งเป็นแนวความคิดที่ไม่แตกต่างกับแนวความคิดของผู้บริหารและนักวิชาการในอีก
หลายๆ ประเทศทำให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทโดยตรงในการแก้ปัญหา
นักปราชญ์จีนยุคนั้นยังได้มีความเห็นว่าการเพิ่มประชากรในยุคนั้นอาจถูกยับยั้งได้โดยสาเหตุต่างๆ
หลายประการ เช่น ในขณะที่มีการขาดแคลนอาหารอัตราการตายได้เพิ่มขึ้น ทำให้การเพิ่มของประชากรช้าลง
หรือพิธีสมรสซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงทำให้มีการสมรสน้อยลง
หรือสงครามทำให้การเพิ่มน้อยลง
เพลโตและอริสโตเติล
นักปราชญ์สมัยกรีกทั้งสองท่านได้พิจารณาถึงขนาดประชากรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ “นครรัฐ”
ของกรีกสมัยนั้นเพลโตเห็นว่าจำนวนประชากร 5,040 คนเหมาะ ที่สุดสำหรับนครรัฐทุกแห่ง
ทั้งในยามสงบและในยามสงคราม ส่วนอีกท่านคืออริสโตเติล
ไม่ได้ระบุถึงจำนวนที่แน่นอนของประชากรที่เหมาะสมที่สุดของนครรัฐ
แต่ได้ให้ความเห็นว่าหากไม่จำกัดขนาดของประชากรแล้วก็จะเกิดความยากจนขึ้นได้
ซิเซโร
นักปราชญ์สมัยโรมันได้ศึกษาสาเหตุที่ยับยั้งการเพิ่มของประชากรและเห็นว่า
สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ อุทกภัย โรคระบาด ขาดแคลนอาหาร สัตว์ร้าย ความอดยากสงคราม และการปฏิวัติ
สำหรับชาวโรมันคนอื่นๆได้พิจารณาประชากรแตกต่างไป
จากชาวกรีกซึ่งพิจารณาขนาดของประชากรที่เหมาะสมกับนครรัฐของตน แต่ชาวโรมันพิจารณาประชากรที่เหมาะสมกับอาณาจักรของตนเอง
จึงมุ่งไปในทางที่จะเพิ่มประชากรให้มากขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อกำลังและอำนาจ
เมอร์แคนทิลิสต์
นักเศรษฐศาสตร์ในคริสศตวรรษที่17 และ18
ได้ให้แนวความคิดว่าประชากรยิ่งมีจำนวนมากเท่าใดและเพิ่มขึ้นรวดเร็วเท่าใดก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อทางด้านเศรษฐกิจและการทหารมากขึ้นเท่านั้น
และมุ่งแต่เพียงในการที่จะเพิ่มอำนาจและความมั่งคงให้รัฐที่เป็นส่วนรวม
มิได้มีความมุ่งหมายที่จะเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรแต่ละคน
แนวความคิดนี้เห็นว่าการเพิ่มของประชากรจะทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น แต่จะทำให้ค่าจ้างแรงงานต่อชั่วโมงลดลงไป
ซึ่งจะเป็นเหตุให้คนงานแต่ละคนต้องเพิ่มชั่วโมงเวลาทำงานของตัวเองให้มากขึ้นไปอีก
จึงทำให้มีการพิจารณาหาหนทางและสนับสนุนในการที่จะกระตุ้นให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แนวคิดนี้จัดว่าเป็นที่มาของความคิดในปัจจุบันของผู้ที่สนใจในด้านประชากรบางกลุ่มที่ว่าประชากรยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าใดก็จะเพิ่มกำลังอำนาจของประเทศขึ้นเท่านั้น
แนวความคิดนี้ถือว่าเหมาะสมกับประเทศในยุโรปขณะนั้น
ซึ่งทำการขยายอาณานิคมอย่างกว้างขวาง
โทมัส มัลทัส (1766) กล่าวไว้ว่า
ได้กระตุ้นให้เกิดความสนใจอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนประชากรและผลที่เกิดขึ้น
มัลทัสมีความเห็นว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะเพิ่มผลผลิตที่จำเป็นสำหรับชีวิตได้ช้ากว่าการเพิ่มประชากร
อธิบายว่าการเพิ่มผลผลิตของสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเลขาคณิต
คือ จาก 1 เป็น 2, 3, 4 ตามลำดับ
แต่ประชากรเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเรขาคณิต คือ เพิ่มจาก 1 เป็น 2, 4, 8 ตามลำดับ
และการเพิ่มของประชากรถูกยับยั้งด้วยสาเหตุบางประการ เช่น การอดยาก ขาดแคลนอาหาร
จอห์น มิลล์ (1806) กล่าวไว้ว่า
นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มคลาสสิคเห็นว่าจำเป็นต้อง
มีการควบคุมการเพิ่มของจำนวน ประชากร
เพราะอาหารที่ได้มาจากประเทศที่ส่งอาหารให้เป็นสินค้าออกนั้นมีจำนวนจำกัดและ
ประชากรของประเทศที่ส่งอาหารให้ก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี
คาร์ล
มาร์คซ์ (2361) กล่าวไว้ว่า นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มสังคมนิยม
ได้เสนอแนวความคิดเห็นของเขาว่า การที่มีประชากร มากจนเกินไปนั้นจะมีผลเกิดขึ้นก็เฉพาะในระบบการผลิตตามระบบนายทุนเท่านั้น
ทั้งนี้เพราะทุนเพิ่มขึ้นประกอบกับการเพิ่มของประชากรจึงเกิดการว่างงาน
การที่มีประชากรล้นงานจัดว่าเป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กันอยู่แล้ว
ในระบบเศรษฐกิจระบบทุนนิยม
นักสังคมนิยมคนอื่นๆ ในสมัยนั้นต่อมาก็มีความเห็นคล้ายคลึงกันซึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของมัลทัสแต่เมื่อดูจากข้อมูลเท็จจริง
ในปัจจุบันก็จะเห็นคำกล่าวของมาร์คซ์ได้ว่ายังไม่ถูกต้องเพราะแม้ประเทศคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันก็ได้พยายามที่จะยับยั้งการเพิ่มประชากรในประเทศอยู่
4. ทฤษฏีการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มประชากรในกรุงเทพมหานคร
การขยายตัวของกรุงเทพฯได้อย่างลึก
ซึ่งเราจึงควรทำความเข้าใจ ทฤษฏีการขยายตัวของกรุงเทพฯ
โดยทั่วไปเพื่อเป็นแนวทางการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคได้ในการขยายตัวเพื่อหาแบบอย่าง
(Model)
ของการขยายตัวในที่นี้ทฤษฏีที่มีชื่อเสียงมากคือ
1. Burgess,
2. Hoyt
3. Mckenzie
1. ย่านธุรกิจใจกลางเมือง
2. โซนของกาเรปลี่ยนแปลง
3. โซนบ้านชนชั้นแรงงาน
4. โซนของที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น
ชนชั้นกลาง
5. โซนของผู้ที่อาศัยเดินทางไปกลับ เช้า - เย็น
แผนภูมิที่
2 โมเดลการขยายตัว Central
Business District
ที่มา:ไพบูลย์ช่างเรียน.
(2515) อ้างอิงจากสันนิบาตแห่งประเทศไทย,
เอกสารประกอบความรู้เนื่องในการประชุมใหญ่ ส.ท.ท. ครั้งที่ 7, เล่มที่ 1 2509, หน้า 74
Concentric
Zone Theory เป็นทฤษฏีของ Ernest W. Burgess
ถือว่าเมืองมีลักษณะการ ขยายตัวเป็นวงกลม
หรือส่วนของวงกลมออกจากจุดศูนย์กลางของวงกลมเป็นลำดับ เช่น วงกลมที่ 1
เป็นย่านธุรกิจกลางที่เรียกว่า CBD (Central Business District) เป็นแกนกลางของเมืองหลวงวงกลมที่
2 เป็น Transition Zone มีการผสมระหว่าง CBD และบริเวณที่อยู่อาศัยของชนชั้นแรงงานที่ประกอบด้วยวงกลมที่ 3และวงกลมที่
4 เป็นย่านที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลางวงกลมที่ 5
เป็นย่านที่อยู่อาศัยของผู้เดินทางไปกลับเช้าเย็นมายังเมือง จากทฤษฏีนี้กรุงเทพฯ
ควรมีลักษณะของการขยายตัวเป็นเขตต่างๆ ดังรูป
แผนภูมิที่
3 โมเดลการขยายตัวแบบ Concentrice Zone Theory
ที่มา:ไพบูลย์ช่างเรียน.(2515)
อ้างอิงจากสันนิบาตแห่งประเทศไทย, เอกสารประกอบความรู้เนื่องในการประชุมใหญ่ ส.ท.ท.
ครั้งที่ 7, เล่มที่ 1 2509, หน้า 74
Sector Theory เป็นทฤษฎีที่ตั้งขึ้นโดย Homer Hoyt โดยมีหลักการเน้นถึงการใช้ที่ดิน ประเภทอยู่อาศัยว่าเป็นไปในลักษณะลิ่มอันมีหัวแหลมเป็นศูนย์กลางของเมืองหลวงและบานปลาย
ออกไปตามแนวเส้นทางคมนาคมบ่งบอกถึงกลุ่มชนชั้นที่มีรายได้ต่างๆ ไม่เหมือนกัน
มีการอาศัยอยู่ เป็นเขตต่างๆ กันในลักษณะของส่วนวงกลมที่ตัดออกมานี้
โดยเส้นรัศมีมี 2 เส้นด้วยกันจาก CBN (Central Business District) ออกไปทฤษฏีนี้เมืองหลวงจึงควรมีลักษณะการขยาย
ตัวออกเป็นดังรูป
1. ย่านธุรกิจใจกลางเมือง
2. ย่านธุรกิจขายส่ง
3. ย่านใช้แรงงาน
4. ย่านชนชั้นกลางรายได้ดีขึ้น
5. ย่านชนชั้นสูงรายได้ดี
6. ย่านที่มีการผลิตเป็นโรงงาน
7. ย่านธุรกิจที่ห่างไกล
8. ย่านชานเมือง
9. ย่านเมืองอุตสาหกรรม
แผนภูมิที่ 4 โมเดลการขยายตัวแบบ
Sector Theory
ที่มา:ไพบูลย์ช่างเรียน.(2515)
อ้างอิงจากสันนิบาตแห่งประเทศไทย, เอกสารประกอบความรู้เนื่องในการประชุมใหญ่
ส.ท.ท. ครั้งที่ 7, เล่มที่ 1 2509, หน้า
74
Multiple Nuclei Concept เป็นทฤษฏีที่เริ่มขึ้นโดย
R.D. Mckenzie กล่าวไว้ว่าลักษณะของเมืองนั้นหาได้มีศูนย์กลางอยู่แห่งเดียวเหมือนที่สองทฤษฏีแรกกล่าวเอาไว้แต่ต้น
หากแต่จะมีศูนย์กลางของเมือง (Mucleus) อยู่หลายแห่งซึ่งศูนย์กลางเหล่านี้อาจจะเป็นศูนย์อุตสาหกรรม
ศูนย์การค้าส่ง ศูนย์การค้าปลีก ศูนย์การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลักษณะ
ของการขยายตัวของเมืองตามทฤษฏีนี้ จึงมีลักษณะดังนี้
เมื่อเราเอาทฤษฏีทั้ง
3 แบบมาตั้งเป็น Model ในการเปรียบเทียบลักษณะการขยายตัวของเมือง ในกรุงเทพฯ จะมองเห็นได้ว่าทฤษฏีสุดท้ายของ
R.D. Mckenzie Multiple Nuclei Concept มีความ
ใกล้เคียงมากที่สุด เพราะเขตเมือง (Urbanized Area)
ของกรุงเทพฯ ได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง โดยมีแหล่งชุมชนหลายจุด ศูนย์กลางการค้าที่เคยมีเพียงแค่เขตบางรัก
เขตบางลำพู ก็จะไม่พอแก่การบริการ ทำให้ศูนย์การค้าใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันจากการขยายตัวของชุมชน
ภายในกรุงเทพฯ มีลักษณะที่มีแหล่งชุมชนหลายจุดตามลักษณะใกล้เคียงกับทฤษฏี Multiple Nuclei Concept ที่เคยกล่าวมาแล้วนั้น
แต่แหล่งชุมชนย่อยๆ หลายจุดนั้นก็อยู่ห่างกันไม่มากนัก เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมแล้ว
เมื่อดูลักษณะทั่วไปของแหล่งชุมชนทั้งหมดในเมืองหลวงกรุงเทพฯ รวมๆ
กันจะปรากฏลักษณะใหม่ของการขยายตัวของกรุงเทพฯ คือเขตมืองซึ่งเริ่มขึ้น ณ
บริเวณมหาราชวังแล้วค่อยๆ ขยายออกไปในลักษณะคล้ายรูปตัววี ออกไปทางทิศเหนือ
ทิศใต้ (ไพบูลย์ ช่างเรียน, 2515)
สาเหตุการขยายตัวของกรุงเทพฯ ถ้าพิจารณาในด้านทฤษฏีแล้วจะพบว่าสาเหตุของการ ขยายตัว ของกรุงเทพฯ มีขึ้นอย่างรวดเร็วมีสาเหตุมาจากปัจจัยในด้านต่างๆ ดังนี้
สาเหตุการขยายตัวของกรุงเทพฯ ถ้าพิจารณาในด้านทฤษฏีแล้วจะพบว่าสาเหตุของการ ขยายตัว ของกรุงเทพฯ มีขึ้นอย่างรวดเร็วมีสาเหตุมาจากปัจจัยในด้านต่างๆ ดังนี้
1.สาเหตุของการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วเนื่องจากเขตกรุงเทพฯ
เป็นศูนย์กลาง รวบรวมของความเจริญไว้ทุกด้าน ตลอดจนศูนย์รวมของอาชีพทำให้ผู้คนประชาชนอพยพเข้ามาประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
และยิ่งอัตราการเกิดของคนในกรุงเทพฯ มีอัตราการเกิดไม่สูง อัตราการตายต่ำ
จึงทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นในสัดส่วนไม่มาก
มีผู้คำนวณว่าถ้าหากอัตราการเกิดของประชากรยังคงเป็นอยู่อย่างขณะนี้ กรุงเทพฯ
จะมีอัตราการเพิ่มที่ไม่มากนัก
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ความเจริญก้าวหน้าในด้านเครื่อง
จักรกลและวิทยาการแผนใหม่ยังได้เปลี่ยนแปลงลักษณะเศรษฐกิจของเราแบบชนบทเป็นระบบ
เศรษฐกิจแบบเมือง เปลี่ยนระบบการเพาะปลูกมาเป็นระบบอุตสาหกรรม
ทำให้เราต้องการพนักงาน แรงงานเพิ่มมากขึ้นในเขตเมืองหลวง
นอกจากนั้นยังมีที่ดินที่เคยทำการเพาะปลูกผักข้าว
ก็จะกลายเป็นเขตอุตสาหกรรมไป
ย่านธุรกิจการค้าทำให้ชาวบ้านที่เคยอยู่อาศัยในบริเวณนั้นต้องอพยพไปหาแหล่งอาศัยใหม่ที่อยู่นอกเมืองออกไป
ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองมากขึ้น
3.ความเสื่อมโทรมในตัวเมืองกรุงเทพฯ ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของกรุงเทพฯ มีความยุ่งยากและก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัย ปัญหาในการแบ่งโซน ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาด้านโจรผู้ร้ายและปัญหาด้านอื่นๆ อีกมากมาย อันเป็นการทำลายความสงบเรียบร้อย ความ สงบสุขก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมข้างในด้านจิตใจแก่ผู้ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะประชาชนที่มี รายได้ปานกลาง จึงมีความพยายามดิ้นรนออกไปอยู่ในเขตชานเมืองด้วยการหาซื้อที่ผ่อนส่งจากการจัดสรรที่ดิน บ้านจัดสรร อันเป็นเหตุให้มีการขยายตัว ของชุมชนเกิดใหม่ (เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2545)
สาเหตุการขยายตัวของชานเมืองกรุงเทพฯ
มากขึ้นทำให้เราต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น ควรมีกล้องวงจรปิดเอาไว้ใช้งาน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.ปัจจัยทางด้านการคมนาคม (Mass Communication) จากการที่ทางรัฐบาล
ด้วยกรมทางหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีโครงการสร้างทางรถไฟฟ้า
ทางหลวงตัดใหม่ต่างๆ ทำให้การคมนาคมติดต่อระหว่างชานเมืองกับตัวเมือง
หรือศูนย์กลางของตัวเมืองเกิดความสะดวกสบายรวดเร็วในการคมนาคม
ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว (Mobility) ไปมาได้รวดเร็ว
ทั้งยานพาหนะชนิดต่างๆทำให้มีความเจริญเกิดขึ้นได้รวดเร็ว
เห็นได้จากสภาพของชุมชนที่เกิดขึ้นตามสองข้างทางที่มีถนนตัดผ่านหรือสร้างถนนใหม่ๆ
จะมีรถประจำทางหลายสายผ่าน
2. ปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย จากปรากฎการณ์ที่ประชาชนในตัวเมืองได้พากันอพยพออกไปอยู่ตามชานเมืองตามเส้นทางที่มีการคมนาคมสะดวกมากขึ้นนั้น
ยังมีสาเหตุอีกประการหนึ่ง
เกิดขึ้นจากความจำเป็นในด้านที่อยู่อาศัยการออกไปจัดหาที่ดินหรือที่อยู่อาศัยในบริเวณชานเมืองหลวงนั้นสามารถที่จะมีบริเวณบ้านได้อย่างกว้างขวางถูกสุขลักษณะทำให้ประชาชนที่มีอาชีพรายได้
ปานกลางสามารถหาซื้อเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยไม่แพงมากเหมือนบ้านที่อยู่ในตัวเมืองที่นอกจากจะแพงมากแล้วยังมีความแออัดมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและปัญหาสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก
ส่วนมากบุคคลที่อพยพออกไปสู่ชานเมืองโดยทั่วไปจะเป็นผู้ที่มีรายได้ระดับปานกลางหรือข้าราชการที่พอจะมีเงินหรือสำหรับค่าที่ดินพอจะผ่อนส่งได้
ศาสตราจารย์อัน นิมมานเหมินทร์
ท่านได้เคยกล่าวเอาไว้จากสภาพแวดล้อมจริงในปัจจุบันนี้ว่า “ในอนาคตนั้นผู้ที่จะอาศัยอยู่ในตัวเมืองก็คงจะได้แก่พวกมหาเศรษฐีหรือผู้ที่ยากจนจริงๆ
เท่านั้นส่วนผู้ที่มีรายได้ปานกลางจะหนีไปอยู่ตามแถบชานเมืองกันหมด”
4. ปัจจัยในด้านการลงทุนของนักจัดสรรที่อยู่อาศัย
จากสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันเกิด Mobility จากการ ทำถนนหนทางเพิ่มมากขึ้น
มีรถไฟฟ้าตัดผ่าน ความสะดวกในการสัญจร ไปมาดีขึ้น
รวดเร็วขึ้นทำให้มีนักเก็ง กำไรในการจัดสรรที่ดินเกิดขึ้น
เพราะเป็นการมองเห็นลู่ทาง ที่จะได้ผลกำไรจากความต้องการของประชาชน
ในด้านความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ได้ทำการจัดสรรที่ดิน บ้านสำเร็จรูป
จัดทำสิ่งอำนวยความ สะดวกต่างๆ ขึ้น เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการจูงใจให้ประชาชนจับจองเป็น เจ้าของที่อยู่อาศัย ประชาชนซึ่งมีบทบาททำให้เกิดชุมชนการรวมตัวเพื่ออยู่อาศัยกันมากขึ้นในปัจจุบัน
5. ปัจจัยในด้านบทบาทของ Commuter เป็นแนวความคิดในด้านปัจจัยการขยายตัวของชานเมืองที่
เกี่ยวข้องกับเรื่อง Commuter หมายความว่า “บุคคลที่อาศัยอยู่ตามชานเมืองที่ห่างออกไป แต่ได้อาศัยผลจากความสะดวกรวดเร็วและการคมนาคมเข้ามาทำงานและอาศัยบริการต่างๆ
ในตัวเมืองแล้วกลับออกไปในตอนเย็น” (อัน นิมมานเหมินทร์,
op.cit.) ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวนี้ในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดการอพยพผู้ที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองออกไปอยู่ในแถมชานเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ
เช่น ย่านบางบัวทอง ย่านทวีวัฒนา บางแค
(สุชาดา ทวีสิทธิ์,
2556)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น