นับเป็นองค์กรที่สำคัญในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก แนวคิดของการสื่อสารการตลาด ซึ่งประกอบไปด้วย ความหมายของการสื่อสารการตลาด บทบาทของการสื่อสารการตลาด กระบวนการสื่อสารการตลาด และความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาด และรวมทั้งส่วนอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ความหมายของการสื่อสารการตลาด
การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบต่าง
ๆ
เพื่อสื่อสารข้อมูลของผลิตภัณฑ์และองค์กร
ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
เกิดการตอบสนองได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
จะพบว่า
การสื่อสารการตลาดมิได้จำกัดอยู่กับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ
ที่สามารถสื่อสารข่าวสารข้อมูลจากองค์กรไปสู่เป้าหมายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย และ
การใช้พนักงานขาย ซึ่งอาจเรียกว่า
“ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด”
แต่ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ
อีกมากมาย ได้แก่ การตลาดเชิงกิจกรรม การตลาดออนไลน์ และการเป็นผู้สนับสนุน เป็นต้น
การสื่อสารการตลาดแต่ละประเภทต่างมีจุดแข็งและข้อจำกัด วัตถุประสงค์ของการใช้ที่แตกต่างกันออกไป
นักสื่อสารการตลาดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักและเข้าใจลักษณะของเครื่องมือสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อเลือกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทของการสื่อสารการตลาด
บทบาทสำคัญของการสื่อสารการตลาดในยุคปัจจุบันสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากธุรกิจมีการแข่งขันสูงมาก และพยายามที่จะใช้การสื่อสารการตลาด ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตราสินค้าของตนเองไปสู่ผู้บริโภคซึ่งเป็นเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพอสรุปบทบาทของการสื่อสารการตลาดได้ 7 ประเภทดังนี้
1. เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในสินค้าและบริการ
2. เพื่อย้ำเตือนความทรงจำกับเป้าหมายผู้บริโภค
3. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารให้เป้าหมายผู้บริโภคทราบ
4. เพื่อโน้มน้าวใจให้กลุ่มเป้าหมายตอบสนองในแนวทางที่องค์กรต้องการ
5. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้าหรือองค์กรให้เกิดขึ้นในใจของเป้าหมายผู้บริโภค
6. เพื่อกระตุ้นให้เป้าหมายผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กร
7. เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมการซื้อซ้ำหรือสร้างความภักดีในสินค้าและบริการขององค์กร
จากบทบาทของการสื่อสารการตลาดนั้นมีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการบอกให้ทราบ การสร้างความแตกต่างระหว่างตราสินค้า การย้ำเตือนความทรงจำ การสร้างทัศนคติ การโน้มน้าวใจ ตลอดจนถึงการกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า
ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในที่สุดนั่นเอง
กระบวนการสื่อสารการตลาด
กระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในลักษณะของการสื่อสารของการะบวนการมีองค์ประกอบหลัก
4 ส่วน คือ
ผู้ส่งสาร (Source/Sender) สาร (Message) สื่อ (Channel) และผู้รับสาร (Receiver)
กระบวนการสื่อสารการตลาดเริ่มจากการส่งสารและทำการเข้ารหัสซึ่งเป็นขั้นตอนที่นำความคิดแปลออกมาให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่ผู้รับสารเข้าใจ ซึ่งเมื่อสารถูกส่งออกไปผ่านสื่อ ซึ่งหมายถึงช่องทางที่นำสารนั้นไปถึงผู้รับสาร ผู้รับสารก็จะทำการถอดรหัส ซึ่งเป็นการตีความหมายของสารในรูปของความคิดหรือการรับรู้ต่อข่าวสารนั้น และผู้รับสารจะส่งปฏิกิริยากลับมายังผู้ส่งสารเป็นกระบวนการในลักษณะอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอุปสรรคหรือสิ่งรบกวนขึ้นได้ในทุกองค์ประกอบทั้งจากผู้ส่งสาร สาร
สื่อ เช่น ผู้ส่งสารไม่มีทักษะการสื่อสาร สารนั้นเข้าใจยาก สื่อที่ใช้ไม่สามารถเข้าถึงเป้าหมายผู้บริโภค หรือผู้รับสารไม่มีความรู้ในเรื่องทำการสื่อสาร เป็นต้น
ในการสื่อสารแต่ละครั้งจำเป็นที่ต้องพยายามลดอุปสรรคของการสื่อสารให้น้อยที่สุด เพื่อให้การสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพ
สามารถนำมาประยุกต์เป็นแบบจำลองกระบวนการของการสื่อสารการตลาดได้
ความสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสื่อสารการตลาดนับเป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับไม่ว่าจะเป็นการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนสังคมและเศรษฐกิจ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดกับการตลาด
เป็นกิจกรรมส่วนประกอบสำคัญของการตลาด
เป็นกลยุทธ์ที่มีหน้าที่ในการถ่ายทอดข่าวสารทางการตลาดไปสู่ผู้บริโภคตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การสื่อสารการตลาดกับการตลาดจึงเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกันอย่างมาก การตลาดประกอบไปด้วยการดำเนินงานใน 4 ด้าน
ซึ่งนิยมเรียกว่า
“ส่วนประสมทางการตลาด”
ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ลักษณะ
รูปแบบ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์และการให้บริการ ราคา
การกำหนดราคา ส่วนลด ระยะเวลาและเงื่อนไขการชำระเงิน ช่องทางการจัดจำหน่าย การขนส่ง
การกระจายสินค้า และการควบคุมสินค้าคงเหลือ การส่งเสริมการตลาด การใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดต่าง ๆ
การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
การสื่อสารการตลาดมีความหมายที่กว้างและเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในการตลาดมากยิ่งขึ้นขอนำความหมาย ปรัชญา
และแนวคิดการดำเนินงานทางการตลาด
ตลอดจนหลักส่วนประสมทางการตลาดดังนี้
- ความหมายของการตลาด
กิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจระหว่างกัน ภายใต้กระบวนการแลกเปลี่ยน
- ปรัชญาและแนวคิดการดำเนินงานทางการตลาด
นักสื่อสารมีความจำเป็นต้องเข้าใจปรัชญาและแนวคิดการดำเนินงานทางการตลาดในยุคต่าง ๆ
ตามลำดับดังนี้
1. ยุคที่มุ่งเน้นการผลิต
2. ยุคที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์
3. ยุคที่มุ่งเน้นการขาย
4. ยุคที่มุ่งเน้นตลาด
5. ยุคที่มุ่งเน้นการตลาดเชิงสังคม
- ส่วนประสมทางการตลาด ถือเป็นกลยุทธ์หลักที่สำคัญหรือที่นิยมเรียกว่า “ Marketing Mix”
ชุดเครื่องมือทางการตลาดที่องค์กรใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรกับตลาดเป้าหมาย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด รายละเอียดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์
สิ่งที่นำเสนอแก่ตลาด
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
รวมถึงสิ่งที่จับต้องได้และไม่ได้
รวมถึง รูปแบบของสินค้า สไตล์
ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการบริการ
2. ราคา
เงินหรือข้อพิจารณาอื่น ๆ
ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความเป็นเจ้าของหรือการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ
นักการตลาดจำเป็นต้องพิจารณาถึงนโยบายในการตั้งราคาว่าบริษัทมีนโยบายในการกำหนดราคาไว้อย่างไร โดยทั่วไปมีอยู่ 4 ประการ
เพื่อความอยู่รอดขององค์กร
เพื่อมุ่งผลกำไรสูงสุด
เพื่อการมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด
เพื่อการเป็นผู้นำด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์
จากการพิจารณานโยบายการกำหนดราคาของบริษัทแล้ว จึงควรเลือกวิธีการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมี
3
วิธี หรือเรียกว่า “
3 C” คือ ยึดตามต้นทุน
ยึดตามความต้องการของลูกค้า
และยึดตามราคาของคู่แข่ง
3. ช่องทางการจัดจำหน่าย บุคคลหรือองค์กรที่เคลื่อนย้ายสินค้าและผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
การเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถแบ่งออกเป็น 2 โครงสร้างตามประเภทของสินค้า คือ
ช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าเพื่อผู้บริโภค และ
ช่องทางการจัดจำหน่างของสินค้าอุตสาหกรรม
4. การส่งเสริมการตลาด
องค์ประกอบที่สำคัญของส่วนประสมทางการตลาด
โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก สินค้าและบริการต่าง ๆ
จะต้องมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงมีการตั้งราคา และมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ สินค้าและบริการนั้นย่อมที่จะต้องมีการดำเนินการส่งเสริมการตลาดที่มีประสิทธิภาพร่วมด้วย
เพื่อให้กิจกรรมทางการตลาดนั้นประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ละธุรกิจต่างพยายามที่จะใช้การสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตราสินค้าสู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในสินค้าและบริการ เพื่อเตือนย้ำความจำกับเป้าหมายผู้บริโภค เพื่อกล่าวให้ทราบ เพื่อโน้มน้าวใจให้กลุ่มเป้าหมายคิดหรือแสดงออกในแนวทางที่องค์กรต้องการ
ความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมผู้บริโภค นักสื่อสารการตลาดจะต้องทำความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะได้ออกแบบกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักการสื่อสารการตลาดต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้พฤติกรรมของผู้บริโภคคืออะไร ได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยใดบ้าง
และการบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคนั้นมีขั้นตอนอย่างไร รายละเอียดดังนี้
- ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค
อาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมการแสดงออกของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มา การบริโภค
และการกำจัดทิ้งซึ่งสินค้าและบริการ
โดยที่พฤติกรรมเหล่านี้มิได้หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภคด้วย
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค
มีปัจจัยหลายประการที่สามารถส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งสรุปได้เป็น 2 ปัจจัยคือ
1. ปัจจัยภายใน หมายถึง แรงจูงใจ การรับรู้
การเรียนรู้ ทัศนคติ บุคลิกภาพ
และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค
อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ครอบครัว
กลุ่มอ้างอิง วัฒนธรรม
และชนชั้นทางสังคมที่ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก
ดังนั้นนักการสื่อสารการตลาดจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักทั้งสองที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อที่จะนำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค นักการสื่อสารการตลาดต้องศึกษาให้เข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้นเพื่อจะนำไปสู่การวางแผนการสื่อสารการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันได้มีนักวิชาการได้แบ่งกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้คือ
1. การตระหนักถึงปัญหา
2. การแสวงหาข้อมูล
3. การประเมินทางเลือก
4. การตัดสินใจซื้อ
5. พฤติกรรมหลังการซื้อ
ความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดกับสังคมและเศรษฐกิจ
เป็นกระบวนการสื่อสารในสังคมที่มีลักษณะเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารของสินค้าและบริการ เป็นเครื่องมือสำคัญในการแจ้งข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวทางสังคม ตลอดจนเฝ้าระวังภัยต่าง ๆ
ที่จะเกิดขึ้นในสังคม และให้คนในสังคมได้รับทราบและหาทางป้องกันแก้ไข เพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่พึงปรารถนา เช่น
การนำการสื่อสารการตลาดมาใช้เพื่อสังคมเพื่อรณรงค์ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในด้านต่าง ๆ เป็นต้น
บทสรุป
การสื่อสารการตลาด (Marketing Communications)
การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบต่าง
ๆ
เพื่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์และองค์กร ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
เกิดการตอบสนองตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
รูปแบบหรือเครื่องมือทางการสื่อสารการตลาดพื้นฐานที่สำคัญที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีมากมาย ได้แก่
การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง
และการใช้พนักงานขาย
เรียกเครื่องมือการสื่อสารการตลาดเหล่านี้ว่า “ส่วนประสมทางการส่งเสริมการตลาด”
ในปัจจุบันยังมีการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ
อีกมากมาย ได้แก่
การตลาดเชิงกิจกรรม
การตลาดออนไลน์
และการเป็นผู้สนับสนุน
เป็นต้น บทบาทของการสื่อสารการตลาดนั้นมีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเพียงการบอกให้ทราบ การสร้างความแตกต่างระหว่างตราสินค้า การย้ำเตือนความทรงจำของผู้บริโภค การสร้างทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า การโน้มน้าวใจ ตลอดจนไปถึงการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้า ซึ่งย่อมจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดได้
กระบวนการสื่อสารการตลาดเกิดจากองค์กรผู้ผลิตสินค้าและบริการทำการส่งข้อมูลข่าวสารทางการตลาด ไปยังกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค
และเมื่อผู้บริโภคได้รับข่าวสารทางการตลาดแล้วก็จะส่งปฏิกิริยาตอบกลับมาในรูปแบบของการตอบสนองต่าง ๆ
ในระหว่างกระบวนการกำลังดำเนินอยู่นั้น
อาจมีสิ่งรบกวนการสื่อสารขึ้นได้ในทุกองค์ประกอบ
จึงจำเป็นต้องตรวจสอบและประเมินสิ่งรบกวนเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อจะได้จัดการแก้ไขให้ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การสื่อสารนับว่าเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
ตลอดจนสังคมและเศรษฐกิจ
การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
2. เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
3. เพื่อให้เข้าใจลักษณะสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
4. เพื่อให้รู้จักและเข้าใจเครื่องมือสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
ความหมายของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
นักวิชาการต่างประเทศได้ให้คำจำกัดความว่า
การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานนั้นเป็นแนวคิดของการนำเครื่องมือการสื่อสารการตลาดหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การตลาดทางตรง การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย การประชาสัมพันธ์ หรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทต่าง ๆ
มาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม
โดยการส่งข้อมูลข่าวสารที่มีความชัดเจนและสอดคล้องสัมพันธ์กันเพื่อมุ่งสร้างผลกระทบสูงสุดต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายในที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบันมีหลายสาเหตุได้แก่
1. เกิดจากความเชื่อถือในสื่อมวลชนลดลง
ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสื่อวิทยุ โทรทัศน์
หนังสือพิมพ์
หรือนิตยสารมีราคาสูงมากขึ้นตามกลไกตลาด
แต่กลับมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงและดึงดูดความสนใจแก่ผู้บริโภคลดลง
เกิดจากการกระจุกตัวของสื่อที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ
ในสื่อดังกล่าวนั่นเอง
2. บริษัทลูกค้า
ต้องการความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากบริษัทตัวแทนโฆษณา
ในยุคปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนการให้บริการเป็นการให้บริการด้านการสื่อสารการตลาดครบวงจรไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ การตลาดทางตรง การส่งเสริมการขาย หรือแม้กระทั่งการจัดกิจกรรมทางการตลาด หรือการเป็นผู้ซื้อสสื่อเอง เป็นต้น
3. ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น
การเกิดขึ้นของการตลาดทางตรงที่มีการใช้ฐานข้อมูลลูกค้า การใช้สื่อทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งนับว่าเป็นสื่อสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
4. อำนาจของผู้ค้าปลีกมีสูงขึ้น
จึงทำให้เกิดรูปแบบการสื่อสารที่ต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหน้าร้านที่สวยงาม หรือการจัดวางสื่อ ณ
จุดซื้อหรือจุดขาย
ตลอดจนกิจกรรมการตลาดต่าง ๆ
ที่ผู้ค้าปลีกนำมาใช้ในการกระตุ้นผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้นนั่นเอง
5. มีการรวมตัวกันของบริษัทตัวแทนโฆษณาต่าง ๆ
เพิ่มขึ้น
ผลของการรวมตัวครั้งนี้จึงทำให้บริษัทมีการให้บริการรูปแบบต่าง ๆ
ได้อย่างหลากหลายทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดียิ่งขึ้น
ลักษณะสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
Sirgy (1998) ได้แบ่งออกเป็น 2 ประการ
ถึงลักษณะสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน ดังนี้คือ
ประการแรก ต้องมีลักษณะความต่อเนื่อง
ข้อความทั้งหมดที่สื่อสารออกไปผ่านเครื่องมือการสื่อสารจะต้องมีความสัมพันธ์กัน
ความต่อเนื่องนี้จะต้องมีทั้งความต่อเนื่องทางกายภาพ การใช้องค์ประกอบของชิ้นงานสร้างสรรค์ ได้แก่
คำขวัญ หรือข้อความโฆษณา
จะต้องมีลักษณะเดียวกันและจะต้องมีความต่อเนื่องจากจิตวิทยา ภาพลักษณ์หรือน้ำเสียง
ของการนำเสนอในโฆษณาทุกชิ้นจะต้องสอดคล้องและมีลักษณะสัมพันธ์กันเพื่อสร้างผลกระทบทางการสื่อสารทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำได้ง่าย
ประการที่สอง
จะต้องคำนึงถึงเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของบริษัทด้วย
ในการนำเสนอจะไม่ใช่การเน้นย้ำเฉพาะส่วนของความคิดสร้างสรรค์เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องสามารถบรรลุเป้าหมายทางกลยุทธ์ได้แก่
ยอดขาย
ส่วนครองตลาด
และกำไรที่บริษัทได้กำหนดไว้ด้วยกันเช่นกัน
นอกจากนี้ Wood (1997) ได้กล่าว
การใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในการส่งข่าวสารต่าง ๆ ของบริษัท โดยผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา
การตลาดทางตรง การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขายนั้น
จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบริษัท
และช่วยสนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริโภคกับบริษัทอีกด้วย
เครื่องมือที่สำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
การนำเครื่องมือการสื่อสารการตลาดหลากหลายรูปแบบมาใช้ร่วมกันเพื่อสร้างผลกระทบทางการสื่อสารสูงสุดต่อผู้บริโภคเป้าหมาย นักการตลาดจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจคุณลักษณะของแต่ละเครื่องมือการสื่อสารอย่างถ่องแท้และเลือกใช้เครื่องมือการสื่อสารต่าง
ๆ
อย่างเหมาะสมเพื่อให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ได้ตั้งใจไว้ ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญมี 5 รูปแบบได้แก่
1. การโฆษณา
2. การประชาสัมพันธ์
3. การส่งเสริมการขาย
4. การตลาดทางตรง
5. การใช้พนักงานขาย
การโฆษณา รูปแบบของการนำเสนอโดยผ่านสื่อที่ไม่ใช่ตัวบุคคล การนำเสนอนี้เป็นการส่งเสริม เผยแพร่ความคิดเป็น สินค้า
หรือบริการต่าง ๆ
นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารการตลาด
การโฆษณามีบทบาทต่อตัวสินค้าและบริการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว
และมีคุณสมบัติในการที่จะเข้าถึงผู้บริโภคเป็นจำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้บริโภคกับตราสินค้า โดยสร้างการตระหนักรู้ การสื่อสารถึงประโยชน์ที่สำคัญของสินค้า ส่งเสริมการทดลองใช้
และยังสนับสนุนให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือบริการได้อย่างดีอีกด้วย และสาเหตุที่มีการใช้การโฆษณากันอย่างแพร่หลายในธุรกิจนั้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีความสำคัญและเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถเห็นได้ง่าย
และสร้างผลกระทบทางการสื่อสารได้ค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือสื่อสารประเภทอื่น ๆ
การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารรูปแบบหนึ่งเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ อันจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
การประชาสัมพันธ์นับว่ามีบทบาทหลายประการดังนี้
1. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ
ของธุรกิจ
2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อสร้างความนิยมเลื่อมใสและสร้างความศรัทธาจากประชาชน
4. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตราสินค้าและธุรกิจ
5. เพื่อเสริมสร้างความเจริญและความมั่นคงให้แก่ธุรกิจในระยะยาว
การส่งเสริมการขาย
รูปแบบการสื่อสารต่าง ๆ เพื่อการโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภค คนกลาง
หรือพนักงานขาย
เกิดการตอบสนองในการตัดสินใจซื้อ
สนับสนุน หรือส่งเสริมการขายสินค้าและบริการในระยะเวลาอันสั้น การส่งเสริมการขายมีวัตถุประสงค์หลายประการคือ
1. เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการทดลองซื้อหรือซื้อซ้ำ
2. เพื่อให้ผู้บริโภคเพิ่มปริมาณการบริโภคตราสินค้ามากยิ่งขึ้น
3. เพื่อรักษาส่วนครองตลาดของลูกค้าในปัจจุบัน
4. เพื่อเจาะตลาดลูกค้าใหม่ให้มากขึ้น
และ
5. เป็นการสนับสนุนการโฆษณาและความพยายามทางการตลาดให้เป็นไปตามความมุ่งหมาย
การส่งเสริมการขายสามารถแบ่งออกเป็น
3
ประเภทตามกลุ่มเป้าหมายดังนี้
1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค
2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง
3. การส่งเสริมการขายมุ่งสู่พนักงานขาย
การส่งเสริมการชายแม้จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและสามารถช่วยกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว
แต่ถ้ามีการใช้มากจนเกินไปอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เช่น
หากมีการลดราคาเป็นประจำ จะทำให้สินค้านั้นสูญเสียภาพลักษณ์ หรือมีการใช้ของแถมมากเกินไป
ในช่วงแรกอาจจะดีเป็นการดึงลูกค้าแต่ใช้ต่อไปอาจทำให้ลูกไม่สนใจ ประเด็นสำคัญ
การใช้การส่งเสริมการขายมากจนเกินไปจะนำไปสู่หลุมพรางของการส่งเสริมการขายได้ แต่ปัญหาหลุมพรางของการส่งเสริมการขายจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งบริษัทและคู่แข่งขันจำนวนมากต่างก็หันมาใช้การส่งเสริมการขายกันอย่างหนักเพื่อแข่งขันจำนวนมากก็หันมาใช้การส่งเสริมการขายกันเพื่อดึงส่วนตลาดมาเป็นของตนเองผลคือจะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของแต่ละบริษัทคงที่ และผลกำไรโดยรวมลดลง เพื่อให้เกิดผลดีมีประสิทธิภาพ
นักสื่อสารการตลาดจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวด้วยเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตราสินค้า
และไม่เป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การส่งเสริมการขาย
หรือราคาที่ไม่มีผู้ใดได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
การตลาดทางตรง เป็นการสื่อสารการตลาดสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากสภาพแวดล้อมทางการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม
กลุ่มเป้าหมายถูกแบ่งออกเป็นรายย่อยเพิ่มมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้การสื่อสารกับผู้บริโภคในปัจจุบันจึงมีลักษณะเป็นการตลาดแบบหนึ่งต่อหนึ่งเพิ่มมากขึ้น
การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละรายจึงมีความจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการและรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันได้มีการนำฐานข้อมูลมาใช้ในการเก็บข้อมูลของลูกค้ามากเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะได้ทำการสื่อสารไปยังผู้บริโภคโดยตรง
สื่อที่นำมาใช้อาจมีได้หลายลักษณะมาว่าจะเป็นการใช้จดหมายทางตรง การใช้โทรศัพท์ โทรสาร
การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
การใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
หรืออาจรวมถึงรูปแบบของการโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตอบสนองได้อย่างทันที Roberts และ Berger
(1989)
ได้กล่าวถึงลักษณะของการตลาดทางว่ามีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. ต้องเป็นระบบที่สามารถโต้ตอบกันได้
นั่นคือการเกิดระบบการสื่อสารสองทางที่มีประสิทธิภาพ
2. ทำให้ผุ้บริโภคสามารถตอบสนองต่อข่าวสารได้
3. เป็นการสื่อสารที่สามารถเกิดขึ้นไม่จำกัดสถานที่
4. สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้
การตลาดทางตรงยังนับว่ามีลักษณะที่แตกต่างจากการตลาดโดยทั่วไป คือ
1.
เป็นการติดต่อกับลูกค้าประจำหรือลูกค้าผู้มุ่งหวังโดยตรง
2.
การติดต่อสื่อสารมีความเป็นส่วนตัว
3.
เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่คู่แข่งไม่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย
4.
มีการใช้ฐานข้อมูลของลูกค้า
5.
สามารถวัดผลได้ง่าย
6.
สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนและ
7.
ส่งเสริม /
สนับสนุนให้ลูกค้าสามารถตอบสนองกลับได้ทันที
การตลาดทางตรงสามารถใช้ได้หลายรูปแบบ
ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและงบประมาณของบริษัทเป็นสำคัญว่าจะเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบ
แต่สิ่งสำคัญที่การตลาดทางตรงจะประสบผลสำเร็จได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ
- ระบบฐานข้อมูลผู้บริโภค
ที่ควรจะต้องมีความทันสมัย
ถูกต้องและเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง
- ผู้บริโภค
นักการสื่อสารการตลาดควรจะทำการศึกษากลุ่มเป้าหมายว่ามีทัศนคติและพฤติกรรมต่อการใช้สื่อทางตรงอย่างไร
เพื่อให้การสื่อสารนั้นประสบความสำเร็จและประการสุดท้าย
- ข่าวสารที่ส่งไป
ควรให้ความสำคัญกับเนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารค่อนข้างมากเนื่องจากภาพลักษณ์ของการใช้สื่อบางชนิด เช่น
จดหมายทางตรง
หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
นักการสื่อสารการตลาดควรออกแบบเนื้อหาให้มีความโดดเด่น น่าสนใจและแตกต่างจากคู่แข่ง
การใช้พนักงานขาย
การขายโดยบุคคลหรือขายโดยพนักงานขาย
เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารสองทางระหว่างบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง อาจเป็นการสื่อสารของพนักงานขายกับผู้บริโภค หรืออาจหมายถึงการให้บริการแก่ผู้บริโภค และการบอกต่อของผู้บริโภค แต่ที่สำคัญการสื่อสารนั้นจะต้องมีผลโดยตรงต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค การขายโดยใช้พนักงานขาย
นับเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดรูปแบบหนึ่งที่มีประโยชน์มากในยุคปัจจุบัน แต่ธุรกิจส่วนใหญ่มักจะประสบก็คือการหาพนักงานขายที่มีความรู้ความสามารถนั้นค่อนข้างยาก
หรือที่มีความสามารถมักจะมีค่าตอบแทนสูงจนบริษัทไม่สามารถจ้างได้
ผู้บริหารด้านการสื่อสารการตลาดควรจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถทางการขายให้กับพนักงานขายที่มีอยู่ ตลอดจนควรมีรางวัล หรือสิ่งจูงใจต่าง ๆ
เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานด้านการขาย เพื่อให้การขายโดยบุคคลเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันยังมีการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ
อีกมากมายได้แก่
การตลาดเชิงกิจกรรม
การตลาดออนไลน์
และการเป็นผู้สนับสนุน
การสื่อสารด้วยผลิตภัณฑ์
เป็นต้น
เครื่องมือในการสื่อสารจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักและเข้าใจลักษณะของเครื่องมือรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อที่จะเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรณีศึกษาการนำแนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานไปปฏิบัติ
ในส่วนนี้ขอนำเสนอกรณีศึกษาของตราสินค้าที่มีการนำแนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานไปปฏิบัติใช้ให้เกิดผลสำเร็จ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเชิงปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น เรื่องการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผสมผสานระดับโลกของแม็คโดนัลด์ สามารถโดยสังเขปดังนี้
แม็คโดนัลด์เป็นธุรกิจฟาสต์ฟู้ดที่ดำเนินการในรูปแบบของเฟรนไชส์
และเริ่มดำเนินการขยายสาขาไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นตราสินค้าที่ประสบความสำเร็จและมีคุณค่าในใจผู้บริโภคมากที่สุด ได้มีการตั้งเป้าหมายไว้ 2 ลักษณะคือ
เป้าหมายทางด้ายยอกขาย
ซึ่งจะเน้นการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก
และเป้าหมายด้านภาพลักษณ์ซึ่งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวสินค้าและองค์กร โดยจะเน้นนโยบายการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
จะมีการกำหนดนโยบายการสื่อสารหลักโดยยึดหลักอันประกอบด้วย คุณภาพอาหารที่ดีอย่างสม่ำเสมอ การบริหารที่รวดเร็วเป็นมิตร ความสะอาด
และคุณค่าที่มอบให้ลูกค้า
โดยทางสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้กำหนดนโยบายหลักและมาตรฐานการปฏิบัติงานให้อิสระกับเจ้าของสาขาในการตัดสินใจว่าจะมีการติดต่อสื่อสารกัน โดยทางสำนักงานใหญ่มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและมีการประชุมเป็นประจำทุกปีเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานร่วมกัน
โดยให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การตลาดในส่วนประสมทางการตลาดทุกส่วน ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ล้วนมีบทบาทในการสื่อสารตราสินค้าไปสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น
บทสรุป
การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเป็นแนวคิดของการนำเครื่องมือการสื่อสารการตลาดหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การตลาดทางตรง การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย การประชาสัมพันธ์ หรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทต่าง ๆ
มาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม
การส่งข้อมูลข่าวสารมีความชัดเจนและสอดคล้องสัมพันธ์กันเพื่อมุ่งสร้างผลกระทบสูงสุดต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายในที่สุด ปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสานเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบันมีหลายสาเหตุ ได้แก่
จากความเชื่อถือในสื่อมวลชนลดลง
บริษัทลูกค้าต้องการความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากบริษัทตัวแทนโฆษณา ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี อำนาจของผู้ค้าปลีกมีสูงขึ้น และ
มีการรวมตัวกันของบริษัทตัวแทนโฆษณาต่าง
ๆ เพิ่มขึ้น บริษัทมีการให้บริการรูปแบบต่าง ๆ
อย่างหลากหลายทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดียิ่งขึ้น
เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดที่สำคัญมี 5 รูปแบบได้แก่ การโฆษณา
การประชาสัมพันธ์
การส่งเสริมการขาย
การตลาดทางตรง
และการใช้พนักงานขาย
ในปัจจุบันยังมีการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ
อีกมากมาย ได้แก่ การตลาดเชิงกิจกรรม การตลาดออนไลน์ และการเป็นผู้สนับสนุน การสื่อสารด้านผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแต่ละประเภทต่างมีจุดแข็งและข้อจำกัด
ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการใช้ที่แตกต่างกันออกไป
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักลักษณะของเครื่องมือสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อที่จะเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฏีการสื่อสาร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของการสื่อสาร
2. เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
3. เพื่อให้ได้รู้จักและเข้าใจในแบบจำลองทางการสื่อสารต่าง ๆ
และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารการตลาดได้
4. เพื่อให้ได้เข้าใจกระบวนการสื่อสารตราสินค้า
นักสื่อสารการตลาดนอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการตลาดอย่างลึกซึ้ง
ยังจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีการสื่อสารด้วย เพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงนำเสนอทฤษฏีการสื่อสารซึ่งประกอบด้วย ความหมายของการสื่อสาร วัตถุประสงค์การสื่อสาร แบบจำลองการสื่อสาร และกระบวนการสื่อสารตราสินค้า ดังนี้
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication)
เป็นกระบวนการส่งข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้ส่งสารไปยังอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้รับสาร โดยผ่านสื่อ
ทั้งนี้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งนั้นจะต้องเป็นที่เข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร สามารถแบ่งองค์ประกอบของการสื่อสารออกเป็น 4 องค์ประกอบได้แก่ ผู้ส่งสาร
สาร สื่อ ผู้รับสาร
โดยเริ่มจากผู้ส่งสารจะทำการเข้ารหัสซึ่งเป็นขั้นตอนที่เราจะนำเอาความคิดแปลออกมาให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ซึ่งกระบวนการเข้ารหัสนี้เองจะนำไปสู่สาร ที่จะส่งออกไป
เมื่อสารถูกส่งออกไปผ่านสื่อ
ซึ่งหมายถึงช่องทางที่นำพาสารนั้นไปถึงผู้รับสารแล้ว ผู้รับสาร
ก็จะทำการถอดรหัส
ซึ่งเป็นการตีความหมายของสารในรูปของความคิดหรือการรับรู้ที่มีต่อข่าวสารนั้น ผู้รับสารจะส่งปฏิกิริยาตอบกลับมายังผู้ส่งสารได้เป็นกระบวนการในลักษณะอย่างต่อเนื่อง ในการสื่อสารแต่ละครั้งผู้ที่ทำการสื่อสารจำเป็นที่จะต้องพยายามลดอุปสรรคของการสื่อสารให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
การสื่อสารมีวัตถุประสงค์หลายประการซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อให้การศึกษา
ความรู้ ความเข้าใจ
3. เพื่อโน้มน้าวใจ
4. เพื่อสร้างความบันเทิงและการพักผ่อนหย่อนใจ
วัตถุประสงค์จะเป็นการมองจากผู้ส่งสารเป็นหลัก
ซึ่งหากมาพิจารณาในด้านของผู้รับสารแล้วจะสามารถสรุปวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
1. เพื่อทราบข้อมูลข่าวสาร
2. เพื่อทำการศึกษาหาความรู้
3. เพื่อการกระทำหรือการตัดสินใจ
4. เพื่อหาความพึงพอใจ
ดังนั้นผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือในการสื่อสาร
ผู้ส่งสารจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจผู้รับสารว่าในขณะนั้นผู้รับสารมีความต้องการอย่างไร เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร
เพื่อช่วยให้การสื่อสารประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้วไว้
แบบจำลองทางการสื่อสาร
ทฤษฏีหรือตัวแทนทฤษฏีที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการสื่อสารแห่งความเป็นจริง มีหน้าที่สำคัญในการจัดระเบียบและเชื่อมข้อมูลต่าง ๆ
เข้าด้วยกัน ให้เห็นถึงผลของความเกี่ยวข้องกัน
และสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ให้เห็นภาพรวมของระบบสื่อสารที่ซับซ้อนให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย แบบจำลองทางการสื่อสารที่นักสื่อสารควรทราบมีดังนี้
1. แบบจำลองการสื่อสารของอริสโตเติล
2. แบบจำลองการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์
3. แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์
4. แบบจำลองการสื่อสารของชแรมม์
5. แบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล
6. แบบจำลองไอดา
7. แบบจำลองลำดับชั้นของผลกระทบ
8. แบบจำลองการยอมรับนวัตกรรม
9. แบบจำลองการประมวลผลข้อมูลข่าวสาร
แบบจำลองต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกัน
และเป็นไปตามขั้นตอนการตอบสนองพื้นฐาน
3
ขั้นตอนของผู้บริโภค ดังนี้
1. ขั้นการรับรู้ (The Cognitive
Stage)
ผู้รับสารจะรู้จักหรือรับรู้เกี่ยวกับตราสินค้า ว่ามีอยู่ในตลาด ตลอดจนมีความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของสินค้า ในขั้นนี้รวมถึงการเรียกร้องความสนใจ ขั้นการรู้จัก และขั้นความรู้ ลำดับขั้นของผลกระทบถึงขั้นความรู้จัก ขั้นการนำเสนอสาร ขั้นความใส่ใจและขั้นความเข้าใจ
2. ขั้นการเกิดทัศนคติ
เป็นขั้นของความรู้สึกของผู้บริโภคจะชอบหรือไม่ชอบตราสินค้าที่ได้โฆษณาออกไปในขั้นนี้รวมถึงขั้นการสร้างความน่าสนใจ และขั้นการสร้างความปรารถนา ความชอบ
ความพึงพอใจ
และความเชื่อมั่นที่จะซื้อ
ในแบบจำลองของผลกระทบ
ถึงขั้นความสนใจและขั้นการประเมินผล
ในแบบจำลองการยอมรับนวัตกรรม
ถึงขั้นยอมรับ และขั้นการจดจำ ในแบบจำลองการประมวลผลข้อมูลข่าวสาร
3. ขั้นแสดงพฤติกรรม เป็นขั้นที่ผู้บริโภคแสดงพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ถึงขั้นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ ในแบบจำลองไอดา รวมถึง การซื้อ
ในแบบจำลองลำดับขั้นของผลกระทบ
รวมถึงขั้นการทดลอง
และขั้นการยอมรับ
ในแบบจำลองการยอมรับนวัตกรรม
และรวมถึงขั้นแสดงพฤติกรรม ในแบบจำลองการประมวลผลข้อมูลข่าวสาร
การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางการสื่อสารในการสื่อสารการตลาด
การศึกษาแบบจำลองการสื่อสารต่าง
ๆ
มีประโยชน์ในการดำเนินการสื่อสารการตลาดเป็นอย่างมาก สามารถนำแบบจำลองทางการสื่อสารต่าง ๆ
มาประยุกต์ใช้ ดังนี้
1. ทำให้นักสื่อสารการตลาดสามารถนำไปใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์รวมถึงเครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทำให้นักสื่อสารการตลาดสามารถเข้าใจพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น เมื่อผู้บริโภคเปิดรับสารแล้ว ผู้บริโภคจะตอบสนองต่อสารนั้นอย่างไรบ้าง
3. ทำให้นักสื่อสารการตลาดสามารถออกแบบสารได้ตรงกับวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาดมากยิ่งขึ้น
หากมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักตราสินค้า
ก็อาจเลือกใช้รูปแบบของโฆษณาเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร ขณะเดียวกัน
หากมีเป้าหมายเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับตราสินค้าหรือองค์กร ก็อาจเลือกใช้โฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ เป็นต้น
4. ทำให้นักสื่อสารการตลาดสามารถเลือกใช้สื่อให้สอดคล้องกับการตอบสนองของผูบริโภคได้อย่างเหมาะสม เช่น
หากมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักตราสินค้า ก็อาจเลือกใช้การสื่อสารการตลาดในสื่อมวลชนเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างในรูปแบบการโฆษณาเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
อาจเลือกใช้สื่อกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมได้ดี หรือใช้โฆษณาในโรงภาพยนตร์
เพราะจะสามารถสร้างอารมณ์ร่วมได้ค่อนข้างมาก
นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภคได้โดยง่าย เป็นต้น
5. ทำให้นักสื่อสารการตลาดวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารและเครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทต่าง ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะเป็นการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบนพื้นฐานของทฤษฏีและแบบจำลองทางการสื่อสารที่มีนักวิชาการต่าง ๆ
ได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบและเป็นที่ยอมรับกันในวงการวิชาการมาแล้ว
ทำให้มั่นใจได้ว่าแผนกลยุทธ์การสื่อสารบนพื้นฐานตามหลักวิชาการเหล่านี้ย่อมจะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสื่อสารตราสินค้า
นักสื่อสารการตลาดจะต้องสื่อตราสินค้าไปสู่ผู้บริโภคเป้าหมาย
จึงจำเป็นจะต้องเข้าใจกระบวนการสื่อสารตราสินค้าเพื่อจะได้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้กระบวนการของการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าให้เข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้บริโภคเป้าหมาย
ลักษณะของตราสินค้ามีทั้งความหมายในเชิงของคุณลักษณะที่จับต้องได้ อันได้แก่
การออกแบบ
ประสิทธิภาพการใช้งาน ส่วนผสม ส่วนประกอบ
ขนาด รูปร่าง ราคา
ช่องทางการจัดจำหน่าย
และเครื่องมือการสื่อสารการตลาดต่าง
ๆ
และความหมายในเชิงของคุณลักษณะที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่
คุณค่า ภาพลักษณ์ตราสินค้า ภาพลักษณ์ของร้านค้าที่จำหน่ายตราสินค้า
และการรับรู้ทั้งหมดของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้านั้น เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้สามารถสื่อสารมายังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งสิ้น
โดยขณะที่กระบวนการสื่อสารตราสินค้าเกิดขึ้น อาจเกิดอุปสรรคของการสื่อสารได้ทุกขณะ อุปสรรคของการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ 2 แบบ
คือ
- อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสื่อสารของตราสินค้า เช่น
คุณภาพการพิมพ์โฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ดีความหมายของภาพในสื่อดูเข้าใจยากจนเกินไป ไม่มีความน่าเชื่อถือ
- อุปสรรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากกระบวนการสื่อสารของตราสินค้า เช่น
ข่าวสารของคู่แข่ง
ความรู้สึกพึงพอใจในตราสินค้าของคู่แข่ง
การหลีกเลี่ยงการเปิดรับสารของผู้บริโภค
เป็นต้น
นักสื่อสารการตลาดควรพิจารณาจุสัมผัสหรือจุดติดต่อระหว่างตราสินค้ากับผู้บริโภคเป้าหมายด้วย สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1. จุดติดต่อที่บริษัทเจ้าของตราสินค้าสร้างขึ้น
วางแผนไว้แล้วเป็นอย่างดีว่าจะต้องส่งไปยังผู้บริโภคเป้าหมาย ได้แก่
งานโฆษณา การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การแตกแต่งร้านค้าจำหน่าย เป็นต้น
2. จุดติดต่อภายใน
การมีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นขณะกระบวนการซื้อขายสินค้า เช่น
พนักงานรับคำสั่งซื้อ พนักงานรับโทรศัพท์ เป็นต้น
3. จุดติดต่อที่ไม่ได้คาดหวังไว้
จุดที่เจ้าของตราสินค้าไม่ได้คาดหมายเอาไว้ ซึ่งเกินอำนาจการควบคุมของบริษัท ได้แก่
การบอกต่อ ข่าวลือ หรือ การดำเนินกิจกรรมขององค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
เป็นต้น
4. จุดติดต่อที่ริเริ่มมาจากผู้บริโภคเป้าหมาย เกิดจากลูกค้าในการสื่อสารมายังบริษัทเจ้าของตราสินค้า ซึ่งสามารถเกิดจากการที่ลูกค้า ทำการส่งข่าวสารในรูปของคำถาม คำชมเชย
หรือคำร้องเรียน ผ่านสื่อต่าง ๆ
ไปยังบริษัทซึ่งถือเป็นผู้รับสารในกระบวนการนี้
เมื่อบริษัทได้รับข่าวสารแล้วก็จะตอบสนองกลับไปยังลูกค้าอย่างทันท่วงที และยอมรับคำแนะนำต่าง ๆ
ไปปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บทสรุป
การสื่อสาร
เป็นกระบวนการในการส่งข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้ส่งสารไปยังอีกฝ่านหนึ่งที่เป็นผู้รับาสามารถแบ่งองค์ประกอบของการสื่อสารออกเป็น 4 องค์ประกอบได้แก่ ผู้ส่งสาร
สาร สื่อ ผู้รับสาร
โดยเริ่มจากผู้ส่งสารจะทำการเข้ารหัส
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เราจะนำเอาความคิดแปลออกมาให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ ซึ่งกระบวนการเข้ารหัสนี้เองจะนำไปสู่สาร ที่จะส่งออกไป ซึ่งเมื่อสารถูกส่งออกไปผ่านสื่อ ผู้รับสารก็จะทำการถอดรหัส เป็นการตีความของสารในรูปของความคิดหรือการรับรู้ที่มีต่อข่าวสารนั้น
หลังจากนั้นผู้รับสารจะส่งปฏิกิริยาตอบกลับมายังผู้ส่งสารได้เป็นกระบวนการในลักษณะแบบนี้อย่างต่อเนื่อง กระบวนการสื่อสารอาจมีอุปสรรคหรือสิ่งรบกวน ในการส่งสารผู้ที่ทำการสื่อสารจำเป็นจะต้องพยายามลดอุปสรรคของการสื่อสารให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้การสื่อสารนั้นเกิดประสิทธิภาพ แบบจำลองการสื่อสารต่าง ๆ
ถือว่ามีประโยชน์ในการดำเนินการสื่อสารการตลาดเป็นอย่างมาก สามารถนำแบบจำลองทางการสื่อสารต่าง ๆ
มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ ทำให้นักการสื่อสารการตลาดสามารถนำมากำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารรวมถึงเครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทต่าง ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น
นักสื่อสารการตลาดสามารถออกแบบสารได้ตรงกับวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาดมากยิ่งขึ้นและทำให้นักสื่อสารการตลาดสามารถเลือกใช้สื่อให้สอดคล้องกับการตอบสนองของผู้บริโภคได้อย่างเหมะสม
พฤติกรรมผู้บริโภค
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค
2. เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค
3. เพื่อให้เข้าใจกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค
การดำเนินงานการสื่อสารการตลาด
เจ้าของสินค้าและบริการต้องทำการสื่อสารข้อมูลข่าวสารไปยังผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตอบสนองตามต้องการ การศึกษาพฤติกรรมจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากสำหรับนักสื่อสารการตลาด ในปัจจุบันธุรกิจใดก็ตามที่ต้องการจะประสบความสำเร็จ
ต้องดำเนินงานบนพื้นฐานความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมายเป็นหลักสำคัญ โดยการทำให้มีความพึงพอใจในสินค้าและบริการของตนให้มากที่สุด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค
และกระบวนการเลือกกลุ่มเป้าหมายการสื่อสารการตลาด มีรายละเอียดดังนี้
ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค
พฤติกรรมของผู้บริโภค
การแสดงออกของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มา การบริโภครวมถึงการบริการ และการกำจัดทิ้งซึ่งสินค้าและบริการ
โดยที่พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภคด้วย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค
ปัจจัยที่มีอิทธิพลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก
ได้แก่ ปัจจัยภายใน
ลักษณะทาจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคได้แก่ แรงจูงใจ
การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ
บุคลิกภาพ และ รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยด้านภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ
ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค
ได้แก่ ชนชั้นทางสังคม ครอบครัว
กลุ่มอ้างอิง และวัฒนธรรม
ที่ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักทั้งสองประการ ปัจจัยภายใน
และ ปัจจัยภายนอก ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อที่จะนำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค มีดังนี้
1. แรงจูงใจ
พลังผลักดันภายในตัวบุคคล
เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลนั้น เกิดจากความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจะนำไปสู่ความเครียด
จะทำให้เกิดพลังผลักดันภายในนำไปสู่พฤติกรรมได้ในที่สุด โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการรับรู้ เมื่อเกิดพฤติกรรมแล้วย่อมได้รับการตอบสนอง ความเครียดก็จะลดลง กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงเพียงครั้งเดียว ในความเป็นจริง คนเราจะมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด แรงจูงใจต่าง
ๆ จึงเกิดขึ้นในลักษณะนี้เป็นวัฏจักรเรื่อยไป
จึงควรเข้าใจทฤษฎีด้านความต้องการของมนุษย์ ลำดับความสำคัญไว้ 5 ขั้นตอนดังนี้
- ความต้องการทางกายภาพ
เป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
เช่น อาหาร น้ำ
อากาศ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโภค
เป็นต้น
- ความต้องการความปลอดภัย เป็นความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต จิตใจ
และทรัพย์สิน
- ความต้องการทางสังคม
เป็นความต้องการความรักความผูกพันจากเพื่อนฝูง ครอบครัว
และบุคคลรอบตัว
- ความต้องการทางเกียรติยศชื่อเสียง
เป็นความต้องการได้รับการยกย่องจากสังคม
หน้าที่การงานที่ดี มีเกียรติ มีชื่อเสียง
และเป็นที่รู้จักในสังคม
- ความต้องการประจักษ์ในตนเอง
เป็นความต้องขั้นสูงสุดของมนุษย์
เป็นความต้องที่จะต้องประสบความสำเร็จตามที่ตนปรารถนา เป็นการได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
2.
การรับรู้ กระบวนการที่บุคคลทำการเลือกสรร จัดระเบียบ
และการแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสทั้งห้า
ออกมาเป็นภาพที่มีความหมายต่อบุคคลนั้นซึ่งอาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งเร้าและลักษณะของผู้รับสารด้วยเช่นกัน กระบวนการรับรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ การเลือกสรร การจัดระเบียบ การแปลความหมายสิ่งเร้า
3.
การเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างถาวรจากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมา หรือเกิดจากการลงมือกระทำจริง เราไม่สามารถที่จะเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
หากไม่ได้รับรู้และตีความเกี่ยวกับสิ่งนั้น
กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นนับแต่ช่วงแรกของชีวิตและดำเนินต่อเนื่องมาจนตลอดชีวิตของคนเรา
การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ย่อมจะทำให้สามารถออกแบบสารโฆษณาที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฏีการเรียนรู้ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
-
ทฤษฏีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม
-
ทฤษฏีการเรียนรู้ด้วยความรู้ความเข้าใจ
4.
ทัศนคติ ความโน้มเอียงทางความรู้สึกในทางบวกหรือทางลบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และสามารถนำไปสู่พฤติกรรมของผู้รับสารได้ ซึ่งอาจจะได้รับมาจากประสบการณ์โดยตรงหรือเป็นข้อมูลที่ได้รับมาจากตัวบุคคลอื่น เช่น
เพื่อนและสมาชิกในครอบครัว
หรืออาจจะมาจากการเปิดรับสารโฆษณาต่าง
ๆ เป็นต้น จากความสำคัญของประสบการณ์ตรงซึ่งนับว่ามีอิทธิพลต่อทัศนคติ
จึงทำให้นักสื่อสารการตลาดพยายามกระตุ้นให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้สินค้าที่ผู้บริโภคยังไม่คุ้นเคยดีพอเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคใช้สินค้า ซึ่งหากสินค้านั้นตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ก็มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้านั้นและนำไปสู่พฤติกรรมการซื้อตราสินค้านั้นซ้ำอีกในอนาคต
5.
บุคลิกภาพ
ลักษณะทางจิตวิทยาที่อยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งจะเป็นตัวกำหนดและกระทบถึงวิธีการที่บุคคลแสดงออกต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมถึงลักษณะที่มองเห็นได้และไม่ได้ ได้แก่
กิริยาท่าทาง การเดิน การนั่ง
สี การพูด นิสัย
น้ำเสียง ลักษณะการแสดงออก อารมณ์
แนวโน้มความผิดปกติทางจิต
การแต่งกาย และทัศนคติ เป็นต้น
จิตของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ สัญชาตญาณพื้นฐาน จิตสำนึกบุคคล
และมาตรฐานทางจริยธรรมของสังคม
ในการหล่อหลอมให้คนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไป สังเกตเห็นได้จากการวัด
ในกลุ่มทฤษฏีนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการสร้างมาตรวัดลักษณะทางบุคลิกภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวัดบุคลิกภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้นักวิจัยในกลุ่มทฤษฏีนี้มักจะเชื่อว่าคุณลักษณะทางบุคลิกภาพขอผู้บริโภคในแต่ละคุณลักษณะจะส่งผลต่อการใช้สินค้าและบริการที่แตกต่างกันด้วย
6.
รูปแบบการดำเนินชีวิต การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ของผู้บริโภคที่แสดงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล นับว่ามีความเกี่ยวข้องกับลักษณะของบุคลิกภาพ แรงจูงใจ
ครอบครัว กุล่มอ้างอิง ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรมหลัก
และวัฒนธรรมย่อย
นอกจากนี้ยังเป็นลักษณะความเป็นอยู่ที่แสดงถึงการใช้เวลาว่างของแต่ละบุคคล การให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมรอบตัว และความคิดเห็นที่มีต่อตัวเองและสิ่งรอบข้าง นักสื่อสารการตลาดจะนิยมทำการศึกษา 3 ด้าน
คือ ด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น
โดยการวัดนั้นจะเป็นการคิดคำบรรยายที่พัฒนาขึ้นจากกิจกรรม ความสนใจและความคิดเห็นของผู้บริโภค อาจจะเป็นการบรรยายโดยกว้างหรือเฉพาะเจาะจงก็ได้
โดยให้ผู้บริโภคเลือกตอบในลักษณะมาตรประมาณค่า ตั้งแต่
เห็นด้วย เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรือไม่เห็นด้วย แล้วนำมาทำการวิเคราะห์ปัจจัย เป็นต้น
กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
นักสื่อสารการตลาดสามารถเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้นนำไปสู่การวางแผนการสื่อสารทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันได้แบ่งกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ
1.
การตระหนักถึงปัญหา
2.
การแสวงหาข้อมูล
3.
การประเมินทางเลือก
4.
การตัดสินใจซื้อ
5.
พฤติกรรมหลังการซื้อ
การตระหนักถึงปัญหา สามารถเกิดขึ้นได้หลายแนวทาง เช่น
อาจจะเกิดจากสินค้าที่ใช้อยู่หมด
หรือการซื้อสินค้าไม่สามารถตอบสนองความพึงพอใจได้ หรือมีความต้องการใหม่ ๆ
เกิดขึ้น เป็นต้น ในสภาวการณ์เช่นนี้ นักสื่อสารการตลาดสามารถใช้ความพยายามที่จะทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงปัญหาได้โดยสร้างความต้องการปฐมภูมิ
เป็นการสร้างความต้องการให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการใช้สินค้าและบริการโดยไม่ได้เจาะจงว่าเป็นตราสินค้าใด หรืออาจใช้การสร้างความต้องการทุติยภูมิ คือ
การสร้างความต้องการให้ผู้บริโภคเลือกตราสินค้าของตน โดยการสื่อสารทางโฆษณาเพื่อโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าของตนดีกว่าของเจ้าอื่นทำให้ดูแล้วเกิดความต้องการซื้อ เป็นต้น
แสดงให้เห็นว่านักสื่อสารการตลาดสามารถทำให้ผู้บริโภครับรู้ว่าปัญหาของผู้บริโภคนั้น
สามารถแก้ไขได้ด้วยการเลือกซื้อตราสินค้านี้มากกว่าจะไปใช้ตราสินค้าอื่น
การแสวงหาข้อมูล
ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงปัญหาว่าจำเป็นจะต้องซื้อสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตนแล้ว การค้นหาข้อมูลจะเริ่มต้นจากการค้นหาข้อมูลภายใน
คือความทรงจำระยะยาวในสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่มาจากประสบการณ์ในอดีต ถ้าข้อมูลเหล่านั้นเพียงพอแล้ว
ผู้บริโภคก็ไม่จำเป็นจะต้องแสวงหาข้อมูลจากภายนอก ได้แก่
การค้นหาข้อมูลสินค้าจากโฆษณา
พนักงานขาย
หรือการสอบถามจากบุคคลรอบข้าง เช่น เพื่อน
และหตัดสินใจต่อไป การแสวงหาข้อมูลของผู้บริโภคนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัย 2 ประการคือ
ความไม่มั่นใจในความรู้ที่ตนเองมีอยู่ของผู้บริโภค และความไม่มั่นใจในการเลือกซื้อสินค้า
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่นักสื่อสารการตลาดจะต้องสร้างความแตกต่างของตราสินค้าเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลือกซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประเมินทางเลือก
หลังจากที่ผู้บริโภคได้ข้อมูลมาแล้วก็จะทำการประเมินทางเลือกจากพื้นฐานความเชื่อและความรู้ที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า เพื่อทางเลือกที่เห็นว่ามีความเหมาะสม โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่าง ๆ
ของแต่ละตราสินค้าจากคุณสมบัติที่เห็นว่ามีความสำคัญที่สุดและตรงกับความต้องการของตนมากที่สุด
เมื่อผู้บริโภคมีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจก็จะทำการเปรียบเทียบสินค้า บริการ
และตราสินค้าต่าง ๆ
ซึ่งเป็นตัวเลือกเพื่อที่จะทำการเลือกเอาสิ่งที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
สำหรับในการประเมินทางเลือกนี้มีแนวโน้มที่จะใช้ปัจจัย 2 ประการมาประกอบในการพิจารณา คือ
ข้อมูลเกี่ยวกับตราสินค้าที่อยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคที่จะนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อ และ
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินตราสินค้าแต่ละตราสินค้า นักสื่อสารการตลาดจึงต้องพยายามให้ตราสินค้าของตนเข้าไปอยู่ในกลุ่มของสินค้าที่ผู้บริโภคพิจารณาเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีสร้างความผูกพันและการจดจำของตราสินค้าในจิตใจของผู้บริโภคได้
นักสื่อสารการตลาดก็จะต้องทำการแนะนำหรือให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเพื่อจะนำมาใช้ในการประเมิน โดยที่เกณฑ์เหล่านี้นั้นก็ควรที่จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นเหนือคู่แข่งด้วยเช่นกัน
พฤติกรรมหลังการซื้อ
หลังจากที่ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าแล้ว
ก็จะมีประสบการณ์จากการใช้สินค้านั้น
โดยจะประเมินว่าสินค้านั้นสามารถที่จะตอบสนองความคาดหวังที่ผู้บริโภคต้องการได้หรือไม่
ส่งผลต่อแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อสินค้าในครั้งต่อไป ถ้ามีความพึงพอใจในตราสินค้านั้น ก็มีแนวโน้มสูงที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าซ้ำอีก
ในทางตรงกันข้ามหากสินค้าไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังและไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคได้
แนวโน้มในการซื้อสินค้าในครั้งต่อไปก็ย่อมน้อยลงและเปลี่ยนไปซื้อตราสินค้าอื่นแทน
พฤติกรรมหลังการซื้อนี้มีความสำคัญต่อผู้บริโภคคือ
จะช่วยลดความไม่มั่นใจหรือความสงสัยของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นได้จากการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
นักการสื่อสารการตลาดจำเป็นที่ต้องทำการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมั่นใจและลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภคภายหลังการซื้อสินค้า ได้แก่
ความกดดันหรือความเครียดซึ่งเกิดขึ้นจากการที่สินค้าไม่สามารถตอบสนองความต้องการหรือไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ได้
หรืออาจจะเกิดจากการที่ผู้บริโภครับรู้ว่ายังมีทางเลือกอื่น ๆ
ทีดีกว่า นักสื่อสารการตลาดจึงควรให้ความสนใจในพฤติกรรมหลังการซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างมากด้วย
เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในข้างต้นนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักสื่อสารการตลาดสามารถที่จะเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างดียิ่งอันจะช่วยให้สามารถวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทสรุป
พฤติกรรมผู้บริโภค
การแสดงออกของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาการบริโภค และการกำจัดทิ้งซึ่งสินค้าและบริการ
พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกทางร่างกายเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภคด้วย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยภายใน
คือลักษณะทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ได้แก่
แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้
ทัศนคติ บุคลิกภาพ และ
รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค
มีลักษณะที่แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล
และ ปัจจัยภายนอก
หรือปัจจัยด้านภาวะแวดล้อม คือ
ลักษณะทางสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่
ชนชั้นทางสังคม ครอบครัว กลุ่มอ้างอิง
และวัฒนธรรม
ผู้บริโภคที่มีลักษณะของปัจจัยภายในและภายนอกแตกต่างกันย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน
กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
คือ การตระหนักถึงปัญหา การแสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และ
พฤติกรรมหลังการซื้อ
การวางแผนการสื่อสารการตลาด
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้เข้าใจความหมายของการวางแผนการสื่อสารการตลาด
2.
เพื่อให้เข้าใจระดับของการวางแผนการสื่อสารการตลาดในองค์กร
3.
เพื่อให้มีความเข้าใจในกระบวนการวางแผนการสื่อสารการตลาด
หัวใจสำคัญของการสื่อสารการตลาดอยู่ที่การวางแผน
การวางแผนการตลาดมีประสิทธิภาพย่อมมีโอกาสที่ตราสินค้านั้นจะประสบความสำเร็จสูงยิ่งขึ้นตามไปด้วย แนวคิดด้านการวางแผนการสื่อสารการตลาด ประกอบด้วย
ระดับของการวางแผนการสื่อสารการตลาดในองค์กร และ
กระบวนการวางแผนการสื่อสารการตลาด
เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการสื่อสารการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของการวางแผนการสื่อสารการตลาด
กระบวนการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสื่อสารการตลาด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ การวิเคราะห์สถานการณ์ การกำหนดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด การกำหนดงบประมาณและระยะเวลา
และการกำหนดแนวทางการประเมินผลแผนการสื่อสารการตลาด ควรยึดหลักการวางแผนจากฐานศูนย์
ซึ่งเป็นการวางแผนบนพื้นฐานของเงื่อนไขและสภาวะแวดล้อม ณ
ปัจจุบันเป็นหลักในการพิจารณา
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้
ระดับของการวางแผนการสื่อสารการตลาดในองค์กร
การวางแผนกลยุทธ์ในองค์กรจะประกอบไปด้วยแผน 4 ระดับ
ได้แก่
ระดับวิสัยทัศน์และพันธกิจ
ระดับแผนธุรกิจ ระดับแผนการตลาด และระดับแผนการสื่อสารการตลาด โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.
ระดับวิสัยทัศน์และพันธกิจ เริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์เปรียบเหมือนเป้าหมายในระยะยาวว่าบริษัทต้องการจะเติบโตไปในทิศทางใด
ส่วนพันธกิจเปรียบเหมือนบทบาทหน้าที่ภารกิจหลักในปัจจุบันของบริษัทที่จะทำให้สามารถเติบโตไปในทิศทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
เปรียบเป็นเข็มทิศที่คอยชี้ว่าองค์กรควรจะเดินไปในทิศใด อย่างไร
มีเป้าหมายเพื่ออะไร
ทำให้องค์กรไม่หลงทาง
จึงเป็นแผนแม่บทหลักสำคัญขององค์กร
ซึ่งถือเป็นแผนระดับบนสุดที่แผนต่าง
ๆ ขององค์กรจะต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทหลักนี้
2.
ระดับแผนธุรกิจของบริษัท เป็นแผนการดำเนินงานทางธุรกิจที่จะกำหนดว่าธุรกิจนั้นจะมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมอย่างไร
เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ได้กำหนดไว้
เป็นส่วนที่บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ทางการเงินของบริษัท และกลยุทธ์ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น และแผนธุรกิจได้ถูกกำหนดขึ้น ส่วนของการผลิต ส่วนของการเงิน ส่วนของการปฏิบัติการ ส่วนของงานทรัพยากรบุคคล
และส่วนของการตลาดก็จะต้องพัฒนาแผนงานในส่วนของตนเองขึ้นมาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมแผนธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้
3.
ระดับแผนการตลาด ถือเป็นแผนงานในระดับแผนก ที่แต่ละแผนกต้องมีการกำหนดวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ตั้งไว้ แผนการตลาดจะประกอบไปด้วย 4 ด้านคือ
ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด
ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์และสนับสนุนสอดคล้องกับแผนธุรกิจ โดยควรมีองค์ประกอบพื้นฐานได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร วัตถุประสงค์ทางการตลาด กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด และวิธีการประเมินผลแผนการตลาด
4.
ระดับแผนการสื่อสารการตลาด จะเป็นแผนงานย่อยที่เป็นส่วนนึ่งของแผนการตลาด แผนการสื่อสารการตลาดนี้จะเกี่ยวข้องกับการกำหนดเครื่องมือการสื่อสารการตลาด เพื่อส่งข้อมูลข่าวสารไปสู่ผู้บริโภคเป้าหมาย
เพื่อมุ่งหวังให้ตอบสนองตามวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาดที่พึงปรารถนา ด้วยเหตุนี้แผนการสื่อสารการตลาดจึงต้องสอดคล้องกับแผนการตลาด แผนธุรกิจและวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร
ทั้งนี้
การวางแผนในแต่ละระดับของการกำหนดกลยุทธ์ในองค์กรส่วนใหญ่มักเป็นการกำหนดในลักษณะจากบนลงล่าง จะถูกถ่ายทอดลงมายังแผนในระดับแผนธุรกิจ แผนการตลาด
และแผนการสื่อสารการตลาด
ตามลำดับขั้นตอน
การดำเนินงานตามลำดับขั้นนี้จะทำให้แผนการสื่อสารการตลาดช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กระบวนการวางแผนการสื่อสารการตลาด
ในการวางแผนการสื่อสารการตลาดของนักวิชาการต่าง ๆ
พอสรุปได้ถึงกระบวนการวางแผนการสื่อสารการตลาดออกเป็น 6 ส่วน
ดังนี้คือ
1.
การวิเคราะห์สถานการณ์
2.
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
3.
การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาด
4.
การกำหนดเครื่องมือการสื่อสารการตลาด
5.
การกำหนดงบประมาณและระยะเวลา
6.
การประเมินผล
การวิเคราะห์สถานการณ์
เป็นองค์ประกอบแรกที่นักสื่อสารการตลาดต้องทำการวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับสินค้าและบริการว่าเป็นอย่างไรและมีปัญหาที่สำคัญอะไรบ้าง นับว่าเป็นการวางแผนจากฐานศูนย์อย่างแท้จริง
เครื่องมือกลยุทธ์ที่นักสื่อสารการตลาดมักจะนิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ คือ
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และ อุปสรรค
ของสินค้าและบริการ ถือเป็นการพิจารณาจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เช่น
พิจารณาทั้งในเรื่องของบุคลากร
การจัดการผลิตภัณฑ์
ช่องทางการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์
การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์
ราคาของผลิตภัณฑ์
ฐานะทางการเงินขององค์กร
ภาพลักษณ์ของตราสินค้า
ชื่อเสียงขององค์กร
และกำลังการผลิตสินค้าขององค์กร
การวิเคราะห์โอกาส และอุปสรรค ถือเป็นการพิจารณาสภาวะแวดล้อมว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นปัจจัยสนับสนุนและเป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้งการเติบโตขององค์กร
เมื่อเราทำการวิเคราะห์สถานการณ์แล้วเราก็จะเข้าใจสภาพของปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ณ
ปัจจุบันขององค์กรได้เป็นอย่างดี
นักสื่อสารการตลาดสามารถทำการวิเคราะห์สถานการณ์ในประเด็นอื่น ๆ
ได้อีกเพิ่มเติมได้แก่
การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
การวิเคราะห์คู่แข่งขัน
และการวิเคราะห์สภาพตลาด เป็นต้น
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายการสื่อสารการตลาด นักสื่อสารการตลาดสามารถดำเนินการใน 3 ขั้นตอน
คือ การแบ่งส่วนการตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย การกำหนดตำแหน่งครองใจ
-
การแบ่งส่วนตลาด
แบ่งผู้บริโภคของสินค้าและบริการออกเป็นกลุ่มย่อยตามเกณฑ์ต่าง ๆ
โดยอาจเลือกใช้เกณฑ์ทางลักษณะประชากร
เกณฑ์ทางภูมิศาสตร์
เกณฑ์ทางลักษณะและจิตวิทยา
เกณฑ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
และเกณฑ์ทางพฤติกรรม
ในทางปฏิบัตินิยมใช้หลายเกณฑ์ในการแบ่งเพื่อให้ได้กลุ่มต่าง ๆ
ที่มีความละเอียดเพียงพอสามารถเลือกเป้าหมายออกมาได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพในการวางแผนสื่อโฆษณาในลำดับต่อไป
-
การเลือกตลาดเป้าหมาย นักสื่อสารการตลาดทำการเลือกตลาดเป้าหมายตามที่แบ่งในชั้นแรก
ควรเลือกตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพในการสื่อสารมากที่สุด ซึ่งได้เลือกกลุ่มเป้าหมายได้ 3 วิธี คือ
การตลาดแบบไม่แตกต่าง
การตลาดแบบแตกต่าง
และการตลาดแบบเจาะ
หลักสำคัญในการเลือกตลาดเป้าหมาย 4 ประการได้แก่ ต้องสามารถระบุได้ มีขนาดที่ใหญ่เพียงพอ มีความคงทน
และสามารถเข้าถึงได้
ในการเลือกกุล่มเป้าหมายในแต่ละตราสินค้านั้น นักสื่อสารการตลาดควรทำการเลือกจากเกณฑ์ต่าง ๆ
ร่วมกันเพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนที่สุด
-
การกำหนดตำแหน่งครองใจ การกำหนดจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำเสนอให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค เพื่อให้การสื่อสารโฆษณานั้นมีความเด่นชัดในจิ ตใจของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หลักสำคัญของการวางตำแหน่งครองใจ นักสื่อสารการตลาดควรกำหนดตำแหน่งครองใจที่โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งขัน
และไม่ควรมีตำแหน่งครองใจมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนได้
การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาด
นักสื่อสารการตลาดจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ว่ามีเป้าหมายอย่างไร ซึ่งควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางการตลาด
สิ่งที่สำคัญที่นักสื่อสารการตลาดพึงตระหนัก คือ
วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะแตกต่างจากวัตถุประสงค์ทางการตลาด คือจะมีลักษณะที่เน้นในด้านยอดขาย อัตราการเติบโตของยอดขาย กำไร
และส่วนครองตลาดมากกว่า เช่น ต้องการเพิ่มยอดขายจากปีที่แล้ว 3%
ภายในสิ้นปี
เป็นต้น
แต่หากเป็นวัตถุประสงค์ของการสื่อสารการตลาดจะเน้นที่เป้าหมายเชิงผลกระทบทางการสื่อสารที่มีต่อพฤติกรรมของผู้รับสสารมากกว่า เช่น
ต้องการให้ผู้บริโภคเป้าหมาย 60% จดจำตราสินค้าได้ภายใน 6 เดือน
หรือให้กลุ่มเป้าหมายเกิดทัศนคติในเชิงบวกกับตราสินค้าภายใน 3 เดือน
เป็นต้น
นักสื่อสารการตลาดจึงควรทำความเข้าใจแบบจำลองผลกระทบทางการสื่อสารเพื่อที่จะได้นำมากำหนดวัตถุประสงค์ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบบจำลองทางการสื่อสารมีหลายแบบ
-
แบบจำลองไอดา พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดของกระบวนการขายสินค้าของพนักงานขายประกอบด้วย การเรียกร้องความสนใจ การสร้างความน่าสนใจ การสร้างความปรารถนา และการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ
-
แบบจำลองลำดับขั้นตอนของผลกระทบ
พัฒนาขึ้นโดยพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที แต่จะเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่รู้จักไปจนถึงการเกิดพฤติกรรมการซื้อ การเกิดพฤติกรรมการซื้อ เช่น
การรู้จัด ความชอบ ความพึงพอใจ
ความเชื่อมั่นที่จะซื้อ การซื้อ
-
แบบจำลองการยอมรับนวัตกรรม
เกิดขึ้นจากผลงาวิชาการของนักวิชาการเกี่ยวกับการยอมรับนวัตกรรม หรือการตัดสินใจยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ของผู้บริโภค แบ่งออกเป็น
5
ขั้นตอน ขั้นตอนการรู้จัก ขั้นตอนความสนใจ ขั้นตอนการประเมินผล ขั้นการทดลอง
และขั้นการยอมรับ
-
แบบจำลองการประมวลผลข้อมูลข่าวสาร พัฒนาในกระบวนการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ซึ่งการสื่อสารการตลาดก็ถือว่าเป็นการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจประเภทหนึ่งนั้น
ต้องผ่านกระบวนการโดยลำดับตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นการนำเสนอสาร ขั้นความใส่ใจ ขั้นความเข้าใจ ขั้นการยอมรับ ขั้นการจดจำ
และขั้นแสดงพฤติกรรม
-
แบบจำลอง DAGMAR ได้ถูกพัฒนาเพื่อเป้าหมายของการโฆษณาบนพื้นฐานของการตอบสนองของผู้บริโภค แบบจำลองนี้ประกอบไปด้วย การตระหนักรู้ ความรู้ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และการตัดสินใจซื้อ
การกำหนดเครื่องมือการสื่อสารการตลาด
กลยุทธ์ที่สำคัญในการเลือกเครื่องมือการสื่อสารแบ่งตามกลยุทธ์กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มดังนี้
-
กลยุทธ์ดึง
กลยุทธ์ที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการทำการสื่อสารมุ่งตรงไปยังผู้บริโภคคนสุดท้ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการสินค้าและบริการ เครื่องมือการสื่อสารในกลยุทธ์นี้จึงสามารถใช้ได้หลากหลายเครื่องมือร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง
การใช้พนักงายขาย หรือ
การตลาดเชิงกิจกรรม เป็นต้น
ผู้ผลิตสินค้าและบริการจะจัดสรรงบประมาณให้กับกลยุทธ์นี้
-
กลยุทธ์ผลัก ผู้ผลิตสินค้าและบริการจะทำการสื่อสารมุ่งตรงไปยังผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกพยายามนำสินค้าและบริการเข้าไปจำหน่ายในร้านหรือสนับสนุนให้ลูกค้าซื้อสินค้า
เครื่องมือในการสื่อสารการตลาดในกลยุทธ์มีหลายเครื่องมือ เช่น
การใช้การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง
ได้แก่ การให้ส่วนลดเงินสด การให้ส่วนลดการค้า การตกแต่งหน้าร้าน หรือการให้สิ่งจูงใจพิเศษต่าง ๆ
แก่พนักงานขายหรือคนกลาง
เป็นต้น
กลยุทธ์โครงร่าง ผู้ผลิตสินค้าและบริการจะทำการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ
ขององค์กรที่ไม่ใช้ลูกค้าและคนกลาง
อาจเป็นกลุ่มพนักงานในองค์กร
ผู้บริหาร นักลงทุน สื่อมวลชน
ชุมชนละแวกใกล้เคียง
หน่วยงานของรัฐ
องค์กรภาคเอกชน และผู้ถือหุ้น เป็นต้น
เรียกรวมกลุ่มต่าง ๆ
เหล่านี้ว่ากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
เครื่องมือการสื่อสารการตลาดสำหรับกลยุทธ์นี้มีหลายอย่าง
แต่โดยส่วนใหญ่มักใช้การประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อเป้าหมายในการสร้างความเข้าใจที่ดี
และภาพลักษณ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย
และจะเหมาะสมกับองค์กรขนาดใหญ่ที่การดำเนินงานอาจจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนทั้งหมดได้ เช่น
องค์กรรัฐบาล
หรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ เป็นต้น เครื่องมือทางการสื่อสารการตลาดที่สำคัญนิยมใช้กันในปัจจุบันมีมากมาย ได้แก่
การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง
และการใช้พนักงานขาย
ซึ่งอาจเรียกเครื่องมือสื่อสารการตลาดเหล่านี้ว่า “ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด”
ในปัจจุบันยังมีการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ
อีกมากมาย
นักสื่อสารการตลาดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักและข้าใจลักษณะของเครื่องมือการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อที่จะเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตั้งงบประมาณและระยะเวลานักสื่อสารการตลาดสามารถตั้งงบประมาณได้ 2 แนวทาง
คือ
การกำหนดงบประมาณจากบนลงล่าง
และ การกำหนดงบประมาณจากล่างสู่บน โดยมีรายละเอียดดังนี้
การกำหนดงบประมาณจากบนลงล่างเป็นการกำหนดวงเงินการสื่อสารการตลาดโดยงบประมาณในแนวทางนี้ไม่ได้คำนึงถึงหลักการในทางทฤษฏีมากนักเป็นแนวทางที่ผู้บริหารระดับสูงใช้กันมากที่สุด เนื่องมาจากเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา
และความปรารถนาของผู้บริหารระดับสูงเองที่ต้องการจะควบคุมงบประมาณอย่างเคร่งครัด ด้วยแนวทางนี้สามารถกำหนดได้หลายวิธีดังนี้ การกำหนดเท่าที่สามารถหาได้การกำหนดตามอำเภอใจ
การกำหนดตามร้อยละของยอดขาย
การกำหนดตามคู่แข่งขัน
การกำหนดตามผลตอบแทนจากการลงทุน
การกำหนดงบประมาณจากล่างสู่บน
เป็นการกำหนดวงเงินการสื่อสารการตลาดเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของแนวทางแรก
เนื่องจากการกำหนดในแนวทางแรกนั้นงบประมาณที่จัดสรรจากผู้บริหารระดับสูง
มักไม่ค่อยสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการสื่อสารการตลาด
ทำให้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่ตั้งไว้ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการกำหนดงบประมาณในแนวทางนี้จึงเริ่มมีการพิจารณาวัตถุประสงค์ของการสื่อสารการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเริ่มการกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาดก่อน นักสื่อสารการตลาดจะกำหนดกิจกรรมแผนงาน และกลยุทธ์ต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น
จึงทำการประมาณค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในกิจกรรมดังกล่าว
แล้วนำเสนอผู้บริหารเพื่อเสนอขอให้ผู้บริหารพิจารณาอนุมัติ
เรียกวิธีการกำหนดงบประมาณในลักษณะนี้ว่า
“การกำหนดงบประมาณจากวัตถุประสงค์และงานที่ทำ”
การประเมินผล แผนการสื่อสารการตลาดในการประเมินผลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ การประเมินผลในภาพรวม
หมายถึงการประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของแผนการสื่อสารทั้งหมดโดยรวม และการประเมินแต่ละเครื่องมือ ซึ่งเป็นการประเมินผลแต่ละเครื่องมือการสื่อสาร เช่น
การประเมินทัศนคติของผู้บริโภค หลังจากเปิดรับชื้นงานโฆษณา
หรือการประเมินความคิดเห็นของผู้บริโภคในการจัดกิจกรรมทางการตลาด ซึ่งวิธีการประเมินสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
การใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ
ได้แก่การใช้แบบสอบถามทำการสำรวจกับกลุ่มเป้าหมาย และการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่
การสังเกต
การใช้สนทนากลุ่มย่อย หรือการสัมภาษณ์เชิงลึก ช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น
บทสรุป
การวางแผนการสื่อสารการตลาด
กระบวนการในการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการในการสื่อสารการตลาด ซึ่งเริ่ม
การวิเคราะห์สถานการณ์
การกำหนดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
การกำหนดวัตถุประสงค์
การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด
การกำหนดงบประมาณและระยะเวลา
และการกำหนดแนวทางการประเมินผลแผนการสื่อสารการตลาด ควรยึดหลักการวางแผนจากฐานศูนย์ เป็นการวางแผนบนพื้นฐานของเงื่อนไขและสภาวะแวดล้อม ปัจจุบันเป็นหลักในการพิจารณา
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ การวางแผนกลยุทธ์ในองค์กรประกอบด้วย 4 ระดับ
ได้แก่
ระดับวิสัยทัศน์และพันธกิจ
ระดับแผนธุรกิจ ระดับแผนกรตลาด และระดับแผนการสื่อสารการตลาด นักสื่อสารการตลาดจะต้องพิจารณาแผนทั้งหมดและวางแผนให้สอดคล้องกับแผนดังกล่าว
ด้วยกระบวนการวางแผนการสื่อสารการตลาดแบ่งออกเป็น 6 ส่วนได้แก่
การวิเคราะห์สถานการณ์
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาด
การกำหนดเครื่องมือการสื่อสารการตลาด
การกำหนดงบประมาณและระยะเวลา
การประเมินผล
การโฆษณา
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้เข้าใจความหมายและวัตถุประสงค์ของการโฆษณา
2.
เพื่อให้เข้าใจแนวทางการสร้างสรรค์งานโฆษณา
3.
เพื่อให้เข้าใจลักษณะของสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ
และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
4.
เพื่อให้รู้วิธีการประเมินผลการโฆษณาและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
การโฆษณา
เครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทหนึ่งที่องค์กรธุรกิจนิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากการโฆษณาสามารถมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคได้ค่อนข้างมาก
เพื่อการนำข้อมูลข่าวสารของสินค้าหรือบริการให้ผู้บริโภครู้จัก สร้างทัศนคติที่ดีในตราสินค้าหรือองค์กร กระตุ้นให้เกิดการซื้อและการใช้สินค้าหรือบริการ
ตลอดจนสร้างความจดจำและความภักดีในตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของโฆษณา
สถาบันที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการได้ให้ความหมายของการโฆษณาไว้พอสรุปได้ดังนี้ การโฆษณา
หมายถึง
รูปแบบของการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตอบสนองตามที่ผู้โฆษณาต้องการ ซึ่งในการนำเสนอข่าวสารนั้นอาจเป็นการส่งเสริมแนวคิด สินค้า
หรือบริการก็ได้
แต่ทั้งนี้จะต้องมีการชำระเงินและผ่านสื่อที่ไม่ใช่ตัวบุคคล โดยมีการระบุชื่อผู้ส่งสารหรือผู้โฆษณาด้วย
วัตถุประสงค์ของการโฆษณา
เครื่องมือสำคัญของการสื่อสารการตลาดขององค์กรคือการโฆษณา โดยองค์กรธุรกิจต่าง ๆ
สามารถนำการโฆษณามาใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการดังนี้
1.
เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ในตัวผลิตภัณฑ์
การโฆษณาสามารถให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใช้ คุณประโยชน์
ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และรายการส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ
ของสินค้าและบริการ
2.
เพื่อบอกความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายจากคู่แข่งขัน
การโฆษณาสามารถเป็นเครื่องมือในการนำเสนอความแตกต่างของสินค้าและบริการจากคู่แข่งขัน ทำให้ผู้บริโภคเป้าหมายทราบว่าตราสินค้านั้นมีความเหนือกว่าตราสินค้าคู่แข่งอย่างไรบ้าง
3.
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ/ใช้ผลิตภัณฑ์ การโฆษณาสามารถนำมาใช้ในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อ
/ ใช้ตราสินค้านั้นได้
สังเกตเห็นได้ว่าสินค้าที่โฆษณามักจะมียอดขายที่สูงกว่าสินค้าที่ไม่ได้โฆษณา
4.
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้า การโฆษณานอกจากจะช่วยกระตุ้นการซื้อ /
ใช้สินค้าและบริการแล้ว
วัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในรูปแบบของการโฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์การ
ช่วยให้ผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตีความในเชิงบวกกับตราสินค้าหรือชื่อองค์กร
นำไปสู่การสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
5.
เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้สูงขึ้น การโฆษณาสามารถเพิ่มช่องทางให้กว้างยิ่งขึ้น การสร้างการยอมรับให้กับผู้จัดจำหน่ายต่าง ๆ
ได้ง่ายขึ้น สินค้าที่โฆษณามักเป็นสินค้าที่ผู้บริโภครู้จัก
จึงทำให้ผู้จัดจำหน่ายมีความมั่นใจว่าสินค้านั้นย่อมจะขายได้
มีแนวโน้มที่จะยอมรับเอาสินค้านั้นมาวางขายเพิ่มมากขึ้น
6.
เพื่อสร้างความภักดีในตราสินค้า
การโฆษณานอกจากนำมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสินค้าใหม่ที่เพิ่งออกสู่ตลาดแล้ว
ยังสามารถนำมาใช้กับสินค้าที่ผู้บริโภครู้จักเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้บริโภคยังคงซื้อ /
ใช้สินค้าและบริการนั้นอย่างต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนใจไปใช้ของคู่แข่ง
การโฆษณาช่วยย้ำเตือนให้รู้ว่าสินค้านั้นยังคงมีอยู่ในตลาด และยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดียิ่ง โดยไมจำเป็นจะต้องเปลี่ยนไปใช้ตราสินค้าอื่น
7.
เพื่อช่วยละต้นทุนด้านการขายให้ต่ำลงเมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย การโฆษณาสามารถลดต้นทุนการขายให้ต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณาผ่านสื่อมวลชน ได้แก่
วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
สื่อที่เข้าถึงผู้รับสารจำนวนมาก
ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยเป็นต้นทุนที่ต่ำ
เมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือส่งเสริมการตลาดประเภทอื่น ๆ เช่น
การใช้พนักงานขาย หรือ การตลาดทางตรง
จะเสียต้นทุนเฉลี่ยที่แพงมาก
8.
เพื่อช่วยสร้างคุณค่าตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับแก่ผู้บริโภค การโฆษณาช่วยสร้างคุณค่าของสินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้บริโภคได้ ทำให้ผู้บริโภคได้รู้จักตราสินค้า เกิดการรับรู้ในคุณภาพของตราสินค้า
เกิดการเชื่อมโยงภาพลักษณ์ของตราสินค้าในเชิงบวก และเกิดความภักดีในตราสินค้า ซึ่งผลของกระบวนการเหล่านี้ย่อมจะช่วยเสริมสร้างคุณค่าตราสินค้าให้อยู่ในใจของผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน
การสร้างสรรค์งานโฆษณา
การพัฒนากลยุทธ์การสร้างสรรค์ในงานโฆษณา
นักสื่อสารการตลาดควรทำการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างสรรค์หรือออกแบบสารโฆษณาให้อยู่ในรูปของเอกสารสรุปประเด็นสำคัญอาจเรียกต่างกัน
แต่เอกสารเหล่านี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ
ของตราสินค้าและผู้บริโภคเป้าหมายที่จะเป็นพื้นฐานต่อการนำไปสร้างสรรค์งานโฆษณาต่อไป
นักการสื่อสารไม่ได้เป็นผู้สร้างงานโฆษณาด้วยตนเอง
หรือบริษัทตัวแทนโฆษณาเป็นผู้ดำเนินการ
แต่นักสื่อสารการตลาดก็ควรมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์ชิ้นงานโฆษณาด้วย
เพื่อที่จะสามารถสื่อสารกับฝ่ายโฆษณาได้อย่างถูกต้องและเกิดความเข้าใจร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปได้
3
ขั้นตอน ดังนี้
-
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ต้องสามารถระบุได้ว่าชิ้นงานโฆษณานั้นต้องการให้ผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตอบสนองอย่างไร
นักสื่อสารการตลาดสามารถนำแบบจำลองทางการสื่อสารโฆษณามาใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์ได้
-
การหาข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคเป้าหมาย ข้อมูลต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคเป้าหมาย ได้แก่
แรงจูงใจ ความต้องการ การรับรู้
การเรียนรู้ ทัศนคติ และความเชื่อ เป็นต้น
ข้อมูลเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคทั้งสิ้น
ขั้นตอนนี้นักสร้างสรรค์งานโฆษณาอาจทำการศึกษาวิจัยด้วยตนเอง ข้อมูลเชิงลึกนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำมากำหนดแนวคิดหลักทางการโฆษณา เป็นการตอบคำถามที่ว่า
“ทำไมผู้บริโภคจึงจำเป็นจะต้องซื้อตราสินค้านี้” และ
“ตราสินค้านี้สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคได้อย่างไร”
-
การเลือกกลยุทธ์และกลวิธีในการเสนอขาย
นักสื่อสารการตลาดได้ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อมาคือการกำหนดกลยุทธ์และกลวิธีในการเสนอขายที่เหมาะสม ในขั้นตอนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือการกำหนดกลยุทธ์การสร้างสรรค์ และ การกำหนดกลวิธีการนำเสนอ
กลยุทธ์การสร้างสรรค์
การกำหนดข่าวสารหลักของสินค้าและบริการที่ต้องการจะสื่อสารไปยังผู้บริโภค
เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำและนำไปสู่การตัดสินใจซื้อหรือบริการตามที่นักสื่อสารการตลาดตั้งใจไว้
การกำหนดกลวิธีการนำเสนอ ในการนำเสนองานโฆษณานั้น นักสื่อสารการตลาดควรกำหนดกลวิธีในประเด็นต่อไปนี้ น้ำเสียงและลีลาการเสนอขาย จุดดึงดูดใจ
สไตล์การนำเสนอ
สื่อโฆษณา
ความจำเป็นที่จะต้องรู้จักและเข้าใจลักษณะของสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ
เพื่อที่จะสามารถเลือกสื่อโฆษณาในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม
สื่อโฆษณาสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท
ดังนี้
1.
สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
แผ่นพับ และโปสเตอร์ เป็นต้น
2.
สื่อกระจายเสียงและภาพ ได้แก่
วิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ และเคเบิลทีวีต่าง ๆ
เป็นต้น
3.
สื่อกลางแจ้งหรืออาจเรียกว่าสื่อนอกสถานที่ ได้แก่
ป้ายข้างรถประจำทาง
ป้ายสามเหลี่ยม ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ สื่อรถสาธารณะ สื่อป้ายโฆษณาหลอดไฟกระพริบ เละสื่อโฆษณาบนตึก เป็นต้น
4.
สื่อโฆษณาประเภทอื่น ๆ
ได้แก่ สื่อในโรงภาพยนตร์ สื่ออินเทอร์เน็ต จดหมายทางตรง
สื่อโฆษณาแบบตอบกลับทันที
คูปอง สื่อโฆษณาในตู้โทรศัพท์ สื่อโฆษณาในร้านค้า สื่อกิจกรรม
สื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ เป็นต้น
ในปัจจุบัน ทางปฏิบัติบริษัทตัวแทนโฆษณามักนิยมแบ่งสื่อโฆษณาออกเป็น 2 ประเภทคือ
-
สื่อ ที่ใช้สื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภคเป้าหมาย ได้แก่
วิทยุโทรทัศน์
วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
และภาพยนตร์
-
สื่อ การใช้สื่ออื่น ๆ
ที่ไม่ใช้สื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภคเป้าหมาย ได้แก่
การจัดกิจกรรมพิเศษ
สื่อโฆษณากลางแจ้ง สื่อโฆษณา ณ
จุดซื้อจุดขาย สื่อโฆษณาในร้านค้าปลีก การจัดทำของที่ระลึก และการใช้สื่อออนไลน์ เป็นต้น
สื่อโฆษณาสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเภทข้างต้น แต่สื่อโฆษณามีคุณสมบัติร่วมกันดังนี้คือ
1.
เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมาได้อย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็ว
2.
เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยราคาประหยัดเมื่อคิดเฉลี่ยต่อหัว ถ้าเข้าถึงด้วยวิธีอื่น ๆ จะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า
3.
เนื้อหาของสื่อแต่ละประเภทสามารถบอกได้ว่าเหมาะสมกับผู้บริโภคกลุ่มใด
นักสื่อสารการตลาดจึงสามารถเลือกสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มได้ คุณสมบัติของสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ
ที่สำคัญที่นักสื่อสารการตลาดจำเป็นจะต้องทราบ ดังนี้
1.
หนังสือพิมพ์
สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นพับซ้อนกัน
ไม่ได้เย็บเล่ม มีกำหนดออกเป็นระยะเวลาที่แน่นนอน มีวัตถุประสงค์หลักคือ การแจ้งข่าวสาร เสนอความคิดเห็น ความบันเทิง
ประกาศแจ้งความ และโฆษณา
การโฆษณาในหนังสือพิมพ์ถือว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่นิยมใช้กันมาก
สามารถเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก มีข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
มีความครอบคลุมสูงและสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้จำนวนมาก
-
สามารถใส่เนื้อหารายละเอียดได้มาก
-
ต้นทุนไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อโทรทัศน์
-
ผู้รับสารมีความตั้งใจอ่าน
-
สามารถเลือกหน้าหรือเนื้อที่โฆษณาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายได้
-
สามารถเลือกใช้เพื่อเข้าถึงผู้รับสารตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ได้
-
มีความยืดหยุ่นสูงในการจองเนื้อและสร้างสรรค์งานโฆษณา
-
เข้าถึงผู้อ่านและสามารถวัดผลการโฆษณาได้รวดเร็ว
ข้อจำกัด
-
คุณภาพการพิมพ์ต่ำ พิมพ์ด้วยกระดาษราคาถูก ทำให้สีสันไม่ดึงดูดใจ
-
ไม่สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้มากนัก จะเข้าถึงกลุ่มคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
-
เป็นสื่ออายุสั้น การจัดพิมพ์มีการพิมพ์ออกมาเป็นรายวัน
-
มีโฆษณากระจุกตัวอยู่ค่อนข้างมาก
ทำให้ข่าวสารโฆษณาแต่ละชิ้นไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
2.
นิตยสาร สิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นประจำ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มสมบูรณ์ ประกอบด้วยเนื้อหาสารคดี บันเทิงคดี
ข่าว และโฆษณา นับเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการเติบโตสูงมาก
เนื่องจากเป็นสื่อที่สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายในการเข้าถึงได้เป็นอย่างดี เช่น
นิตยสารสำหรับผู้หญิงทำงาน
ผู้ชายรักสุขภาพ
สำหรับวัยรุ่น กลุ่มคนที่ชอบแข่งรถ หรือสำหรับกลุ่มคนที่ชอบเล่นกีฬา เป็นต้น
มีข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
คุณภาพการพิมพ์สวย
-
อายุนานกว่าหนังสือพิมพ์
-
สามารถเลือกกุล่มเป้าหมายได้
-
สร้างสรรค์โฆษณาได้หลายรูปแบบ
-
เหมาะสมกับการลงโฆษณาในรูปของบทความแฝงโฆษรา
ข้อจำกัด
-
มีราคาแพง
เป็นการใช้กระดาษที่มีคุณภาพมากกว่าหนังสือพิมพ์ ทำให้ต้นทุนสูง
-
เป็นสื่อที่มีโฆษณากระจุกตัวสูงมาก ทำให้ชิ้นงานโฆษณาต่าง ๆ ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
-
ต้องจองพื้นที่ล่วงหน้าเป็นเวลานานกว่าหนังสือพิมพ์
-
เข้าถึงผู้อ่านจำนวนน้อยกว่าหนังสือพิมพ์
-
ไม่สามารถสร้างความถี่ในการเปิดรับสารโฆษณาได้มากนัก
3.
วิทยุกระจายเสียง
เป็นสื่อที่มีความครอบคลุมสูงเกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมีสถานีที่ให้นักสื่อสารการตลาดสามารถเลือกลงมากทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เป็นระบบเอเอ็มและเอฟเอ็ม
สื่อวิทยุกระจายเสียงมีข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
มีความครอบคลุมสูง
สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้จำนวนมากทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด
-
ต้นทุนต่ำ ทั้งในด้านค่าสื่อและค่าผลิต
-
สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ตามรายการต่าง ๆ
-
มีความยืดหยุ่นสูงและมีความรวดเร็ว
-
สามารถใส่รูปแบบในการทำกิจกรรมทางการตลาดได้มาก
-
ประชาชนที่อ่านหนังสือไม่ออก
หรือมองไม่เห็น
ก็สามารถเปิดรับสื่อวิทยุกระจายเสียงได้
-
สื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่สามารถเคลื่อนที่ได้
-
เป็นสื่อที่สร้างการยอมรับได้ง่าย
ข้อจำกัด
-
ขาดความน่าสนใจเพราะมีเพียงเสียงเท่านั้น ไม่มีภาพประกอบ
-
ผู้ฟังมักไม่ได้ตั้งใจขณะเปิดรับ เพราะทำกิจกรรมอย่างอื่นร่วมอยู่ด้วย
-
ข่าวสารมีอายุสั้น เพราะเมื่อออกอากาศไปแล้ว ก็ถือว่าจบไปแล้ว
-
ผู้ฟังสามาร ถเปลี่ยนสถานีได้ง่ายเมื่อมีโฆษณา
4.
วิทยุโทรทัศน์
สื่อที่สร้างผลกระทบในทางการสื่อสารได้มากที่สุด เป็นสื่อที่มีความครอบคลุมสูง ที่มีทั้งภาพ เสียง
และการเคลื่อนไหว
และสามารถที่ใส่ความน่าสนใจต่าง
ๆ ลงไปได้อย่างมาก
ปัจจุบันนับว่ามีรายการในรูปแบบที่หลากหลาย และมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันทำให้สามารถเลือกลงโฆษณาในรายการต่าง ๆ
ได้อย่างหลากหลาย
สื่อวิทยุโทรทัศน์นับเป็นสื่อที่มีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก มีข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
สร้างผลกระทบทางการสื่อสารได้สูงกว่าสื่ออื่น ๆ เป็นสื่อที่มีทั้งภาพ เสียง
และการเคลื่อนไหว
-
มีความคุ้มค่าด้านต้นทุน
-
สามารถเลือกรายการในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มาก
-
เป็นสื่อที่มีอิทธิพลสูงมาก เพราะประชาชนติดตามตลอดเวลา
-
เข้าถึงผู้บริโภคได้ในวงกว้าง
-
สามารถสร้างความถี่ในการโฆษณาได้เป็นอย่างดี
ข้อจำกัด
-
อายุสั้น เพราะเมื่อออกอากาศไปแล้ว ก็ถือว่าจบไป
-
ต้นทุนสูงมากทั้งในด้านการผลิตและราคาสื่อ
-
มีการกระจุกตัวสูงมาก
-
ต้องใช้ผู้ชำนาญการในการผลิตและการซื้อสื่อโฆษณา
-
ขาดความยืดหยุ่นในการกำหนดตารางสื่อโฆษณา
5.
สื่อกลางแจ้งหรือสื่อนอกสถานที่ เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก มีความยืดหยุ่นสูง และราคาไม่แพงเท่ากับการโฆษณาในสื่อมวลชน ปัจจุบันมีรูปแบบของการโฆษณาในสื่อประเภทนี้มากมาย ได้แก่
ป้ายข้างรถประจำทาง
ป้ายสามเหลี่ยม ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ สื่อรถตุ๊กตุ๊ก สื่อรถแท็กซี่
สื่อรถไฟฟ้า
ป้ายโฆษณาขนาดเล็ก
สื่อป้ายโฆษณาหลอดไฟกระพริบ
สื่อโฆษณาเคลื่อนที่ เป็นต้น ซึ่งมีข้อได้เปรียบและข้อจำกัดดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
เข้าถึงและสร้างความถี่ได้สูง
เป็นสื่อกลางแจ้งที่ประชาชนเห็นได้ตลอดเวลาและไม่จำกัดจำนวนครั้ง
-
มีความยืดหยุ่นสูง ไม่จำกัดว่าจะเป็นสี ขนาด
ตัวอักษร
หรืออาจเพิ่มกราฟิกที่น่าสนใจลงไปได้
-
เหมาะกับการสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
-
มีผลกระทบสูง โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่ ภาพ
และข้อความที่ปรากฏอยู่จึงต้องมีขนาดใหญ่
-
มีต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับสื่อประเภทอื่น ๆ
โดยเฉพาะสื่อมวลชน
ข้อจำกัด
-
การวัดประสิทธิผลของสื่อทำได้ยาก
-
ไม่สามารถใส่รายละเอียดได้มาก
-
ประชาชนบางกลุ่มต่อต้านสื่อโฆษณากลางแจ้ง
-
อาจทำให้ภาพลักษณ์ของตราสินค้าเสียหายได้
-
การเลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะทำได้จำกัด
6.
สื่อโรงภาพยนตร์ นับเป็นการโฆษณาที่มีผลกระทบสูงมาก เป็นสื่อที่มีทั้งภาพ เสียง
การเคลื่อนไหวในเวลาเดียวกัน
มีลักษณะเช่นเดียวกับการโฆษณาในสื่อวิทยุโทรทัศน์
จะมีขนาดใหญ่กว่ามากและระบบเสียงในโรงภาพยนตร์จะช่วยสร้างอารมณ์ ความตื่นเต้น
ความประทับใจได้ดีกว่า
ปัจจุบันมักอยู่ในห้างสรรพสินค้า
หรือแหล่งจับจ่ายของเขตเมือง
ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการพักผ่อนหย่อนใจหันมาชม ภาพยนตร์กันมากยิ่งขึ้น
การโฆษณาในโรงภาพยนตร์มีข้อได้เปรียบและข้อจำกัดดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
เป็นสื่อที่สร้างอารมณ์ร่วมได้ดี สร้างความรู้สึกประทับใจ และทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ง่าย
-
สามารถใส่รูปแบบในการโฆษณาได้หลากหลาย
-
เหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคที่อายุระหว่าง 15 – 24 ปี
เป็นช่วงวัยที่ชมภาพยนตร์มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ
-
ผู้ชมตั้งใจในการเปิดรับโฆษณาสูง
ข้อจำกัด
-
ปัจจุบันค่าชมโฆษณาราคาสูงมาก
-
ไม่เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภคในเขตชนบท ผู้มีรายได้น้อย และผู้สูงอายุ
-
เป็นการโฆษณาซ้ำไปซ้ำมาหลาย ๆ
ครั้ง อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
7.
สื่อโฆษณา ณ
จุดซื้อ หรืออาจเรียกว่าสื่อโฆษณาในร้านค้า
เป็นวิธีการที่พยายามเข้าถึงประชาชนแม้ยในขณะกำลังซื้อสินค้า โดยใช้การจัดแสดง ณ
จุดซื้อและขายเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและตัดสินใจเข้าไปซื้อสินค้า เราจึงเห็นสื่อโฆษณาประเภทนี้ในบริเวณที่มีการจำหน่ายสินค้า เช่น ห้างสรรพสินค้า บริเวณที่จำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ เป็นต้น
รูปแบบของสื่อโฆษณา ณ
จุดซื้อมีมากมาย เช่น การจัดวางสินค้า ป้ายผ้า
ป้ายแขวน
ป้ายจัดแสดงที่ร้านค้า
ป้ายลดราคา
รายการวิทยุในร้านค้าปลีก
เครื่องแบบพนักงานภายในร้าน
การนำไปมาประดับตกแต่งร้าน
เป็นต้น
นับว่าได้รับความนิยมจากผู้ผลิตสินค้าและบริการค่อนข้างมากในปัจจุบัน
สามารถโน้มน้าวใจและผลักดันให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้สูง
โดยมีข้อได้เปรียบและข้อจำกัดดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
เป็นสื่อที่มีอิทธิพลสูงต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านค้า
-
สามารถใช้เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคทดลองสินค้าใหม่ หรือจูงใจให้เปลี่ยนมาใช้ตราสินค้าที่เขาไม่ได้ตั้งใจซื้อ
-
มีความยืดหยุ่นสูงและมีรูปแบบที่หลากหลาย
สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
-
เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมการขายร่วมกับร้านค้าปลีกได้อย่างดียิ่ง
ข้อจำกัด
-
ต้องพยายามออกแบบให้น่าสนใจ
-
ร้านค้าปลีกอาจมองว่าเป็นการเกะกะพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า
8.
สื่ออินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
ทำให้สามารถเข้าถึงสื่อเพิ่มสูงขึ้นและสื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นสื่อสำคัญที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการนิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน นับว่ามีหน้าที่ที่สำคัญ 2 ประการคือ
หน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร
และ
หน้าที่ในการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้
สื่ออินเทอร์เน็ตมีข้อได้เปรียบและข้อจำกัดดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
เป็นสื่อที่ผู้บริโภคสามารถเข้าได้ไม่จำกัดเวลาและสถาที่
-
ค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเทียบกับการใช้สื่อมวลชนประเภทอื่น ๆ
-
สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี
-
เป็นสื่อที่สามารถมีปฏิกิริยาตอบกลับได้ในเวลาอันรวดเร็ว
-
เหมาะกับการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเยาวชน
-
มีความยืดหยุ่นสูง
เพราะสามารถปรับเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย
-
ประเมินผลได้ง่าย
-
สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะเจาะจงค่อนข้างสูง
-
เป็นสื่อที่มีความเป็นส่วนบุคคลสูง
ข้อจำกัด
-
ปัจจุบันมีการโฆษณาในเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเบื่อหน่ายและรำคาญ
-
เป็นสื่อที่จะเข้าถึงเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้อินเทอร์เน็ตเท่านั้น
-
หากออกแบบไม่น่าสนใจ ย่อมทำให้ผู้บริโภคเพิกเฉยต่อสื่อโฆษณาได้
-
ต้องคอยปรับเนื้อหาในสื่อโฆษณาในทันสมัยอยู่เสมอ
ในปัจจุบันการโฆษณาบนสื่ออินเทอร์เน็ตสามารถทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดทำเว็บไซต์ของตนเองเพื่อให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์โดยตรง การส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ การสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นต้น
ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบที่ใช้
นักสื่อสารการตลาดควรที่จะเลือกรูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเป็นสำคัญ
9.
สื่อโฆษณาจดหมายทางตรง
การส่งข่าวสารการโฆษณาไปยังกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายโดยตรงทางไปรษณีย์ ปัจจุบันการโฆษณาทางไปรษณีย์ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งของการตลาดแบบตรง
นักการตลาดนิยมใช้ค่อนข้างมากการโฆษณาโดยสื่อจดหมายทางตรงมีข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ดังนี้
ข้อได้เปรียบ
-
เป็นสื่อที่ทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญและเปิดอ่านได้ง่าย เป็นการจ่าหน้าซองถึงชื่อของผู้รับโดยตรง
-
เป็นสื่อที่มีความเป็นส่วนบุคคลสูง ทำให้คู่แข่งไม่สามารถรู้กลยุทธ์ของเราได้
-
มีความยืดหยุ่นสูง สามารถออกแบบในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแผ่นพับ โบรชัวร์
จดหมาย หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
-
เป็นสื่อที่สามารถเลือกผู้บริโภคเป้าหมายอย่างเจาะจงได้ดีมาก
-
เป็นสื่อที่วัดผลได้ง่าย
ข้อจำกัด
-
มีภาพลักษณ์ที่ดูเป็นจดหมายขยะ
-
ต้องมีฐานข้อมูลในด้านชื่อและที่อยู่ของลูกค้าที่ทันสมัย
เพื่อที่ส่งได้ถึงมือผู้รับ
-
ต้นทุนต่อผู้บริโภคเป้าหมายแต่ละคนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเภทอื่น
การประเมินผลการโฆษณา
เมื่องานโฆษณาเผยแพร่ในสื่อต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว
กระบวนการโฆษณายังถือว่าไม่สิ้นสุด
นักสื่อสารการตลาดจะทำการประเมินงานโฆษณาที่ลงไว้ด้วยถือเป็นขั้นตอนสำคัญ
เพราะนักสื่อสารการตลาดจะนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาพัฒนาและปรับปรุงกลยุทธ์การโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยประเมินผลงานโฆษณา
หมายถึงการวัดผลของประสิทธิภาพในการโฆษณาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของชิ้นงานโฆษณา รายละเอียดของงานโฆษณา หรือด้านการติดต่อสื่อสารในช่วงเวลาหนึ่ง จะทำได้ใน 2 ลักษณะคือ
-
การวิจัยเพื่อวัดผลกระทบทางการสื่อสาร
เป็นการประเมินชิ้นงานโฆษณานั้นสามารถสื่อสารไปยังผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
การประเมินในลักษณะนี้มักจะเป็นการประเมินในด้านการรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ
ความเชื่อมั่น
และความตั้งใจซื้อ ซึ่งเป็นไปตามแบบจำลองทางการสื่อสารการโฆษณาที่นักสื่อสารการตลาดนำมากำหนดวัตถุประสงค์
-
การวิจัยเพื่อวัดผลกระทบทางยอดขาย
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาว่าผลของการโฆษณาจะช่วยเพิ่มยอดขายของสินค้าและ
บริการมากน้อยเพียงใด
การวัดผลยอดขายนับว่าเป็นเรื่องยากกว่าการวัดผลกระทบทางการสื่อสาร เนื่องจากยอดขายได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัยไม่ใช่ได้รับจากการโฆษณาเพียงอย่างเดียว เช่น
อาจมาจากเศรษฐกิจ ราคา คุณภาพของสินค้า กลยุทธ์ของคู่แข่ง และความครอบคลุมในการกระจายสินค้า เป็นต้น
ปัจจัยที่นักสื่อสารการตลาดไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจุบันเริ่มหันมาสนใจการวัดประสิทธิผลของการโฆษณาจากยอดขายมากยิ่งขึ้น
เพื่อพิจารณาว่าบริษัทควรจะเพิ่มงบประมาณการโฆษณาหรือควรลดลง เสนอวิธีการวัดประสิทธิผลของโฆษณาจาก “อัตราส่วนประสิทธิผลการโฆษณา”
วัดจากสัดส่วนของงบโฆษณาของบริษัทหรืออาจเรียกว่าสัดส่วนเสียงกับส่วนครองตลาดของขืบริษัท
การวิจัยประเมินผลการโฆษณามีหลายวิธี
การจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่
วัตถุประสงค์การตลาด
วัตถุประสงค์การโฆษณา งบประมาณบุคลากร นโยบายของบริษัท และกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประเมินจะต้องพิจารณาตัดสินใจว่าควรจะใช้วิธีการใดหรืออาจใช้หลายวิธีร่วมกันถึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น
เพื่อให้การวัดประสิทธิผลมีความถูกต้องแม่นยำและมีความเชื่อถือได้มากที่สุด
บทสรุป
การโฆษณา หมายถึง
รูปแบบของการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตอบสนองตามที่ผู้โฆษณาต้องการ ในการนำเสนอข่าวสารนั้นเป็นการส่งเสริมแนวคิด สินค้าหรือบริการ นับเป็นเครื่องสำคัญของการสื่อสารการตลาดขององค์กรธุรกิจ
สามารถนำการโฆษณามาใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ในตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อบอกความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายจากคู่แข่ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ /
ใช้ผลิตภัณฑ์
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้า
เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้สูงขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านการขายให้ต่ำลง การพัฒนากลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณา สามารถสรุปได้ 3 ขั้นตอนได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร การหาข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคเป้าหมาย และการเลือกกลยุทธ์และกลวิธีในการเสนอขาย
นักสื่อสารการตลาดมีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักและเข้าใจลักษณะของสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ
เพื่อที่จะสามารถเลือกสื่อโฆษณาในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม การประเมินผลงานโฆษณาจะทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่
ๆ คือ การวิจัยเพื่อวัดผลกระทบทางการสื่อสาร และการวิจัยเพื่อวัดผลกระทบทางยอดขาย การเลือกใช้วิธีใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่
วัตถุประสงค์ทางการตลาด
วัตถุประสงค์การโฆษณา งบประมาณ นโยบายของบริษัท และ
กลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
ผู้ประเมินจะต้องพิจารณาตัดสินใจว่าควรจะใช้วิธีการใดหรืออาจใช้หลายวิธีร่วมกันถึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น
เพื่อให้การวัดประสิทธิผลมีความถูกต้องแม่นยำและมีความเชื่อถือได้มากที่สุด
การประชาสัมพันธ์
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้เข้าใจความหมายและบทบาทของการประชาสัมพันธ์
2.
เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดและการประชาสัมพันธ์
3.
เพื่อให้เข้าใจกระบวนการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด
4.
เพื่อให้รู้จักและเลือกใช้กลยุทธ์และเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม
การประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการสื่อสารการตลาดที่ชาดไม่ได้ในการดำเนินธุรกิจ คุณสมบัติที่สำคัญในการช่วยสื่อสารข้อมูลข่าวสารของตราสินค้าและองค์กรไปสู่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้าและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอนำเสนอแนวคิดของการประชาสัมพันธ์อันประกอบไปด้วยความหมายและบทบาทของการประชาสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดและการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด มีรายละเอียดดังนี้
ความหมายและบทบาทของการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง
รูปแบบของการสื่อสารรูปแบบหนึ่งมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
ได้แก่ ผู้บริโภค พนักงานในบริษัท ตัวแทนจำหน่าย
ผู้ถือหุ้น หน่วยงานรัฐบาล ประชาชนทั่วไป
กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
และกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม
เป็นต้น
ทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
การประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่แท้จริงแล้วแตกต่างกัน การเผยแพร่
คือ การที่หน่วยงานต่าง ๆ
ได้ส่งข่าวสารผ่านสื่อมวลชนไปยังกลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย
หน้าที่นี้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์เท่านั้น
ส่วนการประชาสัมพันธ์เป็นรูปแบบการสื่อสารต่าง ๆ
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะมีขอบเขตที่กว้างกว่าการเผยแพร่มากนัก
นักการสื่อสารการตลาดสามารถนำการประชาสัมพันธ์มาใช้ในการสื่อสารการตลาดได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด” กระบวนการของการวางแผน การบริหารจัดการ และการประเมินผลโปรแกรมต่าง ๆ
เพื่อสนับสนุนการซื้อสินค้าและสร้างความพึงพอใจของผู้บริโภคผ่านทางรูปแบบของการสื่อสารที่น่าเชื่อถือ ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดนั่นเอง
การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดมีบทบาทสำคัญต่อการสื่อสารการตลาดหลายประการ
ดังนี้
1.
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ
ของธุรกิจ
2.
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.
เพื่อสร้างความนิยมเลื่อมใสและสร้างความศรัทธาจากประชาชน
4.
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตราสินค้าและธุรกิจ
5.
เพื่อเสริมสร้างความเจริญและความมั่นคงให้แก่ธุรกิจในระยะยาว
6.
เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นทั้งในตราสินค้าและองค์กร
7.
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการได้สื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง
8.
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่บุคลากรภายในองค์กร
ความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดกับการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญของการตลาด
ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการสื่อสารรูปแบบหนึ่งในการส่งข้อมูลข่าวสารของตราสินค้าและองค์กรไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
เพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดขององค์กร นักสื่อสารการตลาดจะเรียกการประชาสัมพันธ์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดว่า “การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด” ถือเป็นการผสมผสานข้อดีของการตลาด และข้อดีของการประชาสัมพันธ์เพื่อองค์กร เข้ามาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมได้นำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ระหว่างการตลาดกับการประชาสัมพันธ์ไว้ 5 รูปแบบ
คือ
-
หน้าที่ของการตลาดและการประชาสัมพันธ์แยกออกจากกันเด็ดขาด
-
การนำข้อดีของการตลาดและการประชาสัมพันธ์มาใช้ผสมผสานกันอย่างเหมาะสม
-
การนำหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์ไว้เป็นงานส่วนหนึ่งของการตลาด
-
การนำหน้าที่ของการตลาดไว้เป็นงานส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์
-
การให้หน้าที่ของการประชาสัมพันธ์และการตลาดเท่ากัน
กระบวนการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด
การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดประกอบไปด้วยขั้นตอนพื้นฐาน 4 ขั้นตอนดังนี้
1.
การวิจัย
การประเมินภาพลักษณ์หรือทัศนคติของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
ที่มีต่อตราสินค้าและองค์กรว่ามีการรับรู้ภาพลักษณ์ และมีทัศนคติต่อตราสินค้าและองค์กรอย่างไร ในขั้นตอนนี้
นักประชาสัมพันธ์ทางการตลาดมีความรู้ความเข้าใจในระเบียบวิธีการวิจัยทางการประชาสัมพันธ์ มีประเด็นสำคัญควรทราบได้แก่ วิธีการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.
การวางแผน
เป็นขั้นของการวางแผนการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดหลังจากศึกษาวิจัยเพื่อการวางแผนการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดจะประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์ การกำหนดวัตถุประสงค์ การระบุกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดกลยุทธ์และเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ การกำหนดงบประมาณและระยะเวลา การกำหนดวิธีการประเมินผล
3.
การดำเนินการตามแผน การวางแผนการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดไว้แล้ว
ในขั้นนี้นักประชาสัมพันธ์ทางการตลาดก็จะดำเนินการตามแผนการที่ได้วางไว้
นักสื่อสารการตลาดอาจใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดอื่น ๆ
ร่วมด้วย เช่น การโฆษณา
การตลาดเชิงกิจกรรม
หรือการส่งเสริมการขาย
ในลักษณะของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานกันเพื่อผลกระทบทางการสื่อสารสูงสุดให้เกิดขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมาย
4.
การประเมินผล
กระบวนการสุดท้ายของการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด เมื่อได้ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้แล้วก็จะทำการประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ที่ตั้งไว้
ยังสามารถนำมาใช้ในการประเมินผลได้หลายตัวบ่งชี้ ได้แก่
จำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่เปิดรับข่าวสารการประชาสัมพันธ์ที่ได้เผยแพร่ไว้ สัดส่วนของข่าวสารเชิงบวก และ เชิงลบ
และบ่งชี้ที่ใช้วัดผลกระทบของการประชาสัมพันธ์ไว้หลายตัวเช่นกันได้แก่ จำนวนคนที่มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น จำนวนคนที่เปลี่ยนความคิดเห็นไปจากเดิม จำนวนคนที่เปลี่ยนทัศนคติ เป็นต้น
ในการประเมินผลนักสื่อสารการตลาดอาจประเมินด้วยตนเอง หรือ อาจให้บริษัทที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ภายนอกเป็นผู้ประเมินก็ได้
กลยุทธ์และเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด
เราสามารถแบ่งกลยุทธ์และเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดออกเป็น 2 กลยุทธ์
ดังนี้
1.
กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดเชิงรุก เป็นกลยุทธ์เชิงป้องกันและการสร้างให้เกิดผลในด้านบวกทางการตลาด
และช่วยส่งเสริมและสนับสนุนเครื่องการสื่อสารการตลาดประเภทอื่น ๆ
ให้ประสบความสำเร็จได้เพิ่มขึ้น
เนื่องจากคุณสมบัติของการประชาสัมพันธ์นี้มีความน่าเชื่อถือได้ง่ายกว่าเครื่องมือประเภทอื่น ๆ
2.
กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดเชิงรับ เป็นการใช้ในทางการแก้ไขความเข้าใจผิดต่าง ๆ
ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างองค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อเป็นการปกป้องตราสินค้าและชื่อเสียงของบริษัทไม่ให้เสียหายเพิ่มมากขึ้น
เป้าหมายกลุยุทธ์การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดทั้ง 2
กลยุทธ์เพื่อปกป้องรักษาและเสริมสร้างคุณค่าตราสินค้าให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เช่นกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุก ได้แก่
การเปิดตัวสินค้า
การส่งข่าวแจก การจัดแถลงข่าว การจัดกิจกรรมพิเศษ
การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
และการแสดงความห่วงใยต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ในขณะที่กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดเชิงรับ ได้แก่
การจัดการข่าวลือ
การประเมินการจดจำได้ของตราสินค้า
การตรวจสอบการรับรู้คุณภาพของสินค้า
และการแก้ไขข่าวสารในเชิงลบ
เป็นต้น
การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด
เป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่นักสื่อสารการตลาดควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันพบว่ามีหลายธุรกิจไม่เห็นความสำคัญ อาจเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ไม่สามารถเห็นผลในเชิงยอดขายได้อย่างชัดเจนในเวลาอันสั้นเหมือนกับการใช้การโฆษณา การส่งเสริมการขาย
หรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทอื่น
นักสื่อสารการตลาดไม่ควรมองเฉพาะเป้าหมายระยะสั้นควรจะมองเป้าหมายทางธุรกิจในระยะยาวและให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ที่ดีของตราสินค้าและองค์กร
เพราะจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
การส่งเสริมการขาย
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้เข้าใจความหมายและวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย
2.
เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่ทำให้การส่งเสริมการขายมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
3.
เพื่อให้รู้จักและเข้าใจรูแบบและเทคนิคของการส่งเสริมการขายต่าง ๆ และสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง
4.
เพื่อให้รู้กระบวนการวางแผนการส่งเสริมการขายและสามารถนำไปวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.
เพื่อให้ได้เข้าใจปัญหาของการส่งเสริมการขายและวิธีการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
การส่งเสริมการขาย เป็นเครื่องมือการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่สำคัญด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นในการกระตุ้นให้
ผู้บริโภคเป้าหมายสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ในระยะเวลาอันสั้น ปัจจัยที่ทำให้การส่งเสริมกายขายมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว รูปแบบของการส่งเสริมการขาย กระบวนการวางแผนการส่งเสริมการขายตลอดจนปัญหาของการส่งเสริมารขาย มีดังนี้
ความหมายและวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย
การส่งเสริมการขายมีวัตถุประสงค์หลายประการดังนี้คือ
1.
เพื่อให้ผู้บริโภคเพิ่มปริมาณการบริโภคตราสินค้ามากยิ่งขึ้น
2.
เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการทดลองซื้อหรือซื้อซ้ำ
3.
เพื่อรักษาส่วนครองตลาดของลูกค้าในปัจจุบัน
4.
เพื่อเจาะตลาดลูกค้าใหม่ให้มีมากขึ้น
5.
เป็นการสนับสนุนการโฆษณาและความพยายามทางการตลาดต่าง ๆ
ให้เกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น