กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคารสำหรับกล้องวงจรปิด


การติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคารสำหรับกล้องวงจรปิด

พร้อมมาตรฐานของการออกแบบระบบไฟฟ้าเหมาะสำหรับนักศึกษาช่างไฟฟ้า  และผู้สนใจทั่วไป
แผนผังไฟฟ้า
แผนผังไฟฟ้า คืออะไร แผนผังไฟฟ้าหมายถึงการเขียนภาพขึ้นมาเพื่อแสดงส่วนประกอบต่าง    ของอุปกรณ์ไฟฟ้าว่าติดตั้งไว้ตรงจุดไหนหรือส่วนใดของอาคาร

แผนผังไฟฟ้าทำอะไรได้บ้าง
แผนผังไฟฟ้านับว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ช่างจะต้องแสดงตำแหน่งและจุดต่าง ของอุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมทั้งเส้นทางการเดินสายไฟและท่อร้อยสายไฟที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อช่วยให้ทราบถึงจำนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าและจำนวนสายไฟที่ต้องการได้ และแผนผังยังจะสามารถแสดงหนทางที่ดีเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ได้

การทำแผนผังไฟฟ้า การทำแผนผังไฟฟ้าที่สมบูรณ์แบบจะต้องทำแบบ 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกทำแผนผังอุปกรณ์ไฟฟ้า ขั้นตอนที่สองทำแผนผังการเดินสายไฟฟ้า
-       แผนผังอุปกรณ์ไฟฟ้า การแสดงตำแหน่งโดยประมาณของแผนผังที่คิดว่าดีที่สุดของเต้าเสียบไฟฟ้า ดวงไฟ และสวิตช์  เพื่อให้เกิดผลดียิ่งขึ้น  แผนผังที่ดีต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง    เพื่อให้ทราบถึงความต้องการอุปกรณ์ชนิดใดบ้างและเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้าง   การทำแผนผังที่ดีนั้นจะต้องหาแหล่งข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เป็นแนวคิดในการออกแบบ  และพยายามทำแผนผังให้ง่ายและตรงไปตรงมาเพื่อความสะดวดต่อการเข้าใจและการใช้งาน
-       แผนผังการเดินสายไฟฟ้า หลังจากที่เราได้กำหนดแผนผังอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วเราก็เขียนแผนผังการเดินสายไฟก็เพื่อแบ่งกลุ่มของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ชัดเจน  และเพื่อกำหนดจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อวงจรและเลือกเส้นทางเดินสายไฟฟ้าให้ละเอียด  เพราะทำให้เราทราบถึงปัญหาในการเดินสายไฟฟ้าก่อนการทำงานจริง และสามารถลดจำนวนสายไฟฟ้าที่ต้องการลงไปได้ด้วยรวมถึงการทำสัญลัษณ์และลูกศรซึ่งเป็นตัวกำหนดให้รู้ว่าสายไฟฟ้าทั้งหมดเดินไปยังแผงควบคุมไฟฟ้า

กฎการเดินสายและติดตั้งไฟฟ้า
เราต้องแบ่งวงจรไฟฟ้าออกเป็นกลุ่มตามความสามารถในการแบกรับไฟฟ้าและจะต้องทำตามกฏการเดินสายและติดตั้งไฟฟ้า  ในเมืองใหญ่    อาจมีกฎที่เข้มงวดซึ่งมีกำหนดไว้แต่ก็พออนุโลมได้  แต่จะต้องปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเขตบริการนั้น    เสียก่อน
ข้อกำหนดเฉพาะของโรงงานผู้ผลิต
ช่างไฟฟ้าที่เมื่อติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว   จะต้องทำตามคำแนะนำและข้อกำหนดเฉพาะของโรงงานผู้ผลิตสินค้า   จะกำหนดขนาดของสายไฟและการป้องกันกระแสเกินไว้ด้วย  สำหรับการลัดวงจรหรือใช้งานเกินกำลังโรงงานผู้ผลิตจะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับกฏการเดินสายและติดตั้งไฟฟ้าแห่งชาติ
เครื่องมือช่างไฟฟ้าและความปลอดภัย

เครื่องมือที่มีคุณภาพ
“การใช้เครื่องมือให้ถูกต้องกับงาน” การทำงานให้ได้ผลดีนั้นจะต้องมช้เครื่องมือที่ดีด้วย  ผู้ที่เริ่มทำงานต้องการเครื่องมือที่ดีเป็นพิเศษจากประสบการณ์การใช้เครื่องมือที่ดีจะทำให้ได้ผลงานออกมามากกว่าเครื่องมือที่ดีจะทนทานใช้งานได้นานและทำให้ได้ผลงานที่ดีตามมาด้วยไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องมือหลาย   ชื้นในเวลาเดียวกันเครื่องมือที่ดีจะมีราคาค่อนข้างสูงฉะนั้นควรซื้อเครื่องมือขั้นพื้นฐานอย่างดีสัก  2-3  ชิ้นก่อนแล้วจึงค่อยซื้อเพิ่มเติมเมื่อต้องการ  วิธีนี้จะทำให้สามารถมีเครื่องมือที่ดีไว้ใช้งานได้หลายชนิดทำให้เป็นประโยชน์ต่ออาชีพของตนเองและยังสามารถใช้งานอย่างอื่นได้หลายอย่างอีกด้วย
ระบบการจัดเครื่องมือ เครื่องมือที่ดีมักมีราคาสูงฉะนั้นจึงควรเก็บรักษาให้ดีให้คุ้มกับการลงทุน  และพร้อมเมื่อเราต้องการจะใช้งานจะได้ไม่เสียหายจากการใช้งานประจำที่ผิดวิธีและการจัดเก็บไม่เป็นระเบียบและไม่ถูกวิธี ควรจัดเก็บเครื่องไว้ที่จุดศูนย์รวมซึ่งสะดวกต่อการใช้งานและเป็นการป้องกันความเสียหายและสูญหายของเครื่องมือนั้น การจัดเก็บสามารถทำได้หลายวิธีแล้วแต่การใช้งานและสถานที่  เช่นทำแผงสำหรับเก็บเครื่องมือ  หรือถุงใส่เครื่องมือ  หรือกล่องเก็บเครื่องมือเป็นต้น

ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ การใช้เครื่องมือให้ถูกกับงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือนั้นอย่างดี เพราะถ้าใช้ไม่ถูกอาจทำให้ผิดพลาดได้ง่ายการใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพดีในการทำงานจะทำให้การทำงานสำเร็จและเรียบร้อย ควรใช้เครื่องมือให้ถูกขนาดและถูกชนิดที่ต้องใช้ด้วย เครื่องมือที่จะนำมาใช้ทุกชิ้นควรศึกษาเพื่อให้รู้วิธีการใช้อย่างปลอดภัยและถูกต้อง จำไว้เสมอว่าการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องและถูกวิธีจะทำให้การทำงานรวดเร็วและปลอดภัย การที่เราลงทุนซื้อเครื่องมือที่ดีที่มีราคาสูงและลงทุนเสียเวลาในการหาเครื่องมือดี ยังเสียน้อยกว่าการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง
เครื่องมือควรเก็บให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอและควรที่จะต้องตรวจสอบที่ใช้อยู่เป็นระยะ จะช่วยให้เครื่องมืออยู่ในสภาพที่ดีเสมอ และก่อนนำไปใช้งานก็ควรที่จะต้องตรวจสอบก่อนที่จะนำมาใช้ว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้หรือไม่  ถ้าเกิดการชำรุดควรรีบนำไปซ่อมแซมทันทีจะได้ไม่เกิดอันตรายต่อผู้ที่นำไปใช้งาน
 เครื่องมือควรเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัยเพราะถ้าเก็บหรือวางไว้ตามที่ใช้งานอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายได้   เครื่องมือแต่ละชนิดควรที่จะระบุตำแหน่งที่เก็บไว้ที่ใด  สิ่งที่ควรจำคือไม่ควรนำเครื่องมือถ้าใส่หรือเก็บไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกงควรจะเก็บไว้ในกระเป๋าเครื่องมือที่ออกแบบมาสำหรับติดตัว   ส่วนเครื่องมือที่มีคมไม่ควรวางไว้ตามขอบโต๊ะทำงานเพราะอาจปัดตกหรือหล่นมาโดนขาของเราได้  ฉะนั้นเราต้องแน่ใจเสียก่อนว่าที่วางเครื่องมือหรือที่เก็บเครื่องมือนั้นจะต้องมีความปลอดภัยเสมอ

เครื่องมือไฟฟ้า การใช้เครื่องมือไฟฟ้าอย่าพยายามใช้โดยไม่รู้ว่าการทำงานของเครื่องมือชนิดนั้นเป็นแบบใด ควรศึกษาและข้อแนะนำวิธีใช้รวมถึงในด้านของความปลอดภัยของเครื่องมือก่อนที่จะนำมาใช้งานถ้าไม่รู้ก็ให้ขอคำปรึกษาแนะนำจากหัวหน้างานหรือผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้งานเสียก่อน การใช้เครื่องมือไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องมีระบบการต่อสายลงดินเสมอเพื่อความปลอดภัย และเป็นการให้ความมั่นใจว่าถ้ามีการช๊อตเกิดขึ้นจะทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ตัดไฟเสมอ และควรจำไว้เสมอว่าการไม่ต่อสายลงดินของเครื่องใช้หรือเครื่องมือไฟฟ้าจะทำให้ท่านถูกไฟฟ้าดูดได้
กฎความปลอดภัยควรที่จะศึกษาและให้นึกถึงกฎเหล่านี้อย่างละเอียดในขณะที่ใช้เครื่องมือไฟฟ้า
1.     เครื่องมือต้องมีการตรวจซ่อมหรือคอยเช็คอยู่เป็นระยะ     ตามที่ระบุไว้โดยโรงงานผู้ผลิตมีกำหนดไว้
2.     จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยซึ่งโรงงานผู้ผลิตให้คำแนะนำไว้
3.     ควรที่จะต้องตรวจสอบสายไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องมือเป็นประจำให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งานเสมอ
4.     การใช้เลื้อยไฟฟ้าจะต้องมีแผ่นกั้นเศษวัตถุที่กระเด็นออกมา  จะต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี  ห้ามเคลื่อนย้ายหรือถอดแผ่นกั้นออกอย่างเด็ดขาด
5.     การซ่อมแซม  ปรับเปลี่ยน  ควรที่จะต้องถอดหรือดึงปลั๊กออกจากเต้าเสียบก่อนเสมอ
6.     ก่อนที่จะเสียบปลั๊กใช้เครื่องมือไฟฟ้าทุกชนิดควรตรวจเช็คดูให้แน่ใจก่อนว่าสวิตช์ไฟฟ้าอยู่ในตำแหน่งปิด
7.     ถ้ามีเสียงผิดปกติเกิดขึ้นขณะที่กำลังใช้เครื่องมือไฟฟ้าอยู่ให้รีบหยุดเครื่องทันทีและควรรับหาสาเหตุทันที
8.     ถ้าทำงานเสร็จเรียบร้อยให้ตัดหรือถอดปลั๊กออก  และรอจนกระทั่งเครื่องมือนั้นหยุดการทำงานก่อนจึงค่อยวางเครื่องมือลงหรือไปจากสถานที่ทำงานนั้น 
9.     ถ้ามีเครื่องมือไฟฟ้าชำรุด   ให้รีบแยกเครื่องมือนั้นออกมาเก็บไว้ต่างหาก  พร้อมเขียนป้ายบอกเตือน  “ห้ามใช้”  ติดไว้กับเครื่องนั้นให้เห็นชัดเจน

ความปลอดภัยทางไฟฟ้า ปัจจุบันมีกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  และ  กฎความปลอดภัยของ OSHA การใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยและใช้หลักการปฏิบัติงานที่น่าพอใจจะทำให้การทำงานมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น และการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องก็จะทำงานได้สำเร็จโดยปลอดภัยโดยทั่วไปช่างไฟฟ้าจะรู้และสามารถประยุกต์ในหลักการเบื้องต้นของไฟฟ้าและความปลอดภัยถ้าท่านไม่สนใจก็เท่ากับว่าท่านอาจทำให้เพื่อนร่วมงานของท่านไม่ปลอดภัยด้วย และขอให้ท่านจำไว้เสมอว่าจงป้องกันก่อนที่อุบัติเหตุจะเกิด เมื่อใดก็ตามถ้ามีความสงสัยหรือไม่เข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้าให้ถามผู้ที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญเสมอ รายงานต่อหัวหน้างานในทันทีที่พบเห็นสภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เครื่องมือหรือเครื่องใช้ชำรุดและไม่ปลอดภัยหรืองานที่จะทำนั้นไม่ปลอดภัย

ฟิวส์  การที่จะถอดหรือเปลี่ยนฟิวส์ช่างไฟจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าได้มีการตัดไฟออกจากวงจรด้วยสวิตช์  และไม่มีกระแสไฟฟ้ามาที่ฟิวส์แล้ว   การถอดฟิวส์จะต้องมีเครื่องมือสำหรับดึงฟิวส์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะและให้ดึงฟิวส์ทางด้านไฟออกก่อนเสมอ   เมื่อต้องการที่จะใส่ฟิวส์เข้าไปใหม่ให้ใส่ฟิวส์ทางด้านโหลดก่อนแล้วจึงใส่ทางด้านไฟเข้าเป็นอันดับต่อไปเสมอ

ไฟฟ้าดูด เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายของคนไปแตะหรือสัมผัสกับสายไฟที่รั่วชำรุดทำให้กระแสไฟไหลเข้าสู่ร่างกายและทำให้หัวใจและปอดหยุดทำงานได้  และผลจากความร้อนของกระแสไฟที่ไหลผ่านร่างกายจะทำให้เกิดแผลไหม้ในบริเวณที่กระแสไฟไหลเข้าและออกจากร่างกาย
การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการถูกไฟฟ้าดูดต้องพึงระวังไว้เสมอว่าแรงดันของกระแสไฟฟ้าทุกระดับเป็นอันตรายทั้งนั้น ควรศึกษาและพยายามเรียนรู้เรื่องหลักการทำงานของไฟฟ้าและควรปฏิบัติตามคำแนะนำทุกขั้นตอน ถ้าต้องการใช้เครื่องมือไฟฟ้าจะต้องมั่นใจว่าอยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยพร้อมใช้งานมีการต่อสายระบบลงดินเพื่อป้องไม่ให้เกิดไฟฟ้ารั่วและทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้   
                   
เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันเฉพาะตัวบุคคล
1.  ควรสวมรองเท้าสำหรับการทำงานที่มีพื้นหนาเพื่อป้องกันวัตถุแหลมคมตำเท้า
2.  สวมรองเท้ายางหุ้มข้อเอทำงานในที่ชื้นแฉะ
3.  สวมหมวกในขณะปฏิบัติงาน  สวมหมวดกันน็อค   ในสถานที่ทำงานที่เป็นอันตราย

ความปลอดภัยเกี่ยวกับเพลิง เมื่อปฏิบัติตามกฎเกี่ยวกับการระวังและดูแลรักษาจะทำให้อันตรายที่เกิดจากเพลิงไหม้ลดลงได้ ก่อนอื่นถ้าเกิดเพลิงไหม้จะต้องกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ให้เพื่อนร่วมงานทราบและเตรียมพร้อมที่จะผจญเพลิง  พร้อมทั้งแจ้งหน่วยงานดับเพลิงให้มาช่วยระงับเพลิง และในช่วงที่ทางเจ้าหน้าที่ยังมาไม่ถึงให้ช่วยกันดับเพลิงไว้เท่าที่จะทำได้ และถ้าเกิดเพลิงไหม่ไม่มากสามารถที่จะใช้เครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ดับเพลิงได้ก็ให้รีบทำทันที และควรอ่านคู่มือและวิธีการใช้ก่อนการใช้เครื่องมือดับเพลิง  ห้ามใช้น้ำดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้า สารเคมี น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิง สี เพราะแทนทีจะดับเพลิงกลับไปขยายกการลุกลามของเพลิงมากเพิ่มขึ้นไปอีก

การเชื่อมต่อสายไฟฟ้า

  
 สำหรับช่างไฟฟ้าสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ  วิธีการเชื่อมต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกันให้มีความมั่นคงทั้งทางกลและทางไฟฟ้า เพราะจุดเชื่อมต่อสายไฟฟ้าเป็นจุดที่อ่อนแอและมักจะก่อความยุ่งยากในระบบไฟฟ้า ฉะนั้นการเชื่อมต่อสายไฟฟ้านั้นจะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง และรู้จักการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อนอกจากนี้ยังจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการบัดกรีและการพันเทปรวมถึงวิธีการต่อสายไฟแบบไม่ต้องเชื่อมบัดกรีรอยต่ออื่น    ด้วย
 อุปกรณ์ที่ใช้
ตะกั่วบัดกรี โดยปกติทั่วไปช่างไฟฟ้านิยมใช้ตะกั่วบัดกรีที่มีส่วนผสมดีบุกและตะกั่วซึ่งมีคุณสมบัติให้ความแข็งแรง  ทนทานดี หลอมละลายได้เร็ว หาซื้อได้หลายรูปแบบด้วยกันแต่ที่นิยมใช้กันมากมีดังนี้ คือ ตะกั่วบัดกรีธรรมดา ตะกั่วบัดกรีไส้ยางสน และตะกั่วบัดกรีไส้กรด นอกจากนี้อาจจะมีน้ำประสานเข้าไปช่วยในการบัดกรีโดยทำให้มีผิวตัวนำหรือรอยต่อนั้นสะอาด น้ำประสานจะช่วยขจัดคราบฝุ่นละอองหรือสารไม่บริสุทธิ์ต่าง   ออกจากผิวโลหะมักนิยมใช้กับงานชื้นเล็ก สำหรับตะกั่วบัดกรีธรรมดาจะไมมีน้ำประสานบรรจุอยู่ต้องใช้น้ำประสานเข้าไปช่วยขจัดคราบสกปรกนั้นส่วนตะกั่วบัดกรีไส้กรดนั้นไม่นิยมใช้เพราะว่ากรดจะไปกัดกร่อนรอยต่อให้สึกหรอได้

เทปพันสายไฟ เทปพันสายไฟมีหลายชนิดที่สามารถใช้เป็นฉนวนได้ เทปพันสายชนิดที่เป็นพลาสติกเป็นฉนวนไฟฟ้าที่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 600 โวลต์ต่อการพันรอบตัวนำ 1 รอบเป็นที่นิยมใช้ในการเดินสายไฟฟ้าภายในอาคารที่พักอาศัยมาก
ขั้วต่อสายไฟหรือปลอกต่อสายไฟในการต่อสายไฟเข้าด้วยกันโดยไม่ต้องเชื่อมต่อด้วยการบัดกรี หรือพันด้วยเทปพันสายไฟ ขั้วต่อสายไฟมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ



การต่อสายไฟ   การต่อปลายสายตั้งแต่ 2 สายเข้าด้วยกันหรือมากกว่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเส้นเดียวกัน  ด้วยการบิดตีเกลียวด้วยมือหรือครีม หรือเครื่องมือสำหรับต่อสายโดยเฉพาะ  ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพราะมักจะมีปัญหาตรงรอยต่อสายไฟจะต้องมีความทนทานต่อแรงกดทับที่รอยต่อนั้น    และกระแสไฟฟ้าก็จะต้องสามารถไหลผ่านรอยต่อนั้นไปได้อย่างสะดวก  ถ้ารอยต่อนั้นตีเกลียวหลวมไปจะเป็นตัวนำกระแสไฟไม่ดี  และทำให้เกิดความร้อนขึ้นเนื่องจากความทนทานของรอยต่อและจะทำให้เกิดความเสียหายและอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้     การต่อของสายไฟมีหลายชนิดเช่น
-       การต่อแบบบิดตีเกลียวแบบหางหมู
-       การต่อปลายสายไขว้สลับกัน
-       การต่อสายรูปตัวที
-       การต่อสายไฟใช้ชั่วคราว
-       การต่อสายเคเบิล
 การพันเทปรอบรอยต่อสายไฟ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดสนิมและเป็นการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว การพันรอยต่อด้วยเทปจะต้องมีคุณสมบัติที่สามารถเป็นฉนวนไฟฟ้าและเป็นผิวเพื่อป้องกันได้ แม้ว่าเทปพันสายไฟเป็นพลาสติกนั้นพัน 1 รอบก็สามารถเป็นฉนวนที่ทนแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 600 โวลต์ แต่เราก็ต้องจำเป็นที่ต้องพันสายเทปนี้หลาย  ชั้น
เพื่อให้ได้ผลในการป้องกันทางกลวิธีการพันเทปรอบรอยต่อนั้นต้องดึงเทปพลาสติกให้ตึงเพื่อจะช่วยทำให้การพันรอบรอยต่อได้แน่นหนายิ่งขึ้น

ขั้วต่อสายไฟ
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการต่อสวมปลายสายไฟที่ต่อเข้าด้วยกันให้ยึดแน่นไม่ต้องมีการบัดกรี จะสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลา มีการพัฒนารูปแบบออกมาหลายรูปแบบและเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปและเป็นที่ยอมรับมีดังนี้คือ
1.     กระจุ๊บพลาสติก
2.     ตัวต่อสายแบบสปลิต์โบลต์
3.     ขั้วต่อสายแบบขันสกรู
4.     ขั้วต่อสาแบบรัดสาย
5.     ขั้วต่อสายแบบหางปลา
6.     ขัวต่อสายแบบลูกเต๋า
7.     ขั้วต่อสายแบบเชอร์แมน
8.     ขั้วต่อสายแบบสก๊อตโชล์ก
9.     ขั้วต่อสายแบบย้ำ
10.  ขั้วต่อสายอะลูมิเนียม
11.  ขั้วต่อสายแบบแยกสาย                           
สวิตช์และเต้าเสียบ
สวิตช์ วงจรไฟฟ้าโดยปกติทุกวงจรจะมีเครื่องควบคุมอยู่ส่วนใหญ่แล้วตัวที่ใช้ควบคุมวงจรก็คือสวิตช์นั่นเองในปัจจุบันในการใช้สวติช์แตกต่างกว้างขวางออกไปมากเนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีสมัยใหม่และความต้องการความสะดวกสบายในการใช้   ปัจจุบันสวิตช์สามารถทำงานได้โดยการใช้สัญญาณจากแสง    ความร้อน   น้ำ   ควัน และคลื่นวิทยุ  เป็นต้น   สวิตช์ที่มีขายตามท้องตลาดมีทั้งแบบง่าย    และแบบยุ่งยากซับซ้อน   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้    ให้สังเกตข้อความบนตัวสวิตช์จะเห็นได้ว่ามีข้อความรายละเอียด  ข้อความนั้นจะบอกวิธีการใช้และการติดตั้งไว้  ข้อความสัญญลักษณ์ที่ใช้ไว้ปรากฏอยู่  เช่น  สีดำใช้แสดงเป็นจุดรวม   สีเขียวใช้แสดงเป็นจุดต่อลงดิน  เป็นต้น
                     
เต้าเสียบ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างปลั๊กและสายไฟ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้ายได้ บางทีก็เรียกเต้าเสียบบางทีก็เรียกปลั๊กตัวเมียได้เหมือนกันเต้าเสียบมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แตกต่างชนิดกัน โดยปกติเต้าเสียบจะมีจุดสัมผัสรับกระแสไฟฟ้าที่อยู่กับที่จำนวน 2  หรือ 3 ตัว ติดตั้งยึดไว้บนฐานรองที่เป็นฉนวน มีช่องเสียบเพื่อรับขาเสียบของปลั๊กนั้น โดยค่าทางไฟฟ้านี้เป็นตัวกำหนดจำนวนจุดสัมผัสรับไฟและเต้าเสียบนี้จะบอกขนาดไว้ด้วยว่าทางไฟฟ้าเป็นแอมแปร์และโวลต์และแผนผังไฟฟ้าของการต่อเต้าเสียบไปใช้ในงานทั่ว  ไป   
เต้าเสียบมีการออกแบบให้มีช่องเสียบที่ตรงหรือล๊อคได้และปลั๊กชนิดที่มีการล๊อคได้จะนิยมใช้กันมากในงานพาณิชยกรรมและงานอตุสาหกรรมมากกว่าใช้กับบ้านพักอาศัย
ข้อมูลของเต้าเสียบที่ควรรู้ เต้าเสียบจะมีอักษรย่อ สัญลักษณ์ และสี เพื่อบอกถึงลักษณะของการใช้งาน  และการใช้งานยังต้องพิจารณาถึงรูปร่างและตำแหน่งของช่องเสียบปลั๊กด้วย รวมถึงข้อมูลที่พิมพ์ไว้บนตัวเต้าเสียบ เช่น  UL  หมายถึงการได้รับการรับรองการทดสอบจากยูแอล ของสหรัฐอเมริกาหรือ CSA  ก็หมายถึง การได้รับการรับรองจากสมาคมมาตรฐานแห่งประเทศแคนาดาเป็นต้น

วิธีทำงานเกี่ยวกับสายเคเบิลแบบเปลือกอโลหะ

 

สายเคเบิลแบบมีเปลือกอโลหะ
เป็นสายที่ประกอบด้วยสายไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้มหลาย    เส้นรวมอยู่ด้วยกัน  มีเปลือกพลาสติกที่แข็งแรงหุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่งเป็นตัวป้องกันไม่ให้สายและฉนวนชั้นในเกิดความเสียหายเนื่องจากถูกกระแทกหรือถูกของมีคมบาด   สายเคเบิลแบบมีเปลือกอโลหะเป็นสายไฟฟ้าที่นิยมใช้เดินทั่ว    ไปตามบ้านพักอาศัยเพราะราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย
ข้อความต่าง ที่พิมพ์ไว้ยยนสายยเคเบิลแบบมีเปลือกอโลหะ ตัวเลข ข้อความต่าง จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับสาย ตัวเลขจะเป็นข้อมูลตัวแรกที่ต้องมีบนสายเคเบิลเพื่อแสดงให้รู้ขนาดและจำนวนของตัวนำไฟฟ้าที่มีอยู่นั้นในสายเคเบิล เลขจำนวนมากจะเป็นสายที่มีขนาดเล็กกว่าเลขจำนวนน้อยเป็นต้นส่วนตัวเลขตัวหลังเป็นตัวเลขที่แสดงถึงจำนวนของสายตัวนำไฟฟ้าแต่ไม่รวมสายดินในเมืองมักนิยมเรียกกันเป็นตารางมิลลิเมตรซึ่งเป็นสายที่มีขนาดใหญ่ 
ตัวอักษา หมายถึงชนิดของสายเคเบิลที่มีเปลือกอโลหะและคุณสมบัติของสาย   แต่ในเมืองส่วนมากมักจะใช้อักษรอย่างอื่น เช่น สาย VAF หมายถึงสายไฟฟ้าในเดินภานในอาคารบ้านพักอาศัย 
การซื้อสายเคเบิลแบบมีเปลืกอโลหะ สายไฟฟ้าแบบมีเปลือกอโลหะสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งโดยปกติจะขายเป็นม้วนเวลาที่จะซื้อก็ให้บอกขนาดและชนิดของสายไฟฟ้าที่ต้องการ เช่น ต้องการซื้อสายเคเบิลยาง 100 ฟุตเบอร์ 14 ชนิดลวดตัวนำ 2  เส้นและมีสายดินด้วย เป็นต้น
การเตรียมสายเคเบิลแบบมีเปลือกอโลหะ
การปอกเปลือกหุ้มสายเคเบิล สายเคเบิลที่มีเปลือกอโลหะนั้นง่ายต่อการติดตั้ง เพียงใช้เครื่องสองสามชิ้นก็สามารถจะทำงานได้แล้วใช้คีมตัดสำหรับช่างไฟฟ้าก็สามารถตัดสายไฟฟ้าได้ตามความยาวที่ต้องการอย่างรวดเร็ว และต้องปอกเปลือกพลาสติกที่หุ้มสายออกก่อนที่ร้อยสายเข้ากล่องต่อสาย การปอกเปลือกพลาสติกหุ้มให้ใช้มีผ่าลงไประหว่างกลางของสายตรงส่วนที่สายดิน สายดินเป็นสายเปลือยเป็นทางผ่านของใบมีดให้ปอกยาวประมาณ 5  นิ้ววัดจากปลายสายเข้ามา   และเมื่อต้องการที่จะเตรียมสายไฟที่มีความยาวมาก ให้ใช้เครื่องมือสำหรับปอกสายซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน  เครื่องมือสำหรับปอกสายออกแบบมาให้มีใบมีดคล้ายใบมีดโกนเพื่อต้องการให้แทงทะลุเปลือกหุ้มของสายและใบมีดจะมีระยะสั้น เพื่อสำหรับปอกเปลือกสายเท่านั้น
การปอกเปลือกฉนวนออกจากสายไฟฟ้า ปอกเปลือกหุ้มภายนอกของสายเรียบร้อยแล้วจะมีฉนวนหุ้มสายภายในของแต่ละเส้นอีกซึ่งจะปอกฉนวนหุ้มได้โดยใช้เครื่องมือปอกสายแบบเอนกประสงค์และต้องระมัดระวังและพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้บาดสายภายใน  ซึ่งจะทำให้สายหักในภายหลังได้  ห้ามใช้มีดพับปอกฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า

การเดินสายไฟฟ้าในโครงสร้าง การติดตั้งกล่องต่อสายไฟฟ้าและสายไฟฟ้า   การจัดทางเดินสายไฟไว้ก่อนจะทำให้เดินสายได้ง่าย  การเดินสายไฟฟ้าในโครงสร้างนี้จะต้องตรวจเช็คระยะอย่างละเอียดและใช้ความระมัดระวัง   เพราะถ้าช่างก่อสร้างทำการตีฝ้าหรือฝาปิดเสร็จเรียบร้อยแล้วถ้าเกิดความผิดพลาดแล้วจะแก้ไขและทำงานลำบากมาก   กล่องต่อสาย  หรือ  กล่องแยกสาย   สำหรับติดตั้งในการเดินสายในระบบไฟฟ้าที่ใช้สาย  NM  จะต้องมีการแยกสายหรือต่อสาย  กล่องต่อสายที่ติดตั้งไว้เพื่อสะดวกในการทำงาน  การซ่อมบำรุงหรือเพิ่มวงจรไฟฟ้าได้ในอนาคต   รูปร่างและขนาดของกล่องต่อสายไฟฟ้าจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมและมีความลึกความกว้างแตกต่างกัน  ส่วนรูสำหรับเข้าสายหรือต่อยึดปกติจะปั๊มเจาะไว้ที่กล่องและสามารถเคาะให้หลุดได้ตามความต้องการซึ่งสามารถที่ใช้งานได้ทุก    ด้าน    การติดตั้งกล่องต่อสายไฟใช้ตะปูตอกกับไม้หรือใช้สกรูติดกับเหล็ก  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของกล่อง  ถ้าต้องติดตั้งกล่องระหว่างไม้คร่าวหรือคานควรใช้อุปกรณ์แขวน  และถ้าต้องติดตั้งกล่องกับฝ้าเพดานให้ติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า   “บาร์แฮงเกอร์”
 การเดินสายไฟฟ้า   การเดินสายร้อยไปตามมรูที่เจาะจะสะดวกรวดเร็วและง่าย  เมื่อได้ความยาวตามต้องการแล้วก็ใช้คีมตัดการทำงานตามวิธีนี้จะทำให้ความยาวของสายพอดีไม่เหลือเศษมากเกินไป   สายเคเบิลจะต้องปอกเปลือกพลาสติกหุ้มสายนอกออกก่อนที่จะร้อยเข้ากล่องต่อสาย   การทำแบบนี้เหมือนว่าจะไม่ค่อยสะดวกแต่จะประหยัดเวลาเมื่อตอนนำสวิตช์หรือปลั๊กมาติดตั้ง  เพราะไม่ต้องมาปอกเปลือกสายอีกครั้งและการทำงานก็จะสะดวกกว่า  การปอกเปลือกสายควรปอกไว้ให้ยาวประมาณ  6  นิ้ว  ทำให้การทำงานได้ง่ายกว่าการปอกไว้สั้น 

การสร้างระบบไฟฟ้าจากแผนผังไฟฟ้า


แผนผังการจัดวางอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นการจัดวางที่ติดตั้งสวิตช์เต้าเสียบโคมไฟ  โดยให้สอดคล้องกับแผนผังการก่อสร้างที่แท้จริง   เพื่อให้ทราบว่ากล่องต่อสายไฟฟ้าอยู่ที่ใดบ้าง  และต้องการใช้จำนวนเท่าใด  รวมถึงการประมาณราคาค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง    ได้   ส่วน็แผนผังการเดินสายไฟเพื่อต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง    ในวงจรเข้าด้วยกัน  และแสดงทางเดินของสายไฟด้วย   ควรวางแผนผังรการเดินสายอย่างละเอียดและรอบคอบจะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการเดินสายไฟฟ้าที่ยาวเกินไปต้องพยายามเดินสายให้มีระยะทางสั้นที่สุด  เพื่อที่จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
แบบขยาย ส่วนที่ทำให้ทราบว่าการวางแบบโครงสร้างจะบอกรายละเอียดการต่อสายเข้ากับอุปกรณ์ในระบบสายไฟฟ้า การเดินสายเข้าอุปกรณ์นั้นมีลักษณะเหมือนกันก็จะมีตัวหนังสือกำกับบอกไว้ว่าการเดินสายไฟฟ้านั้นเหมือนกันทุกประการ
วิธีเดินสายไฟฟ้าสายเคเบิลไฟฟ้าแบบมีเปลือกอโลหะได้กำหนดไว้ในแบบก่อสร้างอาคาร วงจรไฟฟ้าทั้งหมดก็ยังสามารถเดินด้วยสายเคเบิลไฟฟ้าแบบมีเปลือกเป็นแบบโลหะหรือจะเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะกับการเดินในท่อโลหะก็ได้
การใช้แบบแปลนของห้อง จะทำให้รู้ถึงวิธีการเดินสายของแต่ละห้องว่าควรจะเดินสายอย่างไรและเดินวิธีไหนที่เหมาะสมที่สุดเพื่อจะได้ดูว่าควรวางอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไรเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อยรายละเอียดในแผนผังอาจหรือแปลนต่าง    อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและช่วยให้ท่านมีความชำนาญมากขึ้นและสามารถที่จะออกแบบระบบไฟฟ้าได้เอง
ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยทางไฟฟ้า

สายดิน ระบบความปลอดภัยทางไฟฟ้าสายดินเป็นส่วนสำคัญซึ่งจะต้องมีเมื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าใหม่ภายในบ้านพักอาศัยสายดินจะช่วยป้องกันผู้ใช้จากอันตรายที่เกิดจากการรั่วของกระแสไฟฟ้าได้  สายดินจะมี  2  ส่วน  คือ สายดินของระบบ  ใช้ป้องกันระบบไฟฟ้าและวงจรทั้งหมด  และสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ป้องกันเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น     ที่อยู่ในระบบวงจรไฟฟ้า  
                 หน้าที่หลักของสายดินในระบบมีไว้ป้องกันสายจ่ายไฟเข้าจากการเกิดฟ้าผ่าและไฟฟ้าแรงสูง   กระแสไฟฟ้าจะไม่ผ่านสายนิวตรอล  แต่จะผ่านสายดินด้วยตัวนำที่ดีลงสู่ดินแทน
                 การต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน    เป็นการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าระดับที่  2  การต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินเป็นระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าภายในบ้าน  ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้ต่อลงดิน  กระแสไฟฟ้าจะหาทางลงดินที่ง่ายที่สุดก็คือร่างกายมนุษย์ใช้เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นตัวนำที่ดีที่สุด  แต่ถ้าเราต่องสายลงดินบุคคลที่มาแตะกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นก็จะมั่นใจว่าปลอดภัยและไม่ทำให้เกิดอันตรายกับบุคคลจากกระแสไฟฟ้า     ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กการต่อสายลงดินทำได้ง่ายมากปกติเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนมากออกแบบให้ปลั๊กเสียบมีสามขา  เป็นสายดินหนึ่งขา  ซึ่งสามารถที่จะไปเสียบเข้ากับเต้าเสียบที่มีการต่อสายดินอยู่แล้ว  ระบบสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้าและของปลั๊กจะต่อเข้าด้วยกันเอง

ฟิวส์ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจำกัดจำนวนกระแสไฟที่ไหลในวงจร  ปกติจะทำด้วยโลหะชนิดอ่อน  สามารถที่จะหลอมละลายและตัดวงจรออกไปเมื่อเกิดการใช้งานเกินกำลัง   ฟิวส์จะแบ่งออกเป็น  3  จำพวก  คือ ปลั๊กฟิวส์ คาร์ตริดจ์ฟิวส์ และเบลดฟิวส์   โดยปกติทั่วไปตามบ้านพักอาศัยจะใช้แบบปลั๊กฟิวส์ สำหรับฟิวส์แต่ละจำพวกยังแบ่งเป็นฟิวส์อีกหลายชนิด  ซึ่งเหมาะกับงานเฉพาะอย่างและเป็นที่นิยมตามที่ใช้งานนั้น  ๆ ปลั๊กฟิวส์มาตรฐาน มีแผ่นไส้เป็นโลหะซึ่งออกแบบให้ละลายเมื่อกระแสไฟไหลในวงจรเกินค่าที่กำหนด วงจรจะถูกตัดขาดและจะไม่มีกระแสไฟไหลอีกต่อไปในกรณีที่มีกระแสไฟไหลเกินมาก    ฟิวส์จะขาดทันที ฟิวส์ชนิดขาดช้า เป็นฟิวส์มาตรฐานอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีไส้ 2 ตอน ทำหน้าที่ป้องกันกระแสลัดวงจรและกระแสเกิน การป้องกันกระแสเกินจะช่วยป้องกันและลดความรำคาญอันเนื่องมาจากฟิวส์ขาดเมื่อมอเตอร์เริ่มสตาร์ด เช่น  เครื่องทำความเย็นของตู้เย็น เป็นต้น
คาร์ตริดจ์ฟิวส์ การทำงานเหมือนกับปลั๊กฟิวส์จะติดตั้งบนขาหนีบสปริง ซึ่งแตกต่างกับปลั๊กฟิวส์ที่จะต้องติดตั้งบนฐานเกลียว คาร์ตริดจ์ฟิวส์ส่วนมากจะใช้ได้เพียงครั้งเดียวบางชนิดก็สามารถที่จะซื้อไส้มาเปลี่ยนได้
เบลดฟิวส์ การทำงานของเบลดฟิวส์อาศัยหลักของการหลอมละลายด้วยความร้อนจะมีขนาดแอมแปร์สูงกว่าฟิวส์แบบอื่น จะติดตั้งอยู่บนขาหนีบสปริงมีทั้งชนิดเปลี่ยนไส้ใหม่และใช้เพียงครั้งเดียว
เซอร์กิตเบรกเกอร์ฟิวส์   อุปกรณ์การตัดตอนวงจรซึ่งสามารถจะติดตั้งกับฐานฟิวส์ได้   การทำงานเหมือนเซอร์ยกิตเบรกเกอร์ แต่ได้เปรียบตรงที่เมื่อเกิดการใช้งานเกินกำลังสามารถที่จะกดปุ่มรีเซ็ตและใช้งานต่อได้อีก
      
เซอร์กิตเบรกเกอร์  ทำหน้าที่เหมือนฟิวส์ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นตัวปองกันวงจรไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ต่างจากฟิวส์คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถรีเซ็ตได้  จึงให้ความสะดวกในการใช้งานเป็นอย่างมาก และเมื่อใช้งานเกินกำลังทำให้เกิดการตัดวงจรเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถรีเซ็ตได้โดยการเลื่อนคันโยกไปยังตำแหน่งปิดแล้วเลื่อนไปยังตำแหน่งเปิ   แต่จะต้องให้แน่ใจเสียก่อนว่าได้แก้ไขสาเหตุของการใช้งานเกินกำลังแล้วก่อนที่จะทำการรีเซ็ตตัวเบรกเกอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบเบื้อต้นมีอยู่ด้วยกัน  3  แบบ แบบความร้อน แบบแม่เหล็ก และแบบความร้อนแม่เหล็ก
เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบความร้อน การทำงานอาศัยหลักการของแผ่นไบเมทอลลิก  คือ  การนำเอาโลหะสองชนิดซึ่งมีสัมประสิทธ์การขยายตัวไม่เท่ากันมาประกบยึดกันโดยถาวรและแน่น เมื่อเกิดความร้อนขึ้นทำให้ไบเมทอลลิกเกิดการโก่งตัวขึ้น ทำให้หน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์เปิด และหลังจากที่เซอร์กิตตัดวงจรไปแล้วสักพักแผ่นไปเมทอลลิกเย็นลงและจะกลับเข้าไปอยู่ในสภาพเดิมอีก เราก็สามารถรีเซ็ทเพื่อให้ใช้งานได้อีกต่อไป แต่จะต้องแน่ใจว่าได้ทำการแก้ไขสาเหตุการใช้งานเกินกำลังในวงจรเรียบร้อยแล้ว เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบแม่เหล็ก การทำงานแบบนี้อาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดขึ้นจากการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ถ้ามีกระแสไฟไหลผ่านมากอำนาจแม่เหล็กก็จะยิ่งมีอำนาจในการดูดสูงขึ้น ทำให้อำนาจแม่เหล็กสูงขึ้นมากพอไปดูดแผ่นกระเดื่องตัดวงจรและทำให้วงจรเปิด เมื่อแก้ไขสาเหตุของการใช้งานเกินกำลังแล้ว สามารถจะทำการรีเซ็ตกระเดื่องตัดวงจรให้อยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อใช้งานต่อไป
เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบความร้อนแม่เหล็ก เป็นการรวมเอาผลทางความร้อนของแผ่นไบเมทอลลิกกับอำนาจดึงดูดของแม่เหล็กเข้าด้วยกันเพื่อที่จะไปผลักแผ่นกระเดื่องตัดวงจร  จึงทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ตัดวงจรไวขึ้นเมื่อเกิดมีกระแสไหลผ่านเกินอย่างมาก

 เครื่องป้องกันไฟฟ้าดูด เครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดนี้ได้นำเข้ามาใช้งานแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์ธรรมดาเพราะเมื่อคนถูกไฟฟ้าดูดแต่กระแสไฟที่รั่วไม่มากพอที่เซอร์กิตเบรกเกอร์จะตัดวงจรได้ เพราะเซอร์กิตเบรกเกอร์ออกแบบมาเพื่อให้ตัดเมื่อมีกระแสไฟไหลมากเกินขีดจำกัด เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำการออกแบบเครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดขึ้นมาใช้ทดแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์เพื่อเป็นตัวป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วขึ้นมา เครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดจะทำการตัดวงจรที่กระแสไฟฟ้ารั่วน้อยภายในเสี้ยววินาที
เครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดควรที่จะติดตั้งเพื่อป้องกันในพื้นที่ดังต่อไปนี้
1.     บ้านพักอาศัย
2.     สถานที่ก่อสร้าง
3.     บ้านเคลื่อนที่
4.     สระว่ายน้ำและน้ำพุ
 เครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดมีวงจรสำหรับทดสอลซึ่งมีอยู่ในตัวของมันเอง เพื่อเอาไว้สำหรับตรวจสอบการทำงานของเครื่องโดยที่ในวงจรไม่มีการรั่วของกระแสไฟฟ้า ผู้ผลิตจะแนะนำให้ทดสอบเครื่องทุก   เดือนเป็นประจำเพื่อความแน่ใจว่าเครื่องยังทำงานอยู่เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วในวงจร  สามารถติดตั้งเครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
 การป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางไฟฟ้า
โดยทั่ว   ไปเราต้องการความปลอดภัยมากกว่าการต่อสายลงดิน  การใช้ฟิวส์เซอร์กิตเบรกเกอร์  และเครื่องป้องกันไฟฟ้าดูด   การใช้อุปกรณ์ง่าย    และวิธีการบางอย่างสามารถเสริมให้มีความปลอดภัยทางไฟฟ้าเพิ่มขึ้น


การวางสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ


สายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ     
โดยจะประกอบไปด้วยสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนจำนวน  2  เส้นหรือมากกว่านี้   มีเปลือกโลหะหุ้มทับนั้นเป็นข้อต่อยืดหยุนได้   ป้องกันอันตรายสายไฟฟ้าภายในนอกจากนี้ยังใช้ต่อสายลงดินได้ด้วย  สายเคเบิลชนิดนี้มักจะเรียกว่า  Armored cable  หรือ  BX   ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย   สายไฟประเภทนี้นอกจากมีฉนวนหุ้มแล้วยังมีกระดาษห่อหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่งด้วยเพื่อช่วยเพิ่มการป้องกันความปลอดภัย  แต่เมื่อมีการต่อสายไฟก็จำเป็นต้องลอกเอากระดาษออกด้วย  โดยทั่วไปลวดตัวนำจะทำด้วยอะลูมินั่มหรือทองแดง  จะสัมผัสและต่ออยู่กับเปลือกโลหะข้อต่อยืดหยุ่นนั้นตลอดเวลา  ทำหน้าที่เป็นเส้นทางนำกระแสไฟฟ้าลงดินตลอดสายเคเบิล
                    เราสามารถที่จะซื้อสายเคเบิลชนิดนี้ได้โดยระบุจำนวนตัวนำของสายไฟฟ้าด้วยเหมือนกัยการสั่งซื้อสายเคเบิลชนิดเปลือกอโลหะโดยปกติแล้วจะขายเป็นม้วน  สายเคเบิลชนิดเวลาสั่งซื้อต้องระบุด้วยว่า  14/2  หรือ  12/3   เพื่อบอกขนาดของตัวนำและจำนวนตัวนำภายในสายไฟ  และไม่จำเป็นต้องมีสายต่อลงดินหรือสายดินแต่อย่างใด  เพราะว่าภายในสายเคเบิลชนิดนี้มีลวดตัวนำทำหน้าที่เป็นสายหรือตัวนำกระแสลงดินอยู่แล้ว
                     สายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ  NEC   ได้กำหนดชนิดของสายเคเบิลออกเป็น  4  ชนิด คือ  AC, ACT,  ACL,  และMC  สายเคเบิล  MC  นั้นเหมาะสำหรับการนำไปใช้งานทาด้านอุตสาหกรรมและการพาณิชย์   ส่วนนอกนั้นเหมาะสำหรับใช้ในงานเดินสายไฟฟ้าภายในอาคารที่อยู่อาศัยกับงานบริเวณแห้ง    ใช้ติดตั้งเดินสายทั้งแบบลอยและแบบฝังใต้ดินได้เป็นอย่างดี  โดยสามารถสอดสายเคเบิลนี้ผ่านช่องผนังอิฐ  กำแหง  และงานต่อเติมแบบฝังสายได้เป็นอย่างดี

การเตรียมสายเคเบิล
                       วิธีการตัดสายเคเบิล       ต้องอาศัยเทคนิคและเครื่องมือเช่นเดียวกับสายชนิดเปลือกอโลหะและต้องมีความระมัดระวังมากกว่า   โดยเฉพาะในขณะที่ตัดสายและเชื่อมต่อสายตัวนำ   เนื่องจากว่าเปลือกโลหะมีความคมมากและแข็งมากด้วย   เมื่อมีความชำนาญในการตัดสายชนิดนี้แล้วก็ทำให้การเดินสายไฟชนิดนี้ได้รวดเร็วเหมือนกับชนิดเปลือกอโลหะ
                       การใส่บูชชิ่งกันลัดวงจร        เมื่อตัดสายแล้ว  ข้อต่อโลหะจะมีขอบที่เหลมแฃะคม  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับฉนวนตัวนำไฟฟ้า   จึงควรใส่บูชชิ่งกันลัดวงจรมาครอบสวมไว้  บูชชิ่งกันลัดวงจรจะทำจากพลาสติกหรือกระดาษไฟเบอร์หนา จะมีลักษณะเป็นปลอกวงกลมแต่ว่าผ่าตลอดแนวยาวจะนำไปใส่ครอบคลุมข้อต่อโลหะของสายไว้และก่อนที่จะใส่เราจะต้องทำการแก่กระดาษฉนวนที่พันอยู่รอบตัวนำไฟฟ้าออกเสียก่อนจากนั้นจึวใส่เข้าไป

วิธีการร้อยสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ
                         การดึงร้อยสายเคเบิล         ในการเดินสายเคเบิลนั้นควรเดินสายไฟไปยังจุดที่ต้องการก่อนการตัดสาย   เพื่อการประหยัดสายไฟเพื่อไม่ให้สายเคเบิลพันหรือบิดงอ  ควรดึงเอาสายออกจากกลางขด   เมื่อเราลากและวางสายไปตามจุดที่ต้องการแล้วก็ควรตัดสายเคเบิล  3  แห่ง แต่ละแห่งมีระยะห่าง  15  -  20  เซนติเมตร  ในตำแหน่งกลางนั้นให้ตัดตัวนำไฟฟ้าให้ขาดไปเลย  ตำแหน่งข้าง    ทั้งสองให้ตัดเฉพาะเปลือกโลหะออกเพื่อเตรียมปลายสายไว้ใช้ต่อไป   ถ้าต้องการเดินสายในผนังแบบปิดมิดชิดสามารถประหยัดสายเคเบิลได้ด้วยการเดินสายแบบอิสระ คือให้เดินด้วยระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างกล่องต่อสายทั้ง  3  ตัว   ส่วนการเดินสายที่ดูเรียบร้อยตามแบบจะทำให้สื้นเปลื้องสายไฟมากกว่า    เพื่อป้องกันการแตกหักของสายเคเบิลขณะเดินสายเราต้องเหลีกเลี่ยงการงอสายเคเบิลให้มาก 
                     การยึดสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ   การจับยึดสายจะใช้อุปกรณ์ดังนี้  คือ  เคเบิลแคล้มป์หัวต่อสายเคเบิลหรือที่ยึดปลอกโลหะ   เคเบิลแคล้มป์จะเป็นส่วนหนึ่งที่ติดอยู่ในกล่องต่อไฟ  ส่วนหัวต่อสายเคเบิลโลหะนั้นต้องติดตั้งก่อนที่จะเดินสายไฟเข้าไปในกล่องต่อไฟ
                     การต่อสายลงดินของสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ    จะใช้เปลือกโลหะที่หุ้มอยู่  และลวดตัวนำต่อลงดินไห้มั่นคง และทำเช่นเดียวกับวิธีการต่อสายลงดินแบบเปลือกอโลหะ


การเดินสายด้วยท่อเดินสาย


                       การติดตั้งท่อโลหะใช้สำหรับป้องกันสายไฟฟ้าที่ร้อยผ่าน  จะต้องมีการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบและมีความชำนาญ   จึงจะทำให้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าออกมาสวยงามและประณีต   ระบบการเดินสายไฟฟ้าด้วยระบบท่อโลหะในบ้านอยู่อาศัยจะเป็นงานที่ท้าทายมากที่สุด   เพราะว่าผู้ทำงานจะต้องวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบต้องใช้เครื่องมือเฉพาะและต้องมีความชำนาญในการปฏิบัติการโค้งงอลักษณะต่าง    จึงจะได้ผลงานออกมาดี  การเดินสายระบบท่อต้องปฏิบัติตามข้อบังคับหรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานของการไฟฟ้า

ชนิดของท่อโลหะ
                     ท่อเดินสายไฟมีมากมายหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากในการเดินสายภายในบ้านมีอยู่  3  ชนิดด้วยกัน  คือ  ท่อบาง   ท่อหนา  และท่ออ่อน
                    ท่อเดินสายโลหะชนิดบาง  หรือที่เรียกว่าท่ออีเอ็มที   (EMT)   เป็นท่อที่มีน้ำหนักเบา   ความหนาท่อชนิดนี้จะประมาณ  40 %   ของท่อชนิดหนา   เนื่องจากท่อชนิดนี้มีน้ำหนักเบาและง่ายต่อการตัดโค้ง  นิยมใช้ในการเดินสายไฟในบ้านที่อยู่อาศัย
                    ท่อเดินสายโลหะชนิดท่อหนา       เป็นท่อที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรง  มีเกลียวที่ปลายท่อสำหรับการเชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกันเช่นเดียวกันกับท่อมาตรฐาน  ในบ้านที่อยู่อาศัย  ท่อหนาจะใช้เฉพาะเป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟจากมิเตอร์เข้าบ้าน   ท่อชนิดนี้สามารถทำเกลียวด้วยเครื่องมือทำเกลียวมาตรฐาน  ซึ่งมีที่กัดเกลียวเป็นมุมเอียง   ร้านขายอุปกรณ์เครื่องฟฟ้าส่วนมากจะมีท่อโลหะแบบต่าง     สำหรับเดินสายไฟด้วยความยาว  ขนาดต่าง    กัน  และมีการทำเกลียวไว้พร้อมที่จะนำมาใช้ได้ทันที
                      ท่อโลหะเดินสายไฟชนิดท่ออ่อน         ท่อชนิดนี้มมีลักษณะเหมือนเปลือกโลหะของสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ   แต่ในการเดินสายไฟนั้น  จะต้องติดตั้งระบบท่อให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงจะมีการร้อยสายไฟเข้าไปทีหลัง  จะเดินสายไฟด้วยท่ออ่อนในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนหรือมีการเคลื่อนไหว  ในบริเวณที่ที่มีรัศมีการโค้งงอแคบมากหรือโค้งงอได้ลำบาก

เครื่องมือที่ใช้ในการเดินสายไฟภายในท่อโลหะ
1.     เครื่องมือตัดท่อ    เป็นเครื่องมือที่ใช้ตัดท่อโลหะทั่ว    ไป  ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ได้แก่  เลื่อยตัดเหล็ก  ที่ตัดท่อ  เครื่องตัดท่อและทำเกลียวท่อประปา
2.     อุปกรณ์ขจัดรอยแหลมคมของบอบท่อได้แก่  รีมเมอร์  ตะไบ  คีม
3.     เครื่องมือตัดท่อ    ใช้โค้งงอท่อเป็นมุมต่าง    ได้
4.     เครื่องมือในการดึงสายร้อยท่อภายในท่อโลหะ  เรียกว่าฟิชชิ่งเทป  หรือ  ถ้าไม่มีอาจจะใช้ลวดสลิงเสนเล็กผูกเชือกนำเข้าไปในท่อก่อน  แล้งจึงค่อยให้เชือกโผล่ในกล่องต่อสายที่ต้องการ   ก็เอาปลายเชือกนั้นผูกกับสายไฟที่จะร้อยเข้าไปในท่ออีกครั้ง

การติดตั้งท่ออีเอ็มที
                        การเลือกซื้อท่ออีเอ็มที      โดยปกติทั่วไปมักจะขายเป็นมัดประมาณ  10  เส้นแต่ละเส้นจะยาวประมาณ  3  เมตร  จะมีหลายขนาดมีทั้งเล็กและใหญ่ตามต้องการ  โดยสามารถร้อยสายเข้าไปภายในท่อ   และเราสามารถใช้ใบเลื่อยเหล็กตัดท่อได้ตามขนาดความยาวที่เราต้องการใช้แต่เมื่อตัดแล้วท่อจะปรากฏมีรอยแหลมคมจึงจำเป็นต้องมีการขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปโดยการใช้เครื่องลบคมให้เรียบร้อยจะได้ไม่เป็นอันตราย   และอีกหนึ่งอย่างก็คือการดัดท่อเดินสายไฟนี้จะต้องมีความระมัดระวังและใช้ความชำนาญอาศัยเทคนิคพร้อมเครื่องมือที่ใช้ในการดัดท่อให้โค้งงอเป็นไปในลักษณะต่าง    ตามต้องการ
                    กฎเกี่ยวกับการดัดงอท่ออีเอ็มที       การดัดท่อเดินสายไฟนั้นต้องไม่ทำให้ท่อเดินสายไฟได้รับความเสียหาย  และเส้นผ่าศูนย์กลายภานในท่อต้องไม่ลดลงกว่าเดิมด้วย  ในการเดินท่อสายไฟที่ทำด้วยโลหะระหว่างกล่องต่อสายไฟ  2   กล่อง  หรือระหว่างดวงไฟกับดวงไฟ   ระหว่างดวงไฟกับกล่องต่อสายจะต้องมีมุมที่โค้งงอของท่อรวมกัน   ทั้งนี้รวมไปถึงมุมโค้งงอที่จุดเข้ากล่องต่อสายหรือที่ดวงไฟด้วย   เพราะเราจะร้อยสายไฟเข้าไปในท่อลำบาก  การจับยึดท่ออีเอ็มทีจะต้องติดตั้งท่อให้เป็นระบบที่สมบูรณ์และต้องมีการยึดท่ออย่างน้อยที่สุดทุก    ระยะ  10  ฟุต  และภายในระยะ   3  ฟุต  จากกล่องต่อสายและกล่องแยกสาย   เป็นต้น
                        อุปกรณ์การเกาะยึดผนัง  ฝ้า  เพดาน  พื้นห้อง    อุปกรณ์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ  “สมอบก”  เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการจับยึดผนังไว้ไม่ให้หลุดออกมาได้  อาศัยหลักการเดียวกันกับอุปกรณ์เกาะยึดผนัง   เมื่อเราใส่สมอบกเข้าไปแล้ว  และขันสกรูเข้าไปสมอบกซึ่งมันอ้าอยู่ก็จะกางจาที่นั้นออกไปดันกับรูภายในผนังนั้น

การติดตั้งท่อโลหะหนา
                       การดัดท่อชนิดนี้จะต้องทักษะมากกว่าท่อโลหะบาง   เนื่องจากท่อนี้หนักกว่าและแข็งแรงยากแก่การโค้งงอ  หลังจากดัดท่อแล้วจะต้องทำเกลียวที่ปลายท่อด้วย   ในการเดินสายไฟภายในอาคารนั้นมีความจำเป็นที่จะใช้ท่อโลหะหนาน้อยมาก    จะใช้ท่อชนิดนี้เฉพาะเพื่อเป็นท่อรับไฟเข้า  และใช้ในการเดินสายใต้ดิน  ท่อชนิดนี้จะมีหลายขนาดและความยาวต่าง     เหมือนท่อบางตามความต้องการของผู้ซื้อ

การติดตั้งท่อโลหะอ่อน
                      การเดินสายด้วยท่อชนิดนี้ต้องใช้เทคนิคการเดินสายเช่นเดียวกับการวางสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ   หากแตกต่างตรงที่การวางท่ออ่อนเราจะสสอดใส่ร้อยสายเข้าไปในท่อภายหลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ทุกตัวเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

การปรับระบบการเดินท่อให้สมบูรณ์
                     การติดตั้งสวิตช์และเต้าเสียบในระบบท่อนี้จะเหมือนกันกับระบบการเดินสายแบบอื่น    ในการเดินสายไฟร้อยในท่อที่มีการต่อลงดินให้กับท่อโลหะนั้น  สำหรับการต่อเต้าเสียบลงดินก็ต่อลงดินที่ท่อประปาหรือจะใช้สายลงดินสีเขียวลาดเดินมาต่อที่เต้าเสียบตรงจุดสกรูสีเขียวอีกก็ได้จะได้เพิ่มความปลอดภัยมาขึ้น
                       การติดตั้งอุปกรณ์รับไฟเข้าจากเครื่องวัดไฟฟ้าหรือมิเตอร์ไฟ  ควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าหรือช่างไฟผู้ชำนาญเสียก่อน  การติดตั้งอุปกรณ์รับไฟอย่างเหมาะสมจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานและไม่ต้องบำรุงรักษาเป็นเวลาแรมปี



 

การรับไฟเข้า


การรับไฟเข้าเบื้องต้น
                         เมื่อเราเดินสายไฟภายในอาคารเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อมาก็คือการรับไฟเข้า   เป็นการเชื่อมด้วยสายไฟระหว่างอาคารกับการไฟฟ้า   เราอาจจะใช้วิธีโยงสายไฟลอยในอากาศจากเสาไฟหรือฝังสายใต้ดินมาจากเสาไฟ  ซึ่งสามารถทำได้ทั้งสองแบบ

ตำแหน่งที่รับไฟเข้า
                       ควรพยายามให้แผงรับไฟเข้าอาคารติดตั้งใจตำแหน่งที่ที่บุคคลเข้าถึงได้ง่ายที่สุดและใช้วัสดุอุปกรณ์น้อยที่สุด  ข้อคิด  3  ข้อ  ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการพิจารณาหาตำแหน่งของแผงรับไฟดังนี้
1.     พยายามเดินสายไฟที่โยงมาให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
2.     ควรให้แผงรับไฟเข้าอยู่ใกล้ห้องครัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินสายที่สิ้นเปลืองเพราะครัวเป็นแหล่งรวมเครื่อใช้ไฟฟ้ามากที่สุด
3.     ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าหรือมิเตอร์กับผนังภายนอกห้องนอน

การเดินสายรับไฟเข้า
                    บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทำให้การติดตั้งอุปกรณ์รับไฟฟ้าง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วยการจำหน่ายชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งส่วนต่าง     ของระบบรับไฟเข้า   หากได้รับอนุญาตจากการไฟฟ้าให้ติดตั้งและได้รับคำแนะนำปรึกษามาแล้วก็สามารถทำการติดตั้งได้ทันทีอย่างปลอดภัย  ถูกหลักการและราคาถูก    ขนาดการรับไฟเข้านั้นจะระบุออกมาเป็นกระแสกี่แอมป์   ปกติขนาดการรับไฟเข้าสำหรับบ้านในปัจจุบันควรมีขนาดอย่างน้อยที่สุด  15  แอมแปร์  ส่วนบ้านที่มีขนาดใหญ่และมีเครื่องทำความร้อนควรมีขนาด  30  แอมแปร์  เป็นต้น
                    การเดินสายรับไฟเข้าทุกแบบไม่ได้ติดตั้งโดยวิธีเดียว  เพราะตำแหน่งและการใช้งานไม่เหมือนกันแตกต่างกัน   การติดตั้งอุปกรณ์รับไฟเข้ามี  4  วิธีด้วยกันคือ
1.     การรับไฟเข้าแบบเดินสายลอยอากาศ    นิยมใช้ในบ้านเราและแถบเอเชีย   การติดตั้งแบบนี้จะมีมิเตอร์และตัวรับไฟเข้าบ้านขึดติดอยู่ทางด้านนอกของอาคารและแผงควบคุมไฟนั้นจะวางไว้ภายในอาคารใกล้    กัน  ท่อเดินสายไฟจะเป็นตัวเชื่อมต่อมิเตอร์กับแผงควบคุมไฟ   ในการต่อมิเตอร์เข้ากับแผงควบคุมไฟด้วยการใช้ท่อโลหะ
2.     การรับไฟเข้าโดยการเดินสายใต้ดินด้วยท่อโลหะ   วิธีการเดินสายแบบฝังไว้ใต้ดิน  ข้อดี  ช่วยลดการชำรุดของสายไฟจากสภาพอากาศ  แล้วยังช่วยให้ไม่ต้องใช้เสาไฟฟ้าและสายไฟฝ่านระโยงระยาง    ข้อเสีย  ราคาแพง    เมืองไทยมีระดับความชื้นสูงซึ่งเป็นสำคัญในการเดินสายระบบใต้ดิน    จึงควรเลือกใช้อุปกรณ์และสายที่ใช้สำหรับงานใต้ดินโดยเฉพาะ
3.     การรับไฟเข้าโดยการเดินสายใต้ดินภายในกล่องโลหะ       วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง    การติดตั้งจะแยกท่อเดินสายไฟและมิเตอร์ออกคลื่อนที่จากกันแต่กลับให้อุปกรณ์เหล่านั้นทั้งหมดรวมอยู่ด้วยกันในกล่องที่ปิดไว้   การติดตั้งวิธีนี้เรียบร้อยและทำให้การเดินสายสะดวกขึ้นและกล่องนี้จะปิดด้วยฝาครอบที่สามารถปิดล๊อคได้
4.     การเดินสายรับไฟเข้าสู่บ้านลากจูงด้วยรถ  จะมีปัญหาเรื่องการเดินสายรับไฟเข้า   เพราะว่ามันจะไม่ได้รับไฟเข้าโดยตรงหาหต้องติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้บ้านแล้วก็ลากสายเคเบิลมาที่บ้าน   การติดตั้งเดินสายรับไฟเข้าสู่บ้านเคลื่อนที่ทำได้  2  วิธี  โดยการโยงสายเคเบิลจากการเดินสายรับไฟเข้านั้นไปเข้าแผงรับไฟของฉ

แผงรับไฟเข้า
                      ไฟฟฟ้าที่เข้าบ้านนั้นเป็นระบบไฟ  3  สาย  มีสามสี  คือ   แดง  ดำ  ขาว   จะต่อผ่านฝาครอบท่อหรือคอห่าน   ระบบไฟฟ้าดังกล่าวจะคงที่ตลอดไปตั้งแต่มิเตอร์ตลอดจนแผงรับไฟเข้า  และถือว่าสายไฟฟ้าที่เข้ามานั้นสุดทางที่แผงรับไฟเข้า   โดยมีตัวนำพวกโลหะเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าส่งจ่ายกำลังไฟฟ้ากับเซอร์กิตเบรกเกอร์   การส่งกระแสไฟฟ้าจากบัสบาร์ไปสู่เซอร์กิตเบรกเกอร์ขั้วเดียวและ  2  ขั้ว   โดยให้กับวงจรใช้ไฟแรงดัน   115   และ  230  โวลต์

สายเคเบิลรับไฟเข้า
                     อาจใช้แทนสายไฟฟ้าที่เดินอยู่ในท่อเดินสายไฟได้  มีตัวนำไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มกันอยู่รอบตัวนำไฟฟ้าที่มีฉนวน 
หุ้มอยู่   และจะขมวดเป็นปมไว้เพื่อไม่ให้ไปปะปนกับตัวนำไฟฟ้าที่จะต่อเข้ากับมิเตอร์และตัวนำเปลือยนี้จะทำหน้าที่เป็นสายนิวตรอลสายเคเบิลรับไฟเข้าแบบนี้นิยมใช้กันมาก  และไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษใด    ช่วยในการติดตั้ง    ชิ้นส่วนบางอย่างที่ใช้ติดตั้งสายเคเบิลรับไฟเข้า   ซึ่งได้แก่ฝาครอบท่อซึ่งต้องมีรูปลักษณะสำหรับสายเคเบิลรับไฟเข้า   ตัวซีลล์เพลตใช้เป็นฝาครอบปิดสายเคเบิลทางเข้าของสายเข้าสู่อาคาร   ค้อกกิ้งใช้สำหรับทำให้ซีลล์เพลตกันน้ำรั่วซึมได้  ส่วนหัวต่อสายเคเบิลเป็นตัวเชื่อมต่อที่กันน้ำซึมได้ที่ตอนบนของมิเตอร์  และสุดท้ายก็คือที่จับรั้งสายเคเบิล  ใช้ทำหน้าที่จับยึดสายเคเบิลแสดงให้เห็นว่าการติดตั้งสายเคเบิลและอุปกรณ์การรับไฟเข้าด้วยสายเคเบิลอย่างสมบูรณ์

การรับไฟจากเสา
                     การโยงสายรับไฟจากเสาเป็นการเดินสายลอยในอากาศของการไฟฟ้าโยงไปสู่อาคารของผู้ใช้ไฟ   ถ้าสายไฟอยู่หน้ามิเตอร์   การไฟฟ้าจะเป็นผู้ดูแลรักษาและเป็นเจ้าของโดยตรง   เจ้าของบ้านจะต้องปฏิบัติการเดินสายให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์เกี่ยวกับตำแหน่งและระดับความสูงของการติดตั้งโยงสายไฟด้วย  การโยงสายไฟเข้าบ้านให้ระยะห่างที่สัมพันธ์กับระเบียง  หน้าต่าง  หรือท่อรับสายไฟ

การฝังสาย
                     การฝังสายครอบคลุมถึงการเดินสายไฟใต้ดินไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟด้วย   โดยพื้นฐานทั่วไปการฝังสายจะมีอยู่ด้วยกัน   4  แบบคือ
1.     การเดินสายไฟจากท่อพักสายขนาดใหญ่ของการไฟฟ้าตามท้องถนนถึงแผงรับไฟ
2.     การเดินสายไฟจากท่อพักสายขนนาดเล็กของการไฟฟ้าตามทางเดินเท้าถึงแผงรับไฟ
3.     การเดินสายไฟจากเสาไฟฟ้า  ถึงแผงรับไฟ
4.     การเดินสายไฟจากฐานตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าถึงแผงรับไฟ
           
                    สำหรับแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่อยู่ในท่อพักสายขนาดใหญ่และขนาดล็กในบ้านเรานั้นยังไม่นิยมใช้เพราะต้องลงทุนสูง  นอกจากนั้นยังมีความชื้นในอากาศสูงมากเพราะเป็นที่ลุ่ม  เป็นปัญหาสำคัญของการเดินสายเคเบิลภายในท่อที่ฝังใต้ดินซึ่งต้องใช้ผู้ชำนาญงาน




ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ

 

                      ในทุกวันนี้มีคนนิยมใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำกันมากขึ้น  เพราะให้ความประหยัดเนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าน้อย   ระบบไฟฟ้าแรงดันต่อในบ้านจะมีขนาดแรงดันต่ำกว่า  30    โวลด์  เช่น  กริ่งประตู  เครื่องติดต่อภายใน  ระบบความปลอดภัย  เป็นที่นิยมใช้ในงานเหล่านี้เพราะให้ความปลอดภัยและประหยัดมากกว่าระบบไฟฟ้าแรงดันมาตรฐาน  ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นเพราะแรงดันไฟฟ้าต่ำจะมีอันตรายในการถูกไฟดูดลดลงและให้ความประหยัดมากกว่าเพราะเมื่อมีแรงดันต่ำ  สายไฟฟ้าที่ใช้ก็มีขนาดเล็กลงราคาที่ถูกลง   ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำยังติดตั้งได้ง่ายและไม่ต้องใช้ระบบป้อนกันอย่างมากนัก                   

ระบบสัญญาณ
                        กระดิ่งหรือออดไฟฟ้า        ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำที่ง่ายที่สุดได้แก่    ระบบของกระดิ่งหรือออดไฟฟ้า  ประกอบด้วยหม้อแปลงลดแรงดัน  สวติช์กดและกระดิ่งหรือออดไฟฟ้า   การทำงานของระบบนี้เมื่อกดสวิตช์จะทำให้ไฟฟ้าครบวงจร  กระแสไฟฟ้าก็ไหลผ่านกระดิ่งหรือออดนานเท่าที่ยังกดสวิตช์อยู่   เมื่อปล่อยสวิตช์วงจรไฟฟ้าก็จะขาดระบบไฟฟ้าแบบนี้จัดว่าเป็นเครื่องส่งสัญญาณแบบง่าย

                       ระบบความปลอดภัยที่ใช้วงจรปิด        สำหรับระบบที่ทำงานแบบวงจรปิดนั้นมักถูกนำไปใช้ในระบบความปลอดภัย   เพราะว่าวงจรปิดเป็นวงจรอนุกรมซึ่งจะยังคงครบวงจรอยู่ตลอดเวลาถ้าหากว่าไม่มีตัวตรวจจับตัวใดตัวหนึ่งในวงจรถูกกระตุ้นให้ทำงานหรือสายไฟฟ้าของวงจรถูกตัด
                        หลักการทำงานของระบบวงจรปิด   ตัวตรวจจับทุกตัวต่ออนุกรมกับขดลวดรีเลย์   ตราบใดที่ตัวตรวจจับทั้งหมดยังคงอยู่ในตำแหน่งปิดวงจรอยู่กระแสก็ไหลผ่านตัวตรวจจับและรีเลย์  ซึ่งทำให้รีเลย์ดูดให้จุดสัมผัสเปิดวงจรของตัวเตือนภัยเอาไว้  ถ้าสายของวงจรตรวจจับถูกตัดหรือตัวตรวจจับถูกกระตุ้นให้ทำงาน  รีเลย์ก็ปล่อยจุดสัมผัสก็จะปิดวงจรและตัวเตือนภัยก็ถูกกระตุ้นให้ทำงาน    แม้ว่าวงจรนี้จะมีการทำงานง่าย     ก็ตาม  แต่ก็ทำให้ผู้จะบุกรุกหรือผู้ร้ายยากที่จะเล็ดรอดเข้าไปได้

                      ระบบเตือนไฟไหม้วงจนเปิด       ระบบนี้มักจะใช้ระบบการตรวจจับไฟไหม้โดยจุดสัมผัสที่เปิดวงจรต่อขนานกันและไปต่ออนุกรมกับขดลวดของรีเลย์   ระบบวงจรเปิดเ ป็นระบบเตือนไฟฟ้านี้เพราะเป็นระบบที่มีโอกาสเกิดการทำงานผิดพลาดมาก
                     หลักการทำงานของระบบวงเปิด   ตัวตรวจจับยังคงอยู่ในตำแหน่งเปิดวงจรอยู่ก็ไม่มีกระแสไหลผ่านรีเลย์และวงจรเตือนภัยก็ยังไม่ทำงาน    ตัวตรวจจับตัวใดหรือหลายตัวถูกกระตุ้นปิดกระแสก็ไหลผ่านรีเลย์ได้และระบบเตือนภัยก็ครบวงจรทำให้ระบบเตือนภัยทำงาน   รีเลย์ที่ใช้ในวงจรตรวจจับอาจใช้กับไฟฟ้าแรงดันต่ำได้ในขณะที่วงจรเตือนภัยอาจจะใช้ภับระดับแรงดันมาตรฐาน


ส่วนควบคุมระยะไกลแบบใช้สาย
                   เป็นวิธีควบคุมเครื่องมือซึ่งใช้แรงดันไฟฟ้าระดับมาตรฐาน  โดยส่วนควยคุมนี้ใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำ    คือใช้รีเลย์และสวิตช์ซึ่งใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำ    ระบบควบคุมระยะไกลเบื้องต้นแบบใช้สายเพื่อใช้ควบคุมหลอดไฟฟ้า  และเมื่อสังเกตดูเห็นว่าระบบประกอบด้วยหม้อแปลงไฟฟ้า  สวิตช์  และรีเลย์   ระบบนี้เป็นระยยที่เป็นที่นิยมใช้กัน  เพราะหม้อแปลงไฟฟ้า  สวิตช์  และรีเลย์  สามารถต่อเข้าด้วยกันกับแรงดันไฟฟ้าขนาดต่ำ    ทำให้ใช้สายไฟเส้นเล็กได้  การใช้สายไฟขนาดเล็กทำให้มีราคาถูกและง่ายต่อการเดินสาย
                        การทำงานของรีเลย์        หัวใจของระบบการควบคุมระยะไกลใช้สายคือ    รีเลย์ของระบบมีขดลวด  2  ชุดและมีจุดต่อร่วมกันการใช้รีเลย์แบบนี้ทำให้แกนที่เคลื่อนที่สามารถเคลื่อนที่เข้าหรือออกได้โดยไม่ต้องใช้สปริง
                      สวิตช์ควบคุมระยะไกล       ประโยชน์ที่เด่นของระบบนี้อยู่ที่การใช้สวิตช์ธรรมดาตัวหนึ่งแบบขั้วเดียวโยกสองทาง  กดสัมผัสชั่วขณะ  สวิตช์ปกติเปิดหน้าสัมผัส   ทำหน้าที่แทนสวิตช์ขั้วเดียว  สองขั้ว  สามทางหรือสี่ทาง   ซึ่งใช้ในการเดินสายทั่ว    ไป   สวิตช์แต่ละตัวสามารถควบคุมรีเลย์ได้  สามารถควบคุมเครื่องมือได้หลาย     แห่ง  สวิตช์ควบคุมอาจจะมีหลอดไพล๊อตอยู่ด้วยหรือไม่มีก็ได้
                     หม้อแปลงไฟฟ้า            ที่ใช้ในระบบควบคุมระยะไกล  จะแปลงแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานลง   เพื่อจ่ายกำลังให้กับวงจรสวิตช์และรีเลย์    หม้อแปลงโดยทั่วไปจะติดอยู่ในกล่องต่อสายแล้วยึดหม้อแปลงให้แน่น  และต่อสายไฟฟ้าเข้าทางข้างใต้  การติดตั้งควรเข้าไปตรวจสอบแก้ไขได้และไม่ควรอยู่ใกล้ส่วนที่มีความร้อนมากเกินไป 
                  การเดินสายที่ใช้กับระบบควบคุมระยะไกล       สามารถทำได้ง่ายโดยใช้เทคนิคที่ใช้กับการเดินสายเคเบิลเปลือกอโลหะ    สายที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าต่ำมีน้ำหนักเบากว่าและง่ายต่อการเดินมากกว่า
                  การปรับแต่งและเข้าสายของระบบควบคุมระยะไกล    เมื่อเดินสายต่าง    ติดตั้งรีเลย์เข้าที่และตอกยึดแผ่นผนังแล้วก็ถึงการต่อสายไฟฟ้าเข้าอุปกรณ์เหล่านี้     การติดสวิตช์เข้ากับฝาปิดเพื่อให้ใส่เข้าช่องผนังได้พอดี  และต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกันด้วยจุ๊บต่อสาย  แล้วติดแผงหน้าปัดเข้าที่เป็นอันเรียบร้อย




การเดินสายเพิ่มเติมภายในบ้านและการทดสอบวงจรไฟฟ้า

 

                         การทดสอบส่วนบกพร่องภายในวงจรไฟฟ้า   และการต่อวงจรไฟฟ้าเพิ่มเติมตามความต้องการจะทำให้สามารถซ่อมแซมและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ไม่ยากนักภายในบ้านได้    และจะได้ศึกษาโครงสร้างบ้านไม้เพื่อจะทำให้ทราบถึงวิธีการติดตั้งกล่องติดอุปกรณ์ไฟฟ้าและวิธีใช้เทปดึงสายไฟ   เพื่อเดินสายไฟผ่านเพดานหรือผนัง   วิธีทดสอบข้อบกพร่องของอุปกรณ์ไฟฟ้า  และวิธีต่อวงจรเพิ่มเติมเข้าในวงจรไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม

โครงสร้างบ้านไม้
                    การเดินสายภายในบ้าน   ก่อนที่จะทำการเดินสายต้องทราบว่าบ้านนั้นมีโครงสร้างอย่างไร   และมีอะไรที่เป็นอุปสรรคบ้างในการเดินสายเพื่อที่จะได้ทำการหลีกเลี่ยงและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเดินสายไฟ  เช่น  ถ้าเป็นบ้านโบราณมักจะพบคร่าวซอยจะทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการเดินสายผ่านเข้าในผนัง   ดังนั้นเมื่อเดินสายไฟพบคร่าวซอยต้องทำการเซาะเป็นร่องหรือใช้สว่านไฟฟ้าเจาะทันที

การติดตั้งกล่องต่อสาย
                        การกำหนดที่สำหรับเจาะรู         ถ้าต้องการที่จะเพิ่มกล่องสำหรับการต่อสายใหม่  ก็จะต้องมีการเจาะรูที่ผนังหรือที่เพดานให้ตรงจุด   เลือกที่ที่จะเจาะให้แน่นอนเพื่อหลักเลี่ยงการเจาะรูผิดแล้วทำให้ต้องเจาะใหม่    วิธีการที่จะหาพื้นที่เพื่อเจาะรูเพื่อตรวจหาสิ่งที่ขวางโดยการใช้ลวดหักให้มีรัศมีโตกว่ารูที่เราเจาะให้มากแล้วใส่เข้าไปในรูที่เจาะด้วยสว่านก่อน  จากนั้นก็หมุนลวดไปรอบ     ถ้าลวดหมุนได้คล่องไม่ติดอะไรก็ให้ดำเนินการขั้นต่อไปคือ  วาดขนาดหรือรูปร่างของกล่องเพื่อทำการตัดต่อไป
                       การตัดช่องสำหรับกล่องต่อสาย     ต้องกำหนดพื้นที่ให้เหมะสมกับขนาดของกล่องที่จะนำไปติดตั้งจากนั้นก็วาดรูปของกล่องตรงบริเวณที่ได้วางแผนจะเจาะ  และใช้สว่านไฟฟ้าเจาะตรงมุมทั้งสี่ของรูปที่วาดไว้แล้วใช้เลื่อยมือสำหรับเจาะรูสำหรับผนังที่ทำด้วยไม้หรือกระเบื้อกระดาษและยิปซั่ม
                       การติดตั้งกล่อง         เมื่อเจ้าของบ้านต้องการที่จะปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้านให้ทันสมัยขึ้น    โรงงานผู้ผลิตทราบถึงความต้องการของเจ้าของบ้านดี  และบริษัทเหล่านี้ก็ทราบถึงปัญหาความไม่สะดวกในการติดตั้งกล่องที่เพดานหรือผนัง  ก่อนอื่นจะต้องเจาะเพดานให้เป็นช่องที่พอดีกับกล่องและยึดสายพร้อมกล่องให้แน่น  และควรคำนึงถึงเรื่องของขนาดและน้ำหนักของตัวยึด  
                     การเดินสายไฟฟ้า       การเดินสายผ่านเพดานและผนังมีความจำเป็นมากในการนำเทปดึงสายมาใช้อย่างเหมาะสม  จะทำให้สามารถเดินสายผ่านสถานที่ซึ่งยากแก่การเดินสายได้
                     การใช้รางเหล็กเดินสายไฟ     ในขณะที่ด้านนอกฉาบปูนและผนังก็เป็นอิฐถือปูน   เราไม่สามารถทำการเดินสายไฟโดยวิธีร้อยสายได้   จึงต้องใช้รางเหล็กเพื่อทำการเดินสายาภายนอก  

การทดสอบวงจรไฟฟ้า
                     เราสามารถทดสอบโดยให้มีความประหยัดและปลอดภัย    เครื่องทดสองที่ทำด้วยหลอดนีออน  เครื่องมือทดสอบชนิดนี้มีขายตามร้ายขายเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งราคาไม่แพง    ปัญหาทางไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่มักจะเกิดขึ้นได้แก่มีแรงดันไฟฟ้าหรือไม่มีเท่านั้น


วิธีการตรวจสอบเต้าเสียบที่ชำรุด
                    เราสามารถทดสอบว่าเต้าเสียบมีแรงดันไฟฟ้าจ่ายออกมาหรือไม่     ในขั้นแรกโดยสายตัวนำทั้งสองของหลอดนีออนจะต้องเสียบในช่องของเต้าเสียบให้แน่นเพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี  ถ้าหลอดนีออนไม่ติดจะต้องถอดฝาครอบของเต้าเสียบออกและทำการตรวจสอบในขั้นต่อไปคือการวัดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วต่อสายของเต้าเสียบ   ถ้าหากว่ามีแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วต่อสายแต่ไม่มีที่ช่องของเต้าเสียบแสดงว่าเต้าเสียบชำรุดควรเปลี่ยนใหม่    หากไม่มีแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วต่อสายและช่องของเต้าเสียบแสดงว่าว่าเสียที่ระบบป้องกัน   ถ้าในกรณีที่ตรวจพบว่าชำรุดเนื่องจากสายตัวนำก่อนเข้าเต้าเสียบให้ตรวจสอบที่จุดต่อสายแต่ละจุดทั้งวงจร

วิธีตรวจสอบสวิตช์ที่ชำรุด
                     ถ้าเราอยากจะทดสอบว่าสวิตช์นั้นชำรุดหรือไม่  เราจะต้องทำการทดสอบด้วย  2  ขั้นตอนดังนี้คือ   เมื่อแรงดันไฟฟ้าไม่ผ่านสวิตช์คือมาหยุดตรงขั้วต่อสาย  และเมื่อแรงดันผ่านสวิตช์    และเมื่อสวิตช์ทำงานถูกต้องจะปรากฏแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วต่อด้านล่างของสวิตช์  สวิตช์จะอยู่ในลักษณะตำแหน่ง  “เปิดวงจร”    แต่เมื่อสวิตช์ทำงานถูกต้องจะปรากฏแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วต่อด้านบนของสวิตช์   ลักษณะนี้สวิตช์จะอยู่ในตำแหน่ง  “ปิดวงจร”     ถ้าไม่มีแรงดันไฟฟ้าที่แต่ละขั้วของสวิตช์แสดงว่า  เกิดการเสียหายที่ระบบป้องกัน  หรือสายตัวนำก่อนเข้าสวิตช์    ถ้าตรวจพบว่าชำรุดเนื่องจากสายตัวนำก่อนเข้าสวิตช์  ให้ตรวจสอบที่จุดต่อสายแต่ละจุดทั้งวงจร
หมายเหตุ         ก่อนเริ่มทำการทดสอบสวิตช์ที่สงสัยว่าชำรุด  จะต้องหยุดป้อนแรงดันไฟฟ้า   เปิดฝาครอบออกพร้อมกับนำ     สวิตช์ออกมาจากกล่องให้ห่างพอสมควร    เพื่อไม่ให้สายและขั้วต่อของสวิตช์สัมผัสสกับกล่อง   จากนั้นก็ค่อยป้อนแรงดันไฟฟ้าเข้ามาพร้อมกับเริ่มทำการทดสอบ

วิธีการตรวจสอบสายที่มีไฟ
                   ในบางครั้งเราก็จำเป็นที่จะต้องทราบว่าสายไฟเส้นไหนที่เป็นตัวจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับวงจร  และสายเส้นไหนที่จ่ายเพื่อป้อนแรงดันให้กับวงจรอื่น      เราสามารถใช้หลอดนีออนทำการตรวจสอบสายไฟทีละคู่ถ้ามีไฟหลอดนีออนก็จะสว่าง

วิธีการทดสอบขั้วต่อสายดิน
              การทดสอบนี้เพื่อให้แน่ใจว่าเต้าเสียบแต่ละตัวมีระบบสายดิน    โดยที่สายเส้นหนึ่งของหลอดนีออนจะเสียบอยู่ที่ขั้วสายดินตลอดเวลา     ส่วนสายอีกเส้นหนึ่งจะเสียบเข้าที่ช่องของเต้าเสียบแต่ละช่อง   หากเต้าเสียบมีระบบสายดินถูกต้องแล้วหลอดนีออนจะสว่างเพียงครั้งเดียว   หากหลอดนีออนไม่สว่างเลยแสดงว่าเต้าเสียบไม่มีระบบสายดิน

วิธีการทดสอบเซอร์กิตเบรกเกอร์และฟิวส์ในวงจร
                       เซอร์กิตเบรกเกอร์         เราสามารถทำการทดสอบโดยใช้หลอดนีออน   โดยสายทั้งสองของหลอดนีออกจะต่อเข้าที่จุดต่อสายนิวตรอล  และขั้วต่อสายแยกวงจรของเซอร์กิตเบรกเกอร์   ถ้าหากเซอร์กิตเบรกเกอร์อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้  หลอดนีออนก็จะสว่าง   เมื่อเซอร์กิตเบรกเกอร์อยู่ในตำแหน่งปิดวงจร  และหลอดนีออนจะดับเมื่อเซอร์กิตเบรกเกอร์อยู่ในตำแหน่งเปิดวงจร   และถ้าหากว่าหลอดนีออนสว่างไม่ว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์จะอยู่ในตำแหน่งใดแสดงว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์เกิดการลัดวงจร   หรือหลอดนีออนดับตลอดเวลาแสดงว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์เกิดการเปิดวงจร  สมควรที่จะต้องเปลี่ยนใหม่

                   ฟิวส์         เราสามารถใช้หลอดนีออนทำการตรวจสอบเมื่อเราสงสัยว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ได้เช่นกัน    โดยทำการตรวจสอบตามขั้น   4   ขั้นตอนตามนี้
1.     ต้องพิจารณาว่ามีแรงดันไฟฟ้าปรากฏอยู่ที่ด้านบนของฟิวส์ซึ่งเป็นทางเข้า   หลอดนีออนก็จะสว่าง
2.     พิจารณาว่าแรงดันไฟฟ้าได้ผ่านฟิวส์มาแล้ว   ถ้าหากหลอดนีออนไม่สว่าง  แสดงว่าฟิวส์อันใดอันหนึ่งขาดอย่างแน่นอน
3.     ตรวจฟิวส์ด้านซ้ายมือ  เมื่อมีแรงดันไฟฟ้าถ้าหลอดนีออนสว่าง   แสดงว่าฟิวส์ดีแต่ถ้าหลอดนีออนไม่สว่าง  แสดงว่าฟิวส์ขาด  ให้ตัดวงจรไฟฟ้าออกและทำการเปลี่ยนฟิวส์ใหม่
4.     ตรวจฟิวส์ด้านขวามือ    เมื่อมีแรงดันไฟฟ้า  ถ้าฟิวส์ดีหลอดนีออนก็จะติด  แตถ้าหลอดนีออนไม่ติดแสดงว่าฟิวส์ขาดก็ให้ตัดวงจรไฟฟ้าออกและทำการเปลี่ยนฟิวส์ใหม่
หมายเหตุ         อย่าทำการเปลี่ยนฟิวส์จนกว่าจะได้ตัดวงจรไฟฟ้าออกไปแล้ว   และควรจะใช้ที่ดึงฟิวส์  เมื่อต้องการเอาฟิวส์
                        ออก
                 
การเพิ่มตู้เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับจ่ายไฟ
                     การเพิ่มตู้เซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยเข้าไปในวงจร     เพื่อจะได้จ่ายโหลดได้มากขึ้น   ตู้เซอร์กิตเบรกเกอร์ใหญ่จะต้องมีขนาดเพียงพอกับตู้เซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย  ซึ่งมีขนาด  30,  50,  และ  60  แอมแปร์  เซอร์กิตเบรกเกอร์ใหญ่จะป้องกันตู้เซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยจากการที่ใช้โหลดเกิน  และให้ตรวจสอบคุณลักษณะของเซอร์กิตเบรกเกอร์จากบริษัทผู้ผลิตเพื่อจะได้พิจารณาขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่จะใช้ในเซอร์กิตเบรกเกอร์ใหญ่

                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น