กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยกับ กล้องวงจรปิด

ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยกับ กล้องวงจรปิด
 ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพรับพลังงานแสงอาทิตย์ในเกณฑ์ที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น    ในการรับแสงประเทศไทยสามารถรับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี   โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะได้รับพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยวันละ  4.7  -  5.5  กิโลวัตต์/ชั่วโมง/ตารางเมตร  โดยทั่วไปศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์จะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ตกกระทบ  ที่เรียกว่า  “ค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์”  ที่มีหน่วยพลังงานเป็นเมกะจูล/ตารางเมตร   ผลจากมุมตกกระทบของแสงอาทิตย์  จะเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น  สำหรับการเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่เป็นผลมาจากสภาพทางอุตุนิยมวิทยา  โดยมีเมฆเป็นตัวแปรที่สำคัญ    จากข้อมูลดาวเทียมประกอบการตรวจวัดภาคพื้นดินของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานพบว่า   บริเวณที่มีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์สูงแผ่เป็นบริเวณกว้างทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุดร  รวมทั้งบางส่วนของทางภาคกลาง    เมื่อทำการเฉลี่ยความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ทั่วประเทศจากทุกพื้นที่ค่ารายวันเฉลี่ยต่อปีจะได้เท่ากับ  18.0  เมกะจูล/ตารางเมตร/วัน  จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง
นโยบายการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน  “แสงอาทิตย์”  
  แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับปรับปรุงใหม่  เป็นแผนระยะยาว  22  ปี  มีแนวทางในการพัฒนาตามแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ให้สอดคล้องกับแนวโน้มทิศทางพลังงานโลก  ของทบวงพลังงาน   โดยให้คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญเรื่องการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศ
  ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น  35,000  เมกะวัตต์  ซึ่งเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่จะใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รองลงมาเป็นถ่านหิน  พลังงานน้ำ  และพลังงานทดแทน   โดยในอนาคตรัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการนำพลังงานทดแทนมาใช้ผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้นเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
รายละเอียดการสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
 การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นทางเลือกที่สดใส   ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกได้กำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและทางเลือก   ได้มีการตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่  3,800  เมกะวัตต์  ประกอบไปด้วย
-       โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน
-       โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา
-       โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร
พัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
   โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน  ถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รุ่นบุกเบิกที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มองเห็นเป็นรูปธรรมที่สุด  ต่อมาได้มีนโยบายส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา   โดยแบ่งเป็นบ้านอยู่อาศัย  และอาคารธุรกิจ/โรงงาน    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เจ้าของอาคารที่พักอาศัย / โรงงาน  ได้เป็นเจ้าของโรงผลิตไฟฟ้าด้วยตนเอง  และเพื่อนำมาใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าประเภท Peaking  Plant   ซึ่งจะช่วยลดการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าของภาครัฐและยังช่วยลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดระหว่างวันอีกด้วย  กพช.  ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก  “โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน”    และต่อมา  กพช.  ได้มีมติให้ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์   แบบติดตั้งในพื้นที่ชุมชน   เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรการเกษตร
ทิศทางการสนับสนุนอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
 การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย   ในส่วนของราคาการรับซื้อไฟฟ้าได้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง  และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)  ศึกษาเปลี่ยนรูปแบบการสนับสนุนจาก  Adder เป็น  Feed – in  Tariff  
Feed – in  Tariff  หรือ   FiT    มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ   เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน   โดย   FiT  จะอยู่ในรูปแบบอัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอดอายุโครงการ  โดยไม่เปลี่ยนแปลงตามค่าไฟฟ้าฐานและค่า  Ft  จะมีราคาที่ชัดเจนและเกิดความเป็นธรรม  และจะสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน    โดยมีระยะเวลาสนับสนุนตามแต่ละประเภทเทคโนโลยี  และกระทรวงพลังงานจะมีการทบทวนต้นทุน  และปรับปรุงอัตรา  FiT  ให้ทันสมัยสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่แท้จริง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น