กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ความรู้พื้นฐานเรื่องการรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้บริหาร

ความรู้พื้นฐานเรื่องการรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้บริหาร

CCTV กล้องวงจรปิด  ความจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย


เหตุผลที่ผู้บริหารจะต้องรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัยนั้นมีอยู่หลายข้อ แต่จะยกมาเป็นตัวอย่างสัก 2 - 3 ข้อดังนี้

ในปัจจุบันนี้อาชญากรรมต่อธุรกิจเพิ่มขึ้นไปทั่วโลก มีตั้งแต่แบบไม่รุนแรง เช่น ย่องเบา ไปจนถึงการกระทำที่รุนแรงเช่น การปล้นธนาคาร หรือการกระทำที่ป่าเถื่อนของพวกก่อการร้าย เช่น การวางระเบิด หรืออาชญากรรมที่เกิดจากบุคคลภายในองค์กร เช่น การฉ้อโกง และอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับสูง ซึ่งในบ้านเมืองเราก็มีข่าวให้เห็น เช่น การทุจริตเกี่ยวกับธนาคารหลายคดี

กรณีธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ เป็นต้น ยังมีอาชญากรรมอีกหลายเรื่องที่ทำความเสียหายให้องค์กรธุรกิจ ซึ่งเป็นภารกิจอันหนักของผู้บริหารที่จะต้องเข้ามาจัดการแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ผู้บริหารจะต้องรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย

การรักษาความปลอดภัยเป็นงานที่ต้องใช้เงินจำนวนมากโดยมองไม่เห็นผลผลิตโดยตรง โดยทั่วไปจะต้องมีเงินเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงธุรกิจให้ได้ผลกำไรเพิ่มขึ้น และนำไปปรับปรุงการผลิต รวมถึงการขยายตลาดและปัจจัยในการดำเนินธุรกิจอื่นๆ ปัญหาที่สำคัญที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณาในที่นี้ก็คือ “อะไรจะง่ายกว่าและคุ้มค่ามากกว่าระหว่างการป้องกันกับความสูญเสีย และรวมถึงการแก้ไขชดเชยความเสียหายจากที่ถูกขโมยไปแล้ว” แน่นอนว่าจะต้องตอบว่า “การป้องกันดีกว่าแก้”

 แต่จากการรักษาความปลอดภัยไม่มีผลเป็นรูปธรรมที่สามารถวัดได้โดยตรงจึงเป็นการยากที่จะกำหนดได้ว่าจะต้องจ่ายเพื่อการรักษาความปลอดภัยเท่าใด จึงเป็นการรักษาความปลอดภัยที่คุ้มค่าหรือว่าเหมาะสม จึงเป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งของความจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย

งานรักษาความปลอดภัยขององค์การเป็นเรื่องที่องค์การหรือผู้บริหารองค์การต้องรับผิดชอบ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการรักษาความปลอดภัยนั้นเหมือนไม่ยากเพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องสามัญสำนึก แต่ในเรื่องของการปฏิบัติต้องระมัดระวังให้ดี ถ้าใช้สามัญสำนึกไม่ตรงต่อความเป็นจริงก็อาจจะทำให้เกิดการผิดพลาดได้

การรักษาความปลอดดภัยเป็นงานบริหารซึ่งต่างกับการบริหารงานตามปกติ เราจะมีปัจจัยการบริหารตามปกติหลายเรื่องเช่น การกำหนดวัตถุประสงค์ การวางแผน การจัดองค์การ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือให้ได้ผลตามที่ต้องการ ผู้บริหารจึงต้องเข้าใจเรื่องการรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี ไม่ใช่โยนเรื่องความปลอดภัยให้ยาม หรือตำรวจ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้วางแผนให้หน่วยรักษาความปลอดภัยและประสานกับตำรวจให้ถูกต้อง ผู้บริหารจึงต้องรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย

จิตสำนึกในการรักษาความปลอดภัย

จิตสำนึก เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้การบริหารและการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยให้ได้ผล ได้มีนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาคนสำคัญของเมืองไทยท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า จะพัฒนาอะไรก็พัฒนาไปเถิดแต่อย่าลืมพัฒนาคนและพัฒนาจิตสึกนึกของคนไปด้วย การรักษาความปลอดภัยก็เช่นเดียวกัน การจะบริหารให้ได้ผลนอกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบ และผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ
แต่ไม่เห็นประโยชน์และคุณค่าไม่คิดที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ถูกต้อง ก็ถือว่าไม่มีจิตสำนึกที่ถูกต้องแล้วความรู้ความเข้าใจที่มีก็จะเปล่าประโยชน์ แต่ในทางราชการว่าด้วยระเบียบของการรักษาความปลอดภัยได้ให้คำจำกัดความ “จิตสำนึกในการรักษาความปลอดภัย” หมายถึง ภาวะจิตใจที่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยและระวังอันตรายที่จะมีผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัย

ความหมายของคำว่าการรักษาความปลอดภัย “การรักษาความปลอดภัย” หรือ “ความปลอดดภัย” “ความมั่นคง” ได้ถูกนำไปใช้ในหลายเรื่อง ทำให้มีความหมาย มีขอบเขตที่จะต้องมีการพิจารณาและมีมาตรฐานที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติในรายละเอียดต่าง ๆ ระดับชาติ จะมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยในเอกราชประชาธิปไตยหรือ ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่มาจากภายนอกประเทศเช่น ปัญหาการรุกรานจากต่างประเทศ ปัญหาชายแดน หรือมาจากภายในประเทศเช่น การแทรกซึมบ่อนทำลายจากฝ่ายตรงกันข้าม โดยมีกองอำนวยการรักษาความปลอดภัยกลาง มีหน้าที่ต่อต้านการแทรกซึมและบ่อนทำลายจากฝ่ายตรงข้ามโดยใช้การพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลัก และมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในดำเนินการใช้กำลังในการปราบปราม

ระดับหน่วยราชการกำหนดให้ส่วนราชการทั้งหลายมีหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยป้องกันความลับ ทรัพย์สิน และข้าราชการในส่วนราชการของตนให้พ้นจากการรั่วไหลของความลับ การจารกรรม การก่อวินาศกรรม และการกระทำอื่นใดที่มีผลกระทบความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติโดยมีสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนและศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายทหารโดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ให้คำแนะนำช่วยเหลืองานต่างๆ ในสายงานของตน พร้อมทั้งพิจารณาแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อให้ระบบการรักษาความปลอดภัยหน่วยงานได้ผลสมบูรณ์อยู่เสมอ

ในทางราชการ การรักษาความปลอดภัยในทางทหาร โดยทั่วไปจะหมายถึง การระวังป้องกันหน่วยงานให้พ้นจากการกระทำให้เกิดความเสียหายเช่น การป้องกันการกระทำในทางลับจากข้าศึก หรือฝ่ายตรงข้ามที่จะกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของหน่วยงาน ซึ่งเป็นกรอบเล็กลงมาจากระดับชาติ

ในธุรกิจเอกชน บริษัท ห้างร้านต่างๆ การรักษาความปลอดภัยมักจะเพ่งเล็งถึงการป้องกันภัยหรือป้องกันความเสียหายที่กระทบต่อผลประโยชน์ของธุรกิจ องค์การของตน เช่น การทุจริตของพนักงาน การโจรกรรม อัคคีภัย และอุบัติเหตุที่ทำให้เสียหายต่างๆ

เรื่องความปลอดภัยส่วนตัวของประชาชน การป้องกันภัยจากอาชญากรรมโจรผู้ร้ายลักขโมย และยังมีอุบัติเหตุต่างๆ เช่น อัคคีภัย อันตรายจากการใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้องอุบัติเหตุจากการจราจรเป็นต้น จะมีคณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบรณรงค์เผยแพร่ความรู้ในการป้องกัน และการป้องกันอุบัติเหตุอุบัติภัยนี้ ก็ใช้คำว่า การรักษาความปลอดภัยเหมือนกัน

เรื่องอื่นๆ “การรักษาความปลอดภัย” มีการนำไปใช้หลายอย่างด้วยกัน คงจะต้องมาจำกัดความหมายและขอบเขตของ “ การรักษาความปลอดภัย “ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติซึ่งเป็นเอกสารของทางราชการ ซึ่งนำมาอ้างอิงได้เพราะเท่าที่ทราบยังไม่เคยเห็นตำราเรื่องการรักษาความปลอดภัย ที่ตีพิมพ์มาก่อนเลยในระเบียบดังกล่าวได้ให้คำจำกัดความดังนี้

“ การรักษาความปลอดภัย “ หมายถึง บรรดามาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อพิทักษ์รักษา คุ้มครองป้องกันสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ ข้าราชการ ส่วนราชการ และทรัพย์สินของแผ่นดิน ให้พ้นจากการรั่วไหล การจารกรรม การก่อวินาศกรรม การบ่อนทำลาย หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของคำไว้ดังนี้


“ภัย“ แปลว่า สิ่งทีน่ากลัว อันตราย

“ความปลอดภัย“ แปลว่า ความพ้นภัย

“รักษา“ แปลว่า ดูแล ป้องกัน สงวนไว้ เยียวยา


ดังนั้น “การรักษาความปลอดภัย คือ การระวัง ดูแล ป้องกันให้พ้นไปจากภัย หรือ ความเสียหาย

ภัยที่คุกคามต่อความปลอดภัย

ภัย หมายถึง การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ภัยนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด หลายรูปแบบ เช่น การลักขโมย ทุจริต ไฟไหม้ แผ่นดินไหว น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นภัยทั้งสิ้น เพราะต่างก็ทำให้เกิดความเสียหายให้แก่องค์การด้วยกันทั้งนั้น ภัยต่างๆ นั้นสามารถสรุปลงได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทดังนี้คือ

- ภัยจากธรรมชาติ

- ภัยจากการกระทำของคน

ภัยจากธรรมชาติ ได้แก่ ภัยจากน้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยประเภทนี้ไม่มีคนหรือมาตรการใดป้องกัน หรือห้ามไม่ให้เกิดได้ เพราะภัยจากธรรมชาติคนเราป้องกันไม่ให้เกิดไม่ได้ จะทำได้แค่เพียงวางมาตรการบรรเทาความเสียหายเมื่อภัยเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น

ภัยจากการกระทำของคน ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกได้อีกเป็น 2 ประเภท

- ภัยจากการกระทำของคนโดยไม่เจตนา หรือไม่ตั้งใจ ส่วนมากจะเกิดจากความประมาทเลิ่นเล่อ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซุ่มซ่าม รู้ไม่จริง หรืออวดรู้จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ ภัยประเภทนี้มักมีลักษณะกระทำโดยเปิดเผย และไม่ได้ตั้งใจ เช่น ทิ้งก้นบุหรี่จนทำให้เกิดเพลิงไหม้ เปิดพัดลมแล้วลืมปิด ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดไฟไหม้ เป็นต้น การป้องกันภัยนี้จะเรียกว่า “การป้องกันอุบัติเหตุ” ภัยประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นภัยที่ห้ามไม่ให้เกิดยากเหมือนกับภัยธรรมชาติเช่นกัน จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่จะต้องวางแผนการควบคุมและวางมาตรการและคัดเลือกคนมาทำหน้าที่ให้ถี่ถ้วน และรวมถึงอบรมคนไม่ให้ ประมาท และต้องคอยสังเกตุและระงับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุด้วย

- ภัยจากการกระทำของคนโดยเจตนา หรือตั้งใจ การกระทำนี้จะมีความผิดทางอาญา ภัยประเภทนี้เป็นภัยสำคัญที่คุกคามองค์การ และหน่วยงานต่าง ๆ การป้องกันภัยนี้จะเรียกว่า การรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขต อาจจะเป็นคนภายนอกหรือภายในองค์การก็ได้ ผู้ที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยตรงก็จะต้องคอยสังเกตพฤติการณ์ เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ทำความเสียหายต่อองค์การเพื่อรายงานข่าวต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหาร เพื่อสั่งการเข้าระงับเหตุให้ทันไม่ให้เกิดความเสียหาย

- ภัยทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ ภัยจากคนกระทำโดยไม่ตั้งใจ คือ อุบัติภัย และภัยจากคนที่กระทำโดยตั้งใจ คือ อาชญากรรม มีผลทำให้เกิดความสูญเสียเหมือนกัน แต่เมื่อเรียกวิธีการป้องกันภัยเหล่านั้นว่า “การรักษาความปลอดภัย” เหมือนกันหมด ดังนั้น ทางราชการน่าจะมีการตกลงบัญญัติศัพท์ให้แน่นอนดังนี้

- การป้องกันภัยธรรมชาติ เรียกว่า การบรรเทาสาธารณภัย

- การป้องกันภัยจากคนกระทำโดยไม่ตั้งใจ เรียกว่า การป้องกันอุบัติภัย

- การป้องกันภัยจากคนกระทำโดยตั้งใจ เรียกว่า การรักษาความปลอดภัย

ในปัจจุบันมีการนำคำว่า“การป้องกันการสูญเสีย”มาใช้เป็นคำรวมสำหรับการป้องกันทั้ง 3 ประเภทโดยจับประเด็นที่ว่าภัยไม่ว่าจะเกิดจากอะไรโดยใคร ก็ทำให้เกิดสูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น

ความรู้เรื่องภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยตั้งใจและการป้องกัน


ภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยตั้งใจ มี 4 กลุ่ม คือ การโจรกรรม การจารกรรม การก่อวินาศกรรม และการบ่อนทำลาย

การโจรกรรม เป็นภัยที่รู้จักกันทั่วไปเป็นเรื่องธรรมดา แต่เป็นภัยที่ทำให้เกิดปัญหาแก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขององค์การมาก ลักษณะของภัยจากการโจรกรรม มีทั้งการกระทำที่รุนแรง เช่น ปล้นจี้ วิ่งราวทรัพย์ และการกระทำที่ไม่รุ่นแรง เช่น การยักยอก ฉ้อโกง ฯลฯ การโจรกรรมที่รุนแรงนั้นคนทั่วไปตื่นเต้นและสนใจมากกว่า แต่การโจรกรรมที่ไม่รุนแรงกลับทำความเสียหายที่คิดเป็นตัวเงินมากกว่า

การโจรกรรม เป็นภัยที่ทำความเสียหายให้แก่องค์การต่างๆ ทั้งเอกชนและทางราชการ แต่ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ก็ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าโจรกรรมเอาไว้ อาจเป็นเพราะไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติโดยตรง แต่เอาไปกล่าวไว้อีกแห่งหนึ่งในคำจำกัดความของการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ แสดงว่าการโจรกรรมก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ จะต้องให้ความสนใจเช่นเดียวกับภัยอื่นๆ จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงความหมายลักษณะของการโจรกรรม และวิธีรักษาความปลอดภัยขององค์การจากการโจรกรรมตามความเหมาะสม

นักวิชาการทางอาชญาวิทยา มีการกล่าวว่า การที่ลูกจ้างขโมยทรัพย์สินของนายจ้าง พนักงานโจรกรรมทรัพย์สิน หรือโกงหน่วยงานของตนเอง และการโจรกรรมอื่น ๆ อีกหลายประเภทนั้น มีเหตุจูงใจมากมายหลายอย่าง แต่ก็อาจจะสรุปเป็นสมการได้ดังนี้

ความต้องการ + การให้เหตุผล + โอกาสเปิด = การโจรกรรม

แรงผลักดันที่ทำให้บุคคลหนึ่งเกิดความต้องการเงินหรือทรัพย์สินทำให้เกิดการโจรกรรมนั้น มีการให้เหตุผลแก่ตัวเองในการทำโจรกรรม เป็นองค์ประกอบอีกประการหนึ่งในการโจรกรรมซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องของทางจิตวิทยา และเมื่อโอกาสเปิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบตัวสุดท้ายของสมการการโจรกรรมในองค์การ ส่วนมากเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการโจรกรรมที่ไม่รุนแรง

ส่วนการโจรกรรมที่รุนแรงถึงแม้จะมีการรักษาความปลอดภัยเข้มแข็ง นักโจรกรรมก็จะสืบหาข่าว หาจุดอ่อนของการรักษาความปลอดภัย เพื่อหาวิธีละเมิดการรักษาความปลอดภัยนั้น โอกาสเปิดจะเกิดขึ้นจาก “การรักษาความปลอดภัยบกพร่อง” ซึ่งอาจจะเกิดจากมาตรการรักษาความปลอดภัยที่วางไว้บกพร่องก็ได้ หรือการควบคุมให้ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยวางไว้บกพร่องก็ได้ ดังนั้น การตรวจสอบมาตรการต่างๆ อยู่เสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะการที่เราจะไว้ใจใครโดยไม่มีการตรวจสอบเป็นครั้งเป็นคราวก็เป็นการเปิดโอกาสอย่างหนึ่ง

ในทางปฏิบัติวิธีการโจรกรรมมีเทคนิคมากมายที่นักโจรกรรมหรือขโมยจะคิดค้นหาวิธีมาใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เหตุการณ์ สถานที่ สิ่งแวดล้อม และทรัพย์ที่จะทำการโจรกรรม เราจะเห็นว่าเมื่อตำรวจจับผู้ต้องหาได้และรับ

สารภาพทำแผนประกอบอาชญากรรมทุกครั้งเพราะรายละเอียดของอาชญากรรมไม่เหมือนกันในแต่ละรายซึ่งการทำแผนจะนำมาใช้ประกอบคดีเพื่อนำขึ้นฟ้องศาลและยังเป็นประโยชน์เป็นแนวทางสืบสวนสอบสวนคดีที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังที่มีลักษณะคล้ายกันได้

การจารกรรม ต้องมีกล้องวงจรปิด

ความหมายของการจารกรรม ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของการจารกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ โดยทางลับเพื่อให้ได้ล่วงรู้หรือได้ไปหรือส่งสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ หรือผู้ที่ไม่มีความจำเป็นต้องทราบโดยมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าจะเป็นผลร้ายต่อความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อยภายใน หรือทำเพื่อผลประโยชน์แก่ประเทศอื่น หรือเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำไว้ดังนี้

“การจารกรรม” แปลว่า การสอดแนม คือการลอบเข้าไปสืบความลับ

ถ้าจะสรุปให้ได้ความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปและรวมทั้งระดับชาติ ระดับองค์การ หรือหน่วยงานธุรกิจ ก็อาจจะกล่าวได้ดังนี้ “ การจารกรรม “ คือ การหาข่าวลับ - โดยทางลับ การจารกรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความลับ ฉะนั้นมาทำความเข้าใจกับคำว่า ความลับ

ความลับ ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ก็ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า ความลับ แต่มีความหมายของคำว่า “ สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ “ หมายถึง เอกสาร บริภัณฑ์ ยุทธภัณฑ์ ที่สงวนและสิ่งอื่น ๆ ตลอดจนข่าวสารที่ถือว่าเป็นความลับของทางราชการซึ่งส่งถึงกันด้วยคำพูด หรือด้วยวิธีการอื่นใด ซึ่งเป็นคำจำกัดความแบบกำปั้นทุบดิน คือ สิ่งใดถ้าราชการถือว่าเป็นความลับก็เป็นความลับ เป็นต้น

ความลับสรุปสั้นๆ พอเข้าใจตามชาวบ้านก็คือ ความรู้สึก ของผู้ที่เป็นเจ้าของวัสดุ เอกสาร ข่าวสาร ว่ามีความสำคัญที่จะต้องปิดบังสงวนไว้เป็นความรู้เฉพาะตนแต่เราจะไปกะเกณฑ์ให้ผู้อื่นเห็นด้วยกับความรู้สึกของเรานั้นก็ทำไม่ได้ สำหรับเรื่องลับต่างๆ ที่เป็นเรื่องส่วนตัวของใครก็ตาม ถ้าเราบังเอิญรู้ก็ควรเก็บไว้ด้วยมารยาท

ส่วนความลับของทางราชการ ขององค์การ หรือหน่วยงานนั้น เป็นเรื่องผลดีผลเสีย ความเป็นความตายของส่วนรวม หรือความมั่นคงของชาติ ผู้ที่เป็นเจ้าของความลับหรือเจ้าของเรื่องจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกำหนดให้ความลับนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กรนั้นช่วยกันรักษาความปลอดดภัย สิ่งที่สำคัญที่จะต้องยึดถือเป็นสิ่งแรกก็คือ ถ้าไม่ใช่เจ้าของเรื่องก็ไม่ควรไปตัดสินว่าลับแค่ไหน ต้องยอมรับตามที่เจ้าของเรื่องเขากำหนด เราจึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยเพื่อสงวนความลับไว้

องค์ประกอบหลักของข่ายงานจารกรรม เพื่อให้การดำเนินงานจารกรรมระดับชาติมีประสิทธิภาพ จะต้องจัดเป็นระบบ มีองค์ประกอบต่างๆ มาประสานเข้าเป็นข่ายงานจารกรรม สำหรับการจารกรรมระดับอื่นๆ รองลงมา แต่ปรับให้เหมาะสมกับลักษณะและขอบเขตของงาน โดยทั่วไปจะอยู่ในวงแคบกว่างานจารกรรมระดับชาติ

องค์ประกอบของข่ายงานจารกรรม ตามปกติจะมี ผู้อุปถัมภ์ องค์การลับหรือองค์การข่าวกรอง เจ้าหน้าที่ผู้คุมข่ายงาน เป้าหมาย สายลับ การจัดข่ายงานอย่างมีระบบตามปกติจะเป็นเรื่องของการจารกรรมระดับชาติ ผู้ปฏิบัติงานทุกประเภทจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างถี่ถ้วน และจะต้องมีการฝึกอบรมความรู้ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับงานสายลับต่างๆ เช่น การรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การอำพราง การสำรวจสถานที่ การวิเคราะห์เป้าหมาย การสังเกตและบรรยายลักษณะบุคคล การสะกดรอย การเขียนรายงาน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมีความมุ่งหมายจะเสนอวิธีป้องกันจารกรรมเท่านั้น ไม่ได้เสนอวิธีทำจารกรรม

วิธีทำจารกรรม โดยทั่วไปวิธีที่สายลับใช้แทรกซึมเป้าหมายเพื่อการทำจารกรรมนั้นมีวิธีหลักๆ อยู่ 3 วิธีคือ

- ส่งสายลับเข้าไปในเป้าหมาย
- ชักชวนบุคคลที่อยู่ในเป้าหมายอยู่แล้วให้เป็นคนรวบรวมและรายงานข่าวที่ต้องการ
- ใช้เครื่องมือเทคนิคต่างๆ

มาตรการในการป้องกันการจารกรรม ในการป้องกันหรือต่อต้านการจารกรรมนั้น มีมาตรการอยู่ 2 แบบคือ
- มาตรการแบบรุกหรือตอบโต้ การสืบสวนจับกุมสายลับที่เข้ามาทำการจารกรรม
- มาตรการแบบรับหรือป้องกัน การรักษาความปลอดภัย

การก่อวินาศกรรม  ความหมายของการก่อวินาศกรรม

ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ให้ความหมายของการก่อวินาศกรรมไว้ว่า การกระทำใด ๆ เพื่อทำลายความเสียหายต่อทรัพย์สิน วัสดุ อาคารสถานที่ ยุทธปัจจัย สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือรบกวน ขัดขวาง รวมทั้งประทุษร้ายต่อบุคคล ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา หรือทิศทางใดทางหนึ่ง ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เกิดผลร้ายต่อความสงบเรียบร้อย ขวัญ ผลประโยชน์ หรือความมั่นคงแห่งชาติ

ความหมายไว้ว่า “วินาศกรรม” การลอบทำลายหรือเผาผลาญทรัพย์สิน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ถ้าสรุปสั้น ๆ และให้มีความหมายใช้ได้ทั่วไปดังนี้ “การก่อวินาศกรรม” คือ การทำลาย ทำความเสียหายให้แก่วัสดุ อาคารสถานที่ และบุคคลในองค์การด้วยวิธีต่าง ๆ

สำหรับมูลเหตุจูงใจในการก่อวินาศกรรมของผู้มีอาชีพสายลับ ย่อมทำเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้ามตามที่ได้รับคำสั่งหรือได้รับการจ้างวาน แต่มูลเหตุของวินาศกรรมอิสระ เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและสืบค้นได้ยากมาก เพราะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเขาอาจจะทำเพื่ออุดมการณ์ ทำเพื่อเงิน เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกอยู่ในสภาวะถูกข่มขู่ ฯลฯ ผลจากการกระทำของวินาศกรรมก็จะทำให้เสียหายได้พอ ๆ กับการกระทำของผู้มีอาชีพที่เป็นสายลับของฝ่ายตรงข้าม และคนพวกนี้มักจะถูกจูงใจจากฝ่ายตรงข้ามง่ายเสียด้วย ปัญหาจากวินาศกรรมอิสระจึงเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องเอาใจใส่ป้องกันอย่างเข้มแข็ง เช่นเดียวกับวินาศกรรมมืออาชีพ

ในการก่อวินาศกรรมจะต้องมีเป้าหมายที่จะทำลาย โดยทั่วไปอาจเป็น วัสดุ อาคารสถานที่ ระบบงาน หรือตัวบุคคลก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะเป็นวัสดุหรืออาคารสถานที่ที่มีความสำคัญสูงมากพอที่จะเป็นเป้าหมาย เรียกว่า เป้าหมายที่มีศักยภาพ ในทางปฏิบัติเป้าหมายใดจะมีความสำคัญสูงพอที่จะก่อวินาศกรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาตัดสินใจขององค์การลับ หรือสายลับฝ่ายตรงข้ามที่จะเข้าก่อวินาศกรรม เช่น เป้าหมายที่มีศักยภาพในการก่อวินาศกรรมระดับชาติ คือ สถานที่ตั้งหรือสิ่งอำนายความสะดวกทางทหาร แห่ลงทรัพยกรธรรมชาติ เป็นต้น ส่วนเป้าหมายที่มีระดับรองลงมาได้แก่ องค์การธุรกิจอุตสาหกรรม ขั้นตอนของการพิจารณาเลือกเป้าหมายเฉพาะหรือจุดที่จะเข้าทำลายภายในเป้าหมายที่เลือกไว้ มีรายละเอียดในการพิจารณาดังนี้

- ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาในการเลือกเป้าหมายทั่วไป
- ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาในการเลือกเป้าหมายเฉพาะ

การบ่อนทำลาย  ความหมายของการบ่อนทำลาย

ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ “การบ่อนทำลาย” หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่มุ่งก่อให้เกิดวามแตกแยก ปั่นป่วน ความกระด้างกระเดื่อง อันจะนำไปสู่ความไม่สงบ หรือความอ่อนแอภายในชาติ ในทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา หรือทางใดทางหนึ่ง ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เกิดผลร้ายต่อความสงบเรียบร้อย ขวัญ ผลประโยชน์ หรือความมั่นคงแห่งชาติ

ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน บ่อนทำลาย หมายถึง “แทรกซึมเข้าไปเพื่อทำลายอยู่ภายในทีละน้อย ๆ” ซึ่งก็เป็นข้อความที่จำกัดมากไป แต่การกระทำที่เรียกว่า การบ่อนทำลายที่แท้จริงนั้นไม่ว่าจะเป็นการบ่อนทำลายระดับไหน ก็คือ การดำเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อทำให้แตกแยกขาดความสามัคคี ทำให้ปั่นป่วน ทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง เพื่อทำลายขวัญ บั่นทอนความจงรักภักดีของข้าราชการหรือพนักงานให้เอาใจออกห่างจากประเทศ เราจะเห็นว่าการบ่อนทำลายจะมุ่งตรงต่อความคิด จิตใจของบุคคลเป็นเป้าหมายหลักเสียก่อนเมื่อเกิดการแตกแยกของบุคคลแล้วจึงชักนำให้ดำเนินการอันเป็นภัย ฉะนั้นเราพอสรุปสั้น ๆ ได้ว่า “การบ่อนทำลาย” คือการยุแยกให้แตกความสามัคคี” ของคนในองค์การ นั่นเอง

การบ่อนทำลายก็คล้ายกับภัยอื่น ๆ นั้นเอง แต่รูปแบบของการบ่อนทำลายก็คือ การสร้างความรู้สึกให้เกิดความไม่แน่ใจ ความไม่พอใจ ความสงสัย ความหวาดกลัว หรือความเกลียดชัง โดยใช้การพูด เขียน หรือการกระทำใด ๆ เพื่อชักจูงหว่านล้อมหรือขยายความจนเกินความจริงให้ข้อมูลผิดประเด็นที่สำคัญหรือบิดเบือนความจริง

การบ่อนทำลายสำหรับในทางปฏิบัติโดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการดังต่อไปนี้

- การโฆษณาชวนเชื่อ
- การก่อกวน
- การแทรกซึม
- การจัดตั้งแนวร่วม
- การก่อให้เกิดความตื่นตระหนก

การบ่อนทำลายจะต้องมีมาตรการต่อต้านเมื่อมีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีการบ่อนทำลาย หรือมีหลักฐานแสดงว่ามีการบ่อนทำลายเกิดขึ้นแล้วในองค์การ ผู้รับผิดชอบในความปลอดภัยขององค์การจะต้องดำเนินการดังนี้

- การทำการพิสูจน์ทราบ หาสาเหตุของความไม่พอใจ และสืบค้นหาตัวบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นตัวการ เพื่อจัดการตามความเหมาะสม
- การแก้ปัญหา เช่น การประชาสัมพันธ์ การทำความเข้าใจกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
- แนะนำการปฏิบัติตน สมาชิกขององค์การเพื่อไม่ให้ถูกบ่อนทำลายได้โดยง่าย

มาตรการรักษาความปลอดภัยหลักกล้องวงจรปิด

หลักทั่วไปของการรักษาความปลอดภัย

ในทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยนั้นค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยากที่จะประเมินผล เพราะภัยนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ที่มาตรการการรักษาความปลอดภัย แต่อยู่ที่ว่าผู้ที่จะก่อภัยนั้นตัดสินใจด้วยเหตุผลของตัวเองว่าจะเข้ามาทำความเสียหายให้เกิดขึ้นหรือไม่ เราได้มีการวางมาตรการรักษาความปลอดภัยเอาไว้เพื่อวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ

1. ลดโอกาสที่จะเกิดภัย หรือลดการเสี่ยงภัยให้เหลือน้อยที่สุด
2. บรรเทาความเสียหาย หากมีภัยเกิดขึ้น

การรักษาความปลอดภัยนั้นเปรียบเหมือนการล้อมคอกก่อนควายหาย เมื่อคอกไม่ดีควายก็หาย ก็ถือว่าการรักษาความปลอดภัยนั้นไม่ดีพอ จากหลักทั่วไปของการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นภาพกว้างต่อไปก็จะจำกัดเรื่องให้แคบเข้ามาถึงมาตรการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติต่อไป

มาตรการในการรักษาความปลอดภัยหลัก

การรักษาความปลอดภัยจากภัยต่าง ๆ เราได้ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะมาตรการหลักซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ

1. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล
2. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร
3. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

มาตรการทั้ง 3 ประเภทนี้ถือเป็นมาตรการหลักที่จะต้องนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาความปลอดภัยองค์การใด ๆ ทั่วไปเป็นส่วนรวมและใช้แก้ปัญหาการรักษาความปลอดภัยเฉพาะกรณี โดยการประยุกต์เอามาตรการหลัก 3 ประเภทไปใช้และเสริมด้วยมาตรการเฉพาะต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

ชั้นความลับ  ความหมายของชั้นความลับ กับมาตรการรักษาความปลอดภัยประเภทต่าง ๆ

“ชั้นความลับ” หมายถึง ระดับความสำคัญ หรือคุณค่าที่เจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งกำหนดแก่สิ่ง ๆ นั้น

ในการรักษาความปลอดภัยของชั้นความลับของเอกสารหรือข่าวสาร เพราะเป็นเรื่องที่รู้จักคุ้นเคยของคนทั่วไปอยู่แล้วเข้าใจง่าย เช่น “เอกสารลับ” ทุกคนก็คงเข้าใจ แต่ถ้าพูดถึงสถานที่หรือบุคคล เช่น “สถานที่ลับ” หรือ “บุคคลลับ” หลายคนคงจะเข้าใจไม่ชัดเจนว่าจะหมายถึงอะไร ก็จะต้องมีการขยายความกันดังนี้

- ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร “ชั้นความลับ” หมายถึง ระดับความสำคัญหรือคุณค่าของสิ่งที่เป็นความลับ ได้แก่ เอกสาร หรือ ข่าวสารขององค์การหรือราชการทุกชนิด จะต้องได้รับการพิทักษ์รักษาเพื่อป้องกันผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ได้ล่วงรู้หรือเข้าถึง เพื่อไม่ให้ความลับนั้นเกิดการ “รั่วไหล”

- ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ “ชั้นความลับ” หมายถึง ความสำคัญของเขตพื้นที่ต่าง ๆ ภายในพื้นที่มีการรักษาความปลอดภัย เช่น ที่เก็บเอกสารลับ วัตถุหรือทรัพย์สินที่มีค่า ในระเบียบการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ได้กำหนดชื่อความสำคัญของสถานที่ไว้ดังนี้ เขตหวงห้ามเด็ดขาด เขตหวงห้ามเฉพาะ พื้นที่ควบคุม พื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย

- ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล “ชั้นความลับ” หมายถึง บุคคลที่เป็นพนักงานหรือข้าราชการได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารหรือหัวหน้าส่วนราชการให้เข้าถึงหรือปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความลับขององค์การหรือของส่วนราชการ และได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้กำหนดชั้นความลับที่เป็นความลับของหน่วยงานได้อีกประการหนึ่ง

หลักการพิจารณากำหนดชั้นความลับ

ชั้นความลับในองค์การเอกชนนั้นเป็นข้อตกลงกันของผู้บริหาร โดยพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้านมาประกอบกัน เช่น ภารกิจ ความสำคัญขององค์การ สภาพแวดล้อมความเหมาะสมขององค์การ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทั้งสิ้น

ส่วนในด้านการรักษาความปลอดภัยระดับชาติได้กำหนดชั้นความลับของทางราชการไว้เพียง 4 ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก ลับ และปกปิด สำหรับการพิจารณาว่าสิ่งใดควรเป็น “ชั้นความลับ” ใด ยึดหลักพิจารณาความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติโดยส่วนรวมว่ามีมากน้อยเพียงใด หากความลับเรื่องนั้น ๆ ทั้งหมดหรือบางส่วนรั่วไหลไปถึงบุคคลผู้ที่ไม่มีหน้าที่ควรทราบ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ สรุปได้ว่า

- ถ้าเป็นความเสียหายต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติในระดับร้ายแรงที่สุด เรื่องนั้นควรเป็น “ชั้นลับที่สุด”

- ถ้าเป็นความเสียหายต่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติในระดับร้ายแรง เรื่องนั้นควรเป็น “ชั้นลับมาก”

- ถ้าเป็นความเสียหายของทางราชการเท่านั้น ก็ควรเป็น “ชั้นลับ”

- ถ้าเรื่องราวใดไม่พึงเปิดเผย ให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่ได้ทราบโดยสงวนไว้ให้ทราบเฉพาะบุคคล เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการเท่านั้นถือเป็น “ชั้นปกปิด” ข้อสังเกตชั้นปกปิดนี้ไม่ได้เน้นที่ความเสียหายแต่เป็นข้อความทำนองสงวนสิทธิ

ในปัจจุบัน “คณะกรรมการร่างระเบียบการรักษาความลับของทางราชการ” ได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงชั้นความลับของทางราชให้เหลือเพียง 3 ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก และ ลับ โดยได้ให้เหตุผลว่า “ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ส่วนที่เกี่ยวกับเอกสาร ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการรักษาความลับเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร เพราะการกำหนดชั้นความลับเป็น 4 ชั้น ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติกำหนดเรื่องราวต่าง ๆ เป็นความลับไปหมดเพราะเกรงจะผิดระเบียบ ทั้งที่บางส่วนไม่มีสภาพที่เป็นความลับเลย

การกำหนดชั้นความลับให้ถูกต้องเหมาะสม

ความลับที่ต้องแบ่งออกเป็นชั้นต่าง ๆ ก็เพื่อวางมาตรการรักษาความปลอดภัยให้หมาะสมกับความสำคัญของสิ่งที่เป็นความลับนั้นไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิภาพ แต่การที่จะกำหนดชั้นความลับนั้นยากเพราะเป็นเรื่องความคิดเห็นส่วนตัวที่เรียกว่าเป็นอัตนัย เพื่อกำหนดชั้นความลับให้แก่สิ่งที่เป็นความลับให้ถูกต้องเหมาะสมควรดำเนินการดังนี้

- ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง หรือเป็นเจ้าของเรื่องเป็นผู้กำหนดชั้นความลับ

- ผู้รับผิดชอบโดยตรงต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความสำคัญและความจำเป็น เพื่อมิให้ชั้นความลับสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป

- ผลเสียอันเกิดจากการกำหนดชั้นความลับสูงเกินไปทำให้การปฏิบัติงานล่าช้า

- ผลเสียอันเกิดจากการกำหนดชั้นความลับต่ำไป

การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล

มาตรการที่กำหนดขึ้นสำหรับการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลที่ใช้ปฏิบัติต่อข้าราชการ หรือผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ หรือให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการที่สำคัญเพื่อให้เป็นที่เชื่อแน่ว่าต้องเป็นพฤติการณ์บุคคล เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติ และอุปนิสัยเหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์ มั่นคง จงรักภักดี เชื่อถือ ไว้วางใจได้ มาใช้งาน

การที่เราต้องมีการรักษาความปลอดภัย ก็เพราะคนเป็นจักรกลสำคัญที่สุดที่จะต้องเป็นผู้วางแผน ควบคุม และปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ที่วางไว้ รวมทั้งละเมิดการรักษาความปลอดภัยเสียเอง แม้ว่าจะมีมาตรการที่รัดกุมและรอบคอบเพียงใด หากบุคคลหรือพนักงานผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ขาดวินัย ฝ่าฝืนระเบียบ อันเป็นเหตุให้ความลับรั่วไหล หรือสถานที่ทรัพย์สินเกิดความเสียหายแล้ว การรักษาความปลอดภัยเหล่านั้นก็จะเปล่าประโยชน์โดยสิ้นเชิง

ปัญหาเรื่องคน

ปัญหาที่ตอบยาก ว่าเพราะอะไรที่ทำให้ความลับรั่วไหล เป็นเรื่องของคนแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกันนอกจากผู้กระทำเองแล้วก็ไม่มีใครตอบได้ถูกต้อง ถึงแม้ว่าเราจะหาคำตอบไม่ได้เป็นรายคน แต่ก็พอหาเหตุที่มา ของแรงกระตุ้น แรงจูงใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตลอดจนอุปนิสัย และจุดอ่อนของคนทั่ว ๆ ไป ที่มาผลักดันให้คนกระทำการอันเป็นภัยขึ้นซึ่งภาษาวิชาการเรียกว่า “การละเมิดการรักษาความปลอดภัย” ซึ่งเหตุเหล่านี้ได้มาจากการค้นคว้าทางจิตวิทยาทางการบริหารงานบุคคล ซึ่งประเมินจุดอ่อนของคนที่มีผลต่อความปลอดภัยได้ดังนี้

- การละเมิดการรักษาความปลอดภัย

- นิสัยและจุดอ่อนของบุคคล

- การดำเนินการของฝ่ายตรงข้าม

มาตรการในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล

สาเหตุของการละเมิดการรักษาความปลอดภัยหรือทำให้เกิดความเสียหายขององค์กร วิธีแก้ไขเราต้องเริ่มจากการ เลือกคนดี ที่เหมาะสม มีความซื่อสัตย์ เชื่อถือไว้วางใจได้ มาทำงาน จึงเกิดเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหาร หรือหัวหน้าส่วนราชการจะต้องประสานงานระหว่างการรักษาความปลอดภัยองค์การหรือส่วนราชการกับกรรมวิธีบริหารงานบุคคลเข้ามาทำงานในการกรองคนที่มีศักยภาพที่จะทำความเสียหายให้แก่องค์การออกเสียก่อนตั้งแต่แรก

การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลที่สมบูรณ์ไม่ได้อยู่แค่การสอบประวัติก่อนบรรจุเข้าทำงานแต่อย่างเดียว แต่จะต้องทำการดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนแรก เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารองค์การ จะต้องจัดให้มีการสืบประวัติและพฤติกรรมบุคคลทุกคนเพื่อให้ความไว้วางใจเสียก่อนบรรจุเข้าทำงานเป็นพนักงาน

ขั้นตอนที่สอง เมื่อบรรจุเข้าทำงานแล้ว ผู้บังคับบัญชาจะต้องติดตามดูแล และสอดส่องความประพฤติต่อไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ ไม่ใช่ตรวจสอบแค่ครั้งแรกแล้วก็เลิกกัน เหตุผลเพราะคนเรานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้

หลักการรักษาความปลอดภัยบุคคล ก็เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันที่เราพูดกันเป็นสำนวนว่าจะเอาคนมาใช้งานก็ต้องดู “หัวนอนปลายเท้า” ติดตามพฤติการณ์อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลขององค์การ หรือส่วนราชการใดควรประกอบด้วยมาตรการสำคัญ 5 ประการ คือ

1. การตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล

2. การรับรองความไว้วางใจ

3. การทะเบียนความไว้วางใจ

4. การอบรมเรื่องการรักษาความปลอดภัย

5. การให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องลับที่สุดหรือลับมาก

การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร


จัดเป็นการรักษาความปลอดภัยประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ระเบียบปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย” คือมาตรการหรือวิธีการกำหนดให้บุคคลปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย เช่น ระเบียบปฏิบัติในการพิมพ์ธนบัตรของโรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ระเบียบการเก็บวัตถุระเบิดในคลังแสงสรรพาวุธของทหาร หรือแม้แต่ระเบียบการโดยสารรถเมลล์ เป็นต้น “ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร” ซึ่งเป็น “ระเบียบปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย” จึงเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยหลักประเภทหนึ่ง

ในปัจจุบันเราอาศัยเอกสารเป็นเครื่องช่วยเหลือทั้งสิ้น แม้ในการบริหารงานปัจจุบันไม่ว่ากิจการจะเล็กหรือใหญ่เราก็ใช้เอกสารเป็นเครื่องมือในการบริหาร เช่น การบันทึกสั่งการ การรายงาน การเสนอความเห็น เสนอข้อพิจารณา เก็บสถิติ ฯลฯ เราต้องใช้เอกสารทั้งสิ้น ถ้าเอกสารเป็นเอกสารเปิดเผยก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นเอกสารลับก็จะเกิดปัญหาที่จะต้องรักษาความลับป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ได้ล่วงรู้ หรือเข้าถึงเอกสารลับนั้น
CCTV

ความหมาย หลักการ และวิธีการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารทั่วไป

ความสัมพันธ์ระหว่างข่าวสารกับเอกสาร

ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร คือ มาตรการที่กำหนดขึ้นสำหรับปฏิบัติต่อเอกสารลับ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ได้ล่วงรู้ หรือเข้าถึงเอกสารนั้น” ส่วนในด้านความมุ่งหมายการรักษาความปลอดภัยเอกสาร คือ การป้องกันไม่ให้ “ความลับในเอกสาร หรือข่าวสารลับรั่วไหล” หรือเพื่อป้องกันการจารกรรม ซึ่งในขณะนี้เราจะเห็นว่ามี 2 คำ คือ เอกสาร และ ข่าวสาร เราจะต้องมาทำความเข้าใจก่อนดังนี้

ข่าวสาร คือ ความรู้ที่ได้รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ส่วนมากด้วยตาและหูที่ให้รายละเอียดหรือให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รับรู้ แต่ “ข่าวสาร” นั้นโดยทั่วไปมักเป็นคำพูดเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ ถ้าเราต้องการเก็บข่าวสารไว้เป็นหลักฐานและเพื่อต้องการถ่ายทอดความรู้ไปก็ต้องทำให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยการบันทึกลงในวัตถุต่าง ๆ วัตถุที่ถูกบันทึกข่าวสารลงไปคือ “เอกสาร” ดังนั้นข่าวสารและเอกสารจึงมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ “ในเอกสารทุกชนิด จะต้องมีข่าวสาร แต่ข่าวสารไม่จำเป็นต้องเป็นเอกสาร”

ในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารลับและข่าวสารลับ มีคำศัพท์อีก 2 – 3 คำที่ควรทำความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างคำ เพื่อช่วยให้เข้าใจเรื่องที่จะอธิบายต่อไปได้สะดวกขึ้น

การเข้าถึงและการรั่วไหลของความลับ

“การเข้าถึง” หมายถึง ความสามารถ หรือโอกาส ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะทราบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติได้จำกัดความหมายของการเข้าถึงไว้ดังนี้ “การเข้าถึง” หมายถึง การที่บุคคลมีอำนาจหน้าที่หรือได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาให้ได้รับทราบ หรือเก็บรักษาสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ รวมทั้งการที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในที่ซึ่งน่าจะได้ทราบเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการนั้นด้วย

“การรั่วไหล” ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หมายถึง “สิ่งที่เป็นความลับของทาง

ราชการได้ถูกครอบครองหรือได้ทราบโดยบุคคลไม่มีอำนาจหน้าที่” การรั่วไหลอาจกล่าวได้ว่าเป็น “ผลจากการเข้าถึงเอกสารลับและข่าวสารลับอย่างไม่มีสิทธิ” นั่นเอง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือเสียผลประโยชน์ของทางราชการหรือองค์การได้

การละเมิดการรักษาความปลอดภัยและการจารกรรม

“การละเมิดการรักษาความปลอดภัย หมายถึง การกระทำใด ๆ โดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ที่ฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ คือ “การละเมิดมาตรการควบคุมการเข้าถึงนั่นเอง”

“การจารกรรม” หมายความว่า การกระทำใด ๆ โดยทางลับ เพื่อให้ล่วงรู้หรือได้ไปและหรือส่งสิ่งที่เป็นความลับให้แก่ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือผู้ที่ไม่มีความจำเป็นต้องทราบ พิจารณาจากคำจำกัดความแล้วจะเห็นว่าการจารกรรมก็คือ “ การละเมิดการรักษาความปลอดภัยโดยเจตนาของผู้แสวงประโยชน์” นั่นเอง

มาตรการหรือวิธีการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารและข่าวสาร

องค์การหรือส่วนราชการได้กำหนดเป็น “มาตรการทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเอกสารหรือข่าวสารลับขององค์การนั้น เพื่อป้องกันความลับรั่วไหลหรือป้องกันการเข้าถึงอย่างไม่มีสิทธิ”

ในการปฏิบัติงานต่อเนื่องที่เป็นความลับนั้นมีปัจจัย 2 ประการเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ “ความปลอดภัย” กับ ป็

“ความปลอดภัย” คือ การพิจารณาถึงความต้องการในการระวังป้องกันหรือการรักษาความปลอดภัยไม่ให้ความลับรั่วไหลมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความสสำคัญ ของเอกสารหรือข่าวสารลับนั้น ๆ

“ประสิทธิภาพ” คือ การพิจารณาถึงผลที่ต้องการจะได้รับจากการดำเนินการในเรื่องลับนั้นเป็นอย่างไร สะดวก รวดเร็วหรือไม่ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการกระจายข่าวสารให้กับผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติว่าจะต้องการะจายหรือแจกจ่ายออกไปมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้งานบรรลุผล

ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องลับจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดมาตรการและขั้นตอนในการรักษาความปลอดภัยให้เหมาะสม กล่าวคือ ต้องไม่ให้มาตรการการรักษาความปลอดภัยเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน จนไม่สามารถทำให้งานลุล่วงไปได้เท่าที่ควร ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ให้ความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมาเป็นจุดอ่อนต่อระบบการรักษาความปลอดภัย

ระเบียบการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อาจจะแบ่งการควบคุมการปฏิบัติต่อเอกสารลับได้ออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบการควบคุมทั่วไปและระบบการควบคุมในการดำเนินงาน

ระบบการควบคุมทั่วไป หมายถึง มาตรการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อดำเนินการต่อเอกสารหรือข่าวสารลับ ทุกชั้นความลับในเรื่องทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่

- ความรับผิดชอบทั่วไป

- การกำหนดชั้นความลับ

- เครื่องหมายแสดงชั้นความลับ

- การปรับและยกเลิกชั้นความลับ

- การทะเบียนเอกสารลับ

- การตรวจสอบเอกสารลับ

- การโอนเอกสารลับ

ระบบการควบคุมในการดำเนินการ หมายถึง มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อดำเนินการต่อเอกสารหรือข่าวสารลับ ในเรื่องดังต่อไปนี้

- การควบคุมในการจัดทำและแจกจ่าย ทั้งการจัดทำชั้นต้นและการจัดทำชั้นต่อมา เช่น การสำเนาเพิ่มเติมและการแปล

- การควบคุมความเคลื่อนไหว ได้แก่ การส่ง การโอน การยืมระหว่างหน่วยงาน

- การควบคุมการเก็บรักษา

- การควบคุมการถ่ายภาพด้วยไมโครฟิล์ม

- การควบคุมการทำลาย

การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

คำกำจัดความ

ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ให้คำจำกัดความไว้ว่า “การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ คือ มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อพิทักษ์รักษาให้ความปลอดดภัยแก่ที่สงวน อาคาร และสถานที่ ของส่วนราชการ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ และเอกสารในอาคารสถานที่ให้พ้นจากการโจรกรรม การจารกรรม และการก่อวินาศกรรม หรือเหตุอื่นใดอันอาจทำให้เสียสมรรถภาพในการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการได้

หลักการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่


คำจำกัดความ

มักที่จะคิดไปที่การป้องกันความเสียหายของตัวอาคาร ทรัพย์สิน หรือตัวบุคคล สิ่งที่จะทำให้เกิดความเสียหาย หรือภัยนั้นจะต้องมาจากคน การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ ในทางปฏิบัติคือ ป้องกัน หรือควบคุมไม่ให้เข้ามาก่อภัยต่าง ๆ ต่อสถานที่หรือภายในสถานที่ คือ เป้าหมายของการป้องกันจะอยู่ที่ตัวคน ไม่ใช่สถานที่ การตั้งประเด็นของความคิดไว้อย่างนี้จะช่วยให้เข้าใจมาตรการต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้นหลักการมาตรฐานในทางปฏิบัติของการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ ก็จะเป็นหลักง่าย ๆ แบบกำปั้นทุบดินว่า “จงให้ศัตรูอยู่ภายนอก”

มาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่จะต้องเป็นการป้องกันร่วมกันระหว่างวัตถุกับคน องค์ประกอบร่วมระหว่างวัตถุกับคนนี้อะไรสำคัญมากกว่า คือ คนสำคัญมากกว่าวัตถุ เพราะคนเป็นผู้ทำให้หลักการ “ให้ศัตรูอยู่ภายนอก” เป็นผลในทางปฏิบัติขึ้นมา คนทำหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ คนจะทำหน้าที่ 3 ประการคือ

- คอยเฝ้าตรวจ ผู้ที่จะผ่านเข้ามาในสถานที่ทุกคน

- พิสูจน์ทราบ ว่าผู้ที่กำลังจะเข้ามาเป็นผู้ที่มีสิทธิหรือไม่ เป็นศัตรูหรือไม่

- สกัดกั้นหรือขัดขวาง ถ้าพิสูจน์ทราบว่าผู้ที่จะผ่านเข้ามาไม่มีสิทธิ เป็นศัตรู ก็สกัด ขัดขวาง จับกุมตามสมควรแก่กรณี

ส่วนวัตถุทำหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่นั้น ความมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติของคนทำได้สะดวกขึ้น มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และเราเรียกวัตถุที่ใช้ในการป้องกันนั้นว่า เครื่องช่วยในการรักษาความปลอดภัยสถานที่ ซึ่งมักจะเรียกกันง่าย ๆ สะดวกปากว่า “เครื่องมือรักษาความปลอดภัย” ซึ่งเป็นการเรียกที่ทำให้เข้าใจในงานรักษาความปลอดภัยผิดพลาดได้ โดยคิดว่าเอาเครื่องเหล่านี้ไปติดที่ไหนแล้วก็จะช่วยทำให้เกิดความปลอดภัยได้โดยไม่ต้องอาศัยคน

ข้อพิจารณาในการวางมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่มีหลักการมูลฐาน แต่การจะวางมาตรการลงไปในพื้นที่แต่ละแห่งมีเรื่องที่จะต้องพิจารณาในรายละเอียด

- ปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณา ได้แก่ สภาพของสถานที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ อุดมการณ์ทางการเมืองในพื้นที่นั้น ๆ ฯลฯ ตลอดจนการสนับสนุนช่วยเหลือที่จะพึงได้รับจากหน่วยงานอื่น ๆ

- ต้องพิจารณาถึงขีดความสามารถในการล่วงล้ำของฝ่ายตรงข้ามว่าจะทำได้เมื่อใด จะใช้เวลาเท่าใด ในลักษณะใดได้บ้าง เปิดเผยหรือจู่โจม ฯลฯ รวมทั้งอันตรายอันเกิดจากอุปัทวเหตุหรือภัยธรรมชาติด้วย

- ต้องนำวิธีการที่ฝ่ายตรงข้ามน่าจะกระทำต่อฝ่ายเรามากที่สุด และอันตรายจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อันเกิดขึ้นแก่สถานที่นั้นมากที่สุดมาพิจารณาประกอบกับขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ได้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

- ในการทำจารกรรมหรือก่อวินาศกรรม ศัตรูจะพยายามเข้าถึงสถานที่ที่เป็นเป้าหมาย แต่การที่ศัตรูเข้าไม่ถึงจำเป็นที่จะต้องไปปรากฏตัวอยู่ในเป้าหมายนั้นก็ได้

- ไม่มีเครื่องกีดขวางชนิดใดที่จะผ่านไม่ได้ เครื่องกีดขวางจะเป็นเพียงเครื่องถ่วงเวลาในการเข้าถึงเท่านั้น

- การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่จะได้ผลต้องใช้ระบบการป้องกันในทางลึก หรือต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยซ้อนกันเพื่อให้เกิดการถ่วงเวลาสะสมเพียงพอที่เราจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

- สถานที่ทุกแห่งย่อมมีความแตกต่างกันแล้วแต่ภารกิจ สิ่งที่เป็นความลับ ทรัพย์สิน จึงต้องแยกพิจารณาวางมาตรการป้องกันให้เหมาะสมสำหรับแต่ละอาคารสถานที่
CCTV

มาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

ในปัจจุบันตามอาคารสถานที่จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยหรือสลับซับซ้อนกว่าอาคารสถานที่ แต่ก่อนการรักษาความปลอดภัยจะต้องประกอบด้วยมาตรการรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งองค์การหรือส่วนราชการจะต้องจัดให้มีขึ้นเป็นระบบ ให้เหมาะแก่ความสำคัญของสถานที่ในความรับผิดชอบของตน รายละเอียดสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งอย่างน้อยจะต้องมีเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

- ต้องจัดให้มีพื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย

- ต้องมีการระวังป้องกันทางวัตถุ

- ต้องมีระบบสัญญาณแจ้งเหตุและการสื่อสาร

- ต้องมีการควบคุมบุคคลและยานพาหนะ

- ต้องมีระบบยามรักษาการณ์

- ต้องมีระบบป้องกัน ระงับอัคคีภัย และหนีไฟ

การสำรวจและตรวจสอบทางการรักษาความปลอดภัย

การสำรวจทางการรักษาความปลอดภัย คือ การดำเนินงานด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถและจุดอ่อนขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้บริหารองค์การหรือผู้บังคับบัญชาสามารถจะวิเคราะห์พิจารณาได้ว่าระบบ วิธีการ หรือ มาตรการรักษาความปลอดภัยแบบไหนที่สมควรจะนำมาใช้ป้องกันองค์การของตนให้พ้นภัย คือ การโจรกรรม การจารกรรม การก่อวินาศกรรม การบ่อนทำลาย และการละเมิดอื่น ๆ

การตรวจสอบทางการรักษาความปลอดภัย คือ การสืบสวน ทบทวนเพิ่มเติมว่ามาตรการของการรักษาความปลอดภัยของสถานที่ใดที่ใช้อยู่ขณะนั้น สมบูรณ์ หรือมีอุปสรรคข้อบกพร่อง จุดอ่อน เพื่อจะได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงให้รัดกุมเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม

การสำรวจและการตรวจสอบทางการรักษาความปลอดภัยนั้นมีหลักและวิธีการคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่ขอบเขตของการปฏิบัติ คือ การตรวจสอบนั้นจะกระทำภายหลังที่ได้มีการสำรวจและกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยขึ้นแล้ว แต่ทั้งการสำรวจและการตรวจสอบเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารหรือหัวหน้าส่วนราชการ จะต้องจัดให้มีขึ้นโดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานดำเนินการในรายละเอียดตามเทคนิคของการสำรวจตรวจสอบ

แผนการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

แนวความคิดเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ว่าจะมีหรือจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันหรือพิทักษ์รักษาสาถานที่ รวมทั้งอาคาร สิ่งที่เป็นความลับ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นให้พ้นภัย การวางแผนการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ จะต้องอาศัยการรายงานผลการสำรวจและตรวจสอบทางการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ขององค์การหรือส่วนราชการนั้น ๆ เป็นข้อมูลพื้นฐาน อันจะเป็นเหตุให้มีการละเมิดการรักษาความปลอดภัยเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัยขององค์การหรือส่วนราชการนั้น ๆ และเหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น

แผนการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ การเขียนแผนการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ มักเขียนตามหัวข้อดังนี้

- ความมุ่งหมายของแผน

- พื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย

- มาตรการการควบคุม

- เครื่องช่วยในการรักษาความปลอดภัย

- หน่วยรักษาการณ์

- การปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน

- คำแนะนำในการประสานงาน

การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก็จะต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ

1. ต้องมีเครื่องช่วยในการรักษาความปลอดภัย (สถานที่)

2. ต้องมีระเบียบคำสั่งหรือแผนในการรักษาความปลอดภัย (สถานที่)

3. ต้องมีการอบรมบุคคลในหน่วยงานให้รู้ เข้าใจ และปฏิบัติตามระเบียบโดยทั่วกัน

4. ต้องมีคนหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อบังคับหรือควบคุมความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบควบคุม

ความรับผิดชอบของผู้บริหารเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

ภัยมีอยู่ 4 ประการ คือ การโจรกรรม การจารกรรม การก่อวินาศกรรม และการบ่อนทำลาย

การรักษาความปลอดภัยมี 4 ประเภท ซึ่งจะป้องกันภัยต่าง ๆ ดังนี้

การรักษาความปลอดภัยบุคคล จะป้องกันภัยทั้ง 4 ประเภท คือ การโจรกรรม การจารกรรม การก่อวินาศกรรม และการบ่อนทำลาย

การรักษาความปลอดภัยเอกสาร ป้องกันภัยการจารกรรมเป็นหลัก

การรักษาความปลอดภัยสถานที่ ป้องกันภัย 3 ประเภท คือ การโจรกรรม การจารกรรม และการก่อวินาศกรรม

การบริหารต้องมีการรักษาความปลอดภัย

การรักษาความปลอดภัย จะเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและเป็นงานที่ขยายตัวอยู่ในขณะนี้ แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งค้นพบหรือพัฒนาขึ้นใหม่ อาจกล่าวได้ว่าการรักษาความปลอดภัยเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์ การรักษาความปลอดภัยมีความสำคัญกับมนุษย์และสังคม ตราบใดที่มนุษย์ยังกลัวภัยและความเสียหายที่จะเกิดต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน เป็นปกติของมนุษย์ที่ยังต้องการรักษาความปลอดภัยเพื่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของมนุษย์ ทั้งในด้านส่วนตัวและด้านสังคมตลอดเวลา

“การรักษาความปลอดภัยแตกต่างจากการบริหารตามปกติ คือ การบริหารมุ่งหวังที่จะทำให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่วางไว้ แต่การรักษาความปลอดภัยมุ่งทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในองค์การเพื่อสนับสนุนความสำเร็จตามวัตถุประสงค์นั้น” แต่ในทางธุรกิจการบริหารทำเพื่อหากำไร แต่การรักษาความปลอดภัยทำเพื่ออุดรูรั่วของกำไร งานที่ดีมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลจะต้องมีการบริหารที่ดี แต่การบริหารที่ดีจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยที่ดีควบคู่ไปด้วย

การบริหารถ้าเราจะเปรียบเหมือนกับมือ ปัจจัยการบริหาร คือ คน เงิน วัสดุ และวิธีการเป็นนิ้วมือ ได้แก่ นิ้วชี้ไปจนถึงนิ้วก้อย การรักษาความปลอดภัยก็เปรียบเหมือนนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งติดอยู่กับมือในลักษณะแตกต่างจากนิ้วอื่น ๆ แต่ถ้าขาดไปถึงจะหยิบจับอะไรก็ไม่สะดวก ไม่มั่นคงเท่ากับมีนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้วย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ทุกวันนี้นักบริหารยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะยังไม่เข้าใจว่าการรักษาความปลอดภัยอย่างถูกต้อง และมีวิธีการเฉพาะตัวไม่ได้กำหนดไว้ในกระบวนการบริหารที่ทำให้ผู้บริหารคิดว่าการรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องที่แยกออกจากการบริหารตามปกติ

การสำรวจตรวจสอบทางการรักษาความปลอดภัย

ในทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องที่มีขอบเขตและการเปลี่ยนแปลงที่กว้างขวางขึ้นอยู่กับหลาย ๆ เรื่อง ที่มีผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์การ ซึ่งผู้บริหารมีความรับผิดชอบที่จะต้องหาวิธีจำกัดหรือลดสภาพที่จะทำความเสียหายต่อองค์การเหล่านั้น แต่ก่อนที่จะวางแผนหรือมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่องค์กรใด ก็จะต้องมีการสำรวจตรวจสอบ เพื่อจะได้กำหนดมาตรการหรือวางวิธีการรักษาความปลอดภัยได้ถูกต้อง ตรงต่อเป้าหมายและมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่วางไว้แล้วให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

การสำรวจตรวจสอบทางการรักษาความปลอดภัยนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากในการบริหารการรักษาความปลอดภัย ซึ่งผู้บริหารจะต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นผู้ดำเนินการ

การจัดองค์การสำหรับการรักษาความปลอดภัย

การจัดองค์การ คือ การจัดแบ่งงานออกมาเป็นหมวดหมู่การกำหนดตำแหน่งหรือส่วนงาน ผู้รับผิดชอบของตำแหน่งหรือส่วนงานนั้นตลอดจนหาผู้ที่มีความสามารถตามตำแหน่งมาบรรจุให้ทำงาน

การรักษาความปลอดภัยจะมีหัวหน้าหน่วยงานที่จะทำหน้าที่สองอย่างด้วยกัน คือเป็นทั้ง ฝ่ายปฏิบัติ ในการรักษาความปลอดภัยขององค์การส่วนรวมและทำหน้าที่ ฝ่ายที่ปรึกษา ในปัญหาการรักษาความปลอดภัยขององค์การเป็นส่วนรวมให้กับผู้บริหาร เหตุที่จัดแบบนี้เป็นการจัดองค์การด้านการรักษาความปลอดภัยแบบมาตรฐาน โดยมีหัวหน้าหน่วยงานรักษาความปลอดภัยเป็นผู้เสนอแนะและควบคุมให้เป็นไปตามมาตรการขององค์การที่ผู้บริหารกำหนด

ประสิทธิผลของการรักษาความปลอดภัย

งานรักษาความปลอดภัยจะเริ่มที่การสำรวจตรวจสอบ ประเมินค่าของภัยคุกคามที่มีต่อองค์การ และจัดวางระบบระเบียบและมาตรการรักษาความปลอดภัย พร้อมกับจัดหาเจ้าหน้าที่การรักษาความปลอดภัยที่มีความรู้ความสามารถมาปฏิบัติงาน แต่การทำเพียงแค่นี้จะยังไม่ทำให้งานรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิผลเต็มที่ โดยเฉพาะการควบคุมบุคคลภายในหน่วยงานมักจะมีปัญหา สำหรับปัจจัยที่จะทำให้การรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิผลภายในหน่วยงานต้องมีองค์ประกอบดังนี้

- ความร่วมมือ ความร่วมมือของพนักงานทุกคน ทุกระดับขององค์การ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

- การควบคุม ให้เป็นไปตามระเบียบ คอยกำกับดูแลพนักงานทุกคนให้ปฏิบัติตามระเบียบ

กลุ่มผู้บริหารมีความสำคัญมากต่อการรักษาความปลอดภัยขององค์การ

ในด้านความสำคัญและความรับผิดชอบของทุกกลุ่มบุคคล ซึ่งจะเป็นผู้ทำให้การรักษาความปลอดภัยขององค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เราอาจจะแบ่งบุคคลในองค์การออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น้อยที่สุดในองค์การ แต่มีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยถึง 50% เหตุผลก็คือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการรักษาความปลอดภัยมีความสำคัญเท่ากับปัจจัยอื่น ๆ ของการบริหาร ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีความรับผิดชอบ ต้องรู้ ต้องเข้าใจตามมาตรการของการรักษาความปลอดภัย และต้องปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่างตามมาตรการของการรักษาความปลอดภัยขององค์การที่วางไว้จึงจะได้ผล

2. พนักงานหรือสมาชิกทั่วไปขององค์การ กลุ่มบุคคลกลุ่มใหญ่ขององค์การ มีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงาน ทุกคนจะต้องรู้ต้องเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญและปฏิบัติตามมาตรการขององค์การที่วางไว้ตลอดจนมีทัศนคติที่ถูกต้องเป็นการปฏิบัติเพื่อความอยู่รอดขององค์การหรือหน่วยงานและความอยู่รอดของตัวเองด้วย

3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขององค์การหรือหน่วยงาน เป็นกลุ่มคนกลุ่มน้อยที่มีความสำคัญเพียง 20% เพราะคนกลุ่มนี้โดยตำแหน่งและหน้าที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการรักษาความปลอดภัย จะเหลืออยู่แต่การปฏิบัติหน้าที่จะต้องมีความรับผิดชอบ เอาใจใส่ ตื่นตัว มีระเบียบวินัยเท่านั้น

การรักษาความปลอดภัยด้านการเงิน

การรักษาความปลอดภัยด้านการเงิน เป็นการนำเอามาตรการหลักมาประยุกต์ใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการเสี่ยงภัยในด้านการเงินเช่นเดียวกัน

เป้าหมายและภัยในด้านการเงิน

ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ก่อนการที่จะวางมาตรการรักษาความปลอดภัยในเรื่องใด ๆ ก็ตามจะต้องศึกษาถึงเป้าหมายและภัยที่จะเกิดขึ้นแก่เป้าหมายเหล่านั้นเสียก่อน

- เงินสด ถือเป็นเป้าหมายประเภทแรก หมายถึง ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ อาจจะรวมถึง

สิ่งที่มีมูลค่าใช้เป็นเงินได้ทันทีก็ได้ เช่น ทองคำ เป็นต้น สำหรับภัยที่เกิดขึ้นกับเงินสด มักจะเป็นภัยที่เกิดขึ้นโดยตรง ได้แก่ การลักขโมย จี้ ปล้น เป็นต้น ซึ่งส่วนมากเกิดจากคนภายนอก และอาจจะมีคนภายในร่วมมือด้วยก็ได้

- เอกสารทางการเงิน ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่สอง หมายถึง เอกสารที่ใช้ดำเนินการเกี่ยวกับเงินสด เช่น เช็ค พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน บัญชีการเงิน เอกสาร หลักฐานใบสำคัญเกี่ยวกับการเงิน ตลอดจนระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน ส่วนภัยที่มักจะเกิดขึ้นกับเอกสารทางการเงิน ส่วนมากเป็นภัยทางอ้อมได้แก่ การทุจริตฉ้อโกง เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายก็จะมีผลออกมาในรูปที่ทำให้เกิดความเสียหายที่คิดเป็นเงินได้ และส่วนมากมักจะเกิดจากคนภายใน

การรักษาความปลอดภัยต่อตัวเงินสด การต่อต้านการโจรกรรม

ภัยที่เกิดขึ้นต่อเงินสดจะมีลักษณะที่จุดล่อแหลมต่าง ๆ กัน เช่น การลักขโมย และการปล้นจี้ ในสถานการณ์ทั่ว ๆ ไป ผู้ร้ายมักจะใช้อาวุธโดยไม่จำเป็น ผู้ร้ายที่ถืออาวุธนั้นพร้อมที่จะใช้อาวุธแม้แต่เหตุเพียงเล็กน้อย เช่น พนักงานหรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์เคลื่อนไหวหรือทำอะไรไม่ทันใจผู้ร้าย เพราะความตื่นเต้นของผู้ร้ายเอง ในการวางการป้องกันไม่ว่าทางใด จะเป็นการต่อต้านด้วยกำลังหรือมาตรการรักษาความปลอดภัยทางป้องกัน ดังนั้นในการต่อต้านจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนโยบายเพื่อให้สามารถวางการป้องกัน และระดับของการต่อต้านให้เหมาะสมว่าจะยอมให้มีการเสี่ยงภัยได้แค่ไหน

ในกรณีที่จะต้องพิจารณากำหนดการปฏิบัติเพื่อต่อต้านการปล้นจี้ อาจจะนำเทคนิคต่อไปนี้มาใช้ได้

1. มีการจัดวางมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ สำหรับสถานที่ปฏิบัติงานของพนักงานการเงิน เช่น จัดเป็นเขตหวงห้าม มีทางเข้าออกเฉพาะ มีเครื่องช่วยการรักษาความปลอดภัย มีเครื่องป้องกันกระสุน สัญญาณฉุกเฉิน และยาม เป็นต้น

2. มีตู้นิรภัย หรือห้องมั่นคง ที่มีเวลาเปิดปิดที่ตั้งไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่มีผู้ถือกุญแจหรือรหัสแต่ถูกขู่บังคับให้เปิด แต่เขาไม่สามารถเปิดได้เพราะยังไม่ถึงเวลา ก็ให้บอกให้ผู้ร้ายทราบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาพที่ไม่สู้ดีแก่เขานัก แต่ก็จำเป็น อาจจะต้องกำหนดวิธีปฏบัติการพิเศษเอาไว้ปฏิบัติเมื่อถึงเวลาเปิดที่ตั้งไว้ และจะต้องมีการฝึกปฏิบัติการด้วย

3. อาจจะมีการตั้งตัวเลขพิเศษที่ห้องมั่นคง หรือตู้นิรภัย เพื่อป้องกันการเปิดในกรณีไม่ปกติ โดยผู้จัดการหรือผู้ถือรหัสบางคนซึ่งจะต้องหารือผู้ผลิตตู้นิรภัยเป็นพิเศษ

4. ทำระบบการควบคุมระยะไกลประกอบโทรทัศน์วงจรปิด ในการควบคุมการเข้าถึงพื้นที่ที่มีเงินสด เพื่อควบคุมผู้เข้ามาในบริเวณที่ล่อแหลม อาจจะทำเป็นประตูแบบดักช่องทางเข้า ติดเครื่องเอกซเรย์ตรวจสอบผู้พกพาอาวุธ ฯลฯ ซึ่งวิธีเหล่านี้ค่อนข้างยุ่งยาก ต้องใช้เทคนิคสูง และใช้งบประมาณมาก อาจทำได้เฉพาะหน่วยงานใหญ่ ๆ เท่านั้น

5. วิธีการป้องปราบที่ดีที่สุดคือ การใช้กล้องถ่ายรูป กล้องวงจรปิดไว้ในพื้นที่ที่ล่อแหลม อาจจะช่วยทำให้ตำรวจสามารถในการสืบสวนและจับผู้ร้ายได้ และนำขึ้นศาลได้

6. เพื่อลดการเสี่ยงภัยจากการถูกผู้ร้ายจับตัวผู้ถือกุญแจนิรภัยไปข่มขู่ อาจจะใช้ระบบกรรมการผู้ถือกุญแจร่วม 2-3 ดอก ซึ่งผู้ถือกุญแจจะต้องถูกจับไปพร้อมกันจึงจะขู่ให้เปิดตู้นิรภัยได้

ในการรักษาความปลอดภัยเงินสด ผู้รับผิดชอบสามารถจะประสานวิธีต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับสภาพของสถานที่และสิ่งแวดล้อมก็จะสามารถลดโอกาสที่ผู้ร้ายจะจี้ปล้นได้สำเร็จลงได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นการลดการเสื่ยงของพนักงานการเงินไปจนสิ้นเชิง
กล้องวงจรปิด

ความเสี่ยงภัยของตัวเงินสดและการรักษาความปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ

1. ในระหว่างทำการผลิต การผลิตธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นงานที่รัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นผู้ควบคุม ดังนี้ เจ้าหน้าที่การเงินของหน่วยงานต่าง ๆ จึงไม่มีส่วนรับผิดชอบ การรักษาความปลอดภัยในการผลิตธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ของทุกรัฐบาลจะใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยชั้นมูลฐานอย่างเคร่งครัด คือ จะต้องมีการสอบประวัติบุคคลทุกระดับและทุกคนก่อนบรรจุเข้าทำงานอย่างถี่ถ้วน และติดตามพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องโดยผู้บังคับบัญชา มีการวางระเบียบควบคุมและตรวจสอบการผลิตทุกขั้นตอนไม่ให้รั่วไหล มีการควบคุมบุคคลที่ผ่านเข้าออกสถานที่ที่มีการผลิตธนบัตรอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่มีสิทธิผ่าน ซึ่งเป็นการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

2. ในขณะทำการขนส่ง การขนส่งเงินจำนวนมาก ๆ จะตกอยู่ในสภาพที่ล่อแหลมตลอดเวลาที่ทำการขนส่ง และจุดที่ล่อแหลมก็คือ ขณะขนถ่ายจากยานพาหนะหรือสถานที่เก็บ เพราะประตูของยานพาหนะและประตูของห้องมั่นคงจะต้องเปิด และจะมีบุคคลเข้าถึงที่ใส่เงินที่กระจายอยู่จำนวนมาก เปิดโอกาสให้ผู้ที่จะโจรกรรม ปล้นจี้ กระทำการได้สะดวก ส่วนการรักษาความปลอดภัยก็จะมีดังนี้ การขนส่งเงินมาก ๆ จะต้องใช้ยานพาหนะที่แข็งแรงและใช้กำลังคุ้มกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนเงินจะต้องไว้ใจได้ซึ่งเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล เราไม่อาจปิดบังวิธีการขณะขนส่งมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารและข่าวสาร ถ้าขนส่งเงินซึ่งจำนวนไม่มากและไม่คุ้มกับการขนส่งก็อาจจะใช้วิธีอื่นแต่ข้อที่สำคัญที่สุดคือ ต้องรักษาความลับให้เข้มงวดที่สุดว่าใครนำเงินไปและจะไปด้วยวิธีใดและย้ำว่า “การรักษาความปลอดภัยข่าวสาร หรือการรักษาความลับเป็นเรื่องสำคัญที่สุด” ต้องจำกัดตัวผู้ที่เกี่ยวข้องและใช้หลักการให้ทราบเท่าที่จำเป็นอย่างเคร่งครัด

3. ในขณะเก็บรักษา ถ้าไม่มีการนำเงินออกมาใช้หรือมีการขนส่ง ก็เก็บไว้ในตู้นิรภัยหรือห้องมั่นคงก็นับว่าปลอดภัย แต่ผู้ที่รับผิดชอบควรดูว่าตู้นิรภัยที่ใช้มีความแข็งแรงพอที่จะทนทานต่อการเจาะทำลายหรือไม่และถ้าเห็นว่าจำเป็นควรใช้ตู้เซฟสมัยใหม่ซึ่งทนต่อการเจาะทำลาย หรือไม่ก็ต้องวางมาตรการอื่นเพิ่มเติม การรักษาความปลอดภัยนี้คือมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ และเมื่อเรามั่นใจเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยต่อมาจะต้องสนใจผู้ที่จะให้ถือกุญแจตู้นิรภัย ซึ่งเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล และจะต้องวางระเบียบในการเปิดตู้นิรภัยการนำเงินเข้าและออกให้รัดกุม คือ มาตรการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

4. ในขณะนำออกไปใช้ เมื่อเงินไม่ได้เก็บในตู้นิรภัยหรืออยู่ในยาพาหนะที่ทำการขนส่ง เป็นการยากที่จะให้การรักษาได้อย่างเต็มที่ ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับจำนวนเงินว่าคุ้มค่าสำหรับที่จะจี้ปล้นหรือไม่ การรักษาความปลอดภัยการควบคุมการเข้าถึงเงินและตัวพนักงาน โดยใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่และหมั่นตรวจสอบเงินอยู่เสมอ ซึ่งเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อย่าลืมว่าถึงแม้ว่าจะวางมาตรการต่าง ๆ เอาไว้อย่างดีแล้วก็ตาม แต่การปล้นจี้ก็อาจเกิดขึ้นขณะที่มีการส่งเงินกันระหว่างพนักงานการเงินกับลูกค้าก็ได้

5. ในขณะนำไปทำลาย ธนบัตรที่ถูกนำไปทำลาย ระหว่างทางก็จะล่อแหลมต่อการถูกปล้นจี้ เพราะบางทีธนบัตรยังใช้การได้อยู่ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการรักษาความปลอดภัยก็ให้ความสนใจน้อยเกินไปโดยคิดว่าจะนำไปทำลายไม่ได้ใช้แล้ว

การรักษาความปลอดภัยตัวเงินสดที่กล่าวมาแล้วนั้นก็เป็นเรื่องของสามัญสำนึกนั่นเอง การป้องกันก็คือมาตรการหลัก 3 ประการ คือ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ การรักษาความลอดภัยในการปฏิบัติงาน และการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ที่เกี่ยวข้องและนำมาประยุกต์ใช้ โดยกำหนดรายละเอียดในทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละเรื่อง

กล้องวงจรปิด

การรักษาความปลอดภัยต่อเอกสารทางการเงิน

ถือว่าเป็นภัยทางอ้อม คือ ตัวเอกสารเองไม่ได้เกิดภัยหรือเกิดความเสียหาย แต่มีผู้เอาเอกสารไปใช้ประโยชน์ทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของเอกสาร คือ การทุจริตหรือฉ้อโกงนั่นเอง

การทุจริต คือ การตั้งใจบิดเบียนข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้ประโยชน์ที่ไม่ควรได้ สามารถทำได้ต่าง ๆ เช่น การทำบัญชีปลอม การแจ้งยอดเงินไม่ตรงต่อความเป็นจริง หรืออำพรางเอกสารใบสำคัญ อาจจะรวมไปถึงการขโมยข่าวสาร หรือการทำจารกรรมทางอุตสาหกรรม

การทุจริต เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหาร มักจะเกิดจากบุคคลภายในหน่วยงานมากกว่าบุคคลภายนอก เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาตามความเจริญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีวิธีทุจริตโดยใช้คอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมากมาย จนกลายเป็นสาขาวิชาการรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า วิชาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

เทคนิคมูลฐานในการต่อต้านการทุจริต

การทุจริตมีลักษณะคล้ายโรคที่แฝงอยู่ในตัวเราและบั่นทอนสุขภาพ สำหรับมาตรการต่อต้านก็อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ มาตรการป้องกัน และมาตรการสืบสวน















































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น